เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

เครื่องอัดอากาศ เป็นอุปกรณ์หลักที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแทบทุกประเภท ทุกขนาด เนื่องจากในกระบวนการผลิตหลายกระบวนการ จำเป็นต้องมีการใช้งานอากาศอัดสำหรับอุปกรณ์นิวแมติกส์ ต่างๆ เช่น Air Cylinder ปืนลม เครื่องขัด เครื่องเจาะ เครื่องพ่น และการลำเลียง ตลอดจนเป็นส่วนประกอบในการใช้งานของเครื่องจักรอัตโนมัติต่าง ๆ

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัด

เครื่องอัดอากาศ มีหน้าที่หลักในการเพิ่มความดันของอากาศจากความดันบรรยากาศปกติ (ประมาณ 1 บาร์) ให้สูงขึ้นตามความต้องการใช้งาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักใช้งานที่ความดันในช่วง 4-7 บาร์ โดยอาศัยหลักการลดปริมาตรของอากาศลง ส่งผลให้มีความดันเพิ่มขึ้น

  1. ชนิดและหลักการทำงานของเครื่องอัดอากาศ

เครื่องอัดอากาศสามารถแบ่งตามลักษณะวิธีการของการอัดอากาศได้หลายชนิด เช่น แบบลูกสูบ แบบสกรู แบบโรตารี่เวน แบบหมุนเหวี่ยง ฯลฯ ซึ่งมากกว่า 80% ของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นการใช้งานเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบและแบบสกรูแทบทั้งสิ้น ดังนั้นจึงขออธิบายเฉพาะเครื่องอัดอากาศที่นิยมใช้งานทั้ง 2 ชนิด ดังนี้

  •  ชนิดของเครื่องอัดอากาศ

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
ภาพจาก : www.conexstore.com

เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ

เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก โดยมีขนาดตั้งแต่ ¼ แรงม้าขึ้นไป แต่ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมักมีขนาดตั้งแต่ 5-15 แรงม้า (3.7 – 11.0 kW)

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

หลักการทำงาน เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบผลิตอากาศอัดได้โดยการลดปริมาตรอากาศในกระบอกสูบ ซึ่งสามารถอธิบายการทำงานได้ดังนี้

- เมื่อลูกสูบเลื่อนลงภายในกระบอกสูบจะมีปริมาตรมากขึ้นและเกิดสุญญากาศในกระบอกสูบอากาศซึ่งอยู่ภายนอกกระบอกสูบจะดันให้วาล์วทางเข้าเปิด อากาศก็จะไหลเข้าไปในกระบอกสูบ
- เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นจะดันให้อากาศมีปริมาตรเล็กลง ภายในกระบอกสูบจะเกิดความดันสูงขึ้นและดันให้วาล์วทางเข้าปิด อากาศอัดจะไหลออกจากกระบอกสูบไปสู่ถังเก็บลมต่อไป

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
ภาพจาก : www.chankaseminter.com

เครื่องอัดอากาศแบบสกรู
เครื่องอัดอากาศแบบสกรูโดยทั่วไปมีขนาดมอเตอร์ และปริมาณการผลิตอากาศอัดสูงกว่าเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ ขนาดที่นิยมใช้มักอยู่ในช่วง 11 - 75 kW จึงมักใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการอากาศอัดในปริมาณที่สูง

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

หลักการทำงาน เครื่องอัดอากาศแบบสกรู อาศัยตัวหมุน 2 ตัวทำเป็นเกลียว และมีทิศทางการหมุนตรงกันข้ามกัน โดยระหว่างเกลียวทั้งสองจะมีช่องว่างสำหรับดูดอากาศเข้ามาแล้วอัดให้มีปริมาตรน้อยลงเพื่อเพิ่มความดันอากาศเมื่อเพลาสกรูหมุนลมภายนอกจะถูกดูดผ่านท่อเข้ามาและถูกอัดตามร่องฟันที่ขบกันความเร็วสูง ทำให้อากาศถูกอัดให้มีความดันสูงขึ้นและไหลออกอีกทางหนึ่ง ดังรูป

เลือกขนาดเครื่องอัดอากาศ โดยพิจารณาจากอัตราการใช้ลมของอุปกรณ์ทั้งหมด 25-50% สำหรับความสูญเสีย และการขยายตัวในอนาคต
จากหลักการทำงาน และคุณลักษณะของเครื่องอัดอากาศซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน สามารถแสดงรายการเปรียบเทียบระหว่างเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบและแบบสกรู ได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ และสกรู

รายการลูกสูบสกรูระดับเสียงสูงเงียบถ้าปิดมิดชิดขนาดไม่กระทัดรัดกะทัดรัดน้ำมันที่ถูกพาไปกับอากาศมีบ้างต่ำการสั่นสะเทือนสูงเกือบไม่มีการบำรุงรักษามีชิ้นส่วนสึกหรอหลายชิ้นมีส่วนสึกหรอน้อยมากปริมาณต่ำ-สูงต่ำ-สูงความดันปานกลาง-สูงมากปานกลาง-สูงประสิทธิภาพที่โหลดบางส่วนสูงไม่มี เมื่อโหลดต่ำกว่า 60%

2. อุปกรณ์ประกอบในระบบอากาศอัด

ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงอุปกรณ์ประกอบที่สำคัญของระบบอากาศอัด ดังนี้

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

รูปที่ 3 อุปกรณ์ประกอบในระบบอากาศอัด

ตารางประกอบรูปที่ 3 แสดงหน้าที่ของอุปกรณ์ประกอบในระบบอากาศอัด

เครื่องทำอากาศแห้ง (Air Dryer)มีหน้าที่ในการไล่ความชื้นที่มีอยู่ในอากาศอัดออกไป เพื่อให้อากาศที่จะนำไปใช้งานมีความแห้งเหมาะสมต่อการใช้งานและไม่สร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ โดยส่วนใหญ่มักทำอากาศให้แห้งโดยการใช้ระบบทำความเย็น ซึ่งจะทำให้อากาศแห้งลงในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่วไป สำหรับกระบวนการที่ต้องการอากาศอัดที่แห้งเป็นพิเศษ จำเป็นต้องใช้สารดูดความชื้น เช่น ซิลิก้าท่อส่งจ่ายอากาศอัดขนาดของท่อส่งจ่ายควรเลือกให้เหมาะสม เพราะเนื่องจากถ้าใช้ท่อที่มีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้เกิดการสูญเสียความดันมาก และสิ้นเปลืองพลังงาน โดยทั่วไปสามารถคำนวณขนาดท่อจากปริมาณอากาศอัดที่ส่งจ่าย และกำหนดให้ความเร็วอากาศอัดไม่เกิน 8 และ 15 เมตร/วินาที สำหรับท่อเมน และท่อย่อย ตามลำดับ ซึ่งการติดตั้งท่อลมหลักมี 2 แบบ คือ - การเดินท่อแบบท่อเดี่ยว (Single line)การเดินท่อวิธีนี้จะใช้กับการใช้งานที่มีอุปกรณ์นิวแมติกไม่มากและเป็นการเดินท่อในระยะสั้นๆ - การเดินท่อแบบวงแหวน (Ring Circuit)เป็นการเดินท่อเป็นวงรอบพื้นที่ใช้งานซึ่งการวางท่อแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความดันตกโดยการจ่ายลมอัดกระจายออกไปทั้งสองด้าน โดยที่ความดันที่บริเวณปลายสุดของ ท่อเมนจะมีความดันใกล้เคียงกับบริเวณใกล้เครื่องอัดลมแม้จะมีการใช้ปริมาณลมมาก

อุปกรณ์หลักๆ ที่ติดตั้งร่วมอยู่กับถังอากาศอัดด้วยแสดงในรูปได้แก่วาล์วนิรภัย (Safety Valve) ทำหน้าที่ปล่อยอากาศออกจากถังเมื่อความดันในถังสูงเกินค่าที่ตั้งไว้เพื่อความปลอดภัย ในกรณีเครื่องอัดอากาศไม่ตัดการทำงานเกจวัดความดัน (Pressure Gauge) ใช้สำหรับตรวจดูความดันของอากาศอัดภายในถัง อุปกรณ์ระบายน้ำอัตโนมัติ (Automatic Drain) มีหน้าที่ระบายน้ำซึ่งเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศซึ่งอยู่ด้านล่างของถังอากาศอัดออกไปจากระบบตามปริมาณน้ำหรือเวลาที่กำหนดไว้

ขนาดของถังอากาศอัดที่เหมาะสมคำนวณได้จากสมการ

ปริมาตรถัง = ปริมาณอากาศอัดติดตั้ง (m³/min) x Safty Factor
        ความดันใช้งาน (ฺBar abs.)

โดยที่ Safety Factor มักใช้ค่าในช่วง 1.5-3.0 ขึ้นอยู่กับความคงที่ของปริมาณอากาศอัดที่ใช้งาน เช่น หากความต้องการใช้ค่อนข้างคงที่ใช้ค่า 1.5 และถ้ามีความผันผวนมากแนะนำให้ใช้ 3.0

ความดันที่อ่านได้จากเกจวัด = ความดันสัมบูรณ์ (P abs.) + ความดันบรรยากาศ (P atm.)

3. ประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศ

ประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศนั้นมักระบุในเชิงของดัชนีการใช้กำลังไฟฟ้าต่อการผลิตอากาศอัด ซึ่งจะต้องทราบข้อมูลใน 2 ส่วน คือ กำลังไฟฟ้าที่ป้อนให้เครื่องอัดอากาศ (kW) และอัตราการผลิตอากาศอัด (l/sec, m3/min) ซึ่งมักนิยมระบุประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศจึงนิยมระบุในเชิงความสัมพันธ์ของค่าทั้ง 2 โดยมีหน่วยเป็น kW/m3/min

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

รูปที่ 4 ตัวอย่าง Nameplate ของเครื่องอัดอากาศ

สามารถประเมินค่าประสิทธิภาพที่พิกัดตาม Nameplate ได้จาก

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร
เครื่องอัดลม (Air Compressor) ทำหน้าที่อะไร

 

 

 

ค่า kW/m³/min ยิ่งต่ำ ยิ่งดี โดยทั่วไปเครื่องอัดอากาศใหม่มีค่าประมาณ 6 kW/m³/min

4. การประเมินการใช้พลังงานของเครื่องอัดอากาศ

จากนิยมที่ว่า พลังงานไฟฟ้าคือผลคูณของค่าพลังไฟฟ้า กับชั่วโมงการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ดังนั้น สำหรับเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ สามารถประเมินค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ได้ด้วยสมการ

พลังงานที่ใช้ = พลังไฟฟ้า x ชั่วโมงการใช้งาน x % การทำงาน

ตัวอย่าง  เครื่องอัดอากาศชนิดลูบสูบขนาด 10 แรงม้า มีการใช้พลังไฟฟ้า 7.5 kW ชั่วโมงการทำงาน 3,600 ชั่วโมงต่อปี Load Factor = 70 % คิดเป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อปีเท่ากับเท่าไร?

พลังงานไฟฟ้า = 7.5 x 3,600 x 70% = 18,900 kWh/ปี

สำหรับเครื่องอัดอากาศแบบสกรู เนื่องจากมีการทำงานใน 2 สภาวะ คือ ช่วงทำงาน (Load) และช่วงเดินตัวเปล่า (Unload) ดังนั้น สามารถประเมินค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ได้ด้วยสมการ