หลักในการคัดเลือกหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

           �·����������ç�ҹ����������� �ѡ���¹���繵�ͧ�ա�ù��ʹ��ç�ҹ���Ѻ������ͧ�����ҹ ���ʹ������Ҩ�������Ѻ�Դ�ͺ�ç�ҹ ���������͡��ù��ʹ��������ó� ���Ҩ�л�Ѻ��͢�ͤ�������Ӥѭ�Ҩҡ��§ҹ���� �͡�ҡ����ѧ�е�ͧ�ҧἹ㹡���ҸԵ��÷ӧҹ�ͧ�ç�ҹ���� ��Ф�ý֡�Ѵ͸Ժ�¡�÷ӧҹ�ͧ�ç�ҹ ����֧�֡�Ѵ�ͺ�Ӷ���������Ǣ�ͧ������

การเลือกโครงงานเป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องพิจารณาหรือกำหนดโครงงานให้เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของผู้ทำโครงงานให้มากที่สุด  โดยจะกำหนดหัวข้อโครงงานเป็นชื่อหรือสิ่งบ่งชี้ลักษณะของโครงงาน  ซึ่งผู้ทำโครงงานควรพิจารณาเลือกโครงงานจากปัจจัยทั่วไป  รูปแบบของสื่อการเรียนรู้  และประเภทของสื่อการเรียนรู้  ดังนี้

1.การเลือกโครงงานจากปัจจัยทั่วไป  เป็นการกำหนดหัวข้อของความรู้ที่ผู้ทำโครงงานต้องการถ่ายทอด  เช่น  ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้  ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ  โดยผู้ทำโครงงานควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้

1.1ความรู้  ความสามารถ  ความสนใจ  ความถนัด  และประสบการณ์ของผู้ทำโครงงาน  โดยพิจารณาได้จากคะแนนวัดผลความรู้หรือผลงานที่เคยปฏิบัติ

1.2ประโยชน์ของโครงงาน  โดยโครงงานนั้นจะต้องสามารถนำภาระงาน  ชิ้นงาน  และกิจกรรมอิสระนั้นไปพัฒนาและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

1.3ความคิดสร้างสรรค์  โดยเป็นโครงงานที่ไม่มีผู้ใดทำไว้หรือเป็นการพัฒนาโครงงานที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว  ซึ่งโครงการนั้นจะต้องมีความแปลกใหม่และทันสมัย

1.4ระยะเวลา  โดยผู้ทำโครงงานควรกำหนดวันสิ้นสุดโครงงานให้ชัดเจน  เพื่อให้สามารถประมาณระยะเวลาลงในตารางดำเนินการของโครงงานในแต่ละขั้นตอน

1.5ค่าใช้จ่าย  โดยผู้ทำโครงงานจะต้องประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด  ยึดหลักความคุ้มค่า  ในการทำโครงงานด้วยการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมากกว่าการจัดหาใหม่

1.6ความปลอดภัย  โดยผู้ทำโครงงานควรเลือกทำโครงงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำโครงงาน  สังคม  และประเทศชาติ  หากโครงงานนั้นมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตราย  ผู้ทำโครงงานควรประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในการดูแลและควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ(Professional)

1.7ค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่น  โดยผู้ทำโครงงานควรหลีกเลี่ยงการทำโครงงานที่ขัดต่อความเชื่อ  วัฒนธรรม  หรือประเพณีต่างๆของท้องถิ่น

2.การเลือกรูปแบบของสื่อการเรียนรู้  เป็นการกำหนดประเภท  ชนิดของสื่อ  หรือเครื่องมือที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้  โดยผู้ทำโครงงานควรพิจารณาจากสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

2.1ความรู้  ประสบการณ์  และความสามารถของผู้ทำโครงงานเกี่ยวกับการสร้างและการใช้สื่อการเรียนรู้นั้น

2.2ลักษณะของผู้รับข้อมูล  เนื่องจากผู้รับข้อมูลแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะในการรับรู้ข้อมูลแตกต่างกัน  เช่น  ควรเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบที่ตื่นเต้น  เร้าใจ  และมีสีสันสวยงามกับผู้รับที่มีอายุน้อย

2.3ฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์  โดยผู้ทำโครงงานควรพิจารณาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ที่ใช้สร้างสื่อการเรียนรู้นั้นมีอยู่แล้วหรือไม่  ต้องจัดหาเพิ่มเติมอีกหรือไม่  และมีค่าลิขสิทธิ์หรือเงื่อนไขในการใช้งานอย่างไร

2.4การใช้สื่อการเรียนรู้  โดยผู้ทำโครงงานควรพิจารณาความต้องการในการใช้สื่อการเรียนรู้  เช่น  ต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ในเวลาใดและสถานที่ใด  ซึ่งผู้ทำโครงงานจะต้องศึกษาจากประเภทของสื่อการเรียนรู้นั้นๆ  ว่าสามารถตอบสนองต่อการใช้งานรูปแบบใด

3.การเลือกประเภทของสื่อการเรียนรู้  เป็นการวิเคราะห์และเลือกโครงงานคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของสื่อการเรียนรู้  เพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้ที่ตรงต่อความต้องการและตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงงานมากที่สุด  ตัวอย่างประเภทของสื่อการเรียนรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์  เช่น

3.1สื่อการนำเสนอประกอบคำบรรยาย  รู้จักและนิยมเรียกกันว่า  เพาเวอร์พอยต์(PowerPoint)  ซึ่งจะเรียกตามชื่อของซอร์ฟแวร์ที่ใช้สร้าง ได้แก่ Microsoft PowerPoint นิยมใช้สร้างสื่อการนำเสนอประกอบการบรรยาย เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ มีจุดเชื่อมโยง (Link) ส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) และสามารถประยุกต์สร้างเป็นสื่อการเรียนรู้ประเภทอื่นๆได้

 

หลักในการคัดเลือกหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

3.2ไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext)  เป็นสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นจากสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์  ซอร์ฟแวร์ที่นิยมนำมาสร้างไฮเปอร์เท็กซ์ได้แก่  Adobe  Acrobat  ซึ่งจะแปลงข้อความและภาพนิ่งให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถแก้ไขข้อความได้โดยวิธีทั่วไป  ไฮเปอร์เท็กซ์สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบสัญลักษณ์  ตัวอักษร  ข้อความ  และภาพนิ่ง  ไม่นิยมนำเสนอข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดียแต่สามารถเชื่อมโยงภายในในไฟล์ข้อมูลได้  ไฮเปอร์เท็กซ์นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบของสื่อการเรียนรู้ประเภทอื่นๆเนื่องจากมีไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก  ทำให้ง่ายต่อการอัปโหลดและดาวน์โหลดข้อมูล

  

หลักในการคัดเลือกหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง
 

                                 3.3ไฮเปอร์บุ๊ก(Hyperbook)  พัฒนามาจากไฮเปอร์เท็กซ์  มีลักษณะเหมือนหนังสือแต่บันทึกและจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์  ไฮเปอร์บุ๊กนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลายกว่าไฮเปอร์เท็กซ์  และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากกว่าหนังสือธรรมดาด้วยการสร้างจุดเชื่อมโยงภายในเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และจุดเชื่อมโยงภายนอกเพื่อส่งเสริมการค้นหาเพิ่มเติม  ไฮเปอร์บุ๊กเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ต้องสร้างจากคอมพิวเตอร์แต่สามารถเปิดอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ  เช่น  เครื่องเล่นMP4  เป็นต้น

หลักในการคัดเลือกหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง
                                 3.4คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI:Computer-Assisted  Instruction)  เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบการศึกษา  ซอร์ฟแวร์ที่นิยมใช้สร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ได้แก่  Macromedia  Authorware

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบ่งเป็น3รูปแบบ  ได้แก่  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนำเสนอเนื้อหา  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เป็นทักษะ  และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างสถานการณ์จำลอง

-คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอเนื้อหา  มุ่งเน้นการนำเสนอในรูปแบบตัวอักษร  ภาพนิ่ง  กราฟ  แผนผัง  และแผนภูมิต่างๆ  เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน

-คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ฝึกทักษะ  มุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบนี้อาจไม่มีการนำเสนอเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน  แต่จะประมวลผลคะแนนหรือผลที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอเนื้อหา

-คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างสถานการณ์จำลอง  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอเนื้อหาและคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ฝึกทักษะมาประยุกต์ใช้จริงในสถานการณ์ต่างๆ

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดียและมีโครงสร้างของข้อมูลเป็นระบบมากกว่าสื่อนำเสนอประกอบการบรรยายไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์บุ๊ก  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะเด่นที่สามารถตอบสนองและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี  เช่น  การแสดงผลคะแนนภายหลังผู้เรียนทำแบบฝึกหัดได้ทันที

3.5เว็บไซต์ทางการศึกษา(WBI:Web Based  Instruction)  เป็นสื่อการเรียนรู้ที่นำเสนอและใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  เช่น  การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ด  การสนทนาออนไลน์กับผู้สอน  เป็นต้น  การสร้างสื่อการเรียนรู้ประเภทนี้จะต้องประยุกต์ใช้ซอร์ฟแวร์หลายประเภทรวมกันทั้งซอร์ฟแวร์สร้างเว็บไซต์  ซอร์ฟแวร์อัปโหลดข้อมูล  และซอร์ฟแวร์สร้างมัลติมีเดียในเว็บไซต์  การสร้างสื่อการเรียนรู้ประเภทนี้ผู้ทำโครงงานจะต้องติดต่อและขอใช้บริการจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อขอใช้พื้นที่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์  ลักษณะเด่นของสื่อการเรียนรู้ประเภทนี้คือ  ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ในสถานที่และเวลาใดก็ได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต