พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ประกาศให้ราชกิจจานุเบกษา เมื่อใด

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ประกาศให้ราชกิจจานุเบกษา เมื่อใด

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ประกาศให้ราชกิจจานุเบกษา เมื่อใด

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ กฎหมายที่เกี่ยวกับคดียาเสพติด จำนวน 2 ฉบับ ใหม่ เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงใช้กฎหมายรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564

พระราชบัญญัติฯ มีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ประมวลฯ มีผลใช้บังคับวันที่ 9 ธันวาคม 2564

เมื่อประมวลฯ มีผลบังคับใช้ ให้ยกเลิกกฎหมาย/ประกาศ/คำสั่ง รวม 24 ฉบับ (รายละเอียดตามมาตรา 4) เช่น

  • พ.ร.บ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
  • พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
  • พ.ร.บ ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533
  • พ.ร.บ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2535
  • พ.ร.บ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
  • พ.ร.บ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559
  • ประกาศ/คำสั่ง คสช. อื่น ที่เกี่ยวข้อง

[ สาระสำคัญ ]

ประมวลฯ ฉบับใหม่ได้กำหนดอัตราโทษใหม่ในบางฐานความผิดที่เกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ส่งออก ครอบครองเพื่อเสพ ฯลฯ ให้ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด และนำพฤติการณ์การกระทำความผิดมาพิจารณาอัตราโทษ #แทนการใช้บทสันนิษฐาน
.
บางฐานความผิดจะมีการกำหนดโทษลดลงซึ่งเป็นคุณต่อผู้กระทำความผิด อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คดีถึงที่สุดและคดีดังกล่าวมีโทษหนักกว่ากฎหมายใหม่กำหนดไว้ ประมวลฯ เปิดช่องทางให้ตัวผู้ต้องขังเองสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลพิจารณากำหนดโทษใหม่ได้
.
นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเพื่อมุ่งเน้นสืบสวนหาตัวผู้สั่งการ และยึดทรัพย์สินเพื่อตัดวงจรและทลายเครือข่ายอย่างเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ (ซึ่งทรัพย์สิน ให้หมายความรวมถึง ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องหาที่ได้ขายจำหน่าย โอนหรือยักย้ายไปเสียใน #ระหว่างระยะเวลาสิบปีก่อนมีคำสั่งยึดหรืออายัดและภายหลังนั้น ด้วยตามคำนิยามที่กำหนดไว้ในมาตรา 73 ของประมวลฯ)

ศึกษาความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ได้ที่ > สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยามเสพติด หรือ แจ้งเบาะแสยาเสพติด หรือติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์สายด่วน 1386