อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

              อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวตรวจวัด เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถส่งข้อมูลตรวจวัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตได้ 

              MQTT (Message Queuing Telemetry Transport) เป็นโพรโทคอลที่นำมาใช้ในงาน IoT เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์โดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ตัวกลาง (broker) ประกอบด้วยฝั่งที่แจ้งข้อมูล (publisher) และฝั่งที่ขอรับข้อมูล (subscriber) โดยจะต้องระบุตัวอ้างอิงที่เป็นหัวข้อ (topic) ของข้อมูลที่จะรับส่งให้ตรงกัน 

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวตรวจวัด เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถส่งข้อมูลตรวจวัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตได้ MQTT (Message Queuing Telemetry Transport) เป็นโพรโทคอลที่นำมาใช้ในงาน IoT เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์โดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ตัวกลาง (broker)  ประกอบด้วยฝั่งที่แจ้งข้อมูล (publisher) และฝั่งที่ขอรับข้อมูล (subscriber) โดยจะต้องระบุตัวอ้างอิงที่เป็นหัวข้อ (topic) ของข้อมูลที่จะรับส่งให้ตรงกัน    

            เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามักเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ จึงอาจเปรียบอินเทอร์เน็ตเป็นดังสายลมที่อยู่รอบตัวเรา แล้วเราจะเตรียมรับมือกับมันได้อย่างไร ถ้าเรานิ่งเฉย ไม่สนใจจะใช้ประโยชน์จากมันเราก็อาจพลาดการได้ความสะดวกสบายบางประการในชีวิตไปหน้าที่ของเราคือ ทำความเข้าใจว่าเราจะใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและผู้อื่น

            Internet of Things คือ สภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลร่วมกันโดยผ่านเครือข่ายจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Internet of Things ได้พัฒนามาจากเทคโนโลยีไร้สาย (wireless technology) ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค (micro-electromechanical system: MEMS) และอินเทอร์เน็ต คำว่า Things ใน Internet of Things นั้น หมายถึง อุปกรณ์ที่อ้างอิงได้ด้วยเลขไอพี (P address) และมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้โดยผ่านเครือข่าย สรุปอย่างให้เข้าใจง่าย Internet of Things คือ เทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

            เราได้เข้าใจนิยามของ Internet of Things ไปแล้ว เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เรามาดูตัวอย่างอุปกรณ์ธรรมดา ๆ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน แต่เมื่อมี Internet of Things เข้ามา มันจะดูไม่ธรรมดาอีกต่อไป เช่น

            - ตู้เย็นอัจฉริยะ ซึ่งมีตัวตรวจนับจำนวนสิ่งของต่าง ๆ ในตู้เย็นเวลาอาหารในตู้เย็นใกล้จะหมดอายุหรืออาหารใดหมด จะมีข้อความแจ้งเตือนไปยังสมาร์ตโฟนให้เราสั่งซื้อของใหม่ได้

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 1 ตู้เย็นอัจฉริยะ
ที่มา https://www.cnet.com/news/touchscreen-refrigerators-and-talking-everything-at-ces-2016/

            - เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ ที่สามารถรายงานสถานการณ์การทำงานของเครื่องไปยังสมาร์ตโฟนได้ กรณีที่เราใช้เครื่องซักผ้าในขณะที่เราไม่อยู่บ้าน เราสามารถตั้งค่าเครื่องซักผ้าในโหมดพิเศษว่าเมื่อเครื่องซักผ้าทำงานเสร็จแล้วเครื่องจะปั่นผ้าเบา ๆ ทุกสองนาที เพื่อให้มีอากาศไหลผ่านเป็นการช่วยไม่ให้ผ้าอับชื้น และเมื่อเรากลับถึงบ้าน เครื่องซักผ้าจะตรวจจับได้ว่าเราได้กลับบ้านแล้ว และจะจบการทำงานพร้อมแจ้งเตือน

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 2 เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ
ที่มา http://www.bornrich.com/samsung-wf457-washing-machine-wi-fi-connectivity.html

            - นาฬิกาอัจฉริยะ มีความสามารถมากกว่าที่ใช้ดูเวลาเท่านั้น เช่น ถ่ายรูป บันทึกวิดีโอ รับ-ส่งอีเมล จับเวลานับก้าวเดิน คำนวณระยะทางและพลังงานที่ร่างกายใช้นอกจากนี้ยังใช้เป็นรึโมตคอนโทรลของโทรทัศน์ก็ได้อีกด้วย

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 3 นาฬิกาอัจฉริยะ
ที่มา http://www.rudebaguette.com/assets/smart-watches.jpg

            นอกจากอุปกรณ์เหล่านี้ แล้วยังมีการใช้งานอุปกรณ์ในรูปแบบอื่น ๆ อีก เช่น การจอตรถในห้างสรรพสินค้าที่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับที่ว่างแล้วแสดงผลให้ลูกค้าทราบ ในทางการแพทย์ใช้ในกรวิเคราะห์ และตรวจสอบอาการคนไข้โดยผ่านอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ที่บ้านของคนไข้ ผลสำรวจแนวทางการนำ Internet of Things ไปใข้ในการสำรวจการคั้นหาใน Google การแซร์ผ่าน Twitter และ LinkedIn ดังรูปที่ 4 หัวข้อที่พบมากที่สุดคือ Smart Home หรือ ระบบบ้านอัจฉริยะ สำหรับในประเทศไทยนั้นหัวข้อที่น่าจะใกล้ชีวิตเรามากที่สุด ก็คงจะเป็นเรื่องWearable ซึ่งเป็นกลุ่มอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับสวมใส่บนร่างกาย เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 4 ผลสำรวจการประยุกต์ใช้งาน Internet of Things ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด
ที่มา https://iot-analytics.com/iot-applications-q2-2015/

            จะเห็นได้ว่า สมัยนี้อะไร ๆ ก็เป็น Smart กันทั้งนั้นนี่เป็นผลที่ได้จากการนำ Internet of Things มาใช้กับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ถ้าเรานำคำว่า "Smart" มานำหน้าคำว่า "School" บ้างล่ะ ก็จะเป็น "Smart School" หรือโรงเรียนอัจฉริยะ แล้วโรงเรียนแบบนี้จะมีลักษณะพิเศษอย่างไร สามารถนำแนวคิดของ Internet of Things ไปใช้ในโรงเรียนได้อย่างไรบ้าง

            การนำ Internet of Things มาใช้ในโรงเรียน ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีคลาวด์ (cloud technology) และ อาร์เอฟไอดี (radio frequency identification: RFID) ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการในโรงเรียน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้

            1.  การจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกสถานที่ตลอดเวลาด้วยระบบ Mobile Learning ผู้เรียนสามารถข้าถึงบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อศึกษาเนื้อหาและอ่านทบทวนสร้างความเข้าใจของตนเองได้ตามที่ต้องการ

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 5 การใช้งาน Mobile Learning
ที่มา https://www.upsidelearning.com/blog/wp-content/uploads/2015/02/mobile-learning-for-single-location-enterprise.jpg

            ในด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนมอบหมายระบบจะมีการบันทึกคะแนนของผู้เรียน จากการทำกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดต่าง ๆ ผ่านระบบคลาวด์ ช่วยลดภาระของผู้สอนในการประเมินผู้เรียนและอำนวยความสะดวกในการเตรียมเอกสารประกอบการเรียน ทั้งนี้สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์มาช่วยในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือแบ่งปันข้อมูลก็ได้ด้วย ซึ่งโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญเรื่องความเร็วและความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบเครือข่ายของโรงเรียน

            2. การดำเนินงาน ให้ติดแท็ก RFD ในอุปกรณ์และทรัพยากรหลายอย่าง เช่น เครื่องฉายภาพ (projector) จะช่วยทำให้ง่ายต่อการติดตามลดปัญหาการสูญหายของอุปกรณ์ ช่วยในการวางแผนจัดการ และตรวจสอบได้อย่างทันทีทันใด เมื่ออุปกรณ์ขึ้นใดชำรุด สามารถแจ้งซ่อมทันทีโดยผ่านสมาร์ตโฟน นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการตรวจสอบว่านักเรียนมาเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมครบหรือไม่ การติดแท็ก RFID ที่กระเป้านักเรียนเวลานักเรียนเดินผ่านเครื่องสแกนก็จะเป็นการเช็คชื่อโดยอัตโนมัติ

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 6 นักเรียนห้อยป้ายที่มีแท็ก RFD เดินผ่านเครื่องสแกนทางเข้า-ออกหน้าโรงเรียน
ที่มา (บน) http://technotechservices.com/images/smart-attendance.png
(ล่าง) https://i.ytimg.com/vi/L-m9DtVhKdk/maxresdefault.jpg

3. การรักษาความปลอดภัย การติดตั้งระบบ GPS (Global Positioning System) กับรถโรงเรียนจะมีการแจ้งเตือนมายังสมาร์ตโฟนของผู้ปกครอง และเมื่อรถโรงเรียนเดินทางใกล้จะถึงบ้านของนักเรียนแล้ว จะมีการแจ้งเตือนมายังสมาร์ตโฟนเพื่อให้เตรียมตัวขึ้นรถ เมื่อนักเรียนขึ้น แล้ว ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบได้ว่าตอนนี้บุตรหลานของตนอยู่ที่ใด นอกจากนี้ยังมีการใช้ ID Card หรือสายรัดข้อมือ ในการตรวจสอบผู้ที่เข้ามาพักในเขตโรงเรียน เพื่อป้องกันคนแปลกปลอมเข้ามาในเขตของโรงเรียน และยังใช้แทนเงินสดสำหรับซื้อของในโรงเรียนก็ได้ด้วย

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง องค์ประกอบ

รูปที่ 7 Global Positioning System กับรถโรงเรียน
ที่มา http://www.slideshare.net/isims/smart-bus-attendance-system-49819431

            จะเห็นได้ว่า Internet of Things มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ช่วยอำนวยความสะดวก และลดขั้นตอนบางอย่างในชีวิตประจำวันของเรา ในอนาคตเราอาจสามารถควบคุมการทำงานของสิ่งของทุก ๆ อย่างรอบตัวได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต เรียกได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกำมือเลยก็ว่าได้ แต่สิ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้เลย ก็คือความปลอดภัยในการใช้งานถ้ามิจฉาชีพสามารถเข้าถึงระบบควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ก็อาจสร้างความเสียหายต่อทุกคนเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจวิธีการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างปลอดภัย

            สำหรับเรื่องพื้นฐานที่ควรคำนึงถึงก็คือ การตั้งรหัสผ่านให้มีความปลอดภัยสูง คาดเดายาก สามารถตรวจสอบได้ว่ารหัสผ่านที่เราใช้อยู่นั้นสามรถคาดดาได้ง่ายหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ https://howsecureismypassword.net/ ถ้าพบว่ารหัสผ่านที่ใช้อยู่เป็นรหัสที่สามารถคาดเดาได้ก็คงถึงเวลาเปลี่ยน ซึ่งควรจะตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวพอสมควรและเป็นรหัสที่สามารถจำได้ง่าย สามารถศึกษารายละเอียดการตั้งรหัสผ่านอย่างปลอดภัยได้ที่บทความเรื่อง การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย นอกจากนี้ ควรจะตั้งค่าความปลอดภัยของระบบตัวย เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึง การกำหนดจำนวนครั้งในการใส่รหัสผิด เพียงเท่านี้เราก็สามารถนำ Internet of Things มาช่วยอำนวยความสะดวกและใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยแล้ว

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

Bloom, Jonathan. (2015). Q & A: Scanning Away Food Waste?. Retrieved January 27, 2016. from http://www.wastedfood.com/2015/09/15/qa-scanning-away-food-waste/.

Brown, Rich. (2016). Touchscreen refrigerators and talking everything at CES 2016. Retrieved January 26. 2016.from http://www.cnet.com/news/touchscreen-refrigerators-and-talking-everything-at-ces-2016/

How - to Greek. (2015). What is a "Smart Washer" and Do I Need One?. Retrieved January 25, 2016. from http://www.hwtogeek.com/236286/what-is-a-smart-washer-and-do-i-Need-one/.

IOT Analytics. (2015). The 10 most popular Internet of Things applications right now. Retrieved January 26, 2016, from http://iot-analytics.com/10-internet-of-things-applications/.

Prichard, Thor. Envisioning the Future of Mobile Learning. Retrieved January 27, 2016. from https://www.clarity-innovations.com/blog/tprichard/envisioning-future-mobile-leamning

Rouse, Margaret. Internet of Things (loT) definition. Retrieved January 25, 2016, from http://internetofthingsagenda.techtarget.com/definition/Intemnet-of-Things-loT.

Samsung. (2014). Gear 2. Retrieved January 26. 2016. from http://ww.samsung.com/th/consumer/mobile-devices/wearables/gear/SM-R3800VSATHO.

Smart Tech Production. Student ID. Retrieved January 27, 2016, from http://smarttech.com.hk/d/student-id.

Zebra Technologies. How the Internet of Things Is Transforming Education. Retrieved January 26, 2016, from http://www.zatar.com/sit es/edfault/fles/content/resources/Zebra_Education-Profile.pdf.

พนมยงศ์ แก้วประชุม. (2557). การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย. สืบคั้นเมื่อ 27 มกราคม 2559. จาก http://oho.ipst.ac.thV'secure-password/.

ศูนย์คอมพิวเดอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนใลยีสุรนารี. The Internet of Things. สืบต้นเมื่อ 26 มกราคม 2559. จาก http://its.sut.ac.th/index.php?option=com.content&view=article&id=728ltemid=468.

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

มีสามองค์ประกอบหลักที่โดยทั่วไปจะอ้างอิงถึงในสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง สิ่งต่างๆ (Things) - อุปกรณ์ที่มีวิธีการในการเชื่อมต่อ (แบบใช้สายหรือแบบไร้สาย) เพื่อเข้าสู่เครือข่ายที่กว้างขวางกว่า เครือข่าย (Networks) - คล้ายกับเราเตอร์ที่บ้านของคุณ ในเครือข่ายหรือเกตเวย์จะเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ไปยังระบบคลาวด์ (Cloud)

อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง(ไอโอที) คืออะไร

คำว่า IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) หมายถึงเครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์ ตลอดจนระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันเอง จากการเกิดขึ้นของชิปคอมพิวเตอร์ราคาไม่แพงและการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีแบนด์วิดท์สูง จึงทำให้ตอนนี้เรามีอุปกรณ์หลายพัน ...

อินเตอร์เน็ตมีต้นกําเนิดมาจากไหน

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ...

ไอโอทีมีทั้งหมดกี่องค์ประกอบ

4 องค์ประกอบสำคัญ ที่นำมาใช้พัฒนาระบบ IoT เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจของคุณ 1.อุปกรณ์ หรือ Thing บางครั้งเรียกว่า Connected Device คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 2.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ต้องพิจารณาความเหมาะสมในแง่ของอัตราการรับ-ส่งข้อมูล ระยะทางการส่งสัญญาณ