อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ eec

ข่าวสารบริษัท

EEC & LOGISTICS DEVELOPMENT 27/06/2561


อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ eec

อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ eec

ความได้เปรียบด้านตำแหน่งที่ตั้งทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงเป็นอันดับต้นๆ ในการเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของอาเซียน เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ตรงศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นประตูสู่ประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม รวมถึงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศอาเซียนอื่นๆ อาทิ พม่า ลาว กัมพูชา

ในอดีต ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ยังไม่สูงเท่าปัจจุบันเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ราคาที่ดิน ค่าก่อสร้างดำเนินการไปจนถึงค่าแรงของประเทศไทยยังไม่สูงมากและแรงงานยังหาได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยขาดการลงทุนด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างจริงจังเป็นระยะเวลานานทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 14 ของ GDP เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย รัฐบาลจึงได้กำหนดเป้าหมายเพื่อผลักดันต้นทุนโลจิสติกส์ให้ลดเหลือร้อยละ 12 ภายในปี 2564 อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในระยะยาวต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศจำเป็นต้องลดลงมาอยู่ที่ระดับเลขหลักเดียวจึงจะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันด้านโลจิสติกส์กับนานาประเทศได้

นอกจากนั้น ระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยต้องสามารถเชื่อมโยงกับกับอนุภูมิภาคและภูมิภาคอย่างเป็นระบบ แนวความคิดที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางคือ ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของรัฐบาลจีน ที่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบกและทางทะเลจากประเทศจีนผ่านทวีปเอเชียกลางไปยังทวีปยุโรป โครงการ EEC จึงถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – หนองคายซึ่งเป็นแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่บริเวณอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีจุดเชื่อมเพื่อตัดเส้นทางเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ของโครงการ EEC และสามารถเชื่อมเข้ากับระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ทั้งทางบก ทางอากาศและทางน้ำได้อย่างครบวงจร

การผลักดันโครงการต่าง ๆ ภายในพื้นที่ EEC จะมีส่วนช่วยทำให้ระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้บริษัทรายใหญ่เข้ามาลงทุน ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขัน มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ และช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศในระยะยาว รวมถึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดโลก ช่วงที่ผ่านมาเรื่องที่ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างมากก็คงเป็นข่าวบริษัท E-Commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba Group เข้ามาเซ็นต์ MOU 4 ฉบับกับรัฐบาลไทย เพื่อเตรียมลงทุนใน Smart Digital Hub ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง E-Commerce ของภูมิภาคและ ร่วมส่งเสริมพัฒนาทักษะด้าน Digital E-Commerce ให้แก่ผู้ประกอบการ SME และ Startup ของไทย

ความเชื่อมั่นของ Alibaba Group ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศน่าจะเป็นสิ่งที่ตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทยของเราในฐานะศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และ E-Commerce ของภูมิภาค ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาอันดีสำหรับประเทศไทยที่จะช่วงชิงความเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะในจังหวะที่ประเทศมาเลเซียกำลังประสบปัญหาภาระหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงถึงหลัก 1 ล้านล้านริงกิต หรือประมาณ 8 ล้านล้านบาทสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จนทำให้ต้องชะลอการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงมาเลเซีย-สิงคโปร์ หรือ East Coast Rail Link (ECRL) ไปก่อน

อาทิตย์หน้าเราก็จะมาคุยกันถึงอีกหนึ่งโครงการที่มีความสำคัญ ได้แก่ โครงการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาให้กลายเป็นมหานครการบินภาคตะวันออกซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ

บทความนี้ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2561 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10870 คอลัมน์ Smart EEC: EEC & Logistics Development


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

News

EEC และการลงทนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor(EEC)หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ อีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ใน 3 จังหวัดพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

EEC มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่มีความพร้อมรับกับทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือแหลมฉบัง หนึ่งในท่าเรือน้ำลึกหลักสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งล่าสุดทาง EEC มีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือแห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีนและประตูการค้าสำคัญที่สามารถรองรับตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นและรองรับการขนส่งของอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ EEC ยังอยู่ระหว่างพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ให้มีความรวดเร็วและสะดวกสบายด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง และยังมีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะสามารถรองรับการขนส่งได้ 31 ล้านตันต่อปี

ภาพรวมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC)

อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ eec
ที่มา: www.eeco.or.th

สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะเข้ามาเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ทาง EEC ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลไว้ 12 กลุ่ม ได้แก่

การยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S- curves)

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

การต่อยอด 7 อุตสาหกรรมใหม่ (New S – curves)

  • อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมดิจิตอล
  • อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
  • อุตสาหกรรมการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา

เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้ EEC ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มอบให้สิทธิประโยชน์ทางการลงทุนให้แก่นักลงทุนที่เข้าเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การให้สิทธิ์ในการเช่าที่ดินและอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการ เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการวิจัยและพัฒนา รวมถึงบริการ One-stop Service ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และ อื่นๆ

EEC

จึงเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตของนักลงทุนที่จะช่วยเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานใหม่ๆและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังยกระดับประเทศไทยไปสู่ความมีเสถียรภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย