พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า “เจ้าสัว”

พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

Show

เรื่องที่ 1 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

พระราชกรณียกิจ หมายถึง งานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงทำ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554)

ความสำคัญของพระราชกรณียกิจ

พระมหากษัตริย์ไทย ทรงคำนึงถึงพระราชกรณียกิจ ซึ่งทรงทำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ถาวรเป็นมรดกของชาติสืบไป และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแก่ปวงอาณาประชาราษฎร์และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกประการ ยังผลให้พสกนิกรอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี สืบมาจนถึงทุกวันนี้

พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมแม้การปฏิบัติ พระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ทรงกระทำอย่างครบถ้วน สม่ำเสมอ สามารถผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ ของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มีดังนี้

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”
videoplayback (4).mp4

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นราชธานี และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง พระราชบิดา คือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิมว่า ทองดี สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) พระราชมารดาพระนามเดิมว่า หยก หรือ ดาวเรือง เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อวันพุธ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352

พระราชกรณียกิจ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองนานัปการ โดยเฉพาะในด้านการสงคราม ทรงทำศึกสงครามป้องกันและขยายพระราชอาณาจักรหลายครั้ง ครั้งสำคัญในรัชกาล คือ สงครามเก้าทัพใน พ.ศ. 2328 ซึ่งได้รับชัยชนะเป็นที่เลื่องลือในยุทธวิธีการรบของกองทัพไทยที่มีกำลังพลน้อยกว่าข้าศึกที่ยกมาถึงเก้าทัพ

ด้านกฎหมายบ้านเมือง โปรดให้ชำ ระพระราชกำหนดกฎหมายให้ถูกต้องแล้วให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกไว้ ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และพระคลัง เพื่อใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร กฎหมายนี้เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวง

ด้านศาสนา พ.ศ. 2331 โปรดเกล้าฯให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดนิพพานาราม(ปัจจุบัน คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) และโปรดให้ตรากฎพระสงฆ์ควบคุมสมณปฏิบัติและข้อพึงปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งพระราชกำหนดกวดขันศีลธรรมข้าราชการและพลเมือง มีพระราชศรัทธาทำนุบำรุงพระอารามทั้งในเขตพระนครและหัวเมืองหลายแห่ง วัดประจำ รัชกาล คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม โปรดให้สร้างปราสาทพระราชวัง วัดวาอาราม เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสระเกศและวัดสุทัศนเทพวราราม ทั้งยังฟื้นฟูทำนุบำรุงงานศิลปกรรม ขนบธรรมเนียมและราชประเพณีต่าง ๆ ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าฉิม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2367

พระราชกรณียกิจ

พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่อบ้านเมืองและราษฎรหลายด้าน เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี เพราะวรรณคดีของชาติรุ่งเรืองมาก ทรงส่งเสริมศิลปะทุกประเภททรงพระปรีชาสามารถในงานวรรณกรรมและบทละครเป็นอย่างยิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมและบทละครต่าง ๆ ที่ทรงคุณค่าไว้จำนวนมาก เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน (บางตอน) บทละครเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ คาวี ไกรทอง มณีพิชัย สังข์ทอง กาพย์เห่เรือ และบทพากย์โขนตอนเอราวัณ นาคบาศ และนางลอย เป็นต้น

นอกจากนี้ พระองค์ยังสนพระราชหฤทัยด้านศิลปะการดนตรีเป็นอย่างยิ่งทรงเชี่ยวชาญและโปรดซอสามสาย พระองค์มีซอคู่พระหัตถ์อยู่คันหนึ่ง พระราชทานนามว่า“ซอสายฟ้าฟาด” ทั้งนี้ พระองค์ยังพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน (บุหลันเลื่อนลอยฟ้าหรือ สรรเสริญพระจันทร์ บางแห่งเรียกว่า เพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ ศิลปะด้านนาฏกรรมเจริญรุ่งเรืองมาก ความงดงามไพเราะทั้งบทละคร ท่ารำ ได้ปรับปรุงและใช้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์ของชาติมาจนปัจจุบัน

ด้านการปกครอง ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองในทุกด้าน โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการต่าง ๆ สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นเมืองหน้าด่านชายทะเลเพื่อป้องกันข้าศึกรุกราน

ด้านการค้ากับต่างประเทศ ปรากฏว่าการค้ากับจีนและประเทศทางตะวันตกเฟื่องฟูมาก ทรงส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ โดยทรงส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับจีน เขมร ญวนมลายู มีเรือสินค้าของหลวงเดินทางไปจีนเป็นประจำ รวมทั้งประเทศตะวันตกต่าง ๆ เช่น โปรตุเกสอังกฤษ เป็นต้น นำรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก

ด้านสังคม ทรงพระราชดำริว่า การสูบฝิ่นเป็นอันตรายแก่ผู้สูบ ทั้งก่อให้เกิดคดีอาชญากรรมขึ้นมาก แม้ฝิ่นจะนำรายได้จำนวนมากเข้าพระคลังหลวง แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อราษฎร ทรงตราพระราชกำหนดห้ามมิให้ซื้อขายและสูบฝิ่น ทรงกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้อย่างหนัก

ส่วนการพระศาสนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ริเริ่มการประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้นใน พ.ศ. 2360 เป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบริหารราชการโดยการกระจายอำนาจการบริหารไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆทรงมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินแก่เจ้านายและขุนนางที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยทรงส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามความสามารถและความถนัดของบุคคลนั้น ๆการปกครองหัวเมืองประเทศราช ทรงใช้นโยบายสร้างดุลอำนาจของขุนนางในการบริหาร การปกครองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทรงใช้นโยบายการทหาร การทูต และการค้า ควบคู่กันไปตามแต่สถานการณ์ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ส่งผลให้บ้านเมืองมีความสุข พสกนิกรไทยต่างตระหนักถึงพระบารมีปกเกล้าด้านพุทธศาสนา อักษรศาสตร์ ศิลปะ และนาฏยศิลป์ อันเป็นต้นแบบแห่งศาสตร์และศิลป์นานัปการ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาเรียมเสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394

พระราชกรณียกิจ

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้รับการยกย่องว่ามีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจและศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำรายได้เข้าสู่ท้องพระคลังมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อเสวยราชย์แล้ว ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจด้วยการประหยัดรายจ่ายและเพิ่มพูนรายได้แผ่นดิน โดยการแก้ไขวิธีเก็บภาษีอากรแบบเดิม เช่น เปลี่ยนเก็บอากรค่านาจากหางข้าวมาเป็นเงิน ทรงตั้งภาษีอากรใหม่ อีก 38 ชนิด และทรงกำหนดระบบเจ้าภาษีนายอากรใหม่ โดยรัฐเก็บภาษีเองเฉพาะภาษีที่สำคัญบางอย่างด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในการพาณิชย์มานับแต่สมัยรัชกาลที่ 2 จนทรงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมชนกนาถว่าเป็น “เจ้าสัว” เพราะทรงเชี่ยวชาญในด้านการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการค้ากับจีน เป็นผลให้มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมากก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชทรัพย์ดังกล่าวนี้บรรจุไว้ในถุงแดงเก็บรักษาไว้ในพระคลังข้างที่ ต่อมาเรียกว่า “เงินถุงแดง” (ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5พ.ศ. 2436 ทรงใช้เงินถุงแดงเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112)

ด้านพระศาสนา ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี ในรัชสมัยของพระองค์ ผลที่เกิดจากการที่ทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือ ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นพระราชนิยม เช่นการเปลี่ยนแปลงส่วนหลังคาโบสถ์ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบจานชามจีน เช่น ที่วัดราชโอรสาราม จิตรกรรมก็มีลักษณะผสมผสานแบบจีน

ตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แผ่นดินสยามมีความมั่นคงทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ ก็ด้วยพระบารมีปกเกล้า ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิจารณญาณที่กว้างไกล พระราชภารกิจที่ทรงมี ทำให้บ้านเมืองเปรียบเสมือนฐานแห่งความมั่นคงและความเจริญของประเทศที่ได้รับการบูรณาการโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในอีกหลายรัชกาลต่อมา จากการที่พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อบ้านเมืองอย่างเต็มพระสติกำลังตลอดเวลาแห่งรัชกาล ทรงได้รับการถวายราชสดุดีจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระองค์ท่านเป็นหัวใจแผ่นดิน”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

พระราชกรณียกิจ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องเผชิญกับการคุกคามโดยการแผ่ขยายอำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกรอบด้าน โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของประเทศไทยในฐานะประเทศเอกราชประเทศเล็กซึ่งด้อยกว่าอังกฤษและฝรั่งเศส จึงต้องดำเนินนโยบายการเจรจาผ่อนปรนทางการทูต การทำสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์กับประเทศต่าง ๆ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการรักษาเอกราชของชาติ เพราะในรัชสมัยของพระองค์ตรงกับสมัยลัทธิจักรวรรดินิยมที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแข่งขันแสวงหาอาณานิคม พระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่สยามต้องยอมเปิดสัมพันธภาพกับประเทศตะวันตก โดยทำสนธิสัญญาในลักษณะใหม่ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งเซอร์จอห์น เบาว์ริงเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มเชิญพระราชสาส์นมาเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยามใน พ.ศ. 2398 พระองค์ทรงต้อนรับอย่างสมเกียรติ และโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์จอห์น เบาว์ริง เข้าเฝ้าเพื่อเจรจากันเป็นการภายในแบบมิตรภาพก่อน ซึ่งเป็นที่ประทับใจของอัครราชทูตอังกฤษมากการเจรจาเป็นทางการใช้เวลาไม่นานก็ประสบความสำเร็จ อังกฤษและสยามได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ต่อกันในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 เป็นที่รู้จักกันในนามว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง

พระองค์ทรงวางรากฐานในการยอมรับความเจริญก้าวหน้าแบบอารยประเทศมาใช้ในสยาม เช่น การรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการด้วยการให้เป็นล่าม เป็นผู้แปลตำราเป็นครูหัดทหารบกและโปลิศ ซึ่งโปรดให้จัดตั้งขึ้นตามแบบยุโรป นอกจากกิจการดังกล่าวแล้ว ยังมีงานสมัยใหม่เกิดขึ้นอีกมาก เช่น การสำรวจทำแผนที่ชายแดนพระอาณาเขต การตั้งโรงพิมพ์อักษรในพระบรมมหาราชวัง เพื่อพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎหมาย คำสั่ง ข่าวราชการต่าง ๆ สร้างโรงกษาปณ์สิทธิการ (ปัจจุบันเป็นกรมธนารักษ์) เพื่อใช้ทำเงินเหรียญแทนเงินพดด้วงใช้อัฐทองแดงและดีบุกแทนเบี้ยหอย จัดตั้งศุลกสถาน (กรมศุลกากร) สถานที่เก็บภาษีอากรมีถนนสำหรับใช้รถม้า เกิดตึกแถวและอาคารแบบฝรั่ง โรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร ฯลฯ

นอกจากนี้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ทรงก่อตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย ทรงบูรณะและปฏิสังขรณ์พระอารามที่สร้างค้างในรัชกาลก่อนให้ลุล่วงเรียบร้อยที่สำคัญยิ่ง คือ ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์เป็นงานใหญ่

ด้านการศึกษา พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก จึงทรงริเริ่มสนับสนุนการศึกษาภาษาอังกฤษและวิทยาการสมัยใหม่ของโลกตะวันตก โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ ทรงมีพระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์เลื่องลือในวงการดาราศาสตร์ทั่วโลก ด้วยทรงสามารถคำนวณวันเวลาและสถานที่เกิดสุริยปราคาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินีเสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีมากมายเป็นอเนกประการ แต่ที่อยู่ในความทรงจำของอาณาประชาราษฎร์ ได้แก่ พระราชกรณียกิจที่ทรงเลิกทาส โดยใช้วิธีผ่อนปรนเป็นระยะ พอมีเวลาให้ผู้เป็นนายและตัวทาสเองได้ปรับตัว ปรับใจทรงพระราชดำริเริ่มจัดการศึกษาในทุกระดับ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น เพื่อให้การศึกษาแก่คนทุกชั้นตั้งแต่เจ้านายในราชตระกูลไปจนถึงราษฎรสามัญ ในตอนกลางและตอนปลายรัชกาลของพระองค์การศึกษาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีโรงเรียนวิชาชีพชั้นสูงหลายแห่งเกิดขึ้น เช่น โรงเรียนนายร้อยโรงเรียนนายเรือ โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนแพทยาลัย และโรงเรียนยันตรศึกษา เป็นต้น

พระราชกรณียกิจสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศและการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการเงินการคลัง ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2416 เพื่อจัดระบบรายรับของประเทศให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้นกว่าแต่ก่อน ทดแทนวิธีการที่ใช้เจ้าภาษีนายอากรเป็นเครื่องมือ ทรงพระราชดำริแก้ไขระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2435 โดยทรงยกเลิกระบบเสนาบดีแบบเดิม แล้วทรงแบ่งราชการเป็นกระทรวงจำนวน 12 กระทรวง ทรงแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน และเหมาะกับความเป็นไปของบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์

นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจด้านการสาธารณูปโภค และสาธารณสุขโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองจัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นแห่งแรกที่ตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ. 2448 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟหลวงสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ - นครราชสีมา และริเริ่มกิจการด้านไฟฟ้า ประปา และโทรเลข ส่วนด้านการสาธารณสุข โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อ พ.ศ. 2431 พระราชทานนามว่า“โรงศิริราชพยาบาล” ปัจจุบัน คือ “โรงพยาบาลศิริราช

ส่วนพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุด คือ การที่ทรงรักษาอิสรภาพของชาติไว้ได้รอดปลอดภัย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบทุกทิศต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกแต่ชาติไทยสามารถดำรงอธิปไตยอยู่ได้อย่างน่าอัศจรรย์

โดยสรุป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการปฏิรูปประเทศในลักษณะ “พลิกแผ่นดิน” ซึ่งส่งผลเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่ออาณาประชาราษฎร์ และก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นอเนกอนันต์แก่บ้านเมืองท่ามกลางกระแสการคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกในขณะนั้น พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ล้วนเป็นการวางรากฐานและเป็นต้นแบบของความเจริญทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2423 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

พระราชกรณียกิจ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการต่อประชาชนชาวไทยและประเทศมากมาย ด้วยพระปรีชาสามารถดุจนักปราชญ์ของพระองค์โดยทรงวางแผนการพัฒนาด้านต่าง ๆ เริ่มจากการที่พระองค์มีพระราชดำริในการที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศซึ่งทรงเน้นการให้การศึกษาแก่พสกนิกรเป็นประการสำคัญ ทรงปรับปรุงโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งตั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”เมื่อ พ.ศ. 2453 และโปรดสร้างอาคารเรียนที่อำเภอปทุมวัน เมื่อ พ.ศ. 2458 ต่อมาทรงสถาปนาขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2459 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ใน พ.ศ. 2461 พร้อมทั้งทรงขยายงานด้านประถมศึกษาให้กว้างขวางขึ้น

พระราชกรณียกิจการพัฒนาประเทศที่สำคัญ คือ ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกเป็น “ธงไตรรงค์” เช่นปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศอีกด้านหนึ่ง คือ พระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงจัดตั้งคลังออมสิน (ปัจจุบัน คือ ธนาคารออมสิน) ทรงก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยนอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจด้านกิจการกองเสือป่าและกองลูกเสือพระองค์ทรงจัดตั้งกองเสือป่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 มีพระราชประสงค์ที่จะฝึกหัดอบรมข้าราชการพลเรือนให้ได้รับการฝึกอบรมอย่างทหาร เป็นพลเมืองที่มีระเบียบวินัยและมีความสามัคคีในชาติ ส่วนกองลูกเสือโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นกิจการของเยาวชนตั้งขึ้นคู่กับกองเสือป่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 และได้รับการยกย่องว่าเป็นพระบิดาแห่งลูกเสือไทย

แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการปกครอง ทรงมีความเป็นประชาธิปไตยแต่ชาวไทยและชาวต่างประเทศก็รู้จักพระองค์และยกย่องพระองค์ทางด้านอักษรศาสตร์มากกว่ามีพระราชนิพนธ์มากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่นพระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา นายแก้วนายขวัญ เป็นต้น ในรัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุครุ่งเรืองของกิจการพิมพ์และหนังสือพิมพทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ มิใช่จะทรงเป็นปราชญ์ด้านอักษรศาสตร์ ผู้รจนาคำประพันธ์หลากหลายประเภทจำนวนมากเท่านั้น หากแต่ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จึงทรงวางแผนบริหารประเทศในลักษณะ “การตั้งรับและป้องกัน” ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การป้องกันตนเองของพลเรือน การวางระบบให้การศึกษาแก่ราษฎรทั้งประเทศ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต เมื่อวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคมพ.ศ. 2484

พระราชกรณียกิจ

พระองค์ทรงริเริ่มสิ่งใหม่ให้ปรากฏในแผ่นดินหลายประการ ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะการวางรากฐานระบบข้าราชการพลเรือนไทยในยุคปัจจุบัน อันมาจากแนวพระราชดำริ 4 ประการ คือ

1) ให้ข้าราชการพลเรือนอยู่ในระเบียบเดียวกัน

2) ให้เลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ

3) ให้ข้าราชการพลเรือนยึดถือการเข้ารับราชการเป็นอาชีพ และ

4) ให้ข้าราชการพลเรือนมีวินัย ซึ่งจากแนวพระราชดำรินี้ ทรงร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ด้านการปกครอง พระองค์มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แด่คนไทยแต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ จึงได้ระงับไปก่อน ต่อมาเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติโดยคณะราษฎรในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระองค์จึงยินยอมสละพระราชอำนาจ และเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นำไปสู่การตั้งรัฐสภาและรัฐบาล เพื่อบริหารราชการแผ่นดินต่อมามีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพระราชทานรัฐธรรมนูญสำหรับการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

ด้านการศึกษาและการศาสนา ทรงปฏิรูปมหาวิทยาลัย โดยทรงสร้างกลไกการปฏิรูปมีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงและผู้ชายได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา มีโอกาสเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์

ด้านศาสนา ทรงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ขนานนามว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ”

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจในการบริหารจัดการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ด้านการปกครอง ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับที่ 2 ประกาศใช้หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับที่ 1 พุทธศักราช 2475 ที่ประกาศใช้มาเป็นเวลา 14 ปี

การแก้ไขความบาดหมางระหว่างชาวไทย - จีน โดยพระองค์ได้เสด็จประพาสสำเพ็ง อย่างเป็นทางการ โดยมีพระราชประสงค์สำคัญที่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างชาวไทยกับชาวจีน นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่มีความสำคัญและเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างไพศาล ในฐานะพระประมุขสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเอกราช โดยการเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามกองทหารสหประชาชาติพร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบตเตน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนี้เป็นการประกาศยืนยันแน่ชัดถึงสถานภาพความเป็นเอกราชของประเทศไทย สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชนชาวไทยอย่างดียิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระนามเดิมว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี มีพระปฐมบรมราชโองการแก่ประชาชนชาวไทยว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจของพระองค์ในระยะเริ่มแรก ทรงเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านำไปสู่การพัฒนา เน้นการเกษตรเป็นหลัก เพราะราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพกสิกรรม ทรงตระหนักว่าเกษตรกรส่วนใหญ่การศึกษาน้อย ขาดหลักวิชาสมัยใหม่ต้องเผชิญปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติน้ำ ดิน ป่าไม้ แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค พระองค์มีพระราชประสงค์ให้เกษตรกรเรียนรู้เรื่องการอาชีพ มีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ดังที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่

1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่

2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร

3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี

4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี

6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส

พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ทรงตระหนักว่าปัญหาเกษตรกรมาจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ถูกทำลายจำนวนมาก ทรงคิดค้น ดัดแปลงปรับปรุง และแก้ไขด้วยการพัฒนาที่ดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของความเป็นอยู่ และระบบนิเวศในแต่ละภูมิภาค พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมาตลอดรัชสมัยเป็นที่ยอมรับ ทรงสร้างรูปแบบที่เป็นตัวอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืน ผสมผสานความต้องการของราษฎรให้เข้ากับการประกอบอาชีพ โดยทรงนำพระราชดำริมาปฏิบัติจริง และสามารถพัฒนาให้เป็นทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นระบบการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยทรงเน้นคนเป็นศูนย์กลางตลอดมา พระองค์เป็นต้นแบบการบริหารจัดการที่ดีในทุกพระราชภารกิจ ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงเกื้อหนุนการบริหารราชการทุกรัฐบาล แนวพระราชดำริจำนวนมากที่พระราชทานให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติล้วนมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนชาวไทยมีความสุข ได้รับบริการจากรัฐอย่างทั่วถึง เข้าถึงทรัพยากรของชาติอย่างเท่าเทียมกัน และใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด

พระราชกรณียกิจในช่วงสมัยต้น ๆ เป็นลักษณะของการพัฒนาสังคม เช่น การรณรงค์หาทุนเพื่อก่อสร้างอาคารพยาบาล การต่อสู้โรคเรื้อนของมูลนิธิราชประชาสมาสัย การจัดตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาที่สำคัญยิ่งคือ งานพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับน้ำ ทั้งการพัฒนา การจัดหาแหล่งน้ำการเก็บกักน้ำ การระบาย การควบคุม การทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนอกจากนี้ ยังมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เช่น โครงการ “น้ำดีไล่น้ำเสีย” ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ โดยทรงใช้น้ำที่มีคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาให้ช่วยผลักดันและเจือจางน้ำเน่าเสียให้ออกจากแหล่งน้ำของชุมชนภายในเมืองตามคลองต่าง ๆแนวพระราชดำริด้านการเกษตรที่สำคัญ คือ “ทฤษฎีใหม่” เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ราษฎร เป็นผลให้เกิดการพัฒนาสังคมและทรัพยากรบุคคลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และสงบสุข

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในรัชสมัยของพระองค์มีทั้งสิ้นมากกว่า 4,000 โครงการอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทั้งสิ้น ทั้งในด้านการประดิษฐ์ ได้แก่ การประดิษฐ์ “กังหันชัยพัฒนา” ซึ่งเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย

งานทางด้านวรรณศิลป์ พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลายภาษาทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนกฉบับการ์ตูน เป็นต้น งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมาก และรอบรู้ในเรื่องการดนตรีเป็นอย่างดี พระองค์ทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟนคลาริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์และเปียโน พระองค์ยังได้ประพันธ์เพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงด้วยกัน เช่น เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก นอกจากนี้ยังมีเพลงสายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ สายลม ค่ำแล้ว ไกลกังวล ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และเพลงพรปีใหม่ เป็นต้น

ตลอดรัชสมัยพระองค์ได้ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกาย และกำลังพระสติปัญญา เพื่อพสกนิกรของพระองค์ ดังที่ปรากฏในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนเพื่อให้ประชาชนของพระองค์มีความเกษมสุขโดยเท่าเทียมกัน

กล่าวได้ว่า นับแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์ทรงบำ เพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของปวงอาณาประชาราษฎร์และความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองเป็นอเนกประการยังผลให้ราษฎร อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารตลอดมา พระองค์จึงทรงเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมจิตใจ และพลังสามัคคีของคนไทยทั้งชาติตลอดกาลนิรันดร์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับพรราชสมัญญานามว่า เจ้าสัว”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)

พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระนามเดิมว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515

ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติรับทราบมติคณะรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายพรเพชร ลิขิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท กราบบังคมทูลเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงตอบรับขึ้นทรงราชย์ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์เริ่มตั้งแต่การตามเสด็จพระราชดำเนินไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่และความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรทรงเรียนรู้แนวทางการพระราชทานความช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบปัญหาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความทุกข์ยากของราษฎรทุกหมู่เหล่า

นอกจากนี้ พระองค์ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่เกี่ยวกับการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทยโดยทรงรับโรงเรียนหลายแห่งไว้ในพระราชูปถัมภ์ เนื่องจากทรงตระหนักว่าการศึกษาจะสามารถพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต จึงพระราชทานพระราชดำริด้านการส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ “โครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน

ในยามที่ราษฎรประสบความเดือดร้อนเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเมื่อครั้งเกิดมหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรยังพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และยังได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัยสร้างความปลื้มปิติแก่ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น

พระราชภาระสำคัญประการหนึ่งที่ทรงปฏิบัติต่อเนื่อง คือ การเสด็จแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีป นอกจากจะเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นแล้ว ยังได้ทอดพระเนตรกิจการอันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ อันจะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะด้านการทหาร

สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในประเทศนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีสำคัญหลายโอกาส อาทิ การเปลี่ยนเครื่องทรง “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”หรือ “พระแก้วมรกต” ตามฤดูกาล การบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันสำคัญทางศาสนาการตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล และพระราชทานธงชัยเฉลิมพล การพระราชทานปริญญาบัตรในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ การพระราชทานพระราชวโรกาสให้เอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆเฝ้าทูลละอองพระบาทถวายราชสาส์น และอักษรสาส์นตราตั้ง ทั้งยัง พระราชทานพระราชวโรกาสให้นายทหารและนายตำรวจชั้นนายพล เฝ้าทูลละอองพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

การทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ โดยมิทรงว่างเว้นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สะท้อนถึงพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในการขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งยังประโยชน์สุขแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่าสืบมา

นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรงห่วงใยและทรงคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นสำคัญ และพระองค์มีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวพระราชดำริต่าง ๆในการบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้ประชาชนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ และประชาชน ทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชน ปัญหาการจราจร และอื่น ๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงห่วงใยปัญหาน้ำท่วมและปัญหาการจราจร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ในชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น

โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” โครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปลุกจิตสำนึกในการทำความดี ปลูกฝังให้คนทุกเพศทุกวัย ได้ตื่นตัวในการบำเพ็ญตน ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ชุมชน และประเทศชาติ