การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

นู่นก็ดอกไม้ นี่ก็ดอกไม้ ดอกไม้เต็มไปหมดเลย 

ถึงดอกไม้จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็มีการจัดจำแนกประเภทของดอกไม้เพื่อให้ศึกษาได้ง่ายขึ้น และเพื่อความอิน ก่อนเริ่มอ่านบทความนี้เราขอแนะนำให้เพื่อน ๆ มองหาดอกไม้รอบ ๆ ตัวดูสักหนึ่งชนิด ลองเข้าไปดูใกล้ ๆ แล้วมาดูกันว่าโครงสร้างของดอกไม้ที่เราเห็นกันอยู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

โครงสร้างของดอกและประเภทของดอก

โครงสร้างของดอกไม้ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ส่วน ได้แก่ ชั้นกลีบเลี้ยง (Calyx) ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นโครงสร้าง ชั้นกลีบดอก (Corolla) มีกลีบดอก (Petal) เป็นโครงสร้าง ชั้นเกสรเพศผู้ (Stamen) และชั้นเกสรเพศเมีย (Pistil) โครงสร้างของดอกไม้แต่ละส่วนจะอยู่ด้วยกันแบบนี้และมีหน้าที่แตกต่างกัน

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

ชั้น โครงสร้าง หน้าที่
ชั้นกลีบเลี้ยง (Calyx) กลีบเลี้ยง (Sepal) - ห่อหุ้ม ปกป้องอันตรายให้ส่วนต่าง ๆ ของดอกที่อยู่ภายใน
- มักเป็นสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์ ทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงได้
ชั้นกลีบดอก (Corolla) กลีบดอก (Petal) - ดึงดูดให้แมลงเข้ามาผสมเกสร ด้วยต่อมน้ำหวานหรือต่อมกลิ่น มักมีสีสดใสเพราะมีรงควัตถุต่าง ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ แอนโทไซยานิน
ชั้นเกสรเพศผู้ (Stamen) เกสรเพศผู้ (Stamen) ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ อับเรณู (Anther) และก้านชูอับเรณู (Filament) - สร้าง microspore และพัฒนาไปเป็นเรณู (Pollen) ภายในอับเรณู เมื่อเรณู (pollen) ไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ก็จะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm)
ชั้นเกสรเพศเมีย (Pistil) เกสรเพศเมีย (Pistil) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และรังไข่ (ovary) ที่มีออวุล (ovule) อยู่ภายใน - รังไข่ทำหน้าที่ยึดส่วนของเกสรเพศเมียให้ติดกับฐานรองดอก (Receptacle)
- ในออวุลมีการสร้าง megaspore จะพัฒนาไปเป็นถุงเอ็มบริโอ (Embryo sac) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (Egg)

ในบรรดาดอกไม้หลากหลายรูปแบบ เราสามารถจำแนกประเภทของดอกไม้ได้จากเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น

1. จำแนกโดยใช้ส่วนประกอบของโครงสร้างเป็นเกณฑ์ 

ได้แก่ ดอกครบส่วนหรือดอกสมบูรณ์ (Complete flower) และดอกไม่ครบส่วนหรือดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) โดยดอกครบส่วน ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ชั้นครบถ้วน แต่ดอกไม่ครบส่วน ‘ชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือมากกว่า 1 ชั้น จะหายไป’

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

2. จำแนกโดยใช้โครงสร้างชั้นเกสรเพศเป็นเกณฑ์ 

ได้แก่ ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) และดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) โดยดอกสมบูรณ์เพศจะมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ส่วนดอกไม่สมบูรณ์เพศ หนึ่งดอกจะมีแค่เกสรเพศใดเพศหนึ่ง มักแยกเป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย เราจึงถือว่า ‘ดอกไม่สมบูรณ์เพศเป็นดอกไม่ครบส่วน’ ด้วย

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

ระวังสับสน: แต่ดอกสมบูรณ์เพศก็เป็นดอกไม่ครบส่วนได้นะ

ดอกไม้บางชนิดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เพราะมีเกสรครบทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่เป็นดอกไม่ครบส่วนเพราะขาดองค์ประกอบชั้นอื่น ๆ ไป เช่น ดอกบานเย็นที่ไม่มีชั้นกลีบดอก แต่มีกลีบเลี้ยงสีสันสดใส และมีเกสรครบทั้งสองเพศ

3. จำแนกโดยใช้จำนวนของดอกบนก้านดอกเป็นเกณฑ์

ได้แก่ ดอกเดี่ยว (Solitary flower) และดอกช่อ (Inflorescence flower) โดยดอกเดี่ยว (Solitary flower) 1 ดอกจะพัฒนามาจากตาดอก* 1 ตา มี 1 ดอกบนก้านดอก ในขณะที่ดอกช่อ (Inflorescence flower) ตาดอก 1 ตา มี 1 ก้านช่อ แต่ 1 ก้านช่อมีหลายก้านดอก ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดจะมีการแตกก้านดอกและการจัดเรียงดอกที่แตกต่างกัน

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

เราสามารถแบ่งชนิดของดอกช่อได้เป็น 2 แบบตามลำดับการบานของดอก คือ 

3.1 ดอกช่อแบบ Indeterminate ดอกย่อยชั้นล่างสุดหรือชั้นนอกสุดจะบานและแก่ก่อน

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

3.2 ดอกช่อแบบ Determinate ดอกย่อยชั้นบนสุดหรือในสุดจะบานและแก่ก่อน

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

*ตาดอก คือกลุ่มเซลล์บริเวณด้านข้างของกิ่งหรือลำต้นที่มีการแบ่งตัวของเซลล์อย่างรวดเร็ว จะพัฒนาไปเป็นส่วนต่าง ๆ ของดอก

ระวังสับสน: ดอกช่อที่คล้ายดอกเดี่ยว

ดอกไม้บางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว แต่จริง ๆ แล้วเป็นดอกช่อ เช่น ดอกทานตะวัน ดอกเดซี่ (และดอกของพืชชนิดอื่น ๆ ในวงศ์ Asteraceae) เพราะดอกทานตะวันมีดอกย่อยเล็ก ๆ 2 ชนิด ได้แก่ ดอกรอบนอก และดอกกลางช่อ (ดอกภายใน) ติดอยู่บนปลายของก้านช่อดอกที่เป็นฐานโค้งนูน เราเรียกช่อดอกแบบนี้ว่าช่อดอกแบบกระจุกแน่น (Head)

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

4. จำแนกโดยใช้ตำแหน่งของรังไข่เป็นเกณฑ์

ได้แก่ ดอกที่มีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (Hypogynous flower) ดอกที่มีรังไข่เสมอกับฐานรองดอก (Perigynous flower) และดอกที่มีรังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก (Epigynous flower)

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

ชนิดของผล

ถ้าเพื่อน ๆ เข้าใจประเภทของดอกและช่อดอก เพื่อน ๆ ก็จะสามารถเดาต่อได้ว่าในอนาคตดอกไม้เหล่านี้จะเจริญกลายเป็นผลแบบไหน ซึ่งผล (Fruit) คือส่วนที่พัฒนามาจากรังไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (หรืออาจจะไม่ได้รับการปฏิสนธิก็ได้) บางส่วนของดอกอาจจะเจริญขึ้นมาพร้อม ๆ กับผลด้วย เช่น กลีบเลี้ยง

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

กลีบเลี้ยงสีเขียวที่เจริญติดกับผลของมะเขือเทศอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชในวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ขอบคุณรูปภาพจาก Andrea Riezzo บน Unsplash

เราสามารถจำแนกประเภทของผลได้จาก 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ลักษณะของดอกที่จะเจริญไปเป็นผล (ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ) และจำนวนรังไข่ที่จะเจริญไปเป็นผล ประเภทของผล 3 แบบที่เราพบได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันคือ

  1. ผลเดี่ยว (Simple fruit)

    เกิดจากการพัฒนาของ 1 รังไข่ บน 1 ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกย่อยที่อยู่บนช่อดอกก็ได้ เช่น ส้ม 
  2. ผลกลุ่ม (Aggregate fruit)

    เป็นผลย่อยที่อยู่เบียดชิดกัน ผลกลุ่มเกิดจากการพัฒนาของหลายรังไข่ บน 1 ดอก ดอกเดี่ยว หรือดอกย่อยในดอกช่อก็ได้ เช่น สตอว์เบอร์รี่
  3. ผลรวม (Multiple fruit)

    เกิดจากการพัฒนาของรังไข่ของหลาย ๆ ดอก เชื่อมรวมกันแน่นจนบางครั้งดูเหมือนผลเดี่ยวขนาดใหญ่ เกิดได้กับดอกช่อที่แต่ละดอกย่อยมีรังไข่อยู่ใกล้กันมาก ๆ เช่น สับปะรด

การ สืบพันธุ์ ของพืชดอก ม.5 doc

อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงเข้าใจถึงส่วนประกอบต่าง ๆ และประเภทของดอกไม้กันมากขึ้น แถมยังเดาได้ด้วยว่าดอกไม้หน้าตาแบบนี้จะกลายเป็นผลไม้แบบไหน ครั้งต่อไปเวลาไปเที่ยวแล้วเห็นดอกไม้ ก็อย่าลืมหยิบความรู้เรื่องโครงสร้างของดอกมาทบทวนกันบ่อย ๆ ด้วยล่ะ หรือจะโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาทำแบบฝึกหัดไปด้วยก็เริ่ดสุด ๆ

ส่วนใครที่อยากสนุกกับวิชาชีวะต่อ คลิก การแข็งตัวของเลือด, ภูมิคุ้มกันก่อเองและภูมิคุ้มกันรับมา และ หมู่เลือดและการถ่ายเลือด 

ขอบคุณข้อมูลจาก:

  1. หฤษฎ์ ยวงมณี (ครูติ๊ก)