ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

รู้จักหน่วยงาน

ต้นธารงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“สร้างการเรียนรู้ ปูพื้นฐาน”

ปี พ.ศ. 2520 – 2535
ในช่วง 10 ปีแรก “สิ่งแวดล้อม” เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ยังห่างไกลจากความคิดของคนไทย หน่วยงานเล็กๆ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงทำหน้าที่ในการให้ข้อมูล เพื่อสร้างการรับรู้ ปูพื้นฐาน   เรื่องสิ่งแวดล้อมไปทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2531 – 2535
จุดเปลี่ยนสำคัญของงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 เกิดเหตุการณ์ดินถล่มที่บ้านกะทูนเหนือ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 เกิดเหตุการณ์พายุใต้ฝุ่นเกย์ ถล่มภาคใต้ตอนบน ที่อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เหตุการณ์ดังกล่าว กระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตื่นตัว รัฐบาลประกาศยกเลิกการทำสัมปทานป่าไม้ และประกาศให้ช่วงปีพ.ศ. 2532-2535 เป็น “ปีแห่งการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ที่สำคัญที่สุด คือ ในวันที่ 4 ธันวาคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีพระราชดำรัสฯ ใจความเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน และสิ่งแวดล้อม โดยให้ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนในการร่วมมือกันเพื่อการแก้ปัญหา  และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ 4 ธันวาคม เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นยุครุ่งเรืองของงานส่งเสริมเผยแพร่ และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับองค์กรนอกภาครัฐ และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบสื่อที่ใช้ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์จนถึงปัจจุบัน

กำเนิดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เริ่มบทบาทสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรเอกชน ในการดูแลรักษา และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย จึงเป็น ช่วงเวลาสร้างงาน ที่เป็นฐานการเติบโตของการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และภาคส่วนอื่นๆ มีการเสริมศักยภาพการทำงานกับท้องถิ่น เช่น การสร้างอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม อบต.สีเขียว การร่วมมือกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมงานกับอาเซียน การแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ มีการผลิตและการให้บริการสื่อสำหรับเป้าหมายที่หลากหลาย รวมทั้งเริ่มต้นการใช้สื่อกระแสหลัก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นช่องทางการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดผู้ผลิต พิธีกร และรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหลากหลายรายการ

สานเส้นทางงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“ราษฎร์ร่วมรัฐ”

ปี 2545 – ปัจจุบัน
การปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ.2545 นำไปสู่การปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการ เกิดกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมย้ายโอนมาสังกัดกระทรวงใหม่นี้ เช่นเดียวกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การสื่อสารผ่านเว็บไซต์และเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เป็นช่องทางใหม่ในการเผยแพร่ รณรงค์ และให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วถือเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนตื่นตัว สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นโอกาสของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในการเสริมพลังประชาชนจากการมีจิตสำนึก สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเน้นการทำงานเชิงพื้นที่ มีอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านเกิดขึ้นทั่วประเทศ
         บทบาทการทำงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เริ่มปรับเปลี่ยนจากผู้ปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมให้เกิดงานในลักษณะของภาคีความร่วมมือ กับหน่วยงานระดับประเทศและท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรนอกภาครัฐอื่นๆ เช่น ภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องของการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
  • รวบรวม จัดทำ และให้บริการข้อมูล ข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ในฐานะศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งเป็นศูนย์ป้องกันไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทด้านสิ่งแวดล้อม
  • ประสานและเสนอแนะแผนและมาตรการในส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดและส่งเสริมเทคโนโลยีและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นศูนย์เทคโนโลยีสะอาดและศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งแวดล้อม
  • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ธรรมชาติคือแหล่งกำเนิดและเป็นที่พึ่งพิงของทุกชีวิตบนโลก และทรัพยากรธรรมชาติก็เปรียบเป็นสมบัติล้ำค่าของมนุษย์ แต่ยิ่งเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไร ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เรานำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จนหลงลืมไปว่ามันมีวันหมด ลดน้อย หรือเสื่อมโทรมได้

มนุษย์ทุกคนล้วนมีส่วนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนเช่นกันที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราควรจะเริ่มต้นจากปลูกฝังความคิดที่ถูกต้องก่อน

ปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

ตระหนัก

ปัญหาทรัพยากรจะไม่สามารถแก้ไขได้เลยหากไม่มีใคร ‘มองเห็น’ มันก่อน การตระหนักถึงปัญหาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เราควรช่วยกันกระจายให้ผู้คนรับรู้เกี่ยวกับปัญหาในวงกว้าง ด้วยการใช้สื่อต่างๆ ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ส่งเสริม

สร้างรากฐานจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่มั่นคงด้วยการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้คน ทั้งเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งในสถานศึกษาอย่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย รวมถึงระบบเรียนรู้อื่นๆ นอกห้องเรียน ส่งเสริมให้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่  

สนับสนุน

สนับสนุนโครงการ งานวิจัย หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม แล้วผลักดันให้เกิดการต่อยอดนำไปใช้จริง

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

“การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ประโยชน์สูงสุด” ในขณะเดียวกันเกิดมลพิษน้อยที่สุดด้วย เพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ในบทความนี้เราแนะนำ 9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากร ดังนี้  

1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับทุกคนทั้งในครัวเรือน หรือในระดับองค์กร เราสามารถลดการใช้ (Reduce) หรือประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้เท่าที่จำเป็น ใช้อย่างคุ้มค่า และกำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อร่วมมือกันคนละนิดคนละหน่อยก็สามารถลดการใช้ทรัพยากรได้จำนวนมหาศาล

ตัวอย่าง ลดการใช้น้ำ เปิดใช้เท่าที่จำเป็น ปิดก๊อกน้ำเมื่อไม่ใช้, ลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการปรับอุณหภูมิแอร์ให้เหมาะสม, เลือกใช้หลอดไฟประหยัด, ลดใช้จานพลาสติกใช้ครั้งเดียว แก้วกระดาษ หรือกล่องโฟม เป็นต้น

2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้

การใช้ซ้ำ (Reuse) คือ การนำสิ่งของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะได้จำนวนมาก เพราะสิ่งของบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าใหม่ เราควรพิจารณาก่อนว่าของเก่าที่มีอยู่นั้นสามารถนำกลับมาใช้อีกครั้งได้หรือไม่ และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ตัวอย่าง ใช้ถุงพลาสติกซ้ำ, เขียนซ้ำกระดาษหน้าเดียว, นำกล่องบรรจุภัณฑ์มาใส่ของหรือดัดแปลงใหม่ เป็นต้น

3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การรีไซเคิล (Recycle) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ คือการนำสิ่งของที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปจนเกิดเป็นของสิ่งใหม่ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จำเป็นต้องใช้พลังงานในการแปรรูป ดังนั้นจึงต้องเอามาใช้เป็นขั้นตอนสุดท้าย พวกเราช่วยในการรีไซเคิลได้โดยการแยกขยะให้ถูกวิธี

ตัวอย่าง นำกระดาษที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง, ขวดแก้ว, พลาสติก

4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง

สิ่งของบางอย่างเมื่อเกิดการชำรุด หากได้รับการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก แถมอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสามารถลดได้ทั้งค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย

ตัวอย่าง การซ่อมแซม รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ใช้ในบ้านอย่างโต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ

สิ่งของบางอย่างสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดการสิ้นเปลือง ซึ่งเราสามารถใช้สิ่งของชนิดอื่นทดแทนได้ นอกจากนี้การปลูกต้นไม้ก็เป็นการทดแทนทรัพยากรที่ถูกใช้ไปอีกวิธีหนึ่ง

ตัวอย่าง ใช้ถุงผ้าแทนถุงกระดาษ, เตรียมแก้วน้ำของตัวเองแทนที่จะใช้ขวดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

ขั้นตอนนี้คือการดูแลไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย รวมไปถึงควบคุมและป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร

ตัวอย่าง การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

7. ฟื้นฟูทรัพยากรที่สูญเสียไปในเหตุการณ์ต่างๆ

ทรัพยากรธรรมชาติสามารถเสื่อมลงได้จากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เก็บเกี่ยวผลผลิตมากเกินไปหรือบ่อยเกินไป จนเกิดมลภาวะตามมา เราจะต้องฟื้นฟูทรัพยากรที่ถูกทำลายให้กลับเป็นปกติ ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป ซึ่งขั้นตอนการฟื้นฟูอาจจะกินระยะเวลายาวนานหลายปีเลยทีเดียว

ตัวอย่าง การเข้าร่วมโครงการช่วยปลูกป่า โครงการฟื้นฟูธรรมชาติ

8. เลือกใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่ดีต่อโลก

การพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอีกทางเลือกที่ดี หลายๆ เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ เช่น หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน, โซลาร์ เซลล์ (Solar cell), บ้านประหยัดพลังงาน ควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

ตัวอย่าง การใช้หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน, โซลาร์ เซลล์ (Solar cell), บ้านประหยัดพลังงาน ควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

9. ศึกษาต่อยอดเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ปัจจุบันโลกมีเทคโนโลยีและงานวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย ข้อมูลบางอย่างอาจเก่าเกินไปหรือไม่ได้การอัปเดต วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสุดท้าย และสำคัญที่สุดคือการ “ศึกษา” โดยเฉพาะทรัพยากรรอบตัวเรา เมื่อเข้าใจการดำเนินงาน ความเป็นไป และวิธีการจัดการแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เราตระหนัก และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อเข้าสู่หนทางแห่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดีขึ้น

สรุป

เพราะว่าธรรมชาติเชื่อมโยงกับทุกชีวิต การที่เราละเลยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรจึงเหมือนเป็นการทำร้ายอีกหลายชีวิตในอนาคต ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนที่ต้องช่วยกัน

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรสามารถทำได้ทั้งทางอ้อม ได้แก่ การปลูกฝังความรู้ ความคิดที่ถูกต้องด้านสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นวิธีที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์ทางตรง เช่น การประหยัด ใช้ซ้ำ ทดแทน เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้สามารถนำไปปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ

เริ่มต้นร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรตั้งแต่วันนี้เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ