การฟัง การดู และการพูด ป. 2

การฟังและการดูที่มีการตั้งจุดมุ่งหมายไว้เบื้องต้น จะทำให้ผู้รับสารพุ่งจุดสนใจจากที่ได้รับได้ดียิ่งขึ้น และส่งผลให้ผู้รับสารมีสรรถภาพในการฟัง การดู เพิ่มมากขึ้น


(อ้างอิง : https://www.youtube.com/watch?v=HPO9mnr5kCU)

การจับใจความการสรุปประเด็น

การจับใจความ
การจับใจความสำคัญ เป็นการอ่าน/ฟังเพื่อให้ทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และผลเป็นอย่างไร เเล้วจดบันทึกใจความสำคัญนั้นไว้
หลักการจับใจความสำคัญ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ตั้งใจอ่าน/ฟังเรื่อง
2. คิดตั้งคำถาม และตอบคำถามจากเรื่อง ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ผลเป็นอย่างไร และให้ข้อคิดอย่างไร แล้วเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
3. เขียนเรียบเรียงสรุปใจความสำคัญของเรื่องด้วยสำนวนภาษาของตนเอง
4. อ่านทบทวน เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง
การสรุปประเด็น
ประเด็นคือ สาระสำคัญ ใจความสำคัญ แก่นของเรื่อง ดังนั้นเราจึงต้องฝึกทักษะในการจับประเด็นเพราะเราต้องสื่อสารและรับสารจากผู้อื่น

การจับประเด็นจะต้องปฏิบัติดังนี้
1. การหาสาระของเรื่อง
2. การจับใจความสำคัญของเรื่อง
3. การสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
4. การจับหลักคิด/แนวคิดของเรื่อง
จากนั้นหยิบเอาความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญมากล่าวย้ำให้เด่นชัด โดยใช้ประโยคสั้นๆ เรียบเรียงให้เป็นระเบียบ
สิ่งที่เราได้จากการฝึกทักษะจับประเด็น คือ ทำให้เราได้ฝึกหัดตั้งคำถามตนเองทุกครั้งที่อ่านหนังสือหรือฟังเรื่องราวต่างๆ ว่า
* อะไร คือ ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้
* หัวใจของเรื่อง อยู่ที่ไหน
* คนเขียน/คนพูดเรื่องนี้ ต้องการบอกอะไรกับเรา
* สาระสำคัญของเรื่อง อยู่ที่ไหน

การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์ปัญหา หรือจับใจความการสรุปประเด็น
การใช้เทคนิค 5W1H จะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐานมีรายละเอียดดังนี้
ปัญหาคืออะไร หรือ อะไรคือปัญหา
Who ใคร (ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง)
What ทำอะไร (แต่ละคนทำอะไรบ้าง)
Where ที่ไหน (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน)
When เมื่อไหร่ (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด)
Why ทำไม (เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ)
How อย่างไร (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเป็นอย่างไรบ้าง)

มารยาทในการฟัง
การฟัง การดู และการพูด ป. 2

มารยาทในการฟังที่ดี มีดังนี้
1.ฟังด้ายความสงบ
2.ฟังด้วยความตั้งใจ
3.ปรบมือเมื่อชอบใจ
4.มองหน้าผู้พูด
5.เมือมีขอสงสัยควรถาม เมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ไม่ควรถามแทรกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่
6.ไม่สงเสียงรบกานผู้อื่น
7.ไม่ควรแสดงท่าทางไม่พอใจเมื่อไม่ชอบใจ
8.ตั้งใจฟังตังแต่ต้นจนจบ
9.ไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โฮร้อง
10.ไม่ควรเดินเข้าเดินออกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดหากมีความจำเป็นควรทำความเข้ารพก่อน

มารยาทในการดู
มารยาทในการดู มีดังนี้
1.ดูอย่างสงบเรียบร้อยไม่สงเสียงดังรบกวนผู้อื่น
2.ดูอย่างตังใจ
3.ไม่คุยหรือเล่นในขณะที่ดู ไม่สงเสียงดังรบกวนผู้อื่น
4.ปรมมือเมื่อจบการแสดง
5.ไปถึงสถานที่ที่มีการแสดงก่อนเวลา ประมาณ ๑๕ นาที่
6.ไม่นำอาหาร-เครื่องดื่มเข้ไปในงาน
7.ไม่ลุกเดินไปมา

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ในปัจจุบันแหล่งความรู้ต่าง ๆ นั้นมีมากมายหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หนังสือ ข่าว เหตุการณ์ รายการ หรือแม้กระทั่งเพลง ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง ทำให้เราสามารถเลือกได้ว่าจะรับชมหรือรับฟังสิ่งใดตามความสนใจใฝ่รู้ และสามารถนำมาเล่าหรืออธิบายให้ผู้อื่นฟังได้อย่างเข้าใจ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ป.2/2   เล่าเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

   - จับใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรือดูได้

2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

    - เล่าเรื่องที่ฟังและดูได้

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

     - มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

มารยาทเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม  กิจกรรมทุกกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น          จะดำเนินไปด้วยความราบรื่น  จำเป็นต้องมีมารยาทในการกระทำ  การฟัง การดู และการพูดก็เช่นเดียวกัน    ถ้าฟัง ดู หรือพูดคนเดียวในสถานที่ส่วนตัว  ก็ไม่จำเป็นต้องรักษามารยาทเท่าใดนัก  แต่ถ้าเป็นการฟังการดู  และการพูดร่วมกับผู้อื่น  ควรมีและรักษามารยาทเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้อื่น  ทั้งผู้พูด  ผู้แสดง และผู้ฟังหรือผู้ดูด้วยกัน 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ป.2/7   มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

จุดประสงค์

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

   - บอกมารยาทในการฟัง การดู และการพูดได้

2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

     - จำแนกมารยาทในการฟัง การดู และการพูดที่ดีได้

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

     - มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด