เฉลย ประวัติศาสตร์ ม.1 เทอม 2

บุคคลใดได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติในสาขาปราชญ์และกวีประจำปี 2551
  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
  4. หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร
  • ที่ตั้งของแคว้นตามพรลิงค์ตรงกับบริเวณใดในปัจจุบัน         
    1. ไทรบุรี                                                  
    2. ปัตตานี       
    3. สุราษฎร์ธานี                                       
    4. นครศรีธรรมราช
  • การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเกิดจากการรวมกันของเมืองใด         
    1. ละโว้-พิษณุโลก                                  
    2. สุพรรณภูมิ-ละโว้         
    3. พิษณุโลก-สุโขทัย                              
    4. สุโขทัย-สุพรรณภูมิ
  • พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงริเริ่มธรรมเนียมการดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางและข้าราชการ
    1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับมูลนายในสังคมไทยโบราณอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด         
    1. ระบบกฎหมาย                                   
    2. ความจงรักภักดี         
    3. ค่านิยมและประเพณี                        
    4. วัฒนธรรมและกฎหมาย
  • ข้อใดแสดงถึงอารยธรรมของเมโสโปเตเมีย         
    1. อักษรลิ่ม                                              
    2. ซิกกูแรต         
    3. กฎหมายสิบสองโต๊ะ                        
    4. ระบบการชลประทาน
  • หลักฐานประเภทใดสนับสนุนแนวคิดที่ว่ากลุ่มชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน
    1. หลักฐานทางด้านโบราณคดี            
    2. หลักฐานทางด้านภาษาศาสตร์
    3. หลักฐานทางด้านมานุษยวิทยา      
    4. หลักฐานทางด้านพันธุศาสตร์
  • ลีโอนาร์โดดาวินชีเป็นผู้สร้างผลงานใด
    1. ภาพวาดโมนาลิซา
    2. ภาพบนเพดานวิหารซิสทีน
    3. ประติมากรรมหินอ่อนเดวิด
    4. ภาพวาดพระกระยาหารมื้อสุดท้าย
  • เติ้งเสี่ยวผิงใช้นโยบายด้านใดในการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัย
    1. ด้านเกษตรกรรม
    2. ด้านอุตสาหกรรม
    3. ด้านการป้องกันประเทศ
    4. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ในอดีตฟิลิปปินส์เคยอยู่ใต้การปกครองของประเทศใด         
    1. สเปน                                                   
    2. ฮอลันดา         
    3. โปรตุเกส                                              
    4. สหรัฐอเมริกา
  • การปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เชิดชูหลักการใด         
    1. เสรีภาพ                                                               
    2. สันติภาพ         
    3. เสมอภาค                                             
    4. ภราดรภาพ
  • ผู้ใดอยู่ในระบบศักดินาของสังคมไทย         
    1. กษัตริย์                                                  
    2. พระสงฆ์         
    3. วนิพก                                                   
    4. ทาส
  • เรื่องใดเป็นผลสืบเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
    1. เกิดการค้าแบบเสรี
    2. เกิดการขยายตัวของสินค้าหัตถกรรม
    3. เกิดการผลิตข้าวเพื่อการค้าและส่งออก
    4. เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมทอผ้า
  • ข้อใดปรากฏอยู่ในการปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว         
    1. รัฐสภา                                                  
    2. เสนาบดีสภา
    3. รัฐธรรมนูญ                                         
    4. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
  • พระที่นั่งใดสร้างโดยได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมตะวันตก         
    1. จักรพรรดิพิมาน             
    2. จักรีมหาปราสาท         
    3. ดุสิตมหาปราสาท
    4. อนันตสมาคม
  • Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. ถ้าปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ปีพุทธศักราช 2555 จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด
      1. ร.ศ. 224                                                                
      2. ร.ศ. 225
      3. ร.ศ. 227                                                                
      4. ร.ศ. 231
    2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดที่บ่งบอกพัฒนาการอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัย
      1. ตำนาน                                                   
      2. ศิลาจารึก
      3. พงศาวดาร                                            
      4. โบราณสถาน
    3. ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์
      1. การรู้จักใช้ไฟ                                      
      2. รู้จักตั้งถิ่นฐาน
      3. รู้จักการเพาะปลูก                                                
      4. รู้จักบันทึกข้อความ
    4. ผลการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในอดีตอาจเปลี่ยนแปลงไปได้จากปัจจัยใด
      1. การตั้งประเด็นคำถามของผู้ศึกษา และการค้นพบหลักฐานใหม่
      2. การสังเคราะห์ผลการศึกษาเดิม และการนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบใหม่
      3. การบูรณะแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการตีความในมุมมองใหม่ของผู้ศึกษา
      4. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นมรดกโลก และการศึกษาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    5. พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด
      1. ฉบับบริติชมิวเซียม                            
      2. ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
      3. ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์                    
      4. ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
    6. การใช้หลักฐานที่บันทึกโดยชาวต่างชาติในการศึกษาประวัติศาสตร์มีข้อจำกัดในเรื่องใด
      1. การมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันของชนชาติต่างๆ
      2. ความรู้ความเข้าใจลักษณะทางสังคมของผู้บันทึก
      3. การบันทึกในลักษณะตำนานหรือนิทานของชาติตะวันตก
      4. ความคิดเห็นที่น่าสนใจจากผู้บันทึกที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน
    7. ข้อมูลใดเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน
      1. ภาษา                                                      
      2. กายวิภาค
      3. กลุ่มเลือด                                              
      4. หลักฐานจีน
    8. แนวคิดที่ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณหมู่เกาะแถบเส้นศูนย์สูตรของภูมิภาคขัดกับหลักการทางมานุษยวิทยาในข้อใด
      1. การตั้งถิ่นฐานและการอพยพ
      2. การรวมกลุ่มและการแบ่งชนชั้น
      3. ความเป็นมาทางภาษาพูดและการประดิษฐ์ตัวอักษร
      4. ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและการจัดการทรัพยากร
    9. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
      1. การมีแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของคณะราษฎร
      2. ความร่วมมือของราษฎรส่วนใหญ่ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง
      3. การเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของพลเมือง
      4. ความพร้อมของประชาชนที่มีในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    10. พระราชนิพนธ์ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใดเป็นหลัก
      1. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู                      
      2. พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน
      3. พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์        
      4. พระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงศ์
    11. กฎหมายตราสามดวงเกิดจากการตรวจชำระและรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่ในรัชกาลใด
      1. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      2. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
      3. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
      4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    12. การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ยกเว้น ข้อใด
      1. รูปแบบของรัฐ  
      2. ผู้บริหารประเทศ
      3. ระบอบการปกครอง   
      4. เจ้าของอำนาจอธิปไตย
    13. กิจกรรมในข้อใดเป็นการผสานภูมิปัญญาไทยกับสถานการณ์ปัจจุบัน
      1. การประกวดนักออกแบบผ้าไทยร่วมสมัย
      2. การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาด้านการดำรงชีวิตของท้องถิ่น
      3. การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรค
      4. การศึกษาค้นคว้าด้านนาฏศิลป์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    14. ความนิยมงานศิลปะปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑประดับหน้าบันโบสถ์วิหารในสมัยอยุธยาสะท้อนคติความเชื่อในเรื่องใด
      1. ความเชื่อเรื่องภพ-ภูมิต่างๆ
      2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ
      3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลเหนือพระพุทธศาสนา
      4. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เหนือเมืองประเทศราชทั้งปวง
    15. “…ถ้าเราขาดสุโขทัยอยุธยา และกรุงเทพฯ แล้วประเทศไทยก็คงไม่มีความหมาย…” พระราชดำรัสดังกล่าวส่งเสริมแนวคิดในเรื่องใด
      1. ความเป็นมาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ไทย
      2. การมีจิตสำนึกรักชาติจากการศึกษาประวัติศาสตร์
      3. ความสำคัญของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับความเป็นชาติ
      4. การมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของรัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    16. ศักราชแบบใดที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากที่สุด
      1. จุลศักราช                                              
      2. พุทธศักราช
      3. คริสต์ศักราช                                        
      4. ฮิจเราะห์ศักราช
    17. สมัยประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกเริ่มที่แหล่งอารยธรรมใด
      1. อารยธรรมกรีก                                    
      2. อารยธรรมโรมัน
      3. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ                   
      4. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส
    18. เริ่มสมัยอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 ตรงกับการเกิดเหตุการณ์ใดในยุโรป
      1. การสำรวจทางทะเล                           
      2. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
      3. โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา            
      4. การสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก
    19. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากวิธีการทางประวัติศาสตร์
      1. ได้องค์ความรู้ใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่าเดิม
      2. ได้องค์ความรู้ใหม่ที่โดดเด่นไม่เหมือนคนอื่น
      3. ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
      4. ประเมินคุณค่าของข้อมูลเดิมว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่
    20. เพราะเหตุใดนักประวัติศาสตร์มักตีความข้อมูลจากหลักฐานชิ้นเดียวกันแตกต่างกัน
      1. มีความเชื่อต่างกัน                              
      2. มีความสนใจต่างกัน
      3. มีจุดประสงค์ที่ต่างกัน                       
      4. มีความรู้ความสามารถต่างกัน
    21. ข้อจำกัดสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สากลคืออะไร
      1. มีหลักฐานจำนวนมาก                        
      2. หลักฐานอยู่ที่ต่างประเทศ
      3. ขาดเพื่อนร่วมศึกษาด้วยกัน              
      4. ศึกษายากเพราะมีความรู้น้อย
    22. เพราะเหตุใดจึงถือว่าประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีเป็นมรดกทางอารยธรรมชิ้นสำคัญของโลก
      1. เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก
      2. มีบทลงโทษที่รุนแรงซึ่งช่วยลดจำนวนผู้เป็นภัยต่อสังคม
      3. เป็นเครื่องแสดงว่าอำนาจรัฐเข้มแข็งพอที่จะบังคับพลเมืองได้แล้ว
      4. เป็นแบบอย่างของความพยายามที่จะให้เกิดความยุติธรรมในการปกครอง
    23. สาเหตุสำคัญที่ทำให้อารยธรรมอียิปต์พัฒนาอย่างมีเอกภาพคือข้อใด
      1. มีการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
      2. ยึดถืออารยธรรมเดิมตามบรรพบุรุษ
      3. ไม่มีชนชาติอื่นมาปะปนในอาณาจักร
      4. มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ป้องกันการรุกรานจากภายนอก
    24. สิ่งก่อสร้างของอารยธรรมโรมันให้ความสำคัญต่อเรื่องใด
      1. ความสวยงาม                                      
      2. ประโยชน์ใช้สอย
      3. ความเชื่อทางศาสนา   
      4. ใช้วัสดุที่ประหยัดค่าใช้จ่าย
    25. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเรื่องใดส่งผลให้เกิดโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน
      1. การสื่อสาร                                           
      2. การผลิตสินค้า
      3. การคมนาคม                                        
      4. การบริโภคสินค้า
    26. แม้ว่าความขัดแย้งจะก่อให้เกิดการสูญเสียมากมายแต่มีประโยชน์ในเรื่องใด
      1. ช่วยลดประชากรโลก
      2. กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิทยาการ
      3. ทำลายอารยธรรมเก่าๆ ที่ล้าสมัย
      4. เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
    27. เหตุการณ์ 11 กันยายน เป็นตัวอย่างหนึ่งของการก่อการร้ายที่มีจุดประสงค์ใด
      1. เรียกค่าคุ้มครองจากสหรัฐอเมริกา
      2. ต่อต้านการใช้อำนาจของสหรัฐอเมริกา
      3. ต้องการทำสงครามศาสนากับสหรัฐอเมริกา
      4. ตอบโต้ที่สหรัฐอเมริกาปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย
    28. ข้อใดคือปัญหาความร่วมมือในอาเซียน
      1. แข่งขันกันพัฒนา                                                
      2. นับถือศาสนาต่างกัน
      3. เป็นศัตรูกันมาก่อน                            
      4. มีระบอบการปกครองต่างกัน
    29. ข้อใดคือวิธีแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่มีประสิทธิภาพที่สุด
      1. ร่วมกันปลูกต้นไม้สร้างความร่มรื่น
      2. ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างประหยัดและคุ้มค่า
      3. ติดตั้งกระจกเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป
      4. เปิดเครื่องทำความเย็นเพื่อคลายความร้อนให้โลก
    30. ข้อใด ไม่ใช่ แนวโน้มของสถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21
      1. เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน             
      2. การก่อการร้ายจะมีมากขึ้น
      3. ค่าครองชีพของมนุษย์จะสูงขึ้น         
      4. เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้น

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของการปกครองในสมัยสุโขทัย
      1. การสร้างระบบศักดินาเพื่อกำหนดฐานะของบุคคลในสังคม
      2. การถือเอาราชธานีเป็นศูนย์กลางการปกครอง
      3. การใช้คำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์ว่าพ่อขุน
      4. การแบ่งระดับความสำคัญของหัวเมือง
    2. ข้อใดมีความสำคัญน้อยที่สุดที่ทำให้อยุธยาพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ
      1. อยู่ในเส้นทางการค้า
      2. เป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศ
      3. ผู้ปกครองมีนโยบายที่เปิดกว้าง
      4. ไม่มีการกีดกันทางศาสนา
    3. คำขวัญ เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย มีจุดมุ่งหมายใด
      1. เพื่อกระตุ้นให้คนไทยร่วมมือต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น
      2. เพื่อกระตุ้นให้คนไทยร่วมมือต่อต้านคอมมิวนิสต์
      3. เพื่อให้คนไทยเทิดทูนสถาบันกษัตริย์
      4. เพื่อให้คนไทยทำตามนโยบายของจอมพล ป.พิบูลคราม
    4. หลักการสำคัญของการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      1. รวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และแยกหน้าที่
      2. กระจายอำนาจ และถ่วงดุลอำนาจ
      3. กระจายอำนาจ และนโยบายแยกหน้าที่
      4. รวมอำนาจสู่ส่วนกลาง และรวมหน้าที่
    5. ลุกทาสรุ่นแรกที่กลายเป็นไท คือรุ่นใด  
      1. รุ่นที่เกิดในปีที่รัชกาลที่ ๕ พระราชสมภพ
      2. รุ่นที่เกิดในปีที่รัชกาลที่ ๕ ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ
      3. รุ่นที่เกิดในปีที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท
      4. รุ่นที่เกิดในปีที่มีการประกวดใช้พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔
    6. การเติบโตทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผลจากปัจจัยหลากหลายยกเว้นข้อใด
      1. การสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
      2. การขุดคูคลองในบริเวณทุ่งรังสิต
      3. การสร้างระบบชลประทานในลุ่มน้ำบางปะกง
      4. การยกเลิกขนบระบบไพร่และระบบไพร่
    7. จอมพล ป.พิบูลสงครามใช้วิธีการใดแก้ปัญหาการครอบงำทางเศรษฐกิจของชาวต่างชาติ
      1. เร่งส่งเสริมระบบการค้าเสรีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
      2. ออกกฎหมายห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดิน
      3. จัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินการผลิตและการค้า
      4. ออกกฎหมายโอนอุตสาหกรรมการผลิตของชาวต่างชาติเป็นของรัฐ
    8. ผลโดยตรงที่เกิดขึ้นทันที่เมื่อมีการยกเลิกระบบไพร่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. เกิดแรงงานเสรี
      2. เกิดการลดทอนอำนาจขุนนาง
      3. ได้เพิ่มผลผลิตเพื่อการค้า
      4. เกิดระบบทหารอาชีพ
    9. ปัจจัยสำคัญที่สุดทีส่งเสริมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ คือข้อใด
      1. ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์
      2. ตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน
      3. ตั้งอยู่ไม่ไกลจากปาวอ่าว เรือสินค้าเข้าถึงสะดวก
      4. เป็นที่รวมสินค้าของป่าจากหัวเมืองที่อยู่ภายใน
    10. การกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อใด
      1. เมื่อมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
      2. เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒
      3. เมื่อมีการเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์
      4. เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
    11. ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดจากการรวมดินแดนสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
      1. ราชวงศ์พระร่วงยุติบทบาทในการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
      2. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดระเบียบการปกครองอาณาเขตเสียใหม่
      3. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระอัยการตำแหน่งนาทหาร พลเรือน
      4. การเกิดสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
    12. ข้อใดไม่ใช่มูลเหตุของการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยอยุธยาตอนกลาง
      1. กษัตริย์พม่าต้องการเป็นจักรพรรดิราช
      2. พม่าต้องการยึดครองดินแดนมอญทั้งหมด
      3. พม่าต้องการกำลังคนไปเพิ่มในอาณาจักรของตน
      4. พม่าต้องการควบคุมเส้นทางการค้าในบริเวณนี้
    13. พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาทรงมีนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมคนต่างชาติอย่างไร
      1. ให้อยู่ได้อย่างอิสระ ภายใต้การควบคุมของขุนนางไทย
      2. ให้รวมกันอยู่ตามเชื้อชาติ ภายใต้การควบคุมของขุนนางไทย
      3. ให้รวมกันอยู่ตามเชื้อชาติ ภายใต้การควบคุมของหัวหน้าชาวต่างชาติ
      4. ให้อยู่ใต้อย่างอิสระ ภายใต้การควบคุมของหัวหน้าชาวต่างชาติ
    14. ข้อใดไม่ใช่ผลของสนธิสัญญาเบาริง
      1. ความรุ่งเรืองของการค้าสำเภา
      2. ความเป็นอยู่ของราษฏรทีดีขึ้น
      3. การบุกเบิกที่ดินเพื่อขยายการทำนา
      4. การแพร่หลายของเศรษฐกิจแบบเงินตรา
    15. ในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทแก่ตัวเอง รัชกาลที่ ๕ ทรงมีนโยบายที่จะช่วยเหลือให้ทาสสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างไร
      1. จัดสรรที่ดินทำกินให้ตามความจำเป็น
      2. ให้ทำงานกับนายโดยได้รับเงินเดือน
      3. จัดการศึกษาเพื่อเป็นช่องทางหาเลี้ยงชีพได้ต่อไป
      4. รัฐให้เงินช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    16. การแก้ปัญหาเศรษฐไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
      1. จัดสรรที่ทำกินให้ตามความจำเป็น
      2. ให้ทำงานกับนายโดยได้รับเงินเดือน
      3. จัดการศึกษาเพื่อเป็นข่องทางหาเลี้ยงชีพได้ต่อไป
      4. รัฐให้เงินช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    17. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
      1. ตัดงบประมาณรายจ่าย ลดจำนวนข้าราชการ
      2. ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
      3. กู้เงินจากต่างประเทศเพื่อมาสร้างงานให้กับคนไทย
      4. กีดกันการค้าขายของคนต่างด้าวทำธุรกิจการค้าในประเทศไทย
    18. พระมหากษัตริย์หรือบุคคลใดเป็นผู้กำหนดให้ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักของประเทศ
      1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว
      2. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
      3. จอมพล ป.พิบูลสงคราม
      4. คณะราษฏร
    19. การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินก่อให้เกิดผลข้อใด
      1. มีความเสมอภาคในสังคมไทย
      2. มีการกระจายอำนาจการปกครอง
      3. เอกภาพในการควบคุมบังคับบัญชา
      4. ลดภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยม
    20. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการดำเนินการในข้อใดที่ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย
      1. การจัดตั้งกระทรวง
      2. การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
      3. การจัดตั้งดุสิตธานี
      4. การเลิกทาส
    21. วัง ในการปกครองแบบจตุสดมภ์ ทำหน้าที่คล้ายกระทรวงใดในปัจจุบัน
      1. กระทรวงพาณิชย์
      2. กระทรวงมหาดไทย
      3. กระทรวงยุติธรรม
      4. กระทรวงกลาโหม
    22. การปกครองของไทยสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ผู้รั้ง เป็นผู้ช่วยดูแลในการปกครอง ผู้รั้งอาจเปรียบเทียบได้กับตำแหน่งใดในปัจจุบัน
      1. ผู้ว่าราชการจังหวัด
      2. ปลัดจังหวัด
      3. รัฐมนตรี
      4. อธิบดี

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ หลังการทำสนธิสัญญาเบาริง
      1. การขุดคลองขยายพื้นที่การเพาะปลูก
      2. การมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินของสามัญชน
      3. การเคลื่อนย้ายแรงงานจากหัวเมืองเข้าสุ่เมืองหลวง
      4. การตั้งโรงสีข้าวและโรงเลื่อยจักรริมแม่น้ำเจ้าพระยา
    2. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การค้าข้าวของไทยเติบโตอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ ๔
      1. ชาวนาได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินทั่วประเทศ
      2. ไทยเปิดประเทศให้มีการค้าขายโดยเสรี
      3. มีการขยายพื้นที่การทำนาอย่างมาก
      4. ไทยต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญากับต่างประเทศ
    3. สิทธิสภาพนอกอาณาเขตมีความหมายตรงกับข้อใด
      1. ชาวต่างชาติได้รับการยกเวินไม่ต้องเสียภาษี
      2. ชาวต่างชาติได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
      3. ชาวต่างชาติได้รับพิจารณาคดีในศาลกงสุลตามกฏหมายของตน
      4. สิทธิอำนาจของเมืองแม่เหนือดินแดนขึ้น
    4. การปฏิรปทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเสริมความมั่นคงให้แก่สถาบันกษัตริย์ในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ คือข้อใด
      1. การเริ่มจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
      2. การยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร
      3. การจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการ
      4. การจัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์
    5. ความล้มเหลวด้านการคลังของไทยสมัยรัชกาลที่ ๖ และ ๗ ประกอบด้วยสาเหตุต่างๆ ยกเว้นข้อใด
      1. รัฐบาลมุ่งลงทุนเฉพาะด้านความมั่นคงของประเทศ
      2. รัฐบาลไม่สามารถหาแหล่งรายได้ใหม่มาเพิ่มเติม
      3. รัฐบาลใช้จ่ายเงินสูงกว่ารายรับ
      4. รัฐบาลไม่ได้จัดระบบการเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ
    6. ปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๗ เกิดจากสาเหตุสำคัญที่สุดในข้อใด
      1. ข้าราชการมีจำนวนมากเกินไป
      2. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
      3. รัฐบาลใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
      4. งบประมาณด้านการป้องกันประเทศสูงเกินไป
    7. เมืองที่รายล้อมราชะานีถูกลดฐานะจากเมืองลูกหลวงลงเป้นหัวเมืองชั้นในในสมัยใด
      1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
      2. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
      4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    8. การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดจากสาเหตุใด
      1. ความเสื่อมของระบบมูลนายไพร่
      2. เหตุการณ์วุ่นวายภายในประเทศ
      3. โครงสร้างการปกครองเดิมล้าสมัย
      4. การคุกคามจากจักรวรรดินิยม
    9. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญของการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕
      1. ความวุ่นวายภายในประเทศ
      2. ความเสื่อมของระบบมูลนาย ไพร่
      3. ภัยคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก
      4. โครงสร้างการปกครองล้าหลัง
    10. อภิรัฐมนตรีสภา ตั้งขึ้นในสมัยใดและด้วยเหตุผลใด
      1. รัชกาลที่ ๕ ทรงต้องการสร้างกลุ่มคนหนุ่มเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มสยามเก่า
      2. รัชกาลที่ ๕ ทรงต้องการที่ปรึกษาในการบริหารบ้านเมือง
      3. รัชกาลที่ ๖ ทรงต้องการฝึกให้ขุนนางรุ่นใหม่รู้จักการปกครองระบอบประชาธิปไตย
      4. รัชกาลที่ ๗ ทรงต้องการผู้เชี่ยวชาญมาร่วมบริหารราชการ
    11. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ แล้ว สังคมไทยเป็นอย่างไร
      1. คนไทยทุกคนมีความเสมอภาคภายใต้กฏหมายเดียวกัน
      2. ตณะราษฏรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจมากตามรัฐธรรมนูญ
      3. สตรีไทยไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒
      4. พระภิกษุสงฆ์มีสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏร จนถึง พ.ศ.๒๕๐๐
    12. การเมืองการปกครองของไทย ในช่วงระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๐ ถึง ๒๕๑๔ มีลักษณะอย่างไร
      1. ฝ่ายการเมืองบริหารตามระบอบประชาธิปไตย
      2. ฝ่ายทหารมีบาทบาทในระบบอำนาจนิยม
      3. ข้าราชการพลเรือนควบคุมการบริหารราชการ
      4. กลุ่มนักธุรกิจการเมืองมีบทบาทในการบริหารประเทศ
    13. วิกฤตการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ก่อให้เกิดผลดีด้านการเมืองที่สำคัญหลายประการยกเว้นข้อใด
      1. กลุ่มอาชีพต่างๆ เคลื่อนไหวเรียกร้องประโยชน์และเสรีภาพ
      2. มีการเลือกตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญใหม่
      3. มีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๑๗
      4. ทหารและกอลทัพลดบทบาทการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในปัจจุบัน
    14. ศิลปะไทยแบบดั้งเดมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้านใดโดยตรง
      1. การค้า
      2. กฏหมาย
      3. การสืบทอดภูมิปัญญา
      4. การประกอบอาชีพ
    15. วัฒนธรรมอินเดียในข้อใดที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยน้อยที่สุด
      1. การเมืองและการปกครอง
      2. ศาสนาและพิธีกรรม
      3. ลัทธินับถือภูติผีและวิญญาณ
      4. ภาษาและวรรณคดี
    16. ลักษณะเด่นที่สุดของสังคมวัฒนธรรมไทยตรงกับข้อใด
      1. มีลักษณะเชื่อมโยงระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท
      2. เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างสังคมเกษตรกรรมกับสังคมอุตสาหกรรม
      3. รับเอาสังคมสังคมวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาในสังคมไทยในลักษณะถูกบังคับจากมหาอำนาจ
      4. การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทยเกิดขึ้นเฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้น
    17. การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
      1. รับวัฒนธรรมของโลกคะวันตกที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
      2. ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของโลกตะวันตกเท่าที่จำเป็น
      3. รับเอาสังคมวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาในสังคมไทยในลักษณะถูกบังคับจากมหาอำนาจ
      4. การเปลีย่นแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทยเกิดขึ้นเฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้น
    18. เหตุการณ์ใดที่ทำให้บางประเทศคืนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไทย
      1. รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินเยือนนานาประเทศในยุโรป
      2. การเจรจาของสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ
      3. ไทยยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส
      4. รัชกาลที่ ๖ ส่งทหารเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑
    19. ไทยถุกเรียกร้องให้ดำเนินการอย่างไรหลังสงครามโลกครั้ง ๒ สิ้นสุดลง
      1. บริจาคข้าวจำนวนหนึ่งแก่อังกฤษ
      2. เสียเงินค่าปฏิิกรรมสงครามให้ฝ่ายสัมพันธมิตร
      3. ยอมให้บริษัทต่างชาติเข้ามาควบคุมธุรกิจภายใน
      4. ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเก่าหลี
    20. การเปลี่ยนแปลงด้านใดตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่เข้าที่สุด
      1. ตัวสังคม
      2. ด้านเศรษฐกิจ
      3. ด้านวัฒนธรรม
      4. ด้านการปกครอง
    21. ทาสในข้อใดที่ไม่อาจไถ่ถอนตนเองให้เป้นอิสระได้
      1. นางสีถูกพ่อนำมาขายใช้หนี้พนันแก่นายอากรเส็ง
      2. นายหม่องถูกจับเป็นเชลยศึกสงครามสงครามเก้าทัพ
      3. นายยิ้มขายตนเองแก่ขุนนางตอนนาล่ม
      4. หลวงวิเศษมอบนางขำให้แก่ธิดาของตนเมื่ออกเรือน
    22. ข้อใดไม่ตรงกับพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวตามพระราชดำรัสที่ว่า “เราไม่ได้มาเรียนเป้นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะได้เป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง”
      1. ต้องการพัฒนาประเทศให้สามารถต่อต้านจักรวรรดิ
      2. ต้องการพัฒนาประเทศให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
      3. ต้องการพัฒนาประชาชนให้มีความรู้เท่าเทียมกับชาวตะวันตก
      4. ต้องการพัฒนาประชาชนให้สามารถนำความรู้มาพัฒนาประเทศ
    23. ข้อใดเป็นวิธีการเก็บภาษีในระบบเจ้าภาษีนายอากรในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. การจัดเก้บภาษีดยยการชักส่วนสินค้า
      2. การเก็บภาษีเป็นสิ่งของตอบแทน
      3. การให้เอกชนมีสิทธิในการเก็บภาษีแทนรัฐ
      4. การตั้งหน่วยงานกลางเพื่อเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ
    24. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕
      1. การลงทุนจำนวนมากในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม
      2. คุ้มครองอุตสาหกรรมของคนไทย
      3. กีดกั้นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
      4. ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับคนยากจน
    25. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
      1. ผู้รั้ง
      2. จตุสดมภ์
      3. ยกกระบัตร
      4. สมหเทศาภิบาล
    26. ในวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์ไทย ข้อใดคล้ายคลึงกับการให้สัมปทานมากทีสุด
      1. ะบบไพร่
      2. ระบบกรรมสิทธิ์ทีีดิน
      3. ระบบการค้าแบบบรรณาการ
      4. ระบบเจ้าภาษีนายอากร
    27. การเปลี่ยนแปลงในด้านใดที่เกิดขึ้นหลังสุด
      1. ทาสกลายเป้นเสรีชน
      2. ไพร่เปลียนแปลงเป็นสามัญชน
      3. เด็กทุกคนต้องเรียนหนังสือ
      4. ชายไทยต้องถูกเกณฑ์ทหาร
    28. ระบบศักดินาของไทยและโลกตะวันตกมีความคล้ายคลึงกันอย่างไร
      1. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปตามระบบอุปถัมถ์
      2. ขุนนางมีอำนาจลดหลั่นกันตามกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถือครอง
      3. ฐานะของทาสจะผูกติดกับที่ดินโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
      4. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตและจอมทัพผู้มีอำนาจสูงสุด
    29. จุดมุ่งหมายใดมีความสำคัญที่สุดต่การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. เพื่อสกัดกั้นภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยม
      2. เพื่อแก้ปัญหาการกบฏที่ทวีความรุนแรงขึ้นภายในภูมิภาคต่างๆ
      3. เพือวางรากฐานการมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชน
      4. เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอำนาจการปกครองของฝ่ายทหารและพลเรือน
    30. ข้อใดคือวัตถุประสงค์สำคัญของการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมบางประการในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามช่วงแรก
      1. การสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจ
      2. การสร้างระเบียบวินัยในสังคมไทย
      3. การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
      4. การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน
    31. ข้อใดเป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
      1. การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการป้องกันประเทศ
      2. การฟื้นฟูเศรษฐกิจการค้า และการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
      3. การทำสงครามตอบโต้ข้าศึก และการขยายอำนาจ
      4. การขยายอำนาจ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจการค้า
    32. การยกเลิกระบบไพร่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
      1. ระบบไพร่เป็นอุปสรรคต่อการยกเลิกทาส
      2. ระบบไพร่เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการปรับปรุงประเทศ
      3. มหาอำนาจตะวันตกบีบบังคับให้ไทยยกเลิกระบบไพร่
      4. พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่สามารถควบคุมไพร่ได้
    33. นโยบายเศรษฐกิจไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
      1. ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
      2. คุ้มครองอุตสาหกรรมของคนไทย
      3. กีดกั้นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
      4. ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับคนยากจน
    34. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะดั้งเดิมของสังคมไทย
      1. นับถือผีและธรรมชาติ
      2. ยึดมั่นในระบบครอบครัว
      3. เคารพและยกย่องคนรวย
      4. ช่วยเหลือกันดานแรงงาน
    35. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      1. การรวมอำนาจเข้าที่ศูนยืกลาง
      2. การผนึกกำลังเพื่อปราบปราบอาณาจักรสุโขทัย
      3. การแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายทหารและพลเรือน
      4. การถ่วงดุลอำนจกับกลุ่มเจ้านายและกลุ่มขุนนาง
    36. สินค้าสำคัญในการค้าระหว่างไทยกับชาติตะวันตกในสมัยอยุธยาคืออะไร
      1. ของป่าไทยและสินค้าญี่ป่น
      2. ของป่าไทยและสินค้าจีน
      3. ข้าวไทยและสินค้าจีน
      4. ข้าวไทยและสินค้าญี่ปุ่น
    37. สมุดปกเหลือง ที่พิมพ์ขึ้นภายหลังการเปลี่ยง พ.ศ.๒๔๗๕ ไม่เกี่ยวกับเรื่องใด
      1. อุดมการณ์ของคณะราษฏร
      2. แถลงการณ์โจมตีคณะราษฏร
      3. นโยบายทางการเมืองของรัฐบาล
      4. เค้าโครงการเศรษฐกิจ
    38. เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมรบเป็นฝ่ายญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒
      1. การรณรงค์เพื่อรัฐนิยม ของจอมพล ป.พิบุลสงคราม
      2. การเรียกร้องดินแดนเขมรส่วนในคืนจากฝรั่งเศส
      3. การก่อตั้งขบวนการเสรีไทย
      4. การสร้างทางรถไฟสายมรณะ
    39. กระทรวงมุรธาธิการในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีหน้าที่รับผิดขอบเรื่องใด
      1. ราชทัณฑ์
      2. การชำระคดี
      3. ระเบียบสรรบรรณ
      4. ไปรษณียโทรเลข
    40. เพราะเหตุใดประชากรของประเทศไทยจึงเพิ่มขึ้นมากในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
      1. อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นมาก อัตราการตายค่อนข้างคงที่
      2. อัตราการเกิดค่อนข้างคงที่ อัตราการตายลดลงมาก
      3. อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นมาก อัตราการตายลดลงมาก
      4. อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น อัตราการตายลดลง และอัตราการอพยพเข้าเพิ่มขึ้น
    41. นโยบายที่คณะราษฏรประกาศใช้ในการปกครองประเทศเพื่อแสดงความเป็นประชาธิปไตยเรียกว่าอะไร
      1. สมุดปกขาว
      2. สมุดปกเหลือง
      3. หลัก ๖ ประการ
      4. ธรรมนูญการปกครอง
    42. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการปกครองสมัยอยุธยา
      1. ศักดินา
      2. สมมติเทพ
      3. อเนกนิกรสโมสรสมมติ
      4. สมบูรณาญาสิทธิราช
    43. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เลขที่ ๖๖/๒๕๒๓ ประกาศขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาใด
      1. ความแห้งแล้งในภาคอีสาน
      2. ความขัดแย้งในพื้นที่ ๔ จังหวัดภาคใต้
      3. ความขัดแย้งในกองทัพ
      4. ความขัดแย้งทางการเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
    44. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งเสริมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่เจริญมั่งคั่งเป้นระยะเวลายาวนาน
      1. กษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ
      2. อยุธยาเป็นเมืองท่านานาชาติและศูนย์กลางการค้า
      3. นโยบายขันติธรรมและเอื้อเฟื้อต่อชนต่างชาติ
      4. อยุธยามีชัยภูมิที่เหมาะสมด้านยุทธศาสตร์
    45. ข้อใดไม่ได้รวมอยู่ในนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจในสม้ยรัชกาลที่ ๕
      1. การตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์
      2. การทำงบประมาณแผ่นดิน
      3. การใช้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินทุนสำรอง
      4. การจ้างผู้เชี่ยวชาญอังกฤษมาช่วยราชการ
    46. สนธิสัญญาเบาริงมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในระยะแรกอย่างไร
      1. ข้าวมีราคาแพงเพราะขาดแคลน
      2. อุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เคยมีมาแต่เดิมเริ่มถูกทำลาย
      3. ทุนสำหรับการผลิตตกอยู่ในมือของขุนนางโดยสิ้นเชิง
      4. มีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวสำหรับการส่งออกอย่างกว้างขวางทั่วราชอาณาจักร
    47. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงนำวรรณกรรมเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟายมาดัดแปลงเป็นเรื่องอะไร
      1. ความพยาบาท
      2. สาวเครือฟ้า
      3. มัทนะพาธา
      4. เวนิสวานิส
    48. ประเทศไทยเริ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างจริงจังเมื่อใด
      1. เมื่อมีการปฏิรูปประเทศแบบตะวันตก
      2. เมื่อมีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
      3. เมื่อรัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก
      4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
    49. วรรณกรรมเรื่องใดที่มีอิทธิพลต่อคติการดำเนินชีวิตของขาวไทยเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องบุญ
      1. เมื่อมีการปฏิรูปประเทศแบบตะวันตก
      2. เมื่อมีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
      3. เมื่อรัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก
      4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
    50. ศักดินาในอดีตหมายถึงข้อใด
      1. สิทธิในการครอบครองที่ดิน
      2. การได้รับบรรดาศักดิ์ของขุนนาง
      3. การควบคุมกำลังคนของมูลนาย
      4. การกำหนดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามสถานภาพในสังคม 

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. กฏหมายตราสามดวง สะท้อนให้เห็นถึงแนวพระรราชดำริของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอย่างไร
      1. สร้างระเบียบให้บ้านเมืองและสังคม
      2. สร้างความยุติธรรมทางการศาลให้แก่ประชาชน
      3. สร้างหลักการปกครองโดยกฏหมายที่ชอบธรรม
      4. สร้างความเสมอภาคให้แก่ประชาชนในด้านลัทธิ
    2. ข้อความใดที่ไม่ปรากฏในคำกราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ.103
      1. ให้มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ
      2. ให้มีการกำหนดผู้ที่จะสืบราชสมบัติให้ชัดเจน
      3. เสนาบดีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ได้
      4. ให้มีการปกครองแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
    3. การปฏิรูปประเทศในทศวรรษแรกของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเหตุผลสำคัญอย่างไร
      1. การรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง
      2. การควบคุมหัวเมืองอย่างใกล้ชิด
      3. การทำให้สถาบันกษัตริย์มีความเข้มแข็ง
      4. การให้ราษฏรมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
    4. ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปครงสร้างการปกครองอย่างขนานใหญ่ตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมาคืออะไร
      1. การเตรียมรับมือกับการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส
      2. การถูกมหาอำนาจตะวันตกบีบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
      3. การดึงอำนาจจากลุ่มขุนนางเก่ามาขึ้นกับสถาบันพระมหากษํตริย์
      4. ความสับสน ซ้ำซ้อน และไร้ประสิทธิภาพของระบอบการปกครองแบบจตุสดมภ์
    5. การปฏิรูปโครงสร้างการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 5 มีความสัมพันธ์กับข้อใดน้อยที่สุด
      1. การสร้างทหารอาชีพ
      2. การสร้างระบบโรงเรียน
      3. การเลิกระบบไพร่และทาส
      4. การวางพื้นฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตย
    6. ผลของการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2435 ที่สำคัญที่สุดได้แก่ข้อใด
      1. การยกเลิกหัวเมืองชั้นในและเมืองเอก โท ตรี
      2. การยกเลิกการบริหารระบบกรม และเกิดกระทรวงขึ้นมาแทน
      3. ทำให้เกิดการรวมอำนาจการปกครองที่ศูนย์กลางอย่างแท้จริง
      4. มีการจัดตั้ง โรงเรียน ขึ้นมาสร้างคนเพื่อสนองความต้องการของราชการ
    7. ผลการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างไร
      1. ชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครอง
      2. มีการกระจายการปกครองไปสู่ส่วนภูมิภาค
      3. อำนาจการปกครองมีศูนย์รวมอยู่ที่สถาบันกษัตริย์
      4. เกิดการขัดแย้งทางการเมืองในหมู่พระราชวงศ์และขุนนาง
    8. แนวคิดเกี่ยวกับการมีรัฐธรรมนูญในสังคมไทยมีมาตั้งแต่สมัยใด
      1. รัชกาลที่ 3
      2. รัชกาลที่ 4
      3. รัชกาลที่ 5
      4. รัชกาลที่ 6
    9. ข้อใดคือผลของการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. อำนาจทางการเมืองขึ้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์ฺ
      2. ข้าหลวงเทศาภิบาลมีอำนาจในการกินเมือง
      3. มณฑลเทศาภิบาลมีอิสระในการปกครองตนเอง
      4. พระมหากษัตริย์ถ่ายโอนอำนาจการปกครองในกับเสนาบดีสภา
    10. ข้อใดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการเมืองไทย
      1. การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5
      2. ความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ร.ศ.130
      3. การกราบบังคมทูลขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2427
      4. การสร้างดุสิตธานี เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย
    11. อะไรคือปรากฏการณ์แรกสุดที่บ่งชี้ถึงการให้ความสำคัญต่อสิทธิเสรีภาพของราษฏรอันเป็นกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย
      1. การยกเลิกระบบไพร่และทาส
      2. การให้ความเสมอภาคทางการศึกษา
      3. การให้เสรีภาพแก่ราษฏรในการนับถือศาสนา
      4. การห้ามมิให้สามีขายภรรยาและบุตรเป็นทาส
    12. ความคิดทางประชาธิปไตยของไทยเริ่มปรากฏอย่างชัดเจนในข้อใด
      1. ข้อเสนอในบทความของเทียนวรรณ
      2. ข้อคิดเห็ฯของอัศวพาหุ และรามจิตติ
      3. คำกราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ.103
      4. ข้อเสนอของที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ชื่อ นายเรมอนต์ บี สตีเวนส์
    13. ข้อใดเป็นผลงานของเทียนวรรณ
      1. การเข้าร่วมในการกบฏ ร.ศ.130
      2. การเสนอแผนพัฒนาการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5
      3. การเข้าร่วมในการเสนอเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญในสมัยรัชกาลที่ 6
      4. การเสนอความเห็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัชกาลที่ 5
    14. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการดำเนินงานหลยอย่างที่เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ยกเว้นเรื่องใด
      1. การตั้งดุสิตธานี
      2. กบฏ ร.ศ.130
      3. การให้เสรีภาาพแก่หนังสือพิมพ์
      4. การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งถวายบันทึกขอให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง
    15. การเคลือนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ในข้อใดมีรูปแบบคล้ายคลึงกับความเคลื่อนไหวในหมู่นักคิดชาวยุโรปสมัยคริสตศตวรรษที่ 17-18
      1. การรวมกลุ่มการเมืองภายใต้ชื่อยังเติรก
      2. เทียนวรรณออกหนังสือพิมพ์เพื่อเสนอความคิดเห็ฯวิพากษ์วิจารณ์สังคม
      3. การก่อกบฏ ร.ศ.130 ในสมัยรัชกาลที่ 6
      4. คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองใน ร.ศ.103
    16. การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย พ.ศ.2475 โดยไม่นองเลือดเพราะเหตุใด
      1. คณะราษฏรสามารถควบคุมกำลังอำนาจของกองทัพได้ทั้งหมด
      2. ประชาชนชาวไทยให้การสนับสนุนคณะราษฏร
      3. รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน
      4. ผู้นำเห็นความเจริญจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของญี่ปุ่นในระบอบรัฐธรรมนูญ
    17. อุดมการณ์ที่มีผลถาวรของการปฏิวัติของคณะราษฏร ปี พ.ศ.2475 คืออะไร
      1. ต่อต้านกลุ่มเจ้าและขุนนาง
      2. แก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
      3. เพื่อให้เกษตรกรอยู่ดีกินดีขึ้น
      4. ล้มเลิกระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
    18. เป้าหมายอะไรของคณะราษฏรที่รัฐบาลไทยสมัยต่อๆ มาดำเนินงานได้สมบูรณ์ที่สุด
      1. เอกราชทางการศาล
      2. การปกครองโดยประชาชน
      3. ให้การกศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฏร
      4. โครงการเศรษฐกิจให้ราษฏรได้กินดีอยู่ดี
    19. หลังจากฉลอง 150 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์แรก
      1. กบฏผูั้มีบุญ
      2. กบฏวังหลัง
      3. กบฏบวรเดช
      4. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
    20. สมานขอให้สมรอธิบายเหตุการณ์ที่สำคัญที่แสดงถึงความตืนตัวของนิสิตนักศึกษา ในการเรียกร้องประชาธิปไตย สมรจะเลือกเหตุการณ์ใดมาอธิบาย
      1. 14 ตุลาคม 2516
      2. 6 ตุลาคม 2519
      3. 23 กุมภาพันธ์ 2534
      4. 17 พฤษภาคม 2535
    21. นโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยสงครามโลกคร้้งที่ 1 คืิอข้อใด
      1. เป็นกลางในระยะแรก แล้วประกาศตนเป็ฯฝ่ายสัมพันธมิตร
      2. เป็นกลางในระยะแรก แล้วประกาศตนเป็ฯฝ่ายมหาอำนาจกลาง
      3. เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสงคราม
      4. เป็นฝ่ายมหาอำนาจกลางตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสงคราม
    22. ความตกลงสมบูรณ์แบบ ระหว่างไทยกับอังกฤษ และอินเดียเมื่อ พ.ศ.2489 นั้นมีสาระสำคัญประการหนึี่งว่า
      1. คำประกาศสงครามของไทยต่ออังกฤษเป็นโมฆะ
      2. ไทยจะต้องขายข้าวสารให้อังกฤษในราคาพิเศษ
      3. ไทยรับรองว่าจะไม่ขุดคอคลอดกระโดยไม่ได้รับยินยอมจากอังกฤษก่อน
      4. จะต้องคืนดินแดนที่ยึดไว้ให้แก่ฝรั่งเศส
    23. ไทยประสบความสำเร็๗ในการรักษาตัวให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกได้ เพราะเหตุใด
      1. ยอมเปิดสัมพันธไมตรีกับชาติมหาอำนาจ
      2. การปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ ๕
      3. การยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้
      4. การเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๒
    24. ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามกับฝายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ เพราะเหตุใด
      1. ไทยต้องการเอาใจประเทศสหรัฐอเมริกาที่เข้าช่วยอังกฤษ
      2. พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเคยได้รับการศึกษาจากอังกฤษ
      3. มหาอำนาจกลางได้ละเมิดความเป็นกลางของไทย
      4. คาดว่าฝ่ายประเทศสัมพันธมิตรจะประสบชัยชนะในที่สุด
    25. การที่รัฐบาลไทยต้องลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษที่สิงคโปร์เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙
      1. อังกฤษได้ให้เงินกู้เพื่อบูรณะประเทศแก่ไทยจำนวนมหาศาล
      2. การอุตสาหกรรมได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
      3. ไทยสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกประเภทยาง ดีบุกและข้าว
      4. เกิดการขาดแคลนข้าวสำหรับบริโภคภายในประเทศอย่างหนัก
    26. การที่ไทยต้องยกมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๔๙๙ นั้นมีจุดประสงค์สำคัญอย่างไร
      1. เพื่อให้ฝรั่งเศสช่วงถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษ
      2. เพื่อมิให้ฝรั่งเศสยึดครองไทยเป็นอาณานิคม
      3. เพื่อแลกเอาจันทบุรีกลับคืนมาจากฝรั่งเศส
      4. เพื่อให้ได้สิทธิทางการศาลกลับคืนมา
    27. เซอร์จอหน์ เบาริงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสยามนุกูลกิจ ด้วยเหตุใด
      1. เป็นเอกอัครราชฑูตของไทยคนแรกประจำยุโรป
      2. ช่วยให้ไทยและอังกฤษตกลงกันทำสนธิสัญญาจนสำเร็จ
      3. เป็นที่ปรึกษาคณะฑูตไทยไปเจริญทางไมตรีกับอังกฤษ
      4. ด้วยพระราชประสงค์ที่จะเพิ่มพูนทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ
    28. เพราะเหตุใดไทยจึงประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธไมตรีสงครามโลกครั้งที่ ๒
      1. ถูกญี่ปุ่นบีบบังคับให้เข้าเป็นพันธมิตรกับตน
      2. ต้องการดินแดนคืนจากอังกฤษและฝรั่งเศส
      3. เจ็บแค้นประเทศตะวันตกที่เคยบีบบังคับไทย
      4. ไทยกับญี่ปุ่นมีสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกันมาก่อน
    29. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ สภาพความขัดแย้งและปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทยอย่างมาก และอาจกล่าวได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติการณ์ข้อใด
      1. ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
      2. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
      3. การดำเนินนโยบายชาตินิยมรุนแรง
      4. การกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
    30. ไทยมีการติดต่อสัมพันธ์กับจีนเป็นครั้งแรก และยุติความสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายในสมัยรัชกาลใด
      1. ฮั่น หมิง
      2. ฮั่น แมนจู
      3. มองโกล หมิง
      4. มองโกล แมนจู
    31. ข้อใดเป็นผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับฝายสัมพันธมิตร
      1. ได้รับการยกเลิกข้อจำกัดในการเก็บภาษีเข้าร้อยละ ๓
      2. ได้รับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
      3. ได้รับเงินค่าปรับสงคราม
      4. ได้ดินแดนที่เสีย ร.๕ กลับคืนมา
    32. เหตุการณ์ใดที่ทำให้ผู้นำไทยเริ่มตระหนักถึงอันตรายจากมหาอำนาจตะวันตกจนเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมา
      1. สงครามฝิ่นหว่างจีนและอังกฤษ
      2. สงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าครั้งที่ ๑
      3. อังกฤษระดมยิงเมืองตรังกานูของไทย
      4. ฝรั่งเศสเรียกร้องเอาดินแดนเขมรจากไทย
    33. การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่ออะไร
      1. ให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนที่ยึดไปจากในเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒
      2. ให้อังกฤษและฝรั่งเศสยอมแก้ไขสนธิสัญญาเบาริง
      3. ให้ต่างชาติยอมรรับว่าไทยมีเกียรติยศเสมอนานาอารยประเทศ
      4. ให้ต่างชาติยอมรรับว่าไทยต้องการรักษาความเป็นกลาง
    34. เหตุการณ์ใดที่ทำให้ประเทศกลายเป็นฐานทัพปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา
      1. สงครามเกาหลี
      2. สงครามเวียดนาม
      3. วิกฤตการ์ทางการเมืองในประเทศลาว
      4. การเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
    35. ประเทศพม่าได้ยุติการทำสงครามกับไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเพราะเหตุใด
      1. กองทัพพม่าขาดความสามัคคีกันจนไม่แข็งแกร่งพอ
      2. กองทัพพม่าขาดผู้นำที่น่าเชื่อถือไม่มีความกล้าหาญ
      3. พม่าถูกอังกฤษเข้าแทรกแซง
      4. พม่าต้องบูรณะประเทศหลังการทำสงครามกับไทยมานาน
    36. ขบวนการเสรีไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด
      1. ชี้ให้เห็นว่าการประกาศสงครามกับพันธมิตรของไทยเป็นโมฆะ
      2. ให้ความร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตรและต่อต้านญี่ปุ่น
      3. เป็นการแสดงประชามติคัดค้านการกระทำผิดกฏหมายของรัฐบาลไทย
      4. ก่อวินาศกรรมทำลายที่ตั้งกองทหารญี่ปุ่นผู้รุกราน
    37. ข้อใดอธิบายถึงการค้าต่างประเทศสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างถูกต้องที่สุด
      1. สเปนเป็นชาติตะวันตกที่เข้ามาค้าขายยังอยุธยา
      2. การค้าระหว่างอังกฤษและราชสำนักอยุธยาเป็นการติดต่อโดยตรงกับรัฐบาลอังกฤษ
      3. สมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวฝรั่งเศสมากกว่ากษัตริย์อยุธยาองค์อื่นๆ
      4. มีชาวจีนและแขกเข้ามารับราชการในราชสำนักอยุธยาในตำแหน่งขุนนางและบางคนมีตำแหน่งสูงระดับเจ้าเมืองด้วย
    38. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายหลักของชาติตะวันตกในการเข้ามาติดต่อกับอาณาจักรอยุธยา
      1. เผยแพร่แนวคิดเรื่องเสรีภาพ
      2. การค้าและเผยแพร่ศาสนา
      3. ใช้อยุธยาเป็นศูนย์ซ่อมเรือ
      4. ต้องการยึดครองดินแดน
    39. การจัดระเบียบสังคมไทยสมัยอยุธยาเกี่ยวกับเรื่องใดน้อยที่สุด
      1. ความมั่นคงของอาณาจักร
      2. กำลังแรงงานของทางราชการ
      3. ความเจริญของบ้านเมือง
      4. ความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับมูลนาย
    40. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสามัญชนในโครงสร้างชนชั้นของสังคมไทยดั้งเดิม
      1. สตรีต้องรับภาระดูแลบุตรหลานและประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัว
      2. ผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุถ้าสึกออกมารับราชการจะมีสถานภาพที่สูงขึ้น
      3. ชายฉกรรจ์ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเป็นทหารหรือช่วยงานราชการอื่นๆ
      4. สถานภาพของบุคคลยึดถือตามชาติกำเนิดและสืบทอดต่อไปถึงบุตร
    41. การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยด้านใด ที่ไม่ได้เป็นผลมาจากยกเลิกระบบไพร่
      1. เกิดการฝึกหัดทหารอาชีพเข้ารับราชการประจำ
      2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศมากขึ้น
      3. ประชาชนมีโอกาสเลื่อนสถานภาพทางสังคม
      4. ประชาชนมีอิสระในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ
    42. การพัฒนาสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๖ ในลักษณะใดที่เกิดประโยชน์สูงสุด
      1. กำหนดเกณฑ์การเข้าเรียนหนังสือสำหรับเด็กไทย
      2. ยกเลิกการเกณฑ์แรงงานเปลี่ยนเป้นการเกณฑ์ทหาร
      3. ส่งเสริมความรู้สึกชาตินิยมผ่านทางงานวรรณกรรม
      4. สนับสนุนบทบาทและความสำคัญของกลุ่มเสือป่า
    43. สาเหตุใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยแรกที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
      1. แนวคิดเรื่องชาตินิยมของผู้นำประเทศ
      2. เพื่อร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในการทำสงครามมหาเอเซียบูรพา
      3. โลกตะวันตกกำลังบ่อนทำลายวัฒนธรรมของไทย
      4. เศรษฐกิจโลกกำลังตกต่ำอย่างรุนแรงและขยายตัวไปทั่วโลก
    44. นโยบาย รัฐนิยม ของจอมพล ป.พิบูลสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือข้อใด
      1. การปลูกฝังเรื่องค่านิยมของคนไทย
      2. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางประการของคนไทย
      3. การรณรงค์ให้ประชาชนเสื่อมใสเชื่อฟังผู้นำ
      4. การส่งเสริมให้ประชาชนมีค่านิยมแบบตะวันตก
    45. ปัจจุบันข้อใดที่สำคัญน้อยที่สุดในการส่งเสริมให้อยุธยามีความรุ่งเรืองทางการค้ากับนานาชาติ
      1. คุมลำน้ำที่เป็นเส้นทางคมนาคม
      2. มีการจ้างชาวต่างชาติมารับราชการ
      3. มีที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์จึงปลูกข้าวได้ดี
      4. อยุ่ใกล้ทะเลเหมาะแก่การเป็นเมืองท่าได้สะดวก
    46. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของชาวจีนต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      1. การผลิตสินค้าเกษตรกรรมประเภทใหม่ เช่น น้ำตาลทราย
      2. การเข้าประมูลเป็นเจ้าภาษีนายอากร
      3. การเป็นพ่อค้าคนกลางกระจายอยู่ทั่วประเทศ
      4. การตั้งชุมชนค้าขายเฉพาะบริเวณเมืองท่าชายฝั่ง
    47. ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดจากการมีระบบเจ้าภาษีนายอากร
      1. ชนชั้นสูงของไทยเป็นนายทุนรุ่นแรกอย่างมีประสิทธิภาพ
      2. ชาวจีนมีโอกาสเป็นนายทุนรุ่นแรกในประเทศไทย
      3. รัฐบาลลดภาระการจัดเก็บภาษี
      4. รัฐบาลควบคุมการจัดเก็บภาษีได้ไม่ทั่วถึง
    48. เพราะเหตุใดพ่อค้าชาวตะวันตกจึงไม่พอใจกับสภาพการค้าของไทยก่อนการทำสนธิสัญญาเบาริง
      1. มีการผูกขาดโดยพระคลังสินค้า
      2. มีการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราสูง
      3. ไทยไม่เข้าใจธรรมเนียมการค้าของชาวตะวันตก
      4. ไทยใช้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ชาวตะวันออกมากกว่าชาวตะวันตก
    49. ภายหลังที่ไทยตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี พ.ศ.๒๓๙๖ และกับประเทศต่างๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศในเวลาต่อมา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างไร
      1. คนไทยเริ่มดำเนินชีวิตในลักษณะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น
      2. ระบบผูกขาดของพระคลังสินคัาตกอยู่ในกำมือของชาวตะวันตก
      3. ระบบการผลิตทางการเกษตรได้เปลี่ยนเป็นระบบการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
      4. ระบบการผลิตแบบพึ่งตนเองเริ่มเสื่อมลง โดยระบบการผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น
    50. ผลสำคัญที่สุดที่เกิดจากการทำสนธิสัญญาการค้ากับชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือข้อใด
      1. ไทยกลายเป็นผู้ผลิตสินค้าขั้นปฐมภูมิของตลาดโลก
      2. กรุงเทพ เป็นที่ชุมนุมสินค้าภายในและภายนอก
      3. ไทยเริ่มระบบเศรษฐกิจแบบใช้เงินตราและการค้าเสรี
      4. รัฐบาลเร่งปฏิรูปการเงินการคลังของประเทศ
    51. เหตุกาารณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีความสัมพันธ์กับประเด็นที่สำคัญในทางการเมืองไทยในลักษณะใด
      1. การเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย
      2. การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มิได้มาจากสมาชิกสภาผุ้แทนราษฏร
      3. การเดินทางกลับสู่ประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นเผด็จการ
      4. การก่อความวุ่นวายทางการเมืองของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. ข้อใดเป็นอุดมการณ์ของสด กูรมะโรหิต ที่สะท้อนออกในนวนิยายหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง ระย้า
      1. การส่งเสริมระบบสหกรณ์
      2. การเผยแพร่ระบบสังคมนิยม
      3. การต่อต้านลัทธิคอมนิวนิสต์
      4. การเชิดชูระบอบประชาธิปไตย
    2. ถ้าท่านจะชมงานศิลปะที่มีความผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับศิลปะตะวันตก ท่านจะเลือกนำชมสิ่งใด
      1. พระราชวังสราญรมย์
      2. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม
      3. พระที่นั่งอนันตสมาคม
      4. ภาพเขียนฝาผนังวัดสุทัศน์เทพวราราม
    3. ศิลปินที่มีแนวความคิดเรื่อง ศิลปะเพื่อชีวิต มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอย่างไร
      1. เพื่อความสุนทรีของชีวิ ต
      2. เพื่อการปรับปรุงสังคม
      3. เพื่อสนองความต้องการของชีวิต
      4. เพื่อความรื่นรมย์ของชีวิต
    4. รูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยาคือข้อใด
      1. เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
      2. เจดีย์ทรงกลม
      3. เจดีย์ทรงเหลี่ยม
      4. พระปรางค์
    5. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิยมในศิลปะใหม่ๆ หลายประการยกเว้นข้อใด
      1. การสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
      2. การประดับหน้ารบันโบสถ์ด้วยถ้วยจีน
      3. การวาดภาพเขียนจีนในจิตรกรรมฝาผนัง
      4. การปั้นพระพุทธรูปให้เหมือนมนุษย์มากขึ้น
    6. ตัวอย่างของโบสถ์วิหารแบบพระราชนิยมในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หาชมได้ที่ไหน
      1. วัดราชบพิตร
      2. วัดราชประดิษฐ์
      3. วัดราชโอรสาราม
      4. วัดเบญจมบพิตร
    7. วัฒนธรรมไทยในปัจจุบันได้รับการส่งเสริมด้วยวิธีการอย่างไร
      1. ส่งเสริมให้คนไทยทั่วประเทศรักษาวัฒนธรรมแนวเดียวกัน
      2. ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลมากขึ้น
      3. ส่งเสริมให้วัฒนธรรมท้องถื่นของชุึมชนแต่ละแห่งอย่างทั่วถึง
      4. ส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง
    8. ลักษณะเด่นของศีลปะแบบรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หรือแบบพระราชนิยม คือ
      1. รับอิทธิพลของศิลปะจีนไว้อย่างมาก
      2. เป็นการนำอิทธิพลของศีลปะสุโขทัยมาใช้อีก
      3. รักษารูปแบบศิลปะอยุธยาเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
      4. มีการจัดองค์ประกอบและใช้สีแบบตะวันตก
    9. ข้อใดจับคู่ระหว่างวรรณกรรมกับหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ให้ความรู้เรื่องเมืองไทยในแต่ละสมัยได้อย่างถูกต้อง
      1. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์-สมัยสุโขทัย
      2. คู่กรรม – สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
      3. นายขนมต้ม – สมัยต้นรัตนโกสินทร์
      4. สี่แผ่นดิน – สมัยรัชกาลที่ 4-7
    10. ในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 แนวคิดและวิถีชีวิตของคนตะัวันตกก่อให้เกิดนาฏศิลปประเภทใด
      1. ละครใน
      2. ละครนอก
      3. ละครฟ้อนรำ
      4. ละครพันทาง
    11. ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจแบบใดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างศิลปกรรมแบบ ฐานอ่อนโค้ง โบสถ์ิวิหารไม่ปรากฏช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
      1. การผลิตน้ำตาล
      2. การค้าสำเภา
      3. การปลูกข้าว
      4. การทอผ้า
    12. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตามคติพระพุทธศาสนาลัทธิอะไร
      1. มคธวงศ์
      2. ลังกาวงศ์
      3. สยามวงศ์
      4. อุบาลีวงศ์
    13. สนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับชาวยุโรปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาเจรจาและทำสัญญาคือ
      1. มาควิส เฮสติงส์
      2. เฮนรี่ เบอร์นี่
      3. จอห์น ครอว์เฟิด
      4. จอห์น เบาริง
    14. มณฑลบูรพาที่ไทยต้องเสียให้ฝรั่งเศสใน พ.ศ.2449 ประกอบด้วยเมืองอะไรบ้าง
      1. ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส
      2. พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ
      3. มโนไพร และจำปาศักดิ์
      4. ทวาย มะริด และตะนาวศรี
    15. รัชกาลที่ 3 ทรงยอมทำสนธิสัญญาเบอร์นี่ เพราะเหตุใด
      1. ทรงเกรงกลัวอำนาจของอังกฤษ ซึ่งเข้ายึดครองพม่าทั้งประเทศแล้ว
      2. ทรงทราบว่า จีนพ่ายแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น
      3. เป็นสนธิสัญญาที่เสมอภาคกันทั้งสองฝ่าย
      4. ไทยต้องการคบกับอังกฤษเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้าและจะอาศัยกำลังของอังกฤษเพื่อรบกับพม่า
    16. อะไรคือข้อเสียเปรียบที่สุดที่ไทยได้รับสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์ที่ทำกับอังกฤษ
      1. สัญญาไม่ได้กำหนดอายุ
      2. ไทยต้องยกเลิกพระคลังสินคัา
      3. คนต่างชาติได้รับสิทธิไม่ต้องขึ้นศาลไทย
      4. ไทยเก็บอัตราภาษีอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 3
    17. ราชฑูตอังกฤษคนแรกที่เข้ามาใน ร.4 คือ
      1. จอห์น ครอว์เฟิด
      2. เซอร์เจมส์ บรุ๊ค
      3. เฮนรี่ เบอร์นี่
      4. เซอร์จอหน์ เบาริง
    18. เหตุผลสำคัญในการที่ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกคร้งที่ 1 คือ
      1. นายทหารคนสำคัญๆ หลายคน ได้รับการศึกษาจากอังกฤษ
      2. คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่ามหาอำนาจกลางจะแพ้สงคราม
      3. ประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายสัมพันธมิตร
      4. ประเทศไทยต้องมีส่วนในการรักษาความชอบธรรมและสันติภาพของโลก
    19. ข้อใดเป็นนโยบายด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. ปิดประตูอยู่โดดเดี่ยว
      2. ไม่ติดต่อเจรจาทำสัมพันธไมตรีใดๆ กับประเทศตะวันตก
      3. ติดต่อเจรจาทำสัมพันธไมตรีกับจีนเท่านั้น
      4. พยายามรักษาสถานะเดิมของประเทศเท่านั้นที่จะทำได้ในเวลานั้น
    20. บรรดาชนชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ชนชาติใดที่สามารถผูกไมตรีจิตมิตรภาพกับคนไทยทุกระดับชั้นได้มากที่สุด เพราะเหตุใด
      1. อังกฤษ เพราะเซอร์จอหน์ เบาริง ผูกพระทัยรัชกาลที่ 4 ไว้ถึงกับรับสั่งเป็นมหามิตรของพระองค์
      2. อเมริกัน เพราะมีฐานะร่ำรวยช่วยเหลือคนไทยได้จึงพอใจคบหามากกว่าฝรั่งชาติอื่น
      3. อังกฤษ แม้เป็นมหาอำนาจแต่มิืได้แสดงท่าทีคุกคามอธิปไตยในดินแดนไทยเลย
      4. อเมริกัน เพราะมิชชันนารี พ่อค้า ฑูต มิได้มีพฤติกรรมใดที่เป็นภัยต่อคนไทย และอธิปไตยของชาติเลย
    21. ถ้าศึกษาถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวกับความวุ่นวายภายในของอินโดจีนเอง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อไทยด้วยกัน จะเห็นได้ว่ามีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์ในรัชสมัยใดในอดีตมากที่สุด
      1. รัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
      2. รัชสมัยพรพุทธเลิศหล้านภาลัย
      3. รัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      4. รัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    22. วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 คือเหตุการณ์ใด
      1. การเสียดินแดนมณฑลสิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหก
      2. กลุ่มทหารหนุ่มก่อการกบฏ
      3. ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
      4. ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
    23. เพราะเหตุใดการปกครองในสมัยสุโขทัยจึงเรียกว่า การปกครองแบบ พ่อปกครองลูก
      1. ได้รับอิทธิพลการปกครองจากเขมร
      2. ผู้ปกครองและประชาชนมีความสัมพันธ์คล้ายเครือญาติ
      3. ผู้ปกครองคือพ่อขุนรามคำแหงสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชน
      4. ผู้ปกครองช่วยระงับข้อพิพาทระหว่างประชาชนทำให้เกิดความเป็นธรรม
    24. ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดจากการใช้ระบบการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
      1. เกิดความสามัคคีภายในชาติ
      2. พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ
      3. ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
      4. ทำให้เกิดการวางรากฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย
    25. ข้อใดคือความหมายของเมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย
      1. เป็นเมืองไกลจากราชธานี พระมหากษัตริย์ทรงตั้งเจ้านายออกไปปกครอง
      2. เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือ พระมหากษัตริย์ทรงตั้งสมุหนายกปกครอง
      3. เป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ พระมหากษัตริย์ทรงตั้งเจ้าพระยากลาโหมปกครอง
      4. เป็นเมืองอยู่นอกราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ทรงตั้งเจ้าราชวงศ์พื้นเมืองปกครอง
    26. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยา
      1. พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิตของประชาชน
      2. พระมหากษัตริย์ต้องทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม
      3. พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
      4. ระบอบการปกครองมีลักษณะผสมระหว่างการปกครองแบบไทยกับแบบเขมร
    27. การปกครองในสมัยสุโชทัยกับสมัยอยุธยา มีลักษณะที่เหมือนกันในเรื่องใด
      1. สถานภาพของผู้ปกครอง
      2. กฏหมายและกระบวนการยุติธรรม
      3. ศูนย์กลางการใช้อำนาจในการปกครอง
      4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน
    28. ถ้าเปรียบเทียบการปกครองของไทยสมัยอยุธยา กับสมัยปัจจุบันจะพบข้อแตกต่างในข้อใดเด่นชัดที่สุด
      1. สมัยอยุธยาไม่มีการจัดระเบียบการปกครอง แต่การปกครองสมัยปัจจุบันมีการจัดระเบียบอย่างมีแบบแผน
      2. การปกครองสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับความเชื่อและประเพณี แต่ในสมัยปัจจุบันการปกครองวางอยู่บนพื้นฐานของกฏหมาย
      3. สมัยอยุธยาไม่มีกฏเกณฑ์ที่กำ่หนดบทบาทและสถานภาพของประชาชน แต่สมัยปัจจุบันมีรัฐธรรมนูญกำหนดสิ่งดังกล่าวของประชาชนไว้อย่างชัดเจน
      4. อำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยามีขอบเขตไม่จำกัด พระองค์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด แต่อำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยปัจจุบันถูกกำหนดขอบเขตไว้โดยรัฐธรรมนูญ
    29. การปกครองในสมัยสุโขทัยกับสมัยอยุธยามีความแตกต่างกันในเรื่องใด
      1. ระบอบการปกครอง
      2. ลักษณะการปกครอง
      3. อำนาจของผู้ปกครอง
      4. ศูนย์กลางของอำนาจการปกครอง
    30. การปกครองของประเทศไทยในสมัยสุโขทัยและอยุธยา มีความแตกต่างกันในเรื่องใดจากข้อ ก – จ ดังต่อไปนี้
        • ก. ระบอบการปกครอง
        • ข. ศูนย์กลางของอำนาจ
        • ค. ฐานะของพระมหากษัคริย์
        • ง. การปกครองเมืองประเทศราช
        • จ. ความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์กับประชาชน
      1. ก และ ข
      2. ข และ ค
      3. ค และ จ
      4. ง และ จ
    31. ข้อใดถูกต้องสำหรับการปกครองในสมัยอยุธยา
      1. เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ได้รับอิทธิพลจากสมัยสุโขทัย
      2. เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจไม่จำกัด
      3. เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่พระมหากษัตริย์ทรงอยุ่ในฐานะธรรมราชา
      4. เป็นประชาธิปไตยอยู่บ้างเพราะพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้หลักทศพิธราชธรรม
    32. กิจกรรมใดเป็นการเริ่มวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทย
      1. การเลิกทาส
      2. การจัดตั้งสุขาภิบาล
      3. การจัดตั้งรัฐมนตรีสภา
      4. การจัดตั้งเมืองดุสิตธานี
    33. การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ผลในด้านใดมากที่สุด
      1. ประชาชนมีความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน
      2. ทำให้ประเทศไทยได้รับการพัฒนาทัดเทียมอารยประเทศ
      3. การได้มาซึ่งประชาธิปไตยของปวงชนชาวไทยมีความเป็นไปได้สูงขึ้น
      4. เกิดเอกภาพในการควบคุมบังคับบัญชาและในการบริหารราชการทั่วประเทศ
    34. หน้าที่สำคัญขององคมนตรีสภา ในรัชกาลที่ 5 คืออะไร
      1. เป็นผู้พิจารณาร่างกฏหมาย
      2. เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
      3. เป็นผู้พิจารณาระเบียบราชการ
      4. เป็นที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์
    35. ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูประเบียบการปกครองทุกระดับในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือข้อใด
      1. มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
      2. มีการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
      3. มีความเสมอภาคในหมู่ประชาชน
      4. มีแนวนโยบายของการบรรจุข้าราชการ
    36. กระทรวงใดในปัจจุบันที่ยังคงใช้ชื่อเดิมซึ่งตั้งมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. มหาดไทย กลาโหม การคลัง พาณิชย์
      2. มหาดไทย กลาโหม การคลัง ยุติธรรม
      3. มหาดไทย กลาโหม ศึกษาธิการ การคลัง
      4. มหาดไทย กลาโหม ต่างประเทศ ยุติธรรม
    37. สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ มีส่วนในการเปลีย่นปลงการเมืองและสังคมให้ดำเิินินไปโดยราบรื่น นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในการพัฒนาและปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานการปฏิรูปการปกครอง โดยการจัดตั้งอะไรขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2417 อันอาจนับได้ว่าเป็นการวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย
      1. รัฐสภา
      2. รัฐธรรมนูญ
      3. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
      4. สภาปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน
    38. ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การปฏิรุปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือข้อใด
      1. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตกต่ำ
      2. การขยายอิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก
      3. การขาดกำลังคนในการบริหารราชการแผ่นดิน
      4. การแพร่พระจายของแนวความคิดแบบประชาธิปไตย
    39. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไปโดยวิธีการใด
      1. ทรงจัดตั้งสภาปกครองท้องถิ่น
      2. ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
      3. ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาสูงสุดและคณะที่ปรึกษารัฐบาล
      4. ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและองคมนตรีสภา
    40. ข้อความในข้อ ก-จ ข้างล่างนี้ ข้อใดถูกต้องถ้าพิจารณาในแง่ของการใช้อำนาจอธิปไตย
        • ก. กรมวังเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจนิติบัญญัติ
        • ข. เทศาภิบาลเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตุลาการ
        • ค. องคมนตรีสภาเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจบริหาร
        • ง. กระทรวงธรรมการเี่กี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตุลาการ
        • จ. พระธรรมศาสตร์เีกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจนิติบัญญัติ
      1. ก  และ ค
      2. ค และ จ
      3. ข และ ง
      4. ก และ ง
    41. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475
      1. ความเหลื่อมล้ำในทางสังคมระหว่างชนชั้นต่างๆ
      2. ความตกต่ำทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อน
      3. ความตื่นตัวทางการเมืองที่อยากให้มีการการเปลี่ยนแปลง
      4. ความต้องการให้ประชาชนมีการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน
    42. ข้อใดไม่ใช่ สาเหตุของการเปลียนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
      1. การตื่นตัวทางการเมืองของชนชั้นกลาง
      2. พระบรมวงศานุวงศ์ทรงได้รับการศึกษาสมัยใหม่จากประทเศในยุโรปมากขึ้น
      3. วิธีการของรัฐบาลในการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของประเทสเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
      4. เกิดการขัดแย้งแตกแยกกันในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกองทัพระหว่างกลุ่มผู้มีอำนาจ
    43. พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใดที่ทรงเริ่มนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครอง
      1. พ่อขุนรามคำแหง
      2. พระมหาธรรมราชาที่ 1
      3. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      4. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    44. แม้ว่าไทยจะรับลัทธิเทวราชาจากเขมรแต่พระมหากษัตริย์ไทยก็ไม่ได้มีลักษณะเป็นเทวราชที่สมบุรณ์ เพราะสาเหตุใด
      1. การนับถือพระพุทธศาสนา
      2. อิทธิพลของพราหมณ์ปุโรหิต
      3. พื้นฐานการเป็นประเทศเกษตรกรรม
      4. การที่ถือว่ากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัวใหญ่
    45. ฐานะของพระมหากษัตริย์ไทยภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชแตกต่างจากภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในข้อใด
      1. ความเป็นเทวราชา
      2. ความเป็นธรรมราชา
      3. ความเป็นผู้นำการพัฒนาประเทศ
      4. ความเป็นศูนย์รวมน้ำใจของคนในชาติ
    46. การขยายอำนาจออกไปครอบครองสุโขทัยและเขมรของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ตามแนวคิดใด
      1. เทวราชา
      2. ธรรมราชา
      3. สมมติเทพ
      4. จักรพรรดิราช
    47. พระมหากษัตริย์พระองค์แรก ที่ทรงดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาและสาบานตนว่า จะซื่อสัตย์ต่อพสกนิกรคือพระองค์ใด
      1. พระบาทสมเด็๗พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
      2. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      3. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    48. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเมืองลูกหลวงในสมัยสุโขทัย
      1. เป็นเมืองหน้าด่าน
      2. มีขุนนางเป็นเจ้าเมือง
      3. อยู่ล้อมรอบเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ
      4. ห่างจากเมืองหลวงเดินด้วยเท้า 2 วัน
    49. สมเด็จพระบรมไตรโลกทรงจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความสะดวกในเรื่องใด
      1. การจัดเก็บภาษี
      2. การปกป้องเขตแดน
      3. การเรียกเกณฑ์แรงงาน
      4. กรควบคุมเมืองลูกหลวง
    50. ข้อใดไม่ใช่สาระสำคัญของการปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      1. การดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
      2. การยกเลิกระบบเมืองลุกหลวง
      3. การขยายเจตการปกครองของราชธานี
      4. การแบ่งเขตการปกครองระหว่างสมุหกลาโหมและสมุหนายก

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. การปฏิรูปการคลังสมัยรัชกาลที่ ๕ ในการจัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน ใน พ.ศ.๒๔๑๖ นั้น ได้ส่งผลที่สำคัญที่สุดคือข้อใด
      1. ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นจำนวนมากมาย
      2. ทำให้การจัดเก็บเงินภาษีเป็นระบบเพิ่มขึ้น
      3. ทำให้ขุนนางส่วนกลางควบคุมมิให้ขุนนางท้องถิ่นมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากดังแต่ก่อน
      4. พระมหากษัตริย์สามารถควบคุมรายได้ผลประโยชน์ของประเทศได้ทั่วถึง
    2. ระบบเศรษฐกิจแบบเิงินตราก่อให้เกิดผลในขั้นแรกในข้อใด
      1. เป็นการทำลายโครงสร้างสังคม
      2. เป็นการทำลายระบบการผลิตแบบดั้งเดิม
      3. เป็นจุดเริ่มต้นของการแตกสลายของชุมชน
      4. เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตเพื่อการตลาด
    3. การทำสนธิสัญญาในปี พ.ศ.๒๓๙๘ กับอังกฤษก่อให้เกิดผลอย่างไร
      1. ทำให้อังกฤษได้รับการผูกขาดภาษีเป็นชาติแรก
      2. ทำให้อังกฤษสามารถซื้อข้าวจากไทยได้
      3. ทำให้มีการกำหนดอัตราภาษีอย่างชัดเจน
      4. ทำให้ไทยสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น
    4. ข้อใดเป้นผลของสนธิสัญญาเบาริง
      1. หนานน้อยชาวเชียงใหม่เป็นคนในบังคับของอังกฤษต้องขึ้นศาลอังกฤษเมื่อทะเลาะกับเจ้าเมืองเชียงใหม่
      2. ผ้าและเครื่องปั่นดินเผาเป็นสินค้าหัตถกรรมที่ต่างประเทศต้องการมากขึ้น
      3. มีการเกณฑ์ไพร่เข้ามาทำงานมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะการปลูกอ้อยทำน้ำตาล
      4. อังกฤษเป็นชาติเดียวที่สามารถซื้อน้ำตาลและพริกไทยจากกรมพระคลังสินค้าได้
    5. ชาติที่ทำการค้ากับไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมากทีสุดคือข้อใด
      1. จีน
      2. อาหรับ
      3. พม่า
      4. อินเดีย
    6. ภาษีประเภทใดที่สามารถทำรายได้ให้กับรัฐในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      1. ภาษีฝิิ่น
      2. ภาษีข้าว
      3. ภาษีดีบุก
      4. ภาษีบ่อนเบี้ย
    7. ผลที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดมากในระยะแรกๆ หลักงการเปิดประเทศใน พ.ศ.2398 คือข้อใด
      1. ปริมาณการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้น
      2. การคุกคามจากต่างชาติรุนแรงขึ้น
      3. การผลิตสินค้าหัตถกรรมถูกทำลาย
      4. ส่งข้าวออกไปขายมากจนเกิดความขาดแคลน
    8. การกำหนดแนวการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมโดยรัฐ ตรงกับสมัยใด
      1. นายปรีดี พนมยงค์
      2. จอมพล ป.พิบูลสงคราม
      3. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
      4. จอมพลถนอม กิตติขจร
    9. รายได้หลักของไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเบาริงมาจากวิธีใด
      1. การเก็บส่วย
      2. การเก็บภาษีอากร
      3. การส่งข้าวออก
      4. การค้ากับต่างประเทศ
    10. ผลกระทบที่สำคัญประการหนึ่งของสนธิสัญญาเบาริงคือข้อใด
      1. การส่งข้าวออกลดน้อยลง
      2. ส่งเสริมให้เกิดการค้าในระบบเสรี
      3. ส่งเสริมการค้าในระบบผูกขาด
      4. ส่งเสริมการพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน
    11. สาเหตุการเกิดภาวะขาดดุลการค้าครั้งแรกของไทย ใน พ.ศ.2463 คืออะไร
      1. อุทกภัยและฝนแล้งติดต่อกันหลายปี
      2. สินค้าข้าวไม่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก
      3. ต่างชาติใช้นโยบายตั้งกำแพงภาษีสินค้า
      4. อังกฤษประกาศลดค่าเงินปอนด์
    12. ข้อใดที่มิืใช่สาระสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ
      1. เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน
      2. เป็นการผลิตโดยพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก
      3. เป็นการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
      4. เป็นการผลิตเพื่อการค้าในท้องถิ่น
    13. สนธิสัญญาเบาริงที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเกษตรกรรมของไทยหลายประการยกเว้นข้อใด
      1. มีชาวจีนอพยพมารับจ้างทำงานในไร่สวนทั่วประเทศ
      2. เกิดธุรกิจโรงสีข้าวขยายตัวทั้งในกรุงเทพ และปริมณฑล
      3. เกิดระบบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนบุคคล
      4. มีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
    14. การปฏิรูปการคลังของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการดำเนินการหลายประการยกเว้นข้อใด
      1. การจัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์
      2. การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
      3. การกำหนดอัตราเงินเดือนประจำข้าราชการ
      4. การจัดเก็บภาษีขาเข้า – ขาออกให้สอดคล้องกับความจำเป็นของประเทศ
    15. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อขายในสมัยรัตนโกสินทร์
      1. การขุดคลองมหาสวัสดิ์
      2. การจัดตั้งระบบเจ้านายภาษีอากร
      3. การยกเลิกหอรัษฏากรพิพัฒน์
      4. พ่อค้าต่างชาติสามารถซื้อสินค้าไปขายต่างประเทศได้ทุกชนิด
    16. การผูกขาดการค้า หมายถึง การกำหนดให้
      1. ชาวต่างชาติขายกระสุนดินดำให้พระคลังสินค้าเท่านั้น
      2. พ่อค้าตะวันตกเข้ามาซื้อกระสุนดินดำกับกรมท่าเพียงที่เดียว
      3. พ่อค้าตะวันตกเข้ามาซื้อขายกับพระคลังสินค้าเท่านั้น ส่วนคนจีนสามารถซื้อขายได้อย่างเสรี
      4. กรมพระคลังแต่เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้นที่จะทำหน้าที่ออกไปซื้อขายินค้าจากดินแดนต่างๆ
    17. การผูกขาด ในสมัยอยุธยามีลักษณะอย่างไร
      1. ชาวจีนได้สัมปทานจากรัฐเพื่อซื้อ ขายสินค้ากับต่างชา่ติ
      2. รัฐอนุญาตให้พ่อค้าฮอลันดาชาติเดียวเข้ามาค้าขายได้
      3. กรมพระคลังสินค้าแต่ผู้เดียวที่มีสิทธิ์ซื้อขายสินค้าต้องห้าม
      4. เสนาบดีกรมท่าเท่านั้นที่สามารถค้าขายกับต่างชาติได้
    18. การผูกปี้ข้อมือจีนในสมัยรัชกาลที่ 3 ในอัตราค่าผูก 5 บาทต่อ 3 ปี นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
      1. การเปลี่ยนแปลงสัญชาติชาวจีนในไทย
      2. การควบคุมแรงงานชาวจีนเื่พื่อเกณฑ์ไปใช้ในไทย
      3. การรับขวัญชาวจีนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น
      4. การแสดงว่าคนจีนผู้นั้นได้เสียภาษีแล้ว
    19. ข้อใดเรียงลำดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยได้อย่างถูกต้อง
      1. เครื่องสังคโลก หอรัษฏากรพิพัฒน์ พระคลังสินค้า
      2. เครื่องสังคโลก พระคลังสินค้า หอรัษฏากรพิพัฒน์
      3. พระคลังสินค้า เครื่องสังคโลก หอรัษฏากรพิพัฒน์
      4. หอรัษฏากรพิพัฒน์ เครื่องสังคโลก พระคลังสินค้า
    20. กิจกรรมทางเศรษฐกิจใดที่ขยายตัวเป็นอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 5
      1. อุตสาหกรรมน้ำตาล เหมืองแร่
      2. การค้าของป่า การทำป่าไม้
      3. อุตสาหกรรมน้ำตาล การทำนา
      4. การทำนา การทำป่าไม้
    21. ข้อใดเป็นรูปแบบการค้าต่างประเทศของไทยก่อนการทำสัญญาเบาริง  ตอบ ข้อ 2
      เฉลย ประวัติศาสตร์ ม.1 เทอม 2
    22. สินค้าใดที่ทำให้อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นประสบความมั่งคั่งตอลดมาในการค้ากับต่างประเทศ
      1. ช้าง
      2. ข้าว
      3. ของป่า
      4. สังคโลก
    23. รัฐบาลดำเนินการอย่างไร สภาพเศรษฐกิจไทยภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475 จึีงมีเสถียรภาพมากขึ้น
      1. เก็บภาษีเงินได้
      2. ออกพันธบัตรเงินกู้
      3. ส่งออกข้าวได้มากขึ้น
      4. ออกระเบียบให้ข้าราชการออมเงินให้กับธนาคาร
    24. ภูมิประเทศแบบใดเป็นสาเหตุให้อาณาจักรสุโขทัยสร้างสรีดภงส์และตระพังต่างๆ
      1. ลานตะพักน้ำ
      2. ที่ราบเชิงเขา
      3. หุบเขาลุ่มน้ำ
      4. ที่ลุ่มน้ำขัง
    25. ในสมัยรัตนโกสินทร์มีคนไทยพยายามที่จะเรียนภาษาอังกฤษ ศิลปศาสตร์และรับวัฒนธรรมตะวันตกบางอย่างมาเริ่มใช้แต่สมัยใด
      1. รัชกาลที่ 1
      2. รัชกาลที่ 2
      3. รัชกาลที่ 3
      4. รัชกาลที่ 4
    26. สมมติว่าท่านน้ำชาวต่างประเทศเข้าชมพระบรมมหาราชวัง ชาวต่างประเทศแสดงความสนใจเรีอนยอดบนหลังคาพระที่นั่งต่างๆ เป็นพิเศษ ในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยท่านควรอธิบายโดยสรุปได้ในข้อใด เพื่อให้เขาเข้าใจในวัฒนธรรมการสร้างปราสาทราชวังให้ตรงกับความสนใจเขามากที่สุด
      1. สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้ซ่อมแซมมาหลายรัชกาล มีอายุได้ 196 ปีมาแล้ว
      2. เรีอนยอดบนหลังคาพระที่นั่งต่างๆ เป็นศิลปะทางสถาปัตยกรรมของไทยแต่โบราณ
      3. วัฒนธรรมไทยถือว่าเรือนยอดเป็นของสูง สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของกษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น
      4. เรือนยอดเป็นของสูงใช้สำหรับเป็นที่ประทับของกษัตริย์และที่ประดิษฐานสำหรับการศาสนาเท่านั้น
    27. ถ้าท่านไปฟังการบรรเลงดนตรีไทยตามหัวข้อต่อไปนี้ ่ท่านคิดว่าข้อใดเป็น วงมโหรี ตามแบบแผนของดนตรีไทย
      1. วงเครื่องสายกับปี่ชวา
      2. วงปี่พาทย์กับวงเครื่องสาย
      3. วงปี่พาทย์กับปี่ชวา
      4. วงเครื่องสายแต่มีปี่เป็นประธาน
    28. วัดราชโอรสซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็๗พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบอะไร
      1. จีน
      2. จีนปนฝรั่ง
      3. จีนปนฝรั่งปนไทย
      4. จีนปนไทย
    29. กลุ่มคำต่อไปนี้ กลุ่มใดมีความสัมพันธ์กัน
      1. รัชกาลที่ 1 การสังคายนาพระไตรปิฏก- พระราชพิธีอาพาธพินาศ
      2. รัชกาลที่ 2-สุนทรภู่ -พระเทพโมลี
      3. รัชกาลที่ 3-ธรรมยุติกนิกาย -พระนิรันตราย
      4. รัชกาลที่ 4 -ปราสาาทพระเทพบิดา-พระที่นั่งอนันตสมาคม
    30. การแสดงอะไรต่อไปนี้ของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
      1. ลิเก
      2. โขน
      3. ละครดึกดำบรรพ์
      4. ละครผู้หญิง
    31. งานสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมของไทยประเภทใดที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลวัฒนธรรมจีนมากที่สุด
      1. สถาปัตยกรรม ประติมากรรม
      2. วรรณกรรม นาฏศิลป์
      3. สถาปัตยกรรม ดุริยางคศิลป์
      4. จิตรกรรม วรรณกรรม
    32. การรับอิทธิพลตะวันตกในระยะแรกเริ่มนั้น วัฒนธรรมตะวันตกที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างรวดเร็วและมากที่สุดคืออะไร
      1. ภาษาอังกฤษและศิลปแบบโกธิค
      2. ระบบบริหารราชการแบบกระทรวง ทบวง กรม
      3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      4. แนวความคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
    33. สถาปัตยกรรมแบบประจำชาติที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งสมัยรัตนโกสินทร์คืออะไร
      1. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
      2. พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
      3. พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
      4. ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    34. ขรัวอินโข่ง มีชื่อเสียงด้านใด
      1. การวาดภาพแบบที่มีการแรงเงาและความลึก
      2. แต่งวรรณกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาหลายเรื่อง
      3. เขียนภาพเวสสันดรที่พระอุโบสถวัดราชาธิวาส
      4. ดัดแปลงสถาปัตยกรรมตะวันตกมาใช้ในสถาปัตยกรรมไทย
    35. ทุ่งมหาราช เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับด้านใด
      1. ประวัติศาสตร์
      2. ชาตินิยม
      3. เชิดชูีวีรกรรมวีรบุรุษ
      4. ชีวิตชนบท การต่อสู้ของมนุษย์กับธรรมชาติ
    36. ผลกระทบที่สำคัญของการเปิดสัมพันธไมตรีกับประเทศตะวันตกต่อต้านวรรณกรรมมีอย่างไร
      1. วรรณกรรมและงานเขียนของประเทศตะวันตกเป็ฯที่รู้จักกันมากขึ้น
      2. มีการตั้งวรรณคดีสโมสร และรางวัลวรรณกรรมต่างๆ
      3. งานเขียนและความรู้ต่างๆ แพร่กระจายสู่สามัญชน
      4. งานแปลและงานเขียนแบบร้อยแก้วแพร่หลายและพัฒนามากขึ้น
    37. พระประธานที่พุทธมณฑลเป็นปางใด และอยู่ในสกุลช่างศิลปะใด
      1. ปางโปรดสัตว์ รัตนโกสินทร์ตอนต้น
      2. ปางเสด็จจากสวรรค์ อยุธยา
      3. ปางลีลา สุโขทัย
      4. ปางประทับยืน เชียงแสน
    38. วรรณกรรม ปริศนา ของ ว.ณ.ประมวลมารคให้ภาพพจน์ของสังคมไทยในสมัยใดและอย่างไร
      1. ความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นในสมัยใหม่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
      2. สถานะของสตรีดีขึ้นเมื่อสังคมไทยได้รับอิทธิพลตะวันตกแล้ว
      3. หลีกหนีภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจและจิตใจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
      4. ระดับการศึกษาของสตรีไทยสูงขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
    39. ข้อใดเป็นตัวอย่างงานศิลปะที่ดีเด่นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      1. วัดสุทัศน์เทพวราราม เรือสำเภาจีนที่วัดยานนาวา ลิลิตโองการแช่งน้ำ
      2. พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม พระพุทธรูปสำริด บทละครเรื่องรามเกียรติ์
      3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระที่นั่งจักรมหาปราสาท บทละครอุณรุททคำฉันท์
      4. วัดพระพายหลวง ภาพพุทธประวัติและชาดกในพระที่สั่งพุทไธสวรรค์ บทละครอิเหนา
    40. อาคารสถานแห่งแรกของไทยที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมตะวันตกได้แก่ข้อใด
      1. พระที่นั่งบรมพิมาน
      2. พระที่นั่งอนันตสมาคม
      3. พระที่นั่งจักรมหาปราสาท
      4. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
    41. การสร้างวัฒนธรรมไทยให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ปรากฏชัดเจนในวรรณกรรมเรื่องใด
      1. สี่แผ่นดินของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
      2. เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของแถมสุข นุ่มนนท์
      3. ผู้่ดีของดอกไม้สด
      4. ละครแห่งชีวิตของ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์
    42. ข้อใดเป็นลักษณะของละครใน
      1. ละครที่นิยมเล่นและดูกันในหมู่ขุนนางและชาวบ้านผู้แสดงเป็นหญิงล้วน
      2. ละครที่นิยมเล่นในหมู่เจ้านาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนและเวลาแสดงไม่ร้องบทเอง
      3. ละครที่นิยมในราชสำนัก  ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน แต่หากจำเป็นจะใช้ชายแสดงบ้างก็ได้
      4. ละคนที่นิยมเล่นเฉพาะในพระราชฐาน นิยมกันในหมู่เจ้าเมืองทางต้ ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน
    43. เหตุใดสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทย จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างแท้จริง
      1. เพราะวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
      2. เพราะช่างฝีมือที่ใช้ในการก่อสร้าง
      3. เพราะกรรมวิธีที่ใช้ในการก่อสร้าง
      4. เพราะลักษณะการใช้งานเป็นที่อยู่อาศัย
    44. ลักษณะการแสดง เรื่องไกรทอง เป็นศิลปประเภทใด
      1. ลิเก
      2. ละครนอก
      3. ละครชาตรี
      4. ละครพันทาง
    45. ข้อใดเป็นตัวอย่างสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทยแบบสากล
      1. พระราชวังสราญรมย์ และพระที่นั่งปราสาทพระเทพบิดร
      2. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
      3. ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวัดเบญจมบพิตร
      4. พระที่นั่งอนันตสมาคม และที่ทำการกระทรวงมหาดไทย
    46. วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็ฯยอดของความเรียงอธิบาย และมีคุณค่าทางการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธณรมเป็นอย่างยิ่ง คือเรื่องใด
      1. ไกลบ้าน
      2. พระราชพิธีสิบสองเดือน
      3. เที่ยวเมืองพระร่วง
      4. นิทานโบราณคดี
    47. วรรณกรรมข้อใดที่แสดงถึงอิทธิพลของวรรณกรรมอินเดียว
      1. อิเหนา อุณรุท
      2. รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน
      3. ศกุลตลา รามเกียรติ์
      4. ราชาธิราช อิเหนา
    48. ข้อใดที่ถือได้ว่าเป็นศิลปการละครไทยที่เลียนแบบละครโอเปร่าของตะวันตก
      1. ละครพูด
      2. ละครร้อง
      3. ละครพันทาง
      4. ละครดึกดำบรรพ์
    49. ความแตกต่างระหว่างละครในกับละครนอกคืออะไร
      1. ละครในเล่นเองร้องเอง ละครนอกเล่นตามบทพากษ์
      2. ละครในผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ละครนอกผุ้แสดงเป็ฯชายจริงหญิงแท้
      3. ละคนในเล่นเรื่องไทยแท้ ละครนอกเล่นเรื่องที่นำมาจากต่างประเทศ
      4. ละครในเน้นความสวยงาม ละครนอกเ้น้นความสนุกสนาน
    50. ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่่งจักรีมหาปราสาทคือข้อใด
      1. เป็นแบบไทยสมัยอยุธยา
      2. เป็นแบบผสมผสานระหว่างสุโขทัยกับอยุธยา
      3. เป็นแบบผสานผสานระหว่างไทยกับตะวันตก
      4. เป็นแบบยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. ระบบเจ้าภาษีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจุดมุุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งคือข้อใด
      1. พระคลังสินค้ามีอำนาจผู้กขาดการค้ามากขึ้น
      2. ส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรี
      3. เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดการค้าแทนพระคลังสินค้า
      4. รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นและแน่นอน
    2. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หมายถึงอะไร
      1. การยกดินแดนให้ต่างประะเทศ
      2. สิทธิพิเศษของชาวต่าชาติในทางเศรษฐกิจ
      3. สิทธิพิเศษของชาวต่างชาติในทางศาสนา
      4. สิทธิพิเศษของชาวต่างชาติในทางศาล
    3. แหล่งรายได้ใหญ่ของแผ่นดินสมัยอยุธยาคือข้อใด
      1. กำไรจากการค้าผูกขาดภายในประเทศ
      2. เจ้าภาษีนายอากร
      3. รายได้จากผลประโยชน์ในที่ดินของกษัตริย์และมูลนาย
      4. รายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศ
    4. การเปิดประเทศทำการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศภายในหลังจากสนธิสัญญาเบาริงปี พ.ศ.๒๓๙๘ นั้นมีผลทางเศรษฐกิจมากมาย ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง
      1. อุตสาหกรรมในครัวเรือนพังทลาย
      2. มีการใช้เงินตรากันอย่างแพร่หลาย
      3. ต่างชาติเข้ามาลงทุน
      4. ประเทศเป็นอิสระทางเศรษฐกิจมากขึ้น
    5. เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงศ์ มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร
      1. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
      2. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
      3. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
      4. เป็นระบบเศรษฐกิแบบผสมผสานระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม
    6. สนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ คือข้อใด
      1. สนธิสัญญาครอว์เฟิด
      2. สนธิสัญญาเบาริง
      3. สนธิสัญญาเบอร์นี่
      4. สนธิสัญญาเจมส์ บรุ๊ค
    7. ในสมัยอยุธยาไทยส่งสินค้าประภทใดออกมากเป็นพิเศษ
      1. ช้าง
      2. ผลิตภัณฑ์
      3. ผ้า
      4. ของป่า
    8. รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตอบสนองแรงกระตุ้นในทางเศรษฐกิจที่สนธิสัญญาเบาริ่งก่อให้เกิดขึ้นอย่างไร
      1. เลิกและลดพิกัดอัตราภาษีสินค้าหลายชนิด
      2. เก็บภาษีสินค้าขาเข้าเพียงร้อยละ ๓
      3. ขุดคลองเจดีย์บูชา
      4. ส่งพระยามนตรีศรีสุรยวงศ์เป็นราชฑูตไปยังลอนดอน
    9. จุดประสงค์สำคัญของเศรษฐกิจแบบชาตินิยมของจอมพล ป.พิบูลสงคราม คืออะไร
      1. กำจัดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของต่างชาติ
      2. ออกพระราชบัญญัติจัดหางานให้ผู้ไรอาชีพ
      3. ออกพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร
      4. ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐบาลในพระราชบัญญัติมอบอำนาจให้รัฐบาลในภาวะคับขัน พ.ศ.๒๔๘๕
    10. การผูกขาดการเก็บภาษีอากรของไทยโดยระบบ เจ้าภาษีนายอากร ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของราษฏรไทยอย่างไร
      1. คนไทยมีความขยันในการประกอบอาชีพมากขึ้น
      2. อาชีพค้าขายของคนไทยถูกคนจีนแย่งไปครอบครอง
      3. คนไทยมีรายได้สูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า
      4. คนไทยมีโอกาสชำระภาษีน้อลง
    11. ภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่งที่ไทยตกลงกับอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าไทยมีรายได้แผ่นดินลดลงเป็นเพราะเหตุใด
      1. จีนซึ่งเป็นตลาดการค้าสำคัญของไทยเกิดสงครามกับต่างชาติ
      2. ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ ๓ ของราคาสินค้าเท่านั้น
      3. ชาติตะวันตกส่งเรือมาค้าขายในจำนวนน้อยลงกว่าเดิม
      4. การค้ากับต่างชาติตกอยู่ในกำมือของชาวจีนเป็นส่วนใหญ่
    12. ข้อใดเป็นผลที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ.๒๓๙๘
      1. ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และเรียกเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อบละ ๓
      2. ไทยถูกยกเลิกการค้าผูกขาดของพระคลังสินค้า
      3. ไทยได้ชื่อว่ารักษาเอกราชของชาติไว้ได้จากการยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่
      4. ไทยกลายเป็นประเทศผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายนอก เช่น ข้าว
    13. หลังจากไทยทำสัญญาเบาริงได้ไม่นานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโดยส่วนรวมข้อใดที่เห็นเด่นชัดที่สุด
      1. มีการขยายพื้นที่การทำเป็นอย่างมาก และข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย
      2. เกิดการขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนคนจีนให้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศ
      3. คนไทยทุกภาคจะทิ้งงานหัตถกรรมหันไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
      4. รายได้ของรัฐบาลลดลงอย่างมากเพราะถูกจำกัดด้วยภาษีร้อยชักสาม
    14. ข้อความใดที่แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. การค้าขายกับประเทศจีน
      2. การผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า
      3. การค้าขายกับประเทศตะวันตก
      4. การประมูลผุกขาดการเก็บภาษีอากร
    15. ข้อใดที่อธิบายหน้าที่พระคลังสินค้าได้ถูกต้องที่สุด
      1. พระคลังสินค้าดูแลการค้าภายในประเทศ
      2. พระคลังสินค้าทำหน้าที่เก็บรักษาสินค้าทุกประเภท
      3. พระคลังสินค้าค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนเท่านั้น
      4. พระคลังสินค้าเท่านั้นทำหน้าที่ควบคคุมตรวจตราสินค้าออกสินค้าเข้า
    16. ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคของชาวตะวันตกในการติดต่อการค้ากับไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
      1. การค้าของไทยเป็นระบบผูกขาด
      2. รัฐบาลไทยไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าบางประเภท
      3. การเก็บภาษีไม่เท่าเทียมกันและอัตราไม่แน่นอน
      4. รัฐบาลเลือกซื้อสินค้าก่อน ที่เหลือจึงได้นำไปขายประชาชนได้
    17. การที่สามัญชนในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ไม่ค่อยมีบทบาทด้านการค้าภายในประเทศเท่ากับคนจีน เพราะ
      1. คนจีนไม่ถูกควบคุมโดยระบบไพร่
      2. คนจีนขยันกว่าคนไทย
      3. คนไทยไม่นิยมทำการค้า
      4. คนไทยไม่ได้รับการสนับสนุนให้ค้าขาย
    18. รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามดำเนินนโยบาย ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ นโยบายนี้มีลักษณะอย่างไร
      1. รัฐบาลส่งเสริมให้เอกชนลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น
      2. รัฐบาลอนุญาตให้เฉพาะประเทศประชาธิปไตยเข้ามาลงทุนในประเทสไทยได้
      3. รัฐบาลลงทุน ควบคุมและบริหารธุรกิจภายในประเทศเอง
      4. รัฐบาลออกกฏหมายห้ามคนต่างด้าวทำธุรกิจบางประเทศ
    19. การเก็บภาษีอากรโดยวิธีการประมูลผูกขาดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ
      1. รัฐบาลต้องการรายได้ที่แน่นอน
      2. การทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ
      3. การทำสนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษ
      4. การปฏิรูปการเงินการคลัง
    20. เศรษฐกิจสุโขทัยและอยุธยาแตกต่างกันอย่างไร
      1. สุโขทัยมีการค้าอย่างเสรี อยุธยามีการผุกขาดการค้า
      2. สุโขทัยมีการผลิตแบบพอยังชีพเป็นหลัก อยุธยามีการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก
      3. สุโชทัยไม่มีการเก็บภาษีอากรใดๆ อยุธยามีการเก็บภาษีอากรหลายประเภท
      4. สุโขทัยทำการค้ากับจีนมากทีสุด อยุธยาทำการค้ากับอินเดียมากที่สุด
    21. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเข้าสู่แบบสมัยใหม่ของไทย เริ่มจากสนธิสัญญาฉบับใดและในรัชกาลใด
      1. เบอร์นี่ รัชกาลที่ ๓
      2. เบาริง รัชกาลที่ ๓
      3. เบาริง รัชกาลที่ ๔
      4. เบอร์นี่ รัชกาลที่ ๔
    22. ข้อใดไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลเนื่องจากสนธิสัญญาเบาริง
      1. การเลิกระบบผูกขาดการค้าและเริ่มระบบการค้าเสรี
      2. การปลดปล่อยไพร่และทาสเป้นแรงงานเสรี
      3. การขยายตัวของเศรษบกิจเงินตราและการขยายตัวของการค้ากับตะวันตก
      4. การเริ่มเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจของคนจีนและเริ่มส่งข้าวเป้นสินค้าออก
    23. ข้อใดไม่ใช่่ปัญหาของไทยในช่วงรัชกาลที่ ๔ ถึง พ.ศ.๒๔๗๕
      1. ลดประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือนายทุนจำนวนน้อยที่เป็ฯชาวจีนและตะวันตก คนไทยส่วนใหญ่ยากจน
      2. การเลิกระบบไพร่และทาสทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลต้องจ้างแรงงานชาวจีนมาก จนประสบปัญหาด้านการเงินและการคลัง
      3. มีความขัดแย้งทางความคิดอันนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างผู้นำของประเทศกับปัญญาชนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก
      4. มีปัยหาทางเศรษฐกิจเพราะไร่นาเสียหายจากอุทกภัย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และความฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน
    24. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ ก่อให้เกิดผลอย่างไร
      1. การปฏิรุูปที่ดินทั่วประเทศทำให้ชาวนาได้ครอบครองที่ดินเพิ่มขึ้นและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น
      2. การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในเมืองและชนบททำให้การกระจายรายได้เป็นธรรมมากขึ้น ช่องว่างระหว่างชนชั้นลดลง
      3. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้กิดการเลื่อนชั้นทางสังคมโดยอาศัยการศึกษาอย่างมาก
      4. การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้ชนชั้นนายทุนเพิ่มจำนวนและมั่งคั่งขึ้น
    25. ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา เกิดขึ้นจากเหตุผลข้อใด
      1. ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าว
      2. กษัตริย์ส่งเสรมการค้าภายใน
      3. การค้าขายระหว่างไทย กับจีน
      4. กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่มีความเหมาะสม
    26. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาก คืออะไร
      1. มีสัมพันธภาพอันดีกับประเทศจีน
      2. ระบบ พระคลังสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ
      3. ระบบผูกขาดทางการค้าของพระมหากษัตริย์
      4. ได้ชาวจีนที่ชำนาญทางการค้าเป้นเจ้าพนักงานการค้า
    27. วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัชกาลที่ ๗ มีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากอะไร
      1. การปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕
      2. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
      3. ผลผลิตทางเกษตรเสียหายเพราะภัยธรรมชาติ
      4. เพราะความยุ่งยากทางการเมืองจนรัฐบาลไม่มีเวลาพอที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
    28. ระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้าในสมัยอยุธยาก่อให้เกิดผลสำคัญอะไร
      1. การค้ากับต่างประเทศลดปริมาณลง
      2. รัฐเอาใจใส่ควบคุมกำลังคน และจัดเก็บส่วยมากขึ้น
      3. รัฐเผชิญกับปัญหาการจัดเก็บภาษีจากท้องถิ่นต่างๆ
      4. รัฐควบคุมการผลิตเืพื่อการค้าให้เหมาะสม
    29. กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดของรัฐบาลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ไม่ปรากฏในสมัยอยุธยา
      1. เดินเรือสำเภาค้าขายกับจีน
      2. เปิดประมูลภาษีอากร
      3. ผูกขาดสินค้า
      4. งดเว้นภาษี
    30. รายได้หลักของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มาจากอะไร
      1. การผูกขาดโดยพระคลังสินค้า
      2. การเก็บส่วย
      3. การค้ากับต่างประเทศ
      4. การเกณฑ์แรงงานจากไพร่
    31. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของระบบพระคลังสินค้า
      1. การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาประมูลภาษี
      2. ราษฏรกับพ่อค้าไม่สามารถติดต่อค้าขายกันได้โดยตรง
      3. การผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยรัฐ
      4. การยินยอมให้ไพร่นำผลผลิตส่วนเกินที่รัฐไม่ต้องการออกขายได้
    32. เพราะเหตุใดไทยจึงร่ำรวยจากการค้ากับต่างประเทศจนเป็นรายได้หลักของแผ่นดินนับแต่สมัยอยุธยาจนถึงตอนต้นรัตนโกสินทร์
      1. รัฐบาลมีชาวจีนช่วยในการค้า
      2. รัฐบาลผูกขาดการค้าไว้แต่ผู้เดียว
      3. รัฐบาลให้เสรีภาพในการค้าอย่างเต็มที่
      4. รัฐบาลมีสินค้าต้องห้ามสำหรับขายมาก
    33. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุของการกำหนดสินค้าต้องห้ามในการค้ากับต่างประเทศสมัยอยุธยาตอนกลาง
      1. พระคลังสินค้าต้องการกำหนดราคาสินค้าเอง
      2. พระคลังสินค้าต้องการเป็นตัวกลางในการค้าขาย
      3. พระคลังสินค้าต้องการจำกัดการนำเข้าสินค้าประเภทอาวุธ
      4. พระคลังสินค้าต้องการเลิกจัดเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ
    34. ข้อใดแสดงให้เห็นชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงหลังสนธิสัญญาเบาริงจากระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพมาเป็นเศรษฐกิจการค้า
      1. ชาวนาเลิกผลิตข้าวและสิ่งของเครื่องใช้โดยหันมาซื้อแทน
      2. ชาวนาผลิตข้าวมากขึ้นเพื่อขายแต่เพียงอย่างเดียว
      3. ชาวนาหันมาทำนาโดยใช้วิทยาการแบบตะวันตก
      4. ชาวนาเิลิกจ่ายภาษีเป็น หางข้าว แต่จ่ายเป็นเงินแทน
    35. วัตถุประสงค์สำคัญที่สุดของการจัดให้มีระบบเจ้าภาษีนายอากร ในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคือข้อใด
      1. เพื่อให้มีรายได้เิพิ่มมากขึ้น
      2. เพื่อแทนที่ภาษีประเภทจังกอบ
      3. เพื่อเก็บภาษีในรูปเงินตราแทนสิ่งของ
      4. เพื่อเอกชนมาเก็บภาษีแทนเจ้าหน้าที่
    36. เหตุผลข้อใดที่ทำให้นักประวัติศาสตร์พบว่าประเทศไทยเสียเปรียบประเทศอังกฤษมากที่สุดในการทำสนธิสัญญาเบาริง
      1. การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
      2. การไม่ระบุระยะเวลาของสัญญา
      3. การนำโลหะมีค่าและเงินตราเข้าและออกนอกประเทศได้อย่างเสรี
      4. การให้ชาวต่างชาติทำการค้าได้โดยเสรีแถบเมืองท่าชายทะเล
    37. การเก็บภาษีผ่านด่านโดยเก็บร้อยละสิบ หรือ สิบหยิบหนึ่ง เป็นวิธีการเก็บภาษีแบบใด และเกิดขึ้นในสมัยใด
      1. ส่วย สุโขทัย
      2. จังกอบ อยุธยา
      3. ฤชา ธนบุรี
      4. อากร รัตนโกสินทร์ตอนต้น
    38. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของระบบเจ้าภาษีนายอากร
      1. การเปิดโอกาสให้เอกชนประมูลจัดเก็บภาษี
      2. การผูกขาดการจัดเก็บภาษีโดยรัฐ
      3. การจัดเก็บภาษีจากการชัดส่วนผลผลิตที่ราษฏรทำได้
      4. การจัดเก็บภาษีเป็นเงินแทนสิ่งของ
    39. ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
        • ก. การค้าของไทยเป็นรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
        • ข. การค้าของไทยมีระบบจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
        • ค. การค้าของไทยจ้างชาวจีนให้ดำเนินการเป็นส่วนใหญ่
        • ง. การขยายตัวของระบบการจัดเก็บภาษีอากรแบบผูกขาด
      1. ก และ ข
      2. ก และ ค
      3. ค และ ง
      4. ก ข ค และ ง
    40. นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร
      1. ส่งเสริมการผลิตในรูปแบบสหกรณ์
      2. สนับสนุนให้คนไทยประกอบธุรกิจมากขึ้น
      3. รัฐเข้าดำเนินการธุรกิจภายในประเทศเอง
      4. เปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันกันลงทุนอย่างเสรี
    41. ผลกระทบจากสนธิสัญญาเบาริงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยวแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันคืออะไร
      1. เกิดการปฏิรูปพระคลังสินค้า
      2. เกิดการขยายตัวของระบบเงินตรา
      3. เกิดระบบเจ้าภาษีนายอากร
      4. เกิดการปฏิรูประบบการประมูลภาษีอากร
    42. ระบบการค้าเสรีซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเปิดศักราชใหม่ในทางการค้าของไทย และยังก่อให้เกิดผลดีต่อไทยในเรื่องใด
      1. การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
      2. ทำให้รัฐบาลไทยมีรายได้ประจำเพิ่มขึ้น
      3. อังกฤษขัดขวางฝรั่งเศสมิให้ทำรุนแรงกับไทย
      4. ทำให้เกิดตลาดแรงงานขึ้น
    43. โครงการรังสิตที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือโครงการเกี่ยวกับเรื่องอะไร
      1. โครงการขยายที่ดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม
      2. โครงการขยายที่ดินเพื่อการเพาะปลูกพืชต่างๆ
      3. โครงการลงทุึนจัดสรรที่ดินของเอกชน
      4. โครงการสร้างระบบคลองชลประทาน
    44. ในสมัยสุโขทัยผลประโยชน์ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการผลิตและจำหน่ายผลผลิตจะตกอยู่กับผู้ใด
      1. ประชาชน
      2. ผู้ผลิต
      3. พระมหากษัตริย์
      4. พ่อค้า
    45. ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการผลิตในชุมชนไทยสมัยก่อน
      1. ผลิตเพื่อการค้า
      2. ผลิตเพื่อใช้อุปโภคบริโภค
      3. ผลิตเพื่อเสียภาษีและส่วย
      4. ผลิตเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนสินค้าอื่น
    46. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของ พระคลังสินค้า
      1. เป็นผู้ส่งเรือไปค้าขายกับต่างประเทศ
      2. เป็นผู้ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ
      3. เป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ
      4. เป็นผู้กำหนดราคาสินค้าจากต่างประเทศ
    47. เพราะเหตุใดจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงใช้นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ
      1. เพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมืองให้พ้นจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
      2. เพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจให้ทัดเทียมตะวันตกโดยจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเอง
      3. เพื่อป้องกันไม่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสว่นใหญ่ตกอยู่ในมือชาวต่างชาติ
      4. เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งกำลังแพร่หลายในหมู่ชาวจีนในประเทศไทย
    48. นโยบายใหม่ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือเรื่องใด
      1. การอนุญาตให้ส่งข้าวออกไปขายได้
      2. การใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร
      3. การจัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์
      4. การใช้วิธีการค้าเสรีเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า
    49. ข้อใดไม่ใช่การเปลียนแปลงทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบาริง
      1. ชาวต่างชาติเข้ามามีบทบาทด้านการลงทุนมากขึ้น
      2. มีการขุดลอกคลองชลประทานเพือขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูก
      3. มีการหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีนเพื่อเป็นแรงงานในกิจการค้าสำเภา
      4. ไทยกลายเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดภายนอก
    50. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีเศรษฐกิจแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า ในขณะที่ประเทศชาติตะวันตกมีนโยบายเศรษฐกิจแบบใด
      1. แมเนอร์
      2. พาณิชย์นิยม
      3. เสรีนิยม
      4. สังคมนิยม

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1.  ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เหตใดชายฉกรรจ์จำเป็นต้องเป็นไพร่
        • ก. ถูกเกณฑ์แรงงานโดยทางราชการ
        • ข. เข้ารับราชการเพื่อให้มีศักดินาสูงกว่าทาส
        • ค. ต้องการที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย
        • ง. มีสิทธิจับจองที่ดินที่ตนได้ลงแรงไว้และยังไม่มีเจ้าของ
      1. ก และ ข
      2. ก และ ค
      3. ข และ ง
      4. ค และ ง
    2. สาเหตุใดบ้างที่ทำให้โครงสร้างสังคมไทยในอดีตเป็นแบบศักดินา
        • ก. เพราะพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเป็นเทวราชา
        • เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจเป็ฯแบบเกษตรกรรม
        • เพราะพระมหากษัตริย์ต้องเกณฑ์คนเข้ารับราชการในตำแหน่งสูงต่ำไม่เท่ากัน
        • เพราะขุนนางต้องการกำลังคนไว้เสริมอำนาจและรบกับข้าศึกศัตรู
      1. ก และ ข
      2. ก และ ค
      3. ข และ ค
      4. ข และ ง
    3. สถาบันที่เป็นศูนย์กลางของความศรัทธาร่วมกันและเป็ฯสถาบันที่เชื่อมประสานโครงสร้างระหว่างชนชั้นของคนไทยทั้งมวลคือสถาบันใด
      1. สถาบันกษํตริย์
      2. สถาบันสงฆ์
      3. สถาบันการปกครอง
      4. สถาบันทหาร
    4. ข้อใดเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมกำลังคนในระบบไพร่
      1. ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย
      2. ไพร่จับจองที่ดินไม่ได้
      3. ไพร่เปลี่ยนแปลงสถานะไม่ได้
      4. ไพร่ต้องมาทำงานให้ราชการ
    5. เหตุใดรัชกาลที่ 5 จึีงทรงเลิกทาส
        • ก. เพื่อสร้างคนเข้ารับราชการ
        • เพื่อตัดทอนอำนาจเจ้าขุนมูลนาย
        • เพื่อสร้างแรงงานอิสระในภาคเกษตรกรรม
        • เพื่อสร้างสังคมที่ก้าวหน้าและทันสมัย
      1. ถูกทั้ง ก และ  ข
      2. ถูกทั้ง ข และ ค
      3. ถูกทั้ง ค และ ง
      4. ถูกทั้ง ง และ ก
    6. ผู้นำใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คือคนกลุ่มใด
      1. กลุ่มกองทัพประจำการติดอาวุธ
      2. กลุ่มผู้ที่ได้รับการศึกษาในระบบใหม่
      3. กลุ่มผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ
      4. กลุ่มนักเรียนนายร้อยทหารบก
    7. คำอธิบายเกี่ยวกับมูลนาย – ไพร่ข้อใดผิด
      1. ลูกของมูลนาย แม้มีศักดินาต่ำกว่าเกณฑ์ก็ไม่ถือว่าเป็นไพร่
      2. ไพร่ไม่มีโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นมูลนายได้
      3. มูลนายไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
      4. มูลนายมีศักดินาสูงกว่า 400 ไร่ ส่วนไพร่ต่ำกว่า 400 ไร
    8. นายชมเคยเป็ฯไพร่ เมื่อรัชกาลที่ 5 ยกเลิกระบบไพร่ นายชมได้เรียนหนังสือ จบแล้วได้เข้ารับราชการเป็นขุนนางและมีฐานะดี การที่นายชมเปลี่ยนสถานะไปเช่นนี้ เพราะผลข้อใดเป้นสำคัญ
      1. การปฏิรูปทางสังคม
      2. การปฏิรูปการศึกษา
      3. การปฏฺิรูปการปกครอง
      4. การปฏิรูปเศรษฐกิจ
    9. ลักษณะของสังคมไทยที่ยังมีความสำคัญที่สุดในปัจจุบันคือข้อใด
      1. สตรีมีบทบาทสำคัญในสังคม
      2. ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์
      3. การทำอะไรตามใจคือไทยแท้
      4. การอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่
    10. หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว เกิดผลกระทบทางสังคมอย่างไรตามมา
      1. การเลิกระบบไพร่และทาส
      2. การเกิดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
      3. การเลืิกประเพณีหมอบคลานและถอดเสื้อ
      4. การให้เสรีภาพแก่คนไทยในการนับถือศาสนา
    11. ไพร่สมัยก่อนรัชกาลที่5 สามารถเลื่อนฐานะทางสังคมได้หลายประการยกเว้นข้อใด
      1. การบวชเรียน
      2. การเรียนหนังสือ
      3. การไปราชการสงคราม
      4. การฝากตัวกับเจ้านาย
    12. แดงเป็นลูกทาสรุ่นแรกที่ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นไท แดงเกิดปีอะไร
      1. ปีที่รัชกาลที่ 5 ประสูติ
      2. ปีทีรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์
      3. ปีที่รัชกาลที่ 5 บรรลุนิติภาวะ
      4. ปีที่รัชกาลที่ 5 ประกาศใช้พระราชบัญญัติเกษียณอายุลูกทาสลูกไท
    13. การดำเนินการในข้อใดเป็นผลให้ระบบไพร่สิ้นสุดลง
      1. การออกพระราชบัญญัติทหารขึ้นใน พ.ศ.2413
      2. การออกพระราชบัญญัติเรียกเก็บเงินจากไพร่ใน พ.ศ.2439
      3. การประกาศพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารใน พ.ศ.2448
      4. การประกาศจัดตั้งกรมทหารหน้าโดยรับสมัครจากไพร่ พ.ศ.2423
    14. หลัง พ.ศ2500 สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยสาเหตุหลายประการ ยกเว้นข้อใด
      1. การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยม
      2. การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตก
      3. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
      4. การขยายตัวทางการศึกษา
    15. ข้อมูลในข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
      1. มูลนายและขุุนนางมีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป
      2. สนธิสัญญาเบอร์นีเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบอังกฤษมาก
      3. ไทยเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสครั้งแรกในรัชกาลที่ 4
      4. การลดเวลาเข้ารับราชการของไพร่เหลือปีละ 3 เดือนเริ่มในรัชกาลที่ 2
    16. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4
      1. อนุญาตให้ราษฏรทำงานกับฝรั่งได้
      2. ให้ราษฏรถวายฏีกาได้เดือนละ 4 ครั้ง
      3. ให้ราษฏรเข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนินได้
      4. การเก็บเงินค่าราชการจากไพร่หลวงคนละ 6 บาทต่อปี
    17. เมื่อนายแดงพ้นจากความเป็นไพร่ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาระหลายอย่างสิ้นสุดลง ยกเว้นข้อใด
      1. หมดภาระการเข้าเวร
      2. หมดภาระการเสียส่วย
      3. หมดภาระรับใช้บ้านเมือง
      4. หมดภาระตามระบบอุปถัมภ์
    18. สาเหตุที่มีความสำคัญน้อยที่สุดที่ทำให้สังคมไทยแต่ตั้งเดิมจนถึงการเปลียนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มีความหลากหลายของคนหลายเชื้อชาติ คิือข้อใด
      1. การถูกกวาดต้อนเข้ามา
      2. การเข้ามาเผยแผ่ศาสนา
      3. การเข้ามาทำการค้าขาย
      4. การเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
    19. นับแต่ พ.ศ.2500 เป็นต้นมา กลุ่มใดมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นมาก
      1. กลุ่มเกษตรกรและกรรมกร
      2. กลุ่มข้าราชการ
      3. กลุ่มนายทุน
      4. กลุ่มปัญญาชน
    20. เมื่อเด็กหญิงอายุครบ 15 ปี ต้องใช้คำนำหน้านามว่า นางสาวแดง ข้อกำหนดนี้เริ่มในสมัยใด
      1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
      3. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
      4. จอมพล ป.พิบูลสงคราม
    21. นายเหมือนเป็นไพร่ของขุนชำนาญบริรักษ์ ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้ง 2 ไม่ถูกต้อง
      1. ขุนชำนาญบริรักษ์ต้องดูแลไม่ให้ใครทำร้ายนายเหมือน
      2. ถ้าหากนายเหมือนขัดสนเงินไม่สามารถไปขอขุนชำนาญบริรักษ์ได้
      3. นายเหมือนมีหน้าที่ทำนาทั้งในที่นาของตน และที่นานของขุนชำนาญบริรักษ์
      4. เมื่อนายเหมือนมีคดีความ ขุนชำนาญบริรักษ์ต้องไปหศาลกับนายเหมือนด้วย
    22. ข้อใดนับว่าเป็นการผลิตคนเพื่อเข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5
      1. การตั้งกรมศึกษาธิการ
      2. การออกพระราชบัญญัติราชการทหาร
      3. การปรับปรุงระเบียบบริหารงานในกรมพระสุรัสวดี
      4. การตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
    23. เหตุผลข้อใดที่ทำให้ไพร่ต้องมีสังกัด
      1. ความคุ้มครองในเรื่องทรัพย์สิน
      2. ความคุ้มครองด้านความปลอดภัย
      3. ความรุ้มครองในเรื่องการถือครองที่ดิน
      4. ความคุ้มครองตามกฏหมาย
    24. พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีจุดหมายอย่างไร
      1. ให้ทหารและพลเรือนมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามศักดินา
      2. ให้ชายหรือหญิงมีหน้าที่ตามกฏหมายอย่างชัดเจน
      3. ให้ทุกคนมีศักดินาลดหลั่นกันไปตามหน้าที่ในสังคม
      4. ให้ทุกคนมีสิทธิในการถือครองที่นาตามศักดินาที่ได้รับ
    25. ขั้นตอนแรกของการเลิกระบบไพร่คือข้อใด
      1. การประกาศลดเงินค่าราชการ
      2. การประกาศใช้พระราชบัญญัติจ่ายเงินค่าจ้าง
      3. การประกาศใช้พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร
      4. การประกาศรับสมัครไพร่เข้าเป็นทหารในกรมทหารหน้า
    26. สังคมไทยก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ มีลักษณะอย่างไร
      1. ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงทาสต่างมีศักดินาตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ถึง ๕ ไร่ลดหลั่นกันไป
      2. ไพร่และทาสอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนาง
      3. ชนชั้นไพร่และทาสเปลี่ยนแปลงฐานะไม่ได้ แต่พระมหากษัตริย์และเจ้านายสามารถเปลียนแปลงฐานะได้
      4. พ่อค้าและผุ้ที่มีความรู้ได้รับการยกย่องอย่างสูงในสังคม
    27. บทบาทของพระสงฆ์นอกเหนือจากกิจการศาสนาแล้ว ยังได้ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ หลายด้าน ยกเว้นข้อใด
      1. เป็นศูนย์กลางความสามัคคีและผู้นำของชุมชน
      2. เป้นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่คนในชุมชน
      3. ช่่วยรักษาโรคภัยและแก้ไขปัญหาให้แก่คนในชุมชน
      4. เป็นเครื่องมือของรัฐในการดูและคนในชุมชน
    28. การยกเลิกระบบไพร่ในรัชกาลที่ ๕ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไร
      1. เจ้านายและขุนนางถูกลิดรอนอำนาจและผลประโยชน์
      2. ทำให้ไพ่ที่ถูกปลดปล่อยไม่มีงานทำ จนเป้นปัญหาทางเศรษฐกิจ
      3. พระมหากษัตริย์สูญเสียพระราชอำนาจและผลประโยชน์
      4. ไพร่ที่พ้นสังกัดพากันไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับของต่างชาติ
    29. การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยหลัง พ.ศ ๒๕๐๐ เป็นผลกระทบจากปัจจียต่างๆ ต่างๆ ยกเว้นข้อใด
      1. การที่ประชาชนในเมืองใหญ่เปลี่ยนเป็นพวกวัตถุนิยม
      2. การขยายตัวของชุมขนเมืองอันเนื่องมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม
      3. การผุ้กพันทางการทหารกับสหรัฐอมเริกา เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
      4. นโยบายการขยายการศึกษาภาคบังคับและตั้งมหาวิทยาลัยภูมิภาค
    30. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕
      1. มีการจัดระบบการศึกษาที่ชัดเจนแน่นอน
      2. เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังสามัญชน
      3. มีจุดประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการเป็นหลัก
      4. มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบคือกระทรวงธรรมการ
    31. ข้อใดส่งผลกระทบสำคัญที่สุดต่อการยกเลิกระบบไพร่สมัยรัชกาลที่ ๕
      1. การตั้งกรมเกณฑ์หัดทหารอย่างฝรั่ง
      2. การเปิดที่ดินทำกินใหมม่เพื่อปลูกข้าวไว้ขาย
      3. การสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเมื่อ ร.ศ.๑๑๒
      4. การประกาศพระราชบัญญัติตุลาการศาลรับสั่ง พ.ศ.๒๔๑๗
    32. ไพร่จะเริ่มถูกเกณฑ์แรงงานครั้งแรกเมื่อใด
      1. อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์
      2. อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์
      3. มีความสูงจากเท้าถึงศีรษะสามศอก
      4. มีความสูงจากเท้าถึงไหล่สองศอกคืบ
    33. สังคมไทยสมัยอยุธยาถึงกลางสมัยรัตนโกสินทร์ ใครที่กฏหมายมิได้กำหนดจำนวนศักดินา
      1. ทาส
      2. พระสงฆ์ สามเณร
      3. เจ้าภาษี นายอากร
      4. พระมหากษัตริย์
    34. ข้อใดเรียงลำดับพัฒนาการด้านวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้อง
      1. ตั้งโรงเรียน-ตั้งนามสกุล-ตั้งโรงเรียนวัดมหรรณพาราม
      2. ตั้งโรงพิมพ์-ตั้งโรงเรียนวัดมหรรณพาราม-ตั้งนามสกุล
      3. ตั้งนามสกุล-ตั้งโรงเรียนวัดมหรรณพาราม-ตั้งโรงพิมพ์
      4. ตั้งโรงเรียนวัดมหรรณพาราม-ตั้งโรงพิมพ์-ตั้งนามสกุล
    35. การรับอิทธิพลตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ ๔ – ๕ วัฒนธรรมตะวันตกที่มีผลต่อสังคมไทยอย่างรวดเร็วและมากที่สุดคืออะไร
      1. แนวความคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
      2. การบริหารราชการแบบกระทรวง ทบวง กรม
      3. ภาษาอังกฤษและการศึกษาแบบตะวันตก
      4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    36. ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับมูลนาย ไพร่ไม่ถูกต้อง
      1. ไพร่แม้ทำความดีความชอบมากก็หมดโอกาสเลื่อนฐานะเป็นมูลนาย
      2. ไพร่มีศักดินาแต่กว่า ๑๐-๒๕ ไร่ ส่วนมูลนายตั้งแต่ ๕๐ ไร่ขึ้นไป
      3. ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ส่วนมูลนายไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
      4. มูลนายที่เป็นขุนนางต้องมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป
    37. ข้อใดเป็นผลมาจากพระราชกรณียกิจ การปฏิรูปสังคม ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. กรมศิลปากร
      2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา
      3. พระราชบัญญัติประถมศึกษา
      4. พระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร
    38. ปัจจัยหลักที่ทำให้พระราชกรณียกิจ การแปลงสถานะไพร่ให้เป็นพลเมือง มีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าการเลิกทาส คือข้อใด
      1. จีนอพยพหลังไหลเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้าง
      2. ไพร่เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ
      3. รัฐขาดแคลนแรงงานทหารและรายได้จากภาษีอากร
      4. ทัศนะของตะวันตกถือว่าประเทศที่มีไพร่มากเป็นอนารยประเทศ
    39. การจัดการปฏิรูปการศึกษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขาดการปลูกฝังในเรื่องใด
      1. มัธยัสถ์
      2. ชาตินิยม
      3. ระเบียบวินัย
      4. ประชาธิปไตย
    40. เมืองที่สามารถเติบโตเป็นอาราจักรได้ ต้องมีลักษณะต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด
      1. อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ
      2. มีประชากรจำนวนมาก
      3. มีแนวภูเขาล้อมรอบ
      4. เป็นที่ตั้งของต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์
    41. ทุกข้อต่อไปนี้เป็นพระราโชบายในการดำเนินการกับ ผู้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร ยกเว้นข้อใด
      1. พยายามแบ่งแยกเขตที่อยู่อาศัยของคนต่างถิ่นออกเป็นย่านๆ
      2. พยายามผูกใจคนต่างแดนด้วยการพระราชทานตำแหน่ง ยศศักดิ์ ให้แก่ผู้ทำประโยชน์ใด้
      3. นโยบายควบคุมอำนาจคนต่างถิ่น เช่น การปราบอั้งยี่ชาวจีน
      4. นโยบายผสมกลมกลืนคนต่างถิ่นให้เป็นทองแผ่นเดียวกับคนไทยด้วยวิธีการทำสงคราม
    42. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดระเบียบทางสังคมสมัยใหม่
      1. เกิดกลุ่มคน ๔ กลุ่ม คือนายทุน ข้าราชการ ปัญญาชน ชาวไร่ชาวนานกรรมกร
      2. กรรมกรกลุ่มแรกในสังคมไทย คือชาวไร่ชาวนา
      3. การเลื่อนฐานะขึ้นลงได้ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาและความมั่งคั่งร่ำรวย
      4. เกิดความสัมพันธ์ในระบบธุรกิจแบบใหม่ แต่ยังคงมีอิทธิพลหลงเหลือของระบบอุปถัมภ์และระบบเครือญาติ
    43. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมสมัยจอมพล ป.พิบุลสงคราม
      1. เลิกกินหมากพลู
      2. เลิกใช้ตำราภาษาต่างประเทศ
      3. เลิกบ่อนเบี้ย
      4. เลิกใช้คำราชทินนาม
    44. ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
      1. ยกเลิกราษฏรไทยไม่ต้องหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้า-รัชกาลที่ ๔
      2. ปลุกฝังแนวคิดชาตินิยมในสังคมไทย – รัชกาลที่ ๖
      3. ให้สตรีไว้ผมยาว แต่งตัวตามแบบตะวันตก- รัชกาลที่ ๖
      4. ให้ข้าราชสวมเสื้อเข้าเฝ้า-รัชกาลที่ ๔
    45. ในขณะที่สมัยอยุธยามีระบบศักดินาเกิดขึ้น อยากทราบว่าในขณะนั้นชาวตะวันตกดำเนินนโยบายทางการเมืองแบบใด
        • ก.ฟัิวตัล
        • ข.แม์นเนอร์
        • ค.พาณิชยนิยม
        • ง. สมบูรณาญาสิทธิราช
        • จ.ประชาธิปไตย
      1. ก ข
      2. ก ข ค
      3. ก ข ค ง จ
    46. กลุ่มคำต่อไปนี้ กลุ่มใดเป็นรายได้ของรัฐมาตั้งแต่โบราณจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
      1. ส่วย การค้าสำเภา ภาษีผลผลิต ฤชา
      2. จังกอบ อากรค่านา เบี้ยหวัด เครื่องราชบรรณาการ
      3. แรงงานไพร่ เงินค่าราชการ ภาษีปากเรือ เงินปี
      4. ส่วย จังกอบ ฤชา ภาษีเงินได้
    47. เสด็จขึ้นครองราชย์ในเวลาที่สยามยังล้าหลังที่สุด ไม่มีแม้แต่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง พระองค์สามารถสร้างประเทศให้ทันสมัยโดยมิได้ทำให้ราฏษรเป้นหนี้และเพิ่มภาษีแต่อย่างใดเลย คำกล่าวนี้บอกให้ทราบถึงสภาวะเศรษฐกิจของสมัยใด มีเหตุผลอย่างไร
      1. รัชกาลที่ ๔ เพราะทรงใช้ระบบการค้าเสรีแทนระบบพระคลังสินค้าที่ล้าสมัย
      2. รัชกาลที่ ๔ เพราะทรงอนุญาตให้ส่งข้าวเป้นสินค้าออกได้เป็นครั้งแรกทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
      3. รัชกาลที่ ๕ เพราะทรงจัดระบบการเก็บภาษีอากรวางระเบียบการเงินการพาณิชย์แบบใหม่ได้ผลสำเร็จ
      4. รัชกาลที่ ๕ เพราะทรงเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฏรมีโอกาสหารายได้เพิ่มมากขึ้น
    48. ในประวัติศาสตร์ไทยไม่เคยเสียเอกราชของชาติแต่เราเสียเอกราชทางการศาล ข้อใดอธิบายความที่ขีดเส้นใต้ได้ถูกต้องที่สุด
      1. ไทยต้องยอมให้สิทธิแก่ศาลกงสุลซึ่งจะเป็นผู้คุ้มครองและชำระความคนไทยตามสนธิสัญญา
      2. ศาลไทยสูญเสียสิทธิในการพิจารณาพิพากษาคดีชาวต่างประเทศที่อยู่นอกราชอาณาจักร
      3. ศาลไทยสูญเสียอำนาจในการพิจารณาพิพากาษาคดีชาวต่างประเทศและคนไทยในบังคับของเขาให้กับศาลกงสุล
      4. ศาลไทยอยู่ใต้อำนาจศาลกงสุล จะพิจารณาคดีใดจะต้องได้รับอนุญาตจากศาสลกงสุลทุกคราวไป
    49. เหตุใดพระคลังสินค้าในสมั้ยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงถูกยกเลิกลงอย่างสิ้นเชิง
      1. เพราะทำการค้าขาดทุนเกินกว่าจะดำเนินการต่อไปได้
      2. เพราะรัฐบาลเห็นว่าควรยกเลิกนโยบายผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ
      3. เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้มีการค้าขาอย่างเสรี
      4. เพราะผลของสัญญาเบาริงที่ไทยได้ตกลงกับอังกฤษ
    50. ทำไมร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๔๗๕ จีงไม่มีการประกาศใช้
      1. เพราะถูกหาว่ามีแนวโน้มเป็นสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์
      2. เพราะมุ่งปฏิวัติการกสิกรรมมกกว่าการอุตสาหกรรม จึงผิดเป้าหมายของคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง
      3. เพราะจะเป็นสาเหตุแห่งการแตกแยก
      4. เพราะแพ้คะแนนเสียงในคณะรัฐมนตรี

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. ข้อใดเป็นประกาศที่แสดงถึงสิทธิมนุษยชนปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
      1. หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ.๑๘๓๕
      2. กฎหมายว่าด้วยที่บ้านที่สวนไร่นา พ.ศ.๑๙๐๓ ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง
      3. พระราชบัญญัติลักษณะลักพา พ.ศ.๒๔๐๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔
      4. รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๗
    2. ชื่อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งยศ ตำแหน่ง ศักดินา ราชทินนามในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
      1. เพื่อจำแนกความรับผิดชอบ สิทธิ และผลประโยชน์ต่างๆ ของระบบราชการในสมัยโบราณ
      2. เพื่อจำแนกชนชั้น วรรณะ ฐานะทางสังคมอย่างเด็ดขาดในระบบสังคมโบราณ
      3. เพื่อจำแนกตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ของระบบราชการสมัยโบราณ
      4. เพื่อเป็นรางวัลพระราชทานแก่ผู้ที่รับใช้พระมหากษัตริย์แทนการให้เงินเดือนประจำ
    3. ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านการจัดการศึกษาของชาติ
      1. ทรงออก พ.ร.บ.ประถมศึกษาเพื่อให้ราษฏรทุกคนมีการศึกษาอย่างน้อยชั้นประถมศึกษา
      2. ทรงริเริ่มจัดการศึกษาสำหรับสตรีทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด
      3. ทรงออก พ.ร.บ.โรงเรียนราษฏรเพื่อควบคุม ร.ร.เอกชนให้ได้มาตรฐานเท่า ร.ร.รัฐบาล
      4. ทรงขยายการศึกษาชั้นอุดมศึกษาสำหรับประชาชนโดยสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรก
    4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายบางอย่างที่เห็นว่าล้าหลัง อยากทราบว่าการยกเลิกข้อใดที่ชาวตะวันตกเห็นชอบด้วยมากที่สุด
      1. การหมอบคลาน
      2. จารีตนครบาล
      3. การไม่สวมเสื้อเข้าเฝ้า
      4. ระบบไพร่
    5. แต่เดิมการศึกษาของคนไทยไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆ ที่แน่นอน และทางการก็มิได้เข้ามาดำเนินการหรือเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ต่อมามีชาวต่างประเทศเข้ามาริเริ่มวางรากฐานเกี่ยวกับการศึกษาแผนใหม่ อยากทราบว่าเป็นบุคคลคณะใด
      1. คณะผู้สอนศาสนานิกายโปรแตสแตนท์
      2. คณะผู้สอนศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
      3. คณะผู้สอนศาสนานิกายบัพติสต์
      4. สมาคมศาสนาคณะอเมริกันบอร์ด
    6. ทำไมในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มุ่งการาสร้างรถไฟมากมาย ทั้งๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องกู้เงินจากต่างชาติมา
      1. เพราะอังกฤษเสนอเงินให้กู้โดยคิดดอกเบี้ยต่ำมาก
      2. ต้องการแก้ปัญหาเรื่องคนว่างงานเพราะขณะนั้นกำลังอยู่ในระยะปลดปล่อยทาส
      3. เพราะเป็นการพัฒนาการคมนาคมที่สำคัญที่สุดในตอนนั้น
      4. เพราะต้องการใช้ควบคุมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไป
    7. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายดำได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ไม่ต้องสังกัดมูลนายและไม่ต้องเข้าเวรทำงานกับมูลนาย อยากทราบว่าในครั้งนั้น นายดำได้รับการปลดปล่อยจากสภาพอะไร
      1. ได้รับการปลดปล่อยจากความเป็นไพร่
      2. ได้รับปลดปล่อยจากทาสเชลย
      3. ได้รับการปลอดปล่อยจากทาสในเรือนเบี้ย
      4. ได้รับการปลดปล่อยจากทาสสินไถ่
    8. สิ่งที่ไพร่ให้หลวงแทนแรงงานของตนเรียกว่าอะไร
      1. ฤชา
      2. อากร
      3. จังกอบ
      4. ส่วย
    9. การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจุดมุ่งหมายแรกเริ่มอย่างไร
      1. ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป
      2. สร้างบุคคลเข้ารับราชการ
      3. ให้การศึกษาแก่พระบรมวงศานุวงศ์
      4. เอาใจชาวต่างประเทศ
    10. เงินศึกษาพลี ที่ชาวไทยต้องเสียให้รัฐตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔ หมายถึง
      1. ค่าเล่าเรียนแต่ละภาคการศึกษา
      2. ค่าปรับเพราะปล่อยให้บุตรอายุเลยเกณฑ์
      3. ค่าลงทะเบียนแรกรับเข้าศึกษา
      4. เงินอุดหนุนการศึกษาตามแต่ท้องที่จะกำหนด
    11. อุบาลีวงศ์ หมายถึงอะไร
      1. พระสงฆ์ไทยที่ไดรับการอุปสมบทในประเทศไทย
      2. พระสงฆ์ลังกาที่ได้รับการอุปสมบทจากคณะสงฆ์ไทยในลังกา
      3. พระสงฆ์ไทยที่ได้รับการอุปสมบทในลังกา
      4. พระสงฆ์ไทยที่ได้รับการอุปสมบทในอินเดีย
    12. ทรงมหาดไทย เป็นชื่ออะไร
      1. การแต่งกายของชาวไทยสมัยรัตนโกสินทร์
      2. การไว้ผมจุกของเด็กไทย
      3. พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์
      4. ทรงผมของชาวไทย
    13. การกำหนดให้ประชาชนมีคำนำหน้าชื่อว่านาย นางสาวและนาง เริ่มมีขึ้นในรัชสมัยใด
      1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
      4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    14. ข้อใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กัน
      1. พุทธศาสนามหายาน – ลัทธลังกาวงศ์
      2. พระบรมไตรโลกนาถ – พระอุบาลีมหาเถระ
      3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว – อรรถกถา พระไตรปิฏก
      4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว – มหาธาตุวิทยาลัย
    15. การจัดระบบการศึกษาสมัยใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอุปสรรคต่างๆ มากมาย ข้อใดที่ผิด
      1. ไม่มีครูสอน
      2. ราษฏรไม่ยอมส่งบุตรหลานเข้าเรียนพราะไม่เห็นประโยชน์
      3. ฝรั่งไม่ให้การสนับสนุน
      4. ราษฏรไม่อยากให้ลูกไปเป็นทหาร
    16. เพื่อให้การศึกษาแพร่หลายสู่ประชาชนมากขึ้น ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวางระเบียบการปกครองโรงเรียนราษฏรทั่วราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยใด
      1. รัชกาลที่ ๕
      2. รัชกาลที่ ๖
      3. รัชกาลที่ ๗
      4. รัชกาลที่ ๘
    17. เหตุผลในการยกเลิกยศถาบรรดาศักดิ์ของข้าราชการคืออะไร
      1. รัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศเลิกทาส
      2. เพื่อทำประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก
      3. ระบบเจ้าขุนมูลนายได้ถูฏยกเลิกไปแล้ว
      4. บุคคลย่อมมีความเสมอภาคทางกฏหมาย
    18. ความเป็นเจ้าในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสิ้นสุดลงเมื่อใด
      1. สมรสกับสามัญชน
      2. ตาย
      3. บวช
      4. ทำศึกสงครามพ่ายแพ้
    19. ถ้าท่านเป็นไพร่หลวงในสมัยรัชกาลที่ ๒ พันธะของท่านที่พึงมีต่อรัฐคืออะไร
      1. เมื่ออายุ ๑๘ ปีขึ้นทะเบียนกับมูลนายเป็นไพร่สม ๒ ปีแล้วจึงขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวง
      2. เข้าเวรทำงานให้หลวง ๑ เดือน และออกเวรมาประกอบกิจการส่วนตัว ๓ เดือน
      3. เสียเงินผูกปี้ให้รัฐบาล ๓ ปีครึ่ง
      4. เข้าเวรทำงานให้หลวง ๑ เดือน และออกเวรมาประกอบกิจการส่วนตัว ๑ เดือน
    20. เอกสารของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาฉบับใดที่ท่านติดว่าเอื้ออำนวยต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากที่สุด
      1. ประกาศจัดตั้งกรมศึกษาธิการ พ.ศ.๒๔๓๐
      2. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔
      3. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๗๕
      4. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๔๗๙
    21. การรวบรวมและสังคายนาพระไตรปิฏก รวมทั้งการปฏิรูปคณะสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จะก่อให้เกิดผลดีต่อการปกครองอาณาจักรในแง่ใดมากที่สุด
      1. ฝ่ายอาณาจักรสามารถควบคุมศาสนจักรไว้ในอำนาจได้มั่นคง
      2. เป็นการเสริมสร้างพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ได้
      3. ช่วยจรรโลงไว้ซึ่งศีลธรรมของสังคมโดยส่วนรวม
      4. แสดงให้เห็นหถึงความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์มากขึ้น
    22. การที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏได้ทรงวางระเบียบปฏิบัติตั้งพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นมานั้น ก่อให้เกิดผลต่อวงการพระพุทธศาสนาของไทยอย่างไร
      1. พระสงฆ์ธรรมยุติได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
      2. ชายไทยบวชเป็นพระภิกษุในมหานิกายน้อยกว่าเดิม
      3. เกิดการปรับปรุงข้อวัตรปฏิบัติให้รัดกุมยิ่งขึ้นในหมู่สงฆ์มหานิกาย
      4. เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงระหว่างสงฆ์ธรรมยุติกนิกายและมหานิกาย
    23. การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชประสงค์ในตอนเริ่มแรกนั้น ก่อให้เกิดค่านิยมของคนไทยในยุคหลังอย่างไร
      1. ทุกสิ่งเป็นของตะวันตกย่อมมีคุณค่าทั้งหมด
      2. เรียนรู้เพื่อประกอบอีพค้าขายได้ดีที่สุด
      3. การรับราชการทหารเป็นอาชีพที่มีโอกาสดีกว่าอาชีพอื่น
      4. การรับราชการเ็ป็นอาชีพที่มีเกียรติสูงสุด
    24. เหตุผลที่สำคัญที่สุดของการตรากฏหมายไอยการตำแกหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมืองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนากคือข้อใด
      1. เป็นการแบ่งบุคคลในสังคมออกเป็น ๒ ชนชั้่นใหญ่ๆ คือชนชั้นปกครองและชนชั้นที่ถูกปกครอง
      2. เป็นการแบ่งสถานภาพของบุคคลตามฐานะกำเนิดและตำแหน่งหน้าที่การงาน
      3. เป็นการควบคุมคนโดยผ่านกรมกอง มีผลทำให้มีไพร่ ๓ ประเภท คือ ไพร่สม ไพร่หลวง และไพร่ส่วย
      4. เป็นการยุบอำนาจของเจ้าเมืองลูกหลวงไม่ให้มีโอกาสทำการปราบดาภิเษก
    25. สังคมไทยสมัยอยุธยาถึง พ.ศ.๒๔๗๕ ใช้เกณฑ์ใดโดยแบ่งขุนนางออกจากไพร่อย่างชัดเจน
      1. บรรดาศักดิ์หรือยศตั้งแต่ขุนนางขึ้นไป
      2. ตำแหน่งตั้งแต่นายหมวดหรือเทียบเท่าขึ้นไป
      3. ศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป
      4. อภิสิทธิ์คือไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
    26. การสร้างระบบมูลนาย ไพร่ ในสังคมไทยสมัยศักดินาในระยะเริ่มแรกมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่ออะไร
      1. ควบคุมมูลนายมิให้มีไพร่มากเพราะถ้ามีมากอาจจะเป็นกบฏต่อกษัตริย์ได้
      2. รัฐบาลจะได้จัดเก็บภาษีและควบคุมแรงงานไพร่อย่างมีระบบ
      3. เกณฑ์คนออกรบในเวลาสงครามและเกณฑ์ไพร่มาใช้ในราชการในเวลาปกติ
      4. ควบคุมการเคลื่อนไหวของไพร่และมูลนายมิให้เ็ป็นกบฏและขณะเดียวกันก็สะดวกรวดเร็วเลาเกณฑ์พวกนี้ออกรบ
    27. ข้อใดไม่ถูกต้อง เมื่อมีการยกเลิกระบบไพร่และทาสในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. เกิดแรงงานอิสระที่สามารถประกอบอาชีพได้ตามความพอใจ
      2. มูลนายไม่ต้องรับภาระในการคุ้มครองไพร่และทาสอีกต่อไป
      3. การประกาศใช้พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร พ.ศ.๒๔๔๘
      4. เกิดปัญญาการขาดแคลนแรงงาน
    28. เครื่องวัดหน้าที่ความรับผิดขอบของคนไทยในสังคมเก่าคือ
      1. ยศ
      2. ตำแหน่ง
      3. การถือศักดินา
      4. บรรดาศักดิ์
    29. การยกเลิกระบบไพร่มีผลต่อพระมหากษัตริย์อย่างไร
      1. อำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์เพิ่มมากขึ้น
      2. ขุนนางท้าทายอำนาจพระมหากษัตริย์มากขึ้น
      3. พระมหากษัตริย์ขาดแรงงานจากไพร่
      4. อำนาจพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง
    30. ข้อใดไม่เกี่ยว้องกับบทบาทของไพร่ในระบบสังคมไทย
      1. เสริมอำนาจการเมืองของชนชั้นปกครอง
      2. เสริมฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
      3. ตอบแทนการให้ความคุ้มครองของชนชั้นปกครองโดยการทำงาน
      4. เป็นผู้ประสานประโยชน์ระหว่างฝ่ายปกครองส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
    31. งานโยธาในสมัยอยุธยา เช่น ขุดคลอง สร้างถนน สร้างกำแพงเมือง ส่วนใหญ่รัฐบาลได้แรงงานมาอย่างไร
      1. เกณฑ์แรงงานเชลยศึกและทาส
      2. เกณฑ์แรงงานไพร่สมและไพร่ส่วย
      3. เกณฑ์แรงงงานไพร่หลวง
      4. จ้างแรงงานชาวจีน
    32. ข้อใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ถูกต้องที่สุด
      1. กษัตริย์ทรงมีฐานะสูงสุดเพราะทรงเป็ฯเจ้าของที่ดินทั้งหมด พระราชวงศ์ขันนางและไพร่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินต้องเสียค่าเช่าในรูปอากรค่านา
      2. กษัตริย์ทรงมีฐานะสูงสุดเพราะทรงครอบครองแรงงานทั้งหมด พระราชวงศ์ ขันนางและไพร่เป็นข้าราชการทำหน้าที่รับใช้กษัตริย์โดยได้รับเบี้ยหวัด
      3. ชนชั้นสูงคือ กษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางครอบครองปัจจัยการผลิตคือที่ดินและแรงงานและได้รับประโยชน์จากภาษีอากรและการค้า ชนชั้นค่ำคือไพร่ทำการผลิตแบบพอยังชีพและเสียภาษีอากร
      4. ชนชั้นสูงคือกษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง มีรายได้หลักจากการค้า ชนชั้นต่ำคือไพร่ซึ่งใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
    33. เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญที่สุดของไทย
      1. การยกเลิกระบบศักดินา
      2. ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่  ๒
      3. การปฏิรูปการศึกษาสมัยรัชกาลที่ ๕
      4. การยกเลิกระบบไพร่และทาสสมัยรัชกาลที่ ๕
    34. ระบบศักดินาของไทยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้
      1. สิทธิในการครอบครองที่ดิน
      2. ความรับผิดชอบของคนในสังคม
      3. กหนดอาชีพของคนในสังคม
      4. กำหนดชนชั้น ฐานะของคนในสังคม
    35. ธรรมเนียมสร้างบ้านแปลงเมืองของชนชั้นผู้ปกครองรัฐบาลไทยในอดีตมีเหตุผลสำคัญอย่างไร
      1. ไ้ด้รับอิทธิพลการปกคอรงจากขอมในด้านการจัดรูปแบบเมือง
      2. เป็นกลไกสำหรับถ่ายเทกำลังคน เพื่อเป็นแรงงานในการผลิต
      3. เป็นกลไกในการขยายอำนาจ และสร้างความสัมพันธ์ในหมู่ผู้ปกครอง
      4. เพื่อกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่นต่างๆ ออกเป็นหัวเมืองในลำดับขั้นต่างๆ
    36. รัฐศักดินาไดทยให้ประชาชนบุกเบิกที่ดินเพื่อทำกินโดยหวังผลตอบแทนในลักษณะใด
      1. เสียภาษีในการรับรองมรดกที่ดิน
      2. ดูแลที่ดินไม่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า
      3. ถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อรับใช้มูลนาย
      4. ส่งส่วยผลผลิตในที่ดินให้แก่มูลนาย
    37. แท่นพิมพ์ที่หมอบรัดเลย์นำมาในสม้ัยรัชกาลที่ 3 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างไร
      1. มีการประดิษฐ์ตัวอพิมพ์อักษรไทยขึ้นใช้เ็ป็นครั้งแรก
      2. เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์
      3. ชนชั้นกลางหันมาสนใจในการแต่งและเขียนหนังสือกันมากขึ้น
      4. ประชาชนมีโอกาสเลือกซื้อหนังสืออ่านได้ในราคาถูก
    38. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิรูปสังคมไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา
      1. กลุ่มขุนนางและเจ้านายมีความคิดก้าวหน้า
      2. การยกเลิกระบบไพร่และทาส
      3. การนำระบบการศึกษาแบบตะวันตกมาใช้
      4. การคุกคามและแผ่อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก
    39. การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
      1. สร้างคนให้มีศีลธรรมอันดี
      2. ให้คนสามารถปรบตัวได้ในสังคม
      3. ให้คนมีความรู้ความสามารถเพื่อรับใช้รัฐ
      4. ลดปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชนชั้น
    40. เมื่อเข้าสู่ระบบทุนนิยมสังคมไทยมีลักษณะใดเป็นพิเศษ
      1. ชนชั้นสูงเป็นผู้ร่วมลงทุนและอาศัยตำแหน่งหน้าที่
      2. รัฐแข่งขันกับชนชั้นกลางในการลงทุนภาคเกษตรกรรม
      3. รัฐส่งเสริมด้านการตลาดและสนับสนุนกลุ่มพ่อค้ารายย่อย
      4. เกิดการขาดแคลนแรงงานและจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
    41. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดระเบียบสังคมและการปกครองขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความสะดวกในเรื่องใด
      1. การควบคุมเมืองลูกหลวง
      2. การเรียกเกณฑ์แรงงาน
      3. การจัดเก็ฐภาษี
      4. การปกป้องเขตแดน
    42. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการประกาศเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. ออกกฏหมายให้ผู้ที่จะนำลูกเมียมาขายเป็นทาสต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัวก่อน
      2. ออกกฏหมายให้ลูกทาสลูกไทที่เกิดใน พ.ศ.๒๔๑๑ เป็ฯอิสระเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี
      3. ออกกฏหมายให้ทาสทุกประเภทเป็นอิสระในปีที่พระองค์บรรลุนิติภาวะ
      4. ออกกฏหมายลดค่าตัวทาสสินไถ่ลงเดือนละ ๔ บาท เพือ่ให้ทาสเป็นอิสระเร็วขึ้น
    43. ข้อใดแสดงให้เห็นเด่นชัดถึงจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ความเป็นสังคมสมัยใหม่ในสม้ัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. การจัดตั้งกองทหารขึ้น
      2. การเปิดโอกาสให้สามัญชนได้ศึกษาเล่าเรียน
      3. การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจตะวันตก
      4. การเปลี่ยนฐานะของไพร่สมและทาสมาเป็นสามัญชน
    44. บทบาทใดถือว่าสำคัญที่สุดของชนชั้นมูลนายในสมัยอยุธยา
      1. การเก็บภาษี
      2. การถือครองที่ดิน
      3. การพิพากษาคดี
      4. การควบคุมกำลังคน
    45. การเปลี่ยนแปลงในด้านใดต่อไปนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. ธรรมยุติกนิกาย
      2. ระบบเจ้าภาษีนายอากร
      3. สงครามระหว่างไทยกับเวียดนาม
      4. ลดเวลาการเกฑณ์แรงานไพร่หลวงเหลือปีละ ๓ เดือน
    46. การดำเนินการใดที่ก่อให้เกิดผลต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      1. การเลิกทาส
      2. การเลืกไพร่
      3. การเลิกบ่อนเบี้ย
      4. การตั้งโรงเรียน
    47. ข้อใดตรงกับวัตถุประสงค์เบื่้องต้นของการจัดระบบไพร่
      1. ต้องการแรงงาน
      2. ต้องการภาษี
      3. ต้องการเสริมอำนาจบารมี
      4. ต้องการคนมาเข้าเวรรับราชการ
    48. เพราะเหตุใดความแตกต่างทางชนชั้นในสังคมไทยโบราณ จึงไม่เป็นปัญหาขัดแย้งรุนแรง
      1. อิืทธิพลของพุทธศาสนา
      2. อิทธิพลของระบบศักดินา
      3. อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์
      4. อิทธิพลของความเมตตา กตัญญูระหว่างผู้ใหญ่ ผู้น้อย
    49. ข้อใดที่จัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมไทยโบราณเป็นสังคมสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
      1. ไพร่และทาสส่วนใหญ่เปลี่ยนฐานะมาเป็นชาวไร่ชาวนา
      2. บรรดาเจ้าและขุนนางเปลี่ยนฐานะมาเป็นพ่อค้านายทุน
      3. ชาวไร่ชาวนาละทิ้งที่นาของตนเปลี่ยนฐานะมาเป็นกรรมกร
      4. ชาวนาตกเป็นลูกหนี้เพราะรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย
    50. สิทธิเกี่ยวกับไพร่ข้อใดไม่ถูกต้อง
      1. ถือครองศักดินาไม่ได้
      2. เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการได้
      3. โยกย้ายกรมกองสังกัดไม่ได้
      4. จับจองกรรมสิทธิที่ดินไม่ได้

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    การเมืองการปกครองหลัง พ.ศ. 2475 

    1. กบฏบวรเดชมีพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นผู้นำ แต่ถูกปราบปรามโดยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้สำเร็จ 
    2. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำแนวคิดการปกครองแบบพ่อปกครองลูกมาประยุกต์ใช้ ให้ความสำคัญแก่ พ่อขุน ในฐานะผุ้นำที่มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ข้าราชการและประชาชนเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายของผุ้นำหรือพ่อขุน
    3. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มาจากการต่อต้าน พอเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีที่ไมได้มาจากการเลือกตั้ง  ซึ่งเป็นผู้กล่าวคำว่า เสียสัตย์เพื่อชาติ 
    4. เหตุผลที่ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลินยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือ
    • รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรทุจริตคอรัปชั่น
    • รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณมิได้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ปล่อยให้มีการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

    สังคมและวัฒนธรรมไทย 

    วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากจีน และอินเดีย ได้แก่

    • อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียต่อวัฒนธรรมไทย
      • การเมืองการปกครอง
      • ศาสนาและพิธีกรรม
      • ภาษาและวรรณคดี
    • อิทธิพลของวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทย
      • ศิลปกรรม ซึ่งเฟื่องฟูมากสมัยรัชกาลที่ 3
      • ภาษาและวรรณกรรม เช่น เรื่องสามก๊ก
      • ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่น ไหว้เจ้า

    ศิลปสมัยศรีวิชัยที่สำคัญได้แก่ 

    • ลักษณะศิลปะ  เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ฮินดูและพุทธมหายาน
    • ผลงานศิลปะ ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ที่สำคัญ คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ปฏิมากรรม) และพระบรมธาตุไชยา (สถาปัตยกรรม)

    ศิลปสมัยเชียงแสน

    • ลักษณะศิลปะ เกียวข้องกับพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งเป็นไทยแท้ นิยมสร้างเจดีย์ทรงระฆัง
    • ผลงานศิลปะ เช่น เจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

    ศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย

    • ลักษณะศิลปะ มีลักษณะเด่น ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของศิลปะไทย
    • สถาปัตยกรรม นิยมสร้างเจดีย์ 2 แบบ คือ เจดีย์ทรงลังกา หรือทรงระฆัง  และเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัว
    • วรรณกรรมที่สำคัญ คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 และ 2  ไตรภูมิพระร่วง

    ศิลปสมัยอยุธยา 

    • ลักษณะศิลปะ  เป็นศิลปะไทยแท้เนื่องในศาสนาพุทธเถรวาท
    • สถาปัตยกรรม
      • บ้าน มี 2 แบบ คือ เรือนเครื่องผูก และเรือนเครื่องสับ
      • เจดีย์มี 2 แบบ คือ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และทรงลังกา
    • วรรณกรรม เป็นยุคเฟื่องฟู โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมไทย

    ศิลปวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

    • สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นยุคทองแห่งวรรณคดี กวีที่สำคัญ ได้แก่ สุนทรภู่ นิราศภูเขาทองได้รับการยกย่องว่า เป็นยอดแห่งคำประพันธ์ประเภทนิราศ
    • สมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับอิทธิพลของศิลปจีน  โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมโบสถ์ วิหาร
    • พระปรางค์ของวัดอรุณราชวราราม  ได้รับการยกย่องว่าสวยงามเป็นแบบฉบับของศิลปวัฒนธรรมโกสินทร์ตอนต้น
    • เป็นศิลปกรรมที่เนื่องด้วยพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่

    ศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475

    • พระภิกษุขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรไทยคนแรก มีการเขียนภาพแบบมีระยะใกล้ไกลแบบสามมิติ 
    • นาฏศิลป์ ได้รับอิทธิพลการแสดงแบบตะวันตก เช่น ละครดึกดำบรรพ์ (คอนเสิร์ตและโอเปรา)
    • พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งได้รับการยกย่องในด้านการประยุกต์ศิลปะไทยและตะวันตก
    • อาคารที่เป็นแบบตะวันตกแท้ๆ คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. โครงสร้างของวัฒนธรรมไทยมีลักษณะดังนี้
      1. เป็นศิลปวัฒนธรรมเพื่อศาสนาและพิธีกรรม
      2. เป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีครวามเป็ฯเอกลักษณ์ของตนเอง ผสมผานชนหลายชาติ หล่อหลอมให้เกิดเป็นไทย
      3. เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ชนชั้นสูงของสังคมเป็นผู้ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ ผสมความเป็นไทย แล้วแพร่หลายสู่สามัญชน ขณะที่่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านก็พัฒนาตอบสนองความต้องการของชุมชน
      4. ศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม คือ วัด และวัง
    2. บ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรมไทยได้แก่อะไร
      1. ศาสนา
      2. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
      3. อาชีพเกษตรกรรม
      4. ค่านิยม
      5. การรับวัฒนธรรมของสังคมอื่น
    3. อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่อะไรบ้าง
      1. การเมืองการปกครอง
      2. ศาสนาและพิธีกรรม
      3. ภาษาและวรรณคดี
    4. อิทธิพลของวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่อะไรบ้าง
      1. ศิลปกรรม ซึ่งเฟื่องฟูมากสมัยรัชกาลที่ 3
      2. ภาษาและวรรณกรรม เช่น เรื่องสามก๊ก
      3. ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่น ไหว้เจ้า
    5. อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ (สากล) ต่อวัฒนธรรมไทยปัจจุบันได้แก่อะไร
      1. การศึกษา
      2. การเมืองการปกครอง
      3. เศรษฐกิจ
      4. สังคมและวิถีชีวิต
    6. แนวทางปฏิบัติเพื่อเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติที่เป็นสากลเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้แก่อะไรบ้าง
      1. ยอมรับความแตกต่างและการเปลียนแปลงของวัฒนธรรม
      2. ศึกษาและเรียนรู้ให้เท่าทันวัฒนธรรมสากล
      3. เลือกรับวัฒนธรรมที่เป็นประโยชน์
      4. เลือกรับโดยผสมผสานให้สมดุลเหมาะสมกับวิถีไทย
      5. มีหน่วยงานเฝ้าระวังดูแล
      6. เลือกรับวัฒนธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
    7. การแบ่งยุคสมัยของศิลปวัฒนธรรมไทยมีกี่ยุคอะไรบ้าง
      1. ก่อนประวัติศาสตร์
      2. สมัยประวัติศาสตร์
    8. ผลงานชิ้นเอกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่อะไร
      • หม้อลายเขียนสีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
      • ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
      • โครงกระดูกและภาชนะเครื่องปั่้นดินเผา ต.บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
    9. จงอธิบายศิลปสมัยศรีวิชัย
      • ลักษณะศิลปะ  เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ฮินดูและพุทธมหายาน
      • ผลงานศิลปะ เป็นเทวรูปและพระพุทธรูปที่ได้รับจากอินเดีย ที่สำคัญ คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระบรมธาตุไชยา
    10. จงอธิบายศิลปสมัยทวารวดี
      • ลักษณะศิลปะ เกี่ยวกับพุทธนิกายเถรวาท ทำด้วยศิลาหรือปูนปั้นดินเผาและสำริด พระพักตร์เหมือนชาวพื้นเมือง ไม่สะสวย
      • ผลงานศิลปะ เจดีย์จุลประโทน จ.นครปฐม  ธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูปปางต่างๆ ทำด้วยศิลาขนาดใหญ่
    11. จงอธิบายศิลปสมัยลพบุรี
      • ลักษณะศิลปะ ได้รับอิทธิพลจากขอม เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ ฮินดูและพุทธมหายาน สถาปัตยกรรมนิยมใช้หินทราย อิฐ และศิลาแลงสร้างเป็นปราสาทหินขนาดใหญ  ประติมากรรมใช้ทั้งศิลาและสำริด ลักษณะพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยมค่อนข้างดุดัน
      • ผลงานศืลปะ เช่น พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี พระพุทธรูปศิลาและสำริด นิยมสร้างปางมารวิชัย สมาธิ นาคปรก และเทวรูปของพระวิษณุ พระอิศวร พระพรหม
    12. จงอธิบายศิลปสมัยเชียงแสน
      • ลักษณะศิลปะ เกียวข้องกับพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งเป็นไทยแท้ นิยมสร้างเจดีย์ทรงระฆัง  พระพุทธรูปเชียงแสนสวยงามมาก พระพักตร์กลมอิ่ม พระวรกายอ้วนล้ำสัน พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม
      • ผลงานศิลปะ เช่น เจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
    13. จงอธิบายศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยถึงรัชกาลที่ 3
      • ลักษณะศิลปะ มีลักษณะเด่น ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของศิลปะไทย
      • สถาปัตยกรรม นิยมสร้างเจดีย์ 2 แบบ คือ เจดีย์ทรงลังกา หรือทรงระฆัง  และเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัว ได้แก่ วัดมหาธาตุกลางเมืองเก่าสุโขทัย  วัดพระพายหลวงและวิหารวัดศรีชุม
      • วรรณกรรมที่สำคัญ คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 และ 2  ไตรภูมิพระร่วง
    14. จงอธิบายศิลปสมัยอู่ทอง
      • ลักษณะศิลปะ  ได้รับอิทธิพลของศิลปจากแหล่งต่างๆ ผสมผสานกัน เช่น ทวารวดี เขมร ลพบุรและสุโขทัย
      • ผลงานศิลปะ พบประติมากรรมพระพุทธรูป พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบเขมร แต่มีความเป็นไทยแฝงอยุ่ ทรวดทรงแข็งแบบเขมร ฐานของพระพุทธรูปมักทำเป็นแอ่งท้องสำเภา พระพุทธรุูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จ.อยุธยา
    15. จงอธิบายศิลปสมัยอยุธยา ศูนย์กลางอยู่ัจ.พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และเพชรบุรี 
      • ลักษณะศิลปะ  เป็นศิลปะไทยแท้เนื่องในศาสนาพุทธเถรวาท
      • สถาปัตยกรรม
        • บ้าน มี 2 แบบ คือ เรือนเครื่องผูก และเรือนเครื่องสับ
        • เจดีย์มี 2 แบบ คือ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และทรงลังกา
        • พระปรางค์ ดัดแปลงมาจากปราสาทหินของเขมร เช่น พระปรางค์วัดพระราม วัดราชบูรณะและวัดไชยวัฒนาราม
      • ประติมากรรม นิยมสร้างพระพุทธรุปด้วยสำริด พระพักตร์แบบไทย รัศมีเปลวเพลิง นิยมสร้างแบบทรงเครื่องเหมือนเทวดา ที่สำคัญได้แก่ พระประธานตามวัด เช่น วัดพระมงคลบพิตร วัดหน้าพระเมรุ (ทรงเครื่องใหญ่ที่สุด)
      • จิตรกรรม นิยมเรื่องพุทธประวัติ โดยเฉพาะทศชาติ ใช้สีเพียงแดง ขาว เหลือง เขียวและดำ
      • วรรณกรรม เป็นยุคเฟื่องฟู โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมไทย
      • นาฏศิลป์ ที่สำคัญได้แก่  หนังใหญ่ หนังตะลุง นิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์
    16. จงเปรีบบเทียบวรรณกรรมของอยุธยาในแต่ละสมัย
      1. ตอนต้น มีลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่งในสมัยพระเจ้าอู่ทอง  พระบรมไตรโลกนาถ ได้แก่ มหาชาติคำหลวง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ
      2. ตอนปลาง มีกาพย์มหาชาติสมัยพระเจ้าทรงะรรม  สมัยพระนารายณ์ได้แก่ อนิรุทธคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ โครงทวาทศมาส กวีสำคัญ คือ ศรีปราชญ์ ในสมัยนี้มีบทเรียนเล่มแรก คือ จินดามณี
      3. ตอนปลาย  ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีอิเหนา  กวีสำคัญ คือ เจ้าฟัากุ้ง หรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ แต่งนันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
    17. จงอธิบายศิลปวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
      • ลักษณะทั่วไป
        • สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นยุคของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยที่ถูกทำลายมาตั้งแต่อยุธยา
        • สมัยรัชกาลที่ 2-3 เป็นยุคของการสร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัมนธรรมไทยมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ยังได้รับอิทธิพลจากอยุธยาและสุโขทัย
        • สมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับอิทธิพลของศิลปจีน  โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมโบสถ์ วิหาร
        • เป็นศิลปกรรมที่เนื่องด้วยพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
      • สถาปัตยกรรม การสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ 1-2 ส่วนใหญ่เป็นการบูรณะวัดเก่าๆ วัดที่สร้างและบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดสุวรรณาราม วัดพระเชตุพน (วัดประจำรัชกาลที่ 1)
      • ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงบูรณะวัดอรุณราชวราราม สร้างองค์ปรางค์ของวัดในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการยกย่องว่าสวยงามเป็นแบบฉบับของศิลปวัฒนธรรมโกสินทร์ตอนต้น
      • สมัยรัชกาลที่ 3 มีการสร้างและบูรณะวัดมากที่สุดกว่า 50 วัด วัดที่สร้างได้แก่ วัดราชโอรส วัดเทพธิดา วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ  มีการบูรณะวัดพระเชตุพน ฯ ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก มีการสร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดา และเจดีย์สำเภา วัดยานนาวา
      • ประติมากรรม เลียนแบบอยุธยา เช่น การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ถ้าเป็นพระประธานในวัดนิยมสร้างฐานชุกชีสูงๆ ปิดทองเหลืองอร่าม
      • จิตรกรรม เลียนแบบอยุธยา มีลักษณะเด่น ช่างเขียนและวาดด้วยความมั่นใจโดยไม่ร่าง ใช้สีหลายสี อาจใช้สีทองคำเปลววาดตัดเส้นตัวเอกเด่นของภาพ เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และไตรภูมิพระร่วง
      • นาฏศิลป์ส่วนใหญ่ สืบทอดจากอยุธยา ลักษณะคำประพันธ์ที่นิยมมาก คือ นิราศ และกลอนแปด กวีที่สำคัญคือ สุนทรภู่ ซึ่งนิราศภูเขาทองได้รับการยกย่องว่า เป็นยอดแห่งคำประพันธ์ประเภทนิราศ
    18. จงอธิบายศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475
      • ลักษณะทั่วไป
        • เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ไทยได้รับการผสมผสานจากตะวันตก
        • เป็นวัฒนธรรมสมัยใหม่ คือ ไม่ได้มีความเชื่อมาจากพิ้นฐานทางศาสนา เ้น้นความสำคัญของมนุษย์และชีวิตอย่างเด่นชัด
      • สถาปัตยกรรม
        • นิยมสร้างแบบบตะวันตกประยุกต์แบบไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชวังสราณรมย์ (กรุงเทพ) และพระนครคิริที่เขาวัง จ.เพชรบุรี
        • ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม มหาดไทย พระราชวังบางปะอิน อยุธยา ซึ่งเลียนแบบพระราชวังแวร์ซายส์  พระราชวังสวนดุสิต  พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งวิมานเมฆ  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งได้รับการยกย่องในด้านการประยุกต์ศิลปะไทยและตะวันตก ด้วยอาคารที่เป็นแบบตะวันตกแท้ๆ คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม
        • สมัยรัชกาลที่ 6 ได้แก่ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬา (ผสมไทย เขมร และตะวันตก)
        • สมัยรัชกาลที่ 7 ได้แก่ พระราชวังไกลกังวล จ.ประจวบ
        • วัดที่สำคัญสมัยรัชกาลที่ 4 คือ วัดราชประดิษฐ์ วัดโสมนัส
        • วัดที่สำคัญสมัยรัชกาลที่ 5 คือ วัดราชบพิธ (วัดประจำรัชกาล) วัดเบญจมบพิตร ซึ่งออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัติติวงศ์ สร้างด้วยหินอ่อนอิตาลีทั้งหลัง
      • ประติมากรรม มี 2 แบบ คือ
        • แบบดั้งเดิม หรือประเพณีนิยม คือ พระพุทธรุปพระประธานของวัดต่างๆ
        • แบบตะวันตก คือ การสร้างรุปเหมือนอนุสาวรีย์ ซึ่งเริ้่มในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น พระบรมรูปทรงม้า
      • จิตรกรรม เป็นการเขียนภาพแบบตะวันตกที่ให้ความรู้สึกแบบทรรศนียวิสัย คือ มีระยะใกล้ไหลแบบสามมิติ จิตรกรไทยคนแรที่เริ่มเขียนภาพแบบนี้ คือ พระภิกษุขรัวอินโข่ง แห่งวัดราชบูรณะ ผลงานสำคัญได้แก่ ภาพจิตรกรรมที่วัดบรมนิวาส วัดบวรนิเวศน์ และวัดมหาสมณาราม จ.เพชรบุรี
      • นาฏศิลป์ ได้รับอิทธิพลการแสดงแบบตะวันตก เช่น ละครดึกดำบรรพ์ (คอนเสิร์ตและโอเปรา) ละครพันทาง (ผสมท่ารำของชาติต่างๆ ) ละครร้อง ละครพูด และลิเก
    19. จงอธิบายศิลปวัฒนธรรมสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน
      • วัฒนธรรมไทยหลัง พ.ศ.2475 มีแนวคิดสำคัญ 4 ประการคือ
        • แนวคิดประชาธิปไตย โดยกลุ่มคณะราษฏร
        • แนวคิดเรื่่องการสร้างชาติ ให้เป็นมหาอำนาจในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก โดยการเชิญชวนผ่านหนังสือพิมพ์ วิทยุและการกำหนดมาตรการต่างๆ เรียกว่า รัฐนิยม
        • แนวคิดศิลปเพื่อชีวิต เช่น ความรักของวัลยา ของเสนีย์ เสาวพงศ์  งานร้อยกรองของนายผี
        • แบบวิถีชีวิตแบบทุนนิยม การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    จงลำดับเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช

    1. ฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาช่วง พุทธศตวรรษที่ 23 หลังยุโรปชาติอื่น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสค่อนข้างสั้น มีในช่วงสมัยพระนารายณ์เท่านั้น
    2. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้การต้อนรับคณะบาทหลวงฝรั่งเศสเพื่อเผยแผ่คริสตศาสนา า พ่อค้าฝรั่งเศสได้รับอนุญาตให้มาทำการค้า   มีการแลกเปลี่ยนคณะฑูตระหว่างกัน  ราชฑูตชุดแรก คือ เชอวาเลีย เดโชมอง ชุดที่สองคือ ลาลูแบร์ ส่วนคณะฑูตไทยที่ไปฝรั่งเศส คือ เจ้าพระยาโกษาปาน
    3. จุดมุ่งหมายหลักของฝรังเศสต่ออยุธยา คือ การเผยแผ่คริสตศาสนา แต่อยุธยาให้ความสนใจด้านการค้า และใช้ฝรั่งเศสถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองกับอังกฤษ
    4. เมื่อคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนต์) ตำแหน่งเสนาบดี  เป็นคนสนิทใกล้ชิดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นำกองทหารฝรั่่งเศสมาประจำที่บางกอกและมะริด เพื่อป้องกันกบฏของขุนนาง และรักษาผลประโยชน์ อำนาจของฟอลคอนในราชสำนัก ทำให้สถานการณ์เริ่มตึงเครียด ขุนนางไทยเริ่มต่อต้าน เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประชวร พระเพทราชาเข้ามายึดอำนาจการปกครอง ประหารชีวิตฟอลคอน กองกำลังฝรั่งเศสจึงถูกขับไล่ออก
    5. อยุธยาได้รับศิลปวัิทยาการด้านต่างๆ จากฝรั่งเศสในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรมและการฝึกกองทหารแบบยุโรป
    6. บทบาทด้านการศึกษา เช่น การตั้งวิทยาลัยคอนสแตนติเนียนและสอนวิธีการทำแผนที่โดยจัดทำผังเมืองอยุธยา เมืองละโว้และเมืองบางกอก สอนการใช้เครื่องมือดาราศาสตร์ส่องดูดาวแก่กลุ่มเจ้านาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างหอดูดาวที่ลพบุรี  นอกจากนี้แพทย์ฝรั่งเศสรับราชการเป็นแพทย์หลวง รักษาคนป่วยด้วยวิธีการทางศัลยกรรม

    จงอธิบายการเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 5

    • เฉลย ประวัติศาสตร์ ม.1 เทอม 2
    • ครั้งที่ 1 พ.ศ.2410 ในสมัยรัชกาลที่ 4เสียเขมรส่วนนอกและเกาะอีก 6 เกาะไทยเสียเขมรส่วนนอกและเกาะอีก 6 เกาะ ให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการเสียดินแดนครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์
    • ครั้งที่ 2 พ.ศ.2431 เสียลาว สิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหก
    • ครั้งที่ 3 พ.ศ.2436(ร.ศ.112) เสียดินแดนลาว ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง
    • ครั้งที่ 4 พ.ศ.2446 เสียเมืองจำปาศักดิ์ มโนไพร และ ดินแดนลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง
      ครั้งที่ 5  พ.ศ.2449 เสียเขมรส่วนใน คือเมืองเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ เป็นพื้นที่ 51,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกกับ เมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย พร้อมทั้งอำนาจศาลไทย ต่อคนในบังคับฝรั่งเศส
      การเสียดินแดนให้อังกฤษ ในปี พ.ศ.2451 ยกกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิสและเกาะใกล้เคียง
    • วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 มีลำดับเหตุการณ์อย่างไร
      • เหตุการณ์ รศ.112 พศ.2436 คศ.1843   ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสยึดกัมพูชาและเวียตนามเอาไว้ได้ และกำลังจะเข้ามายึดครองลาว แต่เนื่องจากลาวยังเป็นดินแดนของไทย  และไทยได้ส่งพลตรีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าน้องยาเธอกรมหลวงปรจักษ์ศิลปาคมให้ขึ้นไปตั้งกองบัญชาการลาวพวนอยู่ที่เมืองหนองคายและมีพระยอดเมืองขวัญรักษาการณ์อยู่ที่เมืองคำมวน   ฝรั่งเศสอ้างว่ดินแดนลาวเคยเป็นของเวียตนามมาก่อน  เมื่อเวียตนาม เป็นดินแดนในอาณัติของฝรั่งเศสแล้ว ลาวต้องเข้ามาอยู่ในอาณัติของฝรั่งเศสด้วย ฝรั่งเศสจึงบุกเข้ายึดเมืองคำมวนและจับพระยอดเมืองขวัญกับพวกเอาไว้  แต่ไม่สำเร็จ  พระยอดเมืองขวัญและรัฐบาลไทยก็ได้ทำหนังสือประท้วงไปยังฝ่ายฝรั่งเศส ฝรั่งเศสกลับกล่าวหาว่าไทยเป็นผู้รุกราน
      • วันที่ 13 กรกฎาคม 2436  ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบ 2 ลำเข้ามาทางปากแม่น้ำ เมื่อไทยยำการประท้วง แต่ฝรั่งเศสก็ทำเฉย จึงเกิดการยิงกันขึ้นที่ป้อมพระจุลฯ เป็นผลทำให้ฝ่ายไทยตาย 15 คนและฝ่ายฝรั่งเศสตาย 2 คน ในที่สุด เรือรบฝรั่งเศส ก็แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ และจอดทอดสมออยู่ที่หน้าสถานฑูต
      • วันที่ 2 กรกฎาคม 2436  ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้รัฐบาลไทย ยอมยกดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับตน โดยให้เวลาที่ไทยจะต้องตอบภายใน 24 ชม. เมื่อฝรั่งเศสไม่ได้คำตอบ
      • วันที่ 26 กรกฎาคม 2436  ฝรั่งเศสจึงสั่งให้เอกอัคราชฑูตออกจากประเทศไทย
      • สุดท้ายเพื่อเป็นการรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของชาติเอาไว้ ฝ่ายไทยจึงต้องยอมตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดย ได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 ตุลาคม 2436 ซึ่งในสนธิสัญญามีรายละเอียดดังนี้คือ
        • ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมทั้งบรรดาเกาะทั้งหมดให้เป็นของฝรั่งเศส
        • ไทยจะไม่มีเรือรบไปไว้ในพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดกันไว้แล้ว
        • ไทยจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กม. ตลอดแนวแม่น้ำ รวมทั้งพระตะบอง และ เสียมเรียบ
        • ไทยและฝรั่งเศสจะทำสัญญาการค้าในเวลา 6 เดือนนับจากนี้ และไม่เก็บภาษีระหว่าางกัน
        • ในการสร้างท่าเรือหรือกิจกรรมต่างๆ ตามลำแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าฝรั่งเศสร้องขอความช่วยเหลือเช่น การใช้พื้นที่ ไทย จะไม่ปฏิเสธและจะให้ความช่วยเหลือในทันที
        • ไทยจะให้ความสะดวกแก่คนในบังคับฝรั่งเศสในการเข้าออกไปมา
        • ฝรั่งเศสสามารถตั้งกงศุลได้
        • ถ้ามีความเห็นหรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในสัญญาฉบับนี้ ให้ถือเอาภาษาฝรั่งเศสป็นหลัก
        • สัญญานี้ ให้มีผลบังคับใช้ใน 4 เดือน
        • ไทยต้องถอนกำลังออกไปจากพื้นที่ภายใน 1 เดือน และไทยต้องรื้อค่ายออกไปให้หมดด้วย
        •  ฝรั่งเศสเรียกร้องเงินค่าปรับจำนวนหนึ่ง รัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้เงินที่เรียกว่า เงินถุงแดง มอบให้กับฝรั่งเศส เงินถุงแดงนี้ เป็นเงินซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงได้กำไรมาจากการทำการค้ากับต่างประเทศ โดย เฉพาะกับเมืองจีน แล้วพระองค์ได้เก็บเงินเหล่านั้นไว้ในถุงแดง ในคราวเกิดเหตุการณ์ รศ. 112 นี้ รัชกาลที่ 5 ก็ทรงนำเงินดังกล่าวออกมาเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายฝรั่งเศสรวมกับเงินที่เรี่ยไรจากข้าราชบริพาร รวมเป็นเงินจำนวน 3 ล้านบาท

    จงสรุปไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1

    • เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยยึดมั่นในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงคราม ทรงเห็นว่าเยอรมันเป็ฯฝ่ายรุกราน  จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมัน ฮังการี และประกาศเรียกพลทหารอาสา สำหรับกองปืนและกองยานยนต์ทหารบกเพื่อส่งไปช่วยสงครามในยุโรป ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ในการไปเรียนวิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริง  เมื่อเสร็จสงคราม พันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ  ทำให้สัญญาต่างๆ ที่ทำกับเยอรมัน ออสเตรีย และฮังการีสิ้นสุดลง ขณะเดียวกันก็สามารถแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับประเทศพันธมิตรได้สำเร็จ

    จงอธิบายการแก้ไขสนธิสัญญากับต่างประเทศ

    • ชาติแรกที่ยอมแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม คือ สหรัฐอเมริกา โดย ดร.ฟรานศิส บี แซร์ ชาวอเมริกาได้รับมอบหมายให้ไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับประทศในยุโรป หลังจากใช้เวลา 2 ปี  ประเทศต่างๆ 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตราลี เบลเยี่ยม และนอรเวย์ยอมแก้ไขสนธิสัญญากับไทย เมื่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เปิดเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อบอกเลิกสัญญาเดิม และทำสนธิสัญญาใหม่ ทำให้ไทยได้รับอิสรภาพในเรื่องอำนาจทางการศาล และภาษีอากร ศาลยุติธรรมสามารถพิจารณาคดีชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับคดีชาวไทย

    จงลำดับเหตุการณ์ไทยกับสงครามอินโดจีน

    • สงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในปี 2483 เกิดด้วยปัญหาพรมแดน  ฝรั่งเศสเข้ามาทิ้งระเบิดนครพนมและเกิดการสู้รบ  ญี่ปุ่นอาสาเจรจาไกล่เกลี่ย โดยไทยส่งผู้แทน คือ พระองค์เจ้าวรรณไวยกร เป็นหัวหน้าไปประชุมที่โตเกียว จากอนุสัญญากรุงโตเกียว ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาตรงข้ามหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ และดินแดนเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสในปลายรัชกาลที่ 5 คืน  โดยมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน

    จงลำดับเหตุการณ์ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2

    •  สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปตั้งแต่ พ.ศ. 2482 เมื่ออังกฤษ และฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี แล้วเลยลุกลามเป็นสงครามโลก ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นประกาศสงครามสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484ต่อมาวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทยทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และสมุทรปราการ ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะ ฮาวาย ฟิลิปปินส์ และส่งทหารขึ้นบกที่มลายู และโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้ขอร้องรัฐบาลไทยให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทยเพื่อไปโจมตีพม่า และมลายูของอังกฤษ และขอให้ระงับการต่อต้านของคนไทยเสีย คณะรัฐมนตรีโดยมี จอมพลแปลกพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ทำตามความต้องการของญี่ปุ่น   ไทยได้ทำกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 สงครามนี้เรียกว่าสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นมีวัตถุประสงค์จะสร้างวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา   ทั้งใน ทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย โดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำในระยะเริ่มแรกของสงคราม กองทัพญี่ปุ่นมีชัยชนะทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ทำให้รัฐมนตรีบางคนเห็นควรให้ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ด้วยคิดว่าญี่ปุ่นจะชนะสงครามไทยจึงได้ประกาศ สงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามนั้นญี่ปุ่นได้โอนดินแดนบางแห่งที่ยึดได้จากอังกฤษคืนให้แก่ไทย คือ รัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และสองรัฐในแคว้นไทยใหญ่ คือ เชียงตุง และเมืองพานญี่ปุ่นแพ้สงครามเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยประกาศว่า การประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญและความประสงค์ของประชาชนชาวไทย ไทยต้องปรับความเข้าใจกับ สัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกามิได้ถือไทยเป็นศัตรู ตามประกาศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดย นาย เจมส์ เบิรนส์  รัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้ลงนาม แต่รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ นาย เออร์เนสต์ เบวิน  ไม่ยอมรับทราบการโมฆะของการประกาศสงครามง่าย ๆ ลงวันที่  1  มกราคม พ.ศ. 2489 (เวลานั้น ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้ารัฐบาล) ผู้แทนไทยได้ลงนามกับผู้ แทนอังกฤษที่สิงคโปร์ ความตกลงนี้เรียกว่า “ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อสถานะสงครามระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย” ที่สำคัญ คือไทยต้องคืนดินแดนของอังกฤษที่ได้มาระหว่างสงคราม ให้ข้าวสารโดยไม่ คิดเงินถึง 1.5 ล้านตัน และต้องชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ แต่ต่อมาไทยเจรจาขอแก้ไขโดยฝ่ายอังกฤษสัญญาจะจ่ายเงินค่าข้าวสารให้บ้างไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อเดือนธันวาคม  2489  โดยปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น ทำสัญญาทางไมตรีกับจีน (หลังสงคราม จีนเป็นมหาอำนาจเพราะเป็นฝ่ายชนะ สงครามด้วย สัญญานี้เป็นสัญญาฉบับแรกระหว่างไทยกับจีน ทั้ง ๆ ที่ได้มีไมตรีกันมานานนับร้อย ๆ ปี)ไทยยอมรับรองสหภาพสาธารณรัฐโซเวียต และไทยยอมคืนดินแดนที่เราได้มาจากอนุสัญญากรุงโตเกียว หลังสงครามอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศสการที่ไทยเอาตัวรอดได้ทั้ง ๆ ที่อยู่ในฝ่ายประเทศแพ้สงครามนี้ เพราะความช่วยเหลือของขบวนการเสรีไทย ทำให้ประเทศสัมพันธมิตรโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเห็นใจ     ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูต ไทยประจำสหรัฐอเมริกา  ได้ประท้วงการประกาศสงครามของรัฐบาลไทย และได้รวบรวมคนไทยในสหรัฐอเมริกาขึ้นเป็นขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ในอังกฤษก็มีขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นหัวหน้าเสรีไทย

    จงลำดับเหตุการณ์นโยบายต่างประเทศของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

    • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้ร่วมมือกับฝ่ายโลกเสรี อันมีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นหัวหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทยยอมรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหารจากสหรัฐอเมริกา และใน พ.ศ. 2494 ก็ได้ ร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ รวม 8 ประเทศ จัดตั้งองค์การป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกโดยย่อว่าองค์การซีโต หรือสปอ. (SEATO-South East Asia Treaty Organization)
    • ในต้นทศวรรษ 2500 เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในลาว รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ  ส่งผลให้ความร่วมมือทางด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กระชับมากยิ่งขึ้น จนมีการออก “แถลงการณ์ร่วมถนัด-รัสก์” ซึ่งผูกมัดว่า สหรัฐฯ จะช่วยเหลือไทยทันทีเมื่อถูกรุกราน

    จงลำดับเหตุการณ์สำคัญไทยกับสงครามเวียดนาม

    •  สงครามเวียดนามเกิดจากเวียดนามต้องการรวมประเทศเป็นเอกราชและปกครองตามลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่สหรัฐอเมริกามีนโยบายสงครามเย็น คือต่อต้านลัทธิคอมมิวนสต์ เพ่อไม่ต้องการให้จีนและโซเวียตมีอิทธิพลเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก  สหรัฐอเมริกาต้องการให้ไทยเป็นพันธมิตร
    • ไทยผูกพันตนเองกับสหรัฐอเมริกาและสงครามเวียดนามมากขึ้น หลังจากจอมพลถนอม กิตติขจร บริหารประเทศไม่กี่เดือน แผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่จะบุกโจมตีเวียดนามเหนือ ทำให้ไทยตกเป็นฐานทัพปฏิบัติการของอเมริกา
    • ไทยเข้ารบในสงครามเวียดนาม โดยส่งทหารอากาศและทหารเรือ เข้าไปในเวียดนาม   และทหารบกหน่วยจงอางศึกและหน่วยกองพลเสือดำ นอกจากนี้ยังมีทหารอาสาสมัครประเภทรับจ้างชั่วคราว คือ ทหารเสือพราน
    • รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร มีปัญหาเรืองการแทรกซึมและบ่อนทำลายของขบวนการคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ แต่ไทยก็ยืนหยัดอยู่กับฝ่ายโลกเสรีในสงครามเวียดนาม

    จงลำดับเหตุการณ์การต่างประเทศของไทยหลังสงครามเวียดนามถึงปัจจุบัน

    • เหตุการณ์ภายในประเทศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีผลเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทหาร ซึ่งยึดนโยบายพึ่งสหรัฐอเมริกามาเป็นรัฐบาลที่มีแนวทางอิสระมากขึ้น ไทยลดการพึ่งพาสหรัฐอเมริกาหันไปสนใจประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ และเริ่มนโยบายต่างประเทศที่เป็นตัวของตัวเอง
    • นับจากปี 2516 เมื่อความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาที่ให้กับไทยลดน้อยลง ไทยพันไปคบหากับประทศคอมมิวนิสต์มากขึ้น  โดยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีน ภายใต้รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังมีการแลกเปลีย่นทางการค้าและทางวัฒนธรรมกับสหภาพโซเวียตเพิ่มขึ้น
    • ไทยได้ร่วมกับฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ก่อตั้งสมาคมอาสา และได้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน แต่ในขณะนั้นรัฐบาลยังคงยึดนโยบายพึ่งพามหาอำนาจอยู่ ไทยจึงไม่ได้สนใจสมาคมอาเซียนเท่าที่ควร ต่อมารัฐบาลไทยยึดนโยบายต่างประเทศที่เน้นการส่งเสริมสัมพันธไมตรี เพื่อสร้างสรรค์ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง

    จงสรุปปัญหาปราสาทเขาพระวิหารและเขตแดนไทย กัมพูชา

    • สัญญาปักปันเขตแดนไทย ฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ 5 ปักปันให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา แต่ด้วยหลักสันปันน้ำและภูมิประเทศที่ทางขึ้นปราสาทเขาพระวิหารอยู่ฝั่งไทย ทำให้ไทยถือว่าปราสาทเขาพระวิหารควรจะเป็นดินแดนของไทย
    • กัมพูชาและไทยได้นำกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหารขึ้นสู่การพิจารณาของศาลโลก ซึ่งตัดสินให้ตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบบางส่วนเป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังเป็นกรณีพิพาท
    • ในปี 2550 กัมพูชาต้องการนำปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งไทยคัดค้าน และเห็นว่าไทยควรมีส่วนร่วมบริหารจัดการโดยควรนำพื้นที่ร่วมโบราณสถานผาอีแดงขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วย แต่กัมพูชาปฏิเสธ ทำให้เกิดการปะทะกันของทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้ทหารและประชาชนของทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตหลายคน
    • ปี 2554 ภาคีมรดกโลกแห่งยูเนสโก ตัดสินใจขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้ไทยด้วยการเดินออกจากที่ประชุมและประกาศลาออกอย่างไม่เป็นทางการจากภาคีมรดกโลก ส่งผลให้แผนพัฒนาปราสาทเขาพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรของกัมพูชาชะงักงัน

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. โครงสร้างเศรษฐกิจไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร
      1. เศรษฐกิจแบบศักดินา
      2. เศรษฐกิจแบบพอยังชีพ
      3. เศรษฐกิจแบบเกษตร
      4. เศรษบกิจแบบการค้าและเงินตรา
      5. เศรษฐกิจแบบผสมและทุนนิยม
    2. ลักษณะของเศรษฐกิจแบบศักดินาเป็นอย่างไร
      1. ชนชั้นผู้ปกครองเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
      2. ที่ดินเป็ฯของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว ประชาชนมีสิทธิ์เพียงทำกินบนที่ดินเท่านั้น การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพ่งปรากฏในภายหลัง
      3. แรงงานถูกควบคุมอยู่ภายใต้ระบบไพร่
      4. ผลผลิตส่วนเกินของสังคมตกอยู่กับชนชั้นผู้ปกครอง
      5. ทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ของสามัญชนมีน้อย
      6. ผลของระบบศักดินาไม่ทำให้เกิดการสะสมทุน ระบบศักดินายังคงอยู่จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้สลายลง
    3. ลักษณะของเศรษฐกิจแบบยังชีพเป็นอย่างไร
      • ลักษณะเศรษฐกิจตั้งแต่่สมัยสุโขทัย ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นแบบธรรมชาติหรือแบบพอยังชีพ ซึ่งมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่ หมู่บ้าน การผลิตมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริโภคในชุมชน ผลผลิตที่เหลือส่งเป็นภาษีอากรให้แก่รัฐ และแลกเปลี่ยนภายในชุมชน เศรษฐกิจแบบนี้มีการแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตราน้อย
    4. ลักษณะเศรษฐกิจการเกษตรคืออะไร
      • พื้นฐานการเศรษฐกิจของไทย คือการเกษตร ทำเลที่ตั้งอาณาจักรต่างๆ อยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะแก่การปลูกข้าว ซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติ โดยมีกำลังคนเป็นแรงงานสำคัญ
    5. ลักษณะเศรษฐกิจการค้าและเงินตราเป็นอย่างไร
      • การค้าภายในและภายนอกเริ่มปรากฏในสมัยสุโขทัย แต่การค้าเป็นรายได้หลักในสมัยอยุธยา การค้าระหว่างประเทศดำเนินการผูกขาดโดยพระมหากษัตริย์  ขุนนางผู้ใหญ่ในนามพระคลังสินค้าและชาวต่างชาติ เศรษฐกิจการค้าเติบโตหลังจากทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ ทำให้การแลกเปลี่ยนแบบเงินตรามีความสำคัญขึ้น
    6. ลักษณะเศรษฐกิจแบบผสมและทุนนิยมเป็นอย่างไร
      • เมื่อไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 มุ่งไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบผสม คือ รัฐควบคุมกิจการสำคัญด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในรูปรัฐวิสาหกิจ  เมื่อภาคเอกชนมีความเข้มแข้ง พ่อค้านายทุนมีบทบาทสำคัญ จึงพยายามผลักดันโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปัจจุบัน ประเทศไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมแล้วอย่างเต็มตัว
    7. สรุปลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย
      • เกษตรกรรม อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก มีการทำนา ล่าสัตว์ จับปลา และการสร้างเขื่อนดิน สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง
      • หัตถกรรมที่สำคัญได้แก่ ถ้วยชามสังคโลก
      • การค้าภายในที่สำคัญได้แก่ กับประเทศจีนในรูปบรรณาการ คือ การฝากสินค้าไปขายพร้อมกับเรือบรรณาการ
      • การค้าขายส่วนใหญ่อยู่ในรูปแลกเปลี่ยนสิ่งของ ระบบเงินตราไม่แพร่หลาย
      • ไม่เก็บภาษีจังกอบ
    8. สรุปลักษณะเศรษฐกิจในสมัยอยุธยา
      • เศรษฐกิจเหมือนสุโขทัย แต่อยุธยาสามารถผลิตข้าวได้มากจนเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
    9. อธิบายการค้าสมัยอยุธยา
      • การค้าภายใน   ช่วงตอนปลายอยุธยาเริ่มใช้เงินตรา แต่สามัญชนไม่มีโอกาสทำการค้าเพราะต้องถูกเกณฑ์แรงงาน การค้าส่วนใหญตกอยู่ในมือชนชั้นสูงและชาวจีน
      • การค้ากับต่างประเทศ ที่ทำรายได้มากทีสุดคือ จีน ยังคงใช้ระบบบรรณาการ เริ่มมีพ่อค้าจากยุโรปเข้ามาค้าขาย เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษและฝรั่งเศส ในสมัยพระนารายณ์ การค้ากับต่างประเทศถูกผูกขาดโดยพระคลังสินค้า แต่ผลประโยชน์ตกอยู่กับกษัตริย์และขันนาง ประชาชนค้าขายเองไม่ได้
      • การค้าสำเภาหลวง มีลักษณะการค้าบรรณาการ และการค้าผูกขาดของหลวง มีกรมพระคลังสินค้าดำเนินการ เริ่มมีในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ สินค้าต้องห้าม เป็นสินค้าที่หายาก ราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งกรมพระคลังสินค้าซื้อขายแต่เพียงผู้เดียว สินค้าเข้าได้แก่ ปืนไฟ กระสุน กำมะถัน สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ไม่กฤษณา งาช้าง ไม้จันทน์ ไม้ฝาง  การค้าหลวงทำกำไรได้มาก สินค้าส่วนใหญ่ที่ขายมาจากไพร่เสียแทนการรับราชการ หรือภาษีอากรในรูปผลิตผล เช่น หางข้าว ซึ่งไม่ต้องลงทุน
    10. พระคลังสินค้ามีความสำคัญอย่างไร
                   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานดำเนินผูกขาดทางการค้า สินค้าทุกชนิดที่จะผ่านเข้าออกในราชอาณาจักรต้องผ่านหน่วยงานนี้ก่อน พระคลังสินค้ามีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อสินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาได้ก่อนประชาชน และซื้อได้ในราคาที่ถูกและยังกำหนดสินค้าประเภทต้องห้ามที่ประชาชนไม่สามารถทำการซื้อขายเองได้ ต้องนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าก่อน รายการสินค้าต้องห้ามที่กำหนด ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ชาวต่างชาตินิยม เช่น อาวุธ อาหาร ของหายากต่างๆพ่อค้าต่างชาติคนใดต้องการซื้อต้องมาซื้อที่พระคลังสินค้าเท่านั้น ทำให้พระคลังสินค้ามีรายได้เข้าสู่รัฐได้เป็นอย่างมาก ควบคุมไม่ให้ชาติหนึ่งชาติใดมีอิทธิพลทางการค้ามากเกินไป แต่มีข้อเสียคือ ต่างชาติเสียเปรียบในระบบการค้าแบบนี้และพ่อค้าชาวไทยขาดความรู้ความเข้าใจใน การดำเนินการค้าขาย เพราะไม่มีโอกาสทำการติดต่อกันได้โดยตรงนอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นรายๆ ไป
    11. ภาษีอากรในสมัยอยุธยามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
      • จังกอบ
      • ฤชา
      • อากร
      • ส่วย
    12. จงอธิบายเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      • เศรษฐกิจแบบยังชีพ แต่การค้าก็ขยายตัวมากขึ้น การผลิตเพื่อการค้าอาศัยแรงงานคนจีนอพยพ  ด้านการเกษตรเหมือนสมัยอยุธยาเริ่มขาดแคลนข้าวมากสมัยธนบุรีและรัชกาลที่ 1
      • อุตสาหกรรมเป็นแบบครัวเรือน ผลิตใช้เองมากกว่าขาย อุตสาหกรรมน้ำตาลเริ่มเข้ามาสมัยรัชกาลที่ 2 โดยใช้แรงงานคนจีน เมื่อชาวจีนอพยพมามากไทยต้องเก็บภาษีต่างด้าว เรียกว่า การผูกปี้
      • การค้าภายในส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือชาวจี่น ส่วนการค้าต่างประทเศ มีการแต่งสำเภาไปค้ากับต่างประเทศได้กำไรมากกว่าด้านอื่นๆ  มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษ ทำให้เปิดเป็นการค้าเสรีมากขึ้น  ยกเว้นสินค้าที่ไม่เสรี เช่น ข้าว อาวุธ ฝิ่น ภาษีการค้าเก็บเหมาเป็นค่าปากเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาว่าละ 1,700 บาท  ส่วนเรือบรรทุกเปล่า เก็บวาละ  1,500 บาท
      • การค้ากับต่างประเทศเฟื่องฟูมากที่สุดสมัยรัชกาลที่ 3
    13. สรุปสภาพเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      • เศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 1-2 อยู่ในสภาพเลี้ยงตัวได้ เพราะการสงครามยังมีอยู่
      • เศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 3 ดีขึ้นมาก มีการค้าสำเภาและการผูกขาดพระคลังสินค้า มีการปรับปรุงภาษีอากร รายได้แผ่นดินจึงมีมาก
    14. สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาริงคืออะไร
      1. คนอังกฤษทุกคนที่เข้ามาค้าขายในสยามได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือ อนุญาตให้เช่าบ้านเรือนทำการค้าได้ ทำให้เกิดการตั้งกงสุลอังกฤษเพื่อดูแลผลประโยชน์
      2. คนในบังคับของอังกฤษ เมื่อมีคดีให้ขึ้นศาลกงศุลอังกฤษ ทำให้เกิดการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
      3. ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3 และยกเลิกภาษีปากเรือ
      4. ยกเลิกการผูกขาดพระคลังสินค้า
      5. พ่อค้าอังกฤษนำสินค้ามาค้าขายได้ทุกชนิดยกเว้นปืน ต้องขายให้รัฐบาลเท่านั้น ส่วนฝิ่นขายให้แก่เจ้าภาษีฝิ่น
      6. การค้าเป็นไปโดยเสรี
      7. อยุญาติให้ข้าเป็นสินค้าออกได้  และนำฝิ่นเข้ามาจำหน่ายแก่เจ้าภาษีฝิ่น
      8. สัญญาไม่มีกำหนดอายุสิ้นสุด
    15. ผลกระทบทั้งด้านบวกและลบของสนธิสัญญาเบาริงคืออะไร
      • ด้านบวก 
        1. ไทยดำรงรักษาเอกราชไว้ได้ และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อตะวันตก
        2. ไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่ตะวันตก และเกิดการค้าเสรี
        3. เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าขึ้น มีการสร้างถนน
        4. เศรษฐกิจเงินตราขยายตัวมากขึ้น รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้
        5. การปลูกข้าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทย
        6. การขยายตัวของพิ้นที่นา และสร้างระบบชลประทาน ขุดคลอง เช่น โครงการรังสิตในสมัยรัชกาลที่ 5
        7. ทำให้เกิดแรงงานเสรีอิสระมากขึ้น รัชกาลที่ 5 จึงเห็นประโยชน์ของการเลิกไพร่ ทาส
        8. ไทยได้รับวิทยาการสมัยใหม่และวัฒนธรรมที่มีประโยชน์มาพัฒนาประเทศ
      • ด้านลบ 
        1. เสียเอกราชทางการศาล
        2. การยกเลิกระบบพระคลังสินค้าทำให้เสียรายได้ เนื่องจากเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3
        3. สัญญาไม่มีกำหนดสิ้นสุด
        4. อำนาจศาลกงสุลทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการปกครอง
        5. การเปิดประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยผูกพันกับต่างประเทศ ถูกครอบงำจากทุนต่างชาติมากขึ้น
    16. สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการคลังอย่างไรบ้าง
      1. จัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์
      2. ยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวงดุแลเรืองการเก็บภาษีอากร
      3. จัดทำงบประมาณแผ่นดิน
      4. แยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ออกจากทรัพย์สินของประเทศ
    17. จงอธิบายการค้าต่างชาติและการธนาคารในสมัยรัชกาลที่ 5
      • ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบทำให้บริษัทตะวันตกมาตั้งห้างค้าขายและลงททุนประกอบการ มีการตั้งธนาคารพาณิชย์สาขาของต่างประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์และความสะดวกด้านการค้าของบริษัทต่างประเทศ ส่วนประเทศไทยได้ตั้ง book club ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแบงค์สยามกัมมาจลทุน ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์
    18. สาเหตุสำคัญที่่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจาก
      1. รัฐต้องใช้จ่ายเงินเพื่อปฏิรุปและพัฒนาประทเศต่ามนโยบายที่รัชกาลที่ 5 ดำเนินไว้เป็นจำนวนมาก
      2. เก็บภาษีไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด
      3. เกิดอุทกภัย ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย
      4. ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
      5. รัชก่าลที่ 6 ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์มาก
    19. การแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 6 คืออะไร
      1. การกู้ยืมเงินธนาคารพาณิชย์ของประเทศตะวันตกประมาณ 3.5 ล้านปอนด์
      2. การจัดตั้งสภาการคลัง เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงทางการคลังของประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
    20. สาเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากอะไร
      1. ฐานะทางเศรษฐกิจของไทยทรุดโทรมลงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
      2. ผลผลิตทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้น
      3. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
      4. ปัญหาการขาดแคลนเงินคงคลัง
      5. รายได้หลักของประเทศจากการส่งข้าวเป็นสินค้าออกไม่แน่นอน
    21. แนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 คืออะไร
      1. ดำเนินนโยบายลดรายจ่ายภาครัฐบาลลง
      2. ดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพเงินบาท
    22. เค้าโครงการเศรษฐกิจหรือสมุดปกเหลือง คืออะไร
      • หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พลวงประดิษฐ์ มนูธรรมหรือนายปรีดี พนมยงค์ เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจหรือสมุดปกเหลืองต่อรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์จัดเศรษฐกิจของชาติให้ดีขึ้น โดยให้รัฐเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเองด้านกษตรและอุตสาหกรรม ให้ราษฏรทุกคนเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างรัฐ โดยรัฐประกันความสุขสมบูรณ์แก่ราษฏร ซึ่งค่อนข้างไปทางสังคมนิยม ทำให้รัฐบาลไม่พอใจ  รัชกาลที่ 7ทรงพระราชนิพนธ์  สมุดปกขาว ตอบโต้สมุดปกเหลือง  คณะรัฐมนตรีจึงไม่ยอมรับเค้าโครงการเศรษฐกิจแบบนี้
    23. นโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฏร คืออะไร
      • รักษาเอกสาราทางเศรษฐกิจ และบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฏรทางเศรษฐกิจ โดยหางานใหม่ให้ราษฏรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งช่าติไม่ให้ราษฏรลำบาก
    24. นโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
      • สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามดำเนินนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีงานทำและประกอบอาชีพ ขจัดการครอบงำทางเศรษฐกิจของต่างชาติ เช่น การสงวนอาชีพให้คนไทย เรียกร้องให้ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ  และจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ โอนกิจกรรมของชาวยุโรปมาดำเนินการเอง เช่น ป่าไม้ เหมืองแร่ โรงงานยาสูบ โรงงานกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
    25. จงอธิบายเศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
      • ไทยต้องเผชิญปัญหาเงินเฟ้อและการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงครามดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยม และการลงทุนของรัฐบาลในรูปรัฐวิสาหกิจที่เรียกว่า ทุนนิยมโดยรัฐ
    26. การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร
      • การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ ปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์  สร้างฐานทางปัญญาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ  มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  สร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรและความมั่งคั่งด้านอาหารและพลังงาน รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์เป็นฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคงและสมดุล มุ่งสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและเป็นธรรม
    27. จงอธิบายวิกฤตเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2545 (โรคต้มยำกุ้ง)
      • ปลายปี 2539-2542 ไทยต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก  เพราะเศรษฐกิจเจริญเติบโตเร็วเกินไป  ขยายการลงทุนมากเกินไป นำไปสู่การกู้ยืมเงินตราต่างประทเศ เพื่อขยายการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง  ประชาชนใช้สอยจับจ่ายเกินตัว เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ เมื่อการลงทุนผิดพลาด อสังหาริมทรัพย์ขายไม่ออก ราคาหุ้นเริ่มตกต่ำลงส่งผลให้การลงทุนขาดทุน ต่างชาติขาดความเชื่อถือค่าเงินบาท หนี้สินค้างประเทศมากขึ้น ธุรกิจล้มละลาย สถาบันการเงินขาดทุน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
    28. จงอธิบายวิกฤตการณ์ซับไฟร์มและแฮมเบอร์เกอร์ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
      • ปลายปี 2550 เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า Sub-Prime Crisis จากการที่ธนาคารยักษ์ใหญ่ในอเมริกาปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีฐานะปานกลางและยากจน ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้ไม่สามารถผ่อนชำระเงินกู้ได้  ธนาคารขาดสภาพคล่องต้องปิดกิจการ เกิดความไม่เชื่อมั่นต่อธุรกิจและตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก เนื่องจากธนาคารใหญ่ๆ ของโลกล้วนทำธุรกรรมกับธนาคารในสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น
      • วิกฤตการณ์นี้กระทบรุนแรงมากขึ้นในเดือน ก.ย.2551 ซึ่งเรียกว่า วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่เลห์แมน บราเธอร์ส ต้องล้มละลายลง ส่งผลยังบริษัทวาณิชธนกิจขนาดใหญ่อย่างเอไอจี บริษัทแม่ของ AIA ต้องขายกิจการให้แก่รัฐบาล เพื่อเข้าพยุงฐานะของบริษัท ทำให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยแม้ผลกระทบไม่รุนแรง เนื่องจากวาณิชธนกิจเหล่านั้นไม่ได้มีเงินลงทุนในประเทศไทยมากนัก แต่ส่งผลทางอ้อมจากสินค้าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ชะลอตัว

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    1. จงอธิบายบทบาทของกบฏบวรเดช
      • กบฏบวรเดชมีพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นผู้นำ โดยได้รับการสนับสนุนจากทหารหัวเมืองนครศรีราชสีมา แต่ถูกปราบปรามทำให้กลุ่มผู้มีอำนาจเดิมซึ่งพยายามฟื้นฟูอำนาจการปกครองระบอบเดิมถูกทำลาย กบฏครั้งนี้ทำให้ผู้นำทหารในการปราบกบฏ คือ พันตรีหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) มีชื่อเสียงขึ้นมา
    2. จงอธิบายรัฐประหาร/เหตุการณ์ต่อไปนี้

    รัฐประหาร พ.ศ.2490

    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเรือนที่มีบทบาทต่อต้านญี่ปุ่นและมีบทบาททางการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรี เช่น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายปรีดี พยมยงค์ แต่มีปัญหาการฉ้อราษฏร์บังหลวง และการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทำให้ทหารใช้เป็นข้ออ้างในการทำกระทำรัฐประหาร โดยมีพันเอก พลวงกาจสงครามและพลโท ผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้นำ   จอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้ามามีบทบาททางการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรีอีก     จนกระทั่่งปี พ.ศ.2500 ทหารเข้ามามีบทบาทรวมทั้งกลุ่มซอยราชครู  ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกาในฐานะมหามิตรได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง มีการร่วมมือเพื่อต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซีย

    รัฐประหาร พ.ศ.2501

    ในปี พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทำการรัฐประหารรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยมีพลเอกถนอม กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2501 จอมพลสฤษดิ์ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร นานถึง 16 ปี รัฐธรรมนูญให้อำนาจอย่างมากแก่นายกรัฐมนตรีซึ่งได้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร อุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็คือ การนำแนวคิดการปกครองแบบพ่อปกครองลุก สมัยสุโขทัย มาประยุกต์ใช้ แนวคิดนี้ให้ความสำคัญแก่ พ่อขุน ในฐานะผุ้นำที่มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ข้าราชการและประชาชนเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายของผุ้นำหรือพ่อขุน

    วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516

    วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง เป็นวันที่ประชาชนลุกฮือร่วมกันต่อต้านเผด็จการทหารที่ครอบงำประเทศอยู่เป็นเวลานาน โดยมีศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจรนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นอำนาจไป สัญลักษณ์ของการเป็นประชาธิปไตยที่สำคัญคือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ซึ่งถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง

    เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

    การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 ได้ถูกคัดค้านจากหลายฝ่ายที่มองว่าได้รับการหนุนหลังจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กระแสการคัดค้านการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยได้นำไปสู่การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนในวันที่ 6 ต.ค.2519 และการรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นผู้นำ มีการกวาดจับบุคคลต่างๆ ที่เคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ทำให้นักศึกษาและประชาชนจำนวนมากหนีเข้าป่า เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้เผด็จการรัฐบาลพลเรือน

    รัฐประหาร พ.ศ.2520

    นโยบายขวาหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้เกิดการคัดค้านจากภายในและภายนอกประเทศ    ในที่สุด วันที่ 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่จึงกระทำรัฐประหารล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และแต่งตั้งให้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทร์เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 และในปี พ.ศ.2522 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งนานถึง 9 ปี ในระยะเริ่มต้นของการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 การเมืองการปกครองไทยได้ชื่อว่า เป็นสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งช่วงนี้มีความพยายามที่จะทำการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2524 และวันที่ 9 ก.ย.2525 แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังการเลือกตั้ง ทั่วไปใน ปี พ.ศ.2531 พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทยได้เป็นนายกรัฐมนตรี

    รัฐประหารของคณะ ร.ส.ช.และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

    รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ถูกยกเลิกโดยคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 หลังจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี  กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 22 มี.ค.2535 หลังจากเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ได้เกิดเหตุการณ์ คือ พฤษภาทมิฬ วันที่ 17-18 พ.ค.2535 จากการต่อต้าน พอเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีที่ไมได้มาจากการเลือกตั้ง   พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นวาระที่ 2 และได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2535 โดยพรรคประชาธิปปัตย์ ซึ่งได้รับคะแนนเสียงมากที่สดเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งมีนายชวน หลีกภัยหัวหน้าพรรคประชาฺธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    ผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

      • ทำให้ทหารต้องลดบทบาททางการเมืองลงอย่างมาก
      • ประชาชนมีความตื่นตัวทางจิตสำนึกทางการเมืองมากขึ้น
      • โอกาสเกิดการปฏิวัติรัฐประหารจากทหารเป็นไปได้ยากมากขึ้น
      • นักธุรกิจหันมาสนใจเล่นการเมืองมากขึ้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
      • สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรถูกตรวจสอบพฤติกรรมและจิตสำนึกมากขึ้น เนื่องจากท่าทีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบางคนที่โน้มเอียงสนับสนุนอำนาจเผด็จการ
      • นำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ วันที่ 13 กันยายน 2535 ทำให้ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อันมีแนวโ้น้มให้ประเทศไทยรุดหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

    รัฐบาลชวน 1 ถึงรัฐบาลทักษิณ 2

    เมื่อรัฐบาลนายชวน หลีกภัย บริหารประเทศได้ไม่ครบเทอม เนื่องจากปัญหาการแจกที่ดินทำกินหรือ สปก.4-01 และการถอนตัวของพรรคพลังธรรม รัฐบาลจึงยุบสภาและจัดให้ีมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ 2 ก.ค.2538 ผลการเลือกตั้ง ทำให้นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถูกอภิปรายไม่่่ไว้วางใจรัฐบาลจนต้องประกาศ  มีการเลือกตั้งใหม่ พ.ศ.2539   พรรคความหวังใหม่ได้เสียงข้างมาก สามารถจัดตั้งรัฐบาล โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี  แต่ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจจนถึงขั้นประกาศลดค่าเงินบาท ส่งผลให้เศณษฐกิจทรุดตัวอย่างหนัก รัฐบาลขาดความไว้วางใจจากประชาชนต้องประกาศลาออก   ปลายปี 2540 พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเสียงข้างมากสามารถจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อหมดสมัย มีการเลือกตั้งใหม่ ครั้งที่ 22 พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้พรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงตั้งพรรคผสมกับพรรคชาติไทย ชาติพัฒนา และบริหารประเทศได้ครบวาระ 4 ปี และยังชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ได้เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียวครั้งแรกในปรวัติศาสตร์การเมืองไทยและเป็นรัฐบาลสมัยที่ 2

    รัฐบาล ค.ม.ช. รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

    รัฐบาลทักษิณ บริหารประเทศจนถึง 19 ก.ย.2549 ถูกพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และคณ 4 เสือ ภายใต้ชื่อรัฐบาล ค.ม.ชหรือคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ รัฐประหารด้วยข้อหา ทุจริต คอรัปชั่น และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ จนต้องลี้ภัยไปอยู่อังกฤษ รัฐบาล ค.ม.ช แต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศจนครบหนึ่งตามปัญญา ก็จัดให้มีการเลือกตั้งและร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 18 พ.ศ.2550 ประกาศใช้จนสำเร็จ

    ผลการเลือกตั้ง พรคพลังประชาชน (ชื่อใหม่ของพรรคไทยรักไทย) ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ชนะการเลือกตั้ง ร่วมกับพรรครัฐบาลอีก 5 พรรคจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่่ายค้าน ต่อมานายสมัคร สุนทรเวชต้องคดีความ พรรคพลังประชาชนเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26

    รัฐบาลนายสมชาย บริหารประเทศได้ 4 เดือน ก็ถูกศาลปกครองสั่งยุบพรรคพลังประชาชน  พรรคประชาธิปัตย์สามารถรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทน โดยมีพรรครัฐบาลเดิมมาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ คือ พรรคชายไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย  พรรคเพื่อแผ่นดิน  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27  เข้าบริหารประเทศตั้งแต่ปลายปี 2551 แต่รัฐบาลต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจและอุทกภัยตลอดปี 2552-2553

    เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 เกิดจลาจลกลางกรุงเทพมหานคร ผลการปราบปรามทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 คน ส่งผลให้สังคมไทยเกิดความแตกแยกอย่างหนัก รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ผลการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะโดยได้เสียงข้างมาก จึงจัดการบริหารประเทศ เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2554 โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    • จงอธิบายกำเนิดการเสด็จประพาสต้นและความสำคัญของการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5

    มีสาเหตุจากการที่รัชกาลที่ 5 ทรงตรากตรำกับพระราชกรณียกิจมากเกินไป แพทย์จึงทูลให้พักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศ พระองค์จึงเสด็จแปรพระราชฐานไปที่พระราชวังบางปะอิน จ.นครศรีอยุธยา และมีพระราชประสงค์ไปยังเมืองราชบุรี ซึ่งเป็นการประพาสไปตามลำน้ำ เป็นการเสด็จอย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีหมายกำหนดการใดๆ ถือเป็นการไปเพื่อทรงพักผ่อนอิริยาบถ

    • ความมุ่งหมายของการเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 คืออะไร

    รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้น 2 ครั้ง มีความสำคัญต่อสังคมไทยดังนี้

    1. ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การพลิกแผ่นดินปฏิรูปบ้านเมืองซึ่งนับเป็นการวางรากฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ
    2. ทำให้รัชกาลที่ 5 ได้ล่วงรู้ถึงทุกข์สุขของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง 
    3. ทำให้พระองค์มีโอกาสทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง หลายวัดที่ทรงเสด็จก็ได้บริจาคเงินเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเหล่านี้
    4. ทำให้ทรงได้สหายใหม่ๆ และทรงกระชับความสัมพันธ์ในหมู่พระประยูรญาติที่ตามเสด็จ
    5. ทำให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์
    • การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของรัชกาลที่ 5 มีจุดประสงค์อะไร

    ทรงเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ.2440  2450
    ครั้งที่ 1  พ.ศ.2440 นับเป็นครั้งแรกของของพระมหากษัตริย์ในภูมิภาคนี้ที่เสด็จประพาสยุโรป
    โดยมีจุดประสงค์

    1. เพื่อทำความเข้าใจกับชาติที่คุกคามไทย
    2. เพื่อเจรจากับผู้นำของฝรั่งเศสเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งจากวิกฤติการณ์ ร.ศ.112 
    3. เพื่อแสวงหาชาติพันธมิตรมาช่วยส่งเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ
    4. เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ โดยนำมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงบ้านเมือง

            ครั้งที่ 2  พ.ศ.2450

    1. เพื่อรักษาพระอาการประชวร
    2. เพื่อเจรจาราชการบ้านเมืองกับชาติตะวันตก 
    3. ทรงให้สัตยาบันในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส
    4. ทรงเจรจากับปลัดกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ
    5. ทรงรับปริญญา Doctor of Law ณ บ้านของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
    6. ทรงมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนิภานภดล วิมลประภาวดี (หนังสือไกลบ้าน)
    • การเสด็จประพาสหัวเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

    เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของราษฏรมัีทั้งที่เสด็จไปตรวจราชการอย่างเป็นทางการและเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ (เสด็จประพาสต้น) ทั้งทางเรือ ทางรถไฟอย่างสามัญชน ทรงแต่งพระองค์อย่างคนธรรมดา ทำให้ได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิด ทำให้ทรงทราบทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฏร ตลอดจนการปฏิบัติงานของข้าราชการในสว่นท้องถิ่น 

    • จงอธิบายเหตุการณ์สำคัญของคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 ( พ.ศ.2427)

         กลุ่มข้าราชการหัวใหม่กราบทูลขอให้รัชกาลที่ 5 เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าคนไทยยังไม่พร้อม คำกราบบังคมทูลนี้ ถือว่าเป็นแผนพัฒนาการเมืองไทยฉบับแรก 

    • จงอธิบายกบฏ ร.ศ.130

         ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดการกบฏจากกลุ่มทหารขั้นผู้น้อย ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่สำเร็จ เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นกบฏทหารครั้งแรก  และมีความสำคัญต่อกลุ่มปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งได้อิทธิพลแนวคิดและแบบแผนไปใช้ 

    • ดุสิตธานีหรือเมืองประชาธิปไตย คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

       ดุสิตธานีหรือเมืองประชาธิปไตยของรัชกาลที่ 6 เป็นเมืองตุ๊กตาทดลองประชาธิปไตย โดยจัดเมืองทดลองประชาธิปไตย ซึ่งเริ่มในหมู่ขุนนางข้าราชบริพาร แต่ต่อมาได้ยกเลิกไป 

    • การปลูกฝังลัทธิชาตินิยมของรัชกาลที่ 6 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

             เพื่อให้คนไทยมีอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยทรงพระราชนิพนธ์บทประพันธ์แนวรักชาติไว้หลายเรือง เช่น หัวใจนักรบ ปลุกใจเสื่อป่า ภัยผิวเหลือง 

    • จงอธิบายการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับต่างชาติในสมัยรัชกาลที่ 6

             การแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมก้ับต่างชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 ไทยร่วมราบในสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่ยอมแก้ไขและทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ซึ่งมีความเท่่าเทียมกัน

    • การจัดระเบียบบริหารการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6 มีลักษณะอย่างไร

      มี 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  ส่วนกลางดำเนินงานเหมือนสมัยรัชกาลที่ 5 วางรากฐานไว้  ส่วนภูมิภาค ทรงรวมมณฑลเป็นภาค แต่ละภาคมีตำแหน่งอุปราชดูแล เปลี่ยนคำว่า เมือง เป็นจังหวัด  มีทั้งหมด 4 ภาค คือ ภาคพายัพ ภาคใต้ ภาคอีสาน และมณฑลบูรพา 

    • การจัดระเบียบบริหารการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7 มีลักษณะอย่างไร

        คล้ายคลึงสมัยรัชกาลที่ 6 และมีการเตรียมการวางรากฐานประชาธิปไตย เช่น รูปแบบการปกครองแบบเทศบาล 

    ——————

    การเรียนแม้เหนื่อยยาก ย่อมลำบากอย่าท้อแท้ สุดท้ายที่รอคอย คืออนาคตอันงดงาม

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    ความหมายของภูมิปัญญาไทย
    จากการศึกษาความหมายที่ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมคำว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ได้ให้ความหมายพอสรุปได้ ดังนี้

    ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน(Popular Wisdom) หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา อันเป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อการดำรงอยู่รอดของเผ่าพันธุ์จึงตกทอดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของธรรมชาติ เผ่าพันธุ์ หรือเป็นวิธีของชาวบ้าน ( ยิ่งยง เทาประเสริฐ)

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะมีรากฐานคำสอนทางศาสนา คติ จารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ

    1.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม
    2.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสังคมหรือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
    3.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบการผลิตหรือประกอบอาชีพที่มีลักษณะมุ่งเน้นระบบการผลิตเพื่อตนเอง
    ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจาก การสะสมประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบกับแนวความคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเอง จนเกิดหลอมตัวเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เป็นลักษณะของตนเอง ที่สามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ในการแก้ปัญหาของการดำรงชีวิต

    ( เสรี พงศ์พิศ)

    ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ จัดได้ 3 ประเภท คือ

    1. แหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษชาติ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล น้ำพุรอน ปรากฏการทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก แดดออก น้ำท่วม ความแห้งแล้ง

    2. แหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้นหรือสร้างขึ้น ซึ่งมีในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ได้สะดวกและรวดเร็ว

    3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง พ่อแม่ พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพแขนงต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งสถานที่ประกอบการ ร้านค้า หน่วยงาน

    หรือองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่น ( เอกสาร ศน. ที่ 5/2545)

    ความเป็นมาและความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายทั่วถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ไร้อาณาเขตขวางกั้น สภาพดังกล่าวมีส่วนกระทบถึงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองโดยทั่วไป เพราะเป็นสภาพที่เอื้ออำนวยในการรับและถ่ายโยงเอาศาสตร์หรือภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาในการพัฒนาประเทศและพัฒนาผลผลิต ตลอดจนการดำเนินชีวิต อย่างมิได้มีการปรับปนกับภูมิปัญญาไทยที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ชุมชนชนบทประสบปัญหาดังที่กล่าวว่าชุมชนล่มสลาย อันมีผลรวมไปถึงความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง การพยายามใช้กลไกลทางการศึกษาจากเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักสูตร ตามความต้องการ ของท้องถิ่น เป็นช่องทางในการประยุกต์เอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีจุดเด่น ที่สามารถพิสูจน์ตัวเองในการยืนหยัดอยู่รอดได้ ท่ามกลางกระแส การล่มสลายของชุมชนและการทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว มาสู่หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางของการคิดปฏิบัติจริง จากการประยุกต์ปรับปน ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทยกับปัญญาสากล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบคุณค่าภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นำมาซึ่งดุลยภาพที่สงบสันติสุขของบุคคล ชุมชนและชาติ

     ประเภทของภูมิปัญญาไทย

    1. ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งถ่ายทอดกันมา

    2. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา

    3. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย

    4. ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชาวบ้านนำมาดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่

    นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย เพื่อนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการเรียนรู้และส่งเสริมโดยแบ่งภูมิปัญญาออกเป็น 10 สาขา ดังนี้

    1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิมสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่าง ๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสานการแก้ปัญหาการเกษตร  การแก้ปัญหาด้านการผลิต ด้านการตลาด เช่น การแก้ไขโรคและแมลง การรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น

    2.สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิติและการบริโภค) หมายถึง  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อชะลอการนำเข้าตลาดเพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นขบวนการใช้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารากลุ่มโรงสีกลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น

    3.สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางสุขภาพและอนามัยได้

    4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม หมายถึงความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

    5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านการสะสมและบริหารกองทุนและธุรกิจชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในชุมชน

    6.สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดการสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม

    7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางศิลปะสาขาต่าง ๆเช่นจิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศีลป์ เป็นต้น

    8.สาขาการจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่าง ๆทั้งองค์กรชุมชน องค์ทางศาสนา องค์กรทางการศึกษา ตลอดทั้งองค์กรทางสังคมอื่น ๆในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน ระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน การจัดศาสนสถาน การจัดการศึกษา ตลอดทั้งการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น กรณีการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความ สำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ที่ดี หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ทางภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

    9.สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถสร้างผลงานทางด้านภาษาทั้งภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

    10.สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีค่าให้ความเหมะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ