แผนการ สอน เรื่อง อาหารและโภชนาการ ป. 6

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี                 กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี

หน่วยการเรียนรู้ที่   3   อาหาร                                                                     เวลาเรียน 9  ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ตัวชี้วัด

มฐ ง 1.1            ม.1/1  วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน 

มฐ ง 1.1            ม.1/2   ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ

สาระสำคัญ

            อาหารมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้บุคคลในครอบครัวรับประทาน ควรมีการวางแผนจ่ายอาหาร และเลือกซื้ออาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายวิธีการจัดอาหารให้ครอบครัวได้ได้

2. สามารถจัดอาหารให้ครบ 5 หมู่สำหรับครอบครัวได้

3. เห็นประโยชน์ของการจัดอาหารสำหรับครอบครัวและจัดการด้วยความเสียสละและประหยัด

4. อธิบายวิธีการวางแผนการจ่ายอาหารได้

5. สามารถกำหนดรายการอาหารในแต่ละมื้อและวางแผนจ่ายอาหารได้

6. อธิบายวิธีการเลือกซื้ออาหารสดได้

            7. สามารถเลือกซื้ออาหารสดได้

            8. มีทักษะในการเลือกซื้ออาหารสด

9. อธิบายวิธีการเลือกอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงได้

            10. สามารถเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงได้

            11. มีทักษะในการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง

12. อธิบายวิธีการประกอบอาหารตามกระบวนการทำงาน

13. มีความขยัน อดทน และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาหาร

              14. ประกอบอาหารด้วยความสะอาดและประหยัด

15. ประกอบอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

16. อธิบายวิธีการจัดตกแต่งอาหารได้

17. มีความคิดสร้างสรรค์ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดตกแต่งอาหาร

18. จัดตกแต่งอาหารและโต๊ะอาหารได้

19. อธิบายแนวทางปฏิบัติในการบริการอาหาร วิธีการบริการอาหารในงานเลี้ยงบุฟเฟต์ และคุณลักษณะของผู้บริการอาหารได้

             20.  มีเจตคติที่ดีต่อการบริการอาหาร และมีมารยาทในการทำงาน

            21. บริการอาหารได้ถูกวิธี

สาระการเรียนรู้

            ความรู้

            1. อาหารสำหรับครอบครัว

2.การจัดอาหารสำหรับครอบครัว

3. การวางแผนจ่ายอาหา

4. การกำหนดรายการอาหาร

5. การวางแผนซื้ออาหาร

6. การเลือกซื้ออาหารสด

            7. การเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง

            8. การประกอบอาหาร

            9. วิธีการจัดตกแต่งอาหาร

            10. การจัดตกแต่งโต๊ะอาหาร

            11. ภาชนะเครื่องใช้ในการบริการอาหาร

            12.  แนวทางปฏิบัติในการบริการอาหาร

13. คุณลักษณะของผู้บริการอาหาร                        

ทักษะ/กระบวนการ

                        1.  มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำอาหาร

                        2. มีความรับผิดชอบ  มีเจตคติที่ดีต่อการทำอาหารและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                        3.  ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบและทำงานบ้านด้วยความเต็มใจ

                        4. เห็นความสำคัญของการทำอาหาร

            5. มีความรับผิดชอบ จัดเก็บที่อุปกรณ์การทำอาหาร

คุณลักษณะ

                        1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

                        2. ซื่อสัตย์สุจริต    

                        3. มีวินัย  

                        4. ใฝ่เรียนรู้                  

                        5. อยู่อย่างพอเพียง  

                        6. มุ่งมั่นในการทำงาน  

7. รักความเป็นไทย 

8. มีจิตสาธารณะ

กิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 1   เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว                                                            เวลา  1  ชั่วโมง

            ขั้นนำ

            1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อของนักเรียนในประเด็นต่อไปนี้

                        - มื้อเช้าของนักเรียนรับประทานอะไรบ้าง

                        - มื้อกลางวันของนักเรียนรับประทานอะไรบ้าง

                        - มื้อเย็นของนักเรียนรับประทานอะไรบ้าง

            2.  ครูนำภาพอาหารท้องถิ่นมาให้นักเรียนดู แล้วสุ่มถามนักเรียนด้วยคำถามที่ว่า

                        - อาหารที่นักเรียนเห็นในภาพเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคใดบ้าง                    

ขั้นสอน

             1.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอาหารสำหรับครอบครัว

            2.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ระดมสมองช่วยกันยกตัวอย่างชื่ออาหารท้องถิ่นแต่ละภาคมาให้มากที่สุด ส่งตัวแทน กลุ่มละ 1 คน ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

            3.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติในการจัดอาหารสำหรับครอบครัว

            4.  นักเรียนศึกษาเรื่องอาหารสำหรับครอบครัวในใบความรู้

5.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ช่วยกันกำหนดรายการอาหารใน 1 วัน โดยบันทึกลงในตาราง จากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียนและให้เพื่อนกลุ่มอื่นวิจารณ์เกี่ยวกับความเหมาะสมและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละรายการ โดยมีครูให้ข้อเสนอแนะ และเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่ถูกต้อง

            6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมสมองช่วยกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้ออาหาร แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน     

ขั้นสรุป

นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่องอาหารสำหรับครอบครัว

กิจกรรมที่ 2  เรื่อง  การวางแผนการจ่ายอาหาร                                                        เวลา  1  ชั่วโมง  

            ขั้นนำ

            1.  ครูนำภาพอาหารท้องถิ่นมาให้นักเรียนดู แล้วสุ่มถามนักเรียนด้วยคำถามต่อไปนี้

                          1.  อาหารที่นักเรียนเห็นในภาพเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคใดบ้าง

              2.  นักเรียนเคยจัดรายการอาหารประจำวันสำหรับสมาชิกในครอบครัวหรือไม่ ทำอย่างไร       ขั้นสอน

             1.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอาหารสำหรับครอบครัว

            2.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ระดมสมองช่วยกันยกตัวอย่างชื่ออาหารท้องถิ่นแต่ละภาคมาให้มากที่สุด ส่งตัวแทน กลุ่มละ 1 คน ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

            3.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติในการจัดอาหารสำหรับครอบครัว

            4.  นักเรียนศึกษาเรื่องการวางแผนจ่ายอาหารจากใบความรู้

5.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ช่วยกันกำหนดรายการอาหารใน 1 วัน โดยบันทึกลงในตาราง จากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียนและให้เพื่อนกลุ่มอื่นวิจารณ์เกี่ยวกับความเหมาะสมและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละรายการ โดยมีครูให้ข้อเสนอแนะ และเพิ่มเติม

ส่วนที่ยังไม่ถูกต้อง

ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้

กิจกรรมที่ 3   เรื่อง  การเลือกซื้ออาหารสด                                                 เวลา 1 ชั่วโมง

            ขั้นนำ

1.  ครูถามคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียน เช่น

            - นักเรียนคิดว่าอาหารที่นักเรียนซื้อมาสดและสะอาดหรือไม่

            - นักเรียนมีวิธีการเลือกซื้ออาหารสดอย่างไร

             2.  ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารสด      

ขั้นสอน

1.  ครูสุ่มถามนักเรียนเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารสด

            2.  นักเรียนอาสาสมัครออกมาเล่าประสบการณ์การเลือกซื้ออาหารสดมาประกอบอาหารหน้าชั้นเรียน ประมาณ 23 คน

            3.  นักเรียนศึกษาเรื่องการเลือกซื้ออาหารสดจากใบความรู้

            4.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมวัตถุดิบก่อนประกอบอาหาร

            5.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารสดจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน

6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารสด โดยทำลงในใบงาน

            7.  นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนจับฉลากเลือกประเภทอาหารที่ครูเตรียมมากลุ่มละ 1 อย่าง จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มสาธิตพร้อมอธิบายวิธีการเลือกซื้ออาหารสดที่จับฉลากได้ทีละกลุ่ม ซึ่งครูเป็นผู้นำวัตถุดิบต่าง ๆ มาให้ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้จากนั้นนักเรียนจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน เมื่อนักเรียนกลุ่มที่ออกมาสาธิตทำการสาธิตเสร็จแล้ว ให้นักเรียนกลุ่มอื่นวิจารณ์ โดยมีครูคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม

8.  นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนสรุปวิธีการเตรียมวัตถุดิบก่อนประกอบอาหาร ปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ไขปัญหาลงในสมุด โดยทำเป็นตาราง แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ขั้นสรุป

นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้ลงในสมุดบันทึกของตนเอง

กิจกรรมที่ 4  เรื่อง  การเลือกซื้ออาหารแห้ง กระป๋อง และเครื่องปรุง               เวลา  1  ชั่วโมง

            ขั้นนำ

            1. ครูนำภาพอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง แบบต่าง ๆ มาให้นักเรียนดูและตั่งคำถามต่อไปนี้

                        - นักเรียนเคยไปซื้อสิ่งของเหล่านี้หรือไม่

                        - นักเรียนทราบหรือไม่ว่าวิธีการซื้อของเหล่านี้ต้องทำอย่างไร

             2.  ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง

ขั้นสอน

1.  ครูสุ่มถามนักเรียนเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงของนักเรียน

            2.  นักเรียนอาสาสมัครออกมาเล่าประสบการณ์การเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง มาประกอบอาหารหน้าชั้นเรียน ประมาณ 23 คน

            3.  นักเรียนศึกษาเรื่องการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง

            4.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง

            5.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต

เป็นต้น แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน

6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับการเลือกชื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง โดยทำลงในใบงาน

            7.  นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนจับฉลากเลือกประเภทอาหารที่ครูเตรียมมากลุ่มละ 1 อย่าง จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มสาธิตพร้อมอธิบายวิธีการเลือกซื้ออาหารสดที่จับฉลากได้ทีละกลุ่ม ซึ่งครูเป็นผู้นำวัตถุดิบต่าง ๆ มาให้ ได้แก่ ข้าว เครื่องเทศ ถั่วเมล็ดแห้ง เกลือ น้ำตาลทราย  อาหารกระป๋อง จากนั้นนักเรียนจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน เมื่อนักเรียนกลุ่มที่ออกมาสาธิตทำการสาธิตเสร็จแล้ว ให้นักเรียนกลุ่มอื่นวิจารณ์ โดยมีครูคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม

8.  นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนสรุปวิธีการเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุง ปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ไขปัญหาลงในสมุด โดยทำเป็นตาราง แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ขั้นสรุป

นักเรียนบันทึกความรู้ที่ได้ลงในสมุดบันทึกของตนเอง

กิจกรรมที่ 5   เรื่อง  การประกอบอาหาร                                                                 เวลา  2  ชั่วโมง

            ขั้นนำ

1.  ทบทวนความรู้เกี่ยวกับวิธีการเตรียมวัตถุดิบก่อนประกอบอาหาร

            2.  ให้นักเรียนบอกรายการอาหารเช้าที่ตนเองรับประทานมาในวันนี้ และระบุว่าอาหาร
นั้น ๆ ประกอบด้วยวิธีใด
 

ขั้นสอน

1.  ครูนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ มาให้นักเรียนดู แล้วสุ่มถามนักเรียนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเหมาะกับการประกอบอาหารด้วยวิธีใด

            2.  นักเรียนจับคู่กับเพื่อนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่อไปนี้

                        1.  ประโยชน์ของการประกอบอาหาร

                        2.  ข้อดีและข้อเสียของการประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ

                        3.  อนามัยในการประกอบอาหาร

3.  นักเรียนอาสาสมัครออกมาเล่าประสบการณ์การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ หน้าชั้นเรียน ประมาณ 23 คน

            4.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการประกอบอาหาร แล้วส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

            5.  นักเรียนศึกษาเรื่องวิธีการประกอบอาหารจากใบความรู้

            6.  นักเรียนเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับวิธีการประกอบอาหาร โดยทำลงในใบงาน แล้วส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

            7.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับอนามัยในการประกอบอาหาร  

ขั้นสรุป

นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การประกอบอาหารโดยเขียนแผนที่ความคิด

กิจกรรมที่ 6   เรื่อง  การจัดและตกแต่งอาหาร                                                          เวลา  2   ชั่วโมง

ขั้นนำ

ครูนำภาพอาหารประเภทต่าง ๆ ที่ปรุงสำเร็จแล้วและจัดตกแต่งสวยงามมาให้นักเรียนดู แล้วถามคำถามต่อไปนี้

                         1.  นักเรียนเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกอย่างไร

2.  ถ้าจะจัดตกแต่งอาหารให้สวยงามในภาพจะต้องใช้ความรู้ด้านใดบ้าง

ขั้นสอน

             1.  ให้นักเรียนอาสาสมัครประมาณ 23 คน ออกมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดตกแต่งอาหารหน้าชั้นเรียน   

2.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ระดมสมองช่วยกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการจัดตกแต่งอาหาร แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน

            3.  นักเรียนศึกษาเรื่องวิธีการจัดตกแต่งอาหารจากใบความรู้

4.  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดตกแต่งอาหารจากแหล่งความรู้

ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น แล้วทำรายงาน

            5.  นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบจัดตกแต่งอาหาร

            6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดอาหารให้น่ารับประทาน โดยเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการอาหารและอาหารที่นักเรียนเตรียมมาใช้ประกอบการจัดได้ จากนั้นนำเสนอผลงานการจัดอาหารของกลุ่มหน้าชั้นเรียน  แล้วสรุปผลการการปฏิบัติงานลงในใบงาน

ขั้นสรุป

นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปวิธีการจัดตกแต่งอาหารและการจัดตกแต่งโต๊ะอาหาร

กิจกรรมที่ 7  เรื่อง  การบริการอาหาร                                                                     เวลา  1  ชั่วโมง

            ขั้นนำ

ครูนำภาชนะเครื่องใช้ในการบริการอาหารมาให้นักเรียนดู แล้วสุ่มถามนักเรียนด้วยคำถามต่อไปนี้

                        1.  ภาชนะที่นักเรียนเห็นนี้มีไว้สำหรับทำอะไร

            2.  นักเรียนเคยใช้ภาชนะเหล่านี้ในการบริการอาหารให้ผู้อื่นหรือไม่ และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร     

ขั้นสอน

1.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ช่วยกันคิดแนวทางปฏิบัติในการบริการอาหาร แล้วจดบันทึกลงในสมุด และส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

2.  ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการบริการอาหาร

            3.  ผู้สอนขออาสาสมัครนักเรียน 2 คน โดยให้นักเรียนคนแรกออกมาสาธิตการยกภาชนะเครื่องใช้ไปบริการ และให้นักเรียนคนที่สองออกมาสาธิตการบริการอาหาร

4.  ผู้สอนสาธิตการยกภาชนะเครื่องใช้ไปบริการและการบริการอาหารให้นักเรียนดู 

             5.  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเรื่องการบริการอาหารจากใบความรู้  แล้วทดลองยกภาชนะเครื่องใช้ไปบริการและทดลองบริการอาหาร โดยให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันวิจารณ์

            6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติเรื่องการบริการอาหารในงานเลี้ยงบุฟเฟต์ โดยมีผู้สอนคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม

7.  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเรื่อง หลักการบริการอาหาร จากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

8.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริการอาหาร

9.  นักเรียนสรุปความรู้เรื่องการบริการอาหาร โดยการจับคู่ผลัดกันถามและตอบกับเพื่อน

ขั้นสรุป

นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่องการบริการอาหาร

สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

1. ใบความรู้เรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว

2. ใบงานเรื่อง อาหารสำหรับครอบครัว

3. ใบความรู้เรื่อง การวางแผนการจ่ายอาหาร

4. ใบงานเรื่อง การวางแผนการจ่ายอาหาร

5. ใบความรู้เรื่อง การเลือกซื้ออาหารสด

6. ใบงานเรื่อง การเลือกซื้ออาหารสด

7. ใบความรู้เรื่อง การเลือกซื้ออาหารแห้ง กระป๋อง และเครื่องปรุง

            8. ใบงานเรื่อง การเลือกซื้ออาหารแห้ง กระป๋อง และเครื่องปรุง

            9. ใบความรู้เรื่อง การประกอบอาหาร

            10. ใบงานเรื่อง การประกอบอาหาร

11. ใบความรู้เรื่อง การจัดตกแต่งอาหาร

12. ใบงานเรื่อง การจัดตกแต่งอาหาร

13. ใบความรู้เรื่อง การบริการอาหาร

14. ใบงานเรื่อง การบริการอาหาร

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

             วิธีการวัดและเครื่องมือวัด

เป้าหมาย

หลักฐาน

วิธีวัด

เครื่องมือวัด

สาระสำคัญ

อาหารมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้บุคคลในครอบครัวรับประทาน ควรมีการวางแผนจ่ายอาหาร และเลือกซื้ออาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

1.  ใบงาน

2.  ผลการทำแบบทดสอบ

3.  สมุดบันทึกความรู้

4.  ชิ้นงานการนำเสนอ

1.  ทดสอบ

2.  ตรวจใบงาน

3.  ตรวจบันทึกการเรียน

4.  สังเกตการนำเสนอผลงาน

1.  แบบทดสอบประเมินผล

2.  แบบประเมินใบงาน

3.  แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

ตัวชี้วัด

มฐ ง 1.1   ม.1/1  วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน 

มฐ ง 1.1     ม.1/2   ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ

1. การปฏิบัติงานตาม          ใบงานในชั้นเรียน

2.  การร่วมอภิปรายกับเพื่อน

3.  การปฏิบัติงานกลุ่ม

4.  การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้

1.  ตรวจใบงาน

2.  การซักถามปัญหา

3.  สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน

4.  การสรุปความรู้และขั้นตอนการเล่นเกมหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ

5.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียน

6.สังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียน

1. แบบประเมินผลงาน

2. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

3.  แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

4. แบบประเมินพฤติกรรม

5. แบบทดสอบ

6. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน

เป้าหมาย

หลักฐาน

วิธีวัด

เครื่องมือวัด

คุณลักษณะ

1. รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

2. ซื่อสัตย์สุจริต    

3. มีวินัย  

4. ใฝ่เรียนรู้                  

5. อยู่อย่างพอเพียง  

6. มุ่งมั่นในการทำงาน  

7. รักความเป็นไทย 

8. มีจิตสาธารณะ

1 ผลการการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.  สังเกตพฤติกรรม

1.  แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เกณฑ์การวัด

1.  แบบประเมินผลงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

2. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

3.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

4. แบบประเมินพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

5. แบบทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

6. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

7. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ด้าน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป