โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม

ผู้ประกอบอาชีพทุก ๆ อาชีพไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การบริการ การคมนาคม การประกอบธุรกิจหรืออื่น ๆ ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายได้รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้เสมอ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาและอุปสรรค์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคน โรคและอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่แล้วเรามักที่จะป้องกันและหลีกเลี่ยงหรือลดให้น้อยลงได้ เพื่อสุขภาพและสวัสดิภาพ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบอาชีพทุกคนต้องการ

งานสาธารณสุขจึงมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบอาชีพทุกประเภท เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงาน ทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพดี และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ ประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้ที่อยู่ในวัยทำงานเป็นจำนวนมาก ทำงานในสาขาต่าง ๆ มากมาย ในการปฏิบัติงานจึงอาจได้รับอันตรายหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ ดังนั้นทุกคนจึงควรศึกษาเกี่ยวกับสวัสดิภาพในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทราบถึงปัญหา สาเหตุและแนวทางป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ปัจจุบันความต้องการทางด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้นเนื่องจากคุณภาพของดินเสื่อมลง เกษตรจึงได้นำสารเคมีมาใช้กันอย่างมาก เพื่อหวังให้เกิดประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เครื่องจักรกลหรือเครื่องทุ่นแรงชนิดแปลกใหม่มาใช้ในทางเกษตรกรรม แต่เกษตรกรก็ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้และวิธีการการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของตัวเกษตรกรและครอบครัว ส่วนสารเคมีที่ตกค้างและทำให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศด้วย เป็นอันตรายต่อประชาชนโดยส่วนรวม สำหรับเครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงถ้าเกษตรกรขาดความรู้และความชำนาญในการใช้ให้ถูกต้อง และขาดความระมัดระวัง ย่อมจะก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

เกษตรกรผู้มีอาชีพเกษตรกรรมอาจจะประสบอันตรายทั้งต่อสุขภาพและสวัสดิภาพได้ ดังนี้

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอะไรบ้าง

1. อันตรายต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบอาชีพจะได้รับ อันตรายจากสารเคมีและฝุ่นละอองต่าง ๆ ปัจจุบันโดยเฉพาะสารเคมีจำพวกจำกัดศัตรูพืช และ แมลง เมื่อเข้าสู่ร่างกายทั้งทางปาก จมูก หรือผิวหนัง จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ระคายเคืองที่ตา อาการหน้ามืด ระคายเคืองที่ผิวหนัง อาการชาตามมือและเท้า และมีอาการชักกระตุก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ เป็นต้น

2. อันตรายต่อสวัสดิภาพ การประกอบอาชีพเกษตรกรรมอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนี้คือ การถูกเครื่องมือ เครื่องจักรทำให้บาดเจ็บ การพลัดตกหกล้ม การถูกใบพัดหรือสายพานเครื่องยนต์ ไฟดูด หรือภัยธรรมชาติ ไฟป่า ฟ้าผ่ากล้องวงจรปิด CCTV พายุ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดอันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

1. คน ถือเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุในการประกอบอาชีพ เช่น ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย สภาพจิตใจ การขาดความรู้ความชำนาญ ความประมาทเลิ่นเล่อในการทำงาน ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

2. สิ่งแวดล้อม เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ คือ การใช้สารเคมีและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ สัตว์และพืชที่มีพิษ ฝุ่นละออง รวมถึงภัยธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น

การป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

1. ตัวบุคคล ขณะทำงานดูแลสุขภาพจิตใจและร่างกายให้สมบูรณ์อยู่เสมอ พร้อมทั้งควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอันตรายหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ทำงานตามความสามารถของตน ไม่หักโหม ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย ระมัดระวังในการใช้สารเคมี รวมถึงเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ก่อนและหลังใช้ ควรทำความสะอาดและจัดเก็บอย่างเรียบร้อย เป็นต้น

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอะไรบ้าง

2. สิ่งแวดล้อม การป้องกันเกี่ยวกับทางด้านสารเคมี ควรศึกษาจากฉลากและอ่านให้เข้าใจถูกต้อง รู้จักเลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมและถูกต้อง ควรแต่งกายให้เหมาะสมและรัดกุม ใช้สารเคมีตามสัดส่วนที่ระบุอยู่บนลาก ควรเก็บสารเคมีให้เป็นทีเป็นทางมิดชิด ภาชนะที่ใส่สารเคมีไม่ควรล้างในลำคลองสาธารณะ บ่อ และควรชำระร่างกายทันทีให้สะอาดทันทีที่ใช้สารเคมี และควรระมัดระวังสารพิษตกค้างในพืชผักผลไม้ เป็นต้น

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอะไรบ้าง

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctcbangkok

คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น  การทำนา  ทำสวนทำไร่  เลี้ยงสัตว์  ทำประมง  ปัจจุบันเกษตรกรได้นำความรู้  วิธีการเกษตรสมัยใหม่รวมทั้งนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและสัตว์  เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น  สิ่งเหล่านี้หากนำมาใช้โดยขาดความรู้  ความชำนาญ  ขาดความระมัดระวัง  ย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้

                1.สาเหตุของการเกิดอุบัติภัยจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  สรุปได้ดังนี้

                    1)  เกิดจากตัวบุคคล  เช่น  ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ  ขาดความรับผิดชอบ  และความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน  ประมาทเลินเล่อ  นอกจากนี้การที่สภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ  เจ็บป่วย  ย่อมมีส่วนทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติภัยต่างๆ  ได้มากขึ้น

                     2)  เกิดจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ  เครื่องมือต่าง ๆ  เช่น  จอบ  เสียม  คราด  ไถหรือเครื่องจักรกล  ได้แก่  รถแทรกเตอร์  รถไถนา  เครื่องนวดข้าว  อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ถ้าหากอยู่ในสภาพที่ชำรุดหรือเก็บรักษาไม่ถูกวิธี

                     3)  เกิดจากสารเคมีต่าง ๆ  ผลที่เกิดจากการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง  เช่น  ยาฆ่าแมลง  ยาปราบวัชพืช  หรือแม้แต่การใช้ปุ๋ย  ซึ่งเป็นสารเคมีอาจส่งผลให้ร่างกายสะสมพิษของสารเคมีทีละน้อยจนก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ  ในภายหลัง  และถ้าหากได้รับสารเคมีจำนวนมาก  อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

                    4)  สัตว์และพืชมีพิษ  สัตว์เลี้ยงอาจนำเชื้อโรคมาสู่คน  เช่น  โรคแอนแทรกซ์  โรคพิษสุนัขบ้า  ส่วนสัตว์มีพิษ  เช่น  งู  แมงป่อง  ตะขาบ  เมื่อกัดหรือต่อยจำทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายนอกจากนี้พืชมีพิษบางชนิด  เช่น  หมามุ่ย  เมื่อเราสัมผัสอาจทำให้ผิวหนังคันและเกิดการอักเสบได้

                    5)  เกิดจากภัยธรรมชาติ   เช่น  ลม  พายุ   น้ำท่วม  ฟ้าผ่า  สามารถก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน  ทำลายผลิตผลทางการเกษตร  และอาจทำให้เกษตรกรบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

                   6)  อันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ  เกิดจากเชื่อโรคในบริเวณที่ทำการเกษตร  เช่น  โรคพยาธิที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินที่ชื่นแฉะ  โรคบาดทะยักจากเชื่อที่อยู่ในดินหรือมูลสัตว์เข้าทางบาดแผลนอกจากนี้  การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายเป็นเวลานาน  อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติ  เช่น  ทำงานกลางสายฝนอาจจะทำให้เป็นไข้หรือปอดบวม  ทำงานกลางแสงแดดจัดก็อาจมีอาการหน้ามืดเป็นลม

                2.หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม

                   1) ด้านบุคคล  เกษตรกรควรศึกษาหาความรู้  รับฟังข่าวสารโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพในการประกอบอาชีพ เพื่อเตรียมป้องกันและระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน รวมทั้งการรักษาสุขภาพร่างการให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ควรทำงานหนักเกินกำลัง ถ้าหากมีอาการผิดปกติให้รีบดูแลรักษาทันที

                  2) ด้านเครื่องมือและเครื่องจักรกล ผู้ใช้ควรศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ในการประกอบอาชีพ ก่อนใช้งานควรตรวจดูสภาพความเรียนร้อย หากพบจุดบกพร่องหรือชำรุดเสียหายควรจัดการซ่อมแซมและแกไขทันทีเครื่องจักรกลบางชนิดเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยแก่เกษตรกร ควรระมัดระวังในการใช้เป็นอย่างมาก เช่น รถแทรกเตอร์ ควรปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถ หากเข้าใจให้สอบถามผู้รู้ไม่ควรห้อยโหนหรือเกาะข้างรถขณะกำลังใช้งาน นอกจากนี้เมื่อใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

                 3) ด้านสารเคมีและเคมีภัณฑ์ต่างๆ ปัจจุบันเกษตรกรได้นำสารเคมีมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ยาปราบวัชพืชหรือยาฆ่าแมลง สารเคมีเหล่านี้ล้วนมีพิษทั้งต่อผู้ที่นำมาใช้ละผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องรู้จักและเข้าใจวิธีใช้ให้ถูกต้อง โดยควรอ่านฉลากให้เข้าใจถึงวิธีใช้อย่างละเอียดก่อนใช้สารเคมีและปฏิบัติตามขั้นตอนโดยเคร่งครัด ก่อนใช้สารเคมีควรแต่งกายให้มิดชิด เช่น สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด สวมหมวก แว่นตา ถุงมือ และหน้ากาก เพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ผิวหนังหริเข้าตา หากสารเคมีถูกผิวหนังควรรีบชำระร่างกายให้สะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้สารนั้นซึมเข้าสู่ร่างกาย หลังใช้สารเคมีควรอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ เครื่องฉีดพ่นสารเคมีควรเก็บให้เป็นที่พ้นจากมือเด็ก และหากจากสิ่งของบริโภค การเก็บผลผลิตควรทิ้งช่วงห่างจากการฉีดสารเคมีอย่างน้อย 6-10 วัน หรือตามที่ฉลากกำหนด ถ้าหากได้รับพิษจากสารเคมีให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นที่กำกับไว้บนฉลากก่อนนำส่งแพทย์

                4) ด้านสัตว์หรือพืชมีพิษ เกษตรกรควรศึกษาลักษณะและธรรมชาติของสัตว์มีพิษเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงและป้องกันอันตราย สัตว์เลี้ยงควรนำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและควรรักษาความสะอาดบริเวณบ้านและสภาพแวดล้อมเป็นประจำไม่ให้รกรุงรัง เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษเข้ามาอยู่อาศัย ผัก ผลไม้ก่อนนำมารับประทานควรล้างในน้ำสะอาดหลายๆครั้งหรือแช่ในน้ำผสมด่างทับทิมเล็กน้อยเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค ไม่ควรรับประทานพืชหรือเห็ดชนิดที่ไม่รู้จักคุ้นเคย เพราะอาจเกิดพิษได้

                5) ด้านภัยจากธรรมชาติ การเกิดภัยธรรมชาติแม้จะไม่สามารถควบคุมการเกิดได้ แต่สามารถป้องกันได้โดยการปฏิบัติดังนี้ หากอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยธรรมชาติ เช่น มีน้ำท่วม มีลมพายุ ควรเตรียมพ้อมอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ช่วยแก้ไขสถานการณ์จากหนักให้เป็นเบาได้และขณะที่ฝนตกหนัก ไม่ควรทำงานในที่โล่งแจ้ง เพราะอาจจะถูกฝ้าผ่าได้ ไม่ควรหลบฝนหรือลมพายุใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะกิ่งไม้อาจหักโค่นลงมาทับ ควรหลบฝนบริเวณต้นไม้เตี้ยหรือพุ่มไม้ หมั่นตรวจสอบรายงานข่าว สภาพภูมิอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ป้องกันตนเองได้อย่างท่วงที

               6) ด้านอันตรายจากโรคทั่วไป ควรสวมใส่ชุดทำงานที่เหมาะสมกับสภาพดินฝ้าอากาศและสะดวกต่อการทำงาน บำรุงรักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมของบ้าน รวมทั้งแหล่งเกษตรกรรมให้ถูกสุขลักษณะ  

โรคที่เกิดจากอาชีพเกษตรกรรมมีอะไรบ้าง

2. ความเสี่ยงอันตรายตอปจจัยทางชีวภาพ การทํางานในภาคเกษตรอันตรายจากปจจัยชีวภาพ ไดแก ความเสี่ยงตอโรคติดตอระหวางสัตวและคน เชน โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู โรคไขหวัดนก โรคแอนแทรกซ การติดเชื้อโรคทั่วไป รวมถึงการบาดเจ็บจากการถูกสัตวราย กัด เชน งู หรือ สัตวมีพิษกัดตอย

ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมักเกิดโรคใดมากที่สุด

ความชุกของการเจ็บป่วยสูงสุดในเกษตรกรพืชไร่ คือ กลุ่มโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ รองลงมา คือ โรคเหตุทางกายภาพ และโรคผิวหนังจากการท างาน ตามล าดับ โดยโรคที่พบมากที่สุดคือ การปวดหลังส่วน ล่าง หมดสติเพราะความร้อน และเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ซึ่งทั้ง 6 กลุ่มโรคมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงในทุกๆ ปีและพบ มากสุดในเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ...

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

2) กลุมโรคจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม ไดแก โรคกระดูกและกลามเนื้อ โรคจากพิษโลหะ หนัก โรคซิลิโคสิส โรคที่เกิดจากแรใยหินแอสเบสตอส โรคจากพิษสารทําละลายอินทรีย โรคประสาทหูเสื่อมจาก เสียงดัง และการบาดเจ็บจากการทํางาน

อันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

อุบัติเหตุ ที่เกิดจากการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม.
1. เกิดจากตัวโรงงาน และเครื่องมือในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานสร้างไม่แข็งแรงไม่ถูกสุขลักษณะ เครื่องมือ อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ตัวเครื่องจักรที่มีเครื่องอุปกรณ์ป้องกันไม่ดีพอ คนทำงานจะได้รับอันตรายได้ง่าย ... .
2. สิ่งแวดล้อมในการทำงานในโรงงาน ... .
3. เกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงาน.