วิจัย การเสริมแรงทางบวก ประถม

งานวิจัยในชั้นเรียน

การศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงาน

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 

โดยการใช้การเสริมแรงทางบวก

โดย

นางสาว นันทกานต์       อาดปักษา

ช่วงชั้นที่ 2

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ปีการศึกษา 2554

โรงเรียนเทพวิทยา   อ.บ้านโป่ง   จ.ราชบุรี

ชื่อเรื่อง: การศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

    ปีที่ 4/3  โดยการใช้การเสริมแรงทางบวก

ชื่อผู้วิจัย: นางสาว นันทกานต์ อาดปักษา

ความเป็นมาของการทำงานวิจัย

                การเรียนการสอนในชั้นเรียน นอกจากจะเป็นสถานที่ให้ความรู้แล้ว ยังเป็นสถานที่ฝึกพฤติกรรมให้อยู่ในระเบียบวินัยตามความประสงค์ของสังคม  การขาดความรับผิดชอบในการทำงานเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้อันเป็นผลทำให้การสอนไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

                นักจิตวิทยาได้เสนอวิธีการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนใหม่โดย เน้นการให้รางวัลแทนการลงโทษ ซึ่งใช้ทฤษฎีหลักการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับพฤติกรรมของมนุษย์ สกินเนอร์นักจิตวิทยาที่สนใจในการปรับพฤติกรรมมีความเชื่อว่า  อินทรีย์เมื่อกระทำพฤติกรรมหนึ่งแล้วได้รับการเสริมแรง แนวโน้มที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นบ่อยครั้งขึ้น  แต่ถ้าพฤติกรรมนั้นไม่ได้รับการเสริมแรง  พฤติกรรมนั้นจะมีความถี่ลดลงจนหายไป  นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการตอบสนองในพฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนมากในระยะที่ได้รับการเสริมแรง ทฤษฎีนี้สามารถนำไปประยุกต์ปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในชั้นเรียนได้  คือเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดี  แล้วได้รับแรงเสริมจากครู เด็กมีแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมนั้นเพิ่มขึ้น  เด็กจะเห็นความสำคัญของการได้รับรางวัลและคำชมเชย การสัญญาว่าจะให้รางวัลจึงเป็นแรงจูงใจให้เด็กกระทำความดีได้มากกว่าการดุ หรือการขู่ว่าจะลงโทษ

                เนื่องจากครูเป็นผู้ที่มีหน้าที่ โดยตรงในการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาให้เป็นไปในทางที่พึงประสงค์ เพื่อให้เด็กไทยเจริญทุกด้าน ตามความมุ่งหมายของการศึกษา พฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียน เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษา และเป็นคุณลักษณะไม่พึงประสงค์ในสังคม

                ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทพวิทยา โดยการใช้การเสริมแรงทางบวก

วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการวิจัย

         เพื่อศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่  4/3โดยการใช้การเสริมแรงทางบวก

วิธีดำเนินการวิจัย

          ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  3. การดำเนินการทดลอง

1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

                ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนเทพวิทยา ระดับชั้นประถมศึกษา  จำนวน 34 คน

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3  ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนเทพวิทยา ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 34 คน  ที่มีพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานจำนวน 3 คน คือ

1.      เด็กชาย ไตรภพ  เรืองฤทธิ์

2.      เด็กชาย ไกรศร   สุขเนตร

3.      เด็กชาย  เสนีย์     แกรอด

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                - แบบบันทึกการสังเกตการทำงานในแต่ละวัน

3. การดำเนินการทดลอง

                การปรับพฤติกรรมครั้งนี้เป็นการทดลอง แบบใช้การสังเกต และบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ คือตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 13 ธันวาคม  2554  โดยแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

                ระยะที่ 1 : เป็นระยะเส้นฐานพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานระยะนี้ ผู้ดำเนิน การปรับพฤติกรรมทำการสังเกต และบันทึกพฤติกรรมใช้เวลา 1 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน  ถึง วันที่  25 พฤศจิกายน 2554

                ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่ใช้การเสริมแรงทางบวก คือการให้  ในการปรับพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานใช้เวลา 1 สัปดาห์  เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน  ถึงวันที่ 2 ธันวาคม  โดยผู้ปรับพฤติกรรมเป็นผู้ให้   และชี้แจงเงื่อนไขการให้  ให้นักเรียนทราบโดยจะให้   ในแต่ละวันที่นักเรียนรับผิดชอบในการทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนดโดยมีแบบบันทึกพฤติกรรมติดบนกระดานในห้องเรียน  ถ้านักเรียนคนใดได้  มากที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลองจะได้รับรางวัล เช่น ลูกบอล,  Dragon Ball  หรือสติกเกอร์ 1 แผ่น ตามความพอใจ

                ระยะที่ 3 :  ระยะตรวจสอบความคงทนของพฤติกรรมที่ได้ปรับแล้ว ระยะนี้ใช้เวลา 1 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 จะงดให้  แก่กลุ่มทดลอง  แต่จะใช้แรงเสริมทางสังคมได้แก่คำชมเชย  การแตะต้องสัมผัส  การพยักหน้ายอมรับ เป็นต้น

สรุปผล

                ระยะที่ 1เป็นระยะเส้นฐานพฤติกรรม ซึ่งยังไม่มีการเสริมด้วยการให้  และผู้ที่ถูกสังเกตยังไม่รู้ตัว ใช้เวลา 1 สัปดาห์นักเรียนจึงมีพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงาน โดยเฉพาะ

-         เด็กชาย ไกรศร  สุขเนตร  ไม่จดการบ้านในแต่ละวิชา จดงานวิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, จีน และสังคมไม่เสร็จ  และไม่ทำการบ้านมาส่งในแต่ละวิชา ต้องเรียกมาตักเตือนหลายครั้ง

-         เด็กชาย เสนีย์  แกรอด  ชอบร้องเพลงอยู่ตลอดเวลา  ทำให้ทำงานไม่เสร็จในแต่ละวิชา  ต้องตักเตือนหลายครั้ง

-         เด็กชาย ไตรภพ เรืองฤทธิ์  ชอบนั่งเหม่อลอย ไม่ทำงานต้องคอยกระตุ้นให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา

ระยะที่ 2เป็นระยะที่จะเริ่มใช้

 ในการปรับพฤติกรรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยแจ้งเงื่อนไขให้ผู้รับการปรับพฤติกรรมได้รับทราบว่าจะมีการให้ และจะให้  ในแต่ละวันที่นักเรียนรับผิดชอบในการทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนดโดยมีแบบบันทึกพฤติกรรมติดบนกระดานในห้องเรียนถ้านักเรียนคนใดได้มากที่สุดเมื่อถึงเวลาที่กำหนดจะได้รับรางวัลตามกติการที่กำหนดไว้  จากการสังเกตนักเรียนมีความพึงพอใจกับการได้รับแรงเสริมเป็น  ทั้ง 3 คน  มีความกระตือรือร้นและรับผิดชอบในการทำงานเสร็จตามกำหนดเวลาของแต่ละวัน แต่บางวันนักเรียน บางคนขาดความรับผิดชอบกในการทำงาน แต่พอเห็นเพื่อนได้รับ ก็จะมีความรับผิดชอบในการทำงานดีขึ้น

ระยะที่ 3เป็นสัปดาห์ที่ 3 ของการปรับพฤติกรรม และระยะนี้จะงดการให้  แต่จะให้แรงเสริมทางสังคมแทนโดยการกล่าวคำชมเชย  การสัมผัส และการพยักหน้า  นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น และสามารถทำงานได้เสร็จตามกำหนดเวลา

ผลการวิจัย

                การให้แรงเสริมทางบวกคือ การให้ดาว สามารถลดพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียน ทั้ง 3 คนได้เป็นอย่างดี  เพราะนักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้รับดาวเป็นแรงเสริม  มีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น  เพื่อจะได้รางวัล หรือคำชมเชย  จึงสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับการปรับพฤติกรรมของนักเรียนคนอื่นๆ ได้ต่อไป

แบบบันทึกพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงาน

วันที่  24 ตุลาคม  2549   ถึงวันที่  10 พฤศจิกายน  2549

            ชื่อ

  เวลา

1. จิรายุ  ชมฤทธิ์

2. วริทธิ์ งามพรชัย

3. พิชญตม์  กิติสุข

สัปดาห์ที่ 1

22 พ.ย.54

û

û

û

23 พ.ย.54

ü

24 พ.ย.54

ü

25 พ.ย. 54

สัปดาห์ที่ 2

28 พ.ย. 54

«

«

û

29 พ.ย. 54

û

û

30 พ.ย. 54

1 ธ.ค. 54

2 ธ.ค. 54

สัปดาห์ที่ 3

6 ธ.ค. 54

ü

ü

ü

7 ธ.ค. 54

8 ธ.ค. 54

9 ธ.ค. 54

10 ธ.ค. 54

û            ขาดความรับผิดชอบในการทำงาน

«          มีความรับผิดชอบในการทำงาน

ü          ให้คำชมเชย

 

งานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่องการแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง

  ผู้วิจัย

ครูฉายพรรณ  สนิทนาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภาษาไทย

ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2546

 ชื่องานวิจัย                      การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง

ชื่อผู้วิจัย                     ครูฉายพรรณ  สนิทนาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้        ภาษาไทย


จุดประสงค์การวิจัย

              การได้ค้นคว้าหาคำศัพท์ตามที่นักเรียนสนใจ  และการได้ฝึกเขียนบ่อยๆ  จะช่วยทำให้นักเรียนสามารถเขียนสะกดคำ  ( คำศัพท์ ) ในมาตราตัวสะกดต่างๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ระยะเวลาในการดำเนินการ

             มกราคม   กุมภาพันธ์   2547

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.             ทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนค้นคว้าหาคำศัพท์จากหนังสือพิมพ์  วารสารต่างๆ  ทุกมาตราตัวสะกด

2.             ตรวจผลงานนักเรียน  บันทึกคะแนน  โดยแบ่งคะแนนเป็น

-                   การเขียนโดยใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด

-                   การเขียนสะกดคำโดยใช้ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

3.             บันทึกคะแนน

4.             เขียนสะกดคำจากใบงาน

5.             ตรวจผลงาน  โดยใช้เกณฑ์เดียวกับการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

6.             บันทึกคะแนน

7.             เปรียบเทียบคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด

8.             สรุปผลการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 เรื่อง   การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง

ความสำคัญและที่มา

จากการสอนทักษะการเขียนสะกดคำ  พบว่า  เมื่อครูให้นักเรียนอ่านบทเรียน  หรือ  หนังสือนอกเวลา  แล้วกำหนดคำให้นักเรียนเขียนตามคำบอก จากคำที่ครูกำหนดขึ้น  นักเรียนไม่สามารถเขียนคำได้ถูกต้อง  ตามมาตราตัวสะกด  ต่างๆ    ครูผู้สอนจึงจึงเกิดความคิดที่ว่า  การ  ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆจากหนังสือพิมพ์  หรือวารสารต่างๆ  และการฝึกให้นักเรียนได้เขียนสะกดคำบ่อยๆ  จะช่วยให้นักเรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

จุดม่งหมาย

               การได้ค้นคว้าหาคำศัพท์ตามที่นักเรียนสนใจ  และการได้ฝึกเขียนบ่อยๆ จากใบงาน   จะช่วยทำให้นักเรียนสามารถเขียนสะกดคำ  ( คำศัพท์ ) ในมาตราตัวสะกดต่างๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ตัวแปรที่ศึกษา

              ในการวิจัยในครั้งนี้  ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย

1.             ตัวแปรอิสระ  คือ  นักเรียนฝึกเขียนสะกดคำจากเอกสารต่างๆ  และใบงาน

2.             ตัวแปรตาม    คือ  ความสามารถในการเขียนสะกดคำ

กรอบแนวคิดในการวิจัย

              ใบงานการเขียนสะกดคำต่างๆ    หมายถึง   ใบงานที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นมา  โดยการนำคำศัพท์ที่เขียนสะกดคำด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆ  และเป็นคำที่นักเรียนมักจะใช้ตัวสะกดผิด  ในบทเรียนต่างๆ

              ความสามารถในการเขียนสะกดคำ   หมายถึง   คะแนนที่ได้จากการเขียนสะกดคำ  ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.             ผู้เรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากขึ้น

2.             ผู้เรียนเข้าใจและนำมาตราตัวสะกดต่างๆไปใช้ได้ถูกต้อง

ขอบเขตของการวิจัย

1.             นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2  จำนวน  คน

2.             ใบงาน  การเขียนสะกดคำศัพท์ในมาตราตัวสะกดต่างๆ   ช่วงชั้นที่ 2 )

ระยะเวลาในการดำเนินการ

                 มกราคม กุมภาพันธ์   2547

วิธีดำเนินการวิจัย

     ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.             คัดเลือกนักเรียน

2.             มอบหมายงาน

3.             ดำเนินการ

4.             รวบรวมข้อมูล

5.             สรุปผล

  สรุปผลการดำเนินงานวิจัย

              1.    การทดสอบก่อนเรียน   นักเรียนคัดเลือกคำศัพท์ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆจากหนังสือพิมพ์   แล้วนำคำศัพท์มาติดลงในใบงานที่ครูกำหนดให้    มาตราตำสะกด     ผลการเขียนสะกดคำนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ   60  จำนวน  มาตราตัวสะกด  มาตราแม่ ก กา และแม่  กม  ไม่ผ่านเกณฑ์   รวมเฉลี่ยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ  78.66

               2.   การทดสอบหลังเรียน    ใบงานที่  มาตราตัวสะกดแม่  ก กา    นักเรียนเขียนคำจากภาพที่กำหนดให้    ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ  83.33

               3.    ใบงานที่  มาตราตัวสะกด  แม่  กง   เติมคำที่มีตัวสะกด   8   ข้อ   ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ  100         

               4.   ใบงานที่  มาตราตัวสะกดแม่  กน   เติมตัวสะกด  เขียนคำ  และแต่งประโยค  จำนวน   26  ข้อ    ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ  69.25                  

               5.   ใบงานที่  มาตราตัวสะกด  แม่  กม   เติมคำที่มีตัวสะกด  จำนวน  10  ข้อ    ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ   70

               6.   ใบงานที่  มาตราตัวสะกด  แม่  เกย   หาคำที่มี ย  สะกด  และแต่งประโยค   เติมคำในประโยค   จำนวน   15   ข้อ  ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ   80

               7.   ใบงานที่  6   มาตราตัวสะกด   แม่  เกอว  ระบายสีคำที่มี  ว  สะกด  จำนวน  8 ข้อผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ   62          

                 8.   ใบงานที่   7    มาตราตัวสะกด  แม่  กก   ระบายสีคำที่มีตัวสะกด  จำนวน  21  ข้อ   ผลการเขียนสะกดคำผ่านเเกณฑ์ร้อยละ   23.80

                 9.   ใบงานที่   8    มาตราตัวสะกด  แม่  กด   เติมคำที่มีตัวสะกด  จำนวน  12  ข้อ  ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ   25

                10.   ใบงานที่   9    มาตราตัวสะกด  แม่  กบ  เติมคำที่มีตัวสะกด  จำนวน  10  ข้อ  ผลการเขียนสะกดคำผ่านเกณฑ์ร้อยละ   70

                11.   ผลจากการเขียนสะกดคำจากใบงานทั้ง  มาตราตัวสะกด  นักเรียนยังเขียนสะกดคำไม่ผ่านร้อยละ  60  จำนวน  มาตราตัวสะกด  คือ  แม่  กก  แม่กด   รวมเฉลี่ยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ  64.87      

จากผลการดำเนินงาน

              1.  ในภาพรวมจากการวิจัยเรื่องการแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง  พบว่า  นักเรียนยังจำมาตราตัวสะกดแต่ละมาตราตัวสะกดไม่ได้   จึงเขียนไม่ถูกต้อง  

2.             นักเรียนไม่ค่อยสนใจในการทำงาน  สังเกตจากชิ้นงานและลายมือ

3.             ครูผู้ทำงานวิจัย มีเวลาพบผู้เรียนห้องละ 1 คาบ  ต่อสัปดาห์  (นักเรียนทำงานหลังจากเรียนในชั่วโมงแล้ว ทำให้การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 

4.             จากการสังเกตคิดว่านักเรียนหาคำศัพท์จากวารสารจะได้คะแนนมากกว่าในใบงาน

เพราะนักเรียนอาศัยความจำ  ไม่ได้มาจากความเข้าใจ

                                                                                      ตารางสรุปใบงาน

ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อนเขียนสะกดคำ  และหลังการเขียนสะกดคำ

เด็กชายวศิน    เจริญพานิช           ชั้นประถมศึกษาปีที่  6/2

ครั้งที่

ใบงานมาตราตัวสะกดที่………

การทดสอบก่อนเรียน

การทดสอบหลังเรียน

คะแนน

ได้

ร้อยละ

คะแนน

ได้

ร้อยละ

1

มาตราแม่  ก กา

20

6

30

12

10

83.33

2

มาตราแม่  กง

20

17

85

8

8

100

3

มาตราแม่  กน

20

14

70

26

18

69.23

4

มาตราแม่  กม

25

12

48

10

7

70

5

มาตราแม่  เกย

15

13

92

15

12

80

6

มาตราแม่  เกอว

15

14

93

8

5

62.5

7

มาตราแม่  กก

20

19

95

21

5

23.80

8

มาตราแม่  กด

20

20

100

12

3

25

9

มาตราแม่  กบ

20

19

95

10

7

70

คะแนนเฉลี่ย

175

134

78.66

122

75

64.87