สาเหตุ ที่พม่ายกทัพใหญ่มาโจมตีไทยสมัยรัชกาลที่ 1 เนื่องมาจากเหตุผลข้อใด

ไทย-พม่ารบกันมากว่า ๓๐๐ ปี สั่งเสียครั้งสุดท้ายสมัย ร.๔! ตีเชียงตุงหวังได้สิบสองปันนา!!

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2562 11:14   โดย: โรม บุนนาค

สาเหตุ ที่พม่ายกทัพใหญ่มาโจมตีไทยสมัยรัชกาลที่ 1 เนื่องมาจากเหตุผลข้อใด

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่เราเปิดประเทศต้อนรับตะวันตกทุกชาติ แต่กระนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างไทย-พม่าอีกจนได้ ซึ่งเป็นสงครามเดียวในรัชกาลนี้ เป็นสงครามครั้งที่ ๔๔ ระหว่างไทยกับพม่า และเป็นครั้งสุดท้ายที่รบราฆ่าฟันกันตลอดมากว่า ๓๐๐ ปี

สงครามครั้งนี้ไม่ใช่พม่าเป็นฝ่ายบุกเข้ามาเหมือนส่วนใหญ่ที่รบกัน แต่ไทยบุกขึ้นไปเหนือสุดจนถึงเมืองเชียงตุง ตามคำขอของราชวงศ์เชียงรุ้งที่อพยพหนีพม่ามาขอความช่วยเหลือจากไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครั้งนั้นประเทศราชในมณฑลพายัพพากันอาสาไปตีเชียงตุง จึงโปรดให้กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนยกขึ้นไปในปี ๒๓๙๒ แต่ยกไปไม่พร้อมกันทั้งยังขาดเสบียงจึงต้องเลิกทัพกลับมา จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเสด็จสวรรคต เรื่องตีเมืองเชียงตุงจึงค้างอยู่
เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าฟ้าแสนหวีได้มีสาส์นมากราบทูลว่า การจลาจลวุ่นวายในเมืองเชียงรุ้งนั้นสงบลงแล้ว ขอพระราชทานอนุญาตให้เจ้านายเชียงรุ้งที่มารอฟังข่าวอยู่ที่กรุงเทพฯถึง ๓ ปี และมีครอบครัวมาคอยอยู่ที่เมืองน่านและเมืองหลวงพระบางซึ่งอยู่ในความปกครองของไทยก็มีมาก ให้กลับคืนบ้านเมือง และเจ้าเมืองเชียงรุ้งจะถวายเครื่องราชบรรณาการ ๓ ปีครั้งอย่างประเทศราชอื่นต่อไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชดำรัสว่า ราชวงศ์เชียงรุ้งกับบริวารหนีภัยมาพึ่ง เมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วใครประสงค์จะกลับไปก็ตามใจสมัคร ส่วนการจะตีเมืองเชียงตุงและเรื่องที่จะผูกพันกับเชียงรุ้งต่อไปอย่างไรนั้น ก็โปรดฯให้เสนาบดีปรึกษาหารือกันนำความขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งเหตุที่พระองค์ไม่ทรงบัญชาเรื่องนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเห็นว่า การทำศึกสงครามเป็นวิชาที่พระองค์ไม่มีโอกาสได้ทรงศึกษามาเลย

ส่วนเรื่องเมืองเชียงรุ้งนั้น คงทรงเห็นเหมือนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโหล ซึ่งเคยมีพระราชดำริมาก่อนว่า เมืองลื้อสิบสองปันนาเคยขึ้นกับพม่าและจีน และอาศัยไทยเป็นที่พึ่งเมื่อถูกพม่าหรือจีนเบียดเบียน แต่ก็ยากที่ไทยจะไปช่วยได้ เพราะหนทางไกลกันและกันดารมาก แต่จะทรงปฏิเสธก็ยาก

เผอิญในตอนนั้นอังกฤษตีเมืองพม่าเป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าพม่าคงจะมาช่วยเชียงตุงไม่ได้ เสนาบดีทั้งหลายจึงกราบทูลให้ถือโอกาสไปตีเชียงตุง เมื่อได้เชียงตุงแล้วก็จะได้สิบสองปันนาด้วยไม่ยาก แต่การตีครั้งนี้ควรให้มีกองทัพกรุงเทพฯขึ้นไปควบคุมกองทัพมณฑลพายัพด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงบัญชาตามมติคณะเสนาบดี ให้เกณฑ์คนหัวเมืองพายัพ ๑๐,๐๐๐ จัดเป็น ๒ ทัพ ให้เจ้าพระยายมราช (นุช บุณยรัตพันธ์) คุมทัพหน้าไปทางเชียงใหม่ ๑ กองทัพ กับกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นจอมพล คุมทัพหลวงไปทางเมืองน่านอีกทาง สมทบกันเข้าตีเชียงตุง กองทัพที่ยกไปครั้งนี้ตีหัวเมืองรายทางได้ตลอด จนเข้าล้อมเมืองเชียงตุง แต่ก็ฝ่ากำแพงเมืองเข้าไปไม่ได้ จนขาดแคลนเสียงอาหาร ต้องถอยทัพกลับมาตั้งหลักที่เชียงแสน

ในขณะนั้นได้มีการจัดทัพแบบยุโรปขึ้นในกรุงเทพฯแล้ว คณะเสนาบดีเห็นว่าเชียงตุงอ่อนกำลังลงแล้ว ควรจะเพิ่มกำลังทัพพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าตีเชียงตุงให้ได้ในฤดูแล้งปี ๒๓๙๖ แต่ตอนนั้นพม่าสงบศึกกับอังกฤษแล้วจึงส่งกำลังมาเสริมทางเชียงตุง แต่ฝ่ายไทยไม่รู้ อีกทั้งกองทัพเจ้าพระยายมราชยังยกไปไม่ทันกำหนด กองทัพของกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเลยต้องเผชิญกับกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่า ต้องถอยทัพกลับมา สงครามไทย-พม่าที่ยืดเยื้อมากว่า ๓๐๐ ปีจึงสิ้นสุดลงในครั้งนี้

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นที่ไทยตีเมืองเชียงตุงไม่สำเร็จ ก็เพราะไปทำสงครามในดินแดนของข้าศึก ซึ่งไทยไม่รู้จักภูมิประเทศ ทั้งยังประมาทไม่ขวนขวายในการสืบสวนหาข้อมูลให้สมกับกระบวนพิชัยสงคราม แต่ถึงแม้จะตีเมืองเชียงตุงได้ก็คงรักษาไว้ไม่อยู่ ด้วยเป็นดินแดนที่ห่างไทยแต่ใกล้พม่ามากกว่านั่นเอง


08/12/2013 · 8:53 am

:: รัตนโกสินทร์ ::

  1. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการย้ายราชธานีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    1.  ราชธานีใหม่สามารถขยายพระนครไทย
    2. ราชธานีเดิมถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย
    3.  ราชธานีเดิมเป็นเมืองอกแตกป้องกันข้าศึกได้ยาก
    4. ราชธานีใหม่มีพระราชวัง และป้อมปราการพร้อมอยู่แล้ว
  2.  เหตุผลใดที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงไม่ให้กรุงธนบุรีเป็นราชธานีอีกต่อไป
    1. ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำมากเกินไป
    2. มีวัดขนาบพระราชวังอยู่ทั้ง 2 ด้าน
    3. ไม่สามารถขายพระราชวังให้กว้างกว่าเดิมได้
    4.  ถูกข้อ ก และค
  3. ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้สร้างขึ้นตั้งอยู่บริเวณใด
    1.  ทิศใต้ของกรุงธนบุรี
    2.  ทิศเหนือของกรุงธนบุรี
    3. ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
    4.  ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
  4. การที่กล่าวว่ากรุงธนบุรีไม่เหมาะสมแก่ยุทธศาสตร์ ข้อใดเป็นเหตุผลสนับสนุนได้ดีที่สุด
    1. ไม่มีกำแพงเมืองที่แข็งแรง
    2. ไม่มีป้อมปราการในการป้องกันข้าศึก
    3. มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางข้าศึกเข้าโจมตีได้สะดวก
    4.  ข้าศึกรู้ลู่ทางภูมิประเทศของกรุงธนบุรีหมดสิ้นแล้ว
  5. วัดพระศรีรัตนศาสดารามทีสร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง เลียนแบบวัดใดในสมัยอยุธยา
    1. วัดมหาธาตุ
    2. วัดใหญ่ชัยมงคล
    3.  วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
    4. วัดอรุณราชวราราม
  6. พระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    1. พระที่นั่งอนันตสมาคม
    2. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
    3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
    4.  พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์
  7. สถานที่จะสร้าพระราชวังใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 เคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มใดมาก่อน
    1. พ่อค้าชาวจีน
    2. มิชชันนารีอเมริกัน
    3. ฝรั่งชาวโปรตุเกส
    4. ขุนนางไทยสมัยธนบุรี
  8. ส่วนที่เป็นเขตวังหน้าในปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญของชาติคือข้อใด
    1. หอสมุดแห่งชาติ
    2. โรงละครแห่งชาติ
    3. มหาวิทยาลัยศิลปากร
    4. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
  9. ตำแหน่งใดทีสร้างชื่อเสียงในด้านการศึกสงครามให้กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    1. พระยายมราช
    2.  เจ้าพระยาจักรี
    3.  เจ้าพระยาสุรสีห์
    4. พระยาอภัยรณฤทธิ์
  10. วันจักรี เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอย่างไร
    1. เป็นวันพระราชสมภพ
    2.  เป็นวันเสด็จสวรรคต
    3. เป็นวันขึ้นครองราชย์สมบัติ
    4. เป็นวันสถาปนากรุงเทพมหานคร
  11. ฐานะที่นับว่าสำคัญที่สุดของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในสมัยธนบุรีคือข้อใด
    1. ตำแหน่งพระมหาอุปราช
    2. ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในสมัยธนบุรี
    3. ทรงเป็นผู้ดูแลสมุหนายก และสมุหกลาโหม
    4. ทรงเป็นแม่ทัพคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าตาก
  12. การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกระทำในลักษณะใด
    1.  ราชาภิเษก
    2. บรมราชาภิเษก
    3.  ปราบดาภิเษก
    4. สิบราชสันตติวงศ์
  13. สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือข้อใด
    1. สงครามเก้าทัพ
    2. สงครามเชียงตุง
    3. สงครามท่าดินแดง
    4. สงครามเมืองถลาง
  14. สาเหตุที่พม่ายกทัพใหญ่มาโจมตีไทยสมัยรัชกาลที่ 1 เนื่องมาจากเหตุผลข้อใด
    1. ไทยมีกำลังน้อยกว่าพม่า
    2. พระมหากษัตริย์ไทยอ่อนแอ
    3. ไทยกำลังสร้างราชธานีใหม่
    4. เจ้านายไทยแตกความสามัคคี
  15.  วีรสตรีไทยที่สามารถป้องกันเมืองถลางจากการโจมตีของพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 คือท่านผู้ใด
    1. ท้าวสุรนารี
    2. ท้าวศรีสุนทร
    3.  ท้าวเทพกษัตริย์ง.
    4. ข้อ ข และ ค ถูก
  16. ในสมัยรัตนโกสินทร์สงครามระหว่างไทยกับพม่ากระทำกันบ่อยที่สุดในรัชกาลใด
    1. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2.  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  17. สาเหตุสำคัญที่ทำให้สงครามระหว่างไทยกับพม่าต้องยุติลงโดยสิ้นเชิงเพราะข้อใด
    1. พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
    2. พม่าเกรงกลัวบารมีของกษัตริย์ไทย
    3. พม่าปิดประเทศเพื่อแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อย
    4. พม่าเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยม
  18. ลาวตกอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยใด
    1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    2. พระนเรศวรมหาราช
    3. พระเจ้าตากสินมหาราช
    4. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  19.  เจ้าลาวที่ก่อกบฏต่อไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ข้อใด
    1. เจ้าอินทร์
    2.  เจ้าอนุวงศ์
    3. เจ้านันนเสน
    4.  เจ้าราชบุตร
  20. อนุสาวรีย์ของท้าวสุรนารีตั้งอยู่จังหวัดใด
    1. ภูเก็ต
    2. กาญจนบุรี
    3.  นครราชสีมา
    4. นครศรีธรรมราช
  21. ข้อใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ถูกต้องที่สุด
    1. เขมรเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของไทย
    2.  เขมรเป็นเมืองขึ้นที่ซื่อสัตย์ของไทย
    3. เขมรเปรียบเสมือนบ้านพี่เมืองน้อยของไทย
    4. เขมรมักจะเอาใจออกห่างจากไทย
  22. สาเหตุสำคัญข้อใดที่ทำให้ไทยกับญวนต้องหมางใจกันในสมัยรัชกาลที่ 2 และ 3
    1. ไทยไม่ยอมช่วยญวนปราบกบฏไกเซิน
    2. ไทยต้องการรักษาอำนาจในดินแดนเขมร
    3. ไทยแย่งชิงดินแดนเขมรซึ่งเป็นเมืองขึ้นของญวน
    4. ไทยและญวนต่างแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ
  23. กษัตริย์ญวนที่จัดเครื่องราชบรรณาการมาถวายรัชกาลที่ 1 คือข้อใด
    1. พระเจ้ายาลอง
    2. พระเจ้าตือดึก
    3. พระเจ้ามินมาง
    4. พระเจ้าอลองพญา
  24. ข้อใดกล่าวถึงดินแดนล้านนาไทยในปัจจุบันได้ถูกต้องที่สุด
    1.  เป็นดินแดนในอารักขาของไทย
    2. เป็นมณฑลหนึ่งในราชอาณาจักรไทย
    3.  เป็นรัฐอิสระและเพื่อนบ้านที่ดีของไทย
    4.  เป็นจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย 
  25. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไทยได้ยกทัพไปตีเมืองใด ซึ่งเป็นผลให้หัวเมืองมลายูที่เคยเป็นเมืองขึ้นของไทยยอมอ่อนน้อมและสวามิภักดิ์ดั่งเดิม
    1. ไทรบุรี
    2. กลันตัน
    3.  ปัตตานี
    4. ตรังกานู
  26. ไทยต้องเสียหัวเมืองมลายูที่เคยเป็นของไทยให้กับชาวตะวันตกชาติใด
    1. อังกฤษ
    2. ฝรั่งเศส
    3. ฮอลันดา
    4. งโปรตุเกส
  27. ชาวตะวันตกชาติใดที่เข้ามามีบทบาทต่อไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส
    2. อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา
    3. โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส
    4. โปรตุเกส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
  28. ข้อใดกล่าวถึงสนธิสัญญาเบอร์นี่ ผิดจากความเป็นจริง
    1.  เป็นสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ
    2. เป็นสนธิสัญญาที่ทำขี้นสมัยรัชกาลที่ 1
    3.  เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับตะวันตก
    4. เป็นสนธิสัญญาที่ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
  29. กงสุลตะวันตกคนแรกประจำประเทศไทยคือใคร
    1. จอห์น ครอว์ฟอร์ด
    2. เซอร์ เจมส์ บรูค
    3. เอ็ดมันด์ โรเบิร์ต
    4.  คาร์ลอส มานูแอล ซิลเวียรา
  30. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยยอมทำสนธิสัญญาทางการค้ากับชาติใดบ้าง
    1. อังกฤษ ฝรังเศส
    2. ฮอลันดา ฝรั่งเศส
    3. โปรตุเกส ฮอลันดา
    4. อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
  31. ความขัดแย้งระหว่างไทยกับชาวตะวันตกที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 มีสาเหตุมาจากอะไร
    1. ชาวตะวันตกละเมิดสัญญาที่ทำไว้กับไทย
    2. ไทยไม่ยอมแก้ไขสนธิสัญญาที่ทำกับตะวันตก
    3. ไทยไม่พอใจที่ชาวตะวันตกรุกล้ำดินแดนเมืองขึ้นของไทย
    4. ชาวตะวันตกถูกกีดกันเรื่องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์
  32. การบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นำแบบอย่างมาจากสมัยใด
    1. พ่อขุนรามคำแหง
    2. พระบรมไตรโลกนาถ
    3. พระนเรศวรมหาราช
    4. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  33. ข้อใดกล่าวถึงตำแหน่งวังหน้าได้ถูกต้องที่สุด
    1. เป็นตำแหน่งเทียบเท่าอุปราช
    2. พระยศของกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข
    3. ตำแหน่งที่มีอำนาจเทียบเท่ากษัตริย์
    4.  ตำแหน่งที่กษัตริย์แต่งตั้งให้เฉพาะพระโอรส
  34.  หัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นขึ้นตรงกับตำแหน่งใด
    1. สมุหนายก
    2.  สมุหกลาโหม
    3. เสนาบดีกรมวัง
    4.  เสนาบดีกรมคลัง
  35. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับลักษณะการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผิดจากความเป็นจริง
    1. มีการแต่งตั้งวังหน้า และวังหลัง
    2. นำแบบอย่างการปกครองจากอยุธยา
    3. หัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกขึ้นกับตำแหน่งสมุหนายก
    4. พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
  36. หัวเมืองใดเป็นหัวเมืองนอกทางภาคเหนือของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. สุโขทัย
    2.  เชียงราย
    3. พิษณุโลก
    4. เชียงใหม่
  37. ข้อใดเป็นมูลเหตุที่ทำให้การตรากฏหมายตราสามดวงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1
    1. เพื่อมิให้ฝ่ายหญิงฟ้องร้องฝ่ายชายได้
    2.  เพื่อมิให้ชาวตะวันตกดุหมิ่นกฎหมายไทย
    3.  เพิ่อปรับปรุงบทลงโทษแบบโบราณให้ทันสมัยชึ้น
    4.  เพื่อปรับปรุงกฏหมายเดิมให้ถูกต้องและยุติธรรมขึ้น
  38.  ข้อใดไม่ใช่ ตราประทับในกฎหมายตราสามดวง
    1. คราครุฑ
    2. ตราราชสีห์
    3. ตราคชสีห์
    4. ตราบัวแก้ว
  39. ข้อใดเป็นชื่อกฏหมายแรกที่ตราต่อจากกฏหมายตราสามดวง
    1.  กฎหมายห้ามซื้อขายฝิ่น
    2. พระราชบัญญัติบ่อนเบี้ย
    3. พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร
    4. กฎหมายห้ามเล่นการพนัน 
  40. สถานที่ใดเป็นที่รวบรวมกฎหมายตราสามดวง
    1. วังหลวง วังหน้า วังหลัง
    2. กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง
    3. วังหลวง ศาลหลวง
    4. หอหลวงห้องเครื่อง หอหลอง ศาลหลวง
  41. การที่กฏหมายตราสามดวงถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากสาเหตุใด
    1.  ถูกชาวตะวันตกบีบบังคับให้ยกเลิก
    2.  มีการปฏิรูปกฎหมายไทยใหม่แบบตะวันตก
    3. เป็นกฏหมายที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
    4.  เป็นกฏหมายที่เก่าแก่และใช้มาเป็นเวลานาน
  42. พระคลังสินค้าที่มีความสามารถในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถูกขนานนามว่า เจ้าสัวคือใคร
    1. กรมหมื่นเทพพิพิธ
    2. กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์
    3. กรมหลวงสงขลานครินทร์
    4. กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
  43. การเก็บภาษีลักษณะใด ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าต่างประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. ภาษีหางข้าว
    2. ภาษีปากเรือ
    3. ภาษีสินค้าขาเข้า
    4. ภาษีสินค้าขาออก
  44. การค้าขายกับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะอย่างไร
    1. ไทยจะใช้ระบบการค้าแบบเสรีกับชาวตะวันตก
    2.  ผู้มีอำนาจควบคุมการค้ากับต่างประเทศคือสมุหนายก
    3. ไทยจะค้าขายกับจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เรือสำเภา
    4. ภาษีที่เก็บจากเรือสินค้าต่างประเทศเรียกว่าจังกอบ
  45.  สนธิสัญญาเบอร์นี่ที่ไทยทำกับอังกฤษ มีผลต่อการค้ากับต่างประเทศอย่างไร
    1. ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศไทย
    2. ไทยต้องยกเลิกตำแหน่งพระคลังสินค้า
    3. ไทยต้องยกเลิกการผูกขาดสินค้าโดยสิ้นเชิง
    4.  เรือสินค้าอังกฤษที่เข้ามาค้าขายในไทยไม่ต้องเสียภาษี
  46. สินค้าประเภทใดที่รัฐบาลไทยผูกขาด การซื้อขายจากต่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว
    1.  ฝิ่น
    2. อาวุธปืน
    3. เครื่องเทศ
    4. เครื่องสังคโลก
  47. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการเรียกเก็บเงินรัชชูปการจากบุคคลกลุ่มใด
    1. ทาส
    2. ไพร่
    3. พ่อค้า
    4. ขุนนาง
  48. ผู้ทีทำหน้าที่คล้ายกับพ่อค้าคนกลางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือใคร
    1. วังหน้า
    2. วังหลัง
    3. พระคลังสินค้า
    4. เจ้าภาษีนายอาการ
  49. ข้อใดเป็นรายได้หลักของประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. ภาษีที่เก็บจากราษฏรไทย
    2. รายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศ
    3. รายได้จากสินค้าผูกขาดและสินค้าต้องห้าม
    4.  ถูกทุกข้อ
  50. ข้อใดเป็นรายได้เพิ่มเติมที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 2
    1. เงินค่าราชการ
    2. เงินผูกปี้ข้อมือจีน
    3. ภาษีที่เรียกเก็บจากชาวนาไทย
    4. ส่วนแทนแรงงานที่เก็บจากไพร่หลวง
  51. เมื่อทางราชการออกโฉนดที่ดินให้กับราษฏรราษฏรจะต้องเสียภาษีประเภทใด
    1. ฤชา
    2. อากร
    3. ส่วย
    4. จังกอบ
  52.  ด่านขนอน หมายถึงสถานที่ใด
    1. ที่ตั้งเก็บภาษีจังกอบ
    2. ที่ตั้งเก็บภาษีปากเรือ
    3. สถานที่เก็บภาษีจากชาวนาในรูปข้าวเปลือก
    4. บริเวณที่เรือสินค้าต่างประเทศผ่านเข้าออก
  53.  ระบบเจ้าภาษีนายอากรที่ตั้งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 มีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร
    1. ราษฏรเสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม
    2.  รัฐบาลเก็บภาษีได้แน่นอน และเพิ่มขึ้น
    3. ป้องกันการรั่วไหลในการเก็บภาษีของรัฐบาล
    4. ราษฏรเข้าใจระบบการเก็บภาษีของรัฐบาลมากขึ้น
  54.  อาชีพใดไม่ต้องเสียภาษีในรูปของอากร
    1. ทำนา
    2.  ต้มสุรา
    3. ค้าขาย
    4.  จับสัตว์น้ำ
  55. ข้อใดกล่าวถึง ภาษีเบิกร่องได้ถูกต้องที่สุด
    1. ภาษีที่เก็บจากพ่อค้าคนไทย
    2. ภาษีที่เก็บจากสินค้าต้องห้าม
    3. ภาษีที่เก็บจากเรือสินค้าต่างประเทศ
    4. ภาษีที่เก็บจากราษฏรเป็นลักษณะค่าธรรมเนียม
  56. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1.  มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม
    2. มีลักษณะคล้ายคลึงกับสังคมอยุธยา
    3. มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนและการศึกษา
    4. มีการรับอารยธรรมแบบตะวันตกเข้ามาปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย
  57. ชนชั้นทางสังคมในข้อใดที่เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. ทาส
    2. ไพร่
    3. พระบรมวงศานุวงศ์
    4. ขุนนาง และข้าราชการ
  58. ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้กำหนดให้เกณฑ์แรงงานของไพร่เพื่อรับใช้แผ่นดินปีละกี่เดือน
    1. 3
    2. 4
    3. 5
    4.  6
  59. สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏได้จัดตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ในประเทศไทยคือนิกายใด
    1.  หินยาน
    2. มหายาน
    3.  ธรรมยุติ
    4. เถรวาท
  60. ใครสร้างวัดถือเป็นคนโปรด เป็นคำกล่าวที่เกิดขึ้นในสมัยใด
    1. รัชกาลที่ 1
    2. รัชกาลที่ 2
    3. รัชกาลที่ 3
    4. ง รัชกาลที่ 4
  61. วัดประจำรัชกาลที่ 1 คือวัดใด
    1. วัดสุวรรณดาราม
    2. วัดสุทัศนเทพวราราม
    3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    4. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 
  62. พระราชพิธีอาพาธพินาศที่กระทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใด
    1. เกิดความขัดแย้งในหมู่พระสงฆ์
    2.  เกิดอหิวาห์ตกโรคระบาดในพระนคร
    3. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
    4. เกิดความแตกแยกของพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน
  63. ข้อใดไม่ใช่พระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. พระราชพิธีโสกันต์
    2. พระราชพิธีฉัตรมงคล
    3. พระราชพิธีอาพาธพินาศ
    4. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
  64. พิธีใดที่ได้รับการฟื้นฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ถูกยกเลิกในปัจจุบัน
    1. พิธีโล้ชิงช้า
    2. พิธีวางศิลาฤกษ์
    3. พิธีพืชมงคล
    4. พิธีฉัตรมงคล
  65. วิธีการใดเป็นการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. ยกเลิกประเพณีโบราณที่เก่าแก่ล้าสมัย
    2. นำอารยธรรมแบบตะวันตกมาเป็นแบบอย่าง
    3. นำขนบธรรมเนียมสมัยอยุธยากลับมาฟื้นฟูไหม่
    4.  นำขนบธรรมเนียมของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาผสมผสาน
  66. รัชกาลใดที่ชื่อว่าเป็นยุคทองของการฟื้นฟูด้านวรรณกรรม
    1. สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2. สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    3.  สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4.  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
  67. ผลงานด้านศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 มักจะมีอิทธิพลของศิลปชาติใดมาผสมผสาน
    1. จีน
    2. มอญ
    3. เขมร
    4. อินเดีย
  68. ผลงานด้านจิตกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมักเป็นศิลปกรรมรูปแบบใด
    1. จิตรกรรมฝาผนัง
    2. จิตรกรรมผืนผ้า
    3. จิตรกรรมสามมิติ
    4. จิตรกรรมบนบานประตู
  69. ข้อใดเป็นผลงานของช่างฝีมือในสมัยรัชกาลที่ 3 ในการสร้างพระนอนองค์ใหญ่ที่สุดในโลกในพระนคร
    1. พระพุทธไสยาสน์
    2. พระพุทธสัมพรรณี
    3. พระพุทธตรีโลกเชษฐ์
    4. พระพุทธไตรรัตนายก
  70. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการศึกษาของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผิดจากความเป็นจริง
    1. ผู้หญิงขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน
    2. ศูนย์กลางทางการศึกษาของไทยอยู่ที่วัดและวัง
    3. มีการก่อตั้งโรงเรียนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย
    4. วัดที่เปรียบเสมือนวิทยาลัยแห่งแรกของไทยคือวัดโพธิ์

สาเหตุสำคัญข้อใดที่ทำให้พม่ายกทัพมาตีไทย ในสมัยรัชกาลที่ 1 *

ไทยต้องการรักษาอำนาจในดินแดนเขมร ไทยแย่งชิงดินแดนเขมรซึ่งเป็นเมืองขึ้นของญวน ไทยและญวนต่างแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ

สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 คือข้อใด *

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามครั้งแรกระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ตรงกับรัชกาลพระเจ้าปดุงและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สงครามเก้าทัพ ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า–สยาม เขียว หมายถึง เส้นทางเดินทัพของพม่า

สงครามครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือข้อใด

“ถ้าหากจะพูดถึงบรรดาสงครามที่กองทัพไทยต้องสู้รบกับกองทัพพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม ๙ ทัพ นับว่าเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่และถูกล่าวถึงมากที่สุดครั้งหนึ่ง…

สงครามใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1

ภาคที่ 1 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก -- สงครามครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม 9 ทัพ -- ครั้งที่ 2 ยึดปัตตานี สงครามต่อเนื่องจากคราศึกเก้าทัพ -- ครั้งที่ 3 พม่ากลับมาใหม่ในสงคราม "ท่าดินแดง" -- ครั้งที่ 4 รบพม่าที่ลำปางและป่าซาง -- ครั้งที่ 5 ไทยรุกพม่าที่เมืองทวาย -- ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2334 ปราบกบฏรายา ...