พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเลือกตั้งโดยการหย่อนบัตรในฝรั่งเศส

อายุที่มีสิทธิเลือกตั้งเป็นอายุขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลนั้นต้องมีอายุไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่มีกำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่พบว่าบางประเทศสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ตั้งแต่ 16 ปี ในทางกลับกันในบางรัฐกำหนดไว้สูงถึง 25 (รายละเอียดตามรายการด้านล่างนี้) โดยมากแล้วอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจะระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศได้กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ที่ต้องทำสำหรับผู้มีสิทธิ์ ในขณะที่หลายประเทศไม่ได้บังคับแต่อย่างใด

นับแต่มีสิทธิ์การออกเสียงในระบอบประชาธิปไตย เดิมนั้นได้กำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 21 ปีหรือสูงกว่า ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1970 หลายประเทศได้ลงอายุขั้นต่ำลงเป็น 18 ปี ในหลายประเทศมีการถกประเด็นในการลดอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งให้ต่ำกว่า 18 ปี

ประวัติ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้กำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ไม่น้อยกว่า 16 ปี[1]

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)-ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) เกือบทุกประเทศได้กำหนดอายุขั้นต่ำที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 21 ปี กระทั่งในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) เช็กโกสโลวาเกียเป็นประเทศแรกของโลกที่ลดอายุขั้นต่ำลงเหลือ 20 ปี จากนั้นภายในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) มี 17 ประเทศได้ลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลง[2] หลายประเทศได้ทยอยลดอายุขั้นต่ำนี้ลงในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1960-1970 โดยเฉพาะในยุโรปตะวันตก โดยเริ่มที่สหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512)[3], สหรัฐในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 26, แคนาดาและเยอรมนีตะวันตกในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515), ออสเตรเลียและฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) และอีกหลายประเทศต่อมา กระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 20 อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งของหลายรัฐทั่วโลกกำหนดไว้ที่ 18 ปี อย่างไรก็ตามยังมีบางดินแดนที่ยังคงกำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ 20 ปีหรือสูงกว่า และมีส่วนหนึ่งที่กำหนดไว้ที่ 16 และ 17 ปี[4]

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 นั้น อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และโมร็อกโก ได้ลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเหลือ 18 ปี ส่วนญี่ปุ่นได้ลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงจาก 20 ปีเป็น 18 ปีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559)[5]

จากข้อมูลในค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) มัลดีฟส์มีการถกในประเด็นดังกล่าว[6][7]

อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งแต่ละประเทศ[แก้]

พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง

  16 ปี

  17 ปี

  18 ปี

  19 ปี

  20 ปี

  21 ปี

โดยมากแต่ละรัฐได้กำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ 18 ปี ส่วนติมอร์ตะวันออก กรีซ อินโดนีเซีย เกาหลีเหนือ ซูดานใต้ และซูดานกำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 17 ปี ในขณะที่อาร์เจนตินา ออสเตรีย บราซิล คิวบา เอกวาดอร์ มอลตา นิการากัว และไอล์ออฟแมน เจอร์ซีย์ เกิร์นซีย์ (ซึ่งเป็นสามดินแดนปกครองตนเองภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร) กำหนดไว้ที่ 16 ปี อายุขั้นต่ำที่มากที่สุดที่กำหนดไว้อยู่ที่ 21 ปียังมีผลบังคับใช้ในหลายดินแดน บางประเทศมีการกำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่หลากหลาย โดยมักกำหนดให้ลดอายุขั้นต่ำลงในการออกเสียงในระดับรัฐ ท้องถิ่น หรือเทศบาล

มีเพียงนครรัฐวาติกันที่กำหนดอายุของพระคาร์ดินัลในการเลือกสมเด็จพระสันตปาปาไว้สูงสุดที่ 80 ปี

รายชื่อประเทศเรียงตามตัวอักษร[แก้]

รายชื่อที่เรียงตามตัวอักษรดังต่อไปนี้แสดงอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก[8]

ก[แก้]

  • กรีซ เดิมกำหนดไว้ที่ 18 ปี นับแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) เป็นต้นไปได้ลดลงเหลือ 17 ปี[9]
  • กรีนแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กวม กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้เป็นพลเมืองสหรัฐ
  • กัมพูชา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กัวเดอลุป กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กัวเตมาลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี ส่วนกำลังพลในกองประจำการไม่อาจออกเสียงได้และถูกจำกัดอยู่ภายในค่ายทหารในวันเลือกตั้ง
  • กาตาร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กานา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กาบอง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กาบูเวร์ดี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กายอานา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กินี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กินี-บิสเซา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • กือราเซา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เกรเนดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เกาหลีใต้ เดิมกำหนดไว้ที่ 19 ปี ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ได้กำหนดไว้ที่ 18 ปี[10]
  • เกาหลีเหนือ กำหนดไว้ที่ 17 ปี ส่วนกำลังพลทหารมีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนโดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุ[11]
  • เกาะนอร์ฟอล์ก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เกิร์นซีย์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี[12]
  • แกมเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โกตดิวัวร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ค[แก้]

  • คอซอวอ กำหนดไว้ที่ 18 ปี[13][14]
  • คอโมโรส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • คอสตาริกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • คาซัคสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • คิริบาส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • คิวบา กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • คีร์กีซสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • คูเวต กำหนดไว้ที่ 21 ปีสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นทหารหรือตำรวจ และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงต้องเป็นพลเมืองอย่างน้อย 20 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลดจำนวนปีลงเหลือ 18 ปี[15]
  • เคนยา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แคนาดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แคเมอรูน กำหนดไว้ที่ 20 ปี
  • โครเอเชีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โคลอมเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี

จ[แก้]

  • จอร์เจีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • จอร์แดน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • จาเมกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • จิบูตี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • จีน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เจอร์ซีย์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี

ช[แก้]

  • ชาด กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ชิลี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เช็กเกีย (สาธารณรัฐเช็ก) กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ซ[แก้]

  • ซานมารีโน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ซามัว กำหนดไว้ที่ 21 ปี
  • ซาอุดีอาระเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ซินต์มาร์เติน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ซิมบับเว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ซีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ซูดาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ซูรินาม กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซเชลส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี[16]
  • เซนต์คิตส์และเนวิส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซนต์ลูเชีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซนต์เฮเลนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซเนกัล กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซอร์เบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี[17]
  • เซาตูเมและปรินซีปี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซาท์ซูดาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เซียร์ราลีโอน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แซมเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แซ็งปีแยร์และมีเกอลง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โซมาเลีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไซปรัส กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ญ[แก้]

  • ญี่ปุ่น เดิมกำหนดไว้ที่ 20 ปี ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ได้กำหนดใหม่เป็น 18 ปี และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ได้กำหนดอายุที่มีสิทธิ์ลงประชามติตามรัฐธรรมนูญจากเดิม 20 ปีเป็น 18 ปี[18][19]

ด[แก้]

  • ดอมินีกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เดนมาร์ก กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ต[แก้]

  • ตรินิแดดและโตเบโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ตองงา กำหนดไว้ที่ 21 ปี
  • ติมอร์-เลสเต กำหนดไว้ที่ 17 ปี
  • ตุรกี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ตูนิเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี (โดยมีข้อยกเว้นบางประการ)[20]
  • ตูวาลู กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เติร์กเมนิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โตโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไต้หวัน กำหนดไว้ที่ 20 ปีสำหรับการเลือกตั้ง และ 18 ปีสำหรับการลงประชามติ

ท[แก้]

  • ทาจิกิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แทนซาเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไทย กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยเป็นผู้มีสัญชาติตั้งแต่เกิดหรือแปลงสัญชาติมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • โทเคอเลา กำหนดไว้ที่ 21 ปี

น[แก้]

  • นอร์ทมาซิโดเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • นอร์เวย์ กำหนดไว้ที่ 18 ปีส่วนผู้ที่อายุ 17 ปีสามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรหากในผู้นั้นมีอายุย่างก้าว 18 ปีในปีที่จัดการเลือกตั้ง
  • นามิเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • นาอูรู กำหนดไว้ที่ 20 ปี
  • นิการากัว กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • นิวแคลิโดเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • นิวซีแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • นีวเว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เนเธอร์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เนปาล กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไนจีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไนเจอร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี

บ[แก้]

  • บราซิล กำหนดไว้ที่ 16 ปี และให้ผู้มีอายุในช่วง 18-70 ปีต้องไปใช้สิทธิ์ เว้นการบังคับนั้นแก่พลเมืองที่ไม่รู้หนังสือ
  • บรูไนดารุสซาลาม กำหนดไว้ที่ 18 ปี (เฉพาะการเลือกตั้งระดับหมู่บ้าน)
  • บอตสวานา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี เว้นแต่ผู้มีงานทำได้กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • บังกลาเทศ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • บัลแกเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • บาร์เบโดส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • บาห์เรน กำหนดไว้ที่ 20 ปี[21]
  • บาฮามาส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • บุรุนดี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • บูร์กินาฟาโซ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เบนิน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เบลเยียม กำหนดให้ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปใช้สิทธิ์
  • เบลารุส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เบลีซ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เบอร์มิวดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โบลิเวีย กำหนดให้ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปใช้สิทธิ์อย่างทั่วถึง

ป[แก้]

  • ปากีสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยมีการสงวนที่นั่งในรัฐสภาสำหรับผู้หญิงที่ไม่เป็นมุสลิม
  • ปานามา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ปาปัวนิวกินี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ปารากวัย กำหนดให้ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18-75 ปีต้องไปใช้สิทธิ์อย่างทั่วถึง
  • ปาเลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เปรู กำหนดให้ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18-70 ปีต้องไปใช้สิทธิ์อย่างทั่วถึง เดิมทหารและตำรวจแห่งรัฐไม่สามารถลงเสียงเลือกตั้งกระทั่งมีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)[22])
  • เปอร์โตริโก กำหนดไว้ที่ กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้เป็นผู้พำนักบนเกาะจะเป็นพลเมืองสหรัฐ
  • โปรตุเกส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โปแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ฝ[แก้]

  • ฝรั่งเศส กำหนดไว้ที่ 18 ปี

พ[แก้]

  • พม่า กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ฟ[แก้]

  • ฟีจี กำหนดไว้ที่ 18 ปีตามรัฐธรรมนูญ
  • ฟินแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ฟิลิปปินส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
    • สำหรับสภาเยาวชน เดิมกำหนดไว้ที่ 15-18 ปี ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 18-30 ปี โดยผู้มีสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้อยู่ในตำแหน่งได้หากบรรลุอายุที่กำหนดไว้
  • เฟรนช์พอลินีเชีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ภ[แก้]

  • ภูฏาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ม[แก้]

  • มองโกเลีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มอนเตเนโกร กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มอนต์เซอร์รัต กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มอริเชียส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มอริเตเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มอลโดวา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มอลตา กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • มัลดีฟส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มาเก๊า ในกรณีการเลือกตั้งทางตรง ได้กำหนดไว้ที่ 18 ปีอย่างทั่วถึงสำหรับผู้ที่พำนักอย่างถาวรในฮ่องกงภายใน 7 ปีที่ผ่านมา ส่วนการเลือกตั้งทางอ้อมได้จำกัดผู้มีสิทธิ์ไว้เฉพาะกลุ่มบริษัทที่ลงทะเบียนไว้ (ปัจจุบันมีการลงทะเบียนทั้งสิ้น 973 เสียง) และสมาชิกจากองค์กรปกครองส่วนภูมิภาค เทศบาล และรัฐบาลกลางจำนวน 300 คน
  • มาดากัสการ์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มายอต กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มาร์ตีนิก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มาลาวี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มาลี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • มาเลเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี (มีผลในอนาคต)[23]
  • เม็กซิโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โมซัมบิก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โมนาโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โมร็อกโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไมโครนีเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ย[แก้]

  • ยิบรอลตาร์ กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีเป็นต้นไปมีสิทธิ์อย่างทั่วถึง รวมทั้งพลเมืองอังกฤษอื่นที่พำนักในดินแดนไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • ยูกันดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ยูเครน กำหนดไว้ที่ 18 ปี[24]
  • เยเมน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เยอรมนี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
    • กำหนดไว้ที่ 16 ปีไว้สำหรับการเลือกตั้งระดับรัฐ ได้แก่
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      รัฐบรันเดินบวร์ค
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      เบรเมิน
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      ฮัมบวร์ค
      และ
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
    • กำหนดไว้ที่ 16 ปีไว้สำหรับการเลือกตั้งระดับเทศบาล ได้แก่
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      เบอร์ลิน
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      รัฐบรันเดินบวร์ค
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      เบรเมิน
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      ฮัมบวร์ค
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      รัฐเมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      นีเดอร์ซัคเซิน
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์
      ,
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
      และ
      พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีอายุครบกี่ปีมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       
      ทือริงเงิน
      [25]

ร[แก้]

  • รวันดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • รัสเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เรอูนียง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โรมาเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ล[แก้]

  • ลักเซมเบิร์ก กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยกำหนดให้ต้องไปใช้สิทธิ์กระมั่งอายุ 75 ปี ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) มีการลงประชามติระดับชาติเพื่อลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงเหลือ 16 ปี แต่เป็นอันตกไปด้วยเสียงร้อยละ 81
  • ลัตเวีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ลาว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ลิกเตนสไตน์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ลิทัวเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ลิเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เลโซโท กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เลบานอน กำหนดไว้ที่ 21 ปี แม้จะมีความพยายามจะแก้เป็น 18 ปีแต่เป็นอันตกไปเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)[26]
  • ไลบีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ว[แก้]

  • วานูวาตู กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • วาลิสและฟูตูนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เวลส์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี สำหรับสำหรับการการเลือกสมาชิกรัฐสภาและสภาท้องถิ่น และ 18 ปีสำหรับพลเมืองเวลส์ทุกคนและผู้พำนักในการเลือกตั้งระดับสหราชอาณาจักร
  • เวสเทิร์นสะฮารา ไม่ได้กำหนดไว้ (กำหนดไว้ที่ 18 ปีสำหรับผู้พำนักในเวสเทิร์นสะฮาราในควบคุมของโมร็อคโคในการเลือกตั้งของโมร็อคโค[27]
  • เวเนซุเอลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เวียดนาม กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ศ[แก้]

  • ศรีลังกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ส[แก้]

  • สก็อตแลนด์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • สเปน กำหนดไว้ที่ 18 ปี (ยกเว้นการลงประชามติแยกแคว้นกาตาลุญญาออกเป็นรัฐอิสระในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ได้กำหนดไว้ที่ 16 ปี)
  • สโลวาเกีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • สโลวีเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • สวิตเซอร์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี (16 ปีสำหรับการเลือกตั้งระดับรัฐและการเลือกตั้งระดับเทศบาลในรัฐกลารุส[28][29] [1/26])
  • สวีเดน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • สหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี อย่างไรก็ตาม ในหลายรัฐ บุคคลที่มีอายุ 17 ปีได้รับอนุญาตให้เลือกตั้งขั้นต้นหากผู้นั้นจะมีอายุ 18 ปีในหรือก่อนวันที่มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่ได้กำหนดไว้[27] แต่ได้กำหนดไว้ที่ 25 ปีในกรณีการเลือกสมาชิกสภาแห่งรัฐ โดยประกอบด้วยบุคคลเพียงบางส่วนจากพลเมืองทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญ (ในการกำหนดอายุขั้นต่ำขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ ซึ่งอาจมีความหลากหลายก็ได้)[30]
  • สหราชอาณาจักร กำหนดไว้ที่ 18 ปี
    • สำหรับการลงประชามติเอกราช การเลือกสภาผู้แทน และการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นของสก็อตแลนด์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี[31]
    • สำหรับการการเลือกสมาชิกรัฐสภาและสภาท้องถิ่นของเวลส์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • สาธารณรัฐคองโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • สาธารณรัฐโดมินิกัน กำหนดให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและบุคคลที่สมรสแล้วต้องไปใช้สิทธิ์ ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไม่อนุญาตให้ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง
  • สาธารณรัฐแอฟริกากลาง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • สิงคโปร์ กำหนดไว้ที่ 21 ปี

ห[แก้]

  • หมู่เกาะคุก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะเคย์แมน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะโซโลมอน กำหนดไว้ที่ 21 ปี
  • หมู่เกาะเติกส์และเคคอส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้เป็นคนพื้นเมืองพลเมืองสหรัฐ
  • หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะพิตแคร์น กำหนดไว้ที่ 16 ปีให้มีสิทธิ์อย่างทั่วถึง รวมทั้งผู้ที่พำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะแฟโร กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะมาร์แชลล์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้พลเมือของเกาะจะเป็นพลเมืองสหรัฐ

อ[แก้]

  • อเมริกันซามัว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ออสเตรเลีย กำหนดให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปใช้สิทธิ์
  • ออสเตรีย กำหนดไว้ที่ 16 ปี[32]
  • อังกฤษ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อันดอร์รา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อัฟกานิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อาเซอร์ไบจาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อารูบา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อาร์เจนตินา กำหนดไว้ที่ 16 ปี และให้ผู้มีอายุในช่วง 18-70 ปีต้องไปใช้สิทธิ์
  • อาร์มีเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อิเควทอเรียลกินี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อิตาลี กำหนดไว้ที่ 18 ปี และ 25 ปีในการเลือกตั้งวุฒิสภา
  • อินเดีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อินโดนีเซีย กำหนดไว้ที่ 17 ปี การบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสในอายุก่อน 17 ปีไม่มีผล ยกเว้นทหารและตำรวจ
  • อิรัก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อิสราเอล กำหนดไว้ที่ 18 ปี และ 17 ปีในการเลือกตั้งระดับเทศบาล
  • อิหร่าน กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ได้แก่ จาก 15 ปีเป็น 18 ปีในปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) จากนั้นเปลี่ยนกลับเป็น 15 ปีในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) และเปลี่ยนกลับเป็น 15 ปีในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554)[33][34][35][36]
  • อียิปต์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • อุซเบกิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี[37]
  • อุรุกวัย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เอกวาดอร์ กำหนดไว้ที่ 16 ปีให้มีสิทธิ์อย่างทั่วถึง และให้ผู้มีอายุในช่วง 18-65 ปีที่รู้หนังสือต้องไปใช้สิทธิ์ ส่วนในกรณีของผู้มีอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งนอกจากกรณีนี้จะใช้สิทธิ์หรือไม่ก็ได้
  • เอธิโอเปีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เอริเทรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เอลซัลวาดอร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เอสโตเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี และ 16 ปีในการเลือกตั้งท้องถิ่น
  • เอสวาตีนี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แองโกลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แองกวิลลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แอนติกาและบาร์บูดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แอฟริกาใต้ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แอลจีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • แอลเบเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • โอมาน กำหนดไว้ที่ 21 ปี ยกเว้นทหารและตำรวจ
  • ไอซ์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ไอล์ออฟแมน กำหนดไว้ที่ 16 ปี
  • ไอร์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี

ฮ[แก้]

  • ฮอนดูรัส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • ฮ่องกง ในกรณีการเลือกตั้งทางตรง ได้กำหนดไว้ที่ 18 ปีอย่างทั่วถึงสำหรับผู้ที่พำนักอย่างถาวรในฮ่องกงภายใน 7 ปีที่ผ่านมา ส่วนการเลือกตั้งทางอ้อมได้จำกัดผู้มีสิทธิ์ไว้เฉพาะกลุ่มประมาณ 220,000 คนและสมาชิกจากองค์กรปกครองส่วนภูมิภาค เทศบาล และรัฐบาลกลางจำนวน 1,200 คน
  • ฮังการี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
  • เฮติ กำหนดไว้ที่ 18 ปี

อ้างอิง[แก้]

  1. Eybers, G. W., บ.ก. (1918). Select constitutional documents illustrating South African history, 1795-1910. London: Routledge. p. 495. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27. Wet No. 5, 1890 [...] Om kiezer te zijn, moet men den ouderdom van 16 jaren bereikt hebben. [Law No. 5, 1890 ... In order to be a voter one must have reached the age of 16 years.]
  2. "Lowering the Minimum Voting Age to 18 Years - Pro and Con Arguments", Constitutional Revision Study Documents of the Maryland Constitutional Convention Commission, 1968. Retrieved 5 February 2007.
  3. w:en:Representation of the People Act 1969
  4. "Comparative data". ACE - The Electoral Knowledge Network. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
  5. Young voters hope to reform Japan's 'silver democracy'. The Japan Times. Published 8 July 2016. Retrieved 7 November 2018.
  6. Moosa, A.S.I. (1 เมษายน 2007). "The murderous dictator and the 'Bullet-Ballot' propaganda". Dhivehi Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007.
  7. HeveeruOnline "Committee supports lowering voting age to 18 for referendum Mar 20, 2007" เก็บถาวร 2 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 8 March 2015.
  8. "Comparative Data —". aceproject.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2013.
  9. Εφημερίδα της Κυβερνήσεως τη Ελληνικής Δημοκρατίας [Government Gazette of the Hellenic Republic] (ภาษากรีก), vol. A, Athens: National Publishing House, 27 July 2016, สืบค้นเมื่อ 12 February 2019
  10. "(3rd LD) National Assembly passes electoral reform bill amid opposition lawmakers' protest". Yonhap News Agency. 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  11. "NK constitute law". Unibook.unikorea.go.kr. 8 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  12. Reform (Guernsey) Law, 1948, s. 28(1) เก็บถาวร 4 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; amended by Reform (Guernsey) (Amendment) Law, 2007 (adopted on 31 October 2007, sanctioned on 12 December and registered and coming into force on 19 December).
  13. Kosovo. Youthpolicy.org. Retrieved 6 January 2019.
  14. "Legal Voting Age by Country". WorldAtlas. 7 September 2017. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
  15. "NA panel lowers voting age to 18". kuwaittimes.net. 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 4 February 2012.[ลิงก์เสีย]
  16. Inter-Parliamentary Union. "IPU PARLINE database: SEYCHELLES (National Assembly), Full text". Ipu.org. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  17. "Constitution of the Republic of Serbia". srbija.gov.rs. สืบค้นเมื่อ 5 March 2007.
  18. Young voters hope to reform Japan’s ‘silver democracy’. The Japan Times. Published 8 July 2016. Retrieved 7 November 2018.
  19. Japan lowers minimum voting age for constitutional referendums to 18. The Japan Times. Published 21 June 2018. Retrieved 7 November 2018.
  20. Inter-Parliamentary Union. "IPU PARLINE database: TUNISIA (Al-Majlis Al-watani Al-Taasisi), Electoral system". Ipu.org. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  21. "IPU PARLINE database: BAHRAIN (Majlis Al-Nuwab), Electoral system". archive.ipu.org.
  22. "Militares y policías podrán votar en las próximas elecciones". terra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-08. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  23. Mutalib, Zanariah Abd (2019-10-10). "Penguatkuasaan undi 18 tahun selewat-lewatnya Julai 2021". BH Online (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 2020-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. (ในภาษายูเครน) Перший крок до зриву виборів (The first step to disrupt the elections), w:en:Ukrayinska Pravda (9 April 2012)
  25. Wahlrecht Wikipedia German Wikipedia article containing all references for each state. Retrieved 11 October 2014.
  26. "Lebanon shoots down bill to lower voting age". Middle-east-online.com. 22 กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2013.
  27. ↑ 27.0 27.1 "Suffrage". www.cia.gov. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2008. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009.
  28. "Swiss canton drops voting age to 16". AP/International Herald Tribune Europe. 6 May 2007. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
  29. "Glarus lowers voting age to 16". 24 Heures. 7 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
  30. Inter-Parliamentary Union (16 February 2011). "IPU PARLINE database: UNITED ARAB EMIRATES (Majlis Watani Itihadi), Electoral system". Ipu.org. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ scotlandcut
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ final Austria Bill
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Iran increase
  34. "Iran: Council of Ministers Approves Lowering Voting Age". Library of Congress. 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
  35. "Voting Age back to 18". Jame Jam Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
  36. "Voting Age". Khabar Online. 2013-06-14.
  37. "Comparative Data —". aceproject.org.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Hyde, Martin (2001). Democracy education and the Canadian voting age (Ph.D thesis). University of British Columbia. hdl:2429/12999.
  • Folkes, Alex (January 2004). "The case for votes at 16". Representation. 41 (1): 52–56. doi:10.1080/00344890408523288.
  • Cowley, Philip; Denver, David (January 2004). "Votes at 16? The case against". Representation. 41 (1): 57–62. doi:10.1080/00344890408523289.
  • Melo, Daniela F.; Stockemer, Daniel (January 2014). "Age and political participation in Germany, France and the UK: a comparative analysis". Comparative European Politics. 12 (1): 33–53. doi:10.1057/cep.2012.31. Abridged version (pdf).
  • Chan, T.W. & Clayton, M. 2006, "Should the Voting Age be Lowered to Sixteen? Normative and Empirical Considerations", Political Studies, vol. 54, no. 3, pp. 533–558.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Field Listing - Suffrage from the CIA World Factbook
  • A more complete list of voting ages around the world (in German)
  • Youth Suffrage Resources