ประเพณีตักบาตรเทโว ประวัติ

ประวัติประเพณีตักบาตรเทโว

               วันตักบาตรเทโวหมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิชน ว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา
              
เทโวย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจาก เทวโลก หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า ตามตำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา ซึ่งหลังประสูติพระองค์ ได้ ๗ วัน ก็สิ้นพระขนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น
               การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้ง อยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคน ลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าว อาหารหวานคาว มาเรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระ จึงใช้ข้าวก่อ หรือปั้นโยนลงบาตร 
               ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้ เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมา

         ช่วงวันออกพรรษาในแต่ละจังหวัด แต่ละท้องที่ ก็จัดงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดประเพณีที่สำคัญและมักจัดกันทุกๆ จังหวัด คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ คำว่า ‘’เทโวโรหณะ’’ แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก การตักบาตรเทโวโรหณะ จะทำกันในบริเวณพระอุโบสถ มีการอัญเชิญพระพุทธรูป เป็นผู้นำแถวของพระภิกษุ ในการออกบิณฑบาต ของที่ตักบาตรก็มีต่างๆกันไปในแต่ละจังหวัด เช่น ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ ที่วัดเขานางบวช อำเภอเมืองจังหวัดนครนายก จะถวายบัวให้กับพระพุทธรูป และที่ที่จังหวัดอุทัยธานี นิยมใช้ข้าวต้มมัด หรือ เรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน โดยจะเอาข้าวเหนียวผัดมาห่อใบมะพร้าว ไว้หาง ใส่บาตรถวาย พระภิกษุสงฆ์การที่ต้องอัญเชิญพระพุทธรูปมาเป็นผู้นำขบวนแถวของพระสงฆ์ ในการออกบิณฑบาต เทโวโรหนะ ถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อรำลึกถึงวันสำคัญ ของวันออกพรรษาอีกวันหนึ่งเลยทีเดียว

มหาชนเฝ้ารอคอยการเสด็จกลับมาของพระพุทธองค์จึงได้เกิดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะขึ้นมา

       ในพรรษาที่ 7 นับจากปีที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดแก้วมณี ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีสว่างไสวเรืองรองไปทั่วทั้งโลกธาตุ แล้วเกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้น คือ ท่านเปิดโลกทั้งสาม ให้เห็นถึงกันในเวลาเดียวกัน คือ สวรรค์ มนุษย์ นรก เห็นกันหมดทั้งเทวดา มนุษย์ สัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย ต่างเห็นกันและกันด้วยตาเนื้อ เป็นอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพ  เมื่อเห็นความอัศจรรย์นั้นต่างเกิดมหาปีติ พากันตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า เพราะเห็นพุทธานุภาพนั้น แม้แต่มดซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานยังมีความรู้สึกนึกคิดที่จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าด้วย วันนั้นจึงเรียกว่า “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก”

     ตักบาตรเทโวโรหณะ หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา

      การที่พระพุทธเจ้าเสด็จ ขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นธรรม ชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้

ประเพณีตักบาตรเทโว ประวัติ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกในวันมหาปวารณา

     “เทโว” ย่อมาจากคำว่า “เทโวโรหณะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายถึง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ แล้วทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่างๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจากประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชน พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น บางวัดก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน

พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ

      อนึ่งในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้น  ประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโว ซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับทำบุญตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง บางวัดจึงเตรียมการในคฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อน และมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูปใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์ พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตร เป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริงเพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาวและข้าวต้มลูกโยนนี้มี ประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้ 

ประเพณีตักบาตรเทโว ประวัติ

เทโวโรหนสถูป เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันมีเทวาลัยของฮินดูตั้งอยู่ด้านบนสถูป

กิจกรรมตักบาตรเทโวโรหณะ

เมื่อถึงวันเทโวโรหณะ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยปฏิบัติตนดังนี้
 

1. เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์
 

2. หลักจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล
  

3. ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส
 

4. แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับและสรรพสัตว์
 

รับชมวิดีโอ

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ

ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะจัดขึ้นเมื่อใด

ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา คำว่า "เทโว" เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก

ประเพณีตักบาตรเทโวมีอะไรบ้าง

เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระ ...

ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะอยู่จังหวัดอะไร

ประเพณีตักบาตรเทโวที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี เป็นงานประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัด และจัดได้สอดคล้องกับตำนานมาก โดยสมมติ ให้มณฑปที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง เป็น “สิริมหามายากุฎาคาร” มีบันไดทอดยาวจากมณฑปลงสู่บริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง เปรียบ ...

ตักบาตรเทโว 2565 วันไหน

ตักบาตรเทโวหลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 หรือตรงกับวันที่ 11 ตุลาคม 2565 จะมีการ “ตักบาตรเทโว” หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า “เทโวโรหนะ” แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตักบาตรดาวดึงส์” โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน