วรรณคดีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 2 คือเรื่องใด

สยามรัฐออนไลน์ 24 กุมภาพันธ์ 2563 09:13 น. วัฒนธรรม

วรรณคดีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 2 คือเรื่องใด

เชิงสารคดี/บูรพา โชติช่วง: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352 – 2367) นับเป็นช่วงเวลาที่ราชอาณาจักรไทยเริ่มเข้าสู่ความสงบและมีความปึกแผ่นมากกว่าสมัยที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าพระองค์จะยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในการบริหารราชการแผ่นดินและทำนุบำรุงพระนครสืบต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมชนกนาถ เช่นที่เคยเป็นมา แต่ในขณะเดียวกันยังทรงให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูศิลปกรรมในแขนงต่างๆ อย่างดียิ่ง ที่สำคัญคือ การรังสรรค์งานสถาปัตยกรรมในพระนครให้มีความสง่างามยิ่งกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา มีการขยายอาณาเขตของพระบรมมหาราชวังทางทิศตะวันตกกับทิศใต้ใหม่ นอกจากนั้นยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างและตกแต่งอาคารต่างๆ ให้มีรูปแบบสมัยใหม่โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งทอง 3 หลัง สร้างตึกแบบยุโรปและเก๋งจีนอีกเป็นจำนวนมากในบริเวณสวนขวาภายในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ทรงพระสำราญและต้อนรับแขกเมือง โดยมีลักษณะของการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมระหว่างไทยกับต่างชาติเข้าด้วยกัน ทั้งนี้เพราะภายในสวนขวาจะประกอบด้วย อ่างน้ำ ภูเขา แพเก๋ง ตุ๊กตาเท่าคนจริง พร้อมด้วยรูปสัตว์ต่างๆ ในรัชสมัยของพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนนเพิ่มขึ้น ถนนที่สำคัญ ได้แก่ ถนนหน้าพระธาตุ และถนนพระจันทร์ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นถนนที่ตัดขึ้นใหม่นี้ล้วนเป็นไปเพื่อเชื่อมการสัญจรระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นสำคัญ โดยมีเทคนิคการก่อสร้างแบบเรียบง่าย (ตำนานงานโยธา 2325–2556)

วรรณคดีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 2 คือเรื่องใด
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในด้านศิลปกรรม ทั้งด้านประติมากรรม ทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว ยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลกด้วยพระองค์เอง พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และพระองค์ยังทรงเป็นช่างปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญ ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี ฯลฯ ด้านกวีนิพนธ์ ในรัชสมัยของพระองค์ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีในสมัยนั้น ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า “ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด” กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์แล้วยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, สุนทรภู่, พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ ฯลฯ ด้านดนตรี ทรงพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า “ซอสายฟ้าฟาด” และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า” แต่ต่อมามักจะเรียกว่า “เพลงทรงพระสุบิน” เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้ (วิกิพีเดีย) ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมหลายด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม กวีนิพนธ์ และดนตรี ที่ปรากฏขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ยุคทอง” ทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความสงบสุขของบ้านเมืองตลอดระยะเวลา 15 ปีแห่งการครองราชย์แล้ว ยังบ่งบอกถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ที่นับว่ามีแต่เพิ่มพูนขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อล่วงสู่รัชกาลต่อมา วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี ยังได้กำหนดให้เป็น “วันศิลปินแห่งชาติ” ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วรรณคดีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 2 คือเรื่องใด
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาประดิษฐานไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม

            กิจกรรมครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ทราบถึงพระราชประวัติและพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในด้านวรรณคดี ที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในยุครัตนโกสินทร์แล้วยังได้ทราบถึงพระปรีชาสามารถด้านอื่นๆ ของพระองค์ รวมถึงมรดกความเป็นไทยต่างๆ ที่ควรคู่ให้คนรุ่นหลังได้อนุรักษ์สืบต่อไป

ถ้าจะเปรียบเทียบในรัชกาลที่ ๑ เป็นยุคฟื้นฟู หากแต่ยังมีศึกสงครามอยู่ บ้านเมืองยังไม่สงบสุขนัก ไม่เหมือนสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งบ้านเมืองสงบราบคาบ จึงทำให้รสวรรณคดีแตกต่างกันไป เช่น ในรัชกาลที่ ๑ วรรณคดีมักจะโน้มน้าวปลุกใจให้คนรักชาติ ให้คนรักต่อสู้ ไม่นิ่มนวลรื่นรมย์เหมือนวรรณคดีในรัชกาลที่ ๒ ในรัชกาลนี้ วรรณคดีจึงเฟื่องฟูที่สุด เพราะพระองค์สนพระทัย และทรงจัดเจนอยู่มาก มีวรรณคดีที่เป็นอมตะหลายเรื่อง ที่ปรากฏมาจนทุกวันนี้ เช่น

อิเหนาในรัชกาลที่ ๒
ทรงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เป็นกลอนบทละคร เพื่อเล่นละครใน ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งหมด เว้นไว้แต่ชื่อตัวละครยังคงเดิม โดยทรงถือแบบฉบับของเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ เนื่องจากมีคนนิยมอยู่แล้ว

มีบทไพเราะ แสดงละครได้เป็นอย่างดี

มีความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ในสมัยนั้น เพราะมักจะมีคำซึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปนอยู่ด้วย

รู้จักขนบประเพณีไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ นับว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร    แสดงได้ตามบทบาท ไม่สั้น ไม่ยาว

ได้รับความรู้ทางศิลป สถาบปัยกรรมไวมาก เพราะพระองค์ทรงมีความชำนาญในทางนี้อยู่แล้ว บทในการชมต่างๆ ไพเราะ มองเห็นภาพพจน์ เช่น บทชมนกและดอกไม้ ซึ่งจำได้อย่างขึ้นใจโดยทั่วไปว่า

“…นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา    เหมือนจากนางสะการะวาตี
แขกเต้าจับเฒ่าร้างร้อง    เหมือนร้างน้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที        เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ลำดวนหวนหอมพะยอมแย้ม พิกุลแกมแก้วเกตกฤษณา
บ้างเผล็ดผลพวงดวงผกา     หล่นกลาดดาษดาพนาลี
คณานกโบยบินมากินผล     เสียงพลครั่นครื้นก็ตื่นหนี
อันมิ่งไม้บนเทินเนินคีรี        ท่วงทีดังดัดอยู่อัตรา”

มีกลอนที่จำได้ติดปากโดยทั่วไป ก็ได้แก่การชมปลาและดอกบัว เช่น
“น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา     ว่ายแหวกปทุมมาอยู่ไหวไหว
นิลบลพ้นน้ำขึ้นรำไร        ตูมตั้งบังใบอรชร
ดอกขาวเหล่าแดงสลับสี     บานคลี่ขยายแย้มเกสร
บัวเผื่อนเกลื่อนกลาดในสาคร บังอรเก็บเล่นกับนารี”

การที่จะรู้ว่าพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ตามแบบฉบับก็ด้วยกลอนบทหนึ่งว่า
อันอิเหนาเอามาเป็นคำร้อง         สำหรับการฉลองกองกุศล
แต่ก่อนเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์     แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
แต้มเติมต่อติดประดิษฐ์ไว้        บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน

ราชพิธีต่างๆ เราก็จะได้รู้ในอิเหนามาก เช่น ราชพิธีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่ พิธีพระเมรุ พิธีรับแขกเมือง พิธีแห่สนานใหญ่ พิธีโสกันต์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น ที่ผู้อ่านจะได้ประโยชน์อย่างยิ่ง

บทเสภาขุนช้างขุนแผน
ขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องที่เล่ากันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นนิยายพื้นเมืองที่เกิดจากเมืองสุพรรณในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้มีนักกวีแต่งกันบ้างแล้วแต่เหลือมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพียงบางตอนเท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นใหม่ โดยอาศยสำนวนที่เคยได้ยินได้ฟังมาแล้ว

ต่อมาปี ๒๔๖๐ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพร่วมกับกรมหมื่นพจน์สุปรีชา ได้ชำระใหม่เรียกว่า “เสภาหลวง”

ใช้สำหรับขับเสภา ลักษณะเป็นกลอนเสภาสำหรับเล่นละคร

ใช้คำที่ไพเราะมาก เนื้อความเข้าใจง่ายซึ้งตรึงใจยิ่งนัก

โบราณท่านสมมุติมนุษย์นี้         ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน
ตัวเป็นข้าอย่าให้ผ้าเหม็นสาป     จงสุภาพเจียมตนเป็นคนขำ

บทขำขันก็มี เช่น
ขุนช้างเห็นพิมกระหยิ่มใจ         ตะลึงไปตาเพ่งเขม็งดู
หยิบพานมาว่าจะกินหมาก         มันผิดปากส่งไพล่ไปรูหู
เคี้ยวเล่นไม่ได้แต่พลู            เพื่อนบ่าวเขารู้หัวเราะฮา

หมอสมิท พิมพ์เสภาฉบับหลวงจำหน่ายครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕

บทละครนอกในรัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เพื่อเล่นละคร ลักษณะเป็นกลอน ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ชมละคร ได้รับความเพลิดเพลิน ได้รับรสนิยมไปตามเนื้อหานั้นๆ ด้วย มีทั้งหมด ๖ เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย ไกรทอง สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย

ไชยเชษฐ์
ตั้งแต่ตอนนางสุวิญชาถูกขับไล่ พระไชยเซษฐ์ตามนางสุวิญชา พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล และอภิเษกพระไชยเชษฐ์

สังข์ทอง
เริ่มตั้งแต่ กำเนิดพระสังข์ นำพระสังข์ไปถ่วงน้ำ นางพันธุรัตเลี้ยงพระสังข์เอาไว้ ต่อมาพระสังข์หนีนางพันธุรัต ท้าวสามลให้ธิดาทั้งเจ็ดเลือกคู่ จนพระสังข์ได้นางรจนา ท้าวสามลให้ลูกเขยทั้งหกไปหาเนื้อหาปลา
พระอินทร์ท้าตีคลีกับท้าวสามล พระสังข์ขันอาสาเข้าสู้ ท้าวยศวิมลตามพระสังข์

ไกรทอง
ตั้งแต่ตอนนางวิมาลาตามไกรทองมาจากถํ้า และไกรทองตามวิมาลากลับถํ้า ละครเรื่องนพระองค์พระราชนิพนธ์ขึ้นมาด้วยถ้อยคำง่ายๆ เป็นภาษาตลาด เพราะมีผู้ว่าพระองค์ทรงใช้สำนวนภาษาตลาดไม่ได้ ดังเช่น
ได้เอยได้ฟัง                ตะเภาทองแค้นคั่งเคืองจิต
เจ็บแสบแปลบใจดังไฟพิษ        ด้วยว่าถูกที่คิดก็โกรธา
กระทืบเท้าก้าวเดินเข้าไปใกล้     ถ่มน้ำลายรดให้แล้วร้องว่า
เดิมทีผัวมึงอ้ายกุมภา            ขึ้นมาคร่าคาบกูลงไป
แล้วจำแลงแปลงตัวเป็นมนุษย์     ฉวยฉุดยุดมือถือไหล่
จำเป็นเสียตัวด้วยกลัวภัย        กูมิได้จงจิตไปติดตาม
ไม่เหมือนอีอุบาทว์ชาติกุมภีร์     ตัวกะลีกะลำส่ำสาบ
ลอยหน้าลอยตาว่าข้างาม        แต่งจริตติดตามผัวกูมา
กูจะว่าให้สาสมใจ            อีจัญไรร้อยแปดแพศยา
แม้นไม่เข็ดหลาบยังหยาบช้า     จะให้กูกูตบใสต่อไป

มณีพิชัย
ตอนพราหมณ์ยอพระกลิ่น     ขอพระมณีพิชัยไปเป็นทาส มีบทบาทไพเราะอยู่มาก เช่น
เจ้าเอ๋ยเจ้าพราหมณ์             หนักเบาเจ้าถามพี่ก่อน
อย่าเพ่อเคืองขัดตัดรอน        โทษกรณ์พี่ผิดประการใด
หรือหม่อมน้องสาวไปกล่าวโทษ    เจ้าจึงขึ้งโกรธเป็นข้อใหญ่
จงช่วยชี้แจงให้แจ้งใจ            ข้าจะให้ความสัตย์ปฏิญาณ

คาวี
ทรงจับเรื่องตั้งแต่ ท้าวสันนุราชหานางผมหอม ยายทัศประสาทใช้อุบายนำนางจันทร์สุดามาถวาย ท้าวสันนุราชชุบตัว นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า พระคาวีรบกับ ไวยทัต เป็นเรื่องเดียวกับเสือโคคำฉันท์

มีกลอนสอนใจว่า        แม้แต่ภรรยาก็ไม่ควรบอก
ความลับให้
โอ้ว่าโฉมยงนงลักษณ์         มิเสียทีที่รักสายสมร
ครั้งนี้ชีวิตจะม้วยมรณ์     เพราะเจ้าวอนไต่ถามความลับ
พี่ก็บอกออกให้ด้วยใจซื่อ     ควรหรือย้อนยอกกลอกกลับ
มิได้ฟังคำที่กำชับ        ไปบอกกับยายเฒ่าเจ้ามารยา
มันคิดร้ายหมายล้างชีวิตพี่     ทีนี้สุดสิ้นวาสนา
เวราเราแล้วนะแก้วตา     จะขอลาโฉมฉายวายปราณ
พระสุดสิ้นกำลังไม่สั่งได้     ด้วยดวงจิตพิษไฟเผาผลาญ
เอนอิงพิงองค์นงคราญ     ภูบาลชวนซบสลบไป

สังข์ศิลป์ชัย
ทรงพระราชนิพนธ์ตอน สังข์ศิลป์ชัยตกเหว ท้าวเสนากุฎเข้าเมือง เป็นเรื่องที่แต่งเพื่อเล่นละครเช่นเดียวกัน มีละครชาตรีนำไปเล่นอยู่เสมอๆ จนกระทั่งทุกวันนี้

รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๒
รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนสำหรับเล่นละคร ไม่สู้จะละเอียดนัก เพราะทรงพระราชนิพนธ์ให้เหมาะกับการเล่นละครเท่านั้น แต่สำนวนกลอนไพเราะ

ทรงพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ตอนหนุมานถวายแหวน หนุมานเผากรุงลงกา พิเภกถูกขับ พระรามจองถนน องคตสื่อสาร สุครีพหักฉัตร ศึกไมยราพ ศึกกุมภกรรณ ศึกมังกรกัณฑ์และแสงอาทิตย์ ศึกอินทรชิต พิเภกครองกรุงลงกา สีดาลุยไฟ สีดาประสูติรพระมงกุฎ ฤาษีชุบพระลบ พระรามปล่อยม้าอุปการ พระรามคืนดีกับสีดาและกรุงอโยธยา
มีบทที่ไพเราะ เช่น
“ว่าพลางอิงแอบแนบน้อง        เคียงประคองเชยชิดพิสมัย
เมฆบังตั้งแสงอโนทัย            ลมประลัยโลกลั่นครั่นครื้น
ฝนฝอยพรอยพร่ำส่ำสาด        เย็นทุกรุกชาติชุ่มชื้น
ชลาพ้นท้นท่วมพ่างพื้น        สองสมภิรมย์ชื่นฤดี

บทพากย์รัชกาลที่ ๒

ลักษณะเป็นกาพย์ฉบังและกาพย์ยานี  ทรงพระราชนิพนธ์ใช้พากย์โขน มี ๔ ตอนด้วยกันคือ ตอนนางลอย พรหมมาศ นาคมาศ เอราวัณ
มีบทที่ไพเราะ เช่น
ผวาสิ่งประหวั่นจิต         ไม่ทันคิดก็โศกา
กอดแก้วขนิษฐา         ฤดีดิ้นอยู่แดยัน
มาดแม้นจะหาดวง        วิเชียรช่วยเท่าคีรี
หาดวงพระสุริยศรี        ก็จะได้ดุจดังใจ
ตายแล้วและเกิดใหม่        ไม่ได้เหมือนเจ้านฤมล

กาพย์เห่เรือในรัชกาลที่ ๒
ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับเห่เรือ ส่วนพระองค์ และเพื่อชมฝีมือปรุงอาหารของพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ซึ่งมีฝีมือเป็นเลิศ ซึ่งน่าจะเป็นการยอพระเกียรติในการปรุงอาหารของสมเด็จพระราชินี มากกว่า จะเป็นเรื่องเห่เรือ ตัวอย่างชมอาหาร เช่น
ยำใหญ่ใส่สารพัด        วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา            ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม        เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน            ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง

นิราศสุนทรภู่
กวีที่ดีเด่น เกิดในรัชสมัยของพระองค์คือรัชกาลที่ ๒ ก็มีสุนทรภู่วรรณกรรมของท่านยังแพร,หลายอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านผู้นี้นับว่าเป็นกำลังสำคัญในด้านส่งเสริมวรรณคดีไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ เกิดที่กรุงเทพฯ บิดาเป็นชาวเมืองแกลง มารดาไม่ปรากฏชัด ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ เมื่อเกิดมาแล้วพ่อแม่ได้แยกกันอยู่ สุนทรภู่อยู่กับมารดาในวัง และได้รับการศึกษาที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม)    ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งกรมพระอาลักษณ์ ในรัชกาลที่ ๒ เป็นขุนสุนทรโวหาร กวีที่ปรึกษา
ต่อมาถูกถอดยศ ถูกริบบ้าน สุนทรภู่จึงออกบวช และย้ายวัดอยู่เรื่อยๆ การไปที่ไหนสุนทรภู่มักจะแต่งนิราศขึ้นไว้เสมอ

สุนทรภู่เป็นกวีคนแรก ที่แต่งหนังสือขาย เพื่อเลี้ยงชีพ แต่มีรายได้ไม่พอเลี้ยงท้อง ชีวิตจึงลุ่มๆ ดอนๆ วรรณคดีเรื่องแรกคือเรื่องโคบุตร

สุนทรภู่ ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งอาลักษณ์ของพระปิ่นเกล้า มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร ได้อยู่ในตำแหน่งนี้เพียง ๑๐ ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ ๗๐ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๘

สุนทรภู่ได้แต่งนิราศไว้หลายเรื่อง บางเรื่องก็แต่งถึงความรู้สึกที่ต้องจากนางที่ตนรัก เช่น
นิราศเมืองแกลง พ.ศ. ๒๓๕๐ รำพึงถึงนางจันทร์
นิราศพระบาท พ.ศ. ๒๓๕๐ รำพึงถึงนางจันทร์
นิราศสุพรรณ พ.ศ. ๒๓๘๔ รำพึงถึงจันทร์ ม่วง, น้อย
นิราศพระประฐม พ.ศ. ๒๓๘๕ รำพึงถึงเกสร, ม่วง, ชิน
นิราศเมืองเพชร พ.ศ. ๒๓๘๘, ๒๓๙๒ รำพึงถึง ทอง, ปราง, ชิน
นิราศพระแท่นดงรัง รำพึงถึงม่วง
แต่งตามอารมณ์ของนักกวี เกิดอารมณ์อยากจะแต่ง เช่น
นิราศภูเขาทอง พ.ศ. ๒๓๗๑
นิราศวัดเจ้าฟ้า พ.ศ. ๒๓๗๕
แต่งโดยสมมุติขึ้นบ้าง เช่น นิราศอิเหนา นิราศต่างๆ ของสุนทรภู่ใช้ ถ้อยคำ สำนวนไพเราะกินใจ มีคติสอนใจแฝงอยู่ด้วย นอกจากจะรำพันถึงความรัก ยังมีสิ่งดีงามแอบแฝงอยู่ด้วย และบรรยายถึงความงด
งามของธรรมชาติที่ได้เห็นมาอย่างละเอียด เป็นประโยชน์ในด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เช่น

ชมความงามของนํ้า
ดูนํ้าวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก     กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน
บ้านพลุ่งพลุ่งวุ้งวงเป็นกงเกวียน     ดูเวียนเวียนคลั่งคว้างเป็นหว่างวน (นิราศภูเขาทอง)

ชมความงามของสวนไม้ ต้นไม้
พฤกษาสวนล้วนได้ฤดูดอก        ตระหง่านงอกริมกระแสแลสล้าง กล้วยระกำอัมพวาพฤกษาปราง    ต้องน้ำค้างช่อชุ่มเป็นพุ่มพวง
เห็นจันท์สุกลูกเหลืองตระหลบกลิ่น แมลงภู่บินร่อนร้องประคองหวง
พฤกษาน้องต้องนามกานดาดวง    พี่ผลพวงผลจันทร์ให้หวั่นใจ
(นิราศพระบาท)

สอนคน
อันคดอื่นหมื่นคดกำหนดแน่        เว้นเสียแต่ใจมนุษย์สุดกำหนด
ทั้งลวงล่องอเงี้ยวทั้งเลี้ยวลด        ถึงคลองคดก็ยังไม่เหมือนใจคน
(นิราศเมืองเพชร)

ชมสัตว์เป็นคำโคลงสี่สุภาพ
แจ้วแจ้วจักกระจั่นจ้า        จับใจ
หริ่งหริ่งเรื่อยเรไร            ร่ำร้อง
แซงแซวส่งเสียงใส        ทราบโสต
แหนงนิ่งนึกนุชน้อง        นิ่มเนื้อเวลานาง
(นิราศสุพรรณ)

พระอภัยมณี
เป็นนิทานคำกลอนที่ขึ้นชื่อลือชา ของสุนทรภู่ แต่งเพื่อขายเลี้ยงชีพ ขณะต้องโทษในรัชกาลที่ ๒ บางท่าน ว่าแต่งไนสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาได้แต่งถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ผู้มีพระคุณ แต่งแบบจินตกวี ใช้ความคิดเห็นเป็นส่วนตัว และจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ เหตุการณต่างๆ บางตอนอาศัยเรื่องสามก๊ก ไซ่ฮั่น อาหรับราตรี

คำกลอนสละสลวย คมคาย มีคติเตือนใจสั่งสอนคนไว้ด้วย
เริ่มเรื่องตั้งแต่พระอภัยมณี และศรีสุวรรณ ถูกพระบิดาเนรเทศจากกรุงรัตนา เพราะทรงพิโรธที่ไม่ได้เรียนวิชาสำหรับการเป็นกษัตริย์ ได้เพื่อน ๓ คน คือ โมรา สานน และวิเชียร ซึ่งเป็นพราหมณ์ ต่อมาก็ถูกผีเสือ สมุทรพาตัวไปเป็นสามี จนกระทั่งเกิดบุตร

ศรีสุวรรณกับพราหมณ์ทั้ง ๓ ร้อนใจออกติดตามไปได้นางเกษรีธิดาของท้าวทศวงศ์ เมืองรมจักร

ฝ่ายพระอภัย สินสมุทรบุตรได้พาพระอภัยหนีนางผีเสื้อไปอยู่กับฤาษีที่เกาะแก้วพิสดาร ได้นางเงือกเป็นชายา ต่อมาพระอภัยมณีได้โดยสารเรือท้าวสิลราชเมืองผลึก ถูกผีเสื้ออาละวาดจนเรือแตก สินสมุทรพาสุวรรณมาลีธิดาท้าวสิลราชซึ่งจมน้ำขึ้นฝั่ง โดยสารเรือโจรสุหรั่งไป สินสมุทรฆ่าโจรตายเนื่องจากโจรคิดทำร้าย และได้ต่อสู้กับศรีสุวรรณซึ่งตามหาพระอภัยมณี

พระอภัยมณีเป่าปี่ ทำให้ผีเสื้อตายที่เกาะแก้วพิสดาร หลังจากขึ้นฝั่งได้แล้วก็โดยสารเรืออุศเรนคู่หมั้น นางสุวรรณมาลี ทำให้เกิดรบกับสินสมุทรเรื่องนางสุวรรณมาลี

พระอภัยครองเมืองผลึก นางสุวรรณมาลีหนีไปบวช นางวารีทำอุบาย จนได้อภิเษกกับพระอภัย

อุศเรนแค้นใจยกทัพมารบเมืองผลึก จนตัวถึงแก่ความตาย นางละเวงน้องสาวอุศเรนขอแก้แค้นทำให้เกิดสงครามใหญ่ พระฤาษีแห่งเกาะแก้วพิสดารมาหย่าทัพเรืองจึงสงบ เรื่องราวต่อไปก็รับลูก สุนทรภู่ได้แต่งจนถึงตอนพระอภัยออกบวช

นับเป็นคำกลอนที่เป็นนิทานไพเราะมาก เช่น สอนคน
“รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา         รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
“อันดีชั่วตัวตายเมื่อภายหลัง    ชื่อก็ยังยืนอยู่ไม่รู้หาย”

“อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์        ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน
เหมือนกงเกวียน กำเกวียน เวียนระไว     จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์”
“ประเพณีตีงูให้หลังหัก        มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จรเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง         เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย”

กาพย์พระไชยสุริยา
สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง
แต่งเพื่อใช้สอนอ่าน    พระศรีสุนทรโวหาร(น้อย) ได้นำไปไว้ในมูลบทบรรพกิจ เบนตำราเรียนในสมัยโบราณ

เป็นคำกลอนไพเราะ มีคติเตือนใจ สอนอ่านได้ดี มีคนท่องจำได้มาก

เนื้อเรื่อง พระไชยสุริยาครองกรุงสาวัตถี บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายประพฤติมิชอบ ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นอาเภท พระไชยสุริยาได้ลงเรือหนีไปกับพระมเหสี เรือแตก แต่ก็ขึ้นฝั่งได้ ต่อมาได้สดับธรรมของฤาษี แล้วจึงออกบวชจนตลอดชีวิต

บรรยายถึงความชั่วที่ไม่นำพาต่อราชการ
“…อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า     ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี        ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ        เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ให้ภริยา        โลภาพาให้บ้าใจ”

กลอนสุภาษิตสุนทรภู่
สุนทรภู่แต่งเป็นกลอนเพลง แต่งเพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ เรียกว่า สวัสดิรักษา
แต่งเป็นเพลงยาวถวายโอวาท ถวายแด่สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์

แต่งเป็นสุภาษิตสอนหญิง เพื่อสอนสตรี และแต่งขาย ตัวอย่างเช่น
เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก     จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
เป็นสาวแซ่เร่รวยสวยสะอาด     ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า
แม้นแตกร้าวรานร่อนถอยราคา     ก็จะพาหอมหายจากกายนาง
(เพลงถวายโอวาท)
เป็นสตรีสุดดีแต่เพียงผัว        จะดีชั่วก็แต่ยังกำลังสาว
อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ
(เพลงยาวถวายโอวาท

มีเนื้อหาในกลอนสุภาษิต คือ
กล่าวถึงทำสิ่งได้จึงเบนมงคล
กล่าวถึง คำสอนของครู สอนลูกศิษย์
ข้อควรปฏิบัติของสตรี

บทเห่ของสุนทรภู่
เป็นกาพย์เห่คล้ายยานี สำหรับเห่กล่อมพระบรรทมของพระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์คือ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า พระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระจอมเกล้า

เข้าใจว่าแต่งเมื่อลาสิกขาแล้ว

เนื้อเรื่อง จับเอาตอนสำคัญในเรื่องกากี จับระบำเกี่ยวกับการรำฟ้อน ของชาวสวรรค์ในวสันตฤดู พระอภัยมณี และโคบุตร

นิราศนรินทร์
นรินทร์ธิเบศร์ อิน บิดามารดาชื่ออะไรไม่ปรากฏ เพียงรู้ว่าเป็นมหาดเล็กฝ่ายกรมพระราชวังบวร มหาเสนานุรักษ์ วังหน้า รัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาดเล็กหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์เป็นที่ นายนรินทร์ธิเบศร์ ได้แต่งโคลงนิราศนรินทร์ ซึ่งเป็นโคลงที่มีชื่อเสียงมาก สังเกตดูมักจะเลียนแบบจากกำสรวลศรีปราชญ์ แต่ใช้ถ้อยคำง่ายและไพเราะกว่า

นรินทร์ ถนัดโคลง ส่วนสุนทรภู่ถนัดกลอน จึงเด่นไปคนละแบบ    …..ชีวิตคงไม่ขี้เมา และเจ้าชู้เหมือนสุนทรภู่
นิราศนรินทร์เกิดขึ้น เมื่อตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ไปรบกับพม่าที่ถลางและชุมพร ใน พ.ศ. ๒๓๕๒

ลักษณะ เป็นร่ายสุภาพนำ    แล้วเป็นโคลงสี่สุภาพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัย ในการจากไปของนรินทร์ โดยเหตุที่นรินทร์อิน เลียนแบบกำสรวลศรีปราชญ์ และเป็นลักษณะโคลงสี่สุภาพ ไม่ใช่โคลงดั้นเช่นศรีปราชญ์ ทั้งใช้ภาษาง่ายกว่า จึงมีความไพเราะ มากกว่า เช่น

ชมปราสาทราชวัง
อยุธยายศยิ่งให้         ทั้งสาม ภพฤา
องคตดิสรสาม        สุขหล้า
บูชิตศาสนาราม        เรืองทวีป เอย
บุญพระตวงฟ้าค้า    ค่ำสวรรค์

เจดีย์สลับสล้างพระ         พรางแสง ทองแฮ
โบสถ์สระศาลานันต์        เนื่องด้าว
ธรรมาสนอาสน์สงฆ์แดง    เสดาะสัตว์ ทุกขท่าว
แผ่นสุธาท้าวสร้าง        สัจศีล
(ศรีปราชญ์)

อยุธยายศล่มแล้ว         ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางรัตน์บรร        เจิดหล้า
บุญเพรงพระมหาสวรรค์    ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า            ฝึกฟื้นใจเมือง

เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น         พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง        คํ่าเช้า
เจดีย์ระดะแซง            เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า        แก่นหล้าหลากสวรรค์
(นิราศนรินทร์)

ฝากรัก
โฉมแม่จักฝากฟ้า    เกรงอินทร์ หยอกนา
อินทร์ท่านเทอกเอา    สู่ฟ้า
โฉมนางจะฝากดิน    ดินท่าน แล้วแฮ
ดินท่านขดดเจ้าหล้า    สู่สํสองสํ

โฉมแม่ฝากน่านน้ำ     อรรณพ แลฤา
ยยวนาคเชอยชํอก    พี่ไหม้
โฉมแม่รำพึงจบ        ไตรโลกย์
โฉมแม่ใครสงวนได้    เท่าเจ้าสงวนเอง
(กำสรวลศรีปราชญ์)

โฉมควรจักฝากฟ้า         ฤาดิน ดีฤา
เกรงเทพไท้ธรณินทร์        ลอบกลํ้า
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน        บนเล่า นาแม่
ลมจะชายชักช้ำ            ชอกเนื้อเรียมสงวน

ฝากอุมาสมรแม่แล้         ลักขมี เล่านา
ทราบสยมภูวจักรี        เกลือกใกล้
เรียมคิดจนจบตรี        โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้            ยิ่งด้วยใครครอง
(นิราศนรินทร์)

นิราศขึ้นต้นด้วยร่าย         ด้วยถ้อยคำไพเราะ
ศรีสิทธิ์ พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎรรอนเสี้ยน ส่าย เศิกเสี้ยนส่งหล้า ราญราบหน้าเภริน…

แม้นรินทร์ จะแต่งวรรณคดีไว้น้อย แต่ก็แสดงถึงผลงานที่เป็นเพชรนํ้าหนึ่งในวรรณคดีไทยทีเดียว

โคลงนิราศเสด็จตามลำน้ำน้อย
ผู้แต่งคือ พระยาตรัง พระยาตรังเป็นชาวนครศรีธรรมราช เดิมชื่อ สีโหน เป็นกวียอดเยี่ยมอีกท่านหนึ่งในรัชกาลที่ ๒ วรรณคดีที่ดีเด่นได้แก่ นิราศเสด็จตามลำน้ำน้อย และนิราศถลาง

การแต่งนิราศนี้ก็เพื่อรำพึงถึงนางที่ตนรัก และบันทึกเหตุการณ์ตามเสด็จรัชกาลที่ ๑ ไปตีเมืองทวาย

แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐

ลักษณะ เป็นร่ายดั้น โคลงดั้นบาทกุญชร และ วิวิธมาลี

แต่งเลียนแบบศรีปราชญ์ ถ้อยคำศัพท์เป็นคำเก่า ขนาดกำสรวลศรีปราชญ์

ตัวอย่างชมวัดเจดีย์
เจดีย์สลับสล้างพระ         พรายแสง ทองแฮ
โบสถ์สระศาลานันต์        เนื่องด้าว
ธรรมาสอาสน์สงฆ์แสดง    เสดาะสัตว์ ทุกข์ท่วง
แผ่สุธาท้าวสร้าง            จำศีล

โฉมแม่จักฝากฟ้า        เกรงอินทร์ หยอกนา
อินทร์ท่านเทอกเอา        สู่ฟ้า
โฉมนางจะฝากดิน        ดินท่าน แล้วแฮ
ดินท่านขดดเจ้าเหล้า        สู่สํสองสํ
(กำสรวลศรีปราชญ์)

โฉมเจ้าจักแหวกฟ้า         ฝากพรหม เมศฤา
เกรงจะชมณารเมอน        แม่ไว้
จับฝากอิศวกรม            ไกรลาศ
ไฟราคร้อนหล้าไท้        ท่ววแหนง
(พระยาตรัง)

พระยาตรัง ก็อดจะกล่าวเปรียบเทียบกำสรวลศรีปราชญ์ไม่ได้ เช่นเดียวกับนรินทร์อิน ว่า

กำสรวลสาคเรศสร้อย         สารศรี ปราชญ์แฮ
วรนุชจรนุชไกล            เกลือกรู้
ดุจมารมิ่งสวัสดี            ดวงแน่ว อ่อนเอย
ตรงกระสันสู้เศร้า        สุดตรอม

กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง    เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ        สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร            สามเทวษ ถวิล แฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว        กึ่งร้อยทรวงเรียม
(นิราศนรินทร์)

นิราศถลาง
โคลงนิราศพระยาตรัง ลักษณะเป็นร่ายสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ แต่งเพื่อรำพึงถึงนางที่ตนรัก ต้องจากไป
แต่งคล้ายนิราศนรินทร์ แต่ดูเหมือนจะมีสำนวนอ่อนกว่าบ้าง แต่ก็มีความไพเราะในการรำพันอยู่ไม่น้อยทีเดียว เช่น
เขาหมอนหนึ่งน้องร่วม         เรียงเขนย
กรตระกองก่ายเกย            กอดเนื้อ
อ้าสูรอรองเอย                ควรจาก ดอกฤา
เขนยจะแนบแทนเนื้อ             นิ่มเนื้อทรวงนาง

ลำดวนควรเด็ดก้าน         ชมเชย
เห็นเกตสุกรมกรม        ทรวงพี่
นวลดั่งสีนวลนม            นุชแท้
กลแม่เด็ดมวนแก้        เกศเจ้าแซมถนอม

อย่างไรก็ดี พระยาตรัง ก็เป็นนักกวีชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ บางศัพท์แม้จะยากแก่การเข้าใจ แต่ก็มีสำนวนไพเราะ บรรยายได้ละเอียดลออดี