ข้อใดเป็นประเภทของกฎหมายที่แบ่งโดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายมหาชน (อังกฤษ: public law) คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม[1] อาจแบ่งเป็นกฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง กฎหมายภาษี กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาคดี[1] ส่วนกฎหมายที่ว่าเฉพาะด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันนั้นเรียก กฎหมายเอกชน

กฎหมายมหาชนนั้นว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลและไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น รัฐที่มีอำนาจกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของปัจเจกบุคคล แต่ด้วยผลของหลักนิติธรรม การกำหนดดังกล่าวจะต้องเป็นไปภายในขอบเขตของกฎหมาย (secundum et intra legem) และรัฐจะต้องเคารพกฎหมาย ราษฎรที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ทางปกครองก็อาจร้องขอต่อศาลให้ทบทวนคำวินิจฉัยดังกล่าว

การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นฝ่ายมหาชนและเอกชนนั้นย้อนหลังไปได้ถึงสมัยกฎหมายโรมัน ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์จัดการแบ่งแยกดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และนับแต่นั้น แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกก็แพร่ไปสู่ประเทศคอมมอนลอว์ด้วย

ขอบเขตของกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนอาจทับซ้อนกันได้ในบางกรณี ทำให้มีความพยายามที่จะเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับรากฐานของกฎหมายทั้งสองกลุ่มมาตลอด

คำนิยาม[แก้]

  • อัลเปียน นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิค อธิบายว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนเอกชนเกี่ยวกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน
  • ศาสตราจารย์มอริส ดูแวร์แซ่ แห่งมหาวิทยาลัยปารีส อธิบายว่า มหาชนได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณท์ทั้งหลายของกฎหมายเกี่ยวกับสถานะและอำนาจผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปกครอง กับผู้อยู่ใต้ปกครอง
  • ศาสตราจารย์อองเดร เดอ โรบาแตร์ อธิบายว่ากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายวางกฎเกณท์แก่สาธารณบุคคล อันได้แก่รัฐ องค์การปกรอง และรวมตลอดถึงนิติบุคลตามกฎหมายมหาชน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Elizabeth A. Martin (2003). Oxford Dictionary of Law (7th ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 0198607563.
  2. De Laubadhre andre, Droit Public economique, Dalloz, 2 ed., 1976,p.14.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (กฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ)

ประเภทของกฎหมาย

           การแบ่งแยกประเภทกฎหมายที่นิยมใช้กันมีอยู่  2 ประเภท คือ

          1.การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้ เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่

          -กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาหรือเรื่องทั่วๆไป เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติรวมไปถึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆของพลเมืองไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา

          -กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการที่จะบังคับหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัตินั่นเอง ได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฯลฯ ตัวอย่างเช่นในประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าผู้ใดฆ่าผู้อื่นผู้นั้นมีความผิด แต่ไม่ได้กำหนดว่ามีจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร ไม่มีขั้นตอนการดำเนินการกำหนดไว้ เราก็ต้องอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เราอาจเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างง่ายๆได้ว่า หากเราเปรียบเทียบว่ากฎหมายสารบัญญัติเปรียบได้กับเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการกรองน้ำให้สะอาด  กฎหมายวิธีสบัญญัติก็จะหมายถึงวิธีการใช้เครื่องกรองน้ำนั้นหรือกระบวนการการทำงานของเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำสะอาดให้เราใช้ดื่มกินนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการการกรองน้ำติดตั้งอยู่ในเครื่อง เราก็จะทำการกรองน้ำให้สะอาดไม่ได้  เช่นเดียวกันนี้ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติก็จะทำได้ยาก เพราะไม่มีแบบแผนและวิธีการแน่นอน ขาดความเป็นระเบียบและไร้ประสิทธิภาพ 

          2.แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่ 

          -กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชน รวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วยกันด้วย กฎหมายเอกชนก็ได้แก่กฎหมายแพ่ง  และกฎหมายพาณิชย์  กฎหมายแพ่งจะกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่รวมไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนกฎหมายพาณิชย์ก็จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกัน เช่น กำหนดถึงสิทธิแบะหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาซื้อขาย คู่สัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ

          -กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าที่ของรัฐกับประชาชน เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

          -กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ  เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ