ยกตัวอย่าง การอยู่ร่วมกันในสังคม

ยิ่งมนุษย์เราโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ความอดทนย่อมน้อยลงเพื่อนที่สนิทจริงใจหากเราไม่รักษาไว้ให้ดีก็มีแต่จะลดน้อยลง ดังนั้นเราควรทำตัวให้เป็นเพื่อนที่ดีซึ่งมีหลักยึดเพียงบางส่วนที่จะช่วยให้เราอยู่ร่วมกับอยู่อื่นได้อย่างสุขสงบ

เรื่อง : มีนา ภาพ : AFP

หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นคือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้เขาสบายใจ แต่ยิ่งคนเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น บางคนก็มีความเป็นตัวตนสูง ค่อนข้างมีโลกส่วนตัวใครเข้าไปอยู่ในโลกเดียวกันได้ลำบาก เพื่อนสนิทนับวันก็จะลดน้อยลงทุกที แต่การอยู่ในสังคมจำเป็นต้องมีเพื่อนไว้ค่อยช่วยเหลือกันไว้บ้าง หลักสำคัญบางประการในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้เป็นอย่างดีไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน คือ

1. ต้องรู้จักประนีประนอม  เพราะแต่ละครอบครัวก็ถูกเลี้ยงดูมาแตกต่างกัน ขนาดพี่น้องที่เกิดจากท้องเดียวกัน ยังมีนิสัยที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละคนแตกต่างกันทั้งความคิด ความชอบ และระเบียบวินัย

2. อย่าตัดสินคนจากคำพูด แต่ให้มองที่ใจ เพราะการกระทำคือ ของที่จริงแท้แน่นอน เวลาได้ยินใครพูดอะไรหรือใส่ร้ายผู้อื่น อย่าเพิ่งไปปักใจเชื่อให้พิสูจน์ด้วยตัวเองเสียก่อน

3. หลักการทำงานร่วมกับคนอื่น เพราะเราไม่สามารถทำทุกอย่างด้วยตนเองได้หมด ต้องพึ่งพาคนอื่น การใช้คนอื่นให้ทำอะไร ต้องรู้วิธีในการพูดขอร้องด้วยวิธีที่สุภาพ อีกทั้งควรใจกว้างหรือมีน้ำใจกับเพื่อน มีวิธีสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายๆ

4. เป็นคนดี คือ คนที่คิดถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น คนจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่ผู้อื่นตัดสิน ดังนั้น หลักข้อแรกของคนดี จึงได้แก่ การไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ดังนั้นจะคบเพื่อนไปนาน ๆ อย่านำความเดือดร้อนมาสู่เพื่อน

5. อย่าตำหนิใคร ต่อหน้าคนอื่น เพราะจะทำให้เขารู้สึกเสียหน้า และจะเกิดความรู้สึกอับอายไม่พอใจ กลายเป็นสร้างปมเจ็บฝังลึกในใจ

6. อย่านำเรื่องลับ ไปพูดในที่แจ้ง เมื่อเราได้รับฟังความลับของเพื่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ยิ่งเป็นเรื่องไม่ดีเพื่อนต้องยิ่งระวังให้มาก ถ้าจะนำมาเปิดเผย ควรจะขออนุญาตอีกฝ่ายเสียก่อน มิฉะนั้นจะถูกตำหนิ ว่าไม่มีมารยาท และเพื่อนจะเกิดความไม่ไว้วางใจขึ้น

7. อย่าไปแก้ไขของที่คนอื่นทำไว้แล้ว เพราะอาจดูเป็นเรื่องเสียมารยาท เพราะอาจไปทำของๆ เพื่อนเสียหายก็ได้

8. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คนบางคนเมื่อโดนตำหนิว่าตนเองไม่ดีอย่างไร แทนที่จะแก้ไขสิ่งที่ไม่ดี หรือชี้แจงว่าตนเองไม่ได้เป็นอย่างที่กล่าวหา แต่ควรรับฟังแล้วแก้ไขเพื่อการไม่ทำผิดซ้ำอีก

9. บุญคุณต้องทดแทน ถ้าใครทำอะไรให้เรา ต้องตอบแทนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

10. ซื่อสัตย์ ถ้าเราโกงเขา หรือ เราโกหกเขา สักวันหนึ่งเขาย่อมจับได้ และความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนก็จะไม่เหลือ เพื่อนที่ดีเราควรรักษาเอาไว้ให้นาน

ในโลกปัจจุบันเราทุกคนต้องมีสังคมทั้งในบ้านและนอกบ้าน  ในบ้านเรามีครอบครัวที่อบอุ่นดูแลซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกันในทุกๆเรื่อง เห็นอกเห็นใจกัน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบของแต่ละคนก็ทำกันไปเท่าที่ทุกคนจะทำได้  อยู่ในที่ทำงานหรือนอกบ้านก็ต้องทำเหมือนๆกัน เราต้องรู้จักเกื้อกูลซึ่งกันและกันเหมือนกับเราปฏิบัติตัวเหมือนที่บ้าน แต่เราจะทำอย่างไรกันล่ะให้อยู่ร่วมกันได้และมีความสุข ไม่มีปัญหาต่างๆ เข้ามาทำให้เกิดความรำคาญใจกันซึ่งกันและกัน เราทุกคนต้องมีความเกี่ยวข้องกันในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานร่วมกัน เราต้องพึ่งพาอาศัยให้ความช่วยเหลือกัน ในความคิดส่วนตัวคิดว่าเราต้องเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อนต้องรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักการวางตน รู้จักการพูดจา รู้จักรับผิดชอบ และที่สำคัญขาดไม่ได้เลยก็คือความมีน้ำใจให้กัน ความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น และสุดท้ายความเสียสละ เช่น การลุกให้เด็กๆหรือคนแก่นั่งบนรถเมล์ เราทำแล้วเราได้ความสุขใจกลับมา

ถ้าเราทุกคนทำได้เหมือนๆ กัน สังคมของเราก็น่าอยู่ยิ้งขึ้นและน่ามองอยู่แล้วมีความสุข มองไปทางไหนก็เห็นแต่รอยยิ้มทำให้การอยู่ร่วมกันทางสังคมของเรามีความสุขมากยิ่งขึ้น

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข


การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข จำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย เพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่น การพาเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ หรือแม้แต่การมีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาสังคมของเราให้ดีขึ้นก็ได้ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจ การแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ได้วัดกันด้วยเงินทอง บางคนมีเงินมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะเป็นคนมีน้ำใจ เพราะเขาอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่มีความตระหนี่มากไม่ยอมแม้จะสละเงินให้ผู้อื่นโดยที่ตน ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ถึงกระนั้นคนที่ไม่ได้มีเงินมากเพียงแค่พอมีพอกินอาจเป็นคนที่พอมีน้ำใจให้ คนอื่นบ้างก็ย่อมเป็นที่รัก และชื่นชมของผู้อื่นเสมอ 


ความมีน้ำใจนั้น  ตรง กันข้ามความเห็นแก่ตัว  ขณะที่คนเห็นแก่ตัวมักจะคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน แต่แน่นอนที่คนมีน้ำใจจะคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมบ้าง และความ มีน้ำใจก็ยังตรงกันข้ามกับความอิจฉาริษยา คนที่อิจฉาริษยาคนอื่นย่อมปรารถนาที่จะเห็นความล้มเหลวของผู้ที่ได้ดีกว่า แต่คนมีน้ำใจนั้น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่าจะมีมุทิตาและจะ แสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ   ผู้มีน้ำใจจะนึกถึงผู้อื่นและจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า ผู้มีน้ำใจจึงเป็นที่รักและต้องการของคนทั่วไป และเป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม และที่สำคัญพวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต อย่างแน่นอน


อย่างที่กล่าวไว้ ความมีน้ำใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นในสังคมได้เลย   หากไม่มีผู้ใดแสดงหรือกระทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าหากเราอยากที่จะเป็นบุคคลนั้น บุคคลที่จะสร้างความมีน้ำใจให้แก่สังคม บุคคลที่ปรารถนาอยากให้สังคมของตนเองและผู้อื่นมีความสุขนั้น ทำได้ไม่ยากเลย มันอยู่ที่ความคิด ความรู้สึก และหัวใจของเราเองเท่านั้น ที่จะสั่งให้ตัวเองลงมือทำ เราอาจฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจได้  ดังนี้


อย่างที่กล่าวไว้ ความมีน้ำใจจะไม่สามารถเกิดขึ้นในสังคมได้เลย   หากไม่มีผู้ใดแสดงหรือกระทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าหากเราอยากที่จะเป็นบุคคลนั้น บุคคลที่จะสร้างความมีน้ำใจให้แก่สังคม บุคคลที่ปรารถนาอยากให้สังคมของตนเองและผู้อื่นมีความสุขนั้น ทำได้ไม่ยากเลย มันอยู่ที่ความคิด ความรู้สึก และหัวใจของเราเองเท่านั้น ที่จะสั่งให้ตัวเองลงมือทำ เราอาจฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจได้  ดังนี้


1. ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิด ถึงหัวจิตหัวใจของคนอื่น และแสดงต่อผู้อื่นเหมือนที่เราต้องการให้คนอื่นแสดงต่อเรา และทำดีต่อคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าความดีนั้นจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยหรือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็ตาม แม้ผู้อื่นไม่ได้รับรู้กันทุกคน แต่หัวใจของเราก็รับรู้เสมอ


2. ควรเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และไม่หวังว่าคนอื่นจะต้องมาให้เราเสมอ


3. ควรแสดงน้ำใจกับคนรอบข้าง เช่น เมื่อเวลามีโอกาสได้ไปเที่ยวในที่ไกลหรือใกล้ก็ตามควรมีของฝากเล็กๆน้อยๆ ติดมือมาถึงคนที่เรารู้จักและญาติมิตรของเรา นั่นเป็นการแสดงความมีน้ำใจต่อกัน เพราะแม้อาจจะเป็นแค่สิ่งเล็กน้อย แม้จะไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย แต่สิ่งที่ได้มันมีค่ามากกว่านั้น นั่นคือน้ำใจที่ผู้อื่นได้รับจากเรา


4. ควรเสียสละกำลังทรัพย์ สติปัญญา กำลังกาย และเวลาให้แก่ผู้เดือดร้อน เท่าที่เราพอจะทำได้โดยไม่ถึงกับต้องลำบากแก่ผู้อื่นให้กับผู้ที่ต้องการพึ่งพาอาศัยเรา โดยเป็นการกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทน


5. ควรมีนิสัยเอื้อเฟื้อ ช่วย เหลือเกื้อกูลต่อเพื่อนบ้าน เช่น ไปร่วมงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ หรืองานอื่นๆ เท่านั้นเขาก็จะเห็นว่าเราเป็นคนมีน้ำใจ และจะสามารถเชื่อมไมตรีจิตต่อกันได้


6. ควรให้ความรักแก่คนอื่นๆ และให้ความร่วมมือเมื่อเขาต้องการให้ช่วยเหลือ และช่วยเหลือเขาอย่างสุดความสามารถด้วยความจริงใจที่เรามี 


การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีน้ำใจ นอกจากจะทำให้เรามีจิตใจที่ดีงามเบิกบานแจ่มใส ผิวพรรณผ่องใส ใบหน้าอิ่มเอิบแล้วยังทำให้เราได้มิตรสหายมาก ใครก็อยากคบหาสมาคมด้วยเพราะความมีน้ำใจแสดงถึงความมีเมตตากรุณาต่อเพื่อน มนุษย์ แล้วชีวิตของเราจะพบแต่ความสุขตลอดไป เพราะสังคมของเราจะเป็นสังคมแห่งความสันติสุข


การสร้างสันติสุข และสันติสุขในสังคมที่สำคัญมีอยู่ 5 ประการคือ การศึกษา ศาสนา การเมือง กระบวนการยุติธรรม


           เรื่องของสื่อทางสังคม ทั้งหมดถือว่าเป็นองค์ประกอบสนับสนุนที่รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถดำเนินงานไปสู่เป้าหมายในเรื่องเดียวกัน คือสร้างสันติสุข และสันติภาพในสังคมได้อย่างแท้จริง สามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญแต่ละเรื่องได้ดังนี้


1. การศึกษา


การศึกษาที่แท้จริงมีจุดเริ่มต้นที่ครอบครัว เมื่อครอบครัวมีความอบอุ่นจะสร้างฐานการเรียนรู้ที่ถูกต้องให้กับเยาวชน คือมีความรู้ มีความคิด และมีความรัก ส่วนการศึกษาในระบบของรัฐจะต้องกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างสันติสุข และสันติภาพอย่างชัดเจน โดยที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของตน มีความรักต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม มีจิตใจกว้างและเต็มไปด้วยความเมตตา มีจิตใจที่เป็นอิสระจากอำนาจของวัตถุ จากอำนาจของกิเลสและทิฏฐิ และมีความสามารถทางด้านการใช้ความคิด หรือใช้ปัญญาได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง รวมทั้งมีศักยภาพในการพัฒนายกระดับปัญญาของตนให้สูงขึ้นได้เรื่อย ๆ ดังนั้นโรงเรียนหรือระบบการศึกษาควรจะสอนกระบวนการคิดต่อไปนี้ให้กับผู้เรียน (สำนักนายกรัฐมนตรี 2540:55-59) คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดอย่างมีเหตุผล คิดถูกทาง คิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล กระบวนการคิดต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยเสริมสร้างปัญญาให้กับมนุษย์และเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการสร้างสันติสุขและสันติภาพในสังคม


2. ศาสนา


ศาสนาเป็นสถาบันหลักทางสังคมมาตั้งแต่อดีต ในสภาวะสังคมปัจจุบัน ซึ่งสังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาที่สำคัญอยู่หลายเรื่อง จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีปัญญาหลาย ๆ ด้าน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมในทางสร้างสรรค์ และเพื่อมุ่งหวังให้สันติสุขอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในสังคม บทบาทที่สำคัญขอศาสนาในส่วนนี้จึงควรเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้กับประชาชน เป็นการช่วยเสริมบทบาทหน้าที่ของระบบการศึกษาให้มีความสมบูรณยิ่งขึ้น


หลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาเสริมระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาหลักใหญ่ ๆ ก็คือ หลักไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญมาก และหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งจะช่วยเสริมและพัฒนาปัญญาของมนุษย์ให้กว้างขวางและถูกต้องยิ่งขึ้น


3. การเมือง


ระบบการเมืองจะช่วยสร้างสันติสุขให้กับสังคมอีกทางหนึ่ง การเมืองจะต้องสร้างระบบการปกครองบ้านเมือง ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมทีเรียกว่าธรรมาภิบาล หรือธรรมรัฐ (Good Governance) ขึ้นมาให้ได้


ธรรมรัฐ หมายถึงผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรม ซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไป ภาครัฐ และเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทำลงไปในหลายทาง มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ (อานันท์ ปัญญารชุน 2541:26)


องค์ประกอบของธรรมรัฐมีดังนี้คือ


1) มีความรับผิดชอบและมีเหตุผลที่อธิบายได้รวมทั้งสมารถตรวจสอบได้


2) ประชาชนมีส่วนร่วม


3) ต้องมีการคาดการณ์ได้


4) จะต้องมีความโปร่งใส


5) จะต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบนี้


4. กระบวนการยุติธรรม


กระบวนการยุติธรรมเป็นองค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมรัฐ จะเป็นส่วนที่ทำให้กระบวนการบริหาร การดำเนินชีวิต การควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ สามารถกระทำได้ด้วยความถูกต้อง เสมอภาค ยุติธรรม เริ่มต้นจากการมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมต่อสังคม และปัจเจกบุคคล และจะต้องมีผู้ใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นตุลาการ อัยการ ตำรวจ ผู้ใช้กฎหมายเหล่านี้จะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและมีความเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง สังคมที่ทุกคนอยากจะสร้างก็คือ สังคมที่ต้องมีกฎหมายที่ดีรองรับ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องมีตุลาการที่เป็นอิสระไม่ติดยึดอยู่ในผลประโยชน์หรืออำนาจ โดยเฉพาะอำนาจทางการเงินของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (อานันท์ ปัญญารชุน 2541:30)


5. สื่อทางสังคม


ยุคปัจจุบันเป็นยุคสังคมข้อมูลข่าสาร สิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่ยิ่งก็คือ สื่อทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้ข้อมูลข่างสารแก่ประชาชน สื่อทางสังคมได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์


ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสื่อบันเทิง โฆษณา การศึกษา วัฒนธรรมและในด้านอื่น ๆ ในปัจจุบันมีลักษณะการใช้สื่อในระบบใหม่คือ มัลติมีเดีย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างหลากหลายผสมผสานกันเพื่อเสริมความต้องการของคนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สามารถสัมผัสกันได้มากขึ้น ระบบมัลติมีเดีย จึงเป็นระบบที่อยู่ในความสนใจของมนุษย์เป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบัน


ภาพรวมของสื่อทางสังคมในปัจจุบันที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ในหนังสื่อพิมพ์เต็มไปด้วยเรื่องละครประเภทด้อยคุณภาพ เรื่องของดารา วงการกีฬา การโฆษณา และพาดหัวข่าวด้วยการเมือง และอาชญากรรม สื่อวิทยุส่วนมากใช้เวลาในการกระจายเสียงเพลง โฆษณาสินค้า โดยที่สัดส่วนของข่างสารมีน้อย และมีประเภทสนทนาบ้าง สำหรับโทรทัศน์ส่วนใหญ่ใช้เป็นสื่อสำหรับการบันเทิงและการโฆษณาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา มีข่าวสารหรือรายการที่มีสาระอยู่บ้าง แต่เป็นสัดส่วนที่น้อยเช่นเดียวกัน (อานันท์ ปัญญารชุน 2541:176-177)


การสร้างสันติสุข สันติภาพในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นสิ่งที่เริ่มต้นจากฐานที่สำคัญคือ ความศรัทธาในศาสนา การมีความคิดอิสระ การมีความรัก ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญที่ทุกคนจะต้องมีเป็นเบื้องต้น หลังจากนั้นทุกคนจึงต้องช่วยกันสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ครอบครัวอบอุ่น สุขภาพที่สมบูรณ์ ชุมชนที่เข็มแข็ง สังคมสันติสุข และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ในส่วนของรัฐจะต้องเข้ามาเสริมในองค์ประกอบทุก ๆ ส่วน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์โดยครบถ้วนทุก ๆ องค์ประกอบ ในลักษณะของการเกิดดุลยภาพ คือคนเป็นผู้สร้างสังคม สังคมเป็นผู้สร้างรัฐ และรัฐกลับมาสร้างคนและสังคม ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ในลักษณะของการเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นการสร้างสันติสุข และสันติภาพในลักษณะของการเคลื่อนไหว และการเลื่อซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นความสมดุลของทุก ๆ ส่วน เป็นสันติสุขที่มีความสอดคล้องและผสมผสานกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างแท้จริง