ข้อสอบพฤติกรรมมนุษย์ พร้อมเฉลย

1.  จิตวิทยาตามความหมายดั้งเดิม  หมายถึง

  ก.  การเรียนรู้                                               ข.  พฤติกรรม

  ค. วิญญาณ                                                  ง.  การหยั่งรู้

2.  จิตวิทยาตามความหมายใหม่  หมายถึง

  ก.  การเรียนรู้                                               ข.  พฤติกรรม

  ค. วิญญาณ                                                  ง.  การหยั่งรู้

3.  จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา 

  ก. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  ข. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

  ค. เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน

  ง.  ถูกทุกข้อ

4.  จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาเกี่ยวข้องกันอย่างไร

  ก.  จิตวิทยาทางการศึกษาถือเป็นสาขาย่อยของจิตวิทยา

  ข.  จิตวิทยาการศึกษาเป็นเทคนิควิธีการศึกษาที่จะทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา

  ค.  แนวคิดและเทคนิควิธีการศึกษาทางจิตวิทยาถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา

  ง. ทฤษฎีทางจิตวิทยาถูกนำมาใช้อธิบายและแก้ปัญหาต่างๆในการจัดการศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน แม่นยำ

5.  จิตวิทยาการเรียนการสอน  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด 

  ก. พฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้

 ข. ธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้

  ค. พฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือกับสังคม

  ง. พัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

6.  บุคคลในข้อใดคือผู้ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา 

  ก.  วิลเลี่ยม  เจมส์                                          ข. สแตนส์ลี่  ฮอลล์

  ค. จอนห์  ดิวอี้                                              ง. เอ็ดเวิร์ด  ธอร์นไดน์

7.  บูรณาการจิตวิทยาสู้การศึกษา  คือใคร

  ก.  วิลเลี่ยม  เจมส์                                          ข. สแตนส์ลี่  ฮอลล์

  ค. จอนห์  ดิวอี้                                              ง. เอ็ดเวิร์ด  ธอร์นไดน์

8.  บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา  คือใคร

  ก.  วิลเลี่ยม  เจมส์                                          ข. สแตนส์ลี่  ฮอลล์

  ค. จอนห์  ดิวอี้                                              ง. เอ็ดเวิร์ด  ธอร์นไดน์

9.  ข้อใดเป็น พฤติกรรมภายนอก ( Overt Behavior) 

  ก. วัดการเต้นของหัวใจ                                     ข. การจำ

  ค. ความคิด อารมณ์                                         ง. เจตคติ

10.  ข้อใดไม่ใช่นักจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างจิต  

  ก. ทิชเชนเนอร์                                              ข. เฟชเนอร์

  ค. วิลเลียม เจมส์                                            ง. วุ้นด์

11.  โครงสร้างของจิตมนุษย์ตามแนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างจิต  คือข้อใด     

  ก. การสัมผัส                                                ข. ความรู้สึก

  ค. จิตนาการ                                                ง. ถูกทุกข้อ

12.  ข้อใดไม่ใช่นักจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างจิต  

  ก. จอน์ ดิวอี้                                                 ข. วู้ดเวิร์ธ

  ค. วิลเลียม เจมส์                                            ง. โทลแมน 

13. วิธีการสอนตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างจิต  คือข้อใด    

  ก. ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ                                ข. วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา

  ค. วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด ง. ถูกทั้งข้อ ข  และ ค

14.  พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า  เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มใด

  ก. กลุ่มพฤติกรรมนิยม                                      ข. กลุ่มจิตวิเคราะห์

  ค. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา                                     ง. กลุ่มหน้าที่จิต 

15.  เน้นเรื่องของจิตใต้สำนึก  เป็นแนวคิดของนักจิตวิทย ากลุ่มใด

  ก. กลุ่มพฤติกรรมนิยม                                      ข. กลุ่มจิตวิเคราะห์

  ค. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา                                     ง. กลุ่มหน้าที่จิต 

16.  Learning by doing  เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มใด

ข้อสอบพฤติกรรมมนุษย์ พร้อมเฉลย

  ก. กลุ่มพฤติกรรมนิยม                                      ข. กลุ่มจิตวิเคราะห์

  ค. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา                                     ง. กลุ่มหน้าที่จิต 

17.  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการรับรู้และการเรียนรู้ของคน เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มใด

  ก. กลุ่มมนุษย์นิยม                                           ข. กลุ่มจิตวิเคราะห์

  ค. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา                                     ง. กลุ่มหน้าที่จิต 

18.  มนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นแนวความคิดของใคร

  ก. คาร์ล โรเจอร์                                            ข. มาสโลว์

  ค. ทอลแมน                                                 ง. เกสตัลท์

19.  ข้อใดเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Bloom

  ก. พฤติกรรมด้านสมอ                                       ข. พฤติกรรมด้านจิตใจ

  ค. พฤติกรรมด้านทักษะ                                     ง.  ถูกทุกข้อ

20. กฎการเรียนรู้ ตามทฤษฎีเชื่อมโยงของ Thorndike  คือข้อใด

  ก. กฎแห่งผล                                                ข. กฎแห่งการฝึก

  ค. กฎแห่งความพร้อม                                       ง.  ถูกทุกข้อ

21.  การเรียนรู้ที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย เกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ การรับรู้ และการหยั่งเห็น เป็นกฎการเรียนรู้ของใคร

  ก. กลุ่มเกสตัลท์                                             ข.  กลุ่มจิตวิเคราะห์

  ค. กลุ่มมนุษย์นิยม                                           ง. กลุ่มพฤติกรรมนิยม

22.  ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน 

  ก. วุฒิภาวะ                                                      ข. ประสบการณ์เดิม

  ค. การจัดบทเรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็ก           ง. ถูกทุกข้อ

23. ข้อใดคือแนวคิดทางการศึกษาของ โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi )

  ก. ความแตกต่างระหว่างบุคคลมีผลต่อการเรียนรู้        

  ข. แนวการสอนต้องเน้นประสบการณ์

  ค. การศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน

  ง. ทุกข้อ

24. ความคิดในการจัดหลักสูตรของ โจฮันน์ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ เน้นความคิดในข้อใด

  ก. เป็นแบบบูรณาการ                                      ข. เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

  ค. แบบแยกรายวิชา                                        ง. แบบผสมผสาน

25. แนวคิดหลักสูตรการเรียนการสอนของใคร สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม

  ก. โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่                            ข. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

  ค. ดร.มาเรีย มอนเตสเซอรี่                                 ง. จอห์น ดิวอี้ ( John Dewey )

26. ทฤษฎีทางการศึกษาของใครได้กลายเป็นพื้นฐานที่สําคัญการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

  ก. โจฮันน์ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่                             ข. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

  ค. มอนเตสเซอรี่                                             ง. จอห์น ดิวอี้

27.  เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ 
และเชื่อว่าการศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมในอันที่จะเตรียมบุคคลให้สามารถ
สร้างสรรค์คุณค่าและประโยชน์แก่สังคม  เป็นแนวคิดของใคร

  ก. ฌอง ฌาค รุสโซ                                         ข. จอห์น ดิวอี้

  ค. เดวิด เอลไคน์                                            ง. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

28.  เชื่อว่า  พฤติกรรมที่มีปัญหาของเด็ก  สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรม

  ก. ฟรอยด์                                                   ข. ธอร์นไดน์

  ค. วัตสัน                                                     ง. สกินเนอร์

29. วิธีการทางการศึกษาของคอมินิอุสและเปสตาลอสซี เน้นในเรื่องใด

  ก. เน้นในเรื่องของการรับรู้โดยผ่านทางวิธีประสาท   ข. เน้นพัฒนาการข้ามขั้น

  ค. การปรับตัวทางสังคม                                    ง. การเรียนรู้แบบค้นพบ

30. วิธีการทางการศึกษาของคอมินิอุสและเปสตาลอสซี ควรเกิดผลต่อผู้เรียนตามข้อใด

  ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ข้อ                        ข. สามารถศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้

  ข. ความคิดรวบยอดที่ถูกต้องสมบูรณ์                       ง. ไม่มีข้อถูก

31. ข้อใดคือความเชื่อของ เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

  ก. เด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด            

  ข. เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน

  ค. กระบวนการเรียนการสอนเน้นการเล่นอย่างมีความหมาย

  ง. ทุกข้อ

32. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ที่สําคัญของครู ตามแนวคิดของเฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

  ก. การพยายามดึงความสามารถที่มีอยู่ภายในของเด็กออกมา

  ข. ช่วยให้เด็กตระหนักถึงความสามารถของตนเอง

  ค. การเรียนของเด็กไม่ควรให้มีการเล่นระหว่างเรียนจะทําให้ขาดสมาธิ

  ง. ทุกข้อ

33.  แนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นแนวคิดของใคร

  ก. โจฮันน์ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่                             ข. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

  ค. ดร.มาเรีย มอนเตสเซอรี่                                 ง. จอห์น ดิวอี้

34. การจัดการเรียนการสอนแบบเรียนปนเล่น Play Way เป็นแนวคิดของใคร

  ก. โจฮันน์ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่                             ข. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

  ค. ดร.มาเรีย มอนเตสเซอรี่                                 ง. จอห์น ดิวอี้

35. นักจิตวิทยาตามข้องใดเป็นเจ้าของ ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม

  ก. ฌอง ฌาค รุสโซ                                         ข. จอห์น ดิวอี้

  ค. เดวิด เอลไคน์                                            ง. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

36. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม

  ก. มนุษย์เป็นคนดีเพราะมีครูสอน                          ข. มนุษย์เป็นคนดีเพราะมีศาสนา

  ค. มนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ                         ง. ปกติมนุษย์เป็นคนไม่ดี

37. ทฤษฎีทางการศึกษาของใครมีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์

  ก. ฌอง ฌาค รุสโซ                                         ข. จอห์น ล็อค

  ค. เดวิด เอลไคน์                                            ง. เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล

38. ข้อใดผิดเกี่ยวกับความเชื่อของ จอห์น ล็อค

  ก. จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการพยายามทําให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล

  ข. การจัดการศึกษาต้องคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

  ค. จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

  ง. ไม่มีข้อผิด

39. การศึกษาควรเป็นไปตามลําดับขั้นของธรรมชาติเป็นแนวคิดของใคร

  ก. ฌอง ฌาค รุสโซ                                         ข. จอห์น ดิวอี้

  ค. เดวิด เอลไคน์                                            ง. จอห์น อมอส คอมิวนิอุส

40. เด็กเล็กเปรียบได้กับกิ่งไผ่อ่อน เป็นการเรียนการสอนตามแนวคิดของใคร

  ก. นิโอ – ฮิวแมนนิส                                        ข. จอห์น ดิวอี้

  ค. เดวิด เอลไคน์                                            ง. จอห์น อมอส คอมิวนิอุส

41.  การจัดการศึกษาแก่เด็ก  ตามแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด

  ก. จัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ

  ข. จัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนตามความสามารถและความสนใจ

  ค. จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนตามใจตนเอง  เพื่อให้มีความสุขกับการเรียนอย่างแท้จริง

  ง.  จัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนได้เรียนตามใจตนเอง  ตามความสามารถและความสนใจ

42. คนที่สมบูรณ์นั้นเกิดจากศักยภาพ ด้านร่างกาย จิตใจ ความมีนํ้าใจ วิชาการ เป็นแนวคิดของใคร

  ก. นิโอ – ฮิวแมนนิส                                        ข. จอห์น ดิวอี้

  ค. เดวิด เอลไคน์                                            ง. จอห์น อมอส คอมิวนิอุส

43. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตวิทยาของแฮร์บาร์ต

  ก. เด็กเกิดมานั้นจิตใจว่างเปล่า

  ข. ความเจริญของจิตเกิดจากการกระทํา และปฏิกิริยา ของความรู้สึกนึกคิด

  ค. จิตส่วนที่เกี่ยวกับการหาเหตุผล ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์

  ง. ธรรมชาติของคนเป็นคนดีตั้งแต่เกิด

44. ข้อใดกล่าวถึงซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้ถูกต้อง

  ก. เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาวิเคราะห์                          ข. เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาโลก

  ค. เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กําเนิด          ง. ทุกข้อ

45. ฟรอยด์จึงแบ่งขั้นตอนพัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็นกี่ขั้น

  ก. 5 ขั้น                                                     ข. 6 ขั้น

  ค. 7 ขั้น                                                     ง. 8 ขั้น

46. ข้อใดกล่าวถึง John B. Watsan ได้ถูกต้อง

  ก. บิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่”                             

  ข. บิดาแห่งพฤติกรรม

  ค. เชื่อว่าพฤติกรรมเป็นการแสดงออกของจิต ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้     

  ง. ทุกข้อ

47. บิดาแห่งการแนะแนวอาชีพ คือใคร

  ก. นิโอ – ฮิวแมนนิส                                        ข. ซิกมุนด์ ฟรอยด์

  ค. แฟรงค์ พาร์สันส์                                         ง. จอห์น อมอส คอมิวนิอุส

48. ข้อใดคือความหมายของการแนะแนว

  ก. กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม

  ข. เป็นขั้นตอนในการแนะนําผู้เรียนโดยครูที่ปรึกษาและครูแนะแนว

  ค. เป็นการแนะนําผู้เรียนให้เข้าใจความเป็นในการตัดสินใจ

  ง. ไม่มีข้อถูก

49. เริ่มตั้งแต่วันแรกของผู้เรียนที่เข้าสู่สถานศึกษา
และดำเนินไปจนถึงการสิ้นสุดการเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพและการศึกษาต่อใน
ระดับสูง  เป็นการแนะแนวในข้อใด

  ก. การแนะแนวการศึกษา                                  ข. การแนะแนวอาชีพ

  ค. การแนะแนวส่วนตัวและอาชีพ                      ง. ถูกทุกข้อ.

50.  บริการแนะแนวควรจัดในสถานศึกษาตามข้อใด

  ก. ประถมศึกษา                                             ข. มัธยมศึกษา

  ค. อุดมศึกษา                                                ง. ทุกระดับควรมีการบริการแนะแนว

เฉลย

1. ค   2. ข   3.ง    4.ค    5.ก    6.ก    7.ข    8.ง    9.ก    10.ค  11.ง   12.ง   13.ง  14.ก  15.ข  16.ข  17.ค 

18.ข  19.ง   20.ง  21.ก  22.ง   23.ง   24.ก  25.ข  26.ข  27.ข  28.ข  29.ก  30.ข  31.ง   32.ค  33.ง   34.ข 

35.ก  36.ค  37.ข  38.ค  39.ง   40.ก  41.ข  42.ก  43.ง   44.ง   45.ก  46.ง   47.ค  48.ง   49.ง   50.ง         

ที่มา : Facebook ติวครูดอทคอม