นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

การเรียนกับดนตรีมองเผิน ๆ แล้วอาจจะคิดว่าจะไปด้วยกันได้อย่างไร แต่ถ้าหากได้ลองศึกษาแล้วจะพบว่าดนตรีนั้นไปกับการเรียนด้านวิชาการได้เป็นอย่างดี ความแตกต่างที่ลงตัวนี้ทำให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้อย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เพราะดนตรีเปรียบเสมือนบ่อเกิดของ ‘สมาธิ’ และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’

อาจารย์สุพาพร กล่าวว่า “จากการศึกษาพบว่า ดนตรีส่งเสริมพัฒนาการทางสมองการเรียนรู้ การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยตรง กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวจะช่วยพัฒนาสมองซีกซ้ายและขวาให้ทำงานอย่าง สมดุล ขณะฟังดนตรีเด็กจะรู้สึกผ่อนคลายปล่อยความคิดจินตนาการไปตามบทเพลง ซึ่งส่งผลดีต่อสมองซีกขวา ส่วนตัวโน้ตหรือจังหวะเคาะดนตรีจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายด้าน ภาษา คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ ดังนั้นดนตรีจึงช่วยพัฒนาความฉลาดของเด็กได้อย่างแท้จริง”

งานวิจัยในต่างประเทศมีการระบุตรงกันว่าดนตรีนั้นสามารถช่วยพัฒนาเด็ก ๆ ให้เรียนรู้ได้ไว และมีความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะกับเด็กในช่วงอายุแรกเกิด - 6 ปี เพราะในช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้ และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างดี นอกจากนี้ในด้านร่างกายสมองเด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตโดยมีการสร้างเครือข่ายของสมองและพัฒนาจุด เชื่อมต่อระบบเซลล์ประสาทมากกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต หากถูกปิดกั้นหรือไม่ได้รับการส่งเสริมที่ดีในช่วงนี้ ก็จะทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองด้วย

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ยังบอกอีกว่า “สัญญานของระบบประสาทของเด็กๆที่มีฐานะยากจนมีการประมวลผลในรายละเอียดของเสียงต่างๆอย่างแม่นยำ แต่ความเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ชัดหลังจากที่มีการเรียนดนตรีต่อเนื่องมาแล้วกว่า 2 ปี ซึ่งเธอมั่นใจว่าเด็กๆที่เรียนดนตรีมีระบบประสาทในการตอบสนองต่อเสียงต่างๆ อย่างแม่นยำ และยิ่งเล่นดนตรีหรือเรียนดนตรีมากเท่าไหร่ ผลการตอบสนองก็จะดีขึ้นมากเท่านั้น”

เมื่อดนตรีเข้ามามีบทบาทที่จะช่วยเด็ก ๆ ให้เกิดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว สิ่งต่อไปที่จะต้องทำคือ การปรับเปลี่ยนสิธีการสอนโดยเพิ่มดนตรีเข้าไปใส่ เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดสมาธิและสนุกสนานไปกับการเรียนด้วย

  • ดนตรีกับการเรียนรู้ภาษา ดนตรีกับเรื่องของภาษานั้นมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน คือ เกิดจากการนำคำที่มีระดับเสียงสูงๆ ต่ำๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ดังนั้นถ้าหากสอนภาษาผ่านบทเพลงที่มีเนื้อร้องที่เป็นภาษาเหล่านั้นได้จะช่วยให้เด็ก ๆ จดจำและเข้าใจได้ง่ายขึ้นแน่นอน
  • ดนตรีกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรมจึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก การสอนให้เด็กเข้าใจคณิตศาสตร์โดยผ่านทางบทเพลงที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนผ่านบทเพลงที่มีจังหวะและทำนองที่สนุกสนานให้เด็ก ๆ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจและความเข้าใจในเรื่องของคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
  • ดนตรีกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่เด็ก ๆ ควรรู้ก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เราสามารถสอนผ่านการฟังเสียงบรรเลงที่มีเสียงธรรมชาติประกอบ เพื่อดึงดูดให้เด็ก ๆ มีความสนใจและจดจำเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น

การสอนสามารถสอนได้อย่างหลากหลายรูปแบบ แม้กระทั่งการนำสิ่งที่ต่างขั้วกันอย่างด้านดนตรีและด้านวิชาการ ก็ช่วยพัฒนาเด็ก ๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และช่วยพัฒนาให้เป็นเด็กที่มีการเรียนรู้ได้อย่างว่องไว และเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย ไม่แน่ถ้าเด็ก ๆ สนใจด้านดนตรีเราอาจจะสนับสนุนเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทำในสิ่งที่ชอบอีกด้วย

ขอขอบคุณ www.voathai.com/a/music-learning-study-pt/2478995.html

worldmusicthailand.wordpress.com/อิทธิพลของดนตรี/ด้านการศึกษา/

1. ความหมายของการบูรณาการ

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

         คำว่าบูรณาการ ตามพจนานุกรมไทย กล่าวว่า คือ “การนำหน่วยที่แยกๆกัน มารวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” นักการศึกษาให้ความหมาย การบูรณาการคือ “การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเข้ามาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน มีความ สมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใสการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน”

        จากความหมายข้างต้นด้านนาฏศิลป์ จึงเป็นศิลปะแบบบูรณาการ คือมีส่วนประกอบของศิลปะหลายแขนงเช่น ดนตรี การแต่งกาย การแต่งหน้า ฉาก แสง สี เสียง ลีลาท่ารำ จังหวะในการร่ายรำ คำร้องหรือเนื้อร้องที่สื่อความหมายของการแสดง เอามารวมกันเรียกว่า

“องค์ประกอบนาฏศิลป์ไทย”

2. การเชื่อมโยงความรู้ระหว่างนาฏศิลป์กับสาระการเรียนรู้ต่างๆ

          ในเรื่องของการเชื่อมโยงความรู้ เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ โดยใช้ทักษะการคิด วิเคราะห์ เช่น เมื่อนักเรียนชมชุดการแสดงนาฏศิลป์หรือในการชมการแสดงละครไทย นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง นอกจากความบันเทิง หรือเมื่อนักเรียนได้ฝึกหัดนาฏศิลป์ นักเรียนได้ประโยชน์และได้รับความรู้ในเรื่องใด ที่เกี่ยวกับรายวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่น

          1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

           นักเรียนที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ จะต้องรู้จักสังเกต การกำหนดจังหวะ ของบทเพลงที่ฝึกหัดการกำหนดแถว การเว้นระยะระหว่างแถว การคำนวณ พื้นที่บนเวที เพื่อความเหมาะสมสวยงาม ให้จัดฉากละคร การกำหนดจุดยืนของผู้แสดง หรือแม้แต่การคำนวณเรื่องการจัดต้นทุน รายรับ รายจ่าย ในการจัดการแสดง จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์และการละคร จะต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย เพื่อความสมบูรณ์แบบในการนำเสนอ

          2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

         เนื้อหาของรายวิชาภาษาไทย ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภา และวรรณคดี เช่นเดียวกับวิชานาฏศิลป์ และการละครที่ได้นำ วรรณคดีไทย และการ แต่งบทร้อยกรอง มาประกอบการเรียนทั้งนาฏศิลป์และละครไทย การเรียนรู้วรรณคดีผ่านการแสดงนาฏศิลป์ และการละครนั้นนักเรียนจะได้รับ อรรถรสและสุนทรียภาพที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเรียนรู้ศาสตร์ทั้งสองอย่างไปด้วยกัน เช่น

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

 

3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

        การเรียนรู้เรื่อง แสง สี เสียง จากเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการแสดงนาฏศิลป์และการละคร เพราะอิทธิพลของแสง จะทำให้เกิดภาพที่มีสีสันที่สวยงาม ของเครื่องแต่งกายและการแต่งหน้าของผู้แสดง ตลอดจนเทคนิคของเสียงที่เหมาะสม ก็ช่วยส่งเสริมให้การแสดงมีความสมจริง เป็นการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราว เนื้อหา ที่สื่อผ่านผู้แสดงไปยังผู้ชม ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญ ที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้สอดคล้องกัน

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

          4.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

       สาระศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม เป็นวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย จึงมีการแสดงนาฏศิลป์เพื่อสื่อถึงความสำคัญของศาสนา  การบูชา พระรัตนตรัย เช่น ระบำไตรรัตน์  รำแม่ศรีไตรสิกขา เป็นต้น

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

       4.2 สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม การแสดงนากศิลป์ส่วนใหญ่จะสะท้อน ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ในสังคมจะเห็นได้ชัดเจน เช่น ฟ้อนสาวไหม  แสดงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองเหนือด้วยการ ทอผ้าไหมไทย การรำผีฟ้า เป็นการรำเพื่อรักษาโรค ของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเล่นเพลงเรือในประเพณีงานบุญ เป็นต้น

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

 

       4.3 สาระประวัติศาสตร์ การเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่านชุดการแสดงนากศิลป์ไทยมีอยู่มากมายหลายชุดการแสดง เช่น ละคร อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง” ละครเรื่องนางเสือง  การแสดงชุด  ชุมนุมเผ่าไทย ซึ่งการแสดงมีการถ่ายทอดสาระ ความเป็นมาของบุคคลสำคัญในชาติ การเสียสละ เลือดเนื้อเพื่อแผ่นดินของบรรพบุรุษไทย ในการรักษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน เป็นต้น

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

 

       4.4 สาระภูมิศาสตร์  ภูมิศาสตร์ [8] เป็นวิชาที่เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศในส่วนต่างๆของประเทศไทย เราสามารถเรียนรู้ผ่านชุดการแสดงนาฏศิลป์จากการสังเกตการแต่งกาย ของชุดการแสดงที่บ่งบอกลักษณะ ทางกายภาพได้ เช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีอากาศร้อน ชุดการแสดงของเซิ้ง [9] จะนุ่งผ้าซิ่น ยาวแค่เข่า แสดงให้เห็นว่ามีอากาศร้อน ทางภาคเหนือผู้แสดง จะนุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้า เนื่องมาจากทางภาคเหนือมีอากาศค่อนข้างเย็น ดังนี้ เป็นต้น

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

          5. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

      การเย็บปักถักร้อย งานผ้า งานออกแบบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เคล็ดไม่ลับได้จากเสื้อผ้าของชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่มีความสวยงาม คงทนและการตัดเย็บที่ยืดหยุ่นไม่ตายตัว สามารถใช้ได้ยาวนาน เทคนิคการเก็บรักษาหลังการใช้ การนุ่งผ้าแบบต่างๆ จากผ้าผืนเดียวเป็นต้นแบบของ ดีไซน์เนอร์  ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ก็มีความสำคัญ ที่ช่วยทำให้งานออกแบบชุดการแสดง การออกแบบเวที ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

          6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

     ประโยชน์ของการเรียนนาฏศิลป์ไทยที่สำคัญมีอยู่อย่างหนึ่งคือ การร่ายรำที่ทำให้ได้ออกกำลังกาย เป็นการออกกำลังกายที่มีความสวยงาม ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหว การยกเท้า การกระดกเท้า การกรายมือ การตั้งวงร่ายรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย [10] เคลื่อนที่ไป ถ้าฝึกปฏิบัติเป็นประจำ และรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเว้นจากสุรา ยาเสพติดทุกประเภทร่วมด้วย จะทำให้ผู้เรียนนากศิลป์ มีร่างกายและ สุขภาพที่แข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี มีบุคลิกลักษณะที่สง่างาม ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าวิชานาฏศิลป์  ส่งเสริมด้านสุขภาพและพลานามัย เป็นอย่างดี มีความสอดคล้องในด้านการปฏิบัติ

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

           7. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

      ในโอกาสที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะภาษากลางคือภาษาอังกฤษ ผู้เรียนนาฏศิลป์ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษและศึกษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการแสดง นาฏศิลป์ไทย เช่น Drama, Dance , Folk-Dance  เป็นต้น ซึ่งที่จะสามารถนำมาใช้ในการอธิบายชุดการแสดง ระหว่างผู้ชมที่เป็นชาวต่างชาติ ทำให้ชาวต่างชาติ มีความเข้าใจในการแสดงมากยิ่งขึ้น

         8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะแบ่งเป็น 3 สาระการเรียนรู้ ดนตรี-นาฏศิลป์ และทัศนศิลป์ จะเห็นได้ว่าศิลปะทั้ง 3 สาระ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ เชื่อมโยง จนไม่สามารถที่จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปได้ นากศิลป์จึงมีความสมบูรณ์ หมายความว่า นาฏศิลป์ต้องเกี่ยวข้องกับทั้งสองสาระการเรียนรู้ คือ ดนตรี และทัศนศิลป์ [11] จึงจะเห็นสุนทรียภาพที่สวยงาม ฉาก แสงสี ที่ตระการตา เป็นเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทย

นักเรียนสามารถนำดนตรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

ดนตรีสามารถนำมาประยุกต์อะไรได้บ้าง

ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้.
ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์ ... .
ดนตรีไทยกับการผ่อนคลาย ... .
ดนตรีกับการบำบัดรักษา ... .
ดนตรีกับการศึกษา ... .
ดนตรีกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ... .
ดนตรีกับธุรกิจ.

การนำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ มีประโยชน์อย่างไร

ดนตรีบำบัดรักษา คือ การนำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นการปรับสภาพสิ่งที่ผิดปกติให้เกิดความสมดุลและกลับมาสู่สภาพปกติ เช่น อาการกล้ามเนื้อ เกร็งตัว ก็นดนตรีมาช่วยกระตุ้นให้คลายตัว หรือเกิดความวิตกกังวล ก็นำดนตรีมาช่วยลดความตึงเครียด และความกังวลลงได้

ดนตรีมีส่วนช่วยในการพัฒนาการศึกษาอย่างไร

อาจารย์สุพาพร กล่าวว่า “จากการศึกษาพบว่า ดนตรีส่งเสริมพัฒนาการทางสมองการเรียนรู้ การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยตรง กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวจะช่วยพัฒนาสมองซีกซ้ายและขวาให้ทำงานอย่าง สมดุล ขณะฟังดนตรีเด็กจะรู้สึกผ่อนคลายปล่อยความคิดจินตนาการไปตามบทเพลง ซึ่งส่งผลดีต่อสมองซีกขวา ส่วนตัวโน้ตหรือจังหวะเคาะ ...

วงดนตรีไทยและวงดนตรีสากลสามารถนำมาบรรเลงด้วยกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

เครื่องดนตรีไทยและดนตรีสากลมีความเหมือนและความต่างกันในแต่ละประเภท ในการที่จะนําเครื่องดนตรีทั้งสองอย่าง Page 2 ทั้งไทยและสากลมาผสมวงกัน หลักที่สําคัญประการหนึ่งคือการเลือกประเภทของเครื่องดนตรี ต้องให้มีแนวเสียงไปในแนวเดียว กัน สามารถบรรเลงเข้ากันได้ เมื่อเราสามารถเลือกเครื่องดนตรีที่สามารถเข้ากันได้ จะทําให้บทเพลงที่ ...