ประโยชน์ สูงสุด ของงานวิจัย

    การวิจัยในชั้นเรียน

  การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom  Action  Research) ถือเป็นนวัตกรรมรูปแบบหนึ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับครูยุคใหม่    ที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในมาตรา  24  ระบุว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ( 5 ) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย  เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

  ทั้งนี้  ผู้สอนและผู้เรียน  อาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน  จากสื่อการเรียนการสอน  และแหล่งวิทยากรประเภทต่าง จากข้อความดังกล่าว  จะเห็นได้ว่า  แนวคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช  2542  เน้น  การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน  คือ  ไม่แยกส่วนจากการเรียนการสอน  วิจัย  และพัฒนาการเรียนการสอนไปพร้อม    กันการวิจัย (Research)  เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้  การแก้ปัญหา  หรือการพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง  เชื่อถือได้

    การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญอย่างไร

  การทำวิจัยในชั้นเรียนนั้น  จะช่วยให้ครูมีวิถีชีวิตของการทำงานครูอย่างเป็นระบบเห็นภาพของงานตลอดแนว  มีการตัดสินใจที่มีคุณภาพเพราะจะมองเห็นทางเลือกต่าง ได้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้น  แล้วจะตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง   อย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์  ครูนักวิจัยจะมีโอกาสมากขึ้นในการคิด  ใคร่ครวญเกี่ยวกับเหตุผลของการปฏิบัติงาน  และครูจะสามารถบอกได้ว่างานจัดการเรียนการสอนนี้ที่ปฏิบัติไปนั้นได้ผลหรือไม่  เพราะอะไร  นอกจากนี้ครูที่ใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอนนี้  จะสามารถควบคุม  กำกับ

  และพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างดี  เพราะการทำงาน  และผลของการทำงานนั้น  ล้วนมีความหมายและคุณค่าสำหรับครูในการพัฒนานักเรียน  ผลจากการทำวิจัยในชั้นเรียน  จะช่วยให้ครูได้ตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรมของผลสำเร็จในการปฏิบัติงานของครูอันจะนำมาซึ่งความรู้  และความปิติสุขในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องของครู เป็นที่คาดหวังว่า  เมื่อครูผู้สอนได้สอนได้ทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนอย่างเหมาะสมแล้ว  จะก่อให้เกิดผลดีต่อการศึกษา  และวิชาชีพครูอย่างน้อย  3  ประการ  คือ

   1.นักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.วงวิชาการศึกษาจะมีข้อความรู้และ/หรือ นวัตกรรมทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นจริงเกิดมากขึ้น     อันจะเป็นประโยชน์ต่อครูและเพื่อนครู  ในการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก และ 3.วิถีชีวิตของครู  หรือวัฒนธรรมในการทำงานของครู  จะพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (Professional  Teacher) มากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้  เพราะครูนักวิจัยจะมีคุณสมบัติของการเป็นผู้แสวงหาความรู้  หรือผู้เรียน (Learner)

  ในศาสตร์แห่งการสอนอย่างต่อเนื่อง  และมีชีวิตชีวา  จนในที่สุดก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้  ความเข้าใจที่กว้างขวาง  และลึกซึ้งในศาสตร์และศิลป์แห่งการสอนเป็นครูที่มีวิทยายุทธ์แกร่งกล้า  ในการสอน  สามารถที่จะสอนนักเรียนให้พัฒนาก้าวหน้าในด้านต่าง ในหลายบริบท  หรือที่เรียกว่าเป็นครูผู้รอบรู้  หรือครูปรมาจารย์ (Master Teacher) ซึ่งถ้ามีปริมาณครูนักวิจัยดังกล่าวมากขึ้น  จะช่วยให้การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมั่นคง

  ในปัจจุบัน  เป็นที่ยอมรับกันว่า  การวิจัยในชั้นเรียนจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาวิถีของครู  เพื่อให้ครูพัฒนาไปสู่ความเป็นครูอาชีพในสังคมวิชาการของวิชาชีพครู ดังนั้น  ลักษณะการวิจัยในชั้นเรียน  ควรเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) ซึ่งเป็นการวิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติการเรียนการสอนจริง

  ประโยชน์ของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  มีดังนี้

  1.ช่วยแก้ปัญหาในห้องเรียน 2.ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 3.เป็นการเปลี่ยนบทบาทของครูใหม่ 4.เสริมพลังอำนาจแก่ครูในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน 5.ทำให้รู้ถึงวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ 6.เป็นการกระตุ้นการสอนแบบสะท้อนกลับ

  7.ช่วยตรวจสอบวิธีการทำงานครูที่มีประสิทธิภาพ 8.ช่วยพัฒนาทักษะทางวิชาชีพครู 9.เป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิธีสอนกับผลที่ได้รับ 10.ช่วยให้ครูนำผลการวิจัยไปใช้ในห้องเรียน 11.ทำให้ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change  agent) จากประโยชน์ข้างต้น  จะเห็นได้ว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก  ครูควรศึกษาขั้นตอนการวิจัยแล้วนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน

  การวิจัยในชั้นเรียนนั้น  มีลักษณะเฉพาะที่เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานการจัดการเรียนการสอน  รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียนนั้น  เป็นโปรแกรมการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development) โดยเน้นสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเข้าใจสภาพปัญหา  และวิธีการแก้ไขตลอดจนนวัตกรรมในการพัฒนางานตามสภาพที่เป็นจริง  ในกระบวนการของการพัฒนางานนั้นมีขั้นตอน  ดังนี้

  ขั้นตอนที่ 1 กำหนดปัญหา  และความต้องการ ครูผู้วิจัยสามารถหาปัญหา  และความต้องการได้จาก  การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการสอบปลายภาค  จากการประเมินผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  จากการประเมินผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ในแผนการเรียนรู้บันทึกผลการเรียนรู้และจากการตรวจผลงานของนักเรียน  มาเป็นปัญหาและเทียบกับความต้องการตามนโยบายของโรงเรียน  หน่วยงานต้นสังกัด  ว่ามีความต้องการพัฒนาระดับใด  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนในชั้นเรียนด้วย  และเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังตามความต้องการจำเป็นปฏิบัติ

  ขั้นตอนที่ 2  แนวทางแก้ไขและพัฒนา จากขั้นตอนที่  1  เมื่อครูผู้วิจัยได้กำหนดและเลือกทางเลือกในการแก้ไขหรือพัฒนาแล้ว  ครูผู้วิจัยก็ดำเนินการสร้างนวัตกรรม  เพื่อในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาขึ้น  ซึ่งนวัตกรรมอาจเป็น (1) วิธีการ  ได้แก่รูปแบบวิธีสอนใหม่   การสอนซ่อมเสริมและแนวปฏิบัติอื่น ที่ครูผู้วิจัยได้คิดค้นขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียน (2)  สื่อ  และเอกสาร  ซึ่งหมายถึง  เครื่องมือที่จะช่วยในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้ดีขึ้น  ได้แก่  บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดฝึก, V.D.O, CD-ROM, CAI, ไลด์, ชุดการสอนกิจกรรม  เกม  แผ่นภาพ  คู่มือ  หนังสืออ่านเพิ่มเติมเหล่านี้  เป็นต้น  

  ขั้นตอนที่ 3  การดำเนินงานพัฒนา ครูผู้วิจัยต้องกำหนดว่า  จะดำเนินการแก้ไข  หรืพัฒนานักเรียนด้านใด  ซึ่งอาจกำหนดเป็นรายบุคคล  หรือรายกลุ่ม  รายห้องเรียน  ตามสภาพปัญหา  และความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นที่  1  หลังจากนั้น  จึงนำวิธีการหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้นในขั้นที่  2  มาจัดลำดับขั้นตอน (วางแผน)  จะทำอย่างไร  ตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว เริ่มดำเนินการ (ปฏิบัติการ) แก้ไข  พัฒนา

  ขั้นตอนที่  4  สรุปรายงานผล เป็นขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการตั้งแต่ต้น  จนสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาผลเป็นอย่างไร  ได้ผล หรือไม่ได้ผล  ถ้าได้ผลอาจนำผลไปเผยแพร่  ไม่ได้ผลควรหาแนวทางใหม่  เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและในการสรุปรายงานควรระบุด้วยว่า  มีปัญหา  อุปสรรค  และข้อเสนอแนะอย่างไร  ไว้ในการสรุปรายงานด้วย  จากขึ้นตอนดังกล่าว  สรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

  ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน  กำหนดได้  4  ขั้นตอน  คือ

  จากขั้นตอน  การวิจัยในชั้นเรียน  จะเห็นได้ว่า  เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่เป็นระบบ  ซึ่งเริ่มจากปัญหา  ความต้องการ  สาเหตุ  คิดค้นนวัตกรรม  วิธีการแก้ไข  พัฒนาดำเนินการและสรุปผลเพื่อดูความก้าวหน้า  และปรับปรุงการเรียนการสอน  จากประสบการณ์นิเทศพบว่า  ครูผู้สอนยังมีความสับสนเกี่ยวกับการวิจัยค่อนข้างมาก  บางคนคิดว่าการวิจัยเป็นเรื่องยากต้องใช้สถิติที่ยุ่งยาก  จึงไม่กล้าคิดที่จะทำวิจัยนั่น  คือ  การมองภาพการวิจัยทางวิชาทั่ว ไป

ประโยชน์ในการทำวิจัย มีอะไรบ้าง

1. เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ 2. ใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและยุติธรรม 3. ช่วยให้เข้าใจและทำนายปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 4. ช่วยในด้านการกำหนดนโยบาย การวางแผนงาน และตัดสินปัญหา

นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ คือ การนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่ ...

การทำวิจัยในชั้นเรียนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์(2544) กล่าวว่า อย่างน้อยที่สุดการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจะมีประโยชน์ดังนี้ 1. ช่วยให้ครูมีพลังอํานาจในการแก้ปัญหาในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้ ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ 2. ช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น และจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนได้อย่างมี ...