ข้อใดคือท่าอากาศยานของบริษัท

หน้าที่

เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแล กำหนดทิศทาง ความเร็ว เพดานบินของเครื่องบิน ซึ่งนักบินต้องปฏิบัติตาม ตั้งแต่บินขึ้นจากท่าอากาศยานต้นทาง หรือเริ่มเข้าเขตรับผิดชอบ (เข้าเขตประเทศ) กระทั่งลงจอดที่ท่าอากาศยานปลายทาง หรือพ้นเขตที่รับผิดชอบ (พ้นเขตประเทศ) อย่างปลอดภัย

ไม่มีคำว่า “ หยุด ” สำหรับ ATC

เครื่องบินที่อยู่ในอากาศเคลื่อนที่ตลอดเวลา ไม่สามารถเบรคลอยคว้างในอากาศได้ และช่วงเวลาเพียงแค่ 1 นาทีนั้น ATC ไม่ได้ควบคุมเครื่องบินแค่เครื่องเดียว ลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า ตอนนี้มีเครื่องบิน 20 ลำ ต่างต้องการเข้ามาลงที่สนามบินดอนเมือง ATC ต้องจัดการเครื่องเหล่านั้นตามลำดับก่อน-หลัง สำหรับงานบน Tower ถือว่ามีพื้นที่รับผิดชอบน้อยกว่า เพราะเฉลี่ยแล้วเครื่องบินที่เข้ามาลงจะมีเวลาอยู่ในพื้นที่ของ Tower ประมาณ 3 นาทีเท่านั้น การตัดสินใจทุกอย่างจึงต้องรวดเร็วและปลอดภัย

ข้อใดคือท่าอากาศยานของบริษัท

สำหรับ Ground Control แม้จะควบคุมเครื่องบินที่อยู่บนภาคพื้น แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะนักบินจะมีเวลาอยู่กับ Ground มากกว่าส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการขอ Information การ Negotiation การ Complain จะเกิดขึ้นบน Ground มากที่สุด ดังนั้นการติดต่อสื่อสารและให้บริการ จะเกิดความประทับใจได้ Controller ต้องมีทักษะในการสื่อสารสูง และตัดสินใจอย่างรอบคอบ รวดเร็ว

ความยากง่ายระหว่าง Aerodrome หรือ Approach ถือว่าพอๆ กัน จะต่างกันที่ขั้นตอน หรือ Procedure ของแต่ละตำแหน่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์ในขณะนั้น เวลาทำงานต้องประสานงาน และพยายามทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปอย่างมีความสุข โดยอยู่ภายใต้สิ่งสำคัญคือ Safety , Expeditious , Flows และ Average Delayed และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการทุกรายตามมาตรฐานการบิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินที่บินแบบ IFR หรือ VFR และไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างชาติก็ตาม

ATC เป็นอาชีพที่เครียดที่สุดในโลก

การดูแลเครื่องบินที่เข้ามาพร้อมกันหลายสิบเครื่อง ย่อมมีความเครียดแน่นอน วิธีแก้เครียดคือ ต้องรู้จักปลดปล่อย อย่าให้ทับถม บริษัทฯ จึงจัดให้มีสวัสดิการหลายอย่างที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การบริหารระยะเวลาทำงาน การสับเปลี่ยนหน้าที่ พอถึงเวลาพักก็จัดห้องพักที่เป็นสัดส่วนไว้ให้ มีทีวี วิทยุ เก้าอี้นวด นวนิยาย คอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ให้ได้ผ่อนคลายตามชอบ เน้นการทำงานร่วมกันแบบพี่น้อง จัดให้มีการประชุมทุกเดือน เพื่อนำปัญหาจากการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง ทั้งปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาบริษัท บ้านเมือง เพื่อให้ทันเหตุการณ์ และขจัดปัญหาเหล่านั้นออกไป ไม่ให้อยู่ในระบบการทำงานที่มีความเครียดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

การเปิดหลักสูตร ATC Fast Track

อัตราการเติบโตของปริมาณเที่ยวบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา บริษัทฯ มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรทางสายงานนี้ให้ทันต่อความต้องการของอุตสาหกรรมการบินโลก จึงได้เปิดหลักสูตร ATC Fast Track ขึ้นมา เริ่มจากสรรหาบุคคลที่จบปริญญาตรีจากสาขาใดก็ได้ อายุไม่เกิน 27 ปี สอบโทอิกผ่าน 600 คะแนน วิธีการคัดเลือกจะใช้กระบวนการทดสอบความรู้อาทิ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ข้อสอบจะให้ทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน และมีการตรวจด้านจิตเวชด้วย ผู้ที่ผ่านด่านแรกนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป คือการทดสอบความสามารถทางด้านการพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ สอบสัมภาษณ์ จนผ่านการเลือกมาทั้งสิ้นรุ่นละ 40 คน

ข้อใดคือท่าอากาศยานของบริษัท

หลังจากผ่านข้อเขียนและสัมภาษณ์แล้ว จะต้องเข้ารับการอบรม Intensive Course เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการทดสอบผลการเรียนด้วย ถือเป็นการทดลองเรียนก่อน ยังไม่ถือว่ารับเป็นพนักงานของ ATC และมีสัญญาว่า ผู้ที่เรียนไม่ไหวสามารถออกไปได้ แต่จะไม่มีสิทธิ์ทำงานในส่วนใดของ ATC ส่วนผู้ที่ผ่านการทดสอบในขั้นตอนนี้ ทางบริษัทวิทยุการบินฯ จะทำการบรรจุเป็นพนักงานในตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป” และส่งไปอบรมยังสถาบันการบินพลเรือนเป็นระยะเวลา 8 เดือน แล้วจึงมีการทดสอบอีกครั้ง เพื่อทำการคัดเลือกศูนย์ควบคุมการบิน และหอบังคับการบินที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน ในขั้นตอนนี้บริษัทฯ จะเลื่อนตำแหน่งให้เป็น “เจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน” และต้องออกไปทำการฝึกเป็นเวลา 1 ปี และกลับมาสอบเลื่อนขั้นอีกครั้ง โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางอากาศมาเป็นผู้ทดสอบ หากผ่านขั้นนี้ได้แล้ว จะทำงานเป็น Aerodrome Controller หลังจากนั้นต้องสอบเลื่อนขั้นอีกครั้ง เพื่อคัดว่าจะปฏิบัติงานควบคุมด้านใด โดยแยกเป็น 2 ระดับ คือ Approach Control และ Area Control

การเตรียมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ ATC

ต้องถามตนเองว่ามีความชอบงานนี้มากแค่ไหน มีใจรักในงานท้าทายนี้เพียงพอหรือยัง โดยเฉพาะทำงานแบบเข้าเวรเป็นกะได้ไหม (ลักษณะการทำงานของเจ้าหน้าที่ ATC แต่ละผลัดจะมีชั่วโมงการทำงาน 12 ชั่วโมง จะทำ 2 พัก 2 กล่าวคือทำงาน 2 ชั่วโมง แล้วพัก 1 ชั่วโมง (control เครื่องบิน 1 ชั่วโมง และ assistant 1 ชั่วโมง) เข้าเวร morning shift เริ่ม 08.00-20.00 แล้วพัก 24 ชั่วโมง แล้วสลับมาเข้า Night Shift เริ่ม 2 ทุ่ม เลิก 2 โมงเช้า แล้วพัก 48 ชั่วโมง) ทำงานเป็นทีมได้หรือเปล่าว และหากต้องไปปฏิบัติงานที่สนามบินต่างจังหวัดจะไหวหรือไม่ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเจอทั้งสิ้น เนื่องจากช่วงแรกหลังจากจบเรียนภาคทฤษฎีจบ ต้องออกไปทำงานเป็น ATC สนามบินภูมิภาคก่อนเป็นเวลาแรมเดือมแรกปี และที่สำคัญ จะต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วต้องเป็นคนที่ประสานงานได้ดี

สายการบินบางกอกแอร์เวย์สก่อตั้งโดยนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ โดยธุรกิจสายการบินได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2511 เริ่มจากการจัดตั้งเป็นแผนกการบินของ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งมีนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นเจ้าของ หลังจากนั้น ในปี 2527 จึงได้ก่อตั้ง บริษัท สหกลแอร์ จำกัด ขึ้น เพื่อรับโอนกิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงแผนกการบินจากบริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด และในภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด”

บริษัทฯ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินแบบประจำอย่างเป็นทางการภายใต้ ชื่อปัจจุบันคือ “สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส” นับตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา โดยวันที่ 20 มกราคม 2529 ได้ให้บริการเที่ยวบินแรก (เที่ยวบินปฐมฤกษ์) โดยการให้บริการแบบประจำในช่วงแรก ทำการบินในเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา กรุงเทพ-สุรินทร์ และกรุงเทพ-กระบี่ ด้วยเครื่องบินแบบ BANDEIRANTE EMB-110 ขนาดความจุผู้โดยสาร 18 ที่นั่ง และในปี 2532 บริษัทฯ ได้สร้างสนามบินแห่งแรกที่เกาะสมุย ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาเกาะสมุยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ โดยบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินงานในสนามบินสมุย และได้รับอนุญาตให้ทำการบินในเส้นทางการบินแรกคือ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย พร้อมกับได้รับรหัสการบินจาก IATA คือ รหัสการบิน “PG” ต่อมาในปี 2535 ได้มีการนำเครื่องบินไอพ่น “FOKKER –100” ความจุผู้โดยสาร 107 ที่นั่ง เข้ามาบริการ ในปี 2537 จึงได้เข้าร่วมในสำนักหักบัญชีของ IATA (IATA Clearing House) และได้เริ่มนำเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 จำนวน 2 ลำ มาใช้ในฝูงบิน

ในปี 2541 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการในสนามบินแห่งที่สอง คือ สนามบินสุโขทัย และในปี 2543 ได้เริ่มนำเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 717-200 ลำแรกมาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการการบินของบริษัทฯ เนื่องจากมีความรวดเร็วและมีจำนวนที่นั่งมากขึ้น พร้อมกันนี้บริษัทฯ เริ่มดำเนินงานในส่วนของโรงซ่อมอากาศยานที่สนามบินดอนเมืองและเข้าเป็นสมาชิกของ IATA Billing and Settlement Plan (BSP) ซึ่งทำให้บริษัทฯ เพิ่มฐานการขาย และยังสามารถรับชำระราคาบัตรโดยสารที่จำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่ได้รับอนุญาตจาก IATA ผ่านระบบชำระเงินของธนาคารที่บริหารจัดการโดย IATA ได้จนกระทั่งในปี 2545 จึงได้เข้าเป็นสมาชิกสามัญของ IATA ซึ่งหมายถึงการเข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัยในการบินพาณิชย์สากลนานาชาติภายใต้ IATA Operational Safety Audit (“IOSA”) และในปี 2549 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินกิจการสนามบินแห่งที่สามคือ สนามบินตราด

วันที่ 9 เมษายน 2550 บริษัทฯ ได้รับพระราชทาน หนังสือตราตั้ง (ตราครุฑ) ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจอันสูงสุดแก่พนักงานทุกคน ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้ทำการจดทะเบียนเป็นบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ชื่อบริษัทบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)  
ก่อตั้ง2511, บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด
2529, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการ
ผู้อำนวยการใหญ่
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ
ฐานปฏิบัติการสนามบินสุวรรณภูมิ
สนามบินภายใต้การดูแลของบริษัทฯสนามบินสมุย (2532)
สนามบินสุโขทัย (2539)
สนามบินตราด (2546)
IATA Code / ICAO CodePG / BKP
จำนวนเครื่องบินในฝูงบิน38
Frequent Flyer ProgramFlyerBonus, Bangkok Airways
จุดหมายปลายทางภายในประเทศ : 11
ต่างประเทศ : 14
เว็บไซต์http://www.bangkokair.com
Call Center1771