ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

HIGHLIGHTS

จดทะเบียนบริษัทไม่จำเป็นต้องมีเงินจริงไปแสดงนะครับ แต่มียกเว้น 2 กรณี ดังนี้ครับ (1.) กรณีไม่มีเงินจริง นักบัญชีจะบันทึกรายการว่า “เจ้าของเอาเงินสดมาลงทุนครบตามที่จดทะเบียน” (2.)นักบัญชีจะบันทึกรายการว่า “บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงินออกไป” แต่สิ่งที่จะเตือนก็คือถ้าไม่มีเงินจริงก็ไม่ควรที่จะจดทะเบียนที่ทุนเยอะ เพราะมันจะเป็นภาระในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเมื่อคุณไม่มีเงินจริงตามที่จดทะเบียน นักบัญชีของคุณจะช่วยคุณโดนบันทึกว่าเจ้าของนำเงินสดเข้ามาลงทุนในบริษัท และบริษัทก็ได้นำดังกล่าวให้กรรมการกู้ยืมเงิน เมื่อบริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการก็จะต้องคิดดอกเบี้ย ซึ่งรายได้ดอกเบี้ยอันนี้แหละที่เป็นตัวปัญหาคือจะต้องนำไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจริง ยิ่งเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเยอะเท่าไหร่ก็จะเสียภาษีเยอะเท่านั้นครับ

ย้อนกลับไปประมาณ 7-8 ปีก่อน สมัยที่ผมลาออกจากงานประจำมาเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ผมก็เข้าใจว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจะต้องมีเงินจริงตามทุนจดทะเบียน ต้องเอาเงินไปให้เจ้าหน้าที่กรมพัฒน์นับ เรียกได้ไว่าใสซื่อสุดๆ

ผมก็เก็บรวบรวมเงินทั้งหมดในชีวิตมาได้ 1 แสนบาท ก็เลยจดทะเบียนที่ทุน 1 แสนบาท วันที่จดทะเบียนแบกเงินไปเลยกลัวหายด้วย ตอนจดทะเบียนก็ถามเจ้าหน้าที่ พี่ลองนับเงินก่อนมั้ยว่าครบรึเปล่า เจ้าหน้าที่ทำหน้างง และบอกว่าน้องเอาเงินมาทำไม เค้าใช้เอกสาร “ใบสำคัญรับชำระค่าหุ้น” แทน

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

การพิสูจน์ว่ามีเงินจริง กรมพัฒน์จะให้ผู้ถือหุ้นไปขอเอกสารยืนยันยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อยื่นยันว่าผู้ถือหุ้นมีเงินในบัญชีตามสัดส่วนการถือหุ้นจริง

สรุปจดทะเบียนบริษัทไม่จำเป็นต้องมีเงินจริงไปแสดงนะครับ แต่มียกเว้น 2 กรณี ดังนี้ครับ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

แต่สิ่งที่จะเตือนก็คือถ้าไม่มีเงินจริงก็ไม่ควรที่จะจดทะเบียนที่ทุนเยอะ เพราะมันจะเป็นภาระในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเมื่อคุณไม่มีเงินจริงตามที่จดทะเบียน นักบัญชีของคุณจะช่วยคุณโดนบันทึกว่าเจ้าของนำเงินสดเข้ามาลงทุนในบริษัท และบริษัทก็ได้นำดังกล่าวให้กรรมการกู้ยืมเงิน เมื่อบริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการก็จะต้องคิดดอกเบี้ย ซึ่งรายได้ดอกเบี้ยอันนี้แหละที่เป็นตัวปัญหาคือจะต้องนำไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจริง ยิ่งเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเยอะเท่าไหร่ก็จะเสียภาษีเยอะเท่านั้นครับ ^__^

"ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

nuttjillVerified Userโพสต์: 6ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ อังคาร มี.ค. 27, 2012 10:03 pm|0 คอมเมนต์

ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ

สำหรับคนที่เพิ่งก่อตั้งบริษัท หลายคนอาจจะงงๆ ว่าทุนจดทะเบียนคืออะไร? ต้องจดเยอะๆ หรือจดน้อยๆ? แล้วจดเท่าไรดี? แล้วมันสำคัญอย่างไร? วันนี้เราจะช่วยตอบคำถามให้คุณเอง และอยากจะบอกคุณว่า เรื่องนี้ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ

ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) คือ ทุนที่เจ้าของกิจการแจ้งจดทะเบียนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของบริษัท ซึ่งหมายความว่า ทุนจดทะเบียนจะมีจำนวนเท่ากับ จำนวนหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้คูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นแต่ละหุ้น ทุนจดทะเบียนจะมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับความเล็กหรือใหญ่ของธุรกิจ ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทขนาดใหญ่อย่าง ปตท. มีทุนจดทะเบียนถึง 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ SC Assets มีทุนประมาณ 3,500 ล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่รับจดทะเบียนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับทุนจดทะเบียนไว้ว่า ถ้าทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท บริษัทจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่ากับ 1,000 บาท และสำหรับทุนจดทะเบียนทุกๆ 1 ล้านบาทถัดมา บริษัทต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1,000 บาท แต่ถ้าบริษัทมีทุนเกิน 250 ล้านบาทขึ้นไป บริษัทจะเสียเงินเพียงจำนวนเดียวคือ 250,000 บาท เท่านั้นค่ะ

แล้วบริษัทควรเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียนจำนวนเท่าไร?

ก่อนอื่น เจ้าของกิจการควรทำการประมาณการเงินสดรับ-จ่าย (Cashflow Forecast) สำหรับระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน แล้วดูว่า เงินสดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนมีจำนวนเท่าไร บวก เงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน ลบ เงินสดที่คาดว่าจะได้สำหรับงานแต่ละงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำนวนเงินสดที่เจ้าของกิจการต้องจัดหามาให้ได้ในแต่ละเดือน ซึ่งก็คือจำนวนที่ควรใช้จดทะเบียนค่ะ

ที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ

หวังว่าตอนนี้ทุกคนคงจะเข้าใจเรื่องทุนจดทะเบียนมากขึ้นนะคะ?

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

สงสัยประเด็นไหน ก็ทิ้งคำถามไว้ได้เลยค่ะ แล้วจะรีบมาตอบนะคะ


chatchaiสมาชิกกิตติมศักดิ์โพสต์: 11444ผู้ติดตาม: 32

โพสต์ อังคาร มี.ค. 27, 2012 10:05 pm|0 คอมเมนต์

เคยได้ยินมาว่า บริษัทในต่างประเทศบางประเทศไม่มีระบุทุนจดทะเบียน จริงหรือเปล่าครับ

จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี


nuttjillVerified Userโพสต์: 6ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ อังคาร มี.ค. 27, 2012 11:26 pm|0 คอมเมนต์

เอ อันนี้ก็ไม่ค่อยแน่ใจนะคะ เพราะจริงๆแล้วทุนจดทะเบียนเป็นเรื่องของบริษัทมากกว่าค่ะว่าจะจดเท่าไร รวมทั้งทุนจดทะเบียนต้องมีขั้นต่ำเท่าไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆด้วยค่ะ แต่เท่าที่ทราบมา ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ระบุนะคะ อย่างของไทยเรา บริษัทที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่ได้ระบุทุนจดทะเบียนค่ะ มีแต่กำหนดขั้นต่ำสำหรับทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ (หลังการเสนอขายหุ้น) ว่าต้องมากกว่า 300 ล้านบาทค่ะ


child_templeสมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าโพสต์: 131ผู้ติดตาม: 21

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 12:48 am|0 คอมเมนต์

ที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ

งั้นหากบริษัทต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็ไปเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000 หรือ 10,000 ล้าน ตั้งทุนจดทะเบียนไว้สูงก่อนเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ หรือ สมมุติผมอยากตั้งบริษัทกับเพื่อน ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน แต่เงินที่ใช้มาลงทุนจริง 10 ล้านแบบนี้ถือว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่าครับ

หรือว่ายิ่งมีทุนจดทะเบียนสูง ก็ยิ่งต้องรับผิดชอบสูงตามหากเกิดกรณีมีค่าเสียหายใช่อย่างนั้นมั้ยครับ

Great businesses selling at a discount to their intrinsic value may also define as "Value Investment"


chatchaiสมาชิกกิตติมศักดิ์โพสต์: 11444ผู้ติดตาม: 32

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 10:09 am|0 คอมเมนต์

ถามเพิ่มครับ

ส่วนของผู้ถือหุ้นหลักๆก็จะมี ทุนจดทะเบียน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม

ทั้งสามรายการมีความแตกต่างและมีความสำคัญต่างกันอย่างไรบ้างครับ

จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี


chikojungVerified Userโพสต์: 227ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 10:21 am|0 คอมเมนต์

อยากสอบถามเรื่องทุนจดทะเบียน
กับทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วครับ

ปกติที่พูดกันคือตัวไหนครับ
แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
มีขั้นตอนอย่างไรในการไปชำระทุนจดทะเบียนครับ

ขอบคุณครับ


nuttjillVerified Userโพสต์: 6ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 11:45 am|0 คอมเมนต์

child_temple เขียน:

ที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ

งั้นหากบริษัทต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็ไปเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000 หรือ 10,000 ล้าน ตั้งทุนจดทะเบียนไว้สูงก่อนเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ หรือ สมมุติผมอยากตั้งบริษัทกับเพื่อน ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน แต่เงินที่ใช้มาลงทุนจริง 10 ล้านแบบนี้ถือว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่าครับ

หรือว่ายิ่งมีทุนจดทะเบียนสูง ก็ยิ่งต้องรับผิดชอบสูงตามหากเกิดกรณีมีค่าเสียหายใช่อย่างนั้นมั้ยครับ

ใช่ค่ะ ทุนจดทะเบียนยิ่งมาก ความน่าเชื่อถือยิ่งสูงค่ะ ในทางกลับกันความรับผิดชอบของบริษัทก็ต้องสูงตามมาค่ะ เช่นกรณีเกิดการฟ้องร้อง ผู้จ้างงานหรือคนที่ฟ้องร้องบริษัทสามารถฟ้องร้องบริษัทได้ถึงจำนวนที่บริษัทจดทะเบียนค่ะ แล้วถ้าบริษัทไม่สามารถชดใช้หนี้ได้ กรรมการก็จะถูกฟ้องร้องตามมาค่ะ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม


natnomVerified Userโพสต์: 3ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 12:11 pm|0 คอมเมนต์

child_temple เขียน:

ที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ

งั้นหากบริษัทต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็ไปเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000 หรือ 10,000 ล้าน ตั้งทุนจดทะเบียนไว้สูงก่อนเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ หรือ สมมุติผมอยากตั้งบริษัทกับเพื่อน ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน แต่เงินที่ใช้มาลงทุนจริง 10 ล้านแบบนี้ถือว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่าครับ

หรือว่ายิ่งมีทุนจดทะเบียนสูง ก็ยิ่งต้องรับผิดชอบสูงตามหากเกิดกรณีมีค่าเสียหายใช่อย่างนั้นมั้ยครับ

การที่บริษัทจดทะเบียน 100 ล้านบาทแต่เงินที่มาลงทุนจริงๆมีเพียง 10 ล้านบาท มีผลให้กรรมการต้องปวดหัวแน่นอนค่ะ แต่ตามปกติแล้วตามกฎหมายบริษัทต้องรับชำระขั้นต่ำ 25% ค่ะ แปลว่า ถ้าคุณจดทะเบียน 100 ล้านบาท คุณต้องชำระ 25 ล้านบาทค่ะ

ทีนี้เรามาดูกันว่า ถ้าหากบริษัทจะจดทะเบียน 100 ล้านบาท สมมติรับชำระเต็มจำนวน 100 ล้านบาทเช่นกัน แต่ความเป็นจริงแล้วบริษัทไม่ได้มีเงิน 100 ล้านบาทอย่างที่ว่า จะมีเรื่องอะไรที่ทำให้บริษัทปวดตับได้บ้าง

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

กรณีแรกบริษัทรับงานใหญ่ๆมา แต่บริษัทไม่มีเงินทุนตั้งแต่แรกใช่ไหมค่ะ แล้วบริษัทจะเอาเงินมาจากไหนในการดำเนินงาน? บริษัทอาจสามารถดำเนินงานไปได้ในระยะแรก แต่พอทำๆไปอาจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง เงินหมุนไม่ทัน หรือ ไม่มีเงินจ่ายเจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้สภาบันการเงิน ซึ่งถ้าบริษัทไม่สามารถจ่ายเงินได้ อาจกลายเป็นหนี้เสียจนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ค่ะ
กรณีที่สอง เจ้าของบริษัทแกล้งทำเป็นจ่ายเงินเข้ามาเพื่อจดทะเบียน แต่ภายหลังก็นำเงินออกไปใช้ส่วนตัว ในทางกฏหมายแล้วเงินที่นำมาชำระค่าหุ้นถือว่าเป็นของบริษัทและจะต้องใช้ในการดำเนินงานบริษัท ถ้านำไปใช้ส่วนตัว เช่น ซื้อบ้านหรือรถยนต์ รายการเหล่านี้จะถูกบันทึกว่าเป็นเงินที่บริษัทให้กรรมการยืม นอกจากกรรมการจะเป็นหนี้บริษัทแล้ว ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยให้บริษัทด้วยค่ะ

ดังนั้นการจ่ายค่าหุ้นแบบหลอกๆนี้ ไม่เกิดผลดีต่อบริษัทแน่นอนค่ะ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม


LikhitVerified Userโพสต์: 270ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 12:14 pm|0 คอมเมนต์

ผมเรียนถามอย่างนี้ครับ เรื่องทุนจดทะเบียนนั้น เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าในบ้านเรา สมมุติทุนจด

ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก

ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม

ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ

ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก

ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย

ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ

ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น

นิติบุคคล

ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน

หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร

กลัวหรอกครับ

ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข

ที่สวยหรู


LikhitVerified Userโพสต์: 270ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 12:25 pm|0 คอมเมนต์

ต่อคำถามครับ

การที่บริษัทฯ ไม่นำส่งงบการเงิน3ปีติดต่อกัน กรมทะเบียนการค้าจะ delete ชื่อออก ว่าเป็น

บริษัทร้าง การที่เป็นบริษัทร้างแล้วภาระรับผิดชอบตามกฎหมายยังคงอยู่ใหมครับหรือว่าสิ้น

สุด เพราะเป็นหนี้บริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ในกรณีของกรมสรพพากรเท่าที่ผมพบเห็นมา

พอเป็นบริษัทร้างเขาก็เลิกตามเรื่องภาษีแล้วครับ


BHTVerified Userโพสต์: 1822ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 1:58 pm|0 คอมเมนต์

เคยเจอว่า กรรมการกู้บริษัทตัวเองหรือบริษัทในเครือกู้กันเอง บางที่ก็ไม่คิดดอกเบี้ย บางที่ก็คิดต่ำกว่าอัตราตลาด บางที่ก็เท่ากับอัตราตลาด

เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:22 pm|0 คอมเมนต์

Likhit เขียน:ผมเรียนถามอย่างนี้ครับ เรื่องทุนจดทะเบียนนั้น เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าในบ้านเรา สมมุติทุนจด

ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก

ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม

ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ

ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก

ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย

ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ

ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น

นิติบุคคล

ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน

หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร

กลัวหรอกครับ

ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข

ที่สวยหรู

น่าสงสารนิสิตเราจังค่ะ ตอบคำถามบัญชีแล้ว ยังต้องตอบคำถามกฎหมายอีก

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

ทุนจดทะเบียนคือ หุ้นที่บริษัทจดทะเบียนไว้เพื่อบอกว่าบริษัทจะระดมทุนประมาณเท่าไรในช่วงนั้น (บริษัทอาจไปจดทะเบียนเพิ่มได้ในภายหลัง อยากทราบให้อ่านบทความเรื่อง "เพิ่มทุน ลดทุน" ค่ะ) แต่ตอนที่ออกหุ้นจริง บริษัทอาจออกเท่าไรก็ได้ (ไม่เกินทุนที่จดทะเบียนไว้) เพราะฉะนั้น ในตอนแรกบริษัทมักออกหุ้นตามจำนวนทุนที่ต้องการระดม

หากบริษัทออกขายหุ้นที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมด แต่เรียกชำระค่าหุ้นแค่ 25% ต่อมาบริษัทล้มละลาย บริษัทต้องเรียกชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเพิ่มเติมให้ครบ 100% เพื่อมาจ่ายหนี้ ถ้าจ่ายครบร้อยแล้ว บริษัทล้มละลายจริง เจ้าหนี้ก็เอาอะไรจากบริษัทเกินหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วไม่ได้ (แม้จะยังออกหุ้นไม่ครบทุนจดทะเบียนก็ตาม)

บริษัทจำกัดได้รับการคุ้มครองไม่ต้องจ่ายหนี้เกินทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ถ้าบริษัทล้มละลายเนื่องจากการบริหารงานตามปกติ (ไม่มีการโกงที่จับได้) กรรมการก็ไม่ต้องชดใช้อะไร ไม่มีโทษอาญา ส่วนเรื่องทางแพ่งนั้น ถ้าผู้ถือหุ้นฟ้องก็ต้องมีมูลว่ากรรมการทำอะไรผิด แต่ถ้าจับได้ว่ากรรมการโกง ก็อาญาค่ะ ส่วนกรรมการที่ให้บริษัทกู้เงินนั้นถือเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเงินจากบริษัทในฐานะเจ้าหนี้ แต่บริษัทล้มละลายแล้วจะต้องจ่ายใครก่อนใครหลังก็เป็นเรื่องการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้

คำถามอีกข้อหนึ่ง มีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่าบริษัทมีเงินจริงไม่ใช่มีแต่ตัวเลข เรื่องการตรวจสอบเป็นของผู้สอบบัุญชีค่ะ ถ้าบริษัทมีรายการที่เรียกว่า "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ในงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล ผู้สอบบัญชีต้องทำการยืนยันกับธนาคารหรือตรวจนับเงินสดว่าบริษัทมีเงินจำนวนนั้นจริง เราคนอ่านงบการเงิน เข้าไปตรวจสอบไม่ได้ค่ะ

อธิบายเท่านี้พอไหมคะ

ถ้าอยากทราบเรื่องบัญชี ถามนิสิตค่ะ แต่ถ้าเป็นเรื่องการเงินหรือกฎหมาย นิสิตบัญชีเราหน้าซีดไปหมดแล้ว สงสารด้วย

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:26 pm|0 คอมเมนต์

BHT เขียน:เคยเจอว่า กรรมการกู้บริษัทตัวเองหรือบริษัทในเครือกู้กันเอง บางที่ก็ไม่คิดดอกเบี้ย บางที่ก็คิดต่ำกว่าอัตราตลาด บางที่ก็เท่ากับอัตราตลาด

เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย

ทำทุกอย่างได้ ไม่ผิดกฎหมายค่ะ เพราะใครจะให้ใครกู้เงินโดยเสน่หา กฎหมายไม่ได้ห้ามอะไรไว้

หน่วยงานที่มักเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องการยืมเงินกันไม่มีดอกเบี้ยคือ สรรพากรค่ะ สรรพากรชอบดูงบการเงิน สมมุติว่าเจอกรรมการให้เงินบริษัทกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรบอกหวานหมูค่ะ สรรพากรจะประเมินรายได้ดอกเบี้ยตามที่ควรเป็นแล้วคิดภาษีกับกรรมการค่ะ แต่ถ้าเป็นตรงข้าม สรรพากรก็ประเมินดอกเบี้ยรับให้กับบริษัท บริษัทก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น (ถ้าสรรพากรจะทำ)


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:27 pm|0 คอมเมนต์

parporn เขียน:

BHT เขียน:เคยเจอว่า กรรมการกู้บริษัทตัวเองหรือบริษัทในเครือกู้กันเอง บางที่ก็ไม่คิดดอกเบี้ย บางที่ก็คิดต่ำกว่าอัตราตลาด บางที่ก็เท่ากับอัตราตลาด

เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย

ทำทุกอย่างได้ ไม่ผิดกฎหมายค่ะ เพราะใครจะให้ใครกู้เงินโดยเสน่หา กฎหมายไม่ได้ห้ามอะไรไว้

หน่วยงานที่มักเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องการยืมเงินกันไม่มีดอกเบี้ยคือ สรรพากรค่ะ สรรพากรชอบดูงบการเงิน สมมุติว่าเจอกรรมการให้เงินบริษัทกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรบอกหวานหมูค่ะ สรรพากรจะประเมินรายได้ดอกเบี้ยตามที่ควรเป็นแล้วคิดภาษีกับกรรมการค่ะ แต่ถ้าเป็นตรงข้าม สรรพากรก็ประเมินดอกเบี้ยรับให้กับบริษัท บริษัทก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น (ถ้าสรรพากรจะทำ)

คำถามนี้ ออกห่างจากเรื่องทุนจดทะเบียนไปไกลเลยค่ะ


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:31 pm|0 คอมเมนต์

Likhit เขียน:ต่อคำถามครับ

การที่บริษัทฯ ไม่นำส่งงบการเงิน3ปีติดต่อกัน กรมทะเบียนการค้าจะ delete ชื่อออก ว่าเป็น

บริษัทร้าง การที่เป็นบริษัทร้างแล้วภาระรับผิดชอบตามกฎหมายยังคงอยู่ใหมครับหรือว่าสิ้น

สุด เพราะเป็นหนี้บริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ในกรณีของกรมสรพพากรเท่าที่ผมพบเห็นมา

พอเป็นบริษัทร้างเขาก็เลิกตามเรื่องภาษีแล้วครับ

เรื่องบริษัทร้างต้องรับผิดชอบตามกฎหมายนั้น ข้อนี้ไม่แน่ใจค่ะ เป็นเรื่องที่ต้องถามนักกฎหมาย

แต่กรมสรรพากรมีระยะเวลาในการตรวจสอบภาษี 5 ปีค่ะ เลยจากนั้น เขาทำอะไรไม่ได้แล้ว ถ้ากรมสรรพากรเห็นว่าตรวจแล้วไม่คุ้ม เขาอาจไม่สนใจจะตรวจก็ได้ เสียเวลาเขา


LikhitVerified Userโพสต์: 270ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:45 pm|0 คอมเมนต์

เรียนอ.ภาพร ด้วยความเคารพ เรื่องมันเกี่ยวโยงกัน เพราะทางกฎหมายมีช่องโหว่ ที่ทำให้

เลี่ยงกฎหมายได้ผู้ปฏิบัติก็มักจะอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ ซิกแซ๊กเอาประโยชน์เข้าตัว

ตรงใหนไม่สามารถตอบได้ก็ไม่เป็นไรครับ


chikojungVerified Userโพสต์: 227ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:46 pm|0 คอมเมนต์

ขอบคุณอาจารย์และนิสิตทุกท่านที่ช่วยตอบคำถามนะครับ


nuttjillVerified Userโพสต์: 6ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:48 pm|0 คอมเมนต์

parporn เขียน:

Likhit เขียน:ผมเรียนถามอย่างนี้ครับ เรื่องทุนจดทะเบียนนั้น เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าในบ้านเรา สมมุติทุนจด

ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก

ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม

ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ

ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก

ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย

ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ

ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น

นิติบุคคล

ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน

หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร

กลัวหรอกครับ

ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข

ที่สวยหรู

น่าสงสารนิสิตเราจังค่ะ ตอบคำถามบัญชีแล้ว ยังต้องตอบคำถามกฎหมายอีก

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

ทุนจดทะเบียนคือ หุ้นที่บริษัทจดทะเบียนไว้เพื่อบอกว่าบริษัทจะระดมทุนประมาณเท่าไรในช่วงนั้น (บริษัทอาจไปจดทะเบียนเพิ่มได้ในภายหลัง อยากทราบให้อ่านบทความเรื่อง "เพิ่มทุน ลดทุน" ค่ะ) แต่ตอนที่ออกหุ้นจริง บริษัทอาจออกเท่าไรก็ได้ (ไม่เกินทุนที่จดทะเบียนไว้) เพราะฉะนั้น ในตอนแรกบริษัทมักออกหุ้นตามจำนวนทุนที่ต้องการระดม

หากบริษัทออกขายหุ้นที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมด แต่เรียกชำระค่าหุ้นแค่ 25% ต่อมาบริษัทล้มละลาย บริษัทต้องเรียกชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเพิ่มเติมให้ครบ 100% เพื่อมาจ่ายหนี้ ถ้าจ่ายครบร้อยแล้ว บริษัทล้มละลายจริง เจ้าหนี้ก็เอาอะไรจากบริษัทเกินหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วไม่ได้ (แม้จะยังออกหุ้นไม่ครบทุนจดทะเบียนก็ตาม)

บริษัทจำกัดได้รับการคุ้มครองไม่ต้องจ่ายหนี้เกินทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ถ้าบริษัทล้มละลายเนื่องจากการบริหารงานตามปกติ (ไม่มีการโกงที่จับได้) กรรมการก็ไม่ต้องชดใช้อะไร ไม่มีโทษอาญา ส่วนเรื่องทางแพ่งนั้น ถ้าผู้ถือหุ้นฟ้องก็ต้องมีมูลว่ากรรมการทำอะไรผิด แต่ถ้าจับได้ว่ากรรมการโกง ก็อาญาค่ะ ส่วนกรรมการที่ให้บริษัทกู้เงินนั้นถือเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเงินจากบริษัทในฐานะเจ้าหนี้ แต่บริษัทล้มละลายแล้วจะต้องจ่ายใครก่อนใครหลังก็เป็นเรื่องการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้

คำถามอีกข้อหนึ่ง มีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่าบริษัทมีเงินจริงไม่ใช่มีแต่ตัวเลข เรื่องการตรวจสอบเป็นของผู้สอบบัุญชีค่ะ ถ้าบริษัทมีรายการที่เรียกว่า "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ในงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล ผู้สอบบัญชีต้องทำการยืนยันกับธนาคารหรือตรวจนับเงินสดว่าบริษัทมีเงินจำนวนนั้นจริง เราคนอ่านงบการเงิน เข้าไปตรวจสอบไม่ได้ค่ะ

อธิบายเท่านี้พอไหมคะ

ถ้าอยากทราบเรื่องบัญชี ถามนิสิตค่ะ แต่ถ้าเป็นเรื่องการเงินหรือกฎหมาย นิสิตบัญชีเราหน้าซีดไปหมดแล้ว สงสารด้วย

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

ขอบคุณมากๆนะค่ะ อาจารย์

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม
ซีดจริงค่ะ ฮ่าๆๆๆ แต่พวกหนูจะพยายามเต็มที่สุดๆเลยค่ะ
^-^


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:53 pm|0 คอมเมนต์

chikojung เขียน:อยากสอบถามเรื่องทุนจดทะเบียน
กับทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วครับ

ปกติที่พูดกันคือตัวไหนครับ
แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
มีขั้นตอนอย่างไรในการไปชำระทุนจดทะเบียนครับ

ขอบคุณครับ

ทุนจดทะเบียน คือ หุ้นที่นำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเริ่มแรก

ทุนที่ออกและชำระแล้ว คือ หุ้นจดทะเบียนที่บริษัทนำออกขายและรับเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือลงทุนในบริษัท

ขั้นตอนการชำระทุนจดทะเบียนเป็นอย่างไร?
ก็น่าจะเป็นเมื่อบริษัทนำหุ้นที่จดทะเบียนไว้ออกขายให้ผู้ลงทุน แล้วรับเงินสดเข้ามาบริษัท นั่นถือว่าผู้ลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ (จะชำระบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นกับว่าบริษัทนำหุ้นจดทะเบียนทั้งหมดออกขายหรือเปล่า และเรียกชำระค่าหุ้นด้วยจำนวนเท่าไร) "ทุนจดทะเบียน" ที่แสดงในงบการเงินกับ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จึงอาจมีจำนวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันค่ะ แต่ถ้าดูเฉพาะราคาพาร์ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จะไม่มีวันสูงกว่า "ทุนจดทะเบียน" ค่ะ

ส่วนบริษัทเองต้องชำระค่าจดทะเบียนให้กระทรวงพาณิชย์ตามอัตราที่บอกไว้ค่ะ


nuttjillVerified Userโพสต์: 6ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:58 pm|0 คอมเมนต์

Likhit เขียน:เรียนอ.ภาพร ด้วยความเคารพ เรื่องมันเกี่ยวโยงกัน เพราะทางกฎหมายมีช่องโหว่ ที่ทำให้

เลี่ยงกฎหมายได้ผู้ปฏิบัติก็มักจะอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ ซิกแซ๊กเอาประโยชน์เข้าตัว

ตรงใหนไม่สามารถตอบได้ก็ไม่เป็นไรครับ

ยังไงต้องขอโทษไว้ล่วงหน้านะค่ะ อาจมีตอบช้าไปบ้าง
แต่พวกเราจะพยายามเต็มที่ในการตอบคำถามเรื่องนี้นะค่ะ
^0^ ^-^


nuttjillVerified Userโพสต์: 6ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 2:59 pm|0 คอมเมนต์

parporn เขียน:

chikojung เขียน:อยากสอบถามเรื่องทุนจดทะเบียน
กับทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วครับ

ปกติที่พูดกันคือตัวไหนครับ
แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
มีขั้นตอนอย่างไรในการไปชำระทุนจดทะเบียนครับ

ขอบคุณครับ

ทุนจดทะเบียน คือ หุ้นที่นำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเริ่มแรก

ทุนที่ออกและชำระแล้ว คือ หุ้นจดทะเบียนที่บริษัทนำออกขายและรับเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือลงทุนในบริษัท

ขั้นตอนการชำระทุนจดทะเบียนเป็นอย่างไร?
ก็น่าจะเป็นเมื่อบริษัทนำหุ้นที่จดทะเบียนไว้ออกขายให้ผู้ลงทุน แล้วรับเงินสดเข้ามาบริษัท นั่นถือว่าผู้ลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ (จะชำระบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นกับว่าบริษัทนำหุ้นจดทะเบียนทั้งหมดออกขายหรือเปล่า และเรียกชำระค่าหุ้นด้วยจำนวนเท่าไร) "ทุนจดทะเบียน" ที่แสดงในงบการเงินกับ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จึงอาจมีจำนวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันค่ะ แต่ถ้าดูเฉพาะราคาพาร์ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จะไม่มีวันสูงกว่า "ทุนจดทะเบียน" ค่ะ

ส่วนบริษัทเองต้องชำระค่าจดทะเบียนให้กระทรวงพาณิชย์ตามอัตราที่บอกไว้ค่ะ

เพิ่มเติมจากอาจารย์ค่ะ
การที่จะจัดตั้งบริษัท ก้ต้องมีผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นก่อนใช่มั้ยค่ะ เพราะฉะนั้น จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดตกลงกันว่าจะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง คือทุนจดทะเบียนบริษัทค่ะ เช่น มีคนที่ร่วมกันก่อตั้งบริษัท 5 คน โดยแต่ละคนลงทุน 20 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ค่ะ

แต่บริษัทอาจยังไม่ต้องเรียกชำระเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้ง 100 ล้านที่ระบุไว้ก็ได้ค่ะ ตามกฏหมายกำหนดทุนที่เรียกชำระขั้นต่ำไว้ที่ 25 % ของทุนจดทะเบียนค่ะ ดังนั้นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท อาจชำระ 25 ล้านบาทก่อนก็ได้ค่ะ แล้วค่อยชำระส่วนที่เหลือในภายหลัง หรือชำระเต็มจำนวน 100 ล้านบาทเลยก็ได้ค่ะจะได้ไม่ต้องมีภาระในภายหลังค่ะ


chikojungVerified Userโพสต์: 227ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 3:01 pm|0 คอมเมนต์

สอบถามเพิ่มครับ

ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ

แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน

จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ

ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น

ถูกหรือเปล่าครับ??

แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??

ขอบคุณครับ


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 3:18 pm|0 คอมเมนต์

ใครที่ถามแล้วแล้วยังไม่ได้รับคำตอบยกมือขึ้นค่ะ อ่านแล้วงงไปหมดว่าคำถามใดตอบแล้วคำถามใดยังไม่ตอบ ถ้ายังไม่ตอบช่วยถามใหม่ด้วยค่ะ


natnomVerified Userโพสต์: 3ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 3:28 pm|0 คอมเมนต์

chatchai เขียน:ถามเพิ่มครับ

ส่วนของผู้ถือหุ้นหลักๆก็จะมี ทุนจดทะเบียน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม

ทั้งสามรายการมีความแตกต่างและมีความสำคัญต่างกันอย่างไรบ้างครับ

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น คือเงินที่ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์ค่ะ
กำไรสะสม คือ กำไรที่สะสมมาตลอดตั้งแต่เริ่มบริษัท
ส่วนรายละเอียดเรื่องนี้ สามารถติดตามได้ในกระทู้
"กำไรสะสม กำไรสะสมจัดสรร และกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร" นะค่ะ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม


parpornVerified Userโพสต์: 231ผู้ติดตาม: 3

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 3:32 pm|0 คอมเมนต์

chikojung เขียน:สอบถามเพิ่มครับ

ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ

แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน

จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ

ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น

ถูกหรือเปล่าครับ??

แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??

ขอบคุณครับ

ตามปกติ หุ้นที่ออกไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนน่าจะมีหลักเหมือนกันคือ
1. เมื่อออกหุ้นแล้วทยอยเก็บเงินค่าหุ้นได้ (เข้าใจว่า บมจ. จะมีกำหนดเวลาเรียกชำระสั้นๆ ไม่ให้ค้างนาน)
2. เมื่อบริษัทเจ็ง ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อ ถ้าชำระไม่เต็มต้องชำระให้เต็ม (ไม่ใช่รับผิดชอบแค่จำนวนที่ชำระไปแล้ว)

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริษัท 2 ประเภท น่าจะเป็นที่ บริษัทมหาชนเหมือนมีเวลาจำกัดในการจ่ายเงิน เขาไม่ให้ค้างนาน นอกจากนั้น ถ้าหุ้นที่เรียกชำระไม่เต็มจะไม่สามารถนำมา trade ในตลาดได้ ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเจอหุ้นในตลาดที่จ่ายไม่เต็ม


natnomVerified Userโพสต์: 3ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 3:52 pm|0 คอมเมนต์

parporn เขียน:

chikojung เขียน:สอบถามเพิ่มครับ

ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ

แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน

จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ

ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น

ถูกหรือเปล่าครับ??

แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??

ขอบคุณครับ

ตามปกติ หุ้นที่ออกไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนน่าจะมีหลักเหมือนกันคือ
1. เมื่อออกหุ้นแล้วทยอยเก็บเงินค่าหุ้นได้ (เข้าใจว่า บมจ. จะมีกำหนดเวลาเรียกชำระสั้นๆ ไม่ให้ค้างนาน)
2. เมื่อบริษัทเจ็ง ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อ ถ้าชำระไม่เต็มต้องชำระให้เต็ม (ไม่ใช่รับผิดชอบแค่จำนวนที่ชำระไปแล้ว)

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริษัท 2 ประเภท น่าจะเป็นที่ บริษัทมหาชนเหมือนมีเวลาจำกัดในการจ่ายเงิน เขาไม่ให้ค้างนาน นอกจากนั้น ถ้าหุ้นที่เรียกชำระไม่เต็มจะไม่สามารถนำมา trade ในตลาดได้ ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเจอหุ้นในตลาดที่จ่ายไม่เต็ม

เพิ่มเติมจากอาจารย์นะค่ะ

ถ้าบริษัทจดทะเบียน 100 ล้าน แต่ชำระเพียง 30 ล้านบาท ความรับผิดชอบของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุนที่เรียกชำระแล้วค่ะ แต่ขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียนของกิจการค่ะ ดังนั้นในกรณีนี้หากเกิดความเสียหายหรือเกิดการฟ้องร้อง บริษัทจึงมีภาระต้องชำระหนี้สินในมูลค่า
100 ล้านบาท ไม่ใช่ 30 ล้านบาท ตามที่ได้ชำระไว้ค่ะ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม


sun_cisa2Verified Userโพสต์: 121ผู้ติดตาม: 2

โพสต์ พุธ มี.ค. 28, 2012 4:24 pm|0 คอมเมนต์

ดูเหมือนเว็ปตอบปัญหาธุรกิจมากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น แต่อย่างไรก็ตาม การรู้เข้าใจพื้นฐานก็นับว่าดีต่อการตัดสินใจลงทุน ขอให้ความรู้ในการลงทุนเกี่ยวกับหุ้นทุน และส่วนผู้ถือหุ้นในการวิเคราะห์เพื่อการลงทุน

ทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วมีความสำคัญในการวิเคราะห์มากกว่าทุนจดทะเบียน

ทุนจดทะเบียนอย่างเดียวก็ให้ความหมายเหมือนที่กล่าวข้างต้น คือบอกเพียงเจตจำนงว่าความรับผิดชอบที่จะเกิดกับเงินลงทุนในเบื้องต้นเป็นเท่าไร มีหุ้นที่จะสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนมือได้เท่าไร นักลงทุนเสียหายเท่าที่เงินลงไปเท่านั้น ซื้อในตลาด 100,000 หุ้นๆละ 12 บาทรวมลงไป 1.2 ล้าน ถ้าบริษัทล้ม เราก็เสียเท่านี้ ปิดกิจการล้มละลาย ถ้าขายสินทรัพย์เหลือเงินถึงเราหรือไม่ก็อยู่ที่ ขายได้มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ในบริษัทจดทะเบียนอาจจดทะเบรยนมากกว่าที่เรียกชำระเนื่องจากส่วนที่มากกว่าจะจดเพื่อรองรับหุนที่อาจเกิดจากการใช้สิทธิจาก warrant ไม่ว่าจะออกให้นักลงทุนทั่วไปหรือให้พนักงาน ผู้บริหาร หรือจากหุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทมหาชนจะเรียกชำระเต็มร้อย เพราะถ้าขำระไม่เต็มจะซื้อขายอย่างไร นาย ก เอาหุ้น ชำระเต็มกับไม่เต็มไปขายในตลาด คนซื้อจะรู้ได้อย่างไร ดังน้นหุ้นชำระไม่เต็มจะจดทะเบียนซื้อขายไม่ได้ เพราะหุ้นในตลาดไม่ได้แยกว่า หุ้นสามัญ abc มีแบบชำระ เต็ม 50% 25% แล้วแยกราคา

การลงทุนในตลาดหุ้นจึงตัดประเด็นนี้ไปได้ บางคนอาจขี้สงสัยอีกถามว่า แล้วที่ซื้อมามั่นใจได้อย่างไร ตอบว่า ไม่ต้องกังวล ถ้าชำระไม่เต็มตลาดหลักทรัพย์จะตรวจสอบให้ก่อนนำมาซื้อขา มีหน่วยงานกำกับให้ครับ

ทีนี้ทุนจดทะเบียน (ต่อไปถือว่าเรียกเต็มร้อยแล้ว) เท่าไรดี ในแง่การลงทุนในหุ้นแบบ VI ให้ดู DE Ratio ในด้าน asset คือ investment desicion making (uses of fund) ส่วน debt & equty คือ financing decision making (sources fo fund) บริษัทที่ดีต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมตามลักษณะอุตสาหกรรม หลักง่ายๆ คือเปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันโดยเฉพาะ blue chip ในกลุ่ม เกณฑ์เบื้องต้นง่ายๆ ที่ใช้ประเมินเบื้องต้นคือ อุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนใน fixed assets (PPE) อาจมี D/E มากหน่อย เกิน 1 ได้แต่ไม่ควรมากไป เช่น ใกล้ 2 หรือเกิน 2 ส่วนธุรกิจทีต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์มากๆ เช่น Adverting Agency, Software developememt, IT service ควรมี D/E ต่ำๆ มาก เพราะการอยู่รอดขึ้นกับคนเป็นหลัก เพราะไม่มีสินทรัพย์จับต้องได้

และที่สำคัญการจดทะเบียนมากๆ (เกินไป) เราไม่รู้หรอก ควรสนใจ ROE ประกอบด้วย จะจดมากจดน้อย ถ้าความเสี่ยง ok และ ROE ดี ก็นับว่าโครงสร้างและความสามารถทำกำไรเหมาะสม ถ้า D/E ต่ำ แต่ ROE ก็ต่ำ แปลว่าเอาเงินเราไปแต่สร้างผลตอบแทนไม่คุ้ม ส่วน D/E สูงๆ ROE ก็สูง ดูเหมือนดี แต่กิจการเสี่ยงมากด้วยที่อาจ เกิด finance failure ง่าย ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจในและนอกประเทศที่ผันผวน จึงอย่าดูแต่ขนาด แต่ควรดู ratio ประกอบด้วย


miracleสมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าโพสต์: 18344ผู้ติดตาม: 25

โพสต์ พฤหัสฯ. มี.ค. 29, 2012 8:15 am|0 คอมเมนต์

ทุนจดทะเบียน หมายถึงจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนคูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นใช่ไหมครับ
บรรทัดนี้มันเขียนเส้นใต้ทีึบหรือเส้นใต้สองเส้นแสดงว่ามันจบครบถ้วนขบวนความ

แต่ประเด็นที่ผมสนใจคือ
1. ถ้าขายหุ้นมากกว่าราคาพาร์หรือน้อยกว่าราคาพาร์ มันจะไปบันทึกบัญชีที่ส่วนเกินมูลค่าหรือส่วนด้อยมูลค่าใช่ไหมครับ
ซึ่งส่วนนนี้หากบริษัทขาดทุนสามารถใช้ส่วนนี้ล้างขาดทุนสะสมได้ใช่ไหมครับ
2. ถ้าหากทุนจดทะเบียนจดไว้ 200 หุ้น แต่ขายจริง 100 หุ้น เหลือหุ้นที่ยังไม่ขาย มันจะไประบุที่ไหนละครับ ว่าขายไม่หมด
3. การจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลดทุนนั้น จดได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์่ใช่ไหมครับ โดยที่ต้องมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว หากมีข้อโต้แย้งจากเจ้าหนี้ของบริษัทก็ไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม


winnermaxVerified Userโพสต์: 38ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ พฤหัสฯ. มี.ค. 29, 2012 4:12 pm|0 คอมเมนต์

miracle เขียน:ทุนจดทะเบียน หมายถึงจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนคูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นใช่ไหมครับ
บรรทัดนี้มันเขียนเส้นใต้ทีึบหรือเส้นใต้สองเส้นแสดงว่ามันจบครบถ้วนขบวนความ

แต่ประเด็นที่ผมสนใจคือ
1. ถ้าขายหุ้นมากกว่าราคาพาร์หรือน้อยกว่าราคาพาร์ มันจะไปบันทึกบัญชีที่ส่วนเกินมูลค่าหรือส่วนด้อยมูลค่าใช่ไหมครับ
ซึ่งส่วนนนี้หากบริษัทขาดทุนสามารถใช้ส่วนนี้ล้างขาดทุนสะสมได้ใช่ไหมครับ
2. ถ้าหากทุนจดทะเบียนจดไว้ 200 หุ้น แต่ขายจริง 100 หุ้น เหลือหุ้นที่ยังไม่ขาย มันจะไประบุที่ไหนละครับ ว่าขายไม่หมด
3. การจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลดทุนนั้น จดได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์่ใช่ไหมครับ โดยที่ต้องมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว หากมีข้อโต้แย้งจากเจ้าหนี้ของบริษัทก็ไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ

ทุนจดทะเบียนบริษัท เยอะดีไหม

ตอบ ข้อ 1. หากออกจำหน่ายหุ้นมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาพาร์ ผลต่างระหว่างราคาพาร์กับราคาที่จำหน่ายได้ จะบันทึกเป็นส่วนเกินมูลค่าหุ้น หรือ ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น แล้วแต่กรณี หากบริษัทมีส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้น สามารถนำขาดทุนสะสมมาล้างได้ครับ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน
ข้อ 2 ต้องอ่านที่หน้างบแสดงฐานะการเงิน ในส่วนของผู้ถือหุ้น จะอธิบายว่าบริษัทมีหุ้นจดทะเบียนจำนวนกี่หุ้น ออกจำหน่ายแล้วกี่หุ้น ส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายก็คือจำนวนผลต่างระหว่างจำนวนหุ้นจดทะเบียนกับจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว
ข้อ 3 การเพิ่มทุนหรือลดทุน ต้องได้ขอมติพิเศษจากผู้ถือหุ้นก่อนและให้นำมติไปจดที่กระทรวงพาณิชย์ กรณีลดทุนนั้น หากเจ้าหนี้ยื่นคำคัดค้าน บริษัทไม่สามารถจดทะเบียนได้ การเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ยื่นคำคัดค้านเนื่องจากการลดทุนทำให้ฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทด้อยลง กฎหมายจึงต้องปกป้องเจ้าหนี้โดยเปิดโอกาสให้ยื่นคำคัดค้านครับ


Stock loverVerified Userโพสต์: 448ผู้ติดตาม: 0

โพสต์ อาทิตย์ เม.ย. 22, 2012 10:24 pm|0 คอมเมนต์

อยากสอบถามเพิ่มเติมครับ บริษัทที่มีกำไร หรือกำไรสะสมอยู่แล้วสามารถลดทุนจดทะเบียนได้รึเปล่า มีคนเขาทำกันรึเปล่าครับ

ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก


ทุนจดทะเบียนเท่าไรดี

หุ้นจะต้องมีราคาไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ต่อ 1 หุ้น และหุ้นจดทะเบียนอย่างน้อยต้องมี 3 คน ดังนั้น ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุดของบริษัทก็คือ 15 บาท สามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ แต่เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 100,000-1,000,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียนบริษัท1แสนได้ไหม

ทุนจดทะเบียนบริษัทขั้นต่ำต้องเท่าไร แต่ความเป็นจริงแล้ว การจดบริษัทไม่มีใครที่จะจดบริษัทกันที่ทุน 15 บาท หรอกนะคะ ส่วนมากจะนิยมกันจดทะเบียนบริษัทด้วย ทุน 1 ล้านบาท หรือบางบริษัทก็อาจจะจดทะเบียนบริษัทด้วยทุน 1 แสนบาท ก็ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับมูลค่าธุรกิจ หรือมูลค่างานของธุรกิจค่ะ

จดบริษัท ทุนจดทะเบียนเท่าไร

มีครับ ทุนขั้นต่ำ ของบริษัทคือ 15 บาท ปพพ. กำหนดว่า มูลค่าหุ้นห้ามมิให้ต่ำกว่า 5 บาท และผู้ถือหุ้นห้ามน้อยกว่า 3 คน ถ้าถือคนละ 1 หุ้น หุ้นละ 5 บาท ก็มีทุน 15 บาท สอบถามเพิ่มเติม [email protected].

ทุนจดทะเบียนนำมาใช้ได้ไหม

เงินทุนที่เรียกเก็บมาจากผู้ถือหุ้น 25% เป็นอย่างน้อยนั้นจะเป็นเงินทุนสำหรับการเริ่มต้นบริษัทและใช้จ่ายได้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับบริษัทเลย เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน ค่าลงทุน ฯลฯ แต่สิ่งที่จะเอาไปใช้ไม่ได้คือ เงินจำนวนนี้ไม่ควรจะนำไปใช้จ่ายที่เป็นเรื่องส่วนตัวเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นคนใดหรือใครใน ...