เรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจดียังไง

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อการสร้างสรรค์ธุรกิจให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ และทักษะพื้นฐานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

วัตถุประสงค์หลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ตลอดจนทักษะและประสบการณ์ในด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการกระบวนการทางธุรกิจ
2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการจัดระบบความคิด คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และ/หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้
3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร สำนึกในจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

แนวทางประกอบอาชีพ

1. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
3. นักวิเคราะห์ธุรกิจ
4. ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์
5. นักพัฒนาเว็บไซต์
6. ผู้จัดการฐานข้อมูล
7. เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
8. เจ้าหน้าที่สารสนเทศ
9. ผู้ประสานงานโครงการ
10. เจ้าหน้าที่สนับสนุนงานไอที
11. ผู้ประกอบการ

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  (ฉบับปรับปรุง 2564

ลำดับ

ชื่อ – สกุล

คุณวุฒิ

สถาบันการศึกษา

1

อาจารย์กรรณิการ์ มาระโภชน์

วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)

มหาวิทยาลัยรังสิต

วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

สถาบันราชภัฏราชนครินทร์

2

อาจารย์จัดการ หาญบาง

วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ))

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

สถาบันราชภัฏราชนครินทร์

3

อาจารย์ดาเรศ วีระพันธ์

วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วท.ม. (เศรษฐศาสตร์)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศ.บ. (เศรษฐศาสตร์)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4

อาจารย์สิทธิศักดิ์ อรรจนานนท์

วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บธ.บ. (การจัดการทั่วไป)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

5

อาจารย์ธรรมรัตน์ สิมะโรจนา

วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์

วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

สถาบันราชภัฏเพชรบุรี

โครงสร้างหลักสูตร

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

(1) กลุ่มวิชาคุณค่าแห่งชีวิตและวิถีสังคม 6 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
– วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 6 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
– วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
– วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาศาสตร์แห่งการคิด 3 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาศาสตร์ของผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 97 หน่วยกิต

(1) กลุ่มวิชาแกนบังคับ 30 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาเอกเลือก 15 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ ปริญญาตรี พ.ศ. 2558

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน

ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน, การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น

คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

 

1.ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

  1. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)

เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)

  1. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)

คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้

  1. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)

คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

  1. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)

คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

 

จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัด, การทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น