สรุป ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขาย

 1.1 ความหมายและความสำคัญของการขาย

       การขาย เป็นศิลปะของการชักจูงใจให้คนอื่นคิดหรือกระทำตามความคิดของนักขาย หรือ 

การขาย หมายถึงกระขวนวิเคราะความจำเป็นและความต้องการของผู้มุ่งหวังและช่วยให้ค้นพบความจำเป็นความต้องการที่จะไดรับการตอบสนองด้วความพึงพอใจจากการซื้อสินค้าและบริการที่นักขายนำเสนอคลี่คลายไปในทางที่เจริญการขายวิวัฒนาการมาจากระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือระบบแลกของต่อของต่อมาเกิดปัญหาหลายประการในระบบแลกของต่อของ เช่น ความต้องการไม่ตรงกัน สินค้าเป็นคนละชนิดกันไม่สามารถกำหนดปริมาณได้อย่างยุติธรรมหรือความไม่สะดวกในการนำสินค้าไปแลกกับบุคลลอื่นเพราะถ้าไม่มีคนต้องการก็ต้องนำกลับมาอีกระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของจึงพัฒนามาเป็นระบบการใช้เงินเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเป็นระบบการซื้อขายด้วยเงินการซื้อขายในปัจจุบันใช้ระบบการให้ความเชื่อถือกันโดยผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อนำสินค้าไปขายก่อนแล้วชำระเงินที่หลัง ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระบบนี้เรียกว่าระบบเครดิต ซึ่งมีบทบาทมากสำหรับการค้าขายทำให้การค้าคล่องตัวและผู้บริโภคยังปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดติดตัว

    การสร้างลูกค้า :การสร้างลูกค้าจะสำเร็จได้ต่อเมื่อได้ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ลูกค้าที่แสวงหามาและจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้นจึงจำเป็นที่พนักงานขายต้องรู้จักสินค้าและบริการของตน

เป็นอย่างดี รวมถึงรู้จักผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งเป็นอย่างดีด้วย จะได้สามารถบอกลูกค้าได้ถึงความแตกต่าง

ของผลิตภัณฑ์ของตนกับคู่แข่งเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการ

ของลูกค้าได้อย่างดี

     การแสวงหาลูกค้า : พนักงานขายจะเริ่มงานโดยการบ่งชี้หรือกำหนดคุณลักษณะของผู้ซื้อที่เป็นไปได้หรือผู้ซื้อคาดหวัง แล้วใช้ความพยายามในการหาที่ตั้งและติดต่อกับผู้ซื้อเหล่านั้น

     บทบาทของการขาย : เป็นการให้บริการชักจูงใจการติดต่อสื่อสารการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการให้เกิดความพึงพอใจและการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภค

     การรักษาลูกค้าให้คงไว้ : การซื้อซ้ำของลูกค้าเป็นตัวกำหนดกระแสรายได้ของบริษัท พฤติกรรมการซื้อซ้ำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลูกค้ามีความพอใจหลังการซื้อครั้งแรก ดังนั้นพนักงานขายจึงต้องมีการติดต่อลูกค้าหลังการขายเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้ามีความพอใจและได้รับบริการหลังการขายที่เหมาะสม

ทั้งนี้ลูกค้าที่มีความพึงพอใจเป็นสิ่งสำคัญเพราะพวกเขาจะทำการโฆษณาสินค้าหรือบริการโดยการ

บอกต่อด้วยความเต็มใจ 

1.2 หน้าที่ของการขาย

    1.2.1 การขายคือการให้ความช่วยเหลือลูกค้า(selling is providing service)

        คนเราย่อมมีความอยากได้และความต้องการสินค้าหรือบริการเสมอ  พนักงานขายต้องค้นให้พบว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการนั้นคืออะไร พนักงานที่ไม่สนใจต่อความต้องการของลูกค้า มักจะไม่สบความสำเร็จในการขาย งานชิ้นแรกที่พนักงานขายจะต้องรู้คือลูกค้าอยากได้หรือต้องการอะไร

    1.2.2 การขายคือการชักจูงใจลูกค้า(selling is using persuasion)

         พนักงานขายที่ประสบความสำเร็จย่อมรู้ดีว่าการบีบบังคับให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ พนักงานขายจะต้องชักจูงใจให้ลูกค้าตัดสิ้นใจให้ลูกค้าซื้อด้วยความสร้างภาพพจน์ในตัวสินค้า โดยให้ลูกค้ามีส่วนแสดงความคิดเห็นเปิดโอกาสให้ลูกค้าเลือกสินค้าหรือบริการด้วยความพึงพอใจ พนักงานขายสามารถที่จะเร่งเร้าให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อด้วยความประทับใจ

     1.2.3 การขายคือการติดต่อสื่อสาร(selling is communication)

         พนักงานขายที่มีประสิทธิภาพคือนักสื่อสารที่ดีสามารถถ่ายถอดคุณภาพของสินค้าลักษณะการทำงานของสินค้า อธิบายคุณสมบัติ และผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับอย่างฉลาด ใขขณะเดียวกันพนักงานขายจะต้องสามารถถ่ายทอดนโยบายของบริษัทห้ลูกค้าเข้าใจลักษณะการค้าของบริษัท และลูกค้าจะได้รับบริการอะไรจากบริษัทบ้าง

     1.2.4 การขายคือการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า(selling is problem solving)

         ลูกค้าทั่วไปมักจะประสบปัญหาในการตัดสินใจซื้อ คือ ไม่สามารถเลือกซื้อสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานขายที่จะให้ความช่วยเหลือและปัญหาให้กับลูกค้า พนักงานขายจะต้องสามารถอธิบายได้ว่า สินค้าที่เสนอขายนั้นสามารถช่วยแก้ไขปัญหา ในการแก้ไขปัญหา พนักขายจะต้องรู้ให้ลึกซึ้งถึงปัญหานั้น เสมือนหนึ่งว่าเป็นปัญหาของพนักงานขายเอง บางครั้งอาจเกิดปัญหากับลูกค้าไม่ใช่ปัญหาทางการค้า แต่เป็นปัญหาส่วนตัว พนักงานขายที่ดีต้องยอมรับฟังข้อเสนอแนะแก้ปัญหาและทางออกเป็นกลางๆไม่ลำเอียงหรือซ้ำเติมข้างใดข้างหนึ่ง

      1.2.5 การขายคือการให้ความรู้แกลูกค้า(selling is educating)

          คนเราโดยทั่วไปมักไม่ค่อยนึกถึงว่าตัวเองอยากได้และต้องการอะไรเป็นหน้าที่ของพนักงานขายที่จะต้องค้นหาคำตอบเหล่านี้ ในตลาดมีสินค้าหรือบริการหลายชนิดที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านเทคนิคที่หลากหลายเกินกว่าที่ลูกค้าทั่วๆไปจะเข้าใจได้จากสาเหตุดั่งกล่าว พนักขายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้รายละเอียด ให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าแกลูกค้า สินค้าบางชนิดมีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่มีการชี้แจงหรือระบุไว้ในคู่มือการใช้สินค้า เช่น โทรศัพท์มืถือ ซึ่งสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้ พนักงานขายที่มีประสิทธิภาพจะรู้ถึงคุณสมบัติข้อนี้ และบอกให้ลูกค้าได้ทราบถึงคุณสมบัติพิเศษของสินค้าที่มิได้ระบุไว้ในคู่มือ ซึ่งย่อมสร้างความพึงพอใจให้แกลูกค้า แลทำให้ขายสินค้าได้ พนักงานขายเรียบเสมือนกับครูซึ่งจะต้องอธิบาย สาธิต เปรียบเทียบ ให้ความกระจ่างและบางคร้งยังทำหน้าที่อบรมสั่งสอนอีกด้วย

1.3 วิวัฒนาการของการขาย

      วิวัฒนาการขาย

     ชาติไทยมีการค้าขายมาตั้งแต่โบราณ โดยอาศัยทรัพยากรที่สมบูรณ์เป็นสินค้า

สมัยสุโขทัย

         เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า  ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้าแสดงถึงความมีเสรีภาพในการขายในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง มีตลาดที่เรียกว่า ตลาดปสาน หรือ บาร์ซาร์ ( Bazaar ) 

 หรือตลาดนัด  เป็นย่านชุมชนที่เป็นห้องแถว หรือร้านเป็นแถว ๆ  ให้ประชาชนมาติดต่อซื้อขายกัน ในสมัยนี้ ไทยสามารถผลิตชามสังคโลกเป็นสินค้าได้แล้ว   มีกาค้ากับชาวต่างประเทศ คือ มอญ จีน ลังกา  ญี่ปุ่น

 สมัยอยุธยา

          เจริญสูงสุดในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระคลังสินค้า คือพระยาวิชาเยนทร์(นายฟอลคอน ชาวอังกฤษ)  

ทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง มีการค้ากับโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย  เปอร์เซีย   อาหรับ

 สมัยธนบุรี

         มีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขาย และค้าขายกับ อินเดีย อังกฤษ มลายู 

 สมัยรัตนโกสินทร์

         เริ่มมีการค้ากับสหรัฐอเมริกาในสมัย รัชกาลที่ 2 ต่อมาในรัชกาลที่ 3   ไทยค้าขายกับจีนมากที่สุด และติดต่อกับหมอบรัดเล ซึ่งได้นำเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้ในไทย ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดหันมาค้าขายแบบเสรี ในรัชสมัยรัชกาลที่  5 ชาวต่างประเทศได้มาเปิดห้างขายสินค้าในไทย และมีการจัดตั้งกระทรวงพาณิชย์ขึ้นในรัชกาลที่  6

สรุป ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขาย

 ปัจจุบัน               

         ระบบการค้าของไทยเป็นแบบผสม คือ ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม หรือ  ทุนนิยม( ประชาชนมีเสรีในการทำธุรกิจ ) ผสมกับสังคมนิยม  (รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการทำธุรกิจธนาคาร การขนส่ง และสาธารณูปโภค

สรุป ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขาย

       การขายในยุคก่อน ๆ ผู้ขายไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการขาย เนื่องจากการผลิตสินค้าทำได้ยาก ปริมาณสินค้ามีน้อยกว่าความต้องการของผู้ซื้อ ผลิตเท่าไรก็ขายหมด แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ามีผู้ผลิตจำนวนมาก สินค้ามีมากกว่าความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีโอกาสได้เลือก มีอำนาจในการต่อรอง ผู้ขายจึงต้องพยายามชักจูงให้เกิดความต้องการแล้ว ยังจะต้องทำให้ผู้ซื้อเกิดความพอใจในสินค้ามากที่สุด

1.4ความหมายและความสำคัญของการตลาด

     1.4.1ความหมายของการตลาด

        Phillip Kotler ให้ความหมายการตลาดว่า"เป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่จะดำเนินเพื่อให้มีการตอบสนองความพอใจ และความต้องการต่างๆโดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยน"

        E. Jerome McCarthy ให้ความหมายการตลาดว่า "เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวกับความพยายามให้องค์การบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยอาศัยการคาดหมายความต้องการต่างๆ ของลูกค้าและยังรวมถึงการที่สินค้าและบริการผ่านจากผู้ผลิตไปยังลูกค้า เพื่อตอบสนองความพอใจให้กับลูกค้า"

        William Stanton ให้ความหมายการตลาดว่า "เป็นระบบของปฏิกิริยา กิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การกำหนดราคา การส่งเสริมการตลาด และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และผู้บริโภคที่คาดหมายในอนาคต"

        คณะกรรมการสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ความหมายการตลาดว่า "เป้นการปฏิบัติทางธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในการให้สินค้าและบริการผ่านจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ ให้ได้รับความพอใจ ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ"

        จากคำจำกัดความดังกล่าว ประเด็นสำคัญของความหมายการตลาด มีดังนี้

    1.  กิจกรรมที่ทำให้สินค้าหรือบริการไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2.  การตอบสนองและความต้องการ  หรือความพอใจของผู้บริโภคคนสุดท้ายหรือผู้ใช้ ฉะนั้นนักการตลาดต้องค้นหาความจำเป็น ความต้องการของผู้บริโภคคนสุดท้ายหรือผู้ใช้ให้้ถูกต้อง

    3.  เคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายขึ้นระหว่่างผู้ซื้อ (ผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือผู้ใช้) กับผู้ชาย (ผู้ผลิต หรือคนกลาง)

    4.  บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ คือการทำกำไร

       1.4.2ความสำคัญของการตลาด

        กิจกรรมทางการตลาดเป็นงานหลักที่สำคัญของธุรกิจ เป็นกิจกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจการและการตลาด มีความสำคัญดังนี้

    1. การตลาดเป็นเครื่องมือให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างความนิยมแก่กิจการ

          ปัจจุบันตลาดมีการแข่งขันเสรี    เมื่อทุกกิจการต่างๆก็มีการบริหารทัดเทียมกัน การตลาดเป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการในการแข่งขัน ด้วยวิธีการสร้างคุณค่าเพิ่ม กล่าวคือ การสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ ซึ่งนักการตลาดใช้หลักการอันเป็น "ศาสตร์" และ "ศิลป์" ในการดำเนินการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมการตลาดจะเน้นให้ลูกค้าพอใจหลังการขาย เช่น การประกันคุณภาพสินค้า การให้บริการตรวจเช็กสภาพสินค้าและซ่อมเมื่อมีปัญหา การให้คำแนะนำแก่ลูกค้า เป็นต้น

    2. การตลาดเป็นตัวเชื่อมระหว่างเจ้าของสินค้าและผู้บริโภค

          บทบาทความสำคัญของการตลาดต้องการสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้า  หรือผู้บริโภคได้มีโอกาสพบกันเพื่อและเปลี่ยนสินค้าและบริการตามความพอใจ    บทบาทในฐานะตัวเชื่อมโยงนี้เป็นการแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคในด้านสถานที่ เวลา ข้อมูล มูลค่าของสินค้าหรือบริการ

    3. การตลาดเป็นตัวนำหรือชี้แนะการปรับปรุงการผลิตสินค้าและการให้บริการ

          ปัจจุบันการดำเนินทางการด้านการตลาด มีแนวโน้มให้ผู้บริโภค หรือผู้ใช้คุ้นเคยหรือ "User friendly"นักการตลาดพยายามทุกวิถีทางในการที่จะให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกในการใช้สินค้า หรือได้รับบริการโดยได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เช่น การจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้าฟรี

    4. การตลาดเป็นกลไกในการสร้างเสริมระบบเศรษฐกิจด้วยการก่อให้เกิดการบริโภค

          การตลาดเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนด้วยการสร้างสมดุลระหว่างแรงดึงและแรงดัน กล่าวคือความต้องการซื้อและความต้องการขาย นอกจากนี้การตลาดสร้างความปรารถนาด้วยการสร้างอารมณ์ ความหวัง ความกลัว และความฝันอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างอันส่งผลให้เกิดการบริโภคอันเป็นการสร้างอุปสงค์นั่นเอง กล่าวคือการตลาดเอื้ออำนวยเศรษฐกิจ หรือการตลาดมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ

        การตลาดสามารถจำแนกความสำคัญในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจและสังคม ธุรกิจหรือองค์การและต่อบุคคลดังนี้

        การตลาดมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคม คือ

    1.  สร้างร่ายได้ให้กับประเทศ เพราะการตลาดก่อให้เกิดการซื้อ-ขายสินค้า ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

    2.  ทำให้มีการลงทุนและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนมีงานทำ และส่งผลทำให้เพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชน

    3.  จากการมีงานทำ ช่วยในการยกระดับการครองชีพของประชาชน ซึ่งมีผลต่อการอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    4.  ทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต มีการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาแปรรูปซึ่งสามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น

    5. มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และปรับปรุงให้ได้มาตรฐานเพื่อสนองความต้องการของตลาดโลก

        การตลาดมีความสำคัญต่อธุรกิจหรือองค์การ คือ

    1.  สร้างกำไรให้กับธุรกิจ

    2.  สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าให้กับธุรกิจ ก่อให้ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น

    3.  ปัจจุบันการตลาดได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต สามารถทำให้ผลิตสินค้าได้คราวละมากๆ ซึ่งมีผลต่อการลดต้นทุนต่อหน่าวยในการผลิต

    4.  ทำให้ธุรกิจมีสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เนื่องจากมีการพัฒนาสินค้าอยู่เรื่อยๆ ซึ่งทำให้ธุรกิจมีความตื่นตัวอยู่เสมอ

        การตลาดมีคสามสำคัญต่อบุคคล คือ

    1.  การตลาดทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจในรูปแบบ ในอรรถประโยชน์ของสินค้าที่นำมาจำหน่าย และสะดวกในการเลือกซื้อสินค้า ในเวลา สถานที่ ปริมาณสินค้าที่เหมาะสม

    2.  การตลาดทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าอย่างฉลาด เนื่องจากมีข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆมากมายไม่ว่าจากสื่อสั่งพิมพ์ (หนังสือพิมะ์ นิตยสาร ใบปลิว ฯลฯ) หรือสื่อการกระจายเสียง (วิทยุ โทรทัศน์) เป็นต้น

    3.  การตลาดสร้างอาชีพให้กับบุคคล ช่วยให้เกิดอาชีพต่างๆ เช่นการขาย การโฆษณา การขนส่ง (รับจ้าง แบก ขน) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การวิจัยตลาด การธนาคาร เป็นต้น

    4.  จากการที่มีอาชีพ ทำให้ความเป็นอยู่ของบุคคลดีขึ้น สามารถพัฒนาชีวิตหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีการกินดีอยู่ดี

1.5หน้าที่ทางการตลาด (Marketing Functions)

          หน้าที่ทางการตลาด  หมายถึง  กิจกรรมที่เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค  เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

          เมื่อใดก็ตามที่การตลาดเป็นระบบที่มีคุณภาพ  ย่อมส่งผลให้ประชาชน  สังคมและชุมชนมีคุณภาพไปด้วย  ดังนั้นในระบบของการตลาดโดยทั่วไปแล้วจะมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

       1.5.1 หน้าที่การจัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด ซึ่งวิธีที่จะจัดการในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้

          1. การพัฒนาและกำหนดมาตรฐานสินค้าและบริการ  (Development  and  Standard Goods) หรือที่เรียกว่า  “ดีเวลลอบเมนท์  แอนด์  แสตนดาร์ด  กู๊ด”   หน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ การจัดหาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการพัฒนาและกำหนดสินค้าให้ทันสมัย  กำหนดรายละเอียดของสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพ  ปริมาณ  ลักษณะ รูปร่างและมาตรฐานตามกำหนด  ซึ่งจะต้องมีการศึกษาหาข้อมูล  เพื่อกำหนดสินค้าที่จะผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

          2. การขาย (Selling ) หรือที่เรียกว่า “เซลล์ลิ่ง”  หน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ  การจัดให้มีการถ่ายโอน  หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์อันจำเป็นต่อการหมุนเวียนสินค้าและบริการ  ทำให้เกิดความคล่องตัวด้านธุรกิจ ที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อโดยตรง หรืออาจจะมีการประสานงานกันทางโทรศัพท์หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ

          3. การซื้อ (Buying) หรือที่เรียกว่า  “บายอิ้ง”  กิจกรรมในส่วนของการซื้อก็คือการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ ซื้อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  โดยในการซื้อสินค้านั้นจะต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ามีคุณภาพหรือมาตรฐานมากน้อยเพียงใด    

        1.5.2. หน้าที่เกี่ยวกับแจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค ซึ่งการเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวต้องอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          1. การขนส่ง (Transportation)  หรือที่เรียกว่า  “ทรานสปอตเตชั่น” สินค้าจะไปถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ซึ่งกระจายกันในแต่ละท้องถิ่นได้ จะต้องอาศัยการ ขนส่ง โดยจะต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับสภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาและสภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการขนส่ง  เช่นสินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก  ควรจะเลือกการขนส่งโดยทางรถยนต์

          2. การเก็บรักษาสินค้า  (Storage)  หรือที่เรียกว่า  “สตอเรจ”  เป็นกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่ลูกค้า ด้วยการเก็บรักษาสินค้าไว้  เพื่อให้สินค้ามีคุณค่า  คุณภาพดีสม่ำเสมอ  หรือรอโอกาสที่เหมาะสมในการจำหน่ายให้แก่ลูกค้า  ซึ่งการเก็บรักษาสินค้าของตลาดนั้นเป็นไปใน  2  ลักษณะ  ดังนี้

 1. เก็บรักษาเพื่อเพิ่มคุณภาพ สินค้าและบริการบางอย่างหากเก็บรักษาไว้นานจะทำให้มีราคาสูงขึ้น เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น

 2. เก็บรักษาเพื่อคาดหวังผลกำไร เช่น กรณีสินค้าราคาตกต่ำ หน้าที่การตลาด (ผู้ขาย) จะเก็บสินค้านั้น ๆ ไว้ก่อนจนกว่าสินค้าจะมีราคาสูงขึ้นจึงจะนำออกมาจำหน่าย    

 3. หน้าที่การบริการให้ความสะดวก  เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง  และถาวร  การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ ได้แก่  ด้านการเงิน  โดยมีสถาบันการเงิน  คือ  ธนาคารเข้ามาจัดบริการด้านสินเชื่อเพื่อให้มีการกู้ยืมเงินมาใช้ในการลงทุน  นอกจากนี้ยังจัดให้มีการบริการอำนวยความสะดวก  เพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจ  เช่น  บริการด้านการประกันต่าง ๆ เช่น  การประกันราคาสินค้า  การประกันอุบัติภัย  และการให้บริการซ่อมแซม  เป็นต้น     

 4.  หน้าที่การสื่อสารข้อมูลทางการตลาด  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง     

5. หน้าที่ในการวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และการวิเคราะห์ตลาดยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และคาดคะเนผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย     

 6. หน้าที่ในการทำให้สินค้าต่างกัน เมื่อได้รับข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว หน้าที่ของตลาดก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทำได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                        6.1 เปลี่ยนแปลงตัวสินค้าใหม่แทนสินค้าตัวเดิม

                        6.2 เปลี่ยนแปลงราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

                        6.3 เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภค เช่น ซื้อสินค้าเพราะของแถมหรือการออกสลากรางวัลนำโชค

                        6.4 เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ผู้ซื้อได้รับรู้

                        6.5 เปลี่ยนแปลงการบรรจุหีบห่อ หรือตรายี่ห้อใหม่    

7. หน้าที่ในการตีราคาการตีราคาจะช่วยในการพิจารณาจุดคุ้มทุนว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ทางการตลาดนั้นมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ หรือสร้างความพอใจให้กับผู้ซื้อ-ขายหรือไม่หรือหากต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ของสังคมก็ควรจะต้องมี การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และการตลาดให้เหมาะสม   

8. หน้าที่ในการแบ่งส่วนตลาด เป็นการทำให้ตลาดมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า เนื่องจากผู้ผลิตสามารถเจาะจงลูกค้าได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกสินค้าและบริการเฉพาะอย่างได้มากขึ้น ทำให้เกิดการประหยัดทั้งการผลิตและบริโภคด้วย

สรุป ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขาย

    บทบทของการตลาด

         การตลาดมีความสำคัญกับมนุษย์ทุกคน เพราะทุกคนต้องการสินค้า บริการตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การตลาดเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน ทำให้มนุษญ์มีงานทำมีรายได้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จะเห็นได้ว่าการตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีค่านิยมของมนุษย์ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม กฏหมายและการเมือง เป็นต้น

        การตลาดเข้ามามีบทบาืทเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ขายกับผู้บริโภค ผู้ซื้อ หรืออีกนัยเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างแหล่งเสนอขาย กับความต้องการ

        การตลาดเป็นตัวเชื่อมระหว่างฃ่องทางเดินของสินค้า

        จากการดำเนินธุรกิจที่สะดวก รวดเร็ว และนำสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคคนสุดท้ายต้องผ่านคนกลางหรืออาจเรียกว่า ช่องทางเดินของสินค้า คือ ตลาดจะอยู่ระหว่างช่องทางเดินของสินค้าจากผู้ผลิต หรือแหล่งเสนอขายไปยังผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีก และร้านค้าปลีกซื้อสินค้ามาจากร้านค้าส่งร้านค้าส่งซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิต แต่ละช่องทางที่มีการซื้อขายกันต้องผ่านกระบวนการทางตลาดทั้งสิ้น (กระบวนการทางการตลาดได้แก่ การขาย การซื้อ การขนส่ง การเก็บรักษา การจัดมาตรฐานสินค้า การเงิน การเสี่ยงภัย การหาข้อมูลการตลาดและการวิจัยตลาด)

      วิวัฒนาการของการตลาด

         การตลาดเริ่มตั้งต้นมนุษย์ได้เริ่มมีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคม เนื่องจากมนุษย์มีความจำเป็น มีความต้องการสินค้าและบริการ จึงทำให้เกิดการซื้อขายและการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน การตลาดในยุคเริ่มแรกมีความแตกต่างกันการตลาดในยุคปัจจุบันมาก

            วิวัฒนาการของการตลาด แบ่งออกเป็นยุคที่สำคัญได้ 3 ยุคคือ

        1.  ยุคการผลิต

        2.  ยุคการขาย

        3.  ยุคการตลาด

            รายละเอียดแต่ละยุค มีดังนี้

       1. ยุคการผลิต เป็นยุคเริ่มค้ร ตั้งแต่ พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2460 เป็นยุคที่มนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายความต้องการหลักจะอยู่ในลักษณะปัจจัยสี่ ในยุคนี้มีการปฏิวัติอุสาหกรรม มีเครื่องมือ เครื่องจักรมาใช้ในการผลิต แต่อย่างไรก็ตามผลิตได้เท่าไหร่ก็สามารถขายได้ เพราะการผลิตยังไม่มากเกินความต้องการของมนุษย์ จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสินค้าที่ผลิตมาแล้วเหลือจำหน่าย ในยุคนี้การตลาดเรียกว่า "ตลาดของผู้ชาย"

        2.  ยุคการขาย เป็นยุคที่ต่อเนื่องจากยุคการผลิต อยู่ในช่วง พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2493 เป็นยุตที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ทำให้การผลิตสินค้าเริ่มเน้นที่คุณภาพของสินค้ามากยิ่งขึ้น เริ่มมีคู่แข่งขันในการตลาดระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ชาย จึงต้องอาศัยการโฆษณาและการส่งเสริมการขายเข้าช่วย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อให้มีความต้องการสินค้าและทำการซื้อสินค้า ในยุคนี้ผู้ซื่อมีสิทธิ์ในการเลือกซื้อสินค้าตามความพอใจจากผู้ผลิต ผู้ขายรายใดก็ได้ นักการตลาดจึงให้ความสนใจแก่ผู้ซื้อ จึงเรียกว่า "ตลาดของผู้ซื้อ" แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ตลาดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นตลาดของผู้ชาย เพราะเมื่อเกิดสงครามธุรกิจก็จะหยุดการผลิต สินค้าที่ีมีอยู่ในตลาดจึงไม่เพียงพอในการจำหน่าย

        3.  ยุคการตลาด เป็นยุคที่ต่อเนื่องจากยุคการขาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนถึงปัจจุบัน ในยุคนี้ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้มากขึ้น ผู้ผลิตมุ่งผลิตสินค้า ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงคุณภาพสินค้าแต่ก็ได้ความสนใจเกี่ยวกับกำไรของกิจการเป็นหลักด้วย

        ในปัจจุบันตลาดได้มีการพัฒนาขึ้น นักการตลาดต้องเอาใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น การผลิตสินค้าผู้ผลิตหรือผู้ขายจะมุ่งแต่กำไรอย่างเดียวไม่ได้ ต้่องมุ่งความพอใจของผู้บริโภคเป็นหลัก ในยุคนี้นักการตลาดต้องมุ่งเน้นการโฆษณา การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขายและการให้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพราะคู่แข่งขันในตลาดมีมาก การตลาดในยุคนี้เป็นการตลาดสมัยใหม่ จึงเรียกว่า " การตลาดเพื่อสังคม" คือผู้ผลิตมุ่งเน้นการผลิตที่มีคุณภาพ ความพอใจของผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงสังคมควบคู่กันไปด้วย เช่นไม่ค้ากำไรเกินควร ผลิตสินค้าที่ไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ เช่น ให้เงินช่วยเหลือการกุศล ผู้ประสบภัยต่างๆ นับได้ว่าเป็นการสร้างภาพพจน์กิจการไปในทางที่ดีด้วย