ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ดียังไง

ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิดมาไม่มากก็น้อย นี่คงเป็นตัวอย่าง หรือบทเรียนราคาแพงที่ทำให้ทุกคนหันมาสนใจ และเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในด้านเศษฐกิจ สังคม การเมือง ปัญหาระหว่างประเทศ ที่อาจจะส่งผลกระทบกับทุกคนในยุคหลังโควิด ดังนั้นเราควรลงทุนกับอะไรให้เงินงอกเงย และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรเลือกลงทุนกับประกันออมทรัพย์

Show

1.ประกันออมทรัพย์ช่วยทำให้ชีวิตเรามั่นคง

ทำไมเราถึงต้องลงทุนกับประกันออมทรัพย์ ลงทุนอย่างอื่นไม่ดีกว่าเหรอ? คำตอบคือใช่แล้วการลงทุนอย่างอื่นอาจให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการลงทุนทางเดียว เป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากคุณอาจต้องสูญเสียเงินทั้งชีวิตในคราวเดียว หากตัดสินใจผิดพลาด ดังนั้น การลงทุนหลายทาง จึงเป็นวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีที่สุด และการซื้อประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ก็ถือเป็นทางเลือกของการสร้างหลักประกันให้ชีวิตมั่นคงอีกทาง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างวินัยให้ตัวเองรู้จักออมเงินอีกด้วย

2.ประกันออมทรัพย์ช่วยทำให้คุณ ได้รับผลตอบแทนและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

ทุกวันนี้ข้าวของทุกอย่างล้วนทยอยกันปรับตัวขึ้นสูง แล้วเราจะทำอย่างไรได้ ในเมื่อตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราจึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องสิทธิ์ต่าง ๆ ใน การลดหย่อนภาษี เพราะนอกจากจะช่วยลดรายจ่ายแล้วผลตอบแทนไม่ถูกนับเป็นรายได้ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถือเป็นการเปลี่ยนภาษีให้เป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคตอีกด้วย

3.ประกันออมทรัพย์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

อย่างที่รู้กันหลายคนคงไม่ได้มีเงินเก็บเยอะโดยเฉพาะวัยรุ่นที่เพิ่งสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่มีเวลาไปนั่งดูหุ้น หรือเทรดคริปโตที่ขึ้นลงรายวินาที ดังนั้นการทำประกันออมทรัพย์นอกจากจะไม่ต้องมานั่งเสียเวลาเฝ้าดูแล้ว ยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพย์สินมากขึ้นนอกจากปล่อยเงินทิ้งไว้เฉย ๆ

4.ประกันออมทรัพย์เป็นหลักประกันให้คนข้างหลัง

ประกันออมทรัพย์มาพร้อมความคุ้มครองในกรณี ผู้เอาประกันภัย เสียชีวิต แน่นอนว่าคนทำประกันส่วนใหญ่คงไม่มีใครอยากใช้เงินประกันในส่วนนี้อย่างแน่นอน แต่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ใครจะสามารถควบคุมมันได้ ดังนั้นหลักประกัน   ที่ดีคือ “มรดก” ที่จะทิ้งไว้ให้คนข้างหลัง 

5.ประกันออมทรัพย์สามารถเป็นเงินฉุกเฉิน

ในสถานการณ์คับขันเราอาจไม่สามารถพึ่งพิงใครได้ในยามลำบาก แต่กรมธรรม์สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ในกรณีฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการนำเงินไปชำระค่าบ้าน ค่างวด ค่ารถ ค่าเทอม หรือค่ารักษาพยาบาล ด้วยการขอ กู้เงินกรมธรรม์ หรือหากเราไม่อยากรับภาระดอกเบี้ย และสามารถยอมเสียผลประโยชน์บางส่วนได้ เราก็สามารถเลือก เวนคืนกรรมธรรม์ เพื่อนำเงินมาใช้ยามฉุกเฉิน แต่ขอย้ำว่าวิธีนี้ควรใช้เฉพาะยามจำเป็นจริง ๆ เท่านั้นนะ

อ่านจนมาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มสนใจอยากหาข้อมูลเกี่ยวกับประกันออมทรัพย์กันไม่มากก็น้อยแล้ว หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสามารถกรอกข้อมูลเพื่อรับการติดต่อกลับได้เลยนะ และแน่นอนว่าทุกครั้งที่ตัดสินใจซื้อประกันควรศึกษาผลิตภัณท์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้งนะ หรือ สนใจซื้อประกันออนไลน์ ง่ายๆ

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​คือการชดเชยรายได้ที่ต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือชราภาพ โดยบริษัทประกันชีวิต (บริษัทฯ) จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต


การทำประกันชีวิตมีประโยชน์หลายประการ เช่น

 

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ดียังไง

 

1. ให้ความคุ้มครอง ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องการเงินหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของครอบครัว (เช่น หนี้สิน) อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย


2. ประกันภัยบางประเภทเป็นการออมทรัพย์ การทำประกันภัยจะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ ให้จ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ และหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ก็จะได้เงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญา ใช้เป็นเครื่องมือออมเงินเพื่อเกษียณ ออมเพื่อทุนการศึกษาของบุตรหลาน


3. ใช้เบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท  และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท

1.  ความรู้เบื้องต้น

ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันชีวิต ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ได้แก่​

1.  ผู้รับประกันภัย 

คือบริษัทประกันชีวิต​ ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพื่อรับประกันต่อความสูญเสียหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์เมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ การประกันกรณีทุพพลภาพ หรือการประกันสุขภาพ (ดูรายชื่อบริษัท)​

2​.  ผู้เอาประกันภัย   

คือบุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทฯ โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต​

3.  ผู้รับประโยชน์   

คือบุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้รับเงินประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต​​​​

​ ​

ประเภทของการประกันชีวิต

การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.  ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance)

คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูงตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ

​​

​​​

2.  ​ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance)

คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ ตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ  ดังนั้น จึงมีระยะเวลารอคอยคือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลารอคอย บริษัทฯ จะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด​​

3.  ​ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)

คือการประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันภัยอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ  การประกันชีวิตประเภทนี้ ค่าเบี้ยประกันภัยจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรม

​ ​

เมื่อพิจารณาจากลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์ แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบคือ

01

แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)


คือการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ โดยบริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ หรือใช้สำหรับชำระหนี้ก้อนสุดท้าย

02

แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)


คือการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาเอาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ และไม่มีเงินคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น ๆ​​

03

แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)


คือการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาเอาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ซึ่งส่วนของการออมทรัพย์คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด​

ความแตกต่างระหว่างประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์กับการฝากเงินกับสถาบันการเงิน

​​ข้อเปรียบเทียบ

เงินฝาก

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

วัตถุประสงค์

​การออมทรัพย์คุ้มครองชีวิต (และอื่น ๆ) และออมทรัพย์

ผลตอบแทนเมื่อสัญญาสิ้นสุด

 

เงินฝากและดอกเบี้ย

- กรณีมีชีวิต (เงินจ่ายคืน/เงินปันผล)

- กรณีเสียชีวิต (เงินผลประโยชน์มรณกรรมหรือจำนวนเงินเอาประกันภัย) 

ลดหย่อนภาษี

ลดหย่อนภาษีไม่ได้

- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท

ภาษีจากผลตอบแทน

15% (กรณีเงินฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 20,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี)ไม่ต้องเสียภาษี

การฝาก/การจ่ายเบี้ยประกันภัย

ไม่ต้องฝากสม่ำเสมอจ่ายเบี้ยประกันภัยแบบชำระครั้งเดียวหรือแบบรายงวด

การถอน

ถอนได้ถอนไม่ได้ แต่ต้องยกเลิกกรมธรรม์ (การเวนคืนกรมธรรม์) แต่จะได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนตามเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายชำระไปแล้ว

สภาพคล่อง

สูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายต่ำ สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เมื่อกรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืน แต่จะได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนตามเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายชำระไปแล้ว

ความคุ้มครอง

ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามที่กฎหมายกำหนดไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันประกันคุ้มครองเงินฝาก 

04

แบบบำนาญ (Annuities Insurance)


คือการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือนหรือทุกปี นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป สำหรับกำหนดเวลาการเริ่มจ่ายเงินบำนาญและระยะเวลาการจ่ายเงินบำนาญขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ ซึ่​งผู้เอาประกันภัยควรพิจารณาเลือกแบบบำนาญให้ตรงกับแผนการใช้เงินในอนาคตของตน​ 

 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์แตกต่างกับการฝากเงินกับสถาบันเงินในเรื่องการถอนเงิน เนื่องจากการออมด้วยการซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ไม่สามารถถอนเงินได้เหมือนการฝากเงินได้ แต่ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้ ซึ่งมูลค่าเวนคืนตามกรมธรรม์ที่ได้จะถูกหักค่าธรรมเนียมในการเวนคืน


2.  การพิจารณารูปแบบประกันชีวิต​

ก่อนจะทำประกันชีวิต ผู้บริโภคต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิต ระยะเวลาคุ้มครอง จำนวนเงินเอาประกันภัย และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยก่อน เช่น

​​ ความต้องการ

​​ แบบประกันภัยที่เหมาะสม

  • คุ้มครองการเสียชีวิต
  • ความคุ้มครองระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5 10 15 หรือ 20 ปี 
  • ไม่มีเงินคืน
  • เบี้ยประกันภัยต่ำที่สุด
แบบชั่วระยะเวลา
  • คุ้มครองการเสียชีวิตพร้อมกับการสะสมทรัพย์ 
  • ความคุ้มครองระยะยาว เช่น 10 หรือ 20 ปี 
  • มีเงินคืนหรือเงินปันผล
  • เบี้ยประกันภัยสูง
แบบสะสมทรัพย์
  • คุ้มครองการเสียชีวิต 
  • ความคุ้มครองแบบตลอดชีพ เช่น คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี 99 ปี
  • เบี้ยประกันภัยค่อนข้างต่ำ
  • มีเงินคืน
แบบตลอดชีพ
  • คุ้มครองการมีชีวิตยืนยาว
  • มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ
  • มีเงินคืนเมื่อเกษียณอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี
  • เบี้ยประกันภัยสูง
แบบบำนาญ

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ช่วงชีวิตก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้เอาประกันภัยควรนำมาพิจารณาด้วย เช่น 

ช่วงเริ่มต้นทำงาน : ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ  ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ช่วงสร้างครอบครัว เริ่มมีบุตร มีการผ่อนรถ/บ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร : ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 

ก่อนเกษียณ : ประกันชีวิตแบบบำนาญ

​ 

3.  คำแนะนำในการเลือกและทำสัญญาประกันชีวิต มีดังนี้

1. ติดต่อบริษัทฯ โดยตรงหรือผ่านตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต2. ศึกษาแบบประกันชีวิตต่าง ๆ เพื่อเลือกแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของตนเอง​​3. เลือกวงเงินเอาประกันภัยที่ต้องการและเหมาะสม โดยควรคำนึงถึงรายได้ประจำที่ได้รับ และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย  

​​4. กรอกรายละเอียดในแบบคำขอเอาประกันชีวิต โดยแถลงความจริงทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติการรักษาพยาบาลและคำแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะการปิดบังในสาระสำคัญเหล่านี้จะเป็นเหตุให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์

5. ตรวจสอบความถูกต้องก่อนลงชื่อในแบบคำขอ และเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หากพบข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น ชื่อผู้รับประโยชน์หรือชื่อผู้เอาประกันภัยผิดพลาด ให้ทักท้วงบริษัทฯ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

6. จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตตามกำหนด และเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และถ้าจ่ายเบี้ยประกันชีวิตผ่านตัวแทน ต้องเรียกใบเสร็จรับเงินชั่วคราวเสมอ​

7. แจ้งให้ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ หรือบุคคลในครอบครัวทราบถึงการทำประกันชีวิต และสถานที่เก็บกรมธรรม์​

8. เก็บรักษากรมธรรม์ให้ดี ถ้าหายต้องไปแจ้งความและขอทำใหม่ ซึ่งจะถูกเก็บค่าธรรมเนียมด้วย

 

4.  การชำระเบี้ยประกันชีวิต 

ประเภทการชำระเบี้ยประกันชีวิต ได้แก่

1. ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว (single premium)2. ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด (level premium)  ซึ่งระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยอาจสั้นกว่าระยะเวลาความคุ้มครอง เช่น ระยะเวลาความคุ้มครอง 10 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี และสามารถกำหนดงวดการจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือนหรือรายเดือนก็ได้
  • ปัจจัยในการคำนวณเบี้ยประกันชีวิต จะพิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการคือ

  • 1. อัตรามรณะ คืออัตราเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย แยกตามเพศ อายุ

    2. อัตราดอกเบี้ย ที่บริษัทฯ กำหนดใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันชีวิต

    3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

    เมื่อถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันได้ โดยการยืดระยะเวลาได้ประมาณ 30 หรือ 60 วัน แล้วแต่เงื่อนไขของกรมธรรม์นั้น 

    • 5.  เงื่อนไขการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนกำหนด
    • ผู้เอาประกันภัยสามารถบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ดังนี้

      1. 1. กรณีบอกเลิกสัญญาภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ (free look period)  ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามที่จ่ายจริง หักด้วยค่าธรรมเนียม 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) ถ้าเป็นการขายผ่านทางโทรศัพท์ สามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วัน ผู้เอาประกันจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนเต็มจำนวน2. กรณีบอกเลิกสัญญาหลังจากเกินระยะเวลา free look period และกรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์​แล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ (มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์) ซึ่งมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์คำนวณมาจากเบี้ยประกันภัยหักด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทฯ  โดยในช่วงปีแรก ๆ มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์จะมีค่าน้อยเพราะค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ที่นำมาหักจากเบี้ยประกันภัยมีจำนวนสูง อนึ่ง กรมธรรม์บางแบบอาจจะยังไม่มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ในช่วงสิ้นปีที่ 1ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันภัยถูกชักจูงให้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตด้วยความเข้าใจผิด ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอยกเลิกสัญญาและได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามเงื่อนไขที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ กรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบปัญหาทางด้านการเงินแต่ยังประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิต สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
      2. 1. เลือกชำระเบี้ยประกันภัยลดลง : ทำได้ 2 วิธีคือ

                (1) ลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลง โดยกรมธรรม์ยังคงให้ความคุ้มครองตามการประกันชีวิตแบบเดิม หรือ 
                (2) ยกเลิกสัญญาเพิ่มเติม

        2. เลือกหยุดชำระเบี้ยประกันภัย : ทำได้ 2 วิธีคือ          (1) เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ โดยการลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลงแต่กรมธรรม์ยังคงมีผลคุ้มครองต่อไปจนกว่าสัญญาจะครบกำหนด หรือ
                  (2) แปลงกรมธรรม์เป็นการประกันภัยแบบขยายเวลา โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยจะยังคงมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยเดิม แต่ระยะเวลาคุ้มครองลดลง


      3. 6.  วิธีรับเงินครบกำหนด หรือค่าสินไหมทดแทน หรือการเคลมประกัน

        ในการขอรับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน  ให้ดำเนินการดังนี้

      4. 1. ติดต่อกับบริษัทฯ ให้เร็วที่สุด​​

      5. 2. กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ต้องแจ้งบริษัทฯ ภายใน 14 วัน และเตรียมหลักฐานคือกรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าหายให้แจ้งความ แล้วใช้สำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไปแสดงแทน)  ใบเสร็จรับเงินงวดสุดท้าย ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์ ทั้งนี้ การเสียชีวิตโดยฆ่าตัวตายใช้หลักฐานเพิ่มเติมคือสำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และใบชันสูตรพลิกศพ ส่วนการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุใช้หลักฐานเพิ่มเติมคือสำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใบชันสูตรพลิกศพ และสำเนาบันทึ​กประจำวันหลังกลับจากสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ​​ ​

      6. 3. กรณีเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะ ต้องแจ้งบริษัทฯ ภายใน 10 วันและเตรียมหลักฐานคือแบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทน ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลที่ระบุวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล หลักฐานอื่น ๆ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์ 

      7. 4. กรณีกรมธรรม์ครบกำหนด ต้องติดต่อบริษัทฯ และเตรียมหลักฐานคือกรมธรรม์ประกันชีวิต และบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย  โดยบริษัทฯ อาจจ่ายเงินเป็นเช็ค หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายเป็นเงินสด​​


      8. 7.  การยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันภัย

        บริษัทฯ ยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันภัยจากสาเหตุการตายดังนี้ 

    1. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยตายโดยเจตนา บริษัทฯ จะไม่จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่เป็นคนฆ่า แต่จะจ่ายค่าเวนคืนกรมธรรม์ (หักด้วยหนี้สินกรมธรรม์ ถ้ามี) หรือคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมดให้แก่ผู้รับประโยชน์คนอื่น ๆ ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์2. ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีนับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย บริษัท ฯ จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด