ข้อสอบ O-net เรื่อง พันธุ ศาสตร์ และเทคโนโลยีทาง DNA

พันธุกรรม(Heredity) หมายถึงข้อใด
 ก. สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนที่รู้จัก
 ข. สิ่งที่ได้ัีรับจากการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือจากรุ่นสู่รุ่น
 ค. สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษเพียงรุ่นเดียว
 ง. ความผิดปกติของร่างกาย

ข้อที่ 12. 

ข้อใดไม่เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 ก. สมชายมีต่างหูเหมือนพ่อ
 ข. สมศักดิ์มีผมหยิกเหมือนย่า
 ค. วินัยมีนิสัยก้าวร้าว
 ง. เอนกมีลักยิ้มเหมือนแม่

ข้อที่ 13.

โครโมโซมคืออะไร
 ก. สารพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์เป็นตัวกำหนดลัีกษณะต่างๆ
 ข. สารแอนติบอดี้ในร่างกายของมนุษย์
 ค. สารพิษชนิดหนึ่งที่มีโทษต่อร่างกายมนุษย์
 ง. สารแห่งความสุข

ข้อที่ 14.

 ก. 30 คู่
 ข. 31 ค่
 ค. 32 คู่
 ง. 33 คู่

ข้อที่ 15.

 ยีน(Gene) คืออะไร
 ก. หน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
 ข. หน่วยที่ควบคุมอาการของมนุษย์
 ค. หน่วยที่ควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์
 ง. หน่วยที่ช่วยยับยั้งเชื้อโรคในร่างกายมนุุษย์

ข้อที่ 16.

 มนุษย์มียีนโดยประมาณเท่าใด
 ก. 4,000 ยีน
 ข. 20,000 ยีน
 ค. 30,000 ยีน
 ง. 300,000 ยีน

ข้อที่ 17.

สารพันธุกรรม(DNA) ย่อมาจากอะไร
 ก. Deoxynucleic
 ข. Deoxynucleic acid
 ค. Deoxyribonucleic
 ง. Deoxyribonucleic acid

ข้อที่ 18.

ใครเป็นผู้ตั้งกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 ก. ทอมัส แอนวา เอดิสัน
 ข. รัดเทอร์ฟอร์ด
 ค. เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล
 ง. ลาวัวซิเอ

ข้อที่ 19. 

การกลาย(Mutation) แบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ
 ก. 1 ลักษณะ
 ข. 2 ลักษณะ
 ค. 3 ลักษณะ
 ง. 4 ลักษณะ

ข้อที่ 20. 

การกลายที่เซลล์ใดสามารถถ่ายทอดไปถึงรุ่นหลานได้
 ก. การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์
 ข. การกลายที่เซลล์ร่างกาย
 ค. การกลายที่เซลล์ผิวหนัง
 ง. การกลายที่เซลล์ต่อมไร้ท่อ

ข้อที่ 21.

 อาการดาวน์เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ผิดพลาดทางโครโมโซมคู่ใด
 ก. คู่ที่ 20
 ข. คู่ที่ 21
 ค. คู่ที่ 22
 ง. คู่ที่ 23

ข้อที่ 22. 

โรคทางพันธุกรรมใดต่อไปนี้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดพลาดของโครโมโซมเพศ
 ก. อาการดาวน์
 ข. อาการคริดูซ่าต์
 ค. อาการเทอร์เนอร์
 ง. ก และ ข ถูก

ข้อที่ 23.

 ข้อใดเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 ก. โรคมะเร็ง
 ข. โรคโลหิตไหลไม่หยุด
 ค. โรคเซลล์เม็ดเลือดแดง รูปเคียว
 ง. ข และ ค ถูก

ข้อที่ 24. 

GMOs ย่อมาจากอะไร
 ก. Genetcally Modified Orgnisms
 ข. Genet Modified Orgnisms
 ค. Genetcally Miracle Orgnisms
 ง. Genet Miracle Orgnisms

ข้อที่ 25.

 เด็กหลอดแก้วคือการผสมแบบใด
 ก. การฉีดอสุจิเข้าไปในท่อรังไข่
 ข. การนำอสุจิและไข่ออกมาผสมนอกร่างกาย
 ค. การนำไข่และอสุจิเข้าไปผสมในร่างกาย
 ง. การยิงอสุจิเข้าไปในชั้นไซโทพลาซึมของไข่

ข้อที่ 26.

 ใครคือเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก
 ก. เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล
 ข. โรเบิร์ต ฮุก
 ค. หลุยส์ ฟลาเรอร์
 ง. หลุยส์ บราวน์

ข้อที่ 27.

 สิ่งมีชีวิตใดถูกโคลนเป็นตัวแรกของโลก
 ก. ไก่
 ข. แกะดอลลี
 ค. โคแฟงกัส
 ง. สุกร

 การแบ่งเซลล์แบบใดเป็นการแบ่งที่เซลล์เพศ
 ก. ไมโทซิส
 ข. ไมโอซิส
 ค. โอไมซิส
 ง. ฟาโกโทไมซิส

ข้อที่ 29. 

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสมีกี่ระยะ
 ก. 4 ระยะ
 ข. 5 ระยะ
 ค. 6 ระยะ
 ง. 7 ระยะ

ข้อที่ 30. 

มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ชนิดใด และมีบรรพบุรุษเป็นมนุษย์พวกใด
 ก. วิวัฒนาการจากลิง มีมนุษย์โฮโมแฮบิลิสเป็นบรรพบุรุษ
 ข. วิวัฒนาการจากลิง มีมนุษย์โฮโมซาเปียนเป็นบรรพบุรุษ
 ค. วิวัฒนาการจากสิงโต มีมนุษย์โฮโมแฮบิลิสเป็นบรรพบุรุษ
 ง. วิวัฒนาการจากสิงโต มีมนุษย์โฮโมซาเปียนเป็นบรรพบุรุษ

ข้อสอบ O-net เรื่อง พันธุ ศาสตร์ และเทคโนโลยีทาง DNA

          ดีเอ็นเอของพ่อและลูกต้องมีความสัมพันธ์กัน โดยลูกต้องมีบางลักษณะที่สัมพันธ์กับพ่อ และพ่อก็ต้องมีบางลักษณะที่สัมพันธ์กับลูก ดังนั้นช่องที่เป็นดีเอ็นเอของพ่อต้องมีลักษณะที่สัมพันธ์กับลูกทุกคน จากการพิจารณาข้อมูลสดคล้องกับช่องที่ 4 ดังภาพ

ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2552 สอบกุมภาพันธ์ 2553

ข้อ 1 ( 4 )

ข้อ 2 ( 4 )

ข้อ 3 ( 2 )

ข้อ 4 ( 3 )

ข้อ 5 ( 1 )

ข้อ 6 ( 4 )

ข้อ 7 ( 4 )

ข้อ 8 ( 4 )

ข้อ 9 ( 3 )

ข้อ 10 ( 4 )

ข้อ 11 ( 2 )

ข้อ 12 ( 2 )

ข้อ 13 ( 3)

ข้อ 14 ( 2)

ข้อ 15 ( 2 )

ข้อ 16 ( 1 )

ข้อ 17 ( 4 )

ข้อ 18 ( 1 )

ข้อ 19 ( 2 )

ข้อ 20 ( 3 )

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

ลิงก์ผู้สนับสนุน


ข้อ 11) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิวเทชัน (O-net 52)

      1. มีอัตราการเกิดได้สูงตามธรรมชาติ
      2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ
      3. เกิดขึ้นได้เฉพาะในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว
      4. มิวเทชันในเซลล์ทุกชนิดสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานได้ คำตอบข้อ 11 ) ตอบข้อ 2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ

เหตุผล

          มิวเทชัน แบ่งได้ 2 ระดับคือระดับ DNA และระดับโครโมโซม โดยในธรรมชาติจะเกิดในอัตราที่ต่ำ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์ร่างกายโดยทั่วไปจะไม่ถ่ายถอดความผิดปกติไปยังลูกหลาน

ข้อ 12) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการโคลน (O-net 52)

       1. ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มีเพศเดียวกับสัตว์ต้นแบบ
       2. เป็นการสร้างสัตว์ตัวใหม่โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์
       3. แฝดเหมือนคือตัวอย่างของการโคลนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
       4. แกะดอลลีเกิดจากการโคลนโดยใช้เซลล์บริเวณเต้านมเป็นต้นแบบ

คำตอบข้อ 12 ) ตอบข้อ 2  เป็นการสร้างสัตว์ตัวใหม่โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์

เหตุผล

    การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้หรืออสุจิของสัตว์เพศผู้
แต่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เต็มวัยของเซลล์ร่างกายของสัตว์เพศอะไรก็ได้ใส่ลงไปที่เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียหรือเซลล์ไข่โดยนำสารพันธุกรรม หรือ DNA ที่มีอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ออกก่อน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ ใส่ไปในตัวเพศเมียเพื่อให้คลอดออกมา
เมื่อคลอดออกมาทำให้ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มี รูปร่าง หน้าตา ลักษณะภายนอก เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมเกือบทุกประการ และมีพันธุกรรมเหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศเมียก็จะได้สัตว์ให้เป็นเพศเมีย ถ้าเจ้าของสัตว์เป็นเพศผู้จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศผู้ เหมือนกับเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ
                จากข้อความข้างต้น สรุปได้ว่าการโคลนจำเป็นต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์

ข้อ 13) ข้อใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (O-net 52)        1. แตงโมไม่มีเมล็ด
       2. กล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
       3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
       4. กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้จากการฉายรังสีแกมมา

คำตอบข้อ 13 ) ตอบข้อ 3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

เหตุผล
           สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ซึ่งในข้อนี้คือ แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โดยการตัดและต่อ DNA ให้มียีนที่สร้างอินซูลิน แล้วใส่เข้าไปในเซลล์แบคทีเรีย เพื่อให้เกิดการแสดงออกและสร้างพอลิเพปไทด์ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำเซลล์ไปเพื่อเพิ่มจำนวนยีนที่สร้างสายพอลิเพปไทด์ดังกล่าวและ ผลิตอินซูลินที่ทำงานได้

ข้อ 14) หลักฐานในข้อใดที่ไม่สามารถใช้ตรวจหาฆาตกรโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (O-net 52)

      1. เส้นผม
      2. ลายนิ้วมือ
      3. คราบอสุจิ
      4. คราบเลือด

คำตอบข้อ 14 ) ตอบ ข้อ 2. ลายนิ้วมือ

เหตุผล

       การตรวจโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอนเอ  เพื่อระบุเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลเนื่องจากบุคคลมี รูปแบบ DNA ที่แตกต่างกัน ซึ่งการตรวจลายพิมพ์ DNA ควรใช้ส่วนของร่างกายที่มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นในข้อนี้ส่วนที่ไม่สามารถนำมาตรวจลายพิมพ์ DNA ได้คือ ลายนิ้วมือ

ข้อ 15)ในระบบนิเวศซึ่งประกอบด้วย เหยี่ยว งู กระรอก หญ้า และตั๊กแตน สิ่งมีชีวิต ในข้อใดมีมวลชีวภาพน้อยที่สุด (O-net 52)