จดหมายกิจธุระมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

จดหมายที่เขียนไปเพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลหรือหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ  เพื่อแจ้งเรื่องการงานหรือเรื่องส่วนตัว  โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า  จดหมายเชิงกิจธุระ  ได้แก่  จดหมายลาป่วย  จดหมายลากิจ  จดหมายขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือ  (การขอความอนุเคราะห์)  จากองค์กรหรือหน่วยงานต่าง  ๆ  ครับ

สารบัญ Show

  • ประเภทของจดหมายกิจธุระ
  • ประโยชน์ของจดหมายกิจธุระ
  • มารยาทในการเขียนจดหมาย
  • การเขียนจดหมายกิจธุระให้มีประสิทธิภาพเขียนอย่างไร
  • การเขียนจดหมายกิจธุระใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
  • รูปแบบจดหมายกิจธุระมีอะไรบ้าง
  • จดหมายกิจธุระหมายถึงจดหมายประเภทใด

ประเภทของจดหมายกิจธุระ

๑.  จดหมายส่วนตัว    เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อเล่าเรื่องราวส่วนตัวหรือสอบถามเรื่องราวไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ  เช่น  ลูกเขียนจดหมายถึงพ่อแม่  ศิษย์เก่าเขียนจดหมายถึงคุณครูที่เคารพนับถือ

๒.  จดหมายติดต่อธุระ            เป็นการสื่อสารเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร  ความจำเป็นต่าง ๆ  ที่ประสงค์ให้ผู้อื่นหรือองค์กรต่าง ๆ  รับทราบเพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้ความร่วมมือในเหตุจำเป็น   เช่น  นักเรียนเขียนจดหมายขอลาหยุดเรียนกรณีป่วย  นักเรียนเขียนจดหมายขอลาหยุดเรียนกรณีมีกิจธุระจำเป็นต่าง ๆ ที่มาเรียนไม่ได้ตามปกติ  จดหมายติดต่อองค์กรภายนอกขอความร่วมมือไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก  จดหมายขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากองค์กรอื่นมาบรรยายหรือสาธิตความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน  เป็นต้น ครับ

ประโยชน์ของจดหมายกิจธุระ

๑.  ใช้สื่อสารแทนการพูดจา

๒.   ใช้เพื่อบอกกล่าวข้อความบางประการที่ไม่อาจพูดจากันโดยตรงได้

๓.   ใช้เป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จักกัน เช่น  การเขียนจดหมายสมัครงาน  จดหมายเพื่อหามิตรต่างโรงเรียน

๔.  ใช้เป็นเอกสารสำคัญ  ถือว่าเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้

มารยาทในการเขียนจดหมาย

๑.  ควรใช้กระดาษและซองสีสุภาพ หมายถึง  กระดาษที่ใช้เขียนจดหมายต้องมีความสะอาดเรียบร้อย  ไม่ขาดหรือยับยู่ยี่  สีของกระดาษมีสีที่ไม่ฉูดฉาด  กระดาษมีขนาดมาตรฐาน  ซองจดหมายมีขนาดมาตรฐานตามที่ไปรษณีย์รับรอง

๒.  ตัวหนังสือรวมถึงตัวเลขต้องชัดเจน  ควรเขียนด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงินเท่านั้น  ไม่ควรใช้ปากกาสีอื่น

๓.  ไม่ควรใช้ภาษาพูดในการเขียนจดหมาย  เช่นคำว่า  “มาช่วยงานทำบุญที่บ้านหลานได้ไหม”   ไม่ควรเขียนเป็น  “มาช่วยงานทำบุญที่บ้านหลานได้มั้ย”

๔.  ใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายให้เหมาะสมตามธรรมเนียมนิยม

๕.  เขียนจดหมายเสร็จแล้วต้องพับให้เรียบร้อย  ไม่ควรพับจดต้องใช้เวลามากในการคลี่จดหมาย

๖.  ไม่ควรสอดธนบัตรหรือสิ่งของมีค่าลงไปในซองจดหมาย

๗.  เขียนคำนำหน้าชื่อผู้รับบนจ่าหน้าให้ถูกต้อง ตามความนิยมและความเหมาะสม เช่น  คุณพ่อ, นายแพทย์, คุณครู,  ดร.,  ร้อยตำรวจตรี  เป็นต้น

๘.   ต้องเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ให้ชัดเจน  ณ  ตำแหน่งเริ่มจากมุมกึ่งกลางของซองจดหมายด้านขวามือ

๙.  ต้องเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งไว้ที่มุมบนด้านซ้ายของซองจดหมายด้วย  หากไปรษณีย์ส่งจดหมายถึงผู้รับไม่ได้ (ในกรณีไม่ถึงผู้รับ) จะได้ส่งคืนเจ้าของจดหมายถูก

Filed under: การเขียน, การเขียนจดหมายกิจธุระ/การเขียนจดหมายเชิงกิจธุระ, จดหมาย | Tagged: การเขียนจดหมายกิจธุระ, การเขียนจดหมายเชิงกิจธุระ, ความหมายการเขียนจดหมายกิจธุระ, จดหมายกิจธุระ หมายถึง, ประเภทของจดหมายกิจธุระ, ประโยชน์ของจดหมายกิจธุระ, มารยาทในการเขียนจดหมาย | Leave a comment »

เป็นส่วนของชื่อองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดของผู้ออกจดหมาย จะบอกรายละเอียดถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบและที่อยู่หน่วยงาน ซึ่งจะมีตราองค์กรหรือตราหน่วยงานอยู่กลางหน้ากระดาษ ที่อยู่จะอยู่ทางขวามือของกระดาษ

๒.“ ลำดับที่ของจดหมายจะใช้คำว่า “ ที่ ” ตามด้วย “ เลขบอก ลำดับที่ ของจดหมายตามด้วย ปี พ.ศ. โดยจะมีเครื่องหมาย “/” ทับคั่น เช่น ที่ ๕ / ๒๕๕๖ ลำดับอยู่ทางด้านซ้ายของจดหมาย ซึ่งตรงกับที่อยู่ของผู้ออกจดหมาย ในส่วนลำดับที่ของจดหมายอาจมีตัวย่อของชื่อองค์กรได้ แต่คำย่อของชื่อองค์กรต้องเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น ที่ ศธ ๕๖๗๕ / ๒๓๗ “ ศธ ” เป็นอักษรย่อของ “ กระทรวงศึกษาธิการ ”

๓.“ วัน เดือน ปีจะเขียนอยู่กลางหน้ากระดาษต่อจากที่อยู่ของผู้ออกจดหมาย การเขียนวัน เดือน ปี ไม่ต้องเขียนคำว่า “ วันที่ และ “ ปี ” ให้ระบุ วัน เดือน ปี เท่านั้น เช่น “ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ”

๔.“ เรื่องเป็นการสรุปสาระสำคัญของจดหมาย ควรเป็นประโยคสั้น กะทัดรัด และบอกวัตถุประสงค์ที่ออกจดหมาย เช่น “ ขอความอนุเคราะห์……” “ ขอเชิญเป็นวิทยากร ”

๕.“ คำขึ้นต้นใช้คำว่า “ เรียน ” ขึ้นต้นจดหมายทุกครั้ง จากนั้นตามด้วยชื่อ และนามสกุล หรืออาจตามด้วยตำแหน่งของผู้รับจดหมาย เช่น “ เรียน นายวรพพล คงเดช ” “ เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ”

๖.“ สิ่งที่ส่งมาด้วยเป็นสิ่งที่ผู้ส่งจดหมายส่งให้ผู้รับพร้อมจดหมาย เช่นรายละเอียดโครงการ เอกสารประกอบการประชุม หนังสือ (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)

๗.“ ข้อความหรือเนื้อหาของจดหมาย เป็น เนื้อหาสาระหลักของจดหมาย มักมี ๒ ย่อหน้า หากเนื้อหาจดหมายมีความยาวอาจ มี ๓ ย่อหน้า ก็ได้

หากมี ๒ ย่อหน้า

 • ย่อหน้าแรก บอกถึงสาเหตุที่ต้องเขียนจดหมาย หากเป็นจดหมายฉบับแรกต้องขึ้นต้นคำว่า “ ด้วย ” “ เนื่องด้วย ” “ เนื่องจาก ” เช่น • ด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนมัธยม วัดนายโรง จะจัดการแสดงผลงาน โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒…….” • “ เนื่องด้วยห้องน้ำของโรงเรียนมัธยมวัด นายโรงมีสภาพชำรุดมาก ทำให้เกิดกลิ่นรบกวนและ นักเรียนไม่ได้รับความสะดวกในการใช้……” • “ เนื่องจากชมรมจิตอาสา โรงเรียนมัธยม วัดนายโรง จัดโครงการหนังสือเพื่อน้อง ประจำปี ๒๕๕๓…….” แล้วตามด้วยรายละเอียด จุดประสงค์ ความต้องการ

• หากเป็นกรณีการตอบจดหมาย หรือส่งจดหมายเพื่อติดตามเรื่อง จำต้อง เท้าความเรื่องที่เคยติดต่อไว้ โดยใช้คำว่า “ ตามที่ ” ขึ้นต้นเรื่องที่เท้าความ และใช้คำว่า “ นั้น ” ลงท้าย เช่น………….. • “ ตามที่ท่านได้สั่งซื้อวารสารเมืองโบราณฉบับย้อนหลัง ฉบับที่ ๓๑ และฉบับที่ ๓๒ จำนวนฉบับละ ๑เล่ม ในราคาเล่มละ ๑๒๐ บาทนั้น…….” • “ ตามที่ท่านได้ขอความอนุเคราะห์ให้ทางชมรมพระพุทธศาสนา โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ส่งนักเรียนไปเข้าร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นั้น……”

• ย่อหน้าที่สอง บอกหรือย้ำวัตถุประสงค์ของจดหมายอย่างชัดเจน โดยใช้คำขึ้นต้นว่า “ จึงเรียนมาเพื่อ……( บอกจุดประสงค์ )……. เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ, จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา, จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์…….. •    “ จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์ บริจาคหนังสือเพื่อเข้าร่วมโครงการ ดังกล่าว และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ”

หากมี ๓ ย่อหน้า

– ย่อหน้าแรก บอกถึงสาเหตุที่ต้องเขียนจดหมาย หากเป็นจดหมายฉบับแรกต้องขึ้นต้นคำว่า “ ด้วย ” “ เนื่องด้วย ” “ เนื่องจาก”

– ย่อหน้าที่สอง บอกจุดประสงค์ในการเขียนอย่างชัดเจนว่าต้องการจะให้ทำอะไร มักขึ้นต้นด้วยชื่อของหน่วยงานที่ออกจดหมาย

– ย่อหน้าที่สาม ขึ้นต้นด้วยคำว่า  “จึงเรียนมาเพื่อ….”

๘.“ คำลงท้ายใช้คำว่า “ ขอแสดงความนับถือ ” โดยให้เขียนตรงกับวันที่

๙.“ ลายมือชื่อ เป็นลายมือชื่อจริงของผู้ลงชื่อ ห้ามใช้ตรายาง

๑๐.“ ชื่อเต็มของผู้เขียนจดหมายชื่อเต็มและนามสกุลจะเขียนใส่ไว้ในวงเล็บ หรืออาจจะพิมพ์ก็ได้และจะต้องมีคำนำหน้าชื่อเสมอ เช่น “ นายณเดช คูกิมิยะ ” “ นางสาวอุรัสยา สเปอร์บันด์ ”

๑๑.“ ตำแหน่งของผู้เขียนจดหมาย หากผู้เขียนจดหมายเป็นผู้มีตำแหน่ง รับผิดชอบ งานของหน่วยงานที่ออกจดหมายจะต้องพิมพ์ กำกับต่อท้ายเสมอ แต่หากออกจดหมายในนาม ชมรมในสถานศึกษา ต้องมีลายมือชื่ออาจารย์ที่ ปรึกษาชมรมกำกับท้ายจดหมายด้วย

๑๒. “ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้เขียนจดหมายหรือหน่วยงานที่ออกในส่วนนี้จะอยู่ลำดับสุดท้ายของจดหมาย และพิมพ์ชิดขอบจดหมายด้านซ้าย ควรระบุหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

การเขียนจดหมายกิจธุระให้มีประสิทธิภาพเขียนอย่างไร

การเขียนจดหมายกิจธุระ.

เขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนจดหมายกิจธุระ.

เขียนให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา ตามระดับหรือฐานะของบุคคล.

แสดงถึงความมีมารยาทโดยสะกดชื่อ นามสกุล และยศตําแหน่งของผู้รับโดยไม่ผิดพลาดใช้คําขึ้นต้น และคําลงท้ายที่สุภาพ.

รูปแบบของจดหมายกิจธุระมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

1. จดหมายกิจธุระเต็มรูปแบบ ใช้ในการเขียนที่เป็นทางการ เหมือนหนังสือราชการภายนอก แต่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตน และใช้ภาษาที่เป็นทางการ 2. จดหมายกิจธุระไม่เต็มรูปแบบ ใช้ในการเขียนจดหมายกิจธุระส่วนตัว ใช้รูปแบบเหมือนจดหมายส่วนตัว สิ่งที่ต่างจากจดหมายส่วนตัว คือ วัตถุประสงค์และใช้ภาษากึ่งทางการหรือทางการ

จดหมายกิจธุระหมายถึงจดหมายประเภทใด

จดหมายกิจธุระหมายถึง จดหมายที่ใช้ติดต่อกันเกี่ยวกับเรื่องงาน กิจธุระต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ การดาเนินชีวิตและเพื่อประโยชน์ในการดาเนินงาน รวมทั้งแสดงไมตรีจิตที่มีต่อกัน เช่น จดหมายเชิญวิทยากร จดหมายขอเข้าชมสถานที่จดหมายขอความช่วยเหลือ หรือความร่วมมือ จดหมายขอบคุณ

จดหมายกิจธุระมีทั้งหมดกี่ส่วนอะไรบ้าง

จดหมายกิจธุระ / จดหมายราชการ แบ่งส่วนประกอบได้ ๑๒ ส่วน ดังนี้ ๑.” หัวจดหมาย ” เป็นส่วนของชื่อองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดของผู้ออกจดหมาย จะบอกรายละเอียดถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบและที่อยู่หน่วยงาน ซึ่งจะมีตราองค์กรหรือตราหน่วยงานอยู่กลางหน้ากระดาษ ที่อยู่จะอยู่ทางขวามือของกระดาษ

จดหมายกิจธุรกิจ มีอะไรบ้าง

จดหมายธุรกิจ คือ จดหมายที่เขียนติดต่อกันเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ เช่น เสนอขายสินค้าและบริการ สั่งซื้อสินค้า ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของสินค้า เป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการใช้ภาษาในระดับเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาปาก หรือภาษาพูด