Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ คืออะไร

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน – SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)

SDGs คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นกรอบทิศทาง การพัฒนาของโลกภายหลังปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. ๒๕๕๘) ที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) กําหนดต่อเนื่องจาก MDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) ที่สิ้นสุดลงเมื่อเดือนสิงหาคม 2558

ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 (The 70th session of the United Nations General Assembly) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาตินครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อให้ประเทศต่างๆ นําไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ในช่วงระยะเวลา 15 ปี (เดือนกันยายน 2558 – สิงหาคม 2573)

Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ คืออะไร

การสนับสนุนของสหประชาชาติต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ประเทศไทย

แก่นสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) สามารถสรุปได้ด้วยวลีสั้น ๆ ว่า “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในทุกภาระกิจของสหประชาชาติในประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2565 ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565-2569 (UNSDCF) กับรัฐบาลไทย กรอบความร่วมมือฯ นี้แจกแจงการสนับสนุนด้านการพัฒนาที่ระบบสหประชาชาติมอบให้กับประเทศไทยเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายอันสูงส่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030 และก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต กรอบความร่วมมือฯ ได้รับการออกแบบโดยอิงหลักการของสหประชาชาติที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หลักสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาคทางเพศ หลักความยั่งยืน และหลักภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต จึงมีความสอดคล้องในระดับสูงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ประเทศไทย

การทำงานของหน่วยงานทั้ง 21 แห่งของสหประชาชาติในประเทศไทยครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดในฐานะประเทศผู้มีรายได้ปานกลางระดับสูงจากการประเมินโดยองค์การสหประชาชาติ ทีมสหประชาชาติประจำประเทศจะสนับสนุนกิจกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังต่อไปนี้ ข้อ 1.3 การขยายขอบเขตการคุ้มครองทางสังคม ข้อ 3.4 การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ ข้อ 4.1 การช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชนอพยพ ข้อ 5.5 การสนับสนุนเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น ข้อ 8.3 การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมโดยเยาวชน ข้อ 10.2 การเปิดรับคนชายขอบ โดยเฉพาะชุมชน LGBTI ข้อ 10.7 การดูแลการโยกย้ายถิ่นฐาน ข้อ 13.2 ยุทธศาสตร์เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ข้อ 16.1 การสนับสนุนความสามัคคีในสังคมเพื่อยุติความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย ข้อ 16.9 การผลักดันและสนับสนุนการยุติปัญหาคนไร้สัญชาติ ข้อ 17.7 การเป็นพันธมิตรกับภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อ 17.9 การแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทยและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดผ่านการแลกเปลี่ยนใต้ – ใต้

SDGs คืออะไร – หลังจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals – MDGs ) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ได้สิ้นสุดลงเมื่อปี 2015 นั้น องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030

SDGs คืออะไร ? SDGs 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย UN มีอะไรบ้าง Sustainable Development Goals –SDGs ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ ดังนี้

1.No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่

2.Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

3.Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ

4.Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

5.Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง

6.Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน

7.Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย

8.Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า

9.Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม

10.Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ

11.Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

12.Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน

13.Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ

14.Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน

16.Peace and Justice Strong Instiutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งหมดนี้คือเป้าหมาย SDGs 17 ข้อ ที่สหประชาชาติ ที่ทั่วโลกจะทำให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งหลายประเทศก็ได้ออกวิสัยทัศน์เชิงนโยบายหลายแบบ ทั้งญี่ปุ่นกับ Society 5.0 , ประเทศไทย 4.0 และ Smart Nation ของสิงคโปร์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก un.or.th

Sustainable Development Goal มีเป้าหมายทั้งหมดกี่เป้าหมาย

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าโลกจะดีขึ้นภายในปี 2573. เป้าหมายเหล่านี้คือการเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อยุติความยากจน ปกป้องโลก และทำให้ทุกคนมีความสงบสุขและความมั่งคั่ง.

Sustainable Development มีอะไรบ้าง

Sustainable Development กับความสำคัญต่อโลก.
ขจัดความยากจน.
ขจัดความหิวโหย.
การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี.
การศึกษาที่เท่าเทียม.
ความเท่าเทียมทางเพศ.
การจัดการน้ำและสุขาภิบาล.
พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้.
การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ.

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึงอะไร

การพัฒนาแบบยั่งยืน Sustainable Development หมาย ถึง “รูปแบบของการพัฒนาที่สนองความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่น ต่อไปในอนาคต ต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง” การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน