สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองมาอย่างละ 3 ข้อ

สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฏหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น

เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็น สิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมาย บัญญัติไว้ จะไม่ปฏิบัติตามไไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 นี้ถือเป็นวันครบรอบ 10 ปี การหายตัวไปของ “สมบัด สมพอน” หรือ อ้ายสมบัด นักพัฒนาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวลาว เจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ ด้านการบริการสังคม ปี 2548 ที่หายตัวไปจากสำนักงานปาแดกในกรุงเวียงจันทร์

จนถึงวันนี้การหายตัวไปของสมบัด สมพอน ยังคงเป็นปริศนา ไม่รู้ชะตากรรม มีเพียงความทรงจำ ความหวัง และความคิดถึงของครอบครัวกับคนใกล้ชิดที่ยังคงรอคอยให้สมบัดกลับมา 

เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) ได้มีการแถลงข่าววาระ 10 ปี การบังคับสูญหายของสมบัด สมพอน  ซึ่งมีทั้งครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติร่วมแถลงความคืบหน้าการตามหาตัวเขา และเรียกร้องความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

ซึ่งภายในงานแถลงข่าว ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ ได้กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลลาวเพิ่มความพยายามในการสอบสวนการสูญหายกรณีของสมบัด สมพอน รวมไปถึงคดีอื่น ๆ เพื่อนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการชดเชยเยียวยาเหยื่อและครอบครัวของผู้สูญหาย โดยย้ำว่า การบังคับให้สูญหายถือเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ 

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองมาอย่างละ 3 ข้อ

10 ปีที่ผ่านมา กับความคืบหน้าในการตามหา ‘สมบัด สมพอน’ 

นับจากเวลา 18.00 น. ของวันที่ 15 ธันวาคม 2555  ที่สมบัดหายตัวไป จนถึงวันนี้ อึ้ง ชุย เม็ง ภรรยาชาวสิงคโปร์ของสมบัด สมพอน กล่าวว่า ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกี่ยวกับคดีของสมบัด ที่ผ่านมาได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ทางฝั่งลาวแค่เพียงว่า ยังคงเสาะหาอยู่ ยังไม่มีข้อมูลอะไรชัดเจน

ทำให้ทุก ๆ ปี เธอจะมาจัดงานระลึกถึงสมบัด สมพอน ที่ประเทศไทย เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงการหายตัวไปของนายสมบัด เพราะมองว่า การอุ้มหายถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล ที่ไม่ควรมีใครต้องถูกกระทำเช่นนี้อีก จึงต้องส่งเสียงให้คนในสังคมได้รับรู้ถึงกรณีการหายตัวไปของสามีตัวเอง

“จนถึงวันนี้ยังคงมีความหวัง อยากให้สมบัดกลับมาสู่ครอบครัว กลับมากินข้าวด้วยกัน ใช้ชีวิตอย่างธรรมดากับครอบครัว ถึงแม้จะผ่านมา 10 ปี ก็ยังคงคาดหวังอยู่ตลอดเวลา” อึ้ง ชุย เม็ง ภรรยาของสมบัด สมพอน

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองมาอย่างละ 3 ข้อ

‘บังคับสูญหาย’ ภาพสะท้อนปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในอาเซียน

ด้าน อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับสูญหาย (WGEID) และอดีตกรรมาธิการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หนึ่งในผู้ร่วมเวที กล่าวถึงกรณีของการบังคับสูญหายของสมบัด สมพอน ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเรื่องของสิทธิมนุษยชนในอาเซียนว่า 10 ปีที่ผ่านมา กรณีการสูญหายของสมบัด นอกจากการไม่รู้ความจริง ไม่รู้ชะตากรรมของผู้สูญหาย สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ผลกระทบทางด้านจิตใจของเหยื่อและครอบครัว ซึ่งนับวันก็จะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ซึ่งปัจจุบันคณะทำงานคนหายของสหประชาชาติได้รับเรื่องเกี่ยวกับคนหายในเอเชีย มากกว่า 36,000 เรื่อง ในจำนวนนี้มีคดีเกี่ยวกับผู้หญิงที่หายไปกว่า 3,000 กรณี ทั้งหมดทางคณะทำงานได้ติดตามส่งคำถามไปยังประเทศต้นทาง แต่น่าเสียดายที่เราไม่ค่อยได้รับทราบการติดตามตรวจสอบ หรือการสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพจากประเทศต่าง ๆ 

อย่างในประเทศลาว เท่าที่ได้รับทราบมา สำหรับคนที่สูญหายตอนนี้มีอยู่ทั้งหมด 6 กรณี ประเทศกัมพูชามีอยู่ 3 กรณี และประเทศไทยมีอยู่ 76 กรณี  ซึ่งคณะทำงานเองเชื่อว่า จำนวนที่แท้จริงน่าจะมีมากกว่านั้น และตัวเลขที่ได้รับทั้งหมดก็น่าจะเป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น 

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองมาอย่างละ 3 ข้อ

ที่น่าเป็นห่วง คือ พบว่ามีจำนวนน้อยคนมาก ที่หายไปนานหลายปี แล้วจะกลับมาในสภาพของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่ว่าคนที่หายไปจะกลับมาในสภาพใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้มีค่ามากสำหรับครอบครัว เนื่องจากว่า เวลาที่รู้ชะตากรรมจะทำให้จัดการทรัพย์สินและจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ 

สิ่งที่สำคัญสำหรับครอบครัวของผู้สูญหาย คือ เรื่องของสิทธิและการเยียวยาที่เขาพึงจะได้รับ เช่น สิทธิที่จะได้รับทราบความจริง และการเยียวยาบรรเทาความทุกข์ ซึ่งจะมีทั้งแบบที่คิดเป็นค่าสินไหมทดแทน กับการเยียวยาแบบที่ไม่ใช่ค่าสินไหม เช่น การเยียวยาด้านความยุติธรรม การเยียวยาฟื้นฟูทางด้านจิตใจ การชดใช้ในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นต้น 

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองมาอย่างละ 3 ข้อ

สำหรับการช่วยเหลือติดตามชะตากรรมผู้สูญหายที่ผ่านมาคณะทำงานได้ส่งคำร้องขอที่จะเข้าไปเยี่ยมอย่างเป็นทางการ รวมถึงประเทศลาวและประเทศไทยด้วย ซึ่งประเทศลาวเราส่งคำร้องอย่างเป็นทางการไป เมื่อปี 2013 เนื่องจากการเข้าไปเยือนอย่างเป็นทางการจะทำให้คณะทำงานได้พบกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้เสียหาย และชุมชน เพื่อที่คณะทำงานจะได้ให้ความช่วยเหลือ เทคนิคต่าง ๆ ทั้งด้านองค์ความรู้ ข้อเสนอแนะ คำแนะนำต่าง ๆ 

แต่ก็น่าเสียดายว่า เรายังไม่ได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการ ทั้งจากรัฐบาลลาวเอง และหลาย ๆ รัฐบาลในอาเซียน ซึ่งประเทศในอาเซียน มีเพียงประเทศเดียวที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติก็คือ ประเทศกัมพูชา ประเทศอื่นยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ทางคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับสูญหายจึงเรียกร้องมาโดยตลอด ว่า ประเทศอาเซียนควรจะรีบเร่งให้สัตยาบันอนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติ เพื่อเป็นการยืนยันรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยทำสนธิสัญญาไว้ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองมาอย่างละ 3 ข้อ

การบังคับสูญหาย สู่การคุกคามครอบครัว ข้อสังเกตของคณะทำงานสหประชาชาติ

อังคณา กล่าวด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่คณะทำงานกังวลมาโดยตลอดก็คือ การที่ครอบครัวและภาคประชาสังคมที่สนับสุนนครอบครัวของคนหายแทบทุกประเทศรู้สึกไม่ปลอดภัย 

ทางคณะทำงานได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องของการคุกคาม การแก้แค้น หรือการคุมคามในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการคุกคามบนโลกออนไลน์กับครอบครัวของผู้สูญหายด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งให้ครอบครัว เหยื่อ และคนที่ทำงานกับพวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัย และไม่สามารถนำเรื่องร้องเรียนมาถึงคณะทำงานของสหประชาชาติได้ 

จึงหวังว่าทุกประเทศในอาเซียนจะเปิดใจเคารพเสรีภาพแสดงความคิดเห็นของประชาชน เราเชื่อมั่นความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ  กับคณะทำงานจะส่งผลสัมพันธ์กับการคุ้มครองพลเมืองประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ซึ่งคณะทำงานพร้อมในการร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ต่อไป


ทั้งนี้ ภายในงานแถลงข่าวมีการเผยแพร่แถลงการณ์สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล FIDH (International Federation for Human Rights) รายละเอียด ดังนี้