การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ตัวอย่าง

หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวแบบทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ อันได้แก่ ตัวแบบการตัดสินใจ ตัวแบบกำหนดการเชิงเส้น การแก้ปัญหาตัวแบบกำหนดการเชิงเส้น ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบการกำหนดงาน ตัวแบบพัสดุคงคลัง การวางแผนและควบคุมโครงการด้วย PERT/CPM ตัวแบบแถวคอย ทฤษฎีเกม ตัวแบบมาร์คอฟ ตัวแบบการจำลองสถานการณ์ อีกทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรปในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ อันได้แก่ LINDO ,QM for Window และ Excel พร้อมตัวอย่างการประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณทั้งด้านธุรกิจและด้านการผลิต โดยมีแบบฝึกหัดท้ายบทพร้อมเฉลยคำตอบสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

    หนังสือ "การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ" เล่มนี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวแบบทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ไม่ว่าจะเป็น ตัวแบบการตัดสินใจ ตัวแบบกำหนดการเชิงเส้น การแก้ปัญหาตัวแบบกำหนดการเชิงเส้น ตัวแบบการขนส่งและตัวแบบการกำหนดงาน ตัวแบบพัสดุคงคลัง การวางแผนและการควบคุมโครงการ และอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์เชิงปริมาณทั้งด้านธุรกิจและด้านการผลิต โดยมีแบบฝึกหัดท้ายบทพร้อมเฉลยคำตอบ สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ตัวอย่าง



  ในการบริหารงานทางธุรกิจจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง
ทิศทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานในแต่ละประเทศ ดังนั้น แนวคิดในการบริหาร
จัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ โลกมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา

  แนวคิดของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เข้าใช้ในการบริหาร
งานทางธุรกิจ หรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจนั้น เป็นพัฒนาต่อเนื่องจากวิธีวิจัยปฏิบัติการ
(Operation Research) ซึ่งเป็นแนวคิดในการประเทศอังกฤษ และอเมริกาในช่วงสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ที่มีการประสานการปฏิบัติงานในทางทหารเพื่อใช้ในการรบกับข้าศึก ซึ่งเป็นผลสำเร็จเป็น
อย่างดี และต่อมาได้มีการประยุกต์ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจ

  1.1 ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ
  เมื่อมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจมาประยุกต์ในปัญหาที่พบอยู่
ผู้วิจัยจำเป็นต้องเข้าใจทั้งขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การสร้างตัวแบบ
  3. การรวบรวมข้อมูล
  4. การหาผลลัพธ์
  5. การทดสอบผลลัพธ์
 

6. การนำผลลัพธ์ไปใช้แก้ปัญหา
  ในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
  (1) การวิเคราะห์ปัญหา
  ผู้วิจัยจำเป็นต้องทราบถึงสภาพปัญหาโดยทั่วไปก่อน หากมีการจดบันทึกรายงานที่มีอยู่
เดิม ควรนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงระบบงานเดิมก่อน หากไม่มี จำเป็นต้องจดบันทึกตั้งแต่
ค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ทรัพยากรที่ใช้ ข้อจำกัดที่มีอยู่ เป็นต้น เพื่อนำมาประเมินสภาพ
แวดล้อมและหาทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้แก้ปัญหาต่อไป
   
  (2) การสร้างตัวแบบ
  เมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัญหาและเข้าใจถึงความต้องการ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นใน
การผลิตหรือการจำหน่าย ในระบบงานดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปคือ การสร้างตัวแบบจากทฤษฏีที่ผู้วิจัย
ประเมินว่าจะใช้แก้ปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแบบทางคณิตศาสตร์

  (3) การรวบรวมข้อมูล
  ในขั้นตอนนี้จะเริ่มดำเนินการต่อเนื่องจากการที่สร้างตัวแบบสำเร็จ โดยผู้วิจัยจะต้อง
มีการวางแผน การจัดเก็บข้อมูลที่ดี ให้ได้ข้อมูลครบถ้วน เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลตามตัวแบบ
ที่ได้สร้างไว้

  (4) การหาผลลัพธ์
  ในการคำนวณหาผลลัพธ์ตามตัวแบบคณิตศาสตร์ที่สร้างไว้ จะเริ่มจากการคำนวณโดย
โดยใช้มือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีแพร่หลายมากในปัจจุบัน และเป็นการสะดวก โดยผู้วิจัย
สามารถป้อนข้อมูลได้หลาย ๆ ครั้ง เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด

  (5) การทดสอบผลลัพธ์
  หลังจากที่ผู้วิจัยประเมินว่าได้คำตอบที่ดีที่สุดแล้ว ในขั้นตอนต่อไป จะต้องนำผลลัพธ์
ไปทดสอบกับสภาพจริง ว่า สอดคล้องกับความต้องการหรือในทางปฏิบัติจะสามารถดำเนินการได้
หรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีการย้อนกลับไปคำนวณใหม่ หรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อใช้คำนวณให้ดีที่
สุดต่อไป

  (6) ขั้นตอนนำผลลัพธ์ไปใช้แก้ปัญหา
  ผู้วิจัยได้ทดลองหาผลลัพธ์จากตัวแบบแล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งในทางปฏิบัติมีองค์ประกอบและข้อจำกัดอีกมากมาย ดังนั้น หากผู้วิจัยจะต้องเสนอ
ทางเลือกให้แก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน วางแผน รวมทั้งการประเมินผล

  1.2 ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ
  เมื่อนักศึกษาได้แนวคิดถึงขั้นตอนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ในขั้นตอนต่อไป
จะนำเสนอ ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ประกอบด้วย
  (1) โปรแกรมเชิงเส้นตรง
  (2) ตัวแบบขนส่ง
  (3) ตัวแบบการกำหนดงาน
  (4) การวิเคราะห์ข่ายงาน
  (5) การบริหารพัสดุคงเหลือ
  (6) ตัวแบบแถวคอย

  (7) ตัวแบบจำลองสถานการณ์

ที่มา :http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/section2/ba464/chapter0.htm
การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ ตัวอย่าง