ข้อใดคือความมีเหตุผลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี      

 

ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

1. การนำเอาทรัพยากรต่างๆมาแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการ หมายถึงข้อใด

  1. ปัจจัยการผลิต 2. การผลิต   3. ผู้ประกอบการ 4. ผู้บริโภค  

2. การผลิตสิค้าและบริการทุกประเภทใช้ปัจจัยการผลิตในข้อใดมากที่สุด

  1. แรงงาน 2. ทุน   3. ผู้ประกอบการ 4. ที่ดิน   3. หลักการใช้ทรัพยากรการผลิตที่สำคัญยกเว้นข้อใด   1. การใช้ทรัพยากรการผลิตให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า 2. ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างประหยัด   3. ใช้ทรัพยากรในการผลิตที่ใกล้จะหมด 4. ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างระมัดระวังไม่ให้สิ้นเปลือง   4. การผลิตสินค้าในข้อใดที่ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูป   1. การทำไร่มันสำปะหลัง 2. การเลี้ยงกุ้ง   3. การทำสวนปาล์มน้ำมัน         4. การทำน้ำตาลทรายแดงจากอ้อย  

5. ตามหลักเศรษฐศาสตร์ปัจจัยการผลิตทั้งหมดมีกี่ประเภท

  1. 4 ประเภท                2. 5 ประเภท                  3. 6 ประเภท                4. 7 ประเภท                  6. โรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลจัดเป็นปัจจัยการผลิตตามข้อใด   1. ที่ดิน 2. ทุน   3. แรงงาน 4. ผู้ประกอบการ 7. แนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดของใคร   1. รัชกาลที่ 4      2. รัชกาลที่ 5        3. รัชกาลปัจจุบัน   4. รัชกาลที่ 6       8. ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คำว่า มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  หมายถึงข้อใด   1. การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ   2. ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น   3. เกิดขึ้นจากการกระทำที่รอบคอบ   4. มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆและมีความระมัดระวังในการปฏิบัติ  

9. ข้อใดต่อไปนี้ไม่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  1. เน้นการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กร 2. รู้จักความพอดี   3. เน้นการผลิตเพื่อการค้าอย่างเดียว      4. ดำเนินตามทางสายกลาง   10. ข้อใดไม่ใช่หลักการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง   1. ยึดทางสายกลางในดำเนินชีวิตประจำวัน        2. การพึ่งตนเองให้มากที่สุด   3. มีความหรูหราทันสมัย 4. ความสามัคคีกันของคนในท้องถิ่น   11. สหกรณ์เครดิตยูเนียนมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่ออะไร   1. การศึกษาของบุตร           2. กู้ยืมเงิน           3. ดูแลสุขภาพอนามัย     4. ฝึกทักษะอาชีพ   12. ข้อใดคือ เงื่อนไขของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   1. ซื่อสัตย์สุจริต : รอบรู้ รอบคอบ 2. พอประมาณ : มีเหตุผล   3. รอบคอบ : มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 4. สติปัญญา : แบ่งปัน   13. การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ใช้ปัญญาและมีความรอบคอบในการดำเนินชีวิตเป็นการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในข้อใด   1. โรงงาน 2. ชุมชน   3. โรงเรียน 4. ครอบครัว   14. เป้าหมายของการนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชนคือข้อใด   1. สามารถพึ่งตนเองได้    2. รู้จักใช้ทรัพยากรที่นำเข้าจากต่างประเทศ   3. ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล  4. ทำตามนโยบายของรัฐบาล   15. ธนาคารกลางมีหน้าที่อย่างไร   1. ส่งเสริมการลงทุน       2. ระดมเงินฝากจากประชาชน   3. ให้ประชาชนกู้ยืม       4. รักษาปริมาณเงินภายในประเทศ   16. ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถให้ใครกู้ยืมเงิน   1. ประชาชนทั่วไป         2. นักท่องเที่ยว      3. ข้าราชการ      4. ธนาคารพาณิชย์   17. ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ตรงตามข้อใด   1. ส่งเสริมการลงทุน       2. พิมพ์ธนบัตร      3. รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน       4. ให้สินเชื่อกับหน่วยงานราชการ   18. ธนาคารพาณิชย์ในข้อใดเป็นของรัฐบาล   1. ธนาคารกรุงไทย 2. ธนาคารกสิกรไทย         3. ธนาคารกรุงเทพ         4. ธนาคารทหารไทย   19. การฝากเงินประเภทใดทางธนาคารไม่คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝาก   1. ฝากออมทรัพย์ 2. ฝากกระแสรายวัน        3. ฝากประจำ     4. ฝากเผื่อเรียก   20. ธนาคารประเภทใดระดมเงินฝากจากประชาชนเพื่อให้รัฐบาลกู้ยืม   1. ธนาคารกรุงศรี 2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย          3. ธนาคารออมสิน         4. ธนาคารทหารไทย  

21. การฝากเงินประเภทใดมีการกำหนดระยะเวลาในการฝากเงินและให้ดอกเบี้ยสูง

  1. ฝากเผื่อเรียก 2. ฝากกระแสรายวัน        3. ฝากประจำ     4. ฝากสะสมทรัพย์  

22. เมื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากต้องการถอนเงินออกมาใช้จำเป็นต้องมีเอกสารใดประกอบในการถอนเงิน

  1. สมุดบัญชีเงินฝาก       2. บัตรประจำตัวประชาชน          3. ใบถอนเงินของธนาคาร 4. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา   23. การกู้ยืมเงินประเภทใดมีการทำสัญญาการกู้ยืมที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีผู้ค้ำประกันการกู้ยืมด้วย   1. กู้เงินตามอัธยาศัย       2. กู้เงินในระบบ   3. กู้เงินนอกระบบ 4. การขอสินเชื่อ   24. การกู้เงินในระบบผู้ให้กู้ยืมที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายเป็นแหล่งเงินทุนประเภทใด    1. พ่อค้า 2. นักธุรกิจ   3. ธนาคาร 4. บุคคลทั่วไป  

25. กฎหมายกำหนดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินไม่ให้เกินร้อยละเท่าใดต่อปี

  1. ร้อยละ 10 ต่อปี         2. ร้อยละ 12 ต่อปี   3. ร้อยละ 15 ต่อปี         4. ร้อยละ 20 ต่อปี   26. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กฎหมายกำหนด และคิดเป็นรายเดือนจะต้องไม่เกินเดือนละเท่าใด   1. ร้อยละ 1.25 บาท      2. ร้อยละ 1.50 บาท        3. ร้อยละ 2 บาท 4. ร้อยละ  2.50 บาท 27. ข้อใดเป็นผลดีของการกู้ยืมเงินในระบบ   1. ได้รับเงินเร็ว              2. ยุติธรรมต่อผู้กู้   3. ไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน        4. ดอกเบี้ยสูง   28. ข้อใดเป็นผลเสียของการกู้ยืมเงินนอกระบบ   1. มีเงินใช้จ่ายในยามจำเป็น       2. ได้รับเงินเร็ว      3. มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ          4. เป็นช่องทางในการหลอกลวงของมิจฉาชีพ  

29. ทิวเขาแดนลาวเป็นทิวเขาที่อยู่ในภาคใดของประเทศไทย

  1. ภาคตะวันตก   2. ภาคกลาง         3. ภาคใต้ 4. ภาคเหนือ   30. ต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดใด   1. สุโขทัย 2. กำแพงเพชร      3. พิจิตร 4. นครสวรรค์   31. ประเทศใดต่อไปนี้มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก   1. พม่า             2. ลาว       3. กัมพูชา 4. มาเลเซีย   32. นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเดินทางไปเที่ยวในประเทศมาเลเซียโดยทางรถยนต์จะต้องขับรถผ่านทิวเขาใดที่กั้น
ระหว่างไทยกับมาเลเซีย   1. ตะนาวศรี       2. สันกาลาคีรี       3. ดงพญาเย็น     4. พนมดงรัก   33. ภาคใดที่มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมากที่สุด   1. ภาคกลาง       2. ภาคตะวันออก   3. ภาคเหนือ       4. ภาคใต้   34. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นำฝนมาตกในประเทศไทยเกิดขึ้นที่บริเวณใด   1. ทะเลจีนใต้               2. อ่าวไทย           3. มหาสมุทรแอตแลนติก 4. มหาสมุทรอินเดีย   35. สินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ไทยคือข้อใด   1. แร่เหล็ก         2. น้ำมัน   3. ดีบุก    4. ถ่านหิน   36. พื้นที่ป่าไม้ของภาคตะวันตกยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากเป็นเพราะเหตุใด   1. มีฝนตกหนักตลอดปีทำให้น้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาสูง 2. มีป่าไม้ที่หนาทึบมากยากแก่การเดินทางเข้าไปในป่า   3. มีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง 4. ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงยากแก่การเดินทางเข้าถึง   37. ข้อใดคือแม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   1. แม่น้ำสงคราม 2. แม่น้ำปิง          3. แม่น้ำสาระวิน 4. แม่น้ำสะแกกรัง   38. ฤดูหนาวเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเดือนในข้อใดต่อไปนี้   1. กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2. มีนาคม-เมษายน          3. พฤษภาคม-ตุลาคม     4. พฤศจิกายน-มกราคม   39. ลักษณะใดที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม   1. จำนวนประชากร        2. อาชีพของประชากร      3. ภูมิประเทศและภูมิอากาศ 4. ทรัพยากรธรรมชาติ   40. ลักษณะภูมิประเทศแบบใดมักจะพบเห็นการทำนาแบบขั้นบันได   1. ยอดเขาสูง      2. เชิงเขาหรือไหล่เขา       3. แอ่งที่ราบ       4. ริมแม่น้ำ    

ความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงข้อใด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีกี่ข้อ

เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

หลักธรรมใดตรงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักธรรมที่ปรากฏเป็นรากฐานอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง คือ 1) หลักมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง การปฏิบัติตนในทางสายกลาง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ 1.อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป ๒.กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกาม ในความสบาย

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นในรัชกาลใด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ