แนบไฟล์ใน microsoft team ไม่ได้

ใน Microsoft Teams สำหรับภาคการศึกษาจะมีฟีเจอร์การสร้างทีมแบบพิเศษที่สามารถสร้างได้เพิ่มขึ้นมาถึง 4 แบบด้วยกันคือ ดูรายละเอียดการสร้างทีมได้ที่นี่

Requirement : Office 365 education license ( ขอรับฟรีได้ที่นี่ ) , Faculty license ( มีเฉพาะอาจารย์และเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่สร้างห้องเรียนได้ )

Team Type in Teams Education

ซึ่งฟีเจอร์การสั่งการบ้านนั้น จะมีเฉพาะในทีมแบบ Class เท่านั้น

สิ่งที่คนถามบ่อยๆ

การสั่งการบ้าน ถ้าสั่งก่อนนักเรียนเข้าห้อง นักเรียนคนที่มาทีหลัง จะไม่ได้รับการบ้าน

สามารถแก้ได้ 2 วิธี

  • กด Update การบ้านนั้นๆ

  • ตั้งค่าให้มันสั่งคนที่มาทีหลังด้วย

ติดตาม เต็มๆ ได้ที่ ด้านล่างนี้เลยนะครับ

สั่งผ่านเว็บ หรือ Desktop Application

ซึ่งปุ่มที่สามารถกดสั่งการบ้านได้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ที่ด้วยกัน

  1. แถบ Assignment ในหน้าห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง ซึ่งข้อมูลจะขึ้นแค่ของห้องเรียนนั้นเท่านั้น

2. Assignments Menu ด้านซ้ายมือจะสามารถเห็นการบ้านของทุกชั้นเรียนของเราได้

โดยเมื่อคลิกปุ่ม Create แล้วจะมีรูปแบบการสั่งให้เลือกทั้งหมด สามวิธีด้วยกันคือ

  1. Assignment — เริ่มต้นจากศูนย์
  2. quiz — การใช้ Microsoft Forms เป็นการบ้าน (คล้ายข้อ 1 แต่ใส่ควิซโดยเฉพาะ)
  3. From existing — การใช้การบ้านเก่า ที่เคยสั่งเมื่อครั้งที่แล้วแล้วมาสั่งใหม่อีกรอบ

ถ้าตอนแรกนักเรียนมี 50 คน สั่งการบ้านไปแล้ว มีอีก 10 คนเพิ่มขึ้นมา ให้กด Edit การบ้านแล้ว Save ระบบจะสั่งอีก 10 คนที่เหลือให้ หรือตั้งกฏไว้ล่วงหน้าได้

ทดลองสั่งการบ้าน แบบ Assignment

เมื่อคลิก Create — Assignment เราจะพบกับหน้าตาที่ให้เรากำหนดสั่งการบ้านต่างๆ

Title — ชื่อที่ปรากฎให้นักเรียนเห็นว่าการบ้านนี้คืออะไร

Add category — เหมือนการติด Tag

Instructions — คำอธิบายหรือคำสั่งสำหรับการบ้านนั้นๆ → ใส่บทความยาวๆ ได้ มีระบบช่วยอ่านภาษาต่างๆ ให้นักเรียนเปิดฟังได้

คำสั่งตรงนี้ ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศ จริงๆ ก็รวมไทย สามารถใช้โปรแกรมช่วยอ่านได้

ไฟล์ที่่ส่งให้นักเรียน จะมี 2 แบบ คือ โจทย์ หรือ Answer sheet ซึ่งค่าเริ่มต้น ระบบจะมองเป็น โจทย์ไปก่อน นักเรียนแก้ไม่ได้ เราต้องกด (…) บอกระบบอีกที

1. Attach— ปุ่มสำหรับเพิ่ม Files ต่างๆ เช่น ไฟล์โจทย์ เอกสารประกอบต่างๆ

ไฟล์ที่ใส่เข้าไปจะถูกจัดเป็นสองประเภทคือ

  • ไฟล์ที่แก้ไขไม่ได้ ( เป็นเอกสารประกอบการทำการบ้าน ) — ค่าเริ่มต้น
  • ไฟล์ที่แก้ไขได้ (Answer sheet — นักเรียนน่าจะมาทำการบ้านส่งที่นี่ หรือ อัพโหลดเองก็ได้)

โดยเมื่อคลิก Attach จะมีปุ่มอยู่ 7–8 ปุ่มให้กด

หากกด +New จะเป็นการสร้างไฟล์เปล่าๆ ที่เราสามารถเข้าไปสร้าง template ได้ เดี๋ยวกลับมาคุยกันอีกที

1.1OneDrive — สามารถนำเข้าไฟล์จาก OneDrive ของตนเองได้

1.2Class Notebook — สามารถนำหน้า Page ที่เราเตรียมไว้เป็นการบ้าน กระจายไปสู่นักเรียนได้

ClassNotebook เหมาะกับการบ้านประเภทที่ ตอนเราตรวจ เราจะเข้าไปขีดเขียนได้ เช่น ให้นักเรียน แนบรูปเข้ามา แล้วเราเข้าไปตรวจ

หลักการคือ : เลือกหน้าที่ต้องการสั่ง ( ที่เราทำไว้แล้ว ) จากนั้น เลือกที่วางในสมุดของนักเรียน ( ที่เราจะ copy template ไปวาง )

— ถ้าจะวางหน้าเปล่า ให้กด +New จะเป็นการถามว่า เอาหน้าเปล่าไปวางที่ไหน จากนั้น เลือกที่วางในสมุดของนักเรียน ( ที่เราจะ copy template ไปวาง )

1.3Link — สามารถใส่ Link ที่ขึ้นต้นด้วย https ( ต้องมี s: secure เท่านั้น ) ได้

เหมากับใส่ข้อมูลให้นักเรียนอ่าน หรือ แนบ link กิจกรรมต่างๆ

1.4MakeCode — สั่งการบ้าน การเขียนโปรแกรม ( หากไม่มีปุ่มนี้ ให้ดูวิธีเปิด ที่นี่ )

1.5Teams — ค้นหาไฟล์ ที่อยู่ในทีมอื่นๆ จะได้ไม่ต้องอัพโหลดซ้ำ

Tip : เมื่อนักเรียนทำการบ้าน เราสามารถแอบเข้าไปดูได้โดยไม่ต้องรอ นักเรียนกดส่งเช่นกัน

1.6Reading Progress — เอาไว้สั่งการบ้านให้นักเรียนฝึกอ่าน ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ หรืออีกกว่า 38 ภาษา (ยังไม่มีไทย)

[New feature] ฝึกออกเสียงด้วย Reading Progress ใน Microsoft Teams มาช่วงเดือนกันยา 2021 นะครับ

1.7Upload file from this device — อัพโหลดไฟล์จากในเครื่องที่เราคุ้นเคย

เมื่อเราใส่ไฟล์เข้าไป ระบบจะตั้งค่าให้เป็น นักเรียนไม่สามารถแก้ไขได้

ซึ่งเราสามารถกด (…) เพื่อตั้งค่าให้ Excel สามารถแก้ได้ เช่นกัน

โดยไฟล์ทั้งหมดอาจารย์จะเป็นต้นฉบับ และหากไฟล์ไหนสามารถแก้ไขได้ มันจะถูกคัดลอกไปให้นักเรียนส่วนตัว คนละ 1 ไฟล์

2.New File

— สามารถสร้างไฟล์โล่งๆ ขึ้นมาได้จากหน้านี้ จากนั้น สามารถเข้าไปแก้ไขเพื่อทำเป็น Template ให้นักเรียนได้ โดยไม่ต้องสร้างจากเครื่องแล้วอัพโหลดให้เสียเวลา

กดคลิกเข้าไปในไฟล์ได้เลย เพื่อแก้ไขเนื้อหา หรือ ชื่อไฟล์ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว กด Closeได้เลย ระบบจะทำการ auto save ให้ตลอดเวลาอยู่แล้ว

Video recording — สามารถบันทึกได้สูงสุด 5 นาที กดหยุดแล้วอัดต่อได้จนกว่าจะกด review มีระบบตัด trim ให้ตอนจบ

Whiteboard

ตอนแรกนักเรียนจะเขียนไม่ได้ เพราะระบบนึกว่าเป็นโจทย์ เรากด (…) เพื่อเปลี่ยนก่อน ถ้าสั่งเป็นการบ้านกลุ่ม ก็ทำร่วมกันได้

3.App

สั่งการบ้าน ด้วย 3rd party app เช่น fipgrid

การให้คะแนนและเกณต่างๆ

Point — อาจารย์สามารถให้คะแนนการบ้าน หรือ ไม่ให้ได้จากแถบเมนูนี้ ให้คะแนนเป็น 0.5 ได้

Add rubric — เกณฑ์การให้คะแนนต่างๆเพื่อความโปร่งใส

Assign to — โดยค่าเริ่มต้นจะถูกสั่งให้นักเรียนทุกคนให้ห้อง ณ เวลานั้น เราสามารถเลือกสั่งนักเรียนกลุ่มย่อย หรือ สั่งทีละหลายๆห้องเรียนได้

ด้านซ้าย : เลือกว่าจะสั่งห้องไหนบ้าง (ถ้าสั่งหลายห้อง จะบังคับ สั่งทุกคนในห้องนั้น)

ด้านขวา : สั่งทุกคน ,เลือกชื่อรายคน, สั่งงานกลุ่ม ( ตัวแทนส่ง งาน หรือทำพร้อมกัน)

งานกลุ่ม สามารถ สุ่มกลุ่มได้ โดยการพิมพ์จำนวนกลุ่มที่ต้องการ สามารถย้ายคนในกลุ่มได้ด้วยการ ลบ แล้ว addใหม่

ส่วนนี้สำคัญมากๆ

สั่งใครบ้าง ใครเห็นบ้าง

โดยปกติ ถ้าเราไม่ได้แก้ไขอะไร มันจะสั่งทันที นักเรียนเห็นทันที สั่งเฉพาะนักเรียนในห้องตอนนั้น

แปลว่า คนที่ยังไม่ได้เข้าห้อง จะไม่ได้การบ้าน

โดยหากต้องการให้สั่งให้นักเรียนที่ตามเข้ามาทีหลังด้วย ให้กด Edit ใต้ Assign to

Date due — วันที่กำหนัดส่ง

Time due — เวลาที่กำหนดส่ง

ถึงจุดๆนี้ ค่าเริ่มต้นของการบ้านนี้จะถูกสั่งให้ สั่งทันทีที่กดปุ่ม “Assign” และยอมรับการส่งเลท ( จะมีเวลาบันทึกเอาไว้ว่าใครส่งกี่โมง )

หากตั้งการสั่งล่วงหน้า สั่งวันนี้ ให้นักเรียนเห็น สัปดาห์หน้า ก็ได้กด Edit ใต้ Date due

อันแรกคือ จะให้เด็กๆเห็นการบ้านกี่โมง

อันที่สองคือ กำหนดส่งวันไหน

อันที่สามคือ ปิดรับวันไหน ( เด็กจะกดส่งการบ้านไม่ได้ — ไม่ต้องติ๊ก ถ้าไม่อยากปิดรับ)

ถึงตรงนี้ ปุ่ม “Assign” ของเราจะเปลี่ยนชื่อเป็น “Schedule” แทนนะครับ

และการบ้านนี้ นักเรียนก็จะยังไม่สามารถเห็นได้จนกว่าจะถึงเวลาที่เรากำหนดเอาไว้

เอาการบ้านไปเตือนที่ Calendar

เราสามารถทำให้ กำหนดส่งการบ้าน ไปขึ้นในหน้า Calendar นักเรียนได้ด้วย จะได้ดูง่ายๆ ว่าต้องส่งกี่โมง

เมื่อสั่งไปแล้ว Due date จะไปอยู่ใน Calendar เหมือนเป็นนัดอันนึงเลย

เราสามารถบอกได้ว่าจะให้ Notification ไปเด้งที่ตรงไหน ของทีม

สุดท้าย เราสามารถ ตั้งค่าได้ว่า ถ้านักเรียนส่งช้า ให้เตือนเราด้วย

ตอนนี้เราก็พร้อมที่จะสั่งการบ้านแล้ว สามารถกด “Assign” ได้เลย

แต่สมมุติว่ายังไม่พร้อม เรายังสั่งไม่เสร็จ สามารถกด Save ไว้ก่อนได้

การบ้านนั้นจะถูกบันทึกเอาไว้ เป็น Drafts รอ เพื่อกลับไปแก้ไขทีหลัง ซึ่งเราสามารถคลิกเข้าไปแก้ได้ทันทีเมื่อพร้อม

Note : Discard คือการลบการบ้านที่อุส่าห์ทำมาตั้งนานทิ้ง

เมื่อเรากด “Assign” แล้ว การบ้านก็จะถูกส่งไปยังนักเรียนทุกคนทันทีตามที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้

ซึ่งเมื่อการบ้านถูกสั่งแล้ว นักเรียนก็จะได้รับการแจ้งเตือนที่หลากหลายมากตั้งแต่ขึ้น Notification มีแถบ Activity ขึ้น

นักเรียนสามารถ แก้ไขส่งแล้วส่งใหม่ได้ ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงเวลา Date Due

สมมุติ เด็กส่งมาก่อน

เราดันตรวจก่อน

เด็ก แก้ไขอีกรอบ

ระบบจะยังคงบันทึกคะแนนเอาไว้ แล้วแต่พิจารณา ว่าอาจารย์จะยึดอันเก่าหรือใหม่

การสั่งการบ้านด้วย MakeCode

จำเป็นต้องให้ IT เปิดฟีเจอร์นี้ก่อน วิธีการเปิดคลิกที่นี่

หากต้องการแก้ไขการบ้าน

คลิกเข้าไปที่การบ้านที่ต้องการ อาจารย์จะเจอกับ “Edit assignment” ซึ่งมันจะพาคุณกลับไปที่หน้าก่อนหน้า

หากเราสั่งนักเรียนไป 20 คน แล้วมีคนตามมาอีก 5 คน ให้มากด Update มันก็จะสั่งเพิ่มให้นะครับ

ตอนนี้ปุ่ม Assign ของเราก็กลายเป็น Update แทน (ปกติอาจารย์มักใช้เพื่อเลื่อน Due date หรือ allow ให้ส่งเลทแทน )

และหากเรากด “Student view” เราก็จะเห็นหน้าตาการบ้านเราเหมือนที่นักเรียนเห็น

การสร้าง Quiz !!

ลืมปุ่ม Create ไปกันหรือยังครับ

ตอนนี้เราเลือก Quiz แทนที่จะเป็น Assignment

เมื่อเราคลิก Quiz ขึ้นมา ก็จะเจอกับแบบ Forms / Quiz ที่เราเคยสร้างมาแล้ว

ถ้าหากยังไม่เคยสร้างมาก่อนก็สามารถกดที่ + New Form ได้เลยครับ

ซึ่งรายละเอียดวิธีการสร้าง ขอยกไปอีกบทความนะครับ (Coming Soon)

ซึ่งหน้าตาก็จะใกล้เคียงกับการสั่ง Assignment ปกติ แต่ช่องของคะแนนจะไม่สามารถกรอกได้ เพราะถูกใส่มาตั้งแต่ขั้นตอนของฟอร์มแล้ว

การบ้านเก่าเราเอามาใช้ใหม่

กลับมาที่ปุ่ม Create ปุ่มเดิม แต่ทีนี้เลือกไปที่ “From Existing”

เราก็จะพบกับหน้าให้เลือกว่า เราจะเอาการบ้านจากห้องเรียนไหน จะเอาการบ้านอันไหน จากนั้น เราก็จะได้หน้าต่างสั่งการบ้านเหมือนกัน การบ้านนั้นขึ้นมา รวมถึงไฟล์ด้วย