ประเพณีลอยกระทง จังหวัดอะไร

 

เทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน"สิบสองเพ็งไทสกล"

          ประเพณีลอยกระทง เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีประวัติ ว่า “ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ “ หรือ ” นางนพมาศ ” เป็นผู้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวหรือ ” ดอกกมุท ” ถวายพระร่วงเจ้าในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เพื่อลอยลงน้ำซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก ถึงกับทรงรับสั่งว่าทุกๆ ปีให้มีประเพณีดังนี้ขึ้น และโปรดให้เรียกประเพณีนี้ว่า “ พระราชพิธีจองเปรียง ” หรือ “ ลอยกระทงพระประทีป ” แต่ถ้าเป็นพิธีของชาวบ้านทั่วๆ ไปก็จะพากันเรียกว่า “ พิธีลอยกระทง ” หรือ ” ลอยกระทง ” โดยพุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่า พิธีลอยกระทงนี้เป็นพิธีสักการะบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตราบมาถึงทุกวันนี้    
ประเพณีลอยกระทง จังหวัดอะไร

จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทง ซึ่งชาวบ้านต้องทำกระทงลงลอยน้ำที่อยู่ใกล้ชุมชน และชาวจังหวัดสกลนครมี หนองหาร เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีตำนานเล่าขานอันยิ่งใหญ่ ชาวจังหวัดสกลนครได้กำหนดเอา สระพังทอง ซึ่งอยู่ใกล้หนองหาร ชาวเมืองถือว่าเป็นสถานที่ศักสิทธิ์ และปัจจุบันยังเป็นสถานที่ตั้งสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ

เป็นเมืองที่ตั้งพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จแปร พระราชฐาน เพื่อทรงเยี่ยมพสกนิการเป็นประจำของทุกปี พระองค์ท่านได้สืบทอดประเพณีร่วมกับพสกนิกรทุกปี ทั้งนี้เป็นความภูมิใจอันหาที่เปรียบไม่ได้ของชาวสกลนครก็คือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระประทีปไปร่วมงานลอยกระทงร่วมกับพสกนิกรที่หนองหารบริเวณสระพังทอง สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

   
    ความเป็นมา

ลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอนกันมาอย่างยาวนาน โดยสันนิษฐานว่าเป็นประเพณี ดังเดิมของอินเดีย ต่อมา ได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่างๆ ได้แก่ เขมร พม่า ลาว และไทย ทั้งนี้ได้มีการ ปรับเปลี่ยนดัดแปลงให้ต่างไปจากเดิมบ้าง ทั้งการ ประกอบพิธีรูปแบบ และพฤติกรรม ในประเทศไทยไม่ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดได้ว่ามีประเพณีลอยกระทงตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ถือว่าเอาวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งจะตรงกับช่วงเวลาราวปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือน พฤศจิกายน เป็นวันลอยกระทง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย ซึ่เป็นพระราชพิธีหนึ่งเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม" ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ ่อมาได้ถือคติตามพระพุทธศาสนา คือ มีการยกโคม เพื่อบูชาพรระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ในชั้นดาวดึงส์ การลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานธี นิยมทำกันเป็นประเพณีในวันเพ็ญเดือนสิบ ดังปรากฏในราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอนที่ว่าด้วยลอยพระประทีปว่า
" การลอยพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็น นักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวง ไม่เฉพาะ แต่การหลวง แต่จะนับเป็นพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ด้วย ไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์อันใดเกี่ยวข้อง เนื่อง ในการลอยพระประทีปนั้น เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่า ตรงกับคำที่ว่าลอยโคมลงน้ำเช่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี ซึ่งมีมาในแผ่นดิน สยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ" ทั้งนี้ได้กล่าวถึงตำนานเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวจุฬาลักษณ์ ระสนมเอกของพระอรุณมหาราชหรือพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยว่าในฤดูเดือนสิบสองเป็นเวลาเสด็จลงประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในตามเสด็จในเรือพระที่นั่ง ทอดพระเนตร การนักขัตฤกษ์ ซึ่งราชฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี เมื่อนางนพมาศได้เข้ามารับราชการ จึงได้คิดอ่านทำ กระทงถวายพระเจ้าแผ่นดินเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล และคิดคำขับร้องขึ้นถวาย และให้เจ้าแผ่นดินทรงดำริจักเรือพระที่นั่งเทียบขนานกันให้ใหญ่กว้างสำหรับสนมฝ่ายในจะได้ตามเสด็จประพาสได้มากกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้ยังมีความปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระดำรัสของพระร่วงว่า" แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์
วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้น้ำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาท ณ นัมมทานที ตราบเท่ากาลปาวสาน" ด้วยเหตุดังกล่าว โคมลอยรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนถึงทุวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงพระประทีป"

เหตุผลในการจัดประเพณีลอยกระทง
เหตุผลในการจัดประเพณีลอยกระทงนั้น มีความหลากหลายตามความเชื่อต่างๆ ของทั้งทางด้านศาสนาพุทธศาสนาพราหมณ์ และตามความเชื่ออื่นๆ อาทิตย์
๑. เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา
๒. เพื่อสักระพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าที่ประทัยรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่ริมแม่น้ำนัมมนที ในประเทศอินเดีย
๓. เพื่อบูชาจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศของพระพุทธเจ้า
๔. เพื่อบูชาอุปคุตตเถระที่บำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ซึ่งตามตำนานเล่าว่า เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพระยามารได้
๕. เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
๖. เพื่อแสดงความสำนึกบุญคุณของพระแม่คงคา ที่ได้นำมากินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขอขมาลาโทษในแหล่งนั้นๆ ไม่สะอาด
๗. เพื่อบูชาท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
๘. เพื่อลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
๙. เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน
๑๐. เพื่ออธิษฐานขอพรในสิ่งที่ตนปรารถนา

ความสำคัญของประเพณีลอยกระทง
การลอยกระทงเป็นประเพณีที่สังคมไทยสืบทอดต่อกันมาช้านาน ด้วยฐานคติความเชื่อต่างๆ ดังกล่าวข้างตนนั้น ทำให้ประเพณีลอยกระทง มีความสำคัญหลายประการ ได้แก่
๑. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนศรัทธาและเคารพนับถือ
๒. เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูและเห็นคุณค่าของน้ำ รวมทั้งรู้จักสำนักต่อความไม่เหมาะสมต่อน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่อการอุปโภค บริโภคสำหรับมนุษย์
๓ ก่อให้เกิดความสามัคคี ส่งเสริมประชาธิปไตย และการทำงานเป็นกลุ่ม ในกรณีที่ร่วมกันประดิษฐ์กระทงเป็นกลุ่มสำนักงาน โรงเรียน หมู่บ้าน เป็นต้น
๔. เป็นการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย ไม่ให้เสื่อมสูญ
๕. เป็นการส่งเสริมศิลปะกรรมในการประดิษฐ์กระทงการประดับตกแต่งสถานที่
๖. เป็นการสร้างทัศนคติให้ประชาชน รักและห่วงแหนเกี่ยวกับประเพณีไทย
๗. เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว
๘. เป็นการทำนุบำรุงศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้า นับเป็นการสืบอายุพุทธศาสนาต่อไป

         

ประเพณีลอยกระทง จังหวัดอะไร

ประเพณีลอยกระทง จังหวัดอะไร

                   

จังหวัดใดลอยกระทงสาย

ประเพณีลอยกระทงสายสาย ไหลประทีปพันดวง เป็น ประเพณีของชาวเมืองตากที่น าวิถีชีวิตของบรรพชนมา ผสมผสานเข้ากับความเชื่อ และหลักศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้ปลูกฝังและถ่ายทอดมาสู่จิตส านึกของลูกหลาน ไทยมา แต่กาลก่อน ก่อให้เกิดประเพณีที่ถักร้อยรวมใจของคนเมืองตากให้เป็นหนึ่งเดียว

ประเพณีลอยกระทงจังหวัดตากเรียกว่าอะไร

ประเพณีลอยกนะทงสายไหลของจังหวัดตาก เป็นประเพณีที่นำเอาพระพุทธศาสนาภูมิปัญญาชาวบ้าน ผนวกเข้ากับงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเป็นรูปธรรมที่โดดเด่นปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะแตกต่างจากจังหวัดอื่นเพราะส่วนประกอบของกระทงใช้กะลามะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตาก จะมีสันทรายใต้น้ำทำให้เกิด ...

ประเพณีลอยกระทงมีการจัดอย่างไร

ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปี ...

วันลอยกระทงเป็นวัฒนธรรมด้านใด

ลอยกระทง เป็นประเพณีที่ผู้คนในสังคมไทยสืบทอดต่อกันมาช้านานด้วยฐานคติความเชื่อต่าง ๆ และถือเป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การแสดงออกถึงความกตัญญูและเห็นคุณค่าของแม่นํ้า เป็นโอกาสในการจัดกิจกรรมสืบทอดทางวัฒนธรรมร่วมกันของครอบครัวและชุมชน รวมทั้งเป็นการทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง