ใครเป็นบิดาของกษัตริย์เอกทัศน์?

[2] นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2019) การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. สำนักพิมพ์มติชน. หน้า 1-78

[3] ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา. (2016, January 18). สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ (Online) สืบค้นจาก

        ปัจจุบัน “พระตำหนักคำหยาด” ซึ่งถูกทอดทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานานเหลือแต่เพียงผนังอิฐ ๔ ด้าน ประตูและหน้าต่างมีลักษณะโค้งยอดแหลม เหมือนสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เป็นอนุสรณ์ให้นึกถึง “ขุนหลวงหาวัด” ซึ่งน้อยนักที่จะมีผู้ไม่ปรารถนาในพระราชบัลลังก์เช่นพระองค์ 

เฟคนิวส์ หรือ ข่าวปลอม เป็นปัญหาของสังคมยุคนี้ที่เกิดจากคนที่มีจิตใจสกปรก สร้างความสับสนวุ่นวายให้เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ถ้าคนไม่มีปัญญาจะวินิจฉัยไตร่ตรอง เฟคนิวส์ก็จะได้ผลตามที่คนปล่อยปรารถนา ซึ่งมักจะหวังผลทางการเมือง หรือไม่ก็

“กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลาหาสติปัญญาและความเพียรมิได้ ถ้าให้ดำรงฐานาศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชการกึ่งหนึ่งนั้นบ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย”

เป็นคำกล่าวที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่กล่าวถึงพระราชจริยาวัตรอันไม่งามของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ เมื่อกล่าวถึงพระเจ้าเอกทัศหรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์คงไม่พ้นที่จะนึกถึงแต่เรื่องร้ายๆ ความพังพินาศย่อยยับแห่งมหาอาณาจักรที่อยู่ยืนยาวมากกว่า 417 ปี ในเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ผู้ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 33 หรือมีพระนามปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 3

ในการับรู้ของคนทั่วไปและในแบบเรียนประวัติศาสตร์มักมองพระองค์ด้านร้ายส่งผลต่อทัศนคติของคนไทยอย่างชัดเจนรวมไปถึงละครโทรทัศน์เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อย่าง เช่น สายโลหิต ฟ้าใหม่ ซึ่งเป็นสื่อที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายก็แสดงภาพลักษณ์ด้านลบของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้เสียเป็นส่วนใหญ่ เมื่อศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ในคำให้การชาวกรุงเก่ากลับปรากฎเรื่องราวของพระเจ้าเอกทัศที่ต่างออกไปจากการรับรู้ข้างต้น

พระราชกรณียกิจสำคัญที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์นั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น คราวที่พระเจ้าเอกทัศขึ้นครองราชย์สมบัติพระองค์โปรดที่จะให้หล่อพระพุทธรูปขนาดเท่าพระองค์ ทรงบริจาคทรัพย์ทำการเฉลิมฉลองพระพุทธรูปแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปพระองค์นั้นไปยังวัดวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์

ช่วงต้นรัชกาลยังโปรดที่จะสร้างวัดเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อสร้างพระอารามขึ้นมา 2 แห่ง คือ วัดละมุด และวัดครุฑาวาส ยังทรงเสร็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรีเป็นประจำทุกปีอีกด้วย เมื่อบ้านเมืองสงบพระองค์โปรดทำบุญบริจาคทรัพย์ให้แก่ผู้ยากไร้เป็นประจำเช่นกัน

ด้านเศรษฐกิจพระองค์ทรงออกพระราชบัญญัติการใช้เครื่องชั่งตวง เครื่องวัดต่างๆ ทั้งเงินบาทเงินสลึงเงินเฟื้องให้เที่ยงตรง และยังยกเลิกภาษีอากรต่างๆ ภายใน 3 ปี นี่คือเรื่องราวที่ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่า

ส่วนหลักฐานอีกหนึ่งเรื่องที่มีทิศทางเดียวกันกับคำให้การชาวกรุงเก่า คือ คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง) “พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา

ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล

ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา”

เนื้อหาที่พบไม่แตกต่างกันนักกับคำให้การชาวกรุงเก่า ส่วนพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่มัก กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญๆ เท่านั้น และเรื่องราวการสงครามระหว่างอยุธยาและพม่าช่วงปลายรัชกาลถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ไม่ปรากฏเรื่องราวพระราชกรณียกิจของกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่

แม้แต่เพลงเพลงยาวนิราศเสด็จไปตีเมืองพม่า พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งเสด็จไปตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ. 2336 ทรงพระราชนิพนธ์เพลงยาวนิราศนี้ขึ้นแทนที่นิราศนั้นจะรำพึงถึงหญิงอันเป็นที่รักที่ต้องห่างจากกัน

แต่กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาททรงหวนรำลึกถึงพระนครศรีอยุธยาอันรุ่งเรืองและในนิราศเพลงยาวนี้ยังทรงกล่าวถึงความประมาทการที่ทรงมีพระเมตตามากล้นเกินพอดีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์สุดท้ายของพระนครแห่งนี้ไว้ด้วย ความว่า

“ทั้งนี้เป็นต้นด้วยผลเหตุ   จะอาเพศกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่
มิได้พิจารณาข้าไท   เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา
ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ   ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา
สุภาษิตท่านกล่าวเป็นราวมา   จะตั้งแต่งเสนาธิบดี
ไม่ควรจะให้อัครฐาน   จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี
เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี   จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา”

ถึงไม่ใช่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางการที่ชัดเจนแต่เพลงยาวนิราศเรื่องนี้ก็ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสภาพการณ์ในช่วงการเสียกรุงฯ ได้เป็นอย่างดีจากมุมมองของผู้อยู่ร่วมเหตุการณ์

เหรียญมีสองด้านเปรียบกับคนเราย่อมมีดีและเลวปะปนกันไป อย่าตัดสินคนเพียงเพราะเชื่อหรือเห็นความจริงเพียงด้านเดียวควรดูพินิจพิจารณาให้รอบคอบแล้วย้อนกลับมามองตัวเองว่าดีหรือไม่ดีเช่นเดียวกันกับที่ตัวเรามองเขาหรือไม่

เมื่อกล่าวถึง พระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา “ภาพจำ” ที่ได้จากพระราชพงศาวดาร, แบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย, คำเล่าขาน ฯลฯ เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ เป็นกษัตริย์ที่ไม่ใส่ใจกิจการบ้านเมือง, ลุ่มหลงแต่สนมนางใน, กดขี่ข่มเหงข้าราชการและประชาชน, โดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามกับพม่าไม่ทรงอนุญาตให้ยิงปืนใหญ่ ด้วยเกรงบรรดาพระสนมจะตกอกตกใจกัน ฯลฯ

แต่ในเอกสารหลักฐานฝ่ายพม่า กลับบันทึกถึง “พระเจ้าเอกทัศ” แตกต่างออกไป เอกสารที่ว่าคือ “มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า” ตอนหนึ่งกล่าวถึง บทบาทของพระองค์ช่วงใกล้เสียกรุงศรีอยุธยาว่า

“ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา [พระเจ้าเอกทัศ] พระองค์ได้จัดให้ออกมารบครั้งใดก็มิได้ชนะ มีแต่พ่ายแพ้แตกหนีล้มตายไปทุกที ถึงกระนั้นก็ดีพระองค์ [พระเจ้าเอกทัศ] มิได้ทรงย่อท้อหย่อนพระหัดถ์เลย พระองค์ [พระเจ้าเอกทัศ] ทรงรับสั่งให้ช่างก่อสร้างทำเรือรบแลเรือกำปั่นเปนอันมาก ครั้นช่างทำเรือเหล่านั้นเสร็จแล้ว พระองค์ [พระเจ้าเอกทัศ] ทรงรับสั่งให้พลทหารทั้งปวงเอาปืนใหญ่น้อยบรรทุกเรือนั้นทุกๆ ลำแล้วทรงรับสั่งให้พลทหารถอยเอาเรือเหล่านั้นไปรักษาทางน้ำไว้โดยแน่นหนา

เมื่อพระองค์ [พระเจ้าเอกทัศ] จัดทางน้ำเสร็จแล้วพระองค์ [พระเจ้าเอกทัศ] ทรงรับสั่งให้พลทหารก่อสร้างทำป้อมอิฐสำหรับสู้รบให้ล้อมพระนคร 50 ป้อม แต่ป้อมที่ทำนั้นห่างจากคูเมืองไป 500 เส้น รับสั่งให้ทำทั้งกลางวันแลกลางคืน ครั้นทำเสร็จแล้วรับสั่งให้เอาเสบียงอาหารทั้งปวงเข้าไว้ในป้อมนั้น แล้วรับสั่งให้พลทหารเอาปืนใหญ่น้อยสาสตราอาวุธทั้งปวงขึ้นรักษาอยู่ที่ป้อมนั้นโดยกวดขัน

แล้วทรงรับสั่งให้ลงขวากช้างขวากม้าขวากคนแลหนามเสี้ยน  แลขุดลวงดักไว้ให้ข้าศึกตกทุกหนทุกแห่ง ฝ่ายทางน้ำเล่าพระองค์ [พระเจ้าเอกทัศ] ทรงรับสั่งให้ลงขวากหนามแลตอไม้ทั้งปวงไว้ มิให้ข้าศึกเข้ามาได้ ครั้นทรงจัดเสร็จแล้วก็ให้รักษาตั้งมั่นอยู่ 

ในขณะนั้นพระเจ้าช้างเผือกกรุงอังวะ มีท้องตราเร่งมาว่าให้แม่ทัพแลนายกองทั้งปวงจงตั้งใจรีบเร่งตีกรุงศรีอยุทธยาให้แตกโดยเร็วอย่าให้ช้า ครั้นแม่ทัพทั้งสองแลนายทัพนายกองทั้งปวงได้ทราบทรงพระกระแสรับสั่งดังนั้น จึงได้ประชุมปฤกษากัน ในเวลานั้นมหานรทาแม่ทัพพูดว่า

ด้วยเราได้เอาบุญบารมีพระเดชพระคุณเจ้าของเราทูลเกล้าฯ ยกพยุหโยธาทัพมาตีกรุงศรีอยุธยานั้น เราได้เข้าตีหัวเมืองใหญ่น้อยตามรายทางได้แก่เราทั้งสิ้นแล้ว บัดนี้เราได้ยกเข้ามาถึงชานเมืองกรุงศรีอยุทธยาแล้วเข้าล้อมไว้ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา[พระเจ้าเอกทัศ] ก็ได้ทรงจัดให้พลช้างพลม้าแลพลทหารทั้งปวงยกออกมาตีกองทัพเราหลายครั้งหลายหนก็มีแต่พ่ายแพ้แตกหนีล้มตายไปทุกครั้งทุกที เราจับเปนไว้ได้ก็มาก

 ถึงกระนั้นก็ดีพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา [พระเจ้าเอกทัศ] ก็มิได้ย่อท้อหย่อนพระหัดถ์เลย บัดนี้พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา [พระเจ้าเอกทัศ] ก็ทรงสร้างป้อม 50 ป้อม ตั้งสู้รบอยู่นอกกำแพงเมืองโดยแน่นหนานั้น พวกท่านทั้งหลายจะทำอย่างไร

แต่เรานั้นคิดจะขุดอุโมงค์เช่นพระมโหสถเชื้อหน่อพุทธางกูร  เมื่อครั้งทรงขุดอุโมงค์ไปรับพระราชบุตรีบุตราซึ่งทรงพระนามว่า ปัญจละจันทีแลบริวารนั้น โดยเหตุนี้เราก็จะสร้างเมืองใกล้เคียงกับกรุงศรีอยุทธยาขึ้นเมืองหนึ่ง เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว เราก็จะขุดอุโมงค์เข้าไปในกรุงศรีอยุทธยา ถ้าทลุถึงในเมืองแล้ว เราก็จะจับพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา [พระเจ้าเอกทัศ]  แลพระมเหสีพระราชโอรสทั้งปวงให้จงได้  เมื่อมหานรทาแม่ทัพพูดดังนั้น สีหะปะต๊ะแม่ทัพแลนายกองทั้งปวงก็เห็นชอบพร้อมกัน”

พม่าในเวลานั้นไม่ใช่มิตรประเทศ แต่คือศัตรูที่ทำศึกกันจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนสรรเสริญเอาใจผู้นำไทยแต่อย่างใด หรือพระเจ้าเอกทัศจะทรงเป็น “แพะ” ในเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา


ข้อมูลจาก

กำพล จำปาพันธ์. “พระยาตากสิน จากหลักฐานฮอลันดา (ไปจันทบุรีตามคำสั่งของราชสำนักอยุธยา?)” ใน, ศิลปวัฒนธรรม พฤศจิกายน 2560.