แบบประเมิน คุณธรรม จริยธรรม 5 ประการ

1. การก่อตัวนโยบาย (Policy Formation)

        2. การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)

        3. การตัดสินนโยบาย (Policy Decision)

        4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

        5. การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)

1. การก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบาย เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ลักษณะสภาพของปัญหาสาธารณะว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาอะไร เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด มีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร จนเกิดเป็น Public Issue/Public Problem

Public Issue หมายถึง สิ่งที่เป็นประเด็นถกเถียงกันของสังคม แต่ยังไม่เป็นประเด็นปัญหา

Public Problem หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหาของสังคม

การระบุปัญหาที่ชัดเจน เป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา

                การก่อตัวนโยบายสาธารณะ จึงเริ่มต้นสถานการณ์ที่เกิดนโยบาย (Public Issue/Public Problem) ตระหนักและระบุปัญหา กลั่นกรองปัญหา จัดระเบียบวาระนโยบาย กำหนดวัตถุประสงค์

โดยปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ ต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้

(1)       เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงทางการเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง เป็นต้น

(2)       มีการแตกตัวและขยายวงกว้างออกไป เช่น ปัญหาความเป็นเมือง เป็นต้น

(3)       มีความกระเทือนต่อความรู้สึกและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม แรงงานเด็ก เป็นต้น

(4)       มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษ เป็นต้น

(5)       มีลักษณะท้าทายต่ออำนาจและความชอบธรรมของรัฐ เช่น ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น

(6)       เป็นเรื่องร่วมสมัย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น

เมื่อทราบลักษณะปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้

ชัดเจน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย สามารถทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่จะต้องทำ และการเลือกใช้นโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  นอกจากนี้วัตถุประสงค์ยังเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือกนโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ และเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบายว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด

2. การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ 2 ของกระบวนการนโยบาย ซึ่งการกำหนดนโยบายถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดพฤติกรรมการเมือง และการบริหารอื่น ๆ ตามมา การกำหนดนโยบายสาธารณะในปัจจุบันมิใช่เป็นภารกิจผูกขาดที่เป็นของรัฐโดยเฉพาะ

ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ประกอบด้วย  ฝ่ายบริหาร , ฝ่ายนิติบัญญัติ , ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระต่าง ๆ

 การกำหนดนโยบาย ต้องศึกษาในเรื่องของตัวแสดงในกระบวนนโยบายสาธารณะ (Actors)  และตัวแบบเพื่อการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Model) ดังนี้

ตัวแสดง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยตัวแสดงในนโยบายสาธารณะสามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

  1. ตัวแสดงในภาครัฐ
  2. ตัวแสดงในภาคสังคม
  3. ตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศ

ตัวแบบในการกำหนดนโยบายสาธารณะ มีการอธิบายตัวแบบได้ ดังนี้

               1.    ตัวแบบเชิงสถาบัน (Institutionalism Model)

               2.    ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model)

                                     3.    ตัวแบบกลุ่ม (Group Model)  

                                  4.    ตัวแบบระบบ (System Model)

                                  5.    ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Model)  

                                  6.    ตัวแบบเหตุผล (Rational Model)

ตัวแบบ จะมี 2 กลุ่ม

                กลุ่มที่ 1: กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ

โดยพยายามพรรณนาหรือบรรยาย และอธิบายนโยบายมากกว่าเสนอมาตรการที่ดีกว่า (ข้อ 1-4)

กลุ่มที่ 2: กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับผลผลิตและผลกระทบของนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะความพยายามเสนอมาตรการที่ดีกว่าในการปรับปรุงเนื้อหาของนโยบายสาธารณะ (ข้อ 5-6)

โดยการกำหนดนโยบายมีขั้นตอน ดังนี้

(1) การพัฒนาทางเลือกของนโยบาย

                        (2) การประเมินทางเลือกของนโยบาย

                        (3) การตัดสินใจทางเลือกเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย

                        (4) การประกาศใช้เป็นนโยบาย

3. การตัดสินนโยบาย (Policy Decision) หรือการเลือกนโยบาย หมายถึง การเลือกวิถีทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ ซึ่งหลักจริยธรรม หรือคุณธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในการเลือกนโยบาย

การพิจารณาทางเลือกนโยบาย

(1)       ประสิทธิผล Effectiveness ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก

(2)       ประสิทธิภาพ Efficiency ความสามารถในการผลิตผลผลิต โดยเปรียบเทียบจากต้นทุน

(3)       ความพอเพียง Adequacy ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่

(4)       ความเป็นธรรม Equity การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามนโยบายต่อประชาชนในสังคม

ทฤษฎีความเป็นธรรมในนโยบาย/ความหมายนโยบายสาธารณะที่ดี

- แนวความคิดของ Jeremy Bentham เห็นว่า การกระทำที่ดีที่สุด คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด หรือที่เรียกว่า หลักอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ดังนั้นนโยบายใดก็แล้วแต่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสุขแก่คนส่วนใหญ่มากที่สุด ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีและควรนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

แนวความคิดนี้ ผู้กำหนดนโยบายต้องเลือกทางเลือกที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับสังคมส่วนรวม มองข้ามปัจเจกบุคคล และไม่ได้พูดถึงการชดเชย

- แนวความคิดของ Vilfredo Pareto  คือ ทางเลือกใดที่ทำให้คนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคนรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม โดยที่ไม่ทำให้ใครรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม ทางเลือกนั้นเป็นทางเลือกที่ควรเลือก

แนวความคิดนี้ รัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้คนที่รู้สึกแย่ลงกว่าเดิมอันเนื่องมาจากทางเลือกของนโยบายหนึ่ง ๆ สามารถคัดค้านได้ ซึ่งการคัดค้านนั้นอาจมีผลให้ทางเลือกนั้นถูกยกเลิกไป หรือทางเลือกนั้นถูกเลือกกำหนดเป็นนโยบาย แต่มีการชดเชยให้แก่คนที่รู้สึกว่าตนเองได้รับผลเสียจากทางเลือกนั้น

 - แนวความคิดของ John Rawls  คือ สิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลายในสังคมควรถูกแบ่งหรือจัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่ถ้าไม่สามารถจัดสรรให้เท่าเทียม  การจัดสรรที่ไม่เท่าเทียมนั้นต้องให้ทุกคนได้รับประโยชน์ และความแตกต่างที่ไม่เท่าเทียมนั้น ควรจะมีช่องว่างหรือความแตกต่างกันให้น้อยที่สุด เพื่อความยุติธรรม

(5)       การตอบสนอง Responsiveness ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ

(6)       ความเหมาะสม Appropriateness การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

Thomas R. Dye กล่าวว่า ความต่อเนื่องของกระบวนการนโยบายสาธารณะมิได้สิ้นสุดที่การผ่านกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติ แต่อยู่ที่การนำนโยบายไปปฏิบัติจากที่ทำงานของผู้นำประเทศไปสู่ระบบราชการ สู่หน่วยงานต่าง ๆ

ผู้เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ , ฝ่ายบริหารหรือระบบราชการ , กลุ่มกดดัน และองค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม

การนำนโยบายไปปฏิบัติ มีกระบวนการดังต่อไปนี้

-                   เมื่อได้รับนโยบายจากรัฐบาล ส่วนราชการจะต้องนำนโยบายมาวิเคราะห์เพื่อดูว่าอยู่ในพันธกิจของส่วนราชการในเรื่องใด ก่อนที่จะนำพันธกิจมากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่จะต้องตอบสนองรัฐบาล

-                   ส่วนราชการมอบหมายหน่วยงานในสังกัดให้นำเอาประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการไปแปลงเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับกรม

-                   กรมจะต้องแปลงยุทธศาสตร์ระดับกระทรวงให้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ระดับกรม โดยพิจารณาจากพันธกิจและวิสัยทัศน์ของกรม

-                   จากประเด็นยุทธศาสตร์ กรมจะต้องกำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และกลยุทธ์ที่จะต้องใช้ดำเนินการให้บรรลุเป้าประสงค์และได้ตัวชี้วัดตามที่กำหนดไว้

-                   จากกลยุทธ์ที่กำหนด กรมจะต้องกำหนดโครงการเพื่อตอบสนองแต่ละกลยุทธ์ที่วางไว้

-                   แต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่แน่นอนในการส่งมอบผลผลิตตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

การนำนโยบายไปปฏิบัติ จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น

-                   ความยากง่ายของสถานการณ์

-                   ปัญหาที่เผชิญอยู่

-                   โครงสร้างตัวบทของนโยบายสาธารณะ

-                   โครงสร้างนอกเหนือตัวบทบาทของนโยบายสาธารณะ

กระบวนการที่เป็นปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่

-                   ปัญหาทางด้านสมรรถนะ เช่น ปัจจัยบุคลากร เงินทุน เครื่องจักร วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เวลา เทคโนโลยี เป็นต้น

-                   ความสามารถในการควบคุม

-                   การไม่ให้ความร่วมมือ หรือการต่อต้าน

-                   การประสานงานระหว่างองค์กรรับผิดชอบกับองค์กรอื่น ๆ

-                   การไม่ให้ความสนับสนุนทางผู้เกี่ยวข้อง แต่กลับสร้างอุปสรรคในแง่ต่อต้านคัดค้านนโยบาย เช่น กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มการเมือง ข้าราชการ สื่อมวลชน เป็นต้น

ปัจจัยความสำเร็จ/ล้มเหลว ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่

-                   ลักษณะของนโยบาย

-                   วัตถุประสงค์ของนโยบาย

-                   ความเป็นไปได้ทางการเมือง

-                   ความเป็นไปได้ทางเทคนิค

-                   ความเพียงพอของทรัพยากร

-                   ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ

-                   ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ

-                   ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ

5. การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) คือ ขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการนโยบาย ซึ่งจะให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบาย หรือผลการดำเนินการตามนโยบายว่า ตอบสนองความต้องการหรือมีคุณค่าหรือไม่เพียงใด

Andersons กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการณ์ การเปรียบเทียบผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

Dye กล่าวว่า การประเมินนโยบาย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายสาธารณะ

ประเภทของการประเมินผลนโยบาย มี 2 ประเภท คือ

1. การประเมินเพื่อการกำหนดนโยบาย (Formative Evaluation) หมายถึง การประเมินก่อนการกำหนดนโยบาย ส่วนมากเป็นการประเมินความต้องการ หรือประเมินความเป็นไปได้ของนโยบายที่จะกำหนดขึ้น

2. การประเมินผลเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว (Summative Evaluation) หมายถึง การประเมินหลังนำนโยบายไปปฏิบัติในรูปของแผนกลยุทธ์ โดยมีการจัดทำโครงการตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ การประเมินดังกล่าวเป็นการติดตามแผนกลยุทธ์ว่าสามารถทำได้ในระดับใด มีคุณค่าตัดสินได้ระดับไหน

เกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบาย

  1. เกณฑ์การประเมินที่นำเสนอโดย OEDC ของธนาคารโลก

-                   ประสิทธิผล Effectiveness บรรลุผลตามเป้าประสงค์หรือไม่

-                   ประสิทธิภาพ Efficiency ต้องใช้ความสามารถเท่าใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

-                   ความพอเพียง Adequacy ต้องใช้ทรัพยากรเท่าใด จึงจะได้ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์

-                   ความเป็นธรรม Equity ผลที่ได้รับกระจายอย่างเป็นธรรมหรือไม่

-                   การตอบสนอง Responsiveness ผลลัพธ์สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มต่าง ๆ ได้หรือไม่

-                   ความเหมาะสม Appropriateness ผลลัพธ์ที่ต้องการมีคุณค่าจริงหรือไม่

  1. เกณฑ์ที่นำเสนอโดย  Harvard Business School (Balance Scored- card หรือ BSC) โดยมีมุมมอง

4 มิติ คือ มิติด้านการเงิน, ลูกค้า, กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และการเจริญเติบโต ซึ่งปัจจุบันหน่วยราชการไทยใช้กรอบนี้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน โดยมีมุมมอง 4 มิติ เช่นเดียวกัน ได้แก่ ประสิทธิผล, ประสิทธิภาพ, คุณภาพการให้บริการ และการพัฒนาองค์กร

                                3.    แนวคิดในการประเมินแบบ CIPP Model เป็นการประเมินภาพรวมของโครงการ ตั้งแต่บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต (Context , Input , Process and product)

การประเมินด้านบริบท เป็นการประเมินก่อนการดำเนินการโครงการ เพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ

การประเมินปัจจัยนำเข้า เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ

                การประเมินกระบวนการ เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้