โครงงาน การสกัดสีจากดอกอัญชัน

การสกัดสีหมึกพิมพ์สกรีนผ้า จากดอกอัญชัน

โครงงาน การสกัดสีจากดอกอัญชัน

ชื่อโครงงาน การสกัดสีหมึกพิมพ์สกรีนผ้า จากดอกอัญชัน
ชื่อผู้ทำโครงงาน น.ส. สุทัตตา ไชยลาโภ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. สุดา เกียรกำจรวงศ์
สถาบันการศึกษา โรงเรียนราชินี
ระดับชั้น มัธยมปลาย
หมวดวิชา เคมี
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน 1/1/2541

บทคัดย่อ สีอาจเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำหมึกพิมพ์ แต่สีที่ใช้เหล่านี้มักสังเคราะห์มาจากปฏิกิริยาเคมีซึ่งอาจมีสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้จึงคิดสกัดสีจากพืชมาใช้แทน เพื่อช่วยลดปริมาณสารเคมีที่จะใช้ลงบ้าง ในโครงงานนี้ เลือกสกัดสีจากดอกอัญชัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการสกัดสีจากดอกอัญชันด้วยตัวทำละลายและนำสีที่สกัดได้จากดอกอัญชันมาประยุกต์ในการพิมพ์

ที่มา :http://www.vcharkarn.com/project/view/182

แบบเสนอเค้าโครงงาน

ชื่อโครงงาน การศึกษาการสกัดสารสีจากธรรมชาติเพื่อพัฒนาหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ท
ชื่อผู้ทำโครงงาน 1.นางสาวภัทรพร พงษ์ปราโมทย์ เลขที่ 8 ม.5/1
2.นางสาววิภาดา ทัศน์เอี่ยม เลขที่ 13 ม.5/1
3.นางสาวอรพรรณ กมลกิจการ เลขที่ 16 ม.5/1
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูทองดี แย้มสรวล
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม คุณครูเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง
_______________________________________________________________________________
1.ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมากต่อชีวิตประจำวันของคนเราทั้งทางด้านการสื่อสาร การทำธุรกิจ ตลอดจนการเรียนการสอนและการนำเสนองานต่าง ๆ เครื่องพริ้นเตอร์ (Ink Jet Printer) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ใช้กับเครื่องพริ้นเตอร์ (Ink Jet Printer) มีราคาสูง
ผู้ทดลองจึงคิดว่าทำอย่างไรจะได้หมึกพิมพ์ที่ใช้กับอิงค์เจ็ทพริ้นเตอร์ มีราคาถูกลงและใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีลงซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถลดต้นทุนในการผลิตให้น้อยลงจากเดิมอีกด้วย ซึ่งหมึกพิมพ์ที่ได้จะต้องมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ขายตามท้องตลาด เช่น มีระยะเวลาใช้งานได้นาน ทนต่อการถูและทนต่อแสงแดดได้นาน เป็นต้น

2.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาการผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้จากธรรมชาติ
2.เพื่อศึกษาระยะเวลาในการเก็บหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้จากธรรมชาติให้ใช้ได้นาน
3.เพื่อศึกษาความคงทนของหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้จากธรรมชาติ
3.สมมุติฐานของโครงงาน
1.สามารถผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้จากธรรมชาติได้คุณภาพทัดเทียมกับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทมาตรฐาน
2.สามารถผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้จากธรรมชาติให้มีระยะการเก็บไว้ใช้งานได้นานทัดเทียมกับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทมาตรฐาน
3.สามารถผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้จากธรรมชาติให้มีความคงทนและมีคุณภาพดีทัดเทียมกับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทมาตรฐาน

4.ตัวแปรในการทดลอง
ตัวแปรต้น
สีดำ ลูกหมึก กากมะพร้าวเผา ถั่วดำ
สีแดง กระเจี๊ยบแดง ถั่วแดง มะเขือเทศสุก
สีเหลือง ขมิ้น ดอกดาวเรือง เนื้อฟักทอง
สีน้ำเงิน ต้นคราม อัญชัน
ตัวแปรตาม
คุณสมบัติของหมึกพิมพ์
ตัวแปรควบคุม
เครื่องพิมพ์ ( Printer ) , คอมพิวเตอร์ , การตั้งค่าในการพิมพ์ , หัวพิมพ์ , วัสดุที่ใช้พิมพ์

5.นิยามศัพท์เฉพาะ
ความหมายหมึกพิมพ์ คือของเหลวๆที่ใส่ในแท่นพิมพ์ใช้ในการพิมพ์หนังสือและรูปภาพ มีสีต่างๆเช่น ดำ แดง น้ำเงิน เหลือง ฯลฯ
6.ขอบเขตของการศึกษา
ทำการศึกษาหาวัสดุที่ได้จากธรรมชาติที่สามารถสกัดสารสีเพื่อนำไปผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทได้

7.เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มพืชที่ให้สีดำ
กาบมะพร้าวเผา

กาบมะพร้าวหรือขุยมะพร้าวมีสารแทนนิน(tannin)อยู่จำนวนมากเมื่อละลายน้ำจะกลายเป็นกรดแทนนิก(tannic acid) สีน้ำตาลดำสามารถทำมาเป็นสีผสมอาหารได้ จะออกมาเป็นสีดำ
วิธีการทำกาบมะพร้าว จุดไฟเผากาบมะพร้าวจนไหม้เป็นถ่านแดง เอาน้ำราดให้ไฟดับ นำไปบดละเอียด ผสมกับน้ำ กรองผ่านผ้าขาวบาง สามารถใช้ทำขนมได้ เช่น ขนมเปียกปูนส่วนกาบมะพร้าวหลังจากเผาไหม้เสร็จ จะกลายเป็นคาร์บอน ตัวเดียวกับถ่าน ไม่ได้กลายเป็นไนโตรซามีน เพราะในกาบมะพร้าวมันไม่มีโปรตีน ดังนั้นนอกจากกาบมะพร้าวเผา จะไม่ก่อให้เกิดโทษกับร่างกายแล้ว ด้วยคุณสมบัติของคาร์บอน ยังช่วยลดแก๊ซที่เกิดขึ้นในกระเพาะอีกด้วย

ถั่วดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phaseolus mumgo
เป็นพืชล้มลุก มีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแห้งแตก เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นสีดำ มีสารพวกแอนโทไซยานิน ใช้แต่งสีขนม โดยต้มเคี่ยวกับน้ำหรือบดผสมกับแป้ง
ในทางสมุนไพร มีรสหวาน บำรุงเลือด ขับของเหลวในร่างกาย ขับลม ขจัดพิษ บำรุงไต ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน บำรุงสายตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการบวมน้ำ เหน็บชา ดีซ่าน ไตเสื่อม ปวดเอว มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตแคโรทีน ไนอะซิน วิตามินบี1 และบี2 และสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้

กลุ่มพืชที่ให้สีแดง
ครั่ง

การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ครั่งนิยมนำมาใช้ในงานย้อมสีเส้นไหมมานานแล้ว สีเส้นไหมที่ย้อมจะขึ้นอยู่กับอายุของครั่ง อายุของการเก็บรักษาครั่ง และชนิดของพืชอาศัย สีที่ได้จะมีความแตกต่างกันไปตั้งแต่สีแดงอมม่วง จนถึงสีแดงสด การเก็บครั่งนานกว่า 2 ปี อาจทำให้สีและความคงทนของสีไม่ดีนัก ซึ่งควรใช้ครั่งที่แก่เต็มที่ ที่ยังใหม่อยู่ในการสกัดสีครั่ง ใช้ครั้งละจำนวน 3 กิโลกรัม เมื่อสกัดน้ำสีอัตราส่วน 1 : 10 สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม วิธีการสกัดสี นำครั่งมาล้างในน้ำสะอาด เพื่อกำจัดฝุ่นละอองและเศษผงที่ติดมากับครั่ง แล้วนำไปแช่ในแอลกอฮอล์นาน 5-10 นาที เพื่อละลายสารที่เป็นสีเหลืองออก จากนั้นล่างด้วยน้ำสะอาด ก่อนนำไปต้มสกัดสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ การย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน โดยใส่สารส้มและน้ำมะขามเปียกเป็นสารช่วยติดสีขณะย้อม ในบางแห่ง ใช้กรดทาร์ทาริค (Tartaric acid) แทนน้ำมะขามเปียก เส้นไหมที่ผ่านการย้อมจะมีสีแดง

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ กระเจี๊ยบแดง (อังกฤษ: Roselle)
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ภาคเหนือเรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ทั่วไปเรียก กระเจี๊ยบแดง
ลักษณะ กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน

มะเขือเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicum esculentum Mill.
ชื่อเรียกตามท้องถิ่นดังนี้ มะเขือ มะเขือส้ม น้ำเนอ
ถิ่นกำเนิด ในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ และได้แพร่หลายไปรอบโลก
ลักษณะ มะเขือเทศจัดเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 1 ปี สูงประมาณ 1-2 เมตร ลักษณะเป็นพุ่มและเจริญเติบโตรวดเร็ว ลำต้นมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกหรือรูปไข่เรียงสลับกัน ใบกว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อๆละ 5 ดอก ผลจะฉ่ำน้ำมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันตามพันธุ์ ผลสุกมีสีแดง ผิวบางเป็นมัน การขยายพันธุ์ทำโดยใช้เมล็ด

กลุ่มพืชที่ให้สีเหลือง
ดอกดาวเรือง

ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง
ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ
ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง
ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี

ฟักทอง

ฟักทอง (Pumkins(ทอง), Kabocha (เขียว)) เป็นพืชชนิดหนึ่ง มักจัดเป็นพวกผัก เนื่องจากนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร แต่ก็ยังนำไปทำของหวานเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในทางพฤกษศาสตร์ จัดอยู่ในสกุล Cucurbita วงศ์ Cucurbitaceae ถือว่าเป็นพืชดั้งเดิมของโลกตะวันตก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย
ในประเทศตะวันตก นิยมนำฟักทองมาเจาะเป็นช่อง มีจมูก ตา แล้วใส่เทียน หรือดวงไฟข้างในเพื่อฉลองในวันฮาโลวีน เรียกว่า แจคโอแลนเทิน' (Jack-o'-lantern pumpkin)
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง [1] ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน

กลุ่มพืชที่ให้สีน้ำเงิน
คราม

ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงมีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ดอกออกเป็นช่อที่ชอกใบมีดอกย้อยหลายดอก กลีบดอกสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งงอเล็กย้อย ลำต้นสูงประมาณ50-100 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยลำต้นนำมาปักชำไว้รากจะงอกบริเวณข้อ ห้อมชอบอยู่ในที่ร่มเย็น แดดรำไร มีน้ำซึมตลอดเวลา ใบห้อมสามารถเก็บมาใช้ทำสีน้ำเงินได้ต่อเนื่องเมื่อย่างเข้าปีที่2 ระยะของการเก็บไม่จำกัดแล้วแต่จะออกแขนงช้าหรือเร็ว ถ้าห้อมต้นใหญ่ มีมากจะตัดทั้งกิ่งและใบมาใช้ ถ้าต้นเล็กใช้ใบเป็นหลัก ห้อมบริเวณนี้จะมีอายุถึง8-9 ปี
ในจังหวัดแพร่พบที่บ้านแม่ลัว บ้านนาตองซึ่งเป็นพื้นที่มีความชุ่มเย็น บนพื้นที่สูง แต่ยังขาดการจัดการในการปลูกเพื่อผลิตเชิงธุรกิจได้
ต้นครามแหล่งสีครามธรรมชาติ เป็นพืชสกุล Indigofera วงศ์ PAPILIONACEAE ชนิด tinctoria Linn. มีชื่อเรียกทั่วไปว่า “คราม” และเรียกแตกต่างแต่ละถิ่น เช่นกระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียก นอยอ นะยอ เชียงใหม่เรียกครามดอย (elliptica Roxb) ครามเขา ครามขน(hirsute Linn, local Craib) ครามป่า(sootepensis Craib)

ลักษณะทั่วไปเป็นพืชตระกูลถั่วขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ100-160 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ปลายใบเดี่ยว ใบย่อยรูปรี ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นผัก มีทั้งฝักตรงและฝักโค้ง ภายในฝักมี 7-12 เมล็ด รากเป็นระบบรากแก้ว ลำต้นประกอบด้วยข้อและปล้อง มีตาและตาดอกเกิดขึ้นบริเวณข้อ แล้วเกิดเป็นช่อดอกในภายหลัง แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน เมล็ดของครามมีลักษณะเหลี่ยมค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ใช้ใบและก้านใบของครามอายุ 3 เดือนจะให้ปริมาณสีครามมากที่สุด ครามขึ้นได้ดีในที่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งจะปลูกในเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน และสามารถเก็บไปทำน้ำครามได้ราวเดือน พฤศจิกายนแหล่งครามที่ใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ในอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนครที่ทำสารย้อมสีครามจำหน่ายทั่วประเทศและอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นชุมชนลาวครั่ง ส่วนที่บ้านทุ่งโฮ้งปลูกได้แต่ไม่เพียงพอนำมาใช้ย้อมผ้า ต้องนำเข้ามากจากจังหวัดสกลนครในรูปของครามเปียก
อัญชัน

ชื่อวิทยาศาสร์ ฺClitoria ternatea Linn.

ตระกูล PAPILIONACEAE

ชื่อสามัญ Butterfly Pea.
ต้น อัญชันเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็ก มีเถาขนาดเล็กและอ่น แต่ก้สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง
20 ฟุต ลักษณะเถาจะค่อนข้างกลม สีเขียวแต่หากเถาแก็จะเป็นสีน้ำตาล ตามลำต้นจะมีขนนุ่ม ๆ
ปกคลุมโดยทั่วไป
ใบ ใบของอัญชัด มีลักษณะเป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ ใบเล็กและค่อนข้างบาง รูปใบเกือบจะเป็น
ทรงกลม ออกใบรวามเป็นแผงสลับกันไปตามข้อต้น

ดอก ดอกอัญชันจะเป็นดอกเดี่ยว และจะออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดช่อหนึ่งจะมีดอก 2.4 ดอกอัญชัน
จะมีทั้งชนิดดอกราและดอกซ้อน ดอกมีหลายสี เช่น สีน้ำเงินอมม่วง สีม่วง สีฟ้า สีขาว ลักษณะของ
ดอกคล้ายดอกถั่วมี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่จะมองเห็นลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว
มี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่ จะมองเห็นลักษณะคล้ายกาบหอย หรือปีกผีเสื้อ เมื่อดอก
โรยก็จะติดฝัก

งานวิจัยที่เกียวข้อง
หัวข้อวิจัย ผลการสกัดสีจากไม้ดอกและพืชพื้นเมืองบางชนิดที่มีต่อการย้อมสีเซลล์รากและเยื่อหอมแดง
ผู้วิจัย นางสาว น้ำฝน เหลายา
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการสกัดสีจากไม้ดอกและพืชพื้นเมืองบางชนิดที่มีต่อการย้อมสีเซลล์รากและเยื่อหอมแดง โดยใช้พืชตัวอย่างทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ดอกอัญชัน ดอกพุทธรักษา ดอกคำฝอย ดอกชบา ใบเตยหอม เหง้าขมิ้นชัน ใบย่านาง โดยนำมาสกัดสีจากวิธีกาสกัดจากน้ำกลั่นและ Ethanol 70 % เพื่อเปรียบเทียบสีของไม้ดอกและพืชพื้นเมืองบางชนิดว่าชนิดใดย้อมเซลล์เยื่อหอมแดงและรากหอมแดงได้ชัดเจนที่สุด และเปรียบเทียบคุณภาพของสีย้อมโดยเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ต่างกันเพื่อรอการตรวจสอบคุณภาพอายุสี โดยการเก็บสไลด์เป็นเวลา 15 วันผลการวิจัยพบว่า จากคุณภาพการย้อมติดสีของเยื่อหอมแดงโดยใช้สีย้อมที่สกัดจากน้ำกลั่น จากพืชตัวอย่างย้อมได้ดีที่สุด คือ ดอกพุทธรักษา ดอกคำฝอย ดอกชบา ที่เวลา 10 นาทีตามลำดับสีย้อมที่สกัดจาก Ethanol 70 % จากพืชตัวอย่างย้อมได้ดีที่สุด คือ ดอกคำฝอย ดอกชบา ใบย่านางที่เวลา 10 นาที ตามลำดับ คุณภาพการย้อมติดสีของรากหอมแดง โดยใช้สีย้อมที่สกัดจากน้ำกลั่นจากพืชตัวอย่างย้อมได้ดีที่สุด คือ ดอกชบา ใบเตยหอม ใบย่านาง ที่เวลา10 นาที สีย้อมที่สกัดจาก Ethanol 70 % จากพืชตัวอย่างย้อมได้ดีที่สุด คือ ดอกคำฝอย ดอกชบา ใบเตยหอม ที่เวลา 10 นาที การเก็บรักษาสไลด์ไว้ในอุณหภูมิที่ต่างกันพืชที่สกัดจากน้ำ กลั่นจำนวนสไลด์ที่ส่องเห็นมีมากที่สุดที่ระยะเวลา 5 - 10 วัน ส่วน Ethanol 70 % จำนวนสไลด์ที่ส่องเห็นมีมากที่สุดที่ระยะเวลา 5-10 วัน ดังนั้นวิธีการสกัดสีจากพืชตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุดในการย้อมเยื่อหอมแดงและรากหอมแดงก็คือการสกัดสีจาก Ethanol 70 % เพราะย้อมเซลล์ให้เห็นได้ชัดเจน คุณภาพของสีย้อมจะเสื่อมช้ากว่าสีที่สกัดจากน้ำกลั่น และใช้สถิติ F-test ในการหาความแตกต่างของคุณภาพของสีย้อมพบว่าสีที่สกัดจากน้ำกลั่นที่ใช้ย้อมเยื่อหอมแดงและรากหอมแดง และสีที่สกัดจาก Ethanol 70% มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ส่วนสีที่สกัดจาก Ethanol 70% ใช้ย้อมเยื่อหอมแดง พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
การเตรียมสาร Ethanol 70%
เอทานอลความเข้มข้น 95 % มีปริมาตร 100 ml ถ้าเอทานอลความเข้มข้น 70 % มีปริมาตร = 70 × 100
= 73.68 ml
หาปริมาณการเติมน้ำกลั่น 100 – 73.68 = 26.32ต้องเติมน้ำลงไปอีกให้ได้ปริมาตร 100 ml
73.68 + 26.32 = 100 ml จะได้ Ethanol 70% = 100 ml
8.วิธีการดำเนินงาน
8.1) เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
- วัสดุ อุปกรณ์ในการสกัดสี ได้แก่ กระทะ เหล็ก กะละมังอลูมิเนียมสำ หรับหมักสี ถังน้ำ ตะแกรงตักใบไม้ ขวดแก้วเก็บสี ผ้าขาวกรองน้ำสีเตาเหล็ก ฟืนไม้แห้ง ไม้ไผ่สำหรับคนสี ถุงมือผ้าชนิดหนา กระดาษกรองสี ถ้วยบีกเกอร์ กรวยสำหรับกรองสี
วัตถุดิบจากธรรมชาติที่นำมาสกัดสี และสารช่วยติดสี ได้แก่ ปูนขาว
เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สำหรับใช้ในการวัดค่าต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เครื่องมือวัดอุณหภูมิ (เทอร์โมมิเตอร์) นาฬิกาจับเวลา เครื่องชั่ง กระบอกตวง และเครื่องมือวัดความเข้มของสี (เครื่อง Colorimeter ยี่ห้อ Hunter Lab CIE 1976)
เครื่องมือในการบันทึกผลการทดลองได้แก่ แบบบันทึกผลการทดลองและกล้องดิจิตอลสำหรับสำหรับบันทึกภาพการทดลอง
- สารเคมี
8.2) ขั้นตอนในการดำเนินงาน
1.ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของวัสดุจากธรรมชาติแต่ละชนิดที่สามารถนำมาสกัดเป็นหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทได้
2.กำหนดตัวแปรต้นที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล
3.ทำการทดลอง เลือกวัสดุจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการผลิตหมึกพิมพ์อิงคืเจ็ทที่ดีที่สุดจากตัวแปรต้น
4.ทำการสกัดสารสีจากวัสดุที่เลือกในขั้นต้น
5.นำสารที่สกัดได้ไปเข้าสู้กระบวนการผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ท
6.ตรวจสอบคุณภาพหมึกพิมพ์ที่ได้ โดยเทียบกับหมึกพิมพ์มาตรฐานในปัจจุบัน

9. แผนการปฏิบัติ

การปฏิบัติงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน(เดือน)
2552 2553
พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค.
1.ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของวัสดุจากธรรมชาติแต่ละชนิดที่สามารถนำมาสกัดเป็นหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทได้
2.กำหนดตัวแปรต้นที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล
3.ทำการทดลอง เลือกวัสดุจาธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ดีที่สุดจากตัวแปรต้น
4.ทำการสกัดสารสีจากวัสดุที่เลือกในขั้นต้น
5.นำสารที่สกัดได้ไปเข้าสู่กระบวนการผลิตหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ท
6.ตรวจสอบคุณภาพหมึกพิมพ์ที่ได้ โดยเทียบกับหมึกพิมพ์มาตรฐานในปัจจุบัน
7.สรุปผล
8.เขียนรายงาน
9.ตรวจสอบความถูกต้อง
10.เสนอผลงาน

10.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ
2.หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ได้มีคุณภาพทัดเทียมกับหมึกพิมพ์มาตรฐาน
3.เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดต้นทุนในการเลือกใช้หมึกพิม์อิงค์เจ็ท
4.เพื่อเพิ่มทักษะในการสกัดสารสีจากธรรมชาติ
5.เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
14.เอกสารอ้างอิง
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะ ,โทนสีหลักที่ได้จากธรรมชาติ http://www.thaiwest.su.ac.th/templates/project2547/3-2.htm
- ศูนย์สิ่งทอล้านนา,การย้อมสีจากคราม,http://ltt.cru.in.th/texler_kram.php