เถิดเทิง หรือ รำกลองยาว ใช้ประกอบการรำพื้นเมืองของไทยภาคใด

รำเถิดเทิง

เถิดเทิง หรือ รำกลองยาว ใช้ประกอบการรำพื้นเมืองของไทยภาคใด

การเล่นเถิดเทิง  
      มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน  เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย  ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว”  พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง  

  
มีทำนองเป็นเพลงพม่า  เรียกกันมาแต่เดิมว่า  เพลงพม่ากลองยาว  ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ  กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา  ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน  เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้  จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า  เพลงพม่ารำขวาน

     อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้  เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4  กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง  กล่าวคือ  มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น  ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า  ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี  ตอน  เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน  สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว  คือ  ร้องกันว่า

ทุงเล ฯ     ทีนี้จะเห่พม่าใหม่

          ตกมาเมืองไทย    มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว

          ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ   ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว

          เลื่องชื่อลือฉาว    ตีกลองยาวสลัดได ๆ

 

 

โอกาสที่แสดง 

  ประเพณีเล่น  “เถิดเทิง”หรือ “เทิงบ้องกลองยาว”  ในเมืองไทยนั้น  มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน  เช่น ในงานแห่นาค  แห่พระ และแห่กฐิน  เป็นต้น  เคลื่อนไปกับขบวน  พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสีย พักหนึ่ง  แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก  การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่  จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม  คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่  นอกจากนี้  ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย  กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ  โดยกำหนดให้มีกลองรำ  กลองยืน  เป็นต้น

เถิดเทิง หรือ รำกลองยาว ใช้ประกอบการรำพื้นเมืองของไทยภาคใด

การแต่งกาย 
      ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ 
    1. ชาย  นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง  สวมเสื้อคอกลม  แขนสั้น  เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว

    2. หญิง  นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด  ผ่าอกหน้า  ห่มสไบทับเสื้อ  สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ  สร้อยคอ  และต่างหู  ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย

 

ดนตรีที่ใช้ 
     เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ โหม่ง  มีประมาณ  4  คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน


 

                                                         รำกลองยาว(เถิดเทิง)

เถิดเทิง หรือ รำกลองยาว ใช้ประกอบการรำพื้นเมืองของไทยภาคใด


รำกลองยาว(เถิดเทิง)เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่ใช้กลองยาวหลายใบพร้อมทั้งเครื่องตีที่ใช้ประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง กรับ โหม่ง และ ฉาบเคาะจังหวะประกอบเสียงกลองยาวท่าทางร่ายรำจะมีหลายท่า จึงจำเป็นที่ผู้ฝึกหัดให้มีความชำนาญจึงจะแสดงเข้ากับจังหวะได้ดี เชื่อกันว่ารำกลองยาวมีถิ่นกำเนิดมาจากชนบท ต่อมากรมศิลปากรได้นำมาปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำและจังหวะกลองให้สอดคล้องและกลมกลืน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

โอกาสและวิธีการเล่น 
นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น

  ผู้เล่น 

ในตอนแรกผู้ร่ายรำใช้ทั้งชายและหญิง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ผู้หญิงเป็นผู้ร่ายรำเท่านั้น ส่วนผู้ชายทำหน้าที่ตีกลองยาว และเครื่องดนตรีประกอบ ในตอนแรกมีผู้เล่นทั้งหมด 16 คน โดยมีผู้ตีกลองยืน 3 คน และผู้ตีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ฆ้อง อีก 5 คน สำหรับผู้รำมี 4 คู่ 8 คน มีผู้รำคนหนึ่งเป็นหัวหน้า คล้องนกหวีดไว้ที่คอสำหรับเป่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ ในตอนหลังมีการเพิ่มเครื่องดนตรี เช่น กลองอเมริกันและปี่ชวาขึ้น และเพิ่มความครึกครื้น ก็เพิ่มผู้ร่ายรำเข้าไปอีก

วิดิโอประกอบการแสดง

  ประโยชน์ที่ได้รับ 

1. เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน 
2. เพื่อสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านไว้เป็นมรดกของชาวนครสวรรค์ 

อ้างอิง : https://thaidance.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2/
https://sites.google.com/site/naiyarinnoey/ra-klxng-yaw