ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องใช้อะไรบ้าง

คำว่า "พ.ร.บ." คงเป็นคำที่หลายๆคนเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจว่า "พ.ร.บ." มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น
"พ.ร.บ." ที่เรามักจะได้ยินเมื่อทำประกันภัยรถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่

Show

ความคุ้มครอง

วงเงินคุ้มครอง

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.
ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย

สูงสุด 30,000 บาท/คน

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.
การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

สูงสุด 35,000 บาท

ความคุ้มครอง

วงเงินคุ้มครอง

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.
ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย

สูงสุด 80,000 บาท

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.
การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

500,000 บาท ต่อหนึ่งคน

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.
ค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน

(สูงสุด 20 วัน)

สูงสุด 200 บาท/วัน และสูงสุด 4,000 บาท/ครั้ง

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.
จำนวนความรับผิดชอบรวมต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

ไม่เกิน 504,000 ต่อหนึ่งคน

พรบ รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ?

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  2. กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท/คน
  3. กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ และต่อมาได้สูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  4. กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท/คน

คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  2. สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 - 500,000 บาท/คน
  3. กรณีเสียชีวิต บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
  4. ในกรณีที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

ไม่ทำประกันพ.ร.บ. ได้ไหม

การทำประกันภัย พรบ คือ การประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันจะต้องทำ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และทำให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ส่งผลให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุร่วมด้วย

พรบ รถยนต์ ราคาปี 2565

รถยนต์โดยสาร

ราคาพรบ

รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

600 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้)

1,100 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง

2,050 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง

3,200 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง

3,740 บาท

รถกระบะ / รถบรรทุก

ราคาพรบ

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ)

900 บาท

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน

1,220 บาท

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน

1,310 บาท

รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน

1,680 บาท

รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน

2,320 บาท

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ

ราคาพรบ

หัวรถลากจูง

2,370 บาท

รถพ่วง

600 บาท

รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร

90 บาท

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.

วิธีติดป้าย พรบ รถยนต์

ผู้ขับขี่บางคนยังเข้าใจผิด และมักค้นหาการติดพรบหน้ารถ หรือ ที่ติดพรบหน้ารถ แท้จริงแล้วป้ายพรบ ไม่ต้องติดหน้ารถ แต่เป็นป้ายภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่าป้ายวงกลมต่างหากที่ต้องติด ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะได้รับหลังจากต่อพรบ พร้อมชำระภาษีรถประจำปีเรียบร้อยแล้ว และผู้ขับขี่จำเป็นต้องแสดงป้ายภาษีโดยแปะไว้หน้ากระจกรถ ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับ

ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ปี พ.ศ.2522 ตามมาตรา 11 ระบุไว้ว่า “เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้ารถ โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีออกด้านนอกรถ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็น ข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน บทกำหนดโทษตาม มาตรา 60 อัตรา โทษปรับไม่ควรต่ำกว่า 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท”

ตัวอย่างป้ายภาษีหรือป้ายวงกลม

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.

พรบ รถยนต์ คุ้มครองรถหายไหม

ประกัน พรบ ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลที่ประสบเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหาย แต่ผู้เอาประกันสามารถซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่ม โดยสามารถคลิกดูรายละเอียด ประกันรถชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองรถหาย หรือ ประกันรถชั้น 2+ ที่คุ้มครองรถหายสูงถึง 2 เท่า* สามารถดูรายละเอียดของ ประกันรถชั้น 2, 3+ และ 3 สำหรับความคุ้มครองที่อยู่นอกเหนือประกัน พรบ ได้ที่ www.directasia.co.th

พรบ รถยนต์หมดอายุ ต้องทำอย่างไร

อายุของพรบ รถยนต์

ความคุ้มครองของพรบ รถยนต์ มีอายุ 1 ปี และจะต้องต่อพรบ เมื่อหมดอายุ ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งพรบ รถจะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน

 

กรณีพรบ หมดอายุเป็นเวลานาน

เมื่อพรบ ขาดต่อเป็นเวลานาน 3 ปี จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถคุณถูกระงับด้วย คุณจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก อีกทั้งต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ต่อ พรบ รถยนต์ ใช้อะไรบ้าง

ผู้เอาประกันสามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละจังหวัดเพื่อยื่นเอกสารต่อประกันพรบ ได้ โดยเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม มีดังนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง

หากไม่สะดวกเดินทางสามารถต่อประกันพรบผ่านเว็บไซต์ของทางกรมขนส่งทางบกได้เช่นกัน หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์, ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ, ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือที่ ไดเร็ค เอเชีย

คุณสามารถซื้อประกันพรบ เพียงอย่างเดียว หรือซื้อแพคคู่กับประกันภาคสมัครใจที่สนใจได้ เพียงโทร 02-767-7777 หรือ ซื้อผ่าน www.directasia.co.th อยู่ที่ไหนก็ซื้อประกันพรบ ได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเดินทาง สะดวกสุด ๆ ด้วยขั้นตอนที่ง่าย พร้อมให้คุณชำระเบี้ยประกันรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ได้ทันที

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.

บทความที่เกี่ยวข้องกับพรบ ประกันรถยนต์

ไดเร็ค เอเชีย รวบรวมทุกความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ พรบ ประกันรถยนต์ ไว้ที่นี่

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.

ทำประกันรถยนต์และต่อพ.ร.บ. รถยนต์ได้ราคาดีที่สุด

สำหรับผู้ขับขี่ปลอดภัยเช่นคุณ

  •  เจอถูกกว่าจ่ายส่วนต่าง*
  •  เลือกซ่อมศูนย์/อู่ในเครือที่เราแนะนำ
  •  ฟรีบัตรน้ำมันจำนวนจำกัด*
  •  ผ่อนประกันรถยนต์สบาย 0%
  •  ถึงจุดเกิดเหตุใน 30 นาที*

ข้อแนะนำการทำประกันภัยและต่อพ.ร.บ.รถยนต์

การทำประกันภัยและต่อพ.ร.บ. รถยนต์คือสิ่งจำเป็น มิฉะนั้นจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ข้อแนะนำที่สำคัญคือควรพกหลักฐานการประกันภัยและหลักฐานการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ติดรถไว้เสมอ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะได้มีหลักฐานการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์นี้ แสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันที โดยแนะนำให้ทำประกันภัยและต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับบริษัทเดียวกันกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการเรื่องเอกสาร หากกำลังจะต่อประกันภัยหรือต่อพ.ร.บ. รถยนต์ราคาที่ดีที่สุดจากทางไดเร็คเอเชียสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-767-7777 และหากเจอราคา พ.ร.บ. รถยนต์ที่ถูกกว่าเราจ่ายส่วนต่าง* นอกจากนี้ยังสามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์และเช็คค่าเบี้ยประกันได้ที่นี่
 

* ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ซื้อง่าย แถมเลือกความคุ้มครองหรือเพิ่มวงเงินคุ้มครองได้ตามใจ

จ่ายได้ด้วยบัตรเครดิต/เดบิต หรือ ชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร

คุ้มครองเต็มที่ทันทีที่จ่ายเบี้ยประกัน

กรมธรรม์จะถูกส่งทางไปรษณีย์ใน 7 วันทำการ

ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ.