อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 20001-1001 pdf

หนังสือ "อาชีวอนามัยและความปลอดภัย รหัสวิชา 20001-1001" เล่มนี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอาชีพ ปัญหามลพิษ โรคและอุบัติภัย ที่เกิดจากการทำงานและการควบคุมป้องกัน การปรับปรุงสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัย เครื่องป้องกันอันตราย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน วิชาชีพพื้นฐาน ตรงตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

อาชีวอนามยั และความปลอดภยั

(Occupational Health and Safety)

รหสั วชิ า 20001-1001

หลักสตู รประกาศนยี บตั รวชิ าชพี พุทธศกั ราช 2562
กล่มุ สมรรถนะวิชาชีพพน้ื ฐาน ประเภทวชิ าอุตสาหกรรม

ส�ำ นักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา (สอศ.)
กระทรวงศึกษาธกิ าร

เรยี บเรียงโดย

วชิ ยั โรมไธสง

คอ.บ. (วศิ วกรรมเคร่ืองกล)
มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ พระนครเหนอื

อาชวี อนามยั และความปลอดภยั

(Occupational Health and Safety)

ISBN 978-616-495-071-9
จดั พิมพ์และจดั จำ� หนา่ ย โดย...

บริษทั วังอักษร จำ� กดั

69/3 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรณุ เขตบางกอกใหญ่ กรงุ เทพฯ 10600
โทร. 0-2472-3293-5 โทรสาร 0-2891-0742 Mobile 08-8585-1521
e-Mail : [email protected] Facebook : ส�ำนักพมิ พ์ วงั อกั ษร
www.wangaksorn.com ID Line : @wangaksorn

พิมพค์ ร้ังท่ี 1 พ.ศ. 2562 จ�ำนวนท่ีพมิ พ์ 5,000 เลม่

สงวนลขิ สิทธิต์ ามพระราชบญั ญัตลิ ขิ สทิ ธ์ิ พ.ศ. 2537
โดยบรษิ ัทวังอกั ษร จ�ำกัด ห้ามนำ� สว่ นใดส่วนหนงึ่ ของหนงั สือเล่มนไ้ี ปท�ำซ�้ำ
ดัดแปลง หรอื เผยแพรต่ อ่ สาธารณชน ไม่วา่ รูปแบบใด ๆ นอกจากไดร้ ับอนุญาต

เป็นลายลักษณ์อกั ษรลว่ งหน้าจากทางบริษัทฯ เท่าน้ัน
ชอื่ และเครอ่ื งหมายการคา้ อ่ืน ๆ ท่อี า้ งองิ ในหนงั สือฉบับนี้

เปน็ สิทธโิ ดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของแต่ละราย
โดยบริษทั วังอักษร จ�ำกดั มไิ ดอ้ ้างความเปน็ เจา้ ของแตอ่ ยา่ งใด

อาชวี อนามัยและความปลอดภยั

(Occupational Health and Safety)

รหัสวชิ า 20001-1001

จุดประสงคร์ ายวิชา เพอื่ ให้
1. เข้าใจหลักการและกระบวนการจัดการเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการ
ปฏบิ ัตงิ านอาชพี
2. สามารถด�ำเนินการเบ้ืองต้นในการควบคุมและป้องกันมลพิษ โรคและอุบัติภัยที่เกิดจาก
การท�ำงาน
3. สามารถปรับปรงุ สภาพการทำ� งานตามหลกั การยศาสตร์ อาชีวอนามัยและความปลอดภยั
4. มีจิตส�ำนึกและกิจนิสัยที่ดีในการปฏบิ ตั งิ านอาชีพตามหลกั อาชีวอนามัยและความปลอดภยั

สมรรถนะรายวชิ า
1. แสดงความรเู้ กย่ี วกบั หลักการจัดการ ควบคมุ ปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หาดา้ นอาชีวอนามยั และ
ความปลอดภยั ในการปฏิบตั งิ านอาชีพ
2. วางแผนการด�ำเนินการเบอ้ื งต้นในการควบคุม ป้องกันมลพิษ โรคและอบุ ัติภยั ทเี่ กิดจากการ
ทำ� งาน
3. วางแผนปรบั ปรุงสภาพการท�ำงานตามหลกั การยศาสตร์ อาชีวอนามัยและความปลอดภยั
4. อ่านและปฏบิ ัติตามเครอื่ งหมายและสัญลกั ษณค์ วามปลอดภัย
5. เลือก ใชเ้ ครอื่ งป้องกันอนั ตรายตามสถานการณ์
6. ปฐมพยาบาลเบอื้ งตน้ ตามหลักการและกระบวนการ

คำ� อธบิ ายรายวชิ า
ศึกษาเกี่ยวกับหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอาชีพ ปัญหามลพิษ
โรคและอุบัติภัย ท่ีเกิดจากการท�ำงานและการควบคุมป้องกัน การปรับปรุงสภาพการท�ำงานตามหลัก
การยศาสตร์ การจดั การอาชวี อนามยั และความปลอดภยั เบอ้ื งตน้ เครอื่ งหมายและสญั ลกั ษณค์ วามปลอดภยั
เครอ่ื งปอ้ งกนั อนั ตราย การปฐมพยาบาลเบอื้ งตน้ กฎหมายและหนว่ ยงานทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั งานอาชวี อนามยั
และความปลอดภัย

ตารางวิเคราะหส์ มรรถนะรายวชิ า
วชิ า อาชีวอนามยั และความปลอดภัย รหัสวิชา 20001-1001
ท - ป - น 2 - 0 - 2 จำ�นวน 2 คาบ/สัปดาห์ รวม 36 คาบ

สมรรถนะรายวิชา
แสดงความ ู้รเ ี่กยวกับห ัลกการจัดการ ควบคุม
หนว่ ยที่ ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านอา ีชวอนา ัมยและ
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอา ีชพ
วางแผนการ �ดำเนินการเบ้ือง ้ตนในการควบคุม
้ปองกัน มล ิพษ โรคและอุบัติ ัภย ่ีทเกิดจากการ
ท�ำงาน
วางแผนปรับป ุรงสภาพการท�ำงานตามห ัลก
การยศาสตร์ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
่อานและปฏิ ับ ิตตามเครื่องหมายและสัญลักษ ์ณ
ความปลอดภัย
เลือกใ ้ชเค ่รือง ้ปอง ักน ัอนตรายตามสถานการ ์ณ
ปฐมพยาบาลเบ้ืองต้นตามหลักการและ
กระบวนการ

บทท่ี 1 ความหมาย ความสำ� คญั และความเปน็ มา  
ของอาชวี อนามยั
บทท่ี 2 การป้องกันและควบคุมส่ิงแวดล้อมที่เป็น  
มลพิษในการท�ำงาน
บทที่ 3 โรคท่ีเกิดจากการประกอบอาชีพและการ  
ดแู ลป้องกัน 
บทที่ 4 อบุ ัตเิ หตุและอบุ ัตภิ ัยทเี่ กิดจากการทำ� งาน  

บทที่ 5 อุบัตเิ หตใุ นงานก่อสร้างและการปอ้ งกนั  

บทที่ 6 อบุ ตั ิเหตุจากอคั คีภยั และการใช้ไฟฟ้า 

บทท่ี 7 การปรับปรุงสภาพการท�ำงานตามหลัก 
การยศาสตร์ 
บทที่ 8 การจดั การอาชวี อนามยั และความปลอดภยั 
เบ้อื งตน้  
บทที่ 9 เครื่องหมายและสัญลักษณ์เพื่อความ 
ปลอดภัย 
บทท่ี 10 อุปกรณป์ ้องกนั อันตรายในการท�ำงาน

บทที่ 11 การปฐมพยายามเบ้ืองตน้

บทท่ี 12 กฎหมายและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับงาน
อาชวี อนามัยและความปลอดภยั

ค�ำน�ำ

วิชา อาชีวอนามยั และความปลอดภัย รหสั วิชา 20001-1001 จัดอย่ใู นกลมุ่ สมรรถนะวิชาชพี
พน้ื ฐาน ประเภทวิชาอตุ สาหกรรม ทกุ สาขาวชิ า ตามหลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชพี พทุ ธศกั ราช 2562
สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา (สอศ.) กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ผู้เขียนได้บริหารสาระการเรียนรู้
แบง่ เปน็ 12 บทเรยี น ไดจ้ ดั แผนการจดั การเรยี นร/ู้ แผนการสอนทม่ี งุ่ เนน้ ฐานสมรรถนะ (Competency
Based) และการบรู ณาการ (Integrated) ตรงตามจุดประสงค์รายวชิ า สมรรถนะรายวชิ า และคำ�อธบิ าย
รายวิชา ในแต่ละบทเรียน มุ่งให้ความสำ�คัญส่วนที่เป็นความรู้ ทฤษฎี หลกั การ กระบวนการ ตัวอยา่ ง
แบบฝึกปฏิบัติ และคำ�ถามเพื่อการทบทวน เพื่อฝึกทักษะประสบการณ์ เร่งพัฒนาบทบาทของผู้เรียน
เป็นผู้จัดการแสวงหาความรู้ (Explorer) เป็นผู้สอนตนเองได้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ และบทบาทของ
ผู้สอนเปลี่ยนจากผู้ให้ความรู้มาเป็นผู้จัดการชี้แนะ (Teacher Roles) จัดสิ่งแวดล้อมเอ้ืออำ�นวย
ต่อความสนใจเรียนรู้ และเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ (Co-investigator) จัดห้องเรียนเป็นสถานท่ีทำ�งานร่วมกัน
(Learning Context) จัดกลุ่มเรียนรู้ให้รู้จักทำ�งานร่วมกัน (Grouping) ฝึกความใจกว้างมุ่งสร้างสรรค์
คนรนุ่ ใหม่ สอนความสามารถทน่ี ำ�ไปทำ�งานได้ (Competency) สอนความรกั ความเมตตา (Compassion)
ความเชือ่ มั่น ความซอ่ื สตั ย์ (Trust) เปา้ หมายอาชพี อันยงั ประโยชน์ (Productive Career) และชีวติ ท่ีมี
ศักด์ศิ รี (Noble Life) เหนอื สิง่ อ่นื ใด เปน็ คนดีทง้ั กาย วาจา ใจ มีคณุ ธรรม และมจี รรยาบรรณตอ่ วชิ าชีพ
สง่ เสรมิ สนบั สนนุ ยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาระบบคณุ วฒุ วิ ชิ าชพี (Vocational Qualification System)
ใหส้ อดคล้องตามมาตรฐานอาชีพ (Occupational Standard) เพ่ือสร้างภมู คิ ุม้ กันเพิม่ ขดี ความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ กำ�ลังแรงงาน การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานระดับชาติ (National
Benchmarking) และการวิเคราะหห์ น้าท่ีการงาน (Functional Analysis) เพอ่ื ใหเ้ กดิ ผลสำ�เรจ็ ในภาคธรุ กจิ
อตุ สาหกรรมทกุ สาขาอาชพี เปน็ การเตรยี มความพรอ้ มของผเู้ รยี นเขา้ สสู่ นามการแขง่ ขนั ในประชาคมอาเซยี น
ขอขอบพระคุณท่านอาจารยผ์ ูส้ อน ผ้ปู ระสาทวิชาความรู้ เอกสาร หนังสอื ที่ใชป้ ระกอบในการ
เรียบเรียงไว้ ณ โอกาศนี้

วชิ ัย โรมไธสง

สารบัญ 1

บทที่ 1 ความหมาย ความส�ำคัญ และความเป็นมาของอาชีวอนามยั 2
3
ความหมายของอาชีวอนามยั 4
ขอบเขตงานอาชีวอนามยั และความปลอดภยั 6
ความส�ำคญั ของอาชวี อนามยั 8
พัฒนาการของงานอาชวี อนามยั ในตา่ งประเทศ 10
พฒั นาการของงานอาชีวอนามยั ในประเทศไทย 12
การดำ� เนนิ งานอาชวี อนามัยในประเทศไทย 14
ค�ำถามประจ�ำบทที่ 1 15
ใบงานบทที่ 1 แผนผงั อาชีวอนามยั
บทท่ี 2 การปอ้ งกนั และควบคุมสิ่งแวดล้อมทีเ่ ปน็ มลพษิ ในการท�ำงาน 16
18
สิ่งแวดล้อมในการทำ� งาน (Working Environments) 19
สารพษิ และอันตรายท่ีมตี อ่ ร่างกายมนุษย์ 20
ลกั ษณะของการรบั สารพษิ เข้าสรู่ า่ งกายของมนษุ ย์ 21
อันตรายของสารเคมีที่มผี ลต่อสภาพแวดล้อม 23
การควบคมุ และป้องกนั อนั ตรายจากสารเคมี 25
ค�ำถามประจ�ำบทที่ 2 26
ใบงานบทที่ 2 สารพิษทเ่ี ปน็ อันตรายกับร่างกายมนุษย์
บทที่ 3 โรคท่ีเกดิ จากการประกอบอาชีพและการดแู ลป้องกัน 29
33
สาเหตแุ ละการปอ้ งกนั โรคจากการท�ำงาน 35
การส่งเสรมิ สขุ ภาพเพ่ือป้องกันโรคจากการทำ� งาน 36
การเฝา้ ระวังโรคจากการทำ� งาน 38
ค�ำถามประจำ� บทท่ี 3 39
ใบงานบทที่ 3 โรคทเี่ กิดจากการทำ� งานในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
บทที่ 4 อุบัตเิ หตุและอบุ ตั ิภัยทเี่ กิดจากการทำ� งาน 40
43
สาเหตทุ ี่ทำ� ให้เกิดอบุ ตั ิเหตแุ ละอบุ ตั ิภยั จากการทำ� งาน 44
ความสญู เสยี จากการเกิดอุบัตเิ หต ุ 47
สถิติการเกิดอบุ ตั เิ หตุในประเทศไทย 49
การป้องกนั อุบัตเิ หตตุ ามทฤษฎีโดมโิ น 49
ความสญู เสียทางตรงและทางออ้ มจากการเกดิ อบุ ตั เิ หต ุ 51
ประโยชนท์ ่ไี ดร้ ับจากการท�ำงานอย่างปลอดภัยและการป้องกนั อุบตั ิเหต ุ 53
ค�ำถามประจ�ำบทที่ 4
ใบงานบทท่ี 4 เปรยี บเทียบความสูญเสียในการเกิดอุบัตเิ หตุเสมอื นกับภเู ขาน้�ำแขง็

บทที่ 5 อบุ ัตเิ หตใุ นงานกอ่ สร้างและการป้องกัน 54
อันตรายจากการใชเ้ ครื่องจกั รกลในงานกอ่ สร้าง 56
อนั ตรายจากการปฏบิ ัตงิ านตอกเสาเข็ม 60
อันตรายจากการปฏิบัติงานในท่ีสงู 62
อันตรายในพ้นื ทก่ี ่อสร้าง 63
ค�ำถามประจำ� บทที่ 5 65
ใบงานบทท่ี 5 อนั ตรายจากการใชเ้ ครือ่ งจกั รกลในงานกอ่ สรา้ งและวธิ กี ารปอ้ งกนั อนั ตราย 67
บทที่ 6 อบุ ัตเิ หตจุ ากอคั คีภัยและการใชไ้ ฟฟ้า 68
ทฤษฎกี ารเกิดเปลวไฟ 70
ประเภทของเพลงิ 72
สาเหตุท่ีทำ� ให้เกดิ อุบัติเหตุเพลงิ ไหม ้ 73
การระงบั อัคคภี ยั 75
การหนีไฟไหม้ 80
อันตรายทีเ่ กดิ จากไฟฟ้า 81
ขอ้ ควรระวังในการใช้ไฟฟา้ 82
คำ� ถามประจำ� บทท่ี 6 86
ใบงานบทที่ 6 องค์ประกอบของการเกดิ เปลวไฟ 88
บทท่ี 7 การปรบั ปรงุ สภาพการท�ำงานตามหลักการยศาสตร ์ 89
ความหมายดา้ นการยศาสตร ์ 90
หลกั การดา้ นการยศาสตร ์ 92
ปฎิสมั พนั ธแ์ ละจดุ เด่นระหวา่ งคนกับเครือ่ งจกั ร 96
โรคที่เกิดจากการทำ� งานผดิ หลกั การยศาสตร ์ 98
การยนื และน่ังทำ� งานอย่างถกู วธิ ี 100
คำ� ถามประจ�ำบทที่ 7 102
ใบงานบทที่ 7 องค์ประกอบของการยศาสตร ์ 104
บทที่ 8 การจัดการอาชวี อนามยั และความปลอดภัยเบ้ืองตน้ 105
การดำ� เนนิ การจัดการป้องกันและควบคมุ อบุ ัตเิ หตุจากการทำ� งาน 106
จิตวทิ ยาอุตสาหกรรมกบั งานความปลอดภัย 108
คณะกรรมการความปลอดภัย 111
กจิ กรรมสร้างเสริมความปลอดภยั ในการทำ� งาน 112
การปลูกจิตสานึกของความปลอดภยั ดว้ ยกจิ กรรม KYT 114
การวเิ คราะห์งานเพ่อื ความปลอดภยั 115
การสอบสวนอุบตั เิ หตุ 117
การประเมินผลอบุ ัตเิ หตุจากการท�ำงาน 120
การจดั องคก์ รความปลอดภัย 124
การประเมินความเสยี่ ง 126

ค�ำถามประจ�ำบทท่ี 8 129
ใบงานบทท่ี 8 องค์ประกอบสำ� คญั 4 ประการเพ่อื ความส�ำเรจ็ ของกิจกรรม 5 ส 131
บทท่ี 9 เครื่องหมายและสญั ลักษณเ์ พ่อื ความปลอดภยั 132
เครอื่ งหมายเพือ่ ความปลอดภยั (Safety Signs) 133
รูปแบบของเครอื่ งหมายเพ่อื ความปลอดภัย 134
สแี ละสัญลักษณค์ วามปลอดภัย 135
ค�ำถามประจำ� บทที่ 9 140
ใบงานบทที่ 9 สีเพือ่ ความปลอดภยั 142
บทท่ี 10 อุปกรณ์ปอ้ งกันอนั ตรายในการท�ำงาน 143

ความหมายและความส�ำคัญ 145
อปุ กรณ์ปอ้ งกนั อนั ตรายชนิดตา่ ง ๆ 145
อปุ กรณ์ปอ้ งกนั มือ น้ิวมือ และแขน (Hand Fingers and Arm Protection) 150
อปุ กรณป์ ้องกันเท้าและขา 151
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของระบบหายใจ (Respiratory Protective Devices) 153
อปุ กรณ์ปอ้ งกันพิเศษทีใ่ ชง้ านเฉพาะ 157
การ์ดแบบอนิ เตอร์ล็อกและแบบควบคมุ ดว้ ย 2 มอื 159
อุปกรณ์นริ ภัยป้อนช้นิ งานเข้าเครอื่ งจักร 160
คำ� ถามประจ�ำบทท่ี 10 161
ใบงานบทท่ี 10 แถบสีบอกคุณสมบัติในการป้องกนั ก๊าซ 163
บทที่ 11 การปฐมพยายามเบอ้ื งตน้ 164

ปัจจัยปฐมพยาบาลในสถานประกอบการ 165
หลกั การปฐมพยาบาล 167
การช่วยเหลือผถู้ กู ไฟลวกหรอื ไฟไหม ้ 172
การปฐมพยาบาลชว่ ยหายใจและนวดหวั ใจ 173
การปฐมพยาบาลนวดหัวใจ (Cardiae Massage) 175
การเคลอื่ นย้ายผู้ปว่ ย 176
คำ� ถามประจ�ำบทท่ี 11 180
ใบงานบทท่ี 11 การผายปอดดว้ ยวธิ เี ป่าลมเขา้ ปาก 182
บทที่ 12 กฎหมายและหน่วยงานท่ีเก่ยี วข้องกับงานอาชวี อนามัยและความปลอดภยั 183
พระราชบัญญัตโิ รงงาน พทุ ธศกั ราช 2535 186
พระราชบัญญตั คิ มุ้ ครองแรงงาน พุทธศกั ราช 2541 189
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเร่อื งความปลอดภัยในการทำ� งานเก่ยี วกับสารเคมอี นั ตราย 190
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอยภยั เกยี่ วกับไฟฟา้ 192
คำ� ถามประจำ� บทท่ี 12 195
ใบงานบทท่ี 12 กฎหมายท่ีเก่ียวขอ้ งกบั งานอาชวี อนามัยและความปลอดภัย 197
บรรณานกุ รม 198

1 บทท่ี

ความหมาย ความสำ� คัญ
และความเป็นมาของอาชีวอนามยั

แนวคิด สมรรถนะประจำ� บท
อาชีวอนามัย หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริม ควบคุม 1. อธบิ ายความหมาย ขอบเขต และความสำ� คญั ของอาชวี อนามยั
ดูแล การป้องกันโรค ตลอดจนอุบัติเหตุ และด�ำรงรักษา 2. สรุปพัฒนาการของงานอาชีวอนามัยทั้งในประเทศและ
สุขภาพอนามัยทั้งมวลของผู้ประกอบอาชีพให้มีความปลอดภัย ตา่ งประเทศ รวมทง้ั การดำ� เนนิ งานอาชวี อนามยั ในประเทศไทย
มสี ภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการท�ำงาน จุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม
(ประเทศไทย) จัดต้ังข้ึนตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 1. อธิบายความหมายของอาชีวอนามยั
เป็นต้นมา เพื่อเผยแพรค่ วามรู้ ความเขา้ ใจ และประสบการณ์ 2. ระบขุ อบเขตงานอาชีวอนามยั และความปลอดภัย
ด้านความปลอดภัยและอนามัยในการท�ำงานโดยสร้างความ 3. บอกความสำ� คัญของอาชีวอนามัย
รว่ มมอื ระหวา่ งภาครฐั องคก์ รตา่ ง ๆ ในการสง่ เสรมิ ดา้ นสวสั ดกิ าร 4. อธิบายพฒั นาการของงานอาชีวอนามยั ในตา่ งประเทศ
กับผใู้ ชแ้ รงงาน 5. อธิบายพัฒนาการของงานอาชีวอนามัยในประเทศไทย
6. สรุปการด�ำเนนิ งานอาชวี อนามัยในประเทศไทย
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของอาชีวอนามยั
2. ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
3. ความส�ำคญั ของอาชวี อนามยั
4. พฒั นาการของงานอาชีวอนามัยในตา่ งประเทศ
5. พัฒนาการของงานอาชีวอนามยั ในประเทศไทย
6. การด�ำเนินงานอาชวี อนามยั ในประเทศไทย

2 บทท่ี 1 ความหมาย ความสำ� คญั และความเป็นมาของอาชวี อนามัย

1 บทท่ี

ความหมาย ความส�ำคัญ
และความเปน็ มาของอาชวี อนามัย

ความหมายของอาชวี อนามยั

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เปน็ วชิ าวทิ ยาศาสตรใ์ นสาขาวิชาสขุ ศกึ ษาท่ีเก่ยี วข้อง
กับการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ และผลกระทบที่เกิดจากการท�ำงานท่ีอาจก่อ
ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพ่ือการด�ำเนินการให้ผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานเกิดความปลอดภัยสูงสุด
ไดร้ ับการคุม้ ครองและสทิ ธปิ ระโยชน์ตามกฎหมาย
ค�ำวา่ อาชีวอนามัย “Occupational Health” เปน็ คำ� สมาสระหวา่ งค�ำว่า อาชีวะ หรอื อาชีพ
กับคำ� วา่ อนามยั หรอื สุขภาพ
อาชวี ะ (Occupation) หมายถึง การเลย้ี งชพี การประกอบอาชพี บุคคลทปี่ ระกอบสัมมาชีพ
หรือคนที่ประกอบอาชีพทุกสาขาอาชพี
อนามยั (Health) หมายถึง สุขภาพอนามยั ความไม่มโี รค หรือสภาวะความสมบรู ณท์ ั้งรา่ งกาย
และจิตใจของผู้ประกอบอาชีพ
จากค�ำสองค�ำรวมกันเป็น อาชีวอนามัย จึงหมายถึง งานท่ีเก่ียวกับการส่งเสริม ควบคุม ดูแล
การป้องกันโรค ตลอดจนอุบัติเหตุ และด�ำรงรักษาสุขภาพอนามัยท้ังมวลของผู้ประกอบอาชีพให้มี

บทท่ี 1 ความหมาย ความส�ำคัญ และความเปน็ มาของอาชีวอนามัย 3

ความปลอดภัย มีสภาพร่างกายและจิตใจท่ีสมบูรณ์ แข็งแรง ซ่ึงสอดคล้องกับองค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ (ILO) ได้ให้ความหมายของอาชีวอนามัยไว้ว่าหมายถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ธ�ำรงไว้ซึ่ง
สขุ ภาพทางกาย ทางจติ ใจ และทางสงั คมทด่ี งี ามของผปู้ ระกอบอาชพี ทงั้ มวล สามารถรวมความไดด้ งั รปู ที่ 1.1

ขอบเขตงานอาชวี อนามยั และความปลอดภยั

ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นการด�ำเนินการโดยหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องเพ่ือ
ดแู ลสขุ ภาพอนามยั และความปลอดภยั ของผปู้ ฏบิ ตั งิ าน ใหส้ ามารถปฏบิ ตั งิ านไดอ้ ยา่ งปลอดโรค ปลอดภยั
มสี ภาวะทสี่ มบรู ณท์ งั้ ทางรา่ งกายและจติ ใจ และสามารถปฏบิ ตั งิ านไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ล
งานบริการที่จัดข้ึนในสถานประกอบการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและด�ำรงไว้ ซ่ึงสุขภาพอนามัยที่ดี
ของผู้ประกอบอาชีพ รวมท้ังการควบคุมโรคตลอดจนอันตราย อันเกิดจากอุปกรณ์และเคร่ืองจักรในการ
ปฏิบตั ิงาน
ขอบเขตตามข้อกำ� หนดขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization : ILO) ได้ร่วมกัน
ก�ำหนดขอบขา่ ยลักษณะงานอาชีวอนามยั อนั ประกอบด้วยงานสำ� คญั 5 ประการดังน้ี
1. การสง่ เสรมิ (Promotion) หมายถงึ งานท่เี กยี่ วกับการส่งเสริมและธำ� รงรักษาไวซ้ ง่ึ สขุ ภาพ
ท้ังร่างกายและจิตใจท่ีแข็งแรงสมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพ ตลอดจนมีความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันในสังคม
ของผ้ปู ระกอบอาชีพตามสถานะทพี่ ึงมไี ด้
2. การปอ้ งกนั (Prevention) หมายถงึ การปอ้ งกนั มใิ หผ้ ปู้ ระกอบอาชพี หรอื แรงงานมสี ุขภาพ
อนามัยเส่อื มโทรมหรือผดิ ปกติ เนื่องจากสภาพ หรอื สภาวะการท�ำงานทผี่ ดิ ปกติ
3. การปกปอ้ งคมุ้ ครอง (Protection) หมายถงึ การดำ� เนนิ การปกปอ้ งคมุ้ ครอง ผปู้ ระกอบอาชพี
หรือแรงงานในสถานประกอบการ มิใหม้ ีการกระท�ำงานที่เสยี่ งตอ่ อนั ตรายหรือการเกดิ โรคภยั ไข้เจบ็
4. การจดั การทำ� งาน (Placing) หมายถงึ การจดั การเกย่ี วกบั สภาพสง่ิ แวดลอ้ มของการท�ำงาน
ให้มีความเหมาะสมสอดคลอ้ งกบั สภาพความต้องการของรา่ งกาย จิตใจของผปู้ ระกอบอาชีพหรอื แรงงาน
มากท่สี ุดเทา่ ทจ่ี ะทำ� ได้
5. การปรับงานและคนให้มีความเหมาะสมกัน (Adaptation) หมายถึง การปรบั สภาพของ
งานและคนท�ำงานให้สามารถท�ำงานได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ โดยค�ำนึงถึงสภาพทางสรีรวิทยา
และพื้นฐานความแตกต่างทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของคนท�ำงานให้มีความสอดคล้องมากท่ีสุด
เพื่อประสทิ ธผิ ลของงานน้นั ๆ

4 บทที่ 1 ความหมาย ความสำ� คัญ และความเปน็ มาของอาชวี อนามยั

อาชีวอนามัย

- อุตสาหรกรรม - ร่างกาย
- เกษตรกรรม - จิตใจ
- พาณิชย์กรรม อาชีพ อนามัย - อารมณ์
- การบรกิ าร
- อื่น ๆ - สังคม

สภาพแวดลอ้ มการทำ� งาน

รูปท่ี แผนผังของอาชีวอนามัย

1.1

ขอบเขตในศาสตรแ์ ละงานในสาขาวิชาทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
1. งานอาชีวศาสตร์ ซ่ึงมีนักอาชีวสุขศาสตร์ (Occupational Hygienist) ท�ำหนา้ ทสี่ ืบค้น
ตรวจประเมนิ เพอ่ื ควบคุมสิ่งแวดลอ้ มการท�ำงาน
2. งานอาชวี นริ ภยั (Occupational Safety) บคุ ลากรประกอบดว้ ย นกั วทิ ยาศาสตรอ์ าชวี อนามยั
และความปลอดภัย วิศวกรความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท�ำงาน นักการยศาสตร์
(Argonomist) มีหน้าท่ีตรวจสภาพการท�ำงานและสิ่งแวดล้อมการท�ำงานเพ่ือประเมิน ป้องกัน และ
ควบคมุ อุบัตเิ หตุ
3. งานอาชวี เวชศาสตร์ (Occupational Medicine) บคุ ลากรประกอบดว้ ย แพทยอ์ าชวี อนามยั
พยาบาลอาชวี อนามยั ทำ� หน้าท่ใี นการตรวจสอบร่างกายและรกั ษาโรคแก่คนทำ� งาน
4. งานเวชกรรมฟ้ืนฟู (Rehabilitation) ประกอบด้วย แพทย์เฉพาะสาขา นักกายภาพบำ� บดั
นักวจิ ัยอตุ สาหกรรม ทำ� หน้าที่ฟื้นฟูสภาพความพกิ ารของท�ำงาน

ความส�ำคัญของอาชีวอนามัย

วิถีการด�ำเนินชีวิตมีการประกอบอาชีพเป็นกิจกรรมส�ำคัญ เพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและ
คุณภาพชีวิตที่ดีทั้งของตนเองและครอบครัว ซึ่งถือได้ว่าคนเป็นทรัพยากรที่ส�ำคัญและมีค่ามากท่ีสุดใน
การจดั การการทำ� งานขององคก์ ร พฒั นาอาชพี และกอ่ ใหเ้ กดิ การเปลยี่ นแปลง ประเทศไทยพฒั นาไปตาม
ยุคสมัยจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สนับสนุนให้มีการพัฒนา
ด้านอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคบริโภคของประชากรทั้งในประเทศ

บทท่ี 1 ความหมาย ความสำ� คญั และความเปน็ มาของอาชีวอนามยั 5

รวมท้ังเพื่อการส่งออก ท�ำให้เกิดการเคล่ือนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่แรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
ประกอบกับการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น การผลิตท่ีมากขึ้น เกิดการเปล่ียนแปลงวิธีการ
ท�ำงาน มีการน�ำเข้าวัตถุดิบและการใช้สารเคมีอันตราย โดยมีรายละเอียดด้านความปลอดภัยมาใช้ใน
การผลติ มากยง่ิ ขน้ึ ถา้ คนทำ� งานในโรงงานอตุ สาหกรรมเกดิ การเจบ็ ปว่ ย มอี บุ ตั ภิ ยั อบุ ตั เิ หตุ และเหตรุ า้ ยแรง
เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบทั้งในระบบและภายนอก การท�ำงานส่งผลกระทบท้ังทางตรงและทางอ้อมเกิด
ปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรม เป็นโรคจากการประกอบอาชีพ (Occupation diseases) กันมากขึ้นถึงข้ัน
ทพุ พลภาพและเสยี ชวี ติ ซง่ึ สามารถตรวจสอบขอ้ มลู ทางสถติ ไิ ดจ้ ากสำ� นกั งานประกนั สงั คม กระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม ซ่ึงในแต่ละปีกองทุนเงินทดแทนต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างผู้ประสบอันตรายจากการ
ท�ำงานเป็นจำ� นวนเงินมากมายมหาศาลเปน็ เงินหลายรอ้ ยล้านบาท
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลถึงการสูญเสียประชากรวัยท�ำงานท่ีก�ำลังได้รับการพัฒนาความรู้
ความสามารถและฝมี อื แรงงาน สญู เสยี กำ� ลงั งานเศรษฐกจิ สง่ ผลถงึ การผลติ ทตี่ อ้ งหยดุ ชะงกั ผลผลติ ลดลง
ความเสียหายที่เกิดกบั เครอ่ื งมืออปุ กรณต์ า่ ง ๆ ในการทำ� งาน วตั ถุดิบท่ีเสียหาย สูญเสยี เวลา เสยี คา่ รักษา
พยาบาล เสยี ขวญั และกำ� ลงั ใจในการทำ� งาน กอ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาครอบครวั และเปน็ ปญั หาสงั คม ประเทศชาติ
ต่อไปอย่างแน่นอน แรงงานท่ีได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบและองค์กรที่มีส่วนเก่ียวข้อง
ได้เรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐบาลให้ตระหนักถึงความส�ำคัญของความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยใน
การประกอบอาชีพของประชาชน ท�ำให้มีการพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยมากขึ้น โดยเร่ิมต้ังแต่แผน
พฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 5 พ.ศ.2525-2529 จนถงึ แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ
ฉบบั ที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ตามแผนยุทธศาสตร์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องของการยกระดับ
ฝีมือแรงงานเข้าสู่มาตรฐานการท�ำงาน รวมท้ังสถานประกอบการและแรงงานที่สามารถตรวจสอบ
ประเมินได้อย่างเป็นธรรม และยังส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยยึดปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงพระราชทาน
แก่ปวงชนชาวไทย เพื่อการอยู่ดีกินดีและการอยู่รอดปลอดภัย ท่ามกลางปัญหาภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศชาติ
นอกจากน้ันหน่วยงานเอกชนที่เห็นถึงความส�ำคัญและความปลอดภัยของสุขภาพอนามัยในการ
ประกอบอาชีพของประชาชน จึงไดร้ ว่ มกนั จดั ตั้งสมาคมสง่ เสริมความปลอดภัยและอนามัยในการท�ำงาน
(ประเทศไทย) ขึ้นต้ังแต่วันท่ี 20 พฤษภาคม พ.ศ.2530 เป็นต้นมา เพ่ือเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ
และประสบการณ์ด้านความปลอดภัยและอนามัยในการท�ำงาน โดยสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ
องค์กรตา่ ง ๆ ในการสง่ เสริมด้านสวสั ดกิ ารกบั ผใู้ ช้แรงงาน

6 บทท่ี 1 ความหมาย ความสำ� คัญ และความเปน็ มาของอาชวี อนามัย

พฒั นาการของงานอาชีวอนามยั ในต่างประเทศ

งานอาชวี อนามยั เปน็ สงิ่ สำ� คญั และจำ� เปน็ อยา่ งยง่ิ ในการทำ� งานประกอบอาชพี ของประชากรทว่ั โลก
ทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม การบริการ การขนส่ง การก่อสร้าง และอ่ืน ๆ
กอ่ นการปฏวิ ตั ดิ า้ นอตุ สาหกรรมเมอื่ ตน้ ศตวรรษที่ 18 (ราวปี พ.ศ.2243-2343) ประชากรสว่ นใหญข่ องโลก
ยงั เกย่ี วขอ้ งกบั การใชท้ รพั ยากรธรรมชาตทิ มี่ อี ยใู่ นประเทศและการใชแ้ รงงานจากคนและสตั วใ์ นการผลติ
หลังจากนั้นความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพ่ิมมากข้ึน ท�ำให้เกิดการพัฒนา
ระบบอุตสาหกรรม เปล่ียนมาใช้เคร่ืองจักรท่ีมีประสิทธิภาพสูงในการผลิต นอกจากนั้นยังมีการคิดค้น
พฒั นาเทคโนโลยตี า่ ง ๆ เพอ่ื ตอบสนองความตอ้ งการของการบรโิ ภคทเ่ี ปลย่ี นแปลงไปอยา่ งรวดเรว็ ตลอดเวลา
มกี ารใชแ้ รงงานอยา่ งไมถ่ กู ตอ้ ง กอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตรายจากการทำ� งานทง้ั อบุ ตั เิ หตุ การบาดเจบ็ พกิ าร การตาย
และโรคจากการท�ำงานเพ่ิมมากขึ้น ต่อมามีผู้สนใจและเห็นความส�ำคัญของความปลอดภัยในการท�ำงาน
จงึ เร่มิ ศกึ ษาหาแนวทางในการแก้ไขป้องกนั โดยนายเบอรน์ าดโิ น แรมมาซซนิ ี แพทยช์ าวอติ าลี เปน็ คนแรก
ท่ีได้เขียนและจัดพิมพ์หนังสือชื่อ “โรคของคนท�ำงาน” ข้ึนเป็นเล่มแรก และถือได้ว่าเป็นการเริ่มงาน
ดา้ นอาชวี อนามยั เปน็ แรงผลกั ดนั และความพยายามจากบคุ คลตา่ ง ๆ ในการมงุ่ มน่ั ปรบั ปรงุ สภาวะการทำ� งาน
ให้ปลอดภยั มากที่สุด
ภาครัฐไดเ้ ขา้ มามบี ทบาทในการออกกฎ ระเบยี บ ข้อบงั คบั และกฎหมายเพื่อควบคมุ การทำ� งาน
สภาวะแวดล้อม ให้แรงงานท�ำงานอย่างปลอดภัย มีสุขภาพร่างกายและจิตใจท่ีดี มีความเป็นอยู่อย่าง
เหมาะสมในสังคมและสร้างผลผลิตคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี ค.ศ.1803 (พ.ศ.2346) รฐั บาลองั กฤษได้จัดให้มเี จ้าหน้าท่ีตรวจสอบโรงงานอตุ สาหกรรมขึ้น
เน่ืองจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้เปล่ียนมาใช้เครื่องจักรไอน�้ำกันมากข้ึน ท�ำให้ในปี ค.ศ.1833
(พ.ศ.2376) มีการออกกฎหมายป้องกันการระเบิดของหม้อไอน�้ำ (Boiler Explosion Act) และมีการ
ประกาศใชก้ ฎหมายโรงงาน (Great Factory Act) ข้นึ ในปี ค.ศ.1844 (พ.ศ.2387) เปน็ กฎหมายเกย่ี วกบั
ความปลอดภยั ในโรงงานอุตสาหกรรม
อยา่ งไรกต็ าม ยงั คงมคี นงานไดร้ บั อนั ตรายและบาดเจบ็ จากการทำ� งาน และมขี อ้ รอ้ งเรยี นตอ่ ศาล
อยเู่ สมอ ทำ� ใหร้ ฐั บาลองั กฤษมกี ารประกาศใชก้ ฎหมายเงนิ ทดแทน (Compensation Act) ในปี ค.ศ.1897
(พ.ศ.2440) จนถึงปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) ประเทศอังกฤษประกาศใช้กฎหมายความปลอดภัยในการ
ท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหลายฉบับ พร้อมท้ังต้ังคณะกรรมการโรเบนส์ (Robens Committee)
เพื่อท�ำหน้าท่ีทบทวนกฎหมายและข้อก�ำหนดความปลอดภัยในการท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และ
รายงานผลการทบทวนกฎหมายอาชีวอนามัยให้รัฐบาลทราบ ท�ำให้มีการออกกฎหมายสุขภาพอนามัย
และความปลอดภยั ในการทำ� งานขนึ้ (The Health and Safety at Work act) และ ปี ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521)

บทที่ 1 ความหมาย ความส�ำคัญ และความเปน็ มาของอาชีวอนามัย 7

มีการตั้งผู้แทนท�ำหน้าท่ีสืบสวนหาอันตรายท่ีอาจเกิดขึ้นได้ในที่ท�ำงานและประสานงานกับเจ้าหน้าที่
ตรวจสอบความปลอดภยั ฝ่ายรฐั บาล เพ่อื ทำ� หนา้ ทด่ี แู ลความปลอดภยั ในทีท่ ำ� งาน (Workplace Safety
Representative) ซึ่งต่อมามีการจัดต้ังสมาคม สถาบันและสภาความปลอดภัยในการท�ำงานข้ึนอีก
หลายแห่ง ดังน้ี
1. ราชสมาคมเพอื่ ป้องกันอุบตั เิ หตุ (The Royal Society for the Prevention of Accidents
- RSPA)
2. ราชสมาคมเพ่ือส่งเสริมสขุ ภาพ (The Royal Society for the Promotion of Health)
3. สถาบนั อาชีวอนามยั (The Institute of Occupational Health)
4. สภาความปลอดภยั แห่งสหราชอาณาจักรองั กฤษ (British Safety Council)
5. คณะกรรมการสมาคมแพทยอ์ าชวี อนามยั แหง่ สหราชอาณาจกั ร (The British with Medical
Association Occupational Health Committee)
ส่วนในสหรัฐอเมริกามีการจัดด�ำเนินการงานอาชีวอนามัยมานานกว่า 120 ปี และมีการจัดต้ัง
สถาบันตรวจสอบโรงงาน (Institute factory inspection) กับส�ำนักงานสถิติแรงงานและสถิติสาเหตุ
ชนิดอุบัติเหตุ โดยผ่านกฎหมายบังคับให้มีอุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายแก่เครื่องจักรในรัฐเมสาจูเสต
ตัง้ แต่ปี ค.ศ.1877 (พ.ศ.2420) ต่อมาในปี พ.ศ.1985 (พ.ศ.2428) กไ็ ด้มกี ารผ่านกฎหมายทดแทนคนงาน
(Employers liability Law) ในรัฐอลาบาม่า และปี ค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) รฐั นิวเจอรซ์ เี ป็นแหง่ แรกที่
ผ่านกฎหมายเงินทุนทดแทน พร้อมกับการผ่านกฎหมายบังคับการรายงานโรคจากการประกอบอาชีพ
ของรัฐแคลิฟอรเ์ นียเช่นกัน นอกจากนนั้ ยงั มีการจัดตั้งสมาคมวิศวกรรมความปลอดภัย (The American
Society of Safety Engineers) เม่ือปี ค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) มีการจัดประชุมความร่วมมือในความ
ปลอดภัยเป็นคร้ังแรก (First Co-operative Safety Congress) และ ผลจากการประชุมท�ำให้มีการ
จัดตั้งสภาความปลอดภัยในอุตสาหกรรม (National Council for Industrial Safety) ต่อมาไดเ้ ปลย่ี น
เปน็ สภาความปลอดภัยแห่งชาติ (Nation Safety Council) ในปี ค.ศ.1913 (พ.ศ.2456) ซ่งึ มโี รงงาน
อตุ สาหกรรมเป็นสมาชกิ และมีการจดั ประชมุ รว่ มกันทุกปี
คณะกรรมการบรหิ ารงานความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามยั การประกอบอาชพี (Occupational
Safety and Health Administration - OSHA) ของสหรัฐอเมริกา เปน็ คณะทำ� งานในสถาบันมาตรฐาน
แห่งชาติ (The American National Standard Institute) ซึ่งก่อตั้งมาจากคณะกรรมการมาตรฐาน
วิศวกรรมอเมริกา ซ่ึงต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมมาตรฐานอเมริกา (America National Standard
Institute) ตง้ั แตป่ ี ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) ทำ� ใหม้ กี ารตระหนกั ถงึ ความสำ� คญั ของความปลอดภยั ในสขุ ภาพ
และการประกอบอาชีพกันมากย่ิงขึ้น สมาคมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมจึงได้รวมตัวกันเป็นสมาคม
ป้องกนั อบุ ัตเิ หตุในอตุ สาหกรรม (The Industrial Accident Prevention Association - IAPA) โดย
ความร่วมมือจากคนงานจากหลากหลายอาชีพเข้าเป็นสมาชิก เพื่อร่วมกันศึกษาถึงสาเหตุของอุบัติเหตุ

8 บทที่ 1 ความหมาย ความส�ำคัญ และความเปน็ มาของอาชีวอนามยั

เพอ่ื เสนอแนะวธิ ปี อ้ งกนั พรอ้ มทง้ั จดั ใหม้ หี ลกั สตู รฝกึ อบรม โดยมศี นู ยก์ ลางอยทู่ เ่ี มอื งโทรอนโท (Toronto)
ในประเทศแคนาดา
การพัฒนางานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการประกอบอาชีพเป็นส่วนส�ำคัญของงาน
อาชวี อนามัยในสหรฐั อเมริกาทีส่ ำ� คญั ดงั นี้
1. การตดิ ตงั้ เครอื่ งปอ้ งกนั อนั ตรายแกเ่ ครอ่ื งจกั ร (Machine guarding of Safety Devices)
คอื การบังคับใหม้ ีเครอื่ งปอ้ งกนั อันตรายแกเ่ คร่ืองจกั ร ซึง่ ยัง (Young) ไดก้ �ำหนดเปน็ ประเด็นส�ำคัญเพอื่
ลดอุบัตเิ หตใุ นการทำ� งานอุตสาหกรรมอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ
2. กลมุ่ สวสั ดศิ กึ ษาและสง่ เสรมิ ความปลอดภยั (Group Safety Education and Promotion)
ได้จัดหลักสูตรอบรมการท�ำงานอย่างปลอดภัยด้วยการจัดการให้คนงานมีความรู้ความเข้าใจในการ
ท�ำงานมากยิง่ ขนึ้ เพอื่ ช่วยใหท้ ำ� งานไดอ้ ย่างปลอดภัย
3. การฝึกอบรมความปลอดภัยส่วนบุคคล (Individualized Safety Training) โดยการ
ฝึกอบรมหัวหน้างานและผู้บริหารด้วยการนิเทศความปลอดภัย จะช่วยเน้นย�้ำให้ทุกคนตระหนักถึง
ความส�ำคญั ของความปลอดภยั ในการทำ� งานมากย่งิ ขนึ้
4. ความรบั ผดิ ชอบของผจู้ ดั การเรอ่ื งความปลอดภยั (Safety Responsibility of managers)
การฝกึ อบรมความปลอดภยั และการวเิ คราะหค์ วามปลอดภยั เปน็ โครงการฝกึ อบรมเพอ่ื นำ� ไปสกู่ ารทำ� งาน
ท่ีปลอดภยั มีประสทิ ธภิ าพ รวมทง้ั การผลติ ทมี่ คี ณุ ภาพและลดตน้ ทนุ การผลิต
5. ระบบวศิ วกรรมความปลอดภยั (Safety Engineering) เนอ่ื งจากมกี ารเปลี่ยนแปลงพฒั นา
ทางเทคโนโลยี และการยอมรับการท�ำงานแบบประสานความร่วมมือกันมากขึ้น ท�ำให้เกิดการท�ำงาน
รว่ มกนั ของระบบวศิ วกรรมความปลอดภัย (System Safety Engineer) ระบบวิเคราะห์ความปลอดภยั
(System Safety Analysis) และระบบวศิ วกรรมความปลอดภยั ในการผลติ (Product Safety Engineering)
เพือ่ การควบคุมความสญู เสยี รว่ มกนั (Total loss Control)

พฒั นาการของงานอาชวี อนามัยในประเทศไทย

พื้นฐานความเป็นอยู่ของคนไทยด้ังเดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนงานด้าน
อตุ สาหกรรมนน้ั ไดเ้ รมิ่ มกี ารพฒั นามากขนึ้ ตามแผนพฒั นาชาติ มกี ารสง่ เสรมิ การลงทนุ อตุ สาหกรรมมากขนึ้
แรงงานอพยพเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น สภาพสังคม ความเป็นอยู่ การท�ำงานประกอบอาชีพ
เปล่ียนแปลง ก่อให้เกิดปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมในการท�ำงาน ส่ิงแวดล้อมทั่ว ๆ ไป เกิดอุบัติเหตุ
การบาดเจบ็ พิการ โรคจากการทำ� งานและเสียชีวติ
หนว่ ยงานตา่ ง ๆ ทเี่ กย่ี วขอ้ งเรม่ิ ผลกั ดนั ใหร้ ฐั บาลดแู ลเอาใจใส่ ควบคมุ ใหท้ ำ� งานไดอ้ ยา่ งปลอดภัย
โดยมกี ารออกพระราชบญั ญตั โิ รงงานขนึ้ เมอื่ ปี พ.ศ.2475 เปน็ กฎหมายดา้ นอตุ สาหกรรมฉบบั แรกทคี่ ุ้มครอง

บทที่ 1 ความหมาย ความส�ำคัญ และความเป็นมาของอาชวี อนามัย 9

ความปลอดภยั ของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม
พ.ศ.2477 มีการก�ำหนดพระราชบัญญัติสาธารณสุขเกิดข้ึน มีการปรับปรุงและบังคับใช้ในปี
พ.ศ.2484
พ.ศ.2499 มกี ารประกาศใช้พระราชบญั ญัติแรงงาน คุ้มครองสขุ ภาพอนามัยและความปลอดภยั
แก่ผู้ประกอบอาชีพ
พ.ศ.2509 มีการเสนอโครงการอาชวี อนามยั ไวใ้ นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 2 โดย
สภาพฒั นาเศรษฐกิจแห่งชาติ
พ.ศ.2510 มีการส่งบคุ ลากรไปศกึ ษาดูงานตา่ งประเทศ สภาพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ
ได้มีการบรรลุโครงการด้านอาชีวอนามัยเข้าไว้ในแผนฯ ฉบับที่ 2 ท่ีประกาศใช้ ต้ังแต่ปี พ.ศ.2510 ถึง
พ.ศ.2514 ซง่ึ ตอ่ มาไดต้ ง้ั กองอาชวี อนามยั ขน้ึ ในปี พ.ศ.2515 สงั กดั กรมสง่ เสรมิ สาธารณสขุ หรอื กรมอนามัย
ปจั จุบัน
พ.ศ.2512 ได้มีการปรับปรุงและออกพระราชบัญญัติโรงงานเพ่ือบังคับใช้ในการควบคุมโรงงาน
อตุ สาหกรรม ในดา้ นความปลอดภยั เกย่ี วกบั การออกแบบก่อสร้างโรงงาน การควบคุมสภาพของโรงงาน
การกำ� หนดใหโ้ รงงานจดั หาและตดิ ตง้ั อปุ กรณค์ มุ้ ครองความปลอดภยั ในการทำ� งาน การกำ� หนดมาตรการ
และวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อมในการท�ำงานให้ปลอดภัย นอกจากนั้นรัฐบาลเห็นความส�ำคัญของ
อาชีวอนามัยมากขึ้น จึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน
จดั หลกั สตู รการเรยี นการสอนดา้ นอาชวี อนามยั และความปลอดภยั ในระดบั ปรญิ ญาตรี ทำ� ใหง้ านอาชวี อนามยั
ไดม้ ีการดำ� เนนิ ไปอย่างเปน็ รปู ธรรมมากยิ่งขึ้น
พ.ศ.2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 เม่ือวันที่ 16 มีนาคม 2515 ให้การคุ้มครอง
ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและสวัสดิการของคนงาน โดยมีการบังคับใช้ในปี พ.ศ.2517 ต่อมาปี
พ.ศ.2519 กระทรวงมหาดไทย ไดม้ ปี ระกาศขอ้ กำ� หนดเกยี่ วกบั สขุ ภาพอนามยั และความปลอดภยั สำ� หรบั
ลูกจ้าง จนถึงปี พ.ศ.2526 ได้มีการจัดต้ังสถาบันความปลอดภัยในการท�ำงานข้ึนโดยกรมแรงงานของ
กระทรวงมหาดไทย เพื่อท�ำงานด้านส่งเสริมวิชาการและเทคโนโลยีทางด้านอาชีวอนามัยและความ
ปลอดภัยของประเทศไทย
พ.ศ.2528 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเร่ืองการบังคับให้สถานประกอบการที่มีคนงาน
เกิน 100 คน ต้องมีเจ้าหน้าท่ีความปลอดภัย (Safety Office) ปฏิบัติงานเต็มเวลา โดยรบั ผทู้ ไ่ี ดร้ บั การ
รับรองหลักสูตรจากกระทรวงหรือผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ท�ำให้เกิดการพัฒนางานอาชีวอนามัยเก่ียวกับเรื่องการคุ้มครองความปลอดภัยของคนงานมากยิ่งขึ้น
และต่อมาไดม้ ีประกาศคณะปฏบิ ัติ ฉบบั ท่ี 103 เรอื่ งเก่ยี วกบั ความปลอดภยั รวมท้ังสิ้น 17 ฉบบั ดว้ ยกนั
พ.ศ.2533 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมมีการจัดต้ังส�ำนักงานประกันสังคม โดยขึ้นอยู่กับ
กระทรวงมหาดไทย ต่อมาไดโ้ อนยา้ ยไปอยูใ่ นการดูแลของกระทรวงแรงงานและสวสั ดกิ ารสงั คม

10 บทที่ 1 ความหมาย ความสำ� คัญ และความเปน็ มาของอาชีวอนามัย

พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมข้ึน และโอนยา้ ยงานทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
มาจากกระทรวงมหาดไทย เชน่ กรมพฒั นาฝมี อื แรงงาน กรมการจดั หางาน กรมประชาสงเคราะห์ สำ� นกั งาน
ประกนั สงั คม และกรมสวสั ดกิ ารและคมุ้ ครองแรงงาน ในระหวา่ งปี 2537-2545 ไดม้ กี ารตราพระราชบญั ญตั ิ
เงนิ ทดแทนขน้ึ ใน พ.ศ. 2537 มกี ารจดั ทำ� แผนพฒั นาแรงงานและสวสั ดกิ ารสงั คม ฉบบั ท่ี 1 พ.ศ.2538-2544
เร่ืองคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน ในปี พ.ศ.2541
กระทรวงแรงงานและสวสั ดกิ ารสงั คม ไดต้ ราพระราชบญั ญตั คิ มุ้ ครองแรงงาน เพอ่ื ใชแ้ ทนประกาศคณะปฏวิ ตั ิ
ซึ่งช่วยสร้างภาพพจน์ด้านการคุ้มครองแรงงานของประเทศ และมีการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้อง
กับความต้องการ ความจ�ำเป็น และความก้าวหน้าทางวิชาการกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านการจัดการอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยขึ้น คือ มอก-18000 ซึ่งให้การรับรองโดย ส�ำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.)
เมอ่ื ปี พ.ศ. 2542 และไดม้ กี ารพฒั นาในระดับทสี่ งู ขึ้นเรอ่ื ย ๆ
พ.ศ. 2547 กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดลอ้ มในการท�ำงานเพอื่ ใหน้ ายจา้ งมกี ารด�ำเนินงานด้านความปลอดภัยในการท�ำงานอกี ๙ ฉบับ
และมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน พ.ศ. 2554 ใช้มา
จนถึงปจั จบุ ัน

การด�ำเนินงานอาชีวอนามยั ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการด�ำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ
โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันโรคและการติดต่อของโรคจากการประกอบ
อาชีพ รวมทั้งอุบัติเหตุและอุบัติภัยจากการท�ำงาน หรือให้ผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพมีสุขภาพอนามัย
ท่ีแข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน
การผลิต ซ่ึงจะส่งผลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติต่อไป ซ่ึงการด�ำเนินการน้ันต้องเก่ียวข้อง
สัมพันธ์กับกฎหมายและหน่วยงานที่เก่ียวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง
อุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดลอ้ ม กฎหมายทอ้ งถนิ่ ตา่ ง ๆ สว่ นการบรกิ ารงานอาชวี อนามยั (Occupation Health Services) นน้ั
เป็นงานเก่ียวกับการส่งเสริมและธ�ำรงไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดี ท้ังทางร่างกาย จิตใจและสังคมของ
ผู้ประกอบอาชีพ รวมท้ังการควบคุมป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ซ่ึงเกิดจากการที่คนท�ำงานต้องสัมผัสกับส่ิงที่
เป็นพิษภัยในการปฏิบัติงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีความพึงพอใจในฐานะการงาน
ที่มั่นคง มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความปลอดภัย ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม ซ่ึงจะมีผลต่อ

บทที่ 1 ความหมาย ความส�ำคญั และความเปน็ มาของอาชวี อนามยั 11

การปฏบิ ตั งิ านทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ และประสทิ ธผิ ล สง่ ผลดตี อ่ เศรษฐกจิ ทงั้ ของตนเองและประเทศชาตติ อ่ ไป
ขอบเขตของการด�ำเนนิ งานอาชีวอนามัย ประกอบด้วยงานหลัก 2 ด้าน ดังนี้
1. การป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ (Prevention and Control of
Occupational Disease) มีการปฏิบัติเก่ียวกับการควบคุมป้องกันโรคอันเนื่องมาจากการท�ำงาน
(Occupational Disease หรือ Work Related Disease) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในระยะยาวจากการ
สะสมของพิษภยั หรอื โรคในระดับหนง่ึ จะแสดงอาการออกมาใหเ้ ห็น (Long Term Effects) หรอื อาจเกดิ
อาการเฉยี บพลันถา้ หากไดร้ ับในปรมิ าณท่ีสงู (Acute Effect)
2. การปอ้ งกนั และควบคุมอบุ ตั ิเหตุจากการประกอบอาชพี (Prevention and control of
Occupational Accidents) มกี ารปฏบิ ตั งิ านเกย่ี วกบั การควบคมุ ปอ้ งกนั อบุ ตั เิ หตุ การบาดเจบ็ การพกิ าร
หรือเสียชีวิตจากการท�ำงานที่ไม่ปลอดภัยของคนงานในการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนมากมักเป็นปัญหา
อย่างเฉียบพลันทันที (Acute หรือ Short Term Effects) เนื่องจากมีสภาพการท�ำงานที่ต้องเส่ียงต่อ
อันตรายจากสภาพการออกแบบโรงงานท่ีไม่ถูกต้อง การเลือกใช้เครื่องจักรที่ไม่เหมาะสมมีสภาพเก่า
ขาดการดูแลรักษา

12 บทท่ี 1 ความหมาย ความส�ำคญั และความเปน็ มาของอาชีวอนามัย

คำ� ถามประจ�ำบทที่ 1

ตอนที่ 1 อธบิ าย (หมายถึง การใหร้ ายละเอียดเพ่ิมเตมิ ขยายความ ถา้ มตี วั อยา่ งใหย้ กตัวอย่างประกอบ)
1. อธบิ ายความหมายของอาชีวอนามัย
2. องค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ร่วมกันก�ำหนดขอบข่ายลักษณะงาน
อาชวี อนามยั ไวอ้ ยา่ งไร
3. งานอาชีวศาสตรซ์ ง่ึ มนี ักอาชวี สุขศาสตรม์ ีหน้าทีท่ ำ� อะไร
4. บุคลากรของงานอาชีวนิรภัยประกอบด้วยใครบ้าง
5. งานเวชกรรมฟ้ืนฟูทำ� หน้าทีเ่ กย่ี วกับอะไร
6. อาชวี อนามัยมีความส�ำคัญอย่างไร
7. การพัฒนางานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการประกอบอาชีพในสหรัฐอเมริกาท่ีส�ำคัญ
มีอะไรบา้ ง
8. สรุปพัฒนาการของงานอาชวี อนามัยในประเทศไทย
9. ขอบเขตของการด�ำเนินงานอาชวี อนามัยประกอบด้วยงานหลักดา้ นใดบา้ ง
10. ขอบเขตของการด�ำเนินงานอาชีวอนามัยเก่ียวกับการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบ
อาชีพตอ้ งท�ำอยา่ งไร
ตอนที่ 2 อธิบายค�ำศัพท์ (หมายถึง การแปลค�ำศัพท์ ขยายความ อธิบายเพิ่มเติม ถ้ามีตัวอย่างให้ยก
ตัวอยา่ งประกอบ)
1. Occupational Health
2. Promotion
3. Prevention
4. Protection
5. Placing
6. Adaptation
7. Occupational Hygienist
8. Occupational Safety
9. Occupational Medicine
10. Rehabilitation