ข้อใด ไม่ใช่ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่สังกัดสหประชาชาติ un

องค์การสหประชาติ (United Nations : UN)

        มีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 องค์กรหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานเลขาธิการ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงคณะมนตรี

ภาวะทรัสตีที่ปัจจุบันยุติการทำงานแล้ว นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ 
        ตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดของสหประชาชาติ คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ บัน คี มุน ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 ต่อจากโคฟี อันนัน

            องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา สหประชาชาติมีองค์กรจำนวนมาเพื่อนำภารกิจไปปฏิบัติ

ข้อใด ไม่ใช่ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่สังกัดสหประชาชาติ un

ธงขององค์การสหประชาชาติ



สมาชิกภาพขององค์การสหประชาชาติ   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

       ประเภทที่ 1 สมาชิกดั้งเดิม ได้แก่ รัฐซึ่งได้ร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศที่ซานฟราสซิสโกและร่วมกันลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485 จำนวน 51 ประเทศ

       ประเภทที่ 2 สมาชิกใหม่ คือ สมัครสมาชิกที่สมัครเข้าภายหลัง ได้แก่ประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และสมัคเข้าเป็นสมาชิกภายหลัง

 ประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

       1. เป็นประเทศที่รักสันติภาพ

       2. จะยอมรับข้อผูกพันตามที่ปรากฏในกฎบัตรสหประชาชาติ และได้รับการวินิจฉัยจากองค์การ สหประชาชาติแล้วว่าสามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าว

       3. การรับประเทศใดเข้าเป็นสมาชิกนั้นจะกระทำได้โดยอาศัยมติของสมัชชาตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง

       4. สมาชิกที่ฝ่าฝืนหลักการอาจถูกไล่ออกจากการเป็นสมาชิกได้โดยสมัชชาซึ่งได้รับการแนะนำจากคณะมนตรีความมั่นคง ส่วนปัญหาที่ว่า สมาชิกจะถอนตัวออกจากองค์การสหประชาชาติตามความสมัครใจได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้มิได้ระบุไว้ในกฎบัตร


ข้อใด ไม่ใช่ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่สังกัดสหประชาชาติ un

แผนที่แสดงประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

ในด้านวัตถุประสงค์นั้น กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้  

          1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และ ความมั่นคงระหว่างประเทศ

          2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน



          3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือ มนุษยธรรม และ การส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา

          4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน

          กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาด้วย เจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ

สหประชาชาติมีการดำเนินงานเกือบทั่งทั้งโลกโดยผ่านหน่วยงานหลัก 6 องค์กร ซึ่งมี

         1. สมัชชา  สมัชชาเป็นที่รวมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง มีหน้าที่พิจารณาและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ  ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ แม้ว่าสมัชชากำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลก สมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วๆ ใช้เสียงข้างมากแต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม

          2. คณะรัฐมนตรีความมั่นคง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร มี 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และ สมาชิกชั่วคราว มี 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
          ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง ( Veto ) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้นๆ ตกไป

          3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่สำคัญ คือ การส่งเสริมและจัดทำข้อเสนอแนะกิจกรรม ที่มุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเรื่องการค้า การขนส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ ประชากรและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์
          คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี การลงคะแนนเสียงใช้คะแนนเสียงข้างมาก ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ( The Economic and Social Commission for Asia and The Pacific : ESCAP ) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร


           4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี ประกอบด้วย จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลดินแดนในภาวะทรัสตี คือประเทศที่ยังไม่ได้รับเอกราชสมบูรณ์ เพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนอันจะนำไปสู่การปกครองตนเอง หรือการได้รับเอกราช
           เดิมดินแดนในภาวะทรัสตีมี 11 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งได้รับเอกราชไปหมดแล้ว ปาเลา (Palau) เป็นดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งสุดท้าย เดิมอยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกาได้รับเอกราชเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1994 ส่งผลให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีหยุดการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการและจะประชุมเฉพาะเรื่องพิเศษตามความจำเป็น

           5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก  ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์การตุลาการที่สำคัญของสหประชาชาติ ประกอบด้วยผู้พิพากษา จำนวน 15 นาย อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี คู่ความที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้จะต้องเป็นรัฐคู่กรณีซึ่งเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ถ้ามิใช่สมาชิกจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมัชชา เอกชน จะนำคดีมาสู่ศาลนี้ไม่ได้

           6. สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริหารงานของสหประชาชาติภายใต้การนำของเลขาธิการสหประชาชาติเลือกตั้งโดยสมัชชาด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามทั้งนี้โดยคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง เลขาธิการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยหลักการเลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หน้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และ ทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ
           เลขาธิการคนปัจจุบันคือ บัน คีมูน (Ban Ki-moon) ซึ่งเป็นชาวเกาหลีใต้

ผลงานการปฏิบัติ

           1.ด้านความขัดแย้ง เช่น ปัญหาสงครามในคาบสมุทรเกาหลี ปัญญาอิรักยึดครองดินแดนคูเวต เป็นต้น

           2.ด้านการลดอาวุธ มีการจัดทำสนธิสัญญาลดอาวุธและควบคุมอาวุธขึ้นหลายฉบับ เพื่อให้เกิดความมั่นคงระหว่างประเทศและไม่ก่อสงครามขึ้นอีก

            3.ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการส่งเริมและสนับสนุนทางด้านการเงิน เศรษฐกิจ บุคลากรและสังคมโดยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา

            4.ด้านสิทธิมนุษยชน มีการกำหนดว่า วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นมนุษยชนโลกเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษย์ทั่วโลกให้มีสิทธิ เสมอภาค และเทียมกัน

            5.ด้านกฎหมาย มีการจัดร่างกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นหลายฉบับ เพื่อรักษาความยุติธรรม เช่น  กฎหมายว่าด้วยการทูต   กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ  กฎหมายทางทะเล เป็นต้น

            6.ด้านความเป็นเอกราชของประเทศ  ดินแดนที่อยู่ในความดูแลของคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติได้รับการปลดปล่อยเป็นเอกราช เช่น ปาปัวนิวกินี นาอูรู โตโก เป็นต้น