แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550

แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550

  1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
  • 2 สิงหาคม 2550                 ค. 2 กันยายน  2550
  • 4 สิงหาคม 2550                 ง. 2  ตุลาคม  2550

ตอบ   ก. 2 สิงหาคม 2550

  1. ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ให้ขอทำความตกลงกับใคร
  • กระทรวงแรงงาน ค. กรมบัญชีกลาง
  • กระทรวงการคลัง ง. สำนักงบประมาณ

ตอบ   ข. กระทรวงการคลัง

ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ให้ขอทำความตกลง

กับกระทรวงการคลัง

  1. เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ คือข้อใด
  • ง.พ.ต. ค. พ.ข.ต.
  • ข.พ.ต. ง. พ.ต.

ตอบ   ค. พ.ข.ต.

“พ.ข.ต.” หมายความว่า เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ

  1. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ปลัดกระทรวงการคลัง
  • อธิบดีกรมบัญชีกลาง
  • ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ตอบ   ข. ปลัดกระทรวงการคลัง

ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้

  1. ผู้เดินทางไปราชการในราชอาณาจักรสมารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ในข้อใด
  • เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข 2
  • ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข 3
  • ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางไปราชการประจำ ให้เบิกตามบัญชีหมายเลข 4
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. การเดินทางโดยรถไฟด้วยรถด่วนหรือรถด่วนพิเศษ ชั้นที่ ๑ นั่งนอนปรับอากาศ ให้เบิกได้เฉพาะใคร
  • ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า
  • ข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป
  • ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

การเดินทางโดยรถไฟ ให้เบิกค่าพาหนะเดินทางได้เท่าที่จ่ายจริง สำหรับการเดินทางโดยรถด่วนหรือรถด่วนพิเศษ ชั้นที่ ๑ นั่งนอนปรับอากาศ (บนอ.ป.) ให้เบิกได้เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ขึ้นไป หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๑ ขึ้นไป หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโทนาวาอากาศโทขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศพันตำรวจโทขึ้นไป

  1. การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ให้เบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะใด
  • รายวัน ค. เหมาจ่าย
  • รายเดือน ง.  รายสัปดาห์

ตอบ  ค. เหมาจ่าย

ข้อ ๑๑ การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ให้เบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้แก่ผู้เดินทางไปราชการ ซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแล้วแต่กรณีในอัตราต่อ ๑ คัน ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยให้คำนวณระยะทางเพื่อเบิกเงินชดเชยตามเส้นทางของกรมทางหลวงในทางสั้นและตรง ซึ่งสามารถเดินทางได้โดยสะดวกและปลอดภัย

ในกรณีที่ไม่มีเส้นทางของกรมทางหลวง ให้ใช้ระยะทางตามเส้นทางของหน่วยงานอื่นที่ตัดผ่านเช่น เส้นทางของเทศบาล เป็นต้น และในกรณีที่ไม่มีเส้นทางกรมทางหลวงและของหน่วยงานอื่นให้ผู้เดินทางเป็นผู้รับรองระยะทางในการเดินทาง

  1. บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งใดสามารถเบิกเงินค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริงในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
  • ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
  • ประธาน หรือรองประธานของสภาซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติ
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ ๑๔ ให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวเบิกค่ารับรองในการเดินทางไปราชการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้เดินทางซึ่งดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ให้เบิกเงินค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง

(ก) ประธานองคมนตรี หรือองคมนตรี

(ข) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี

(ค) ประธาน หรือรองประธานของสภาซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติ

(ง) ประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา หรือประธานศาลอุทธรณ์

  1. การเดินทางไปราชการที่จะเบิกค่ารับรองในกรณีเดินทางไปราชการเป็นคณะหรือเดินทางไปราชการคนเดียว ต้องเป็นการเดินทางกรณีใด
  • เป็นผู้เดินทางไปเจรจาธุรกิจ เจรจากู้เงินหรือขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย
  • เป็นผู้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะหรือวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ
  • เป็นผู้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาล ผู้แทนรัฐสภาหรือผู้แทนส่วนราชการ แต่ไม่รวมถึงการประชุมหรือการสัมมนาทางวิชาการ
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

การเดินทางไปราชการที่จะเบิกค่ารับรองในกรณีเดินทางไปราชการเป็นคณะหรือเดินทางไปราชการคนเดียว ต้องเป็นการเดินทางกรณีใดกรณีหนึ่ง   ดังต่อไปนี้

(ก) เป็นผู้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาล ผู้แทนรัฐสภาหรือผู้แทนส่วนราชการ แต่ไม่รวมถึงการประชุมหรือการสัมมนาทางวิชาการ

(ข) เป็นผู้เดินทางไปเจรจาธุรกิจ เจรจากู้เงินหรือขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย

(ค) เป็นผู้เดินทางไปปรึกษาหารือหรือเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยกับหน่วยงานต่างประเทศ

(ง) เป็นผู้เดินทางไปเยือนต่างประเทศในฐานะทูตสันถวไมตรีหรือในฐานะแขกของรัฐบาลต่างประเทศ

(จ) เป็นผู้เดินทางไปร่วมในงานรัฐพิธีตามคำเชิญของรัฐบาลต่างประเทศ

(ฉ) เป็นผู้เดินทางไปจัดงานแสดงสินค้าไทย หรือส่งเสริมสินค้าไทยในต่างประเทศหรือส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศในประเทศไทย หรือส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ

(ช) เป็นผู้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะหรือวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ

  1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่กรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศ
  • กรณีไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่า 1  ปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละ 20  และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละ 5  ของอัตรา พ.ข.ต.
  • กรณีไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่า 1  ปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละ 30  และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละ 5  ของอัตรา พ.ข.ต.
  • กรณีไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่า 2  ปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละ 60  และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละ  10 ของอัตรา พ.ข.ต.
  • กรณีไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่า 3  ปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละ 90  และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละ  15 ของอัตรา พ.ข.ต.

ตอบ   ก. กรณีไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่า   1  ปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละ 20  และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละ 5  ของอัตรา พ.ข.ต.

แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550

ข้อ ๒๑ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำในต่างประเทศ เบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ สำหรับคู่สมรสหรือบุตรที่เดินทางกลับประเทศไทยก่อนผู้เดินทางในลักษณะเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ต้องเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับประเทศไทยก่อนผู้เดินทาง สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ

(๒) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละสามสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละห้าของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน

(๓) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าสองปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละหกสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละสิบของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน

(๔) ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับภายหลังจากได้ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาเกินกว่าสามปีขึ้นไป ให้เบิกสำหรับคู่สมรสในอัตราร้อยละเก้าสิบ และสำหรับบุตรต่อคนในอัตราร้อยละสิบห้าของอัตรา พ.ข.ต. ในขณะที่ได้รับอนุมัติให้คู่สมรสหรือบุตรเดินทางกลับก่อน

(๕) การนับเวลาที่ได้ไปอยู่ต่างประเทศตาม (๒) – (๔) ให้ถือจำนวนเดือนที่ได้รับ พ.ข.ต.เพิ่มสำหรับคู่สมรสและบุตรเป็นเกณฑ์คำนวณ ดังต่อไปนี้

(ก) ในเดือนหนึ่งถ้ามีสิทธิได้รับ พ.ข.ต. เกินกว่าสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน

(ข) ให้นับเวลาที่ได้รับ พ.ข.ต. สิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี

  1. แบบรายงานการเดินทางเพื่อขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และเอกสารประกอบที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามที่ใครกำหนด
  • กรมงบประมาณ ค. กรมธนารักษ์
  • กรมสรรพากร ง. กรมบัญชีกลาง

ตอบ   ง. กรมบัญชีกลาง

ข้อ ๒๒ แบบรายงานการเดินทางเพื่อขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และเอกสารประกอบที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระยะเวลาอนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ก่อนเริ่มปฏิบัติราชการ
  • ประเทศในทวีปเอเชีย ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
  • ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ประเทศในทวีปยุโรปหรือประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ไม่เกิน 24ชั่วโมง
  • ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • ประเทศในทวีปแอฟริกา ไม่เกิน 48 ชั่วโมง

ตอบ   ค. ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

  1. ข้อใด ไม่ใช่ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ประเภท ก.
  • การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
  • การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
  • การเดินทางไปราชการจากอำเภอหนึ่งไปปฏิบัติราชการในอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกัน
  • ถูกทั้ง ก  และ  ข

ตอบ   ข. การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ

ประเภท ก. ได้แก่

(๑) การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ

(๒) การเดินทางไปราชการจากอำเภอหนึ่งไปปฏิบัติราชการในอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกัน

ประเภท ข. ได้แก่

(๑) การเดินทางไปราชการในท้องที่อื่นนอกจากที่กำหนดในประเภท ก.

(๒) การเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ

  1. การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรสำหรับประเภท ก. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ถึงระดับ ๒ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า จะได้รับอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางกี่บาทต่อวัน
  • 180 บาท/วัน                                                       ค. 210  บาท/วัน
  • 108 บาท/วัน                                                       ง. 240  บาท/วัน

ตอบ   ก. 180  บาท/วัน              

ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ถึงระดับ ๒ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือพลทหารถึงจ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอกหรือพลตำรวจถึงจ่าสิบตำรวจ   จะได้รับเบี้ยเลี้ยง ประเภท  ก. 180  บาท/วัน  ประเภท  ข. 108  บาท/วัน

  1. การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรสำหรับประเภท ก.ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า จะได้รับอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางกี่บาทต่อวัน
  • 200 บาท/วัน                                                       ค. 210  บาท/วัน
  • 126 บาท/วัน                                                       ง. 240  บาท/วัน

ตอบ   ค. 210  บาท/วัน

ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ถึงระดับ ๘ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าหรือข้าราชการตุลาการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๒ ลงมา หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือดะโต๊ะยุติธรรม หรือข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนชั้น ๓ ลงมา หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศ จ่าสิบเอกพันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือนจ่าสิบเอกพิเศษพันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศพิเศษถึงพันเอก นาวาเอก  นาวาอากาศเอกหรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศนายดาบตำรวจถึงพันตำรวจเอก  จะได้รับเบี้ยเลี้ยง ประเภท  ก. 210  บาท/วัน  ประเภท  ข. 126  บาท/วัน

แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550