การหาวิธีแก้ปัญหา

บางปัญหาแค่ดีดนิ้วก็แก้ได้แล้ว แต่บางปัญหาที่มีประเด็นซับซ้อนจะต้องใช้ทักษะย่อยของ Problem Solving Skills เข้ามาช่วยและต้องมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา เพราะไม่อย่างนั้นการแก้ปัญหาของเราอาจมีลักษณะเหมือนงมเข็มหรือสะเปะสะปะจับต้นชนปลายไม่ถูกก็เป็นได้ Plook Friends จึงอยากแนะนำ 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ของการแก้ไขปัญหาให้น้อง ๆ ได้ลองนำไปใช้กันดู

การหาวิธีแก้ปัญหา
cr: www.freepik.com

1. ระบุและอธิบายรายละเอียดของปัญหา (Identify and Define) 

ขั้นแรกของการแก้ไขปัญหาคือการระบุให้ได้ก่อนว่าปัญหาคืออะไร โดยพยายามอธิบายรายละเอียดของปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ยิ่งเราสามารถระบุและเล่าได้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นและมีต้นตอมาจากอะไรจะช่วยให้เราจับประเด็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาที่ดี และการที่จะทำเช่นนั้นได้ก็จะต้องใช้ทักษะในการค้นคว้าวิจัยที่ดีควบคู่กันไป

2. วิเคราะห์ปัญหา (Analyze) 

จะว่าไปแนวทางการวิเคราะห์ปัญหานั้นมีมากมายหลากหลายแนว หนึ่งในนั้นคือการวิเคราะห์และจำแนกปัญหาออกเป็นขั้น ๆ ตามระดับผลกระทบของปัญหาดังนี้
 

ผลกระทบเบา คือปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นและไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตหรือกิจการของเราอย่างทันที ในขั้นนี้เราสามารถบริหารจัดการทรัพยากรและเวลาในการแก้ไขปัญหาได้อย่างยืดหยุ่น เพราะแรงกดดันยังมีไม่มาก แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะถ้าชะล่าใจมันอาจขยายใหญ่จนเข้าสู่ขั้นที่ 2 ได้
 

ผลกระทบปานกลาง เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าขั้นแรก อาจเป็นผลมาจากปัญหาที่หมักหมมมาจากขั้นแรก หรือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาก็มีผลกระทบปานกลางแล้ว ในขั้นนี้เราจะต้องลงทุนลงแรงในการแก้ปัญหาให้เร็วก่อนที่ปัญหาจะพัฒนาไปสู่ขั้นวิกฤติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้
 

ผลกระทบขั้นวิกฤติ ปัญหาในขั้นนี้จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ต้องทุ่มทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหาในทันที มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดแผลเป็นในระยะยาวต่อตัวเองหรือองค์กรได้ 

การวิเคราะห์และจำแนกดังกล่าวจะช่วยให้เรารู้ว่าควรบริหารจัดการกับปัญหาด้วยวิธีไหน ใช้ทรัพยากรอะไรและเท่าใดบ้าง และควรมีกรอบเวลาในการแก้ไขปัญหานานเท่าไหร่

3. พัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหา (Develop Alternate Solutions) 

ด้วยการที่ปัญหาหนึ่งมักจะมีทางออกมากกว่าหนึ่งทางเสมอ จึงเป็นการดีที่เราจะพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาออกมาหลายแนวทาง เทคนิคคืออย่าเพิ่งจำกัดความคิดตัวเองมากนักในขั้นตอนนี้ พยายามปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาออกมา เพราะมันอาจทำให้เราได้มาซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาที่สดใหม่จนสามารถนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานใหม่ในชีวิตหรือกิจการต่าง ๆ ในองค์กรได้

การหาวิธีแก้ปัญหา
cr: www.freepik.com

4. ประเมินแนวทางที่ได้มา (Evaluate Alternatives) 

เมื่อเราได้ชุดแนวทางการแก้ไขปัญหามาแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้เรากำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ ในการคัดเลือกแนวทางที่ได้มา เช่น ความคุ้มค่าทางต้นทุน ประโยชน์ในระยะยาว ทรัพยากรที่ต้องใช้ ฯลฯ จากนั้นให้เราคัดแยกแนวทางที่คาดว่าจะให้ผลลัพธ์ไม่ดีออก ทำการให้คะแนนกับแต่ละแนวทางที่ผ่านการคัดแยกแล้วเรียงลำดับตามคะแนนที่ได้ เสร็จแล้วให้เราลองประเมินการจัดลำดับของแนวทางการแก้ไขปัญหาอีกครั้งด้วยการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทาง

5. ลงมือปฏิบัติตามแนวทาง (Implement the Solution) 

ขั้นตอนการลงมือแก้ไขปัญหานี้ถ้าให้ดีควรมีแผนการการลงมือปฏิบัติที่ชัดเจน ยิ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนก็ควรมีลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา และควรมีแผนสำรองกรณีที่เกิดปัญหาพ่วงขึ้นมาระหว่างการแก้ไข ซึ่งถ้าเราทำได้ดีในขั้นตอนการระบุและอธิบายรายละเอียดของปัญหา (ขั้นตอนที่ 1) ก็จะสามารถคาดคะเนถึงปัญหาพ่วงที่อาจเกิดขึ้นได้ และในขั้นตอนการลงมือปฏิบัตินี้นี่เองที่จะต้องใช้ทักษะในการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะในกรณีของปัญหาระดับองค์กร

6. ประเมินผลปฏิบัติการ (Mesure the Result) 

หลังจากลงมือแก้ไขปัญหาไปแล้ว ในกรณีที่ปัญหายังอยู่ แน่นอนว่าเราต้องกลับไปหาแนวทางการแก้ปัญหากันใหม่ หรืออาจจะต้องกลับไปทบทวนดูว่าเราระบุต้นตอของปัญหาได้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ส่วนในกรณีที่ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว เราก็ควรประเมินดูว่าแนวทางของเรามีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าไม่ก็ควรพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้นด้วยการคิดค้นแนวทางใหม่ตั้งแต่ต้นหรือกลับไปดูแนวทางอื่น ๆ ที่เราได้มาจากขั้นตอนที่ 3 ก็ได้

 

แม้ขั้นตอนดังกล่าวจะดูเป็นพิธีรีตองไปหน่อย แต่ถ้าฝึกฝนไปเรื่อย ๆ เราจะประยุกต์ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างไหลลื่นและเป็นไปตามธรรมชาติ ประหนึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามสัญชาตญาณของเราโดยปริยาย แต่แน่นอนว่าสำหรับใครที่ยังไม่เคยลองแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเช่นนี้อาจจะยังไม่คล่องนัก เราจึงมีแนวทางการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาดี ๆ ให้ได้ลองนำไปใช้กันดู

         ��кǹ��÷�����㹡����ѭ���� 4 ��鹵͹ �ѧ�����
         1)  ��÷Ӥ������㨻ѭ��
              - �Ӥ������㨶��¤ӵ�ҧ � 㹻ѭ��
              - �¡�������͡�����觷���ͧ����Ҥ������
              - ������������͹䢡�˹���������ú�ҧ ��§�ͷ����Ҥӵͺ���������         
         2) ����ҧἹ㹡����ѭ�� ���� 2 �óդ��
              2.1  �ջ��ʺ��ó�㹡����ѭ����ѡɳй�� � �ҡ�͹
                    - �Ԩ�ó���觷���ͧ�����
                    - ���͡�ѭ����ҷ�����ѡɳФ���¤�֧�Ѻ�ѭ�ҷ����� ��������Ƿҧ
                    - ��Ѻ��ا�Ƿҧ㹡����ѭ���������ʹ���ͧ��������Ѻ�ѭ������
                    - �ҧἹ��ѭ��
              2.2  ����ջ��ʺ��ó�㹡����ѭ���ѡɳй���ҡ�͹
                    - �Ԩ�ó���觷���ͧ�����
                    - ���Ըա������������������ѹ�������ҧ��觷���ͧ����ҡѺ�����ŷ��������
                    - �Ԩ�óҴ���� ��������ѹ��������ö�Ҥӵͺ��������� ���������ͧ�Ң������������ �����Ҥ�������ѹ����ٻẺ���
                    - �ҧἹ��ѭ��
               2.3  ���Թ�����ѭ�ҵ��Ἱ����ҧ��� ������ҧἹ�������ǡ���Թ�����ѭ�� ���Ἱ����ҧ��� �����ҧ��ô��Թ���
�������Ƿҧ��蹷��ա��� ������ö���һ�Ѻ����¹��
               2.4  ��Ǩ�ͺ�����ѭ�� ��������Ըա����ѭ������ ���繵�ͧ��Ǩ�ͺ��� �Ըա�÷���������Ѿ����١��ͧ�������         

      (3) ���Թ�����ѭ�ҵ��Ἱ����ҧ���  
          ��������ա���ҧἹ���ǡ���Թ�����ѭ�� �����ҧ��ô��Թ�����ѭ�� �Ҩ���������Ƿҧ���ա��ҷ��Դ��������ö ��Ѻ����¹��

      (4)  ��õ�Ǩ�ͺ  �繢�鹵͹�ش���·����繵�ͧ�ա�õ�Ǩ�ͺ���Ѿ����� ����Թ��� ��ѭ�ҵ��Ἱ����ҧ���١��ͧ������� ��кǹ�����ѭ�� ����ö��ػ�͡����Ἱ�Ҿ�ѧ���

              

การหาวิธีแก้ปัญหา

         �ٻ��� 1 �ʴ���кǹ�����ѭ��