การคุ้มครองลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

การคุ้มครองลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

กฎหมายลิขสิทธิ์เกิดจากการลงนามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนามเช่นกัน

กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองความคิดของผู้คน เมื่อผู้หนึ่งได้ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้สติปัญญา ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนโดยไม่ได้ลอกเลียน หรือดัดแปลงมาจากงานของคนอื่น จนเกิดเป็นผลงานสร้างขึ้นโดยความคิดของผู้สร้างสรรค์เอง กฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์นั้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องยื่นเพื่อจดทะเบียนเพื่อขอรับการคุ้มครองเหมือนกับสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า

อย่างไรก็ดี แต่ละประเทศอาจมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในเรื่องอายุการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ สำหรับกฎหมายไทย โดยทั่วไปแล้วงานสิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองอย่างอัตโนมัติตั้งแต่แรกวันที่งานลิขสิทธิ์นั้นได้สร้างสรรค์ขึ้นมา และมีได้รับการคุ้มครองไปจนถึง 50 ปี หลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต ขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่ทำขึ้้นภายหลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้รับการคุ้มครองอย่างอัตโนมัติตั้งแต่แรกวันที่งานลิขสิทธิ์นั้นได้สร้างสรรค์ขึ้นมา และมีได้รับการคุ้มครองไปจนถึง 50 ปีหลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต

เราอาจกล่าวได้ว่าแม้ว่ารายละเอียดของกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติของแต่ละประเทศที่ลงนามต่องานลิขสิทธิ์จะต่างกัน อายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างกัน หรือบทลงโทษเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ต่างกัน แต่งานสิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองในประเทศที่ลงนามอย่างแน่นอน โดยยึดถือหลักการหลักเดียวกันคือ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิเหนือผลงานลิขสิทธิ์ มีเพียงเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะนำงานลิขสิทธิ์นั้นไปใช้ได้

ดังนั้น แม้ว่างานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติในกฎหมายไทยโดยไม่ต้องจดทะเบียนก่อน แต่หากเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการใช้ประโยชน์จากลิขสิทธิ์ในทางการค้า เช่น ต้องการใช้สิทธิกีดกันผู้อื่นจากการทำซ้ำ การจำหน่าย การแสดง การเผยแพร่ภาพ หรือการใช้เนื้อหามาดัดแปลงโดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของอาจต้องเตรียมหลักฐานความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จดแจ้งลิขสิทธิ์ หรือประกาศโฆษณางานลิขสิทธิ์นั้น เพื่อที่จะได้มีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิทธิอย่างชัดเจนและไม่เสี่ยงถูกฟ้องกลับ เวลาดำเนินการฟ้องผู้ทีละเมิดลิขสิทธิ์ในอนาคต

IP-Thailand ให้บริการจดลิขสิทธิ์แก่ผลงานทุกประเภท และพร้อมให้คำปรึกษาฟรีในทุกประเด็น ติดต่อเราได้เลยผ่านไลน์ @ipthailand

ที่มา

https://api.dtn.go.th/files/v3/5cff753e1ac9ee073b7bd533/download

Skip to content

  • เกี่ยวกับเรา
    • เราคือใคร
    • ผลงานของเรา
  • บริการของเรา

      • บริการสิทธิบัตรHOT
      • บริการเครื่องหมายการค้าHOT
      • บริการลิขสิทธิ์
      • หลักสูตรและฝีกอมรม
      • บริการจดทะเบียนนิติบุคคล
      • บริการออกแบบ

  • เครื่องมือฟรี
    • ตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
    • ตรวจสุขภาพทรัพย์สินทางปัญญา
    • ATP ask
  • บทความและความรู้
  • ติดต่อเรา
  • ขอใบเสนอราคา

ลิขสิทธิ์ คืออะไร ตัวอย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่อะไรบ้าง

ลิขสิทธิ์ คืออะไร ตัวอย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่อะไรบ้าง

  • View Larger Image
    การคุ้มครองลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา) โดยการสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน ซึ่งจะคุ้มครองทุกประเทศภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น ถ้าเราสามารถพิสูจน์ได้ว่า เราเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นี้จริงๆ

อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญามีบริการจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเพียง “การจดแจ้ง” เท่านั้น ไม่ได้แสดงว่าเราเป็นเจ้าของ เพียงแต่กรมฯได้รับทราบว่าเราได้สร้างสรรค์ขึ้นในวันที่เท่าไหร่ หากมีการพิสูจน์ขึ้นมาก็จะได้มีหลักฐานว่าเราได้สร้างสรรค์งานนี้

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  • ประเภทและตัวอย่างของงาน ลิขสิทธิ์
    • งานวรรณกรรม
    • งานนาฏกรรม
    • งานศิลปกรรม
    • งานดนตรีกรรม
    • งานสิ่งบันทึกเสียง
    • งานโสตทัศนวัสดุ
    • งานภาพยนตร์
    • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
    • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
  • สิทธิ์ของเจ้าของงาน
  • ผลงานที่ไม่ถือเป็นงาน ลิขสิทธิ์
  • ประโยชน์ของลิขสิทธิ์
    • ประโยชน์แก่เจ้าของ ลิขสิทธิ์
    • ประโยชน์แก่สาธารณะ
  • สรุป
  • เพิ่มเติม

ประเภทและตัวอย่างของงาน ลิขสิทธิ์

งานลิขสิทธิ์ที่ทุกคนเรียกติดปากกันนั้น ความจริงแล้วมีการคุ้มครองหลากหลายประเภท ทั้งงานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม แพร่ภาพแพร่เสียง งานศิลปกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนต์ เป็นต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

งานวรรณกรรม

งานวรรณกรรม อันได้แก่งานเขียนต่างๆที่เราเขียนหรือประพันธ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์

รู้หรือไม่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติโดยไม่ต้องจดทะเบียน

งานนาฏกรรม

งานนาฏกรรม ได้แก่ การออกแบบท่าเต้น ท่ารำรวมถึงการแสดงต่างๆ และละครใบ้ก็จัดเป็นงานนาฏกรรมประเภทหนึ่ง

งานศิลปกรรม

งานศิลปกรรม คืองานภาพเขียน ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ

งานศิลปะประยุกต์ คืองานศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่รวมงานในย่อหน้าที่ 1 ไว้มากกว่า 1 ชนิด

งานดนตรีกรรม

งานดนตรีกรรม คืองานออกแบบทำนอง เนื้อร้อง

งานสิ่งบันทึกเสียง

สิ่งบันทึกเสียง ได้แก่เทปหรือซีดีที่มีการบันทึกเสียงไว้ โดยไม่รวมถึงการบันทึกภาพยนต์

งานโสตทัศนวัสดุ

คือสิ่งสำหรับบันทึกเสียงหรือภาพ ที่เราสามารถนำมาเล่นซ้ำโดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถอ่านสิ่งงนั้นได้ เช่น ซีดี วีซีดี เป็นต้น

งานภาพยนตร์

ได้แก่ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์

งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

งานแพร่ภาพแพร่เสียง คืองานเผยแพร่และกระจายเสียง เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ การ Live Streaming เป็นต้น

งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

สิทธิ์ของเจ้าของงาน

1.ทำซ้ำ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถคัดลอก ทำสำเนา ได้ เช่น การถ่ายเอกสาร การ copy save เป็นต้น

2.ดัดแปลง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตัวเองได้ เช่น รูปการ์ตูนย์ สามารถออกแบบให้มีท่าทางต่างๆ หรือเปลี่ยนชุดแต่งกายได้ การดัดแปลงบทละคร หรือการนำการ์ตูนย์มาทำเป็นภาพยนต์ เป็นต้น

3.เผยแพร่ต่อสาธารณะ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ที่จะนำงานลิขสิทธิ์ของตนเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ เช่น นำมาจัดแสดง การจำหน่าย การเปิดเพลงในที่สาธารณะ เป็นต้น

รู้หรือไม่ การเปิดเพลงฟังส่วนตัวที่บ้านหรือโพสรูปแบบไม่เป็นสาธารณะ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณะ

4.ให้เช่าต้นฉบับ ในงานประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากการให้สิทธิ์ผู้อื่นในช่วงเวลาหนึ่งแล้วเก็บเงินได้ เช่น การให้เช่าหนัง เพลง เป็นต้น

5.ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ยกประโยชน์อันเกิดจากค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้อื่นได้

6.อนุญาติให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ กรณีเจ้าของไม่ประสงค์หรือไม่สะดวกใช้งานลิขสิทธิ์ของตนเอง เจ้าของสามารถอนุญาติให้ผู้อื่นใช้งานลิขสิทธิ์ของตนได้ โดยอาจได้รับเป็นเงินค่าตอนแทน

ผลงานที่ไม่ถือเป็นงาน ลิขสิทธิ์

1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งเป็นความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่งานวรรณกรรมที่เราแต่งขึ้น ดังนั้นทุกคนจึงสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้

2. รัฐธรรมนูญ และกฏหมาย

3. ระเบียบ ข้อบังคับที่ประกาศโดยกระทรวง กรม ต่างๆ

4. คำพิพากษา คำวินิจฉัยและรายงานที่ออกโดยราชการ

5. คำแปลและการรวบรวมของเอกสารในข้อ 1-4

ประโยชน์ของลิขสิทธิ์

ประโยชน์แก่เจ้าของ ลิขสิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้สร้างสรรค์จะได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการ ทำซ้ำ ดัดแปล เผยแพร่ ให้เช่าและขายงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ ย่อมก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้สร้างสรรค์เป็นรางวัลตอบแทนต่อความมุมานะ พยายามในการคิดและสร้างสรรค์

ประโยชน์แก่สาธารณะ

ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการคิดและสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองและได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อจะได้นำงานลิขสิทธิ์นั้นมาใช้ประโยชน์อันจะก่อให้เกิดรายได้ต่อไป

สรุป

ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่คุ้มครองการสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดออกมา (express) โดยความคุ้มครองจะเกิดขึ้นทันทีเมื่องานนั้นทุกถ่ายทอดออกมาในลักษณะหนึ่ง เช่น เขียนขึ้น วาดขึ้น เป็นต้น โดยจะคุ้มครองอัตโนมัติในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น ซึ่งงานลิขสิทธิ์มีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม ศิลปกรรม สิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ งนแพร่เสียงแพร่ภาพ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีโอกาสเราสามารถไปจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการสร้างสรรค์งานนี้ขึ้นมาได้

เพิ่มเติม

  • ลิขสิทธิ์คืออะไร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คลิก
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ wikipedia คลิก
  • สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา คลิก

admin2021-12-14T14:40:47+07:00

แชร์เนื้อหาที่น่าสนใจนี้

Page load link

เว็บไซต์ของเรามีการเก็บ cookies ซึ่งเก็บข้อมูลว่าคุณใช้งานเว็บไซต์ของเราอย่างไรและช่วยให้เราจดจำคุณได้ เราใช้ข้อมูลนี้เพื่อการวิเคราะห์และนำมาสู่การทำให้ประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ดียิ่งขึ้น (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ privacy policy) Settings ยอมรับ

Go to Top

ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานใดบ้าง *

งานลิขสิทธิ์ คืออะไร ตอบ งานลิขสิทธิ์มี 9 ประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ข่าวประชาสัมพันธ์

ประโยชน์ของการจดลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง

การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์และมีคุณค่าออกสู่ตลาดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับ ความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ

อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์กี่ปี

ลิขสิทธิ์มีอายุกี่ปี??? ก) กรณีผู้สร้างสรรค์คนเดียว ลิขสิทธิ์มีอายุตลอดอายุ ของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ ความตาย (วรรคแรก) ข) กรณีหากผู้สร้างสรรค์ตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางาน ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก (วรรคสาม)

ลิขสิทธิ์ คืออะไร อธิบาย

ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่คุ้มครองการสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดออกมา (express) โดยความคุ้มครองจะเกิดขึ้นทันทีเมื่องานนั้นทุกถ่ายทอดออกมาในลักษณะหนึ่ง เช่น เขียนขึ้น วาดขึ้น เป็นต้น โดยจะคุ้มครองอัตโนมัติในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น ซึ่งงานลิขสิทธิ์มีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม ...