ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

กว่าที่ ชัชชาติ จะมีกลุ่มแฟนคลับอันล้นหลาม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ครั้งหนึ่งเขาเคยติดโพล รัฐมนตรีที่โลกลืม มาก่อน ทั้งที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่โชคชะตาพลิกพลัน เพราะรูปถ่ายถือถุงแกง ใส่ชุดวิ่ง เดินเท้าเปล่า ระหว่างรอใส่บาตรที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้โด่งดังบนโลกโซเชียล

จังหวะนี้ ชัชชาติ ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์สื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ไม่เพียงเท่านั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 2 ปี นับตั้งแต่แยกออกมาเป็นอิสระในปี 2562 จนถึงปี 2565 เปิดตัวลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ยังพยายามสำรวจกรุงเทพมหานครมาแล้วทุกมิติ เกิดเป็นนโยบาย 200 + ที่ทำให้กรุงเทพมหานครน่าอยู่สำหรับทุกคน และครองใจคนทั่วกรุงเทพมหานคร

 

ชัชชาติ คือ ใคร?

สำหรับประวัติ ชัชชาติ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2509  ปัจจุบันอายุ 56 ปี เป็นบุตรของ พล.ต.อ. เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับ จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม : กุลละวณิชย์)

มีพี่น้องอีก 2 คนคือ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อีกคนคือ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ พี่ชายฝาแฝด ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

การศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530
 

ชีวิตสมรส

ชัชชาติ สมรสกับ ปิยดา อัศวฤทธิภูมิ พนักงานการบินไทย มีบุตรชายหนึ่งคน คือ แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญสำหรับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้ว่าฯ กทม. เพราะเขาอยากให้ลูกชายเพียงคนเดียวของเขา มีคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองกรุงเทพมหานครนี้

 

การทำงาน

ชัชชาติ ก้าวเข้ามาช่วงงานให้คำปรึกษากับกระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร ในฐานะนักวิชาการ โดยไม่มีตำแหน่งทางการเมือง จนกระทั่งปี 2555 ได้รับทาบทามจาก นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนมกราคม 2555 และในช่วงเดินตุลาคม ปีเดียวกันก็มีการปรับคณะรัฐมนตรี ทำให้ ชัชชาติ ได้รับตำแหน่งสูงขึ้นเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม

วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ชัชชาติ เป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)

วันที่ 27 กันยายน 2560 รัฐบาลทหารได้ตั้งเขาเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ชัชชาติชี้แจงว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน และยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

การลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.

เมื่อปี 2562 ชัชชาติ ประกาศว่า เขาตั้งใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามอิสระ โดยเน้นนโยบายด้านคน ระบบเส้นเลือดฝอย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ชัชชาติได้เปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อการรณรงค์หาเสียงว่า "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" โดยมีนโยบายสำคัญ อาทิ การสร้างเครือข่ายแผนที่จุดเสี่ยงอาชญากรรม พัฒนาระบบขนส่งมวลชน สร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งศิลปะและการเรียนรู้ เป็นต้น ทั้งนี้ พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ก็เป็นหนึ่งในทีมงานของชัชชาติด้วย

ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันเปิดรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติขี่จักรยานจากบ้านพักมาถึงศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และจับสลากได้หมายเลข 8

วันที่ 22 พ.ค. 2565 จะเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีผู้สมัครชิงตำแหน่ง 31 คน เป็นชาย 25 คน และหญิง 6 คน
  • มีตัวเต็งผู้ว่าฯ กทม. ถึง 7 คน เป็นทั้งผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองและผู้สมัครอิสระ
  • ผู้สมัครที่สังกัดพรคคการเมืองประกอบไปด้วย เบอร์ 1 นายวิโรจน์ จากพรรคก้าวไกล เบอร์ 4 ศ.ดร.สุชัชวีร์ จากพรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 11 น.ต.ศิธา จากพรรคไทยสร้างไทย ส่วนผู้สมัครอิสระ ประกอบด้วย เบอร์ 3 นายสกลธี เบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน เบอร์ 7 นางสาวรสนา และเบอร์ 8 รศ.ดร.ชัชชาติ

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    วันที่ 22 พ.ค. 2565 จะเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ที่ชาวกรุงเทพฯ จะได้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งในครั้งนี้มีผู้สมัครชิงตำแหน่งถึง 31 คน เป็นชาย 25 คน หญิง 6 คน แต่ก่อนจะไปเลือกตั้งกัน พี่ทุยขอพาไปรู้จักกับตัวเต็งกันหน่อยว่า ผู้ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. 2565 มีผลงานอะไรกันมาบ้าง

    หมายเลข 1 : นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล ผู้ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ปี 2565

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    นายวิโรจน์ เจ้าของสโลแกน “เมืองที่คนเท่ากัน” ตัวแทนจากพรรคขวัญใจคนรุ่นใหม่อย่าง ‘ก้าวไกล’ ยื่นลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ต่อรัฐสภา เพื่อเดินหน้าลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร

    ปัจจุบันอายุ 44 ปี เกิดเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2520 เป็นคนกรุงเทพฯ แต่กำเนิด จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบการศึกษาระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เริ่มทำงานในตำแหน่งวิศวกรควบคุมคุณภาพกับบริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงปี 2542 – 2544 ต่อมาปี 2544 – 2546 จึงศึกษาต่อปริญญาโท และเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารคุณภาพและการบริหารจัดการให้กับบริษัท โนโว ควอลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การกำกับของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ปี 2546 ทำงานที่บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร ระหว่างปี 2549 – 2561 ได้เป็นกรรมการวิชาการ โรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งบริษัทซีเอ็ดและกลุ่มรักลูกได้เข้าไปบุกเบิกเรื่องการพัฒนาด้านวิชาการ

    ปี 2562 เป็น ส.ส. จากพรรคอนาคตใหม่ หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคได้ย้ายมาอยู่พรรคก้าวไกลในปี 2563 และดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคก้าวไกล ในปี 2564 มีผลงานโดดเด่นจากลีลาและเนื้อหาที่เคยแฉเบื้องหลังปฏิบัติการ IO นอกจากนี้ยังมีผลงานเขียนหนังสือ เช่น ปูทางให้ลูกไป สู่เส้นชัยที่ลูกหวัง, ลีนอย่างไรสร้างกำไรให้องค์กร (Profitable Lean Manufacturing)

    ผู้ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ปี 2565 หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    อดีตรองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ที่ลงสมัครชิงตำแหน่งด้วยสโลแกน “กรุงเทพดีกว่านี้ได้” มีอายุ 44 ปี ชื่อเล่นว่า จั๊ม เป็นบุตรคนโตของ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กับนางศศิณี ภัททิยกุล

    จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่าและมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน สหรัฐฯ จากนั้นทำงานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ต่อมาทำหน้าที่เป็นลขานุการของนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม

    ปลายปี 2550 ลาออกจาราชการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กับพรรคประชาธิปัตย์ในกรุงเทพฯ เขต 4 คือ เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ คู่กับนายบุญยอด สุขถิ่นไทย และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ซึ่งได้รับเลือกตั้งทั้ง 3 คน ปี 2554 ลงสมัคร ส.ส. ในกรุงเทพฯ เขตหลักสี่ แต่สอบตก

    ปี 2556-2557 เป็นแกนนำชุดเคลื่อนที่เร็วของกลุ่ม กปปส. ร่วมกับ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายชุมพล จุลใส และนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ จนได้ฉายาว่า “สี่ทหารเสือ”

    ปี 2561 รับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ต่อจาก พล.ต.อ.ชินทัต มีศุข ในปีเดียวกันได้ไปร่วมงานเปิดตัวพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งนายสกลธีเป็นหนึ่งในตัวหลักที่ช่วยปลุกปั้นพรรค ต่อมาในการประชุมประจำปี 2562 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค แต่ก็ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐในเวลาต่อมา

    หมายเลข 4 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือที่เรียกกันว่า พี่เอ้ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พี่เอ้เกิดที่จังหวัดชลบุรี จบการระดับมัธยมจากโรงเรียนระยองวิทยาคม จากนั้นได้รับทุนช้างเผือกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม The University of Wisconsin-Madison สหรัฐฯ และด้านนโยบายและเทคโนโลยี MIT สหรัฐฯ และจบปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม MIT สหรัฐฯ

    พี่เอ้เป็นผู้ช่วยอธิการบดีที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 31 ปี และขึ้นเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ตอนอายุ 38 ปี และเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2558 รับตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกด้าน AI และวิศกรรมคอมพิวเตอร์ ตั้งสถาบันร่วมระดับอุดมศึกษา ชื่อว่า มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) และร่วมมือกับสถาบันศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโคเซ็น (KOSEN) จากญี่ปุ่น จัดตั้ง KMITL – KOSEN เพื่อพัฒนาและเป็นทางเลือกให้เด็กไทยสำหรับการเรียนสายวิชาชีพตั้งแต่อายุ 15 ปี

    นอกจากนี้ยังก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารโรงพยาบาลวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์แบบครบวงจรแห่งแรกของไทย และตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ทำให้เป็นคณะแพทย์แห่งที่ 22 ของไทย

    อีกทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยถึง 2 วาระ ตั้งแต่อายุเพียง 35 ปี และได้เปลี่ยนหัวรถจักรดีเซลเป็นระบบหัวรถจักรไฮบริดไฟฟ้าและดีเซลเพื่อลดการปล่อย PM 2.5

    พี่เอ้ประกาศตัวลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ภายใต้สโลแกน “เปลี่ยนกรุงเทพ #เราทำได้”

    หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครอิสระ

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    เจ้าของสโลแกน “กรุงเทพต้องไปต่อ” พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เกิดวันที่ 15 ก.พ. 2494 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาชั้น มศ.3 จากโรงเรียนด่านช้างวิทยา, โรงเรียนตำรวจภูธรภาค 7, โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 30 จบหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 16 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45

    มีผลงานทำคดีระดับชาติหลายคดี ไม่ว่าจะเป็นคดีสังหารนายศุภฤกษ์ เรือนใจมั่น (โจ ด่านช้าง), คดีคาร์บอมบ์รถอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, คดีจับกุมนายประชา โพธิพิพิธ (กำนันเซี๊ยะ), คดีจับกุมนายนพพล ประสงค์ศิล (จิ๊บ ไผ่เขียว) และคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล (โจ๊ก ไผ่เขียว)

    พล.ต.อ.อัศวิน เข้ามาอยู่ในหน้าข่าวระดับประเทศเมื่อปี 2551 เมื่อครั้งดำรงยศ พลตำรวจโทถูกย้ายจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพลตำรวจเอกและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 อีกตำแหน่ง ก่อนจะไปดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 โดยไม่ได้รักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 แล้ว

    เมื่อเกษียณอายุราชการได้หันเข้าสู่เส้นทางการเมืองได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2556 กำกับดูแลสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักเทศกิจ ในปี 2559 ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช.เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแทน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ก่อนจะลาออกเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2565 เพื่อลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่า

    ระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี ดำเนินนโยบาย “ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที” และ “NOW ทำจริง เห็นผลจริง” มีผลงาน เช่น สร้างอุโมงค์ระบายน้ำหนองบอน, สร้างแก้มลิงใต้ดิน Water Bank แก้ปัญหาน้ำท่วมปากซอยสุทธิพร 2 และเปลี่ยนจากคลองน้ำเสียและคลองระบายน้ำ ฟื้นคืนชีวิตคลอง ให้คนอยู่กับคลองได้เหมือนในอดีต อาทิ คลองโอ่งอ่าง (ได้รับรางวัล 2020 Asian Townscape Awards จาก UN-Habitat Fukuoka) และกำลังพัฒนาคลองช่องนนทรีจากคลองระบายน้ำเป็นคลองสวนสาธารณะที่ยาวที่สุด และทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง ด้วยการพัฒนาเส้นทางเดินรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีเขียวและสีทอง) 30 สถานี

    หมายเลข 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    นางสาวรสนา โตสิตระกูล เกิดเมื่อ 27 ก.พ. 2496 จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม และจบปริญญาตรีจากคณะวารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ผลงานสำคัญคือการเปิดโปงขบวนการทุจริตยาและเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเหตุให้นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี เมื่อปี 2541 และถูกยึดทรัพย์เป็นจำนวน 233.8 ล้านบาท นอกจากนี้ในปี 2548 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการแปรรูป กฟผ.

    ปี 2549 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ก็เกิดรัฐประหาร 19 กันยา ต่อมาปี 2551 ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร อีกรอบและได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 1

    นางสาวรสนายังมีบทบาทเรื่องสิทธิผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคโดยเป็นเลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย กรรมการอิสระ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) แกนนำเครือข่าย 30 องค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อผู้บริโภค กรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามกระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภานิติบัญญัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

    ล่าสุดให้สัมภาษณ์พิเศษกับทาง Matichon TV เกี่ยวกับการขึ้นราคาน้ำมัน โดยกล่าวว่ารัฐบาลควรตัดสินใจลดภาษีน้ำมันดีเซลเนื่องจากมีผู้ใช้เยอะ ซึ่งดีกว่ามาตรการการแจกเงินเยียวยาที่ไม่ครอบคลุมการเข้าถึงของประชาชนทุกคน

    ปัจจุบันในวัย 68 ปี แม้เข้าสู่วัยเกษียณแต่ยังคงเดินหน้าทำงานต่อไป โดยเปิดตัวลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2562 ด้วยแคมเปญ “กทม.มีทางออกบอกรสนา”

    หมายเลข 8 รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ได้รับฉายา “รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” ด้วย Meme เดินถือถุงข้าวแกง เกิดวันที่ 24 พ.ค. 2509 เป็นบุตร พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับ จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ เป็นน้องชายฝาแฝดของ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และกรรมการแพทยสภา และเป็นน้องชายของ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

    จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1

    ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง MIT และปริญญาเอกด้วยทุนของมูลนิธิอานันทมหิดล จาก Illinoise หลังจากทำงานอยู่บริษัทเอกชนระยะหนึ่ง ก่อนเข้าเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างนั้นจึงได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี 2548-2555

    รศ.ดร.ชัชชาติ ยังเคยเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และเป็นกรรมการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง CEO บริษัท Qhouse ซึ่งในช่วงดำรงตำแหน่งพนักงานและลูกบ้านชื่นชม ด้านผลประกอบการเติบโต 34%

    ด้านงานการเมืองเริ่มจากเคยได้เป็นที่ปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่ง จากนั้นได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก่อนจะขึ้นเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในระหว่างปี 2555-2557

    ระหว่างดำรงตำแหน่งมีผลงานที่เด่นชัด ได้แก่ การแก้แบบสถานีกลางบางซื่อให้รองรับรถไฟความเร็วสูง, การแก้แบบสายสีแดงเข้มจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง, การจัดซื้อจัดขบวนรถด่วนพิเศษ CNR จำนวน 8 ขบวน, การเปลี่ยนรางรถไฟในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด, ให้ข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไปนั่งรถเมล์มาทำงานแล้วรายงานปัญหา

    ซึ่งอดีตรัฐมนตรีท่านนี้ก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้วย นั่นคือการนั่งรถเมล์ไปทำงาน ได้สอบถามจากปากประชาชนเองโดยตรง

    ปี 2562 ชัชชาติประกาศว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในนามผู้สมัครอิสระ และเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2565 ที่ผ่านมาได้เปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการด้วยสโลแกน “กรุงเทพเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน”

    หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย ผู้ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ปี 2565

    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2564 คือใคร

    เป็นตัวเลขพรรคไทยสร้างไทยลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร น.ต.ศิธา เกิดวันที่ 6 พ.ย. 2507 จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก และเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 24 และจบปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่น 31

    เข้ารับราชการสังกัดกองทัพอากาศเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ F-5 จากนั้นก้าวขึ้นมาเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ F-16 รับราชการเป็นเวลา 8 ปี โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากราชการ คือ รองหัวหน้าแผนกแผนร่วม กองนโยบายและแผน กรมยุทธการ กองทัพอากาศ

    ต่อมาเข้าสู่เส้นทางการเมืองเต็มตัวโดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย สังกัดพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้ง 2 สมัยติดต่อกัน ในปี 2544 และปี 2548 ก่อนในปี 2549 จะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากคดียุบพรรคไทยรักไทย เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรค

    น.ต.ศิธา เคยรับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลทักษิณ และเคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นอดีตผู้ประสานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการและพัฒนาพรรคไทยสร้างไทย

    ใครเป็นผู้ว่ากทม 2565

    พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2559–2565)

    ผู้ว่ากทม อัศวิน มาจากไหน

    วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 อัศวินได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เป็นผู้ว่าราชการ กทม. คนที่ 16 โดยดำรงตำแหน่งจนลาออกเพื่อลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 นับได้ว่าเป็นนายตำรวจไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ และมีผลงานเปลี่ยน กทม. ด้วยนโยบาย "ผลักดันทันใจ แก้ไข ...