บุคคลสำคัญที่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

บุคคลสำคัญที่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศทั่วโลกต่างต้องการสันติภาพและความสงบสุข แนวคิดในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (United Nations - UN) จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2484 ระหว่างการประชุมของฝ่ายพันธมิตร นำโดยแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ร่วมลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก เพื่อจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ และเป็นผู้เริ่มใช้คำว่า “สหประชาชาติ”

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กฎบัตรสหประชาชาติได้ผ่านการลงนามจากประเทศสมาชิกถาวร (Permanent Members) 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน รวมถึงประเทศสมาชิกที่ลงนามในกฎบัตรขณะนั้น โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม 2488 จึงถือว่าวันที่ 24 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันสหประชาชาติ"

ความสำคัญของสหประชาชาติ

จุดประสงค์สำคัญในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาตินั้น คือ เพื่อระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ

ปัจจุบันมีสมาชิก 193 ประเทศทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีภาษาทางการที่ใช้อยู่ 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย จีน และภาษาอาหรับ

เลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งต่อจากนายบัน คีมูน (Ban Ki-moon) ไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 คือ นายอันโตนิอู กุแตเรช (António Guterres) ชาวโปรตุเกส

องค์การหลักของสหประชาชาติ

องค์การสหประชาชาตินั้นมีองค์กรหลักอยู่ 6 องค์กร ได้แก่ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly), คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council), คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council), คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council), สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ (The Secretariat) และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)

การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 73 (UNGA73) ในปีนี้ นางมารีอา เฟอร์นันดา เอสปิโนซา การ์เซส (H.E. Mrs. María Fernanda Espinosa Garcés) ประธานสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 73 ได้กำหนดหัวข้อการอภิปรายคือ “การทำให้สหประชาชาติเกี่ยวข้องกับประชาชน : การเป็นผู้นำระดับโลก และความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อสังคมที่สันติสุข เท่าเทียมและยั่งยืน” (Making the United Nations Relevant to All People: Global Leadership and Shared Responsibilities for Peaceful, Equitable and Sustainable Societies)

โดยในปีนี้มีผู้นำประเทศเกือบ 130 ประเทศ รัฐมนตรีต่างประเทศ ศิลปินเกาหลี ดาราฮอลลีวูดและเซเลบริตี้เดินทางเข้าร่วมประชุมกันอย่างคับคั่ง และในการประชุมครั้งนี้จะมีการประชุมย่อยๆ กว่า 342 ครั้ง รวมถึงการประชุมทวิภาคีของประเทศสมาชิกอื่นๆ อีกจำนวนมาก

ส่วนประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยนั้นมีอยู่หลายประเด็น ตั้งแต่วิกฤตผู้อพยพและผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะชาวโรฮีนจา ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ การปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี และการขึ้นกล่าวปราศรัยในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศของแอนน์ แฮทธาเวย์ (Anne Hathaway) นักแสดงสาวชาวอเมริกัน เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูล

http://www.un.org/en/sections/history/history-united-nations/index.html

https://www.yahoo.com/news/gridlock-k-pop-things-know-un-general-assembly-025654427.html

http://sdg.iisd.org/events/73rd-session-of-the-un-general-assembly/

http://www.mfa.go.th/main/th/news3/6886/94535-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมพิธี.html

             สหประชาชาติ ( United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลง ไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทาง สังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาต ชาติ เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา สหประชาชาติมีองค์กรจำนวนมาเพื่อนำภารกิจไปปฏิบัติ
              สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 องค์กรหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรี ความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานเลขาธิการ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงคณะมนตรีภาวะทรัสตีที่ปัจจุบัน ยุติการทำงานแล้ว นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ ตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดของสหประชาชาติ คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ บัน คี มุน ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 ต่อ จากโคฟี อันนัน
ประวัติการก่อตั้ง
             สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดองค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งถูกมองว่าไร้ประสิทธิภาพที่จะธำรงรักษาสันติภาพ ดังที่เห็นได้จาก ความล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า "สหประชาชาติ" เป็นแนวคิดของ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ถูกใช้ครั้งแรกในกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1942 ซึ่งเป็นการรวบรวมเอาประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร 26 ประเทศในสงครามโลกครั้งที่ สองเข้าด้วยกันภายใต้การลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกองค์การนี้ในที่สุด ในปี ค.ศ. 1944 ตัวแทนจากประเทศ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาชาติที่ดัมบา ตันโอกส์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. การประชุมครั้งนั้นและครั้งต่อ ๆ มา ทำให้เกิดรากฐานความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนเหล่านี้ได้ผ่านการถกเถียงอภิปรายจากรัฐบาลและประชาชนจากทั่วโลก
              เมื่อใกล้สิ้นสุดสงคราม การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 ที่นคร ซานฟรานซิสโก ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้า ร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ แม้สันนิบาตชาติจะถูกล้มเลิกไป แต่อุดมการณ์ส่วนใหญ่และ โครงสร้างบางประการได้ถูกกำหนดไว้ในกฎบัตรโดยได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับโลกใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น หลังจากกฎบัตรผ่านการ ลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฎบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น การประชุมสมัชชาครั้งแรกเกิดขึ้นที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1946
             ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 5 องค์กรหลัก (ไม่นับรวมคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ ซึ่งยุติการปฏิบัติงานไป ใน ค.ศ. 1994) ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานเลขาธิการและศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ สี่องค์กรในจำนวนนี้มีที่ทำการในสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ส่วนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้ง อยู่ที่กรุงเฮก ส่วนองค์กรย่อย ๆ ตั้งอยู่ที่เจนีวา เวียนนาและไนโรบี รวมไปถึงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก
              สหประชาชาติมีธง ที่ทำการไปรษณีย์ และดวงตราไปรษณียากรของตนเอง ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษา ฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีน และภาษาอาหรับ โดยที่ภาษาอาหรับได้ถูกเพิ่มเข้ามาหลังสุด เมื่อปี ค.ศ. 1973 ส่วนสำนักงาน เลขาธิการนั้นใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษที่กำหนดให้เป็นมาตรฐาน คือ อังกฤษบริติช และการสะกดแบบ ออกซ์ฟอร์ด ส่วนภาษาจีนมาตรฐาน คือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งเปลี่ยนมาจาก อักษรจีนตัวเต็ม ใน ค.ศ. 1971 เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น สมาชิกสหประชาชาติแทนสาธารณรัฐจีน

บุคคลสำคัญที่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

องค์กรและหน่วยงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ


การรักษาสันติภาพและความมั่นคง
             สหประชาชาติ ภายหลังจากที่ได้รับรองจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะมีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปยังเขต พื้นที่ที่มีความขัดแย้งในการใช้อาวุธที่สิ้นสุดลงหรือหยุดชะงักเพื่อบังคับใช้เงื่อนไขของข้อตกลงสันติภาพและห้ามปรามผู้เข้าร่วมรบจาก ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกัน สหประชาชาติไม่ได้มีกองกำลังติดอาวุธของตนเอง การรักษาสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ด้วยการอาสาสมัครจาก รัฐสมาชิกของสหประชาชาติ กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ มีชื่อเรียกว่า "หมวกน้ำเงิน" ผู้ซึ่งสมัครใจปฏิบัติตามมติ สหประชาชาติจะได้รับเหรียญสหประชาชาติ และพิจารณามอบเครื่องอิสริยาภรณ์สากล แทนที่จะเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหาร กองกำลัง รักษาสันติภาพทั้งหมดได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อปี ค.ศ. 1988
              เหล่าผู้ก่อตั้งสหประชาชาติได้เผชิญหน้ากันว่าองค์การสหประชาชาติจะทำหน้าที่ป้องกันความขัดแย้งระหว่างรัฐและทำให้สงคราม ในอนาคตกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การแตกหักของสงครามเย็นได้ทำให้ข้อตกลงการรักษาสันติภาพกลายเป็นความยุ่ง ยากอย่างมาก เนื่องจากมีการแบ่งส่วนต่าง ๆ ของโลกออกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ภายหลังจากสงครามเย็น ได้มีความหวังใหม่ว่าสหประชาชาติ จะเป็นผู้ธำรงสันติภาพของโลก ในขณะที่ยังมีความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบันทั่วโลก
              ในปี ค.ศ. 2005 การศึกษาบริษัทแรนด์ได้พบว่าสหประชาชาติประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพสองในสาม ได้มีการเปรียบ เทียบว่าความพยายามสร้างชาติของสหประชาชาตินี้กับความพยายามของสหรัฐอเมริกา และพบว่าเจ็ดในแปดกรณีของสหประชาชาตินั้นอยู่ ในสภาวะสันติภาพ ไม่เหมือนกับสี่ในแปดกรณีของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในสภาวะสันติภาพ ในปี 2005 รายงานความมั่นคงของมนุษย์ได้เป็น พยานหลักฐานของสงคราม การล้างชาติพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษย์หลายครั้งตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามเย็น และนำเสนอหลักฐาน กรณี แวดล้อมและกิจการสากล ซึ่งส่วนใหญ่นำโดยสหประชาชาติ เป็นสาเหตุของการลดจำนวนลงของความขัดแย้งด้วยอาวุธภายหลังสงคราม เย็น สถานการณ์ที่สหประชาชาติมีส่วนร่วมรักษาสันติภาพได้ รวมไปถึง สงครามเกาหลี และการอนุญาตให้เข้าแทรกแซงในอิรัก ภายหลัง จากที่อิรักรุกรานคูเวต ในปี ค.ศ. 1990
              แต่สหประชาชาติก็ได้รับคำวิจารณ์จากความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพหลายครั้ง ในหลายกรณีที่รัฐสมาชิกปฏิบัติการด้วยความ ไม่เต็มใจในการปฏิบัติตามหรือการบังคับใช้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่ปิดกั้นธรรมชาติของรัฐบาล นานาชาติของสหประชาชาติ ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากความร่วมมือกันของรัฐสมาชิก 192 ประเทศต้องมีความเป็นเอกฉันท์ ไม่ใช่องค์การที่มี อิสระ ความไม่เห็นด้วยกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทำให้สหประชาชาติล้มเหลวที่จะป้องกันเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน รวันดา เมื่อปี ค.ศ. 1994[24] ล้มเหลวที่จะป้องกันที่จะยื่นความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในเข้าแทรก สงครามคองโกครั้งที่สอง ล้มเหลวที่ จะเข้าแทรกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซรีเบนนิกา เมื่อปี ค.ศ. 1995 และการป้องกันผู้ลี้ภัยโดยการใช้กำลังรักษาสันติภาพ ล้มเหลวที่จะส่ง อาหารให้แก่ผู้คนที่อดอยากในโซมาเลีย ล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ และล้มเหลวในการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเข้าแทรกแซงในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ กองกำลังรักษา สันติภาพของสหประชาชาติตกเป็นจำเลยในการข่มขืนกระทำชำเราเยาวชน การทารุณทางเพศ หรือการใช้บริการโสเภณีระหว่างภารกิจ รักษาสันติภาพหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา ในคองโก เฮติ ไลบีเรียซูดาน บุรุนดีและโกตดิวัวร์
             ในความพยายามที่จะรักษาสันติภาพ สหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในความพยายามด้านการลดและลดอาวุธ การวางระเบียบของ อาวุธยุทธภัณฑ์ รวมไปถึง การเขียนกฎบัตรสหประชาชาติในปี 1945 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่จะลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทาง เศรษฐกิจในการผลิตอาวุธ อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น ก็ปรากฏอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้แนวคิดของการจำกัดอาวุธและการลด อาวุธต้องหยุดชะงักไป โดยมีผลในมติการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อ "การทำลายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอื่นที่ สามารถก่อการทำลายล้างสูงได้" โดยกระทู้หลักของประเด็นการลดอาวุธอยู่ที่คณะกรรมการการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก คณะ กรรมาธิการการลดอาวุธของสหประชาชาติ และการเจรจาลดอาวุธ โดยได้พิจารณาห้ามการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การควบคุมอาวุธ อวกาศ การห้ามใช้อาวุธเคมีและกับระเบิด การลดอาวุธและระเบิดนิวเคลียร์ การกำหนดเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การลดงบประมาณ ทางการทหาร และความพยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงสากล

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/สหประชาชาติ