พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

2470

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินี

2471

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชธิดา และพระราชโอรส โดยได้เสด็จมาประทับ ณ วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระบรมราชชนนี จวบจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระชนมายุไม่ถึง 2 พรรษา

2475

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเริ่มเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

2476

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงนำพระโอรส พระธิดา ทั้ง 3 พระองค์ เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาและพระอนามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้น จึงทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน

2477

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาทั้งวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ เมื่อสำเร็จชั้นประถมศึกษา ได้ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซูวิส โรมองต์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองแซลลี ซูร์ โลซาน (Chailly-sur Lausanne)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบตามกฎมณเทียรบาลให้กราบบังคมทูลเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาเศษ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

2481

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระอนุชา โดยได้ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เป็นครั้งที่ 2 โดยได้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

2489

เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 รัฐสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติสืบต่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างที่รถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนผ่านพสกนิกรที่รอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ส่งเสด็จอยู่ตลอดสองข้างทางไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง ทรงได้ยินเสียงราษฎรตะโกนขึ้นว่า "ในหลวง อย่าละทิ้งประชาชน" ซึ่งได้พระราชนิพนธ์พระราชทานแก่หนังสือ "วงวรรณคดี" ในภายหลังว่าทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ละทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งประชาชนอย่างไรได้"

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด

ทรงเสด็จเยี่ยมชาวเขาชนเผ่าต่าง ๆ ในเขตจังหวัดภาคเหนือ

2491

ในระหว่างที่ทรงศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้เปลี่ยนแผนการศึกษาจากแผนกวิชาวิทยาศาสตร์ มาเป็นสาขาวิชาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงขับชนกับรถบรรทุกอย่างแรง เป็นผลให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัสแม้ว่าจะได้รับการถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องแต่พระอาการไม่ดีขึ้น จนทรงไม่สามารถใช้พระเนตรขวาได้อีก ระหว่างนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ได้มีโอกาสเฝ้าเยี่ยมพระอาการอยู่เป็นประจำ และสมเด็จพระราชชนนี ทรงขอให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายมาศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนทรงมีจิตปฏิพัทธ์สัมพันธ์ใกล้ชิดนับแต่นั้นเป็นต้นมา

2492

ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ทรงหมั้นหมายกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

2493

จวบจนในปี พ.ศ. 2493 ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ กิติยากร โดยเสด็จกลับประเทศไทยด้วย

หลังพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนัก สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในวังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรงลงพระปรมาภิไธย และลงนามในสมุดทะเบียนราชาภิเษกสมรส และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีขึ้น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” ในโอกาสนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่า “เราจักครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

2499

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์
ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลนี้ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด

ทรงเสด็จเยี่ยมพื้นที่แห้งแล้งในภาคอีสาน

ตลอดระยะวลา 70 กว่าปี ของการครองราชย์ได้ทรงอุทิศพระองค์ ให้แก่ ประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปปการในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขและใช้เวลาส่วนพระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยทรงใช้เวลาอยู่กับประชาชนครั้งละนาน ๆ อย่างใกล้ชิด จึงทรงตระหนักในปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการแก้ปัญหา รวมทั้งทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในโครงการต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน อันเป็นที่มาของโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพประสูติ ณ สถานที่ใด

องค์การสหประชาชาติถวายรางวัลเกียรติยศสูงสุดด้านการพัฒนา