นโยบาย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด ส่งผล ให้เกิด ประโยชน์ ต่อ สังคม หรือ ประเทศชาติ อย่างไร

นโยบาย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด ส่งผล ให้เกิด ประโยชน์ ต่อ สังคม หรือ ประเทศชาติ อย่างไร

นโยบาย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด ส่งผล ให้เกิด ประโยชน์ ต่อ สังคม หรือ ประเทศชาติ อย่างไร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

query_builder 27 เมษายน 2561

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจาก ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ....

remove_red_eye-

เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมยาเสพติด รวมถึงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับและการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละฉบับเป็นหน้าที่และอำนาจของหลายองค์กร ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความสอดคล้องกัน  อีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรรวบรวมกฎหมายดังกล่าวจัดทำเป็นประมวลกฎหมายยาเสพติดเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและใช้กฎหมายที่จะรวมอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยจัดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทำหน้าที่เสนอนโยบายและและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้มีคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดทำหน้าที่กำหนดมาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์และสารระเหย และให้มีคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินทำหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตลอดจนให้มีกองทุนป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด  นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด ให้มีคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดทำหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการ และวางแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสม กำหนดเกี่ยวกับสถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม อีกทั้งห้ามโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษายาเสพติด ในการนี้ ได้มีบทกำหนดโทษที่กำหนดอัตราโทษตามฐานความผิดและมาตรการอื่นแทนการลงโทษสำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีผู้กระทำความผิดฐานเสพหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพทั้งสิ้น ๑๒ ลักษณะ และได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในบางกรณีที่การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต้องได้รับอนุญาตไว้ด้วยแล้ว
          โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การมีกฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเป็นระบบ ทำให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่าย เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและการใช้บังคับกฎหมายอย่างเป็นระบบในการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติดและการใช้ยาเสพติดในทางที่ไม่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การเสพติดยาเสพติดซึ่งเป็นการบั่นทอนสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติดเข้าสู่กลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบน>>เลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

สารเสพติด

                   1.  วงจรการแพร่ระบาดของสารเสพติด
โดยธรรมชาติของผู้ติดสารเสพติดส่วนมากมักจะเพิ่มปริมาณของสารเสพติดที่ใช้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องฝันตนเองจากผู้เสพไปเป็นผู้จำหน่ายสารเสพติด  เพราะต้องการหาเงินให้เพียงพอต่อการซื้อสารเสพติดมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้นโดยใช้วิธีการขยายเครือข่ายให้มีผู้ติกดสารเสพติดรายใหม่  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อน  เมื่อเพื่อนติดสารเสพ  เสพติดลายใหม่ให้แก่เพื่อนรายต่อๆ ไปที่เพิ่งติดและจะเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยๆ ทำให้ผู้ใช้สารเสพติดในลำดับต้นๆ เปลี่ยนบทบาทตนเองจากผู้เสพเพียงอย่างเดียวไปเป็นผู้ขายปันส่วน  ผู้ขายลายย่อย  ผู้ขายลายใหญ่  และผู้ขายส่งตามลำดับ
                   2. ความสำคัญและปัจจัยในการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         2.1 ความสำคัญของการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
ในอดีตสังคมจะประณามผู้ติดสารเสพติดว่าเป็นอาชญากร ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการทางกฎหมายกับผู้ค้าและผลิตสารเสพติดว่าเป็นผู้เจตนากระทำความผิด จึงสมควรได้รับการลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำลงไปอย่างไรก็ตาม ได้มีอีกแนวคิดหนึ่งที่กล่าวว่า “มนุษย์ไม่ได้เลวโดยสันดาน การกระทำความผิดอาจเกิดจากการคบเพื่อนไม่ดี ร่วมกับการได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในสภาพไม่ดี” ดังนั้นสังคมควรให้โอกาสผู้ติดสารเสพติดกลับตัวกลับใจและช่วยเป็นกำลังใจไม่ให้ไปใช้สารเสพติดซ้ำอีก จึงกระทำให้เกิดพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ขึ้น ซึ่งกำหนดให้มีการปฏิบัติต่อผู้ติดสารเสพติดเหมือนผู้ป่วย มิใช่อาชญากร และให้ผู้ต้องหาเข้ารับการฟื้นฟูภายใน 3 ปี โดยไม่ต้องรับโทษ
แนวทางการดำเนินการดังกล่าว คาดหวังให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
                         1.  ให้โอกาสผู้ติดสารเสพติดได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี
                         2.  ลดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่อาจมีศักยภาพช่วยพัฒนาประเทศได้
                         3.  ช่วยให้ผู้ติดสารเสพติดไม่ต้องมีประวัติด่างพร้อย ไม่ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นคนขี้คุก
                         4.  ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพสารเสพติด
                         5.  เมื่อผู้ติดสารเสพติดกลับตัวเป็นคนดี จะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้ในทางอ้อม
                         6.  ช่วยลดปัญหาผู้ต้องโทษล้นเรือนจำ และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเลี้ยงดูผู้ต้องโทษ เช่น ค่าอาหาร ค่าอุปโภคบริโภค ค่าเจ้าหน้าที่ที่ต้องมาดูแล เป็นต้น
                   2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
                                1.  ผู้ติดสารเสพติดต้องมีความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยมีความเข้าใจถึงเจตนาดีของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวที่ให้โอกาสผู้ติดสารเสพติดได้มีโอกาสปรับปรุงตนเอง
                                2.  ผู้ติดสารเสพติดต้องให้ความร่วมมือและมีความมุ่งมั่นในการเลิกสารเสพติด รวมถึงต้องตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะไม่กลับไปใช้สารเสพติดซ้ำอีกเมื่อพ้นจากการฟื้นฟูแล้ว
                                3.  ผู้ติดสารเสพติดต้องมีความยินยอมพร้อมใจที่จะเข้ารับการอบรมในกระบวนการฟื้นฟู เช่น การเข้าค่าย การถูกคุมประพฤติ เป็นต้น
                                4.  หากผู้เสพติดสามารถปฏิบัติตนได้ดังกล่าว ก็มิใช่เรื่องยากที่จะบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดให้หายเป็นปกติและสามารถกลับไปใช้ชีวิตกับคนทั่วไปในสังคมได้
                   3.  วิธีการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         3.1 รูปแบบการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                                1.  ชุมชนบำบัด หลักการสำคัญของรูปแบบนี้คือ เป็นการสร้างชุมชนจำลองให้ผู้เลิกสารเสพติดมาอยู่รวมกันเพื่อให้สมาชิกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองได้โดยมีการเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันรวมถึงให้ผู้ติดสารเสพติดอยู่ในส่งแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยจากสารเสพติด
                                2.  การพื้นฟูผู้ติดสารเสพติดแบบเข้มข้นทางสายใหม่  รูปแบบนี้สถาบันธัญญารักษ์  กรมการแพทย์  กระทรงสาธารณสุข  ได้พัฒนาขึ้น  โดยมีแนวคิดนำครอบครัวให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูและจะเน้นการทำให้ผู้ติดสารเสพติดสามารถกลับไปมีสภาพร่างกายที่เข้มแข็งและมั่น
                                3.  การฟื้นฟูแบบ(ป่วยนอกตามรูปแบบกาย  จิต สังคมบำบัด  รูปแบบนี้เน้นการให้ความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ติดสารเสพติดและครอบครัว  โดยสอดแทรกผ่านกิจกรรมตลอกระยะเวลาที่ทำการบำบัด ซึ่งใช้เวลารักษา 1 ปี
                                4.  การบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดแบบจิตอาสา คือ การใช้บุคคลหลากหลายเป็นแนวร่วมในการต้านสารเสพติด  ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรทางแพทย์  อาจเป็นพระหรือครูที่ผ่านหลักสูตร  เวชศาสตร์  โรคติดยา   และผ่านการปฏิบัติภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญก็ได้
                                5.  โปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ  โดยกำหนดให้ผู้ติดสารเสพติดมารายงานตัวที่สำนักการคุมประพฤติ  พร้อมกับกำหนดให้ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู เข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถช่วยให้เลิกสารเสพติดได้สำเร็จ
                   3.2  องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         การจะบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดให้ได้ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จะต้องดำเนินการแบบองค์รวม  กล่าวคือการให้การบำบัดทางกายของผู้ติดสารเสพติด  เพราะจะมีอาการข้างเคียงจากการเสพมาเป็นเวลานานทำให้สุขภาพร่างการทรุดโทรม  ให้การบำบัดทางจิต เป็นการให้กำลังใจ
                   3.3  ขั้นตอนในการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         1.  ผู้ติดสารเสพติดลงทะเบียนด้วยความสมัครใจของเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู 
                         2.  สถานบำบัดดำเนินการคัดแยกเบื้องต้น  โดยการพูดคุยซักถาม  สังเกตอาการ  ใช้เครื่องมือวัด
                         3.  การทำให้ผู้ติดสารเสพติดเกิดความไว้วางใจ
                         4.  การตรวจสอบค้นหาความรู้สึกซ้อนเร้นภายในของผู้ติดสารเสพติด
                         5.  การฟื้นฟู  เป็นการรักษาทางจิตใจ
                         6.  เมื่อผู้ติดสารเสพติดผ่านกระบวนการรักษาทางกายและจิตใจควบคุมตนเองได้แล้ว  ก็นำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูจิตใจ
                         7.  การสร้างพลังร่วมระหว่างครอบครัว  ชุมชน และผู้ติดสารเสพติด
                         8.  ปฏิญาณตนเลิกสารเสพติดและสร้างพลังใจให้เข้มแข็ง
                         9.  การติดตามผลเพื่อคัดแยกผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู
                   4. แหล่งช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด คือ กรมคุมประพฤติ ส่วนหน่วยงานสนับสนุน คือ สำนักวานตำรวจแห่งชาติ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กองทัพบก กองทัพเรือ กรมการปกครอง และกรมการแพทย์ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว จำแนกตามลักษณะดำเนินงานดังนี้
                                1.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การจับกุมตัว เป็นต้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองบัญชาการตำรวจภูธรทั่วประเทศ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ส่วนหน่วยงานดำเนินการชะลอการฟ้องเป็นหน้าที่ของสำนักอัยการ
                                2.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
                                3.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดสารเสพติดและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด มีทั้งสถานฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                   แบบเข้มงวด ได้แก่ กรมคุมประพฤติ และกองทัพอากาศ และสถานบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                   แบบไม่เข้มงวด ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กรมการปกครอง และกรมการแพทย์
                   หน่วยงานที่กล่าวมานี้ มีศักยภาพเพียงพอต่อการให้การช่วยเหลือรักษาผู้ติดสารเสพติด อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ต้องการเลิกสารเสพติดเอง เพราะหากมีจิตใจเข้มแข็งและมีจิตใจแน่วแน่ที่จะฉุดดึงตนเองให้หลุดออกจากความทุกข์ทรมานและความหายนะที่กำลังเผชิญอยู่ การเยียวยาก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้อย่างมาก

กลับสู่ด้านบน