การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรม ล่วงหน้า ตาม เป้าหมาย ขององค์การคือ ข้อ ใด


💜การวางแผน💜

💥💥การวางแผน💥💥

          ผู้บริหารทุกคนย่อมต้องการทำงานให้สำเร็จและมีความคิดหลายอย่างที่จะหาวิธีให้งานบรรลุเป้าหมายความคิดของผู้บริหารอาจเลื่อนลอยไม่ชัดเจนอาจเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ความคิดของผู้บริหารเป็นความจริงก็คือแผนหากขาดการวางแผนหนทางที่จะบรรลุผลก็เป็นไปได้ยากในแง่ของการบริหารการวางแผนเป็นหน้าที่แรกสุดแล้วก็ตามด้วยหน้าที่การจัดองค์การการจูงใจหรือการนำและการควบคุมการวางแผน มีความสำคัญมากที่จะบอกได้ว่าองค์การจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับองค์การอื่นหรือไม่แผนเป็นสิ่งที่แสดงให้เป็นว่าองค์การพยายามที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่กำลังกระทำอยู่และพยายามทำให้ดีกว่าคนอื่นการวางแผนเป็นการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง

          ความหมายของการวางแผนคือกระบวนการในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นหากจะกล่าวในแง่ของสถานการณ์การวางแผนเป็นกระบวนการในการเผชิญกับความไม่แน่นอนโดยการกำหนดการกระทำขึ้นล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้การวางแผนจะเกี่ยวข้องกัน 2 อย่างคือจุดหมายปลายทางกับวิธีการจุดหมายปลายทางก็คือจะทำอะไรวิธีการก็คือจะทำอย่างไร

          การวางแผนอาจเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่เป็นทางการ เมื่อผู้บริหารมีความคิดที่จะหาวิธีทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายความคิดนั้นอาจเป็นการส่วนตัวคือไม่ได้เขียนไว้ไม่ได้ขอความคิดเห็นจากคนอื่นในองค์การการวางแผนเป็นการส่วนตัวนี้อาจเป็นเรื่องของส่วนบุคคลหรือขององค์การขนาดเล็กการวางแผนส่วนตัวจะขาดความต่อเนื่องและขาดข้อมูล แต่การวางแผนที่เป็นทางการเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนจะต้องเขียนวัตถุประสงค์ไว้จะต้องกำหนดวิธีการอย่างชัดเจนจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในองค์การให้คนในองค์การยอมรับอาศัยข้อมูลจำนวนมากกำหนดระยะเวลาไว้และอื่นๆ

👉👉ความสำคัญของการวางแผน😍😃

          ถ้าจะถามว่าทำไม่ต้องมีการวางแผนอาจตอบได้ง่ายๆว่าเพื่อลดความไม่แน่นอนลงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด หากสถานการณ์ต่างๆในโลกมีความแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนคิดอยากจะทำอะไรก็ได้และก็ประสบผลสำเร็จตามต้องการด้วยแต่เพราะสถานการณ์ต่างๆไม่มีความแน่อนหรือมีความเสี่ยงจึงต้องมีการวางแผน

         💟💫 วัตถุประสงค์ในการวางแผน💨💧

💥1. การวางแผนทำให้รู้ทิศทางในการดำเนินงานเมื่อผู้ปฏิบัติงานรู้ทิศทางการทำงานก็สามารถประสานงานกันรู้ว่าควรทำอะไรและทำอย่างไรจะได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากไม่มีการวางแผนนอกจากไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหนแล้วก็ยังก่อให้เกิดการสูญเสียหรือสิ้นเปลืองทรัพยากรอีกด้วย

💥2. การวางแผนทำให้ลดความไม่แน่นอนลงเพราะผู้บริหารจะมุ่งมั่นไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างแน่วแน่ สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงอันอาจเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้นสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม

💥3.    การวางแผนทำให้ลดความเสียหายการซ้ำซ้อนกันของงานที่ทำ เนื่องจากการวางแผนทำให้รู้ทั้งวิธีการและเป้าหมายของงานจึงทำให้มีความชัดเจนในการทำงานรู้ว่ากิจการรมใดควรทำก่อนหลังอย่างไรการซ้ำซ้อนและการสิ้นเปลืองจึงไม่เกิดขึ้น

💥4. การวางแผนทำให้รู้มาตรฐานในการควบคุมหน้าที่ขั้นสุดท้ายของการบริหารคือ การควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดกิจกรรมที่สำคัญของการควบคุมคือมาตรฐานที่ให้เปรียบเทียบกับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงการวางแผนจึงกำหนดมาตรฐานได้แน่นอนชัดเจนว่างต้องให้ได้ผลงานอย่างไร

💛💚ข้อดีของการวางแผน  การวางแผนจะต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่างในแง่ของปัจจัยภายนอกก็คือ ข้อกำหนดของรัฐเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าแรงงานการเคลื่อนไหวของเงินทุนและอื่นๆส่วนปัจจัยภายในองค์การก็ได้แก่ ประสิทธิภาพในการบริหารงานโครงสร้างองค์การและระบบงานความหลากหลายทางด้านแรงงานความรู้ความสามารถของฝ่ายบริหารการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์และชื่อเสียงขององค์การเป็นต้น การวางแผนจะทำให้องค์การสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับปัจจับภายในและภายนอกองค์การประโยชน์ของการวางแผนมีดังนี้

1. ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารและพนักงานแยกได้เป็น 2 อย่างคือ ควรเน้นอะไรและควรยืดหยุ่นอย่างไร(focus and flexible) ทั้งสองอย่างจะช่วยสร้างอำนาจในการแข่งขันขององค์การควรเน้นอะไรนั้นทำให้องค์การรู้ว่าจะทำอะไรจึงจะดีที่สุดต่อลูกค้าและควรให้บริหารแก่ลูกค้าอย่างไรในแง่ของผู้ปฏิบัติงานก็รู้ว่าควรทำอะไร และทำอย่างไรจึงบรรลุเป้าหมายขององค์การควรยืดหยุ่นอย่างไรก็จะทำให้องค์การสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและสามารถเตรียมรับมือให้เข้ากับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในส่วนของพนักงานก็ทำให้รู้ว่าควรปรับตัวเองอย่างไรให้เข้ากับโอกาสและอุปสรรคที่กำลังจะเกิดขึ้น

การปรับปรุงการปฏิบัติงานอาจสรุปได้ 4 หัวข้อคือประการแรกจะมุ่งไปทางไหนจึงจะบรรลุเป้าหมายสูงสุดประการที่สองควรจะทำอะไรก่อนหลังจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดประการที่สาม จะจัดสรรทรัพยากรอย่างไรจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดประการที่สี่จะปรับตัวอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับสถานการณ์และก่อให้เกิดผลดีที่สุด

2. ปรับปรุงการประสานงานให้ดีขึ้นในองค์การย่อมประกอบด้วยระบบย่อยและกลุ่ม (subsystem and group) หลายระบบและหลายกลุ่มแต่ละระบบแต่ละกลุ่มต่างมีเป้าหมายของตัวเองและต่างทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเองทั้งนั้นการที่จะไม่ให้ระบบย่อยและกลุ่มต่างๆขัดแย้งกันก็ต้องอาศัยการวางแผนที่ดีการวางแผนได้จัดแยกวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายต่างๆ ของระบบย่อยและกลุ่มคนออกมาเป็นลำดับขึ้นของวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายลดหลั่นกันลงมาตั้งแต่สูงสุดไปจนถึงต่ำสุดแต่ละเป้าหมายต่างๆระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นของระบบใดกลุ่มใดและต้องอาศัยหน้าที่หรือกิจกรรมอย่างของแต่ละระบบและแต่ละกลุ่มจึงบรรลุเป้าหมายต่างๆที่กำหนดไว้เมื่อมีการวางแผนอย่างดีกิจกรรมต่างๆของแต่ละระบบและแต่ละกลุ่มจะสอดรับกันอย่างเหมาะสมโดยเป้าหมายในระดับสูงเป็นเสมือนจุดหมายปลายทาง(end) และเป้าหมายในแต่ละระดับล่างเป็นเสมือนวิธีการ (mean)

ปรับปรุงการควบคุมให้ดีขึ้น กิจกรรมของการควบคุมก็คือการวัดผลการปฏิบัติงานและการแก้ไขการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นการวางแผนจะช่วยให้การควบคุมมีประสิทธิภาพเพราะการวางแผนจะต้องกำหนดเป้าหมายขึ้นมาก่อนนั่นก็คือมาตรฐานที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานหรือกำหนดว่าจะต้องทำอย่างไร ถ้าผลการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานก็ต้องแก้ไขที่การปฏิบัติงานและมาตรฐานที่ใช้วัดหรือระบบการควบคุมใหม่ดังนั้นการวางแผนกับการควบคุมจะต้องทำหน้าที่กันอย่างใกล้ชิดในฐานะที่
           3.  เป็นกระบวนการบริหาร หากไม่มีระบบการควบคุมที่ดีการวางแผนก็ขาดการติดตามว่างานบรรลุเป้าหมายหรือไม่หากไม่มีระบบการวางแผนที่ดีการควบคุมก็ขาดกรอบการวัดผลงานว่าได้มีการปฏิบัติงานดีขึ้นหรือไม่ดังนั้น จึงมีเทคนิคการบริหารงานอีกอย่างที่เชื่อมต่อการวางแผนและการควบคุมเข้าด้วยกันคือการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์(MBO) ซึ่งจะกล่าวต่อไป

4. รับปรุงการบริหารเวลาให้ดีขึ้น คนส่วนใหญ่จะประสบกับความยากลำบากในการใช้เวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำวิธีบริหารเวลาอย่างง่ายๆก็คือการกำหนดตารางเวลาไว้ในสมุดบันทึกหรือในปฏิทินเพื่อเตือนความจำว่าวันไหนจะต้องทำอะไรแต่ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ ที่ผู้บริหารใช้เวลาไปกับกิจกรรมหนึ่งมากเกินไปและในอีกกิจกรรมหนึ่งน้อยเกินไปหรือลืมทำกิจกรรมบางอย่างก็มีการวางแผนก็ทำให้การใช้เวลาดีกว่าการไม่วางแผนมีการสมดุลของการใช้เวลามากขึ้นและการสูญเสียเวลาก็ลดลงอย่างไรก็ตามการบริหารเวลาเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการวางแผน ดังนั้นจึงขอกล่าวเรื่องการบริหารเวลาในหัวข้อต่อไป

✌❤การวางแผนกับการบริหารเวลา👀

          ในแง่ของการบริหารได้แบ่งเวลาออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทแรกคือเวลาที่ใช้กับหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา(Boss-Imposed Time) หมายถึงเวลาที่ผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปอีกขึ้นหนึ่งในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงและรวมผู้บริหารระดับสูงเรียกไปปรึกษาหารือเรื่องงานหรือออกคำสั่งให้ทำงานร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือใช้เวลาทำงานให้กับผู้บังคับบัญชาเวลาที่ใช้กับหัวหน้างานนี้เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้จะมากหรือน้อยอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กำหนดเปลี่ยนแปลงไม่ได้มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียแก่ผู้บริหารคนนั้น

          ประเภทที่สองเวลาที่ใช้กับระบบ(System-Imposed Time) หมายถึงการใช้เวลาร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อนร่วมงานในเรื่องเกี่ยงกับการทำงานซึ่งจำเป็นต้องกระทำมิฉะนั้นจะเสียหากเช่น การแก้ปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานอื่นการเข้าร่วมประชุมในบริษัทการจัดตั้งระบบหรือปรึกษาหารือกันซึ่งงานเป็นของส่วนรวมทั้งองค์การรวมทั้งเวลาที่ใช้ไปกับพิธีการต่างๆขององค์การการบริหารเวลาประเภทที่สองนี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้เช่นเดียวกัน จะเสียเวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระบบงานส่วนรวมไม่ใช่ตัวผู้บริหารเป็นผู้กำหนดประเภทที่สามเวลาที่ใช้กับตัวเอง(Self-Imposed Time) หมายถึงเวลาที่ตัวผู้บริหารเองเป็นผู้กำหนดขึ้นมา ผู้บริหารบางคนใช้เวลาของตัวเองมีคุณค่าเหมาะสมแต่บางคนใช้หมดไปอย่างไม่มีคุณค่าเท่าที่ควร

          เวลาที่ใช้กับตัวเองนี้ยังแยกออกเป็น 2 อย่างอย่างแรกเวลาที่ใช้กับหน่วยงานของตัวเอง (Dominated Time) อาจเป็นงานที่ตัวเองลงมือทำด้วยตัวเองหรือทำร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้บริหารผู้นั้นรวมทั้งเวลาที่หมดไปกับการแก้ปัญหาหรือปรึกษาหารือกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเองผู้บริหารบางคนใช้เวลาประเภทนี้ไม่เหมาะสมโดยผู้ใต้บังคับบัญชาหรือตัวงานมีส่วนในการจัดสรรเวลา ถ้าผู้บริหารใช้เวลาแก้ปัญหางานของผู้ใต้บังคับบัญชามากเกินไปหรือไปยุ่งอยู่กับรายละเอียดในงานมากเกินไปDominated Time ก็เกิดขึ้นมากอย่างที่สองคือเวลาที่ใช้กับการคิดไตร่ตรอง (Discretionary Time) ในหน่วยงานของตัวเอง เป็นการคิดเพื่อให้งานก้าวหน้าคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้กระทำร่วมกับคนอื่นเวลาที่หมดไปกับการแก้ปัญหานี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้บริหารเองถ้าผู้บริหารไม่มุ่งในรายละเอียดของงานไม่ลงมือทำงานด้วยตัวเอง แต่มอบหมายงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับผิดชอบเวลาที่หมดไปกับงานส่วนนี้ก็น้อยลง

          ในทำนองเดียวกันผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนเมื่อมีปัญหาการทำงานก็ไปปรึกษาหารือกับผู้บริหารและโยนปัญหาไปให้ผู้บริหารคิดแก้ไขเอาเองเวลาที่เป็น Discretionary Time ของผู้บริหารก็เสียไปมากแต่ถ้าผู้บริหารรับปรึกาหารือปัญหาบางส่วนแล้วโยนกลับไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแก้ไขเองเวลาในส่วนนี้ก็หมดไปน้อยก็อาจมีเวลาที่ใช้แก้ปัญหาของตัวเองอย่างแท้จริงมากขึ้นเวลาที่ใช้กับตัวเอง (Self-Imposed Time) ควรใช้ให้เหมาะสมโดยมอบหมายให้คนอื่นทำในส่วนของ Dominated Time ให้มากตัวเองใช้น้อยแล้วหันไปใช้เวลาในส่วนของ Discretionary time ในปัญหาของตัวเองหรือปัญหางานที่ตัวเองรับผิดชอบให้เจริญก้าวหน้าจะได้ประโยชน์มากกว่า

         อย่างไรก็ตาม มีหลักสั้นๆในการบริหารเวลาของผู้บริหารไว้ดังนี้

👉1.     ต้องรู้จักปฏิเสธคนที่ทำให้ท่านละเลยไปจากการทำงานซึ่งเป็นงานที่ท่านต้องทำ

👉2.     อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับงานที่ต้องทำเป็นประจำวันอยู่แล้วและรายละเอียดในงานที่ทำมากนักควรมอบหมายงานเหล่านี้ให้คนอื่นทำ

👉3.     จัดลำดับงานที่ต้องทำก่อนหลังโดยยึดถือความสำคัญและความเร่งด่วนของงานเป็นหลัก

👉4.     อย่าให้โทรศัพท์จดหมายหรือการติดต่อสื่อสารใดๆมาขัดขวางการทำงานของท่านให้เสียไป

👉5.     ฝึกหัดเลขานุการหน้าห้องหรือเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งให้กลั่นกรองงาน จดหมายและโทรศัพท์ก่อนที่จะมาถึงท่าน

👉6.     อย่าทำตัวเป็นคนยึดติดอยู่กับตารางในปฏิทินหรือสมุดบันทึกจนลืมทำตามแผนงานของตัวเอง

👉7.     อย่าให้แขกที่แวะมาเยื่ยนหรือไม่ได้นัดหมายมาขัดจังหวะการทำงานของท่านจนทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

💕การวางแผนกับความไม่แน่นอน💕

          ตามที่กล่าวมาแล้วว่าการวางแผนเป็นวิธีการที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนโดยการกำหนด การกระทำล่วงหน้าเพื่อบรรลุผลตามที่ต้องการการวางแผนเท่ากับเป็นตัวเชื่อมระหว่างความคิดกับความจริงยิ่งคิดสูงเท่าไรการเกิดความจริงยิ่งยากขึ้นเท่านั้น  เพราะตัวกลางที่อยู่ระหว่างความคิดกับความจริงคือ ความเสี่ยงซึ่งแม้จะมีความหมายต่างกับความไม่แน่นอนแต่ก็มักจะใช้แทนกันบ่อยๆซึ่งทำให้เข้าใจง่ายความไม่แน่นอนมีความสำคัญต่อการวางแผนดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจเรื่องความไม่แน่นอนและการตอบสนองต่อความไม่แน่นอน

          สภาพของความไม่แน่นอนได้แก่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรและเกิดในลักษณะใดหากจะเปรียบเทียบความหมายของคำ 3 คำในแง่ของสถิติคือคำว่าความไม่แน่นอน(Uncertainly) หมายถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ว่าโอกาสหรือความน่าจะเป็น (Probability) มีค่าเท่าไรคำว่าความเสี่ยง(risk) หมายถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยรู้ว่าความน่าจะเป็นมีค่าเท่าใดแต่ไม่เกิน 1 คำว่าความแน่นอน(certainly) หมายถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยรู้ว่าความน่าจะเป็นมีค่าเท่ากับ 1 ความไม่แน่นอนย่อมก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่างต่อคนองค์การและอื่นๆในแง่ขององค์การ ผู้บริหารจะต้องพยายามคาดคะเนว่าความไม่แน่นอนนั้นกระทบองค์การอย่างไรเช่นผู้บริหารไม่อาจคาดคะเนว่าการนัดหยุดงานของสหภาพจะเกิดขึ้นอย่างไรแต่รู้ว่าเมื่อเกิดขึ้นและจะกระทบกำไรขององค์การอย่างแน่นอน

          การตอบสนองต่อความไม่แน่นอนขององค์การก็คือการวางแผนหลายๆอย่างเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดในแต่ละสถานการณ์ที่นอกเหนือการควบคุมขององค์การองค์การตอบสนองความไม่แน่นอนได้ 4 ฐานะคือ 

👸1. ผู้ป้องกันตัวเอง (defender)บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสูงในการผลิตสินค้าและการทำตลอดสำหรับผลิตภัณฑ์ของตัวเองจะยังคงอยู่ในฐานะเหนือคู่แข่งขันเป็นเวลานานตราบใดที่ยังไม่มีตลาดใหม่เกิดขึ้นบริษัทที่อยู่ในฐานะป้องกันตัวจะสามารถปรับตัวทางเทคโนโลยีทางการบริหารและโครงสร้างองค์การได้เร็วเพราะมุ่งตลาดเฉพาะของตัวเอง ลักษณะที่สำคัญของผู้ป้องกันตัวเองคือมุ่งที่การดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงสุดการป้องกันตัวเองจะทุ่มเทให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นธุรกิจหลักของตัวเองเท่านั้นเช่นบริษัท Harley-Darvison โคคา โคล่าไนกี้และMcDonald เป็นต้น

😇2. ผู้แสวงหา (prospector)องค์การในฐานะผู้แสวงหาจะสามารถค้นพบตลาดใหม่ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการดำเนินการใหม่ๆ โดยการมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่โดยไม่ยอมรอคอยลักษณะที่สำคัญของการแสวงหาคือการสำรวจตลาดใหม่ๆพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆบริการใหม่ๆค้นหาการเปลี่ยนแปลง หาจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันแต่มักจะสูญเสียประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์และตลาดที่อยู่ในปัจจุบันเพราะไปมุ่งการคิดค้นสิ่งใหม่ๆเช่นบริษัท Intel ที่พยายามสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยการมุ่งแสดงหาการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่แต่ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการดำเนินงานผู้บริหารระดับสูงคือAndy Grove ของบริษัท Intel พยายามทำให้พีซีของบริษัทเป็นอุปกรณ์ของการดำเนินชีวิตของคนเช่นใช้สำหรับทีวีเล่นเกมในอินเตอร์เนทเก็บบันทึกรูปกับครอบครัวเพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงาน และใช้กับอุปกรณ์ต่างๆในบ้านแต่บริษัทก็เสี่ยงกับการใช้เงินจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ๆเป็นจำนวนมาก

😑3. ผู้วิเคราะห์(analyzer) การเผชิญกับความไม่แน่นอนในฐานะที่เป็นผู้วิเคราะห์จัดว่าเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างอนุรักษนิยมหรือการระมัดระวังตัวในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพราะเป็นการดำเนินงานพร้อมๆกัน 2 อย่างคือการรักษาความมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ด้วยการรักษาเสถียรภาพทางด้านการตลาดและผลิตภัณฑ์ก็ด้วยการจัดโครงสร้างของงานและองค์การเพื่อดำเนินงานที่เป็นงานประจำ(routine) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาดและแนวคิดใหม่ๆของคู่แข่งขัน องค์การในฐานะผู้วิเคราะห์จะปล่อยให้บริษัทอื่นๆเป็นผู้นำทางการตลาดด้วยการเสียค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาที่ค่อนข้างสูงแล้วก็วิเคราะห์ว่าจะเลียนแบบอย่างไรให้เกิดผลสำเร็จหรือจะตามอย่างไรจึงจะแข่งขันกับผู้นำได้ตัวอย่างเช่นVF ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแต่งกายเครื่องหมาย Wrangler jeans และ Lee jeans ก็จะใช้กลยุทธ์ติดตามอย่างใกล้ชิดต่อการเคลื่อนไหวของบริษัท Levi Strauss ซึ่งเป็นผู้นำเครื่องแต่งการที่ทำด้วยผ้ายีนส์มีผลทำให้ VF มีความเสี่ยงภัยน้อยกว่า

ผู้ตอบโต้ (reactor) การตอบสนองต่อความไม่แน่นอนในฐานผู้ตอบโต้จะมีพฤติกรรมตรงกันข้ามกับผู้แสวงหาโดยการรอคอยจังหวะที่จะตอบโต้อย่างเหมาะสมผู้ตอบโต้จะค่อยๆพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หลังจากได้ศึกษาและพิจารณาอย่างรอบคอบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไรแล้ว กลยุทธ์การตอบโต้กระทำอย่างค่อนข้างล่าช้าและอาจไม่ทันการการที่องค์การจะเปลี่ยนแปลงตัวเองมักจะกระทำเมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องทำโดยการกดดันจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการศึกษาสรุปว่าองค์การที่ตอบสนองในฐานะผู้ตอบโต้จะได้รับผลการดำเนินงานน้อยกว่าในฐานผู้ป้องกันตัวเอง ผู้แสวงหาและผู้วิเคราะห์เช่นบริษัท Joseph E. Seagram & Sons ซึ่งเคยเป็นบริษัทผู้ผลิตสุราประเภท brown liquor ใหญ่ที่สุดเช่น Seagrams 7 Crown แต่ถูกผู้ผลิตสุราประเภท whit liquor เช่น Bacardi rum และ Smirnoff vodka แย่งตำแหน่งจนทำให้ยอดขายของ Seagram 7 Carwn ไปอยู่ลำดับที่สามอันเกิดจากผู้บริโภคเปลี่ยนรสนิยมหันไปนิยมสุราขาวและไวน์มากขึ้น ประกอบกับการเป็นภาษีสุราในอัตราที่สูงขึ้นจนทำให้ยอดขายของ Seagram ตกลงบริษัทจึงหันไปทำธุรกิจไวน์ด้วย

💢💣กระบวนการวางแผน💥💣

          แผนที่เป็นทางการ (format plan) ได้จัดทำขึ้นอย่างมีเป้าหมาย มีทิศทางชัดเจนผู้บริหารสามารถควบคุมได้ขณะเดียวกันจะสอดคล้องกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานในการวางแผนจะต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าแต่ละหน่วยงานและแต่ละคนจะต้องทำอะไรบ้างและทำอย่างไรให้สอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และขณะเดียวกันก็ระบุไว้ด้วยว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอนาคตจะต้องปรับแผนอย่างไรเพราะว่าการวางแผนเป็นการตัดสินใจในปัจจุบันถึงการกระทำในอนาคตดังนั้นขั้นตอนการวางแผนจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของงานขั้นตอนการวางแผนจึงคล้ายกับขั้นตอนการตัดสินใจซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

💚1.  การวิเคราะห์สถานการณ์ได้แก่ การหาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้ และการสรุปผลเกี่ยวกับข้อมูลทั้งหมดสำหรับนำมาใช้ในการตัดสินใจกำหนดเป็นแผนขึ้นมาการวิเคราะห์จะต้องรวมถึงสถานการณ์ในอดีตสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและรวมถึงการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตการวิเคราะห์สถานการณ์จะต้องแยกเป็นสภาพแวดล้อมภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ สภาพแวดล้อมภายในเป็นปัจจัยที่องค์การสามารถควบคุมได้เช่นระบบงานความรู้ความสามารถของคนในองค์การเงินทุนปรัชญาการบริหารเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีอยู่และอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียที่องค์การมีอยู่ในปัจจุบันส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยที่องค์การควบคุมไม่ได้เช่นพฤติกรรมของผู้บริโภควิธีการของคู่แข่งขันสภาพทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็นต้นการวิเคราห์สถานการณ์จะทำให้รู้ว่าปัจจัยภายในองค์การนั้นมีสิ่งใดที่ดีอยู่แล้วจะส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นสิ่งใดที่เป็นข้อเสียจะได้แก้ไขและปรับเปลี่ยนใหม่ ส่วนปัจจัยภายนอกทำให้รู้ว่าจะวางแผนอย่งไรให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือหาว่าปัจจัยภายนอกดังกล่าวนั้นกระทบต่อการวางแผนอย่างไร

💙2. การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนผู้ทำแผนจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลายๆวัตถุประสงค์และกำหนดแผนไว้หลายๆแผน ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความคิดริเริ่มและการสร้างสรรค์โดยต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนหลายๆคนไม่ว่าจะเป็นระดับบริหารหรือระดับปฏิบัติและใช้เวลามากกว่าจะได้วัตถุประสงค์และแผน วัตถุประสงค์ของแผนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะเป็นเสมือนจุดหมายปลายที่ที่จะไปถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ก็จะต้องชัดเจนแน่นอนเฉพาะเจาะจงค่อนข้างสูงและสามารถทำได้จริงขณะเดียวกันจะต้องกำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น สอดคล้องกับระบบงานและหน่วยงานส่วนแผนก็คือการกระทำหรือวิธีการที่ผู้บริหารตั้งใจที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดจะต้องกำหนดไว้หลายๆแผนแต่ละแผนจะทำให้ได้ตามเป้าหมายอย่างไรจะใช้ทรัพยากรอย่างไรมีอุปสรรคต้องแก้ไขอย่างไร

💛3. การประเมินวัตถุประสงค์และแผนการประเมินก็คือการหาคุณค่าของวัตถุประสงค์แต่ละอย่างและแผนแต่ละแผนแต่ละวัตถุประสงค์และแต่ละแผนย่อมมีทั้งผลดีผลเสีย หากสามารถรู้ข้อดีข้อเสียอย่างชัดเจนก็ย่อมไม่มีปัญหาในการตัดสินใจเลือกแต่ถ้าไม่ชัดเจนผู้บริหารจะต้องจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์และแผนการประเมินอาจทำในรูปของกรรมการหรือทีมพิเศษที่จัดตั้งเป็นการเฉพาะที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ต่างๆกัน

การเลือกวัตถุประสงค์และแผนหากในชั้นการประเมินได้ดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสมการเลือกก็ไม่ยากเพราะมีข้อมูลต่างๆพร้อมอยู่แล้วแต่ถ้าขั้นการประเมินไม่ชัดเจนก็อาจยากที่จะตัดสินใจเลือกทางใดทางเลือกหนึ่ง ตามปกติการเลือกแผนใดแผนหนึ่งมักจะอาศัยประสบการณ์เป็นสำคัญแต่ก็ต้องระมัดระวังว่าดุลพินิจโดยอาศัยประสบการณ์อย่างเดียวไม่พอการติดสินใจเลือกจะต้องกำหนดมาตรการว่าจะใช้วิธีใดระหว่างแผนที่ดีที่สุดหรือแผนที่เหมาะสมที่สุดทั้งนี้แล้วแต่ข้อมูลที่มี

💜4. การนำไปใช้เมื่อเลือกวัตถุประสงค์และแผนแล้วผู้บริหารจะต้องนำไปใช้การเลือกแผนที่ดีที่สุดอาจไม่ได้ประโยชน์เลยถ้าการนำไปใช้ไม่เหมาะสมสิ่งสำคัญก็คือ ผู้ใช้แผนจะต้องเข้าใจอย่างชัดเจนและต้องมีทรัพยากรอย่างเพียงพอและขณะเดียวกันทุกคนควรมีส่วนร่วมในการวางแผนตั้งแต่ต้นด้วยการนำแผนไปใช้จึงจะประสบผลตามต้องการ

💓5.   การตรวจสอบและควบคุมการนำแผนไปใช้มักจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นประจำหากไม่มีการตรวจสอบและควบคุมผลงานที่เกิดขึ้นจริงอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายการตรวจสอบและควบคุมทำให้รู้ว่าจะต้องมีการแก้ไขอะไรบ้างหรือต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างไรหากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดคะเนล่วงหน้า

🙉ประเภทของแผน😿

          การแบ่งประเภทของแผนอาจใช้วิธีการต่างๆกันแล้วแต่จะพิจารณาในแง่ใดแต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของแผนใช้เกณฑ์ 3 อย่างคือ แบ่งตามระยะเวลาแบ่งตามขอบเขตของกิจการและแบ่งตามการนำไปใช้

😻1. การแบ่งตามระยะเวลา (Time horizon) การแบ่งตามเกณฑ์นี้ใช้วิธีง่ายๆ 3 ประเภทคือ แผนระยะสั้น(Short-range plan) หมายถึงแผนที่ครอบคลุมเวลาการใช้แผนไม่เกิน 1 ปีแผนระยะกลาง(Intermediate-range plan) เป็นแผนที่ครอบคลุมเวลา 1 ถึง 2 ปีและแผนระยะยาว (Long-range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาการใช้แผนครอบคลุมเวลาเกิน 2 ปีขึ้นไปจนถึง 5 ปีหรือเกินกว่านั้นการแบ่งตามระยะเวลาทำให้มีความแตกต่างกันในเรื่องต่างๆเช่น การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับแผนระยะสั้นจะต้องชัดเจนขณะที่วัตถุประสงค์สำหรับแผนระยะยาวจะเปิดกว้างขวางมากกว่าการมีส่วนร่วมในการวางแผนก็แตกต่างกันกล่าวคือหากเป็นแผนระยะยาวผู้บริหารระดับสูงจะเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าเป็นแผนระยะสั้นผู้บริหารระดับกลางและระดับล่างเข้ามามีส่วนมากกว่าแต่อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารทุกระดับจะต้องเข้าใจและร่วมกันในการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนระยะยาวด้วยเช่นกันเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งแผนระยะสั้นระยะปานกลาง และระยะยาวมิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความสับสนและขัดกันระหว่างหน่วยงานต่างๆในองค์การ

😻2. การแบ่งตามขอบเขตของกิจกรรมที่ทำ(scope of activity)การแบ่งตามเกณฑ์นี้จะแยกแผนออกเป็น 2 ประเภทคือแผนกลยุทธ์(strategic plan) กับแผนดำเนินงาน(operational plan) แผนกลยุทธ์เป็นแผนที่ทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการในระยะยาวและรวมเอากิจกรรมทุกอย่างขององค์การ ผู้บริหารระดับสูงที่วาแผนกลยุทธ์จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของทั้งองค์การแล้วตัดสินใจว่าจำทำอย่างไรและจะจัดสรรทรัพยากรอย่างไรจึงจะทำให้องค์การสำเร็จตามเป้าหมายนั้นจะต้องใช้เวลาในการกำหนดกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงานรวมตลอดทั้งทิศทางการดำเนินงานที่ไม่เหมือนกันให้อยู่ในแนวดียวกันการติดสินใจที่สำคัญของแผนกลยุทธ์ก็คือการเลือกวิธีการในการดำเนินงาน และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เหมาะสมเพื่อที่จะนำพาองค์การให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแผนดำเนินงานเป็นแผนที่กำหนดขึ้นมาใช้สำหรับแต่ละกิจกรรมโดยเฉพาะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมซึ่งเท่ากับเป็นแผนงานเพื่อให้แผนกลยุทธ์บรรลุผลหรือเป็นการนำแผนกลยุทธ์ไปใช้นั่นเองแผนดำเนินงานที่แยกเป็นแต่ละกิจกรรมก็ได้แก่แผนการผลิตแผนการเงินแผนการตลาดแผนทรัพยากรมนุษย์ และแผนอุปกรณ์เป็นต้น

  • แผนการผลิต(production plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการและเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้กับ                      การผลิตสินค้าและบริการขององค์การ
  • แผนการเงิน(financial plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินที่นำไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆขององค์การ
  • แผนการตลาด(marketing plan)เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
  • ขององค์การ
  • แผนทรัพยากรมนุษย์(human resource plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกันการจัดทำการคัดเลือก
  • และการบรรจุคนให้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ

แผนอุปกรณ์(facilities plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์และการวางผังที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆในองค์การ

😻3. การแบ่งตามการนำไปใช้ (frequency of use)การแบ่งตามเกณฑ์นี้แยกเป็น 2 ประเภทคือแผนที่ใช้ครั้งเดียว (single-use plan) กับแผนที่ใช้ประจำ (standing-use plan) แผนที่ใช้ครั้งเดียว หมายถึงแผนที่หมดไปกับการใช้หนึ่งครั้งแล้วบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานนั้นการใช้แต่ละครั้งถือตามเวลาเช่น 3 เดือน 1 ปีเป็นต้นตัวอย่างของแผนที่ใช้ครั้งเดียวคือ งบประมาณและโครงการงบประมาณเป็นแผนกำหนดการใช้ทรัพยากรให้กับกิจกรรมแต่ละอย่างภายในเวลาที่กำหนดงบประมาณแบ่งเป็น 3 ประเภทคืองบประมาณคงที่ (fixed budget) งบประมาณยืดหยุ่น(flexible budget) และงบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budget) งบประมาณที่จัดสรรทรัพยากรให้จำนวนคงที่แน่นอนกับโครงการหรือหน่วยงานตามระยะเวลาที่กำหนดแต่ะจใช้เกินกว่าจำนวนที่จัดสรรไม่ได้เช่นกำหนดเงินจำนวน 20,000 บาทในการซื้อเครื่องจักรภายใน 1 ปี

งบประมาณยืดหยุ่นจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมตามสัดส่วนของการทำกิจกรรมนั้นๆจำนวนเงินงบประมาณสัมพันธ์กับกิจกรรมซึ่งอาจเป็นวงเงินที่เพิ่มขึ้นได้แล้วแต่ระดับของแต่ละกิจกรรมเช่น การกำหนดให้ใช้เงินเพิ่มขึ้นในการจ้างคนทำการผลิตหากผลิตได้จำนวนผลผลิตเกินกว่าจำนวนที่กำหนดงบประมาณฐานศูนย์เป็นการจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมหรือโครงการโดยถือเสมือนว่ากิจกรรมหรือโครงการนั้นเกิดขึ้นใหม่โดยถือว่าแต่ละกิจกรรมหรือโครงการใช้ทรัพยากรนั้นหมดไปแม้ว่าจะมีทรัพยากรเหลือก็ให้ถือว่าไม่มีหรือศูนย์ เมื่อเริ่มโครงการใหม่ก็มีการจัดสรรทรัพยากรขึ้นมาการจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ก็เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของงบประมาณเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมดแยกออกจากกันในแต่ละงวดของงบประมาณ

โครงการ (project) เป็นแผนทีใช้ครั้งเดียวอย่างหนึ่งซึ่งระบุกิจกรรมต่างๆทุกอย่างที่ต้องนำไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยการเชื่อมกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกันตามระยะเวลาตามเป้าหมายและทรัพยากรที่ใช้โครงการเน้นที่การบริหารเวลาหมายความว่าต้องทำให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังว่ากิจกรรมอะไรทำก่อนกิจกรรมอะไรที่ต้องทำต่อมาตามลำดับจนทุกอย่างสำเร็จสมบูรณ์ตามเวลา

แผนที่ใช้ประจำเป็นแผนที่ใช้ซ้ำๆกันตลอดเวลาเมื่อใช้ไปแล้วก็กลับมาใช้อีกซึ่งไม่เหมือนกับแผนที่ใช้ครั้งเดียวอย่างงบประมาณ เมื่อใช้แล้วก็หมดไปหรือจบโครงการหากจะใช้อีกก็ต้องตั้งงบประมาณขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นคนละแผนกันแต่แผนประจำเกิดขึ้นซ้ำๆกันอย่างเช่นนโยบายกระบวนการปฏิบัติงาน และกฎเกณฑ์เป็นต้นนโยบาย(policy) เป็นคำแถลงอย่างกว้างๆสำหรับใช้เป็นแนวในการบริหารงานหรือแนวทางการทำงานซึ่งผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติสามารถใช้ดุลพินิจตัดสินใจได้ นโยบายจะกำหนดขอบเขตหรือแนวทางในการตัดสินใจไม่ใช่เป็นการกระทำว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แต่จะเน้นเฉพาะเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจเป็นไปในแนวทางเดียวกันเช่นนโยบายของบริษัท McDonalds ระบุว่าจะไม่ใช้สัมปทานแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของร้านอาหาร fast-food อยู่ก่อนแล้วเป็นต้น

กระบวนการปฏิบัติงาน(procedure) เป็นการระบุขั้นตอนของการกระทำว่าจะกระทำอะไรก่อนหลังอย่างไรโดยไม่ต้องใช้ดุลยพินิจตัดสินใจกระบวนการเป็นขั้นตอนการทำงาน หรือบอกวิธีทำงานไม่ใช่การใช้ความคิดซึ่งมีรายละเอียดแน่นอนว่าต้องทำกิจกรรมอะไรไว้ชัดเจนและมักจะข้ามหน่วยงานหรืออยู่ในหน่วยงานเดียวก็ได้เช่นกระบวนการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าอาจต้องผ่านฝ่ายขายฝ่ายการเงินฝ่ายบัญชี ฝ่ายผลิตและฝ่ายส่งของต้องผ่านหลายหน่วยงานหรืออาจผ่านฝ่ายเดียวก็ได้เช่นบริษัท McDonalds ระบุขั้นตอนในการปรุง Big Macs ว่าจะปรุงอย่างไรจะต้องผสมอย่างไรหรืออบไว้ในเตาเป็นเวลาเท่าไรเป็นต้น

กฏเกณฑ์หรือข้อบังคับ(rule and regulation) เป็นแผนประจำที่แคบและชัดเจนที่สุด ซึ่งระบุว่าอะไรต้องกระทำหรือไม่ต้องกระทำเป็นการบอกถึงการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆกันโดยไม่ต้องอาศัยการใช้ดุลพินิจเลยมีความแตกต่างกับกระบวนการการปฏิบัติงานตรงที่ไม่ต้องมีลำดับเวลาก่อนหลังของการกระทำกระบวนการการปฏิบัติงานเป็นเสมือนลำดับของกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการปฏิบัติงานก็ได้เช่นขณะปฏิบัติงานห้ามสูบบุหรี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานหรือถ้าบริษัทMcDonalds มีกฎเกณฑ์ว่า ห้ามลูกค้าใช้โทรศัพท์ของบริษัทก็ไม่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงาน

🙏🙏🙏🙏🙏

https://www.informatics.buu.ac.th/~qa/QA55-57

18/07/61

การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรม ล่วงหน้า ตาม เป้าหมาย ขององค์การคือ ข้อ ใด